ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี 5 เรื่องสำคัญ ประชุมใหญ่ประจำปีที่ห้ามพลาด สำหรับนิติบุคคลอาคารชุด
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


5 เรื่องสำคัญ ประชุมใหญ่ประจำปีที่ห้ามพลาด สำหรับนิติบุคคลอาคารชุด

 

5 เรื่องสำคัญ ประชุมใหญ่ประจำปีที่ห้ามพลาด

การเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียม หรือที่เรียกว่าเจ้าของร่วมห้องชุดนั้น ไม่เพียงแต่จะใส่ใจแต่เรื่องภายในห้องของตัวเอง แต่ควรจะทราบเรื่องสำคัญขั้นพื้นฐาน หลังจากได้รับโอนห้องชุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระเบียบข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ระเบียบการพักอาศัย และความเข้าใจในรูปแบบการบริหารงานของนิติบุคคลอาคารชุดฯ


ปัจจุบันรูปแบบการพักอาศัยของคนเมืองเริ่มหันไปลงทุนในการซื้อหาห้องชุดมากขึ้น จากเดิมที่ผู้คน เลือกเช่าหอพัก อพาร์ตเมนต์กัน ก็เริ่มหันมาเลือกลงทุนในการซื้อห้องชุด ซึ่งมีขนาด ราคา และทำเลที่มีความสะดวกสบายมากขึ้น สาเหตุที่ผู้คนเลือกลงทุนข้างต้น เนื่องจากต้นทุนค่าใช้จ่ายรายเดือนใกล้เคียงกับต้นทุนในการผ่อนดอกเบี้ยกับธนาคารในการซื้อห้องชุด อีกทั้งคอนโดมิเนียมในปัจจุบันมีหลากหลายราคา ให้ได้เลือกตามความเหมาะสม และเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น 

แต่การเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียม หรือที่เรียกว่าเจ้าของร่วมห้องชุดนั้น ไม่เพียงแต่จะใส่ใจแต่เรื่องภายในห้องของตัวเอง แต่ควรจะทราบเรื่องสำคัญขั้นพื้นฐาน หลังจากได้รับโอนห้องชุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระเบียบข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ระเบียบการพักอาศัย และความเข้าใจในรูปแบบการบริหารงานของนิติบุคคลอาคารชุดฯ หนึ่งในเรื่องสำคัญเบื้องต้น หลังจากที่เราได้รับทราบถึงข้อบังคับระเบียบและการบริหารงานของนิติบุคคลฯ แล้ว เราอาจจะมีคำถามหรือข้อสงสัยหลายเรื่อง หรือข้อสงสัยในระเบียบข้อบังคับต่างๆ ทั้งนี้ คำถามหรือข้อสงสัยเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับส่วนรวม หากเรานำมาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมฯ ซึ่งตามกฎหมาย กำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดฯ จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมครั้งแรก ภายใน 180 วัน หลังจากทำการโอนเสร็จสิ้น

การประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมครั้งแรก จะมีวาระสำคัญต่างๆ ในการพิจารณา และลงมติร่วมกันระหว่างท่านเจ้าของร่วม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์กับเจ้าของร่วมทุกคน ในการอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งในการประชุมจะให้เจ้าของร่วมทุกคนลงเสียงเพื่อรับรองวาระต่างๆ ดังนี้ 

1. รายงานผลการดำเนินการฝ่ายจัดการฯ

ในรอบปีที่ผ่านมา ฝ่ายจัดการได้มีการดำเนินการทางด้านต่างๆ ทั้งงานบริหารจัดการ งานช่าง งานดูแลความสะอาด รักษาความปลอดภัย การกำจัดแมลง และการปรับปรุงกายภาพต่างๆ ในบริเวณโดยรอบโครงการ โดยวาระนี้ได้รายงานให้ทราบถึงผลการดำเนินงานในช่วงรอบปีที่ผ่านมา

2. การรับรอง/แต่งตั้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ (ทุก 2 ปี) *สำหรับอาคารชุดเท่านั้น

ซึ่งได้รับการจดทะเบียนขึ้นมาพร้อมกับนิติบุคคลฯ ซึ่งโดยทั่วไปผู้จัดการนิติบุคคลฯ รายแรก จะเป็นตัวแทนของทางเจ้าของโครงการ ท่านเจ้าของร่วมควรจะศึกษา การบริหารงานของผู้จัดการนิติบุคคลฯ (ซี่งอาจเป็นตัวแทนของโครงการ, บริษัทบริหาร, เจ้าของร่วม หรือบุคคลอื่นๆ) ว่ามีความโปร่งใส มีความใส่ใจในความเป็นอยู่ของผู้พักอาศัยอย่างเต็มที่หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารงาน, การบริหารค่าใช้จ่าย, การควบคุมงานของคู่สัญญาต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าผู้จัดการนิติบุคคลฯ จะต้องทำงานภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการฯ ซึ่งจะถูกแต่งตั้งขึ้นในที่ประชุมใหญ่นี้เช่นนี้ แต่หากเจ้าของร่วมพบว่าการบริหารงานของผู้จัดการนิติบุคคลฯที่ผ่านมานั้น ไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือไม่โปร่งใส ก็อาจนำเสนอที่ประชุมใหญ่ฯพิจารณาร่วมกัน ในการถอดถอน และแต่งตั้งผู้จัดการนิติฯใหม่ ก็สามารถทำได้ โดยจะต้องใช้เสียงในการลงมติในการถอดถอน และแต่งตั้งผู้จัดการฯ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ทั้งหมดของเจ้าของร่วม

3. รับรองรายงานสถานะการเงิน , งบประมาณประจำปี และการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี

การศึกษาสถานะการใช้จ่ายของนิติบุคคลฯ จะสามารถทำให้เราเข้าใจการบริหารงานของนิติบุคคลได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เราสามารถแสดงความคิดเห็น/เสนอแนะแนวทางในการควบคุม หรือเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของคู่สัญญา เช่น จำนวนพนักงานรปภ/ อัตราค่าใช้จ่ายต่อหัว อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมรึไม่ , ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคต่างๆ ของส่วนกลาง เช่น ค่าไฟฟ้า สามารถปรับลด หรือบริหารเวลาการเปิดปิดไฟส่วนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้หรือไม่ เป็นต้น

สำหรับวาระการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี เป็นไปตามข้อกำหนดของกฏหมาย เพื่อให้มีความโปร่งใสของนิติบุคคลฯในการบริหารบัญชีการเงิน (ซึ่งพรบ.อาคารชุดได้กำหนดเบื้องต้นให้นิติบุคคลฯจะต้องแสดงงบรับจ่ายรายเดือนของนิติบุคคลฯให้เจ้าของร่วมได้รับทราบ ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน) การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีนี้ จุดประสงค์หลักก็เพื่อให้มาทวนสอบการสรุปรายงานงบการเงินตลอดปีของนิติบุคคลฯที่ได้รายงานไปตลอดรอบบัญชี ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ การพิจารณาเลือกผู้สอบบัญชี นั้น นอกจากเรื่องของราคาแล้ว เราอาจจะดูจากผลงานที่ผ่านๆ มาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาได้ 

4. การแต่งตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด (ทุก 2 ปี)

เป็นการคัดเลือกตัวแทนของเจ้าของร่วมทั้งหมดภายในอาคารชุด มาเป็นตัวแทนในการควบคุม/บริหารจัดการนิติบุคคลฯ โดยสามารถแต่งตั้งได้จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน และไม่เกิน 9 ท่าน โดยมีรอบการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี เจ้าของร่วม ควรศึกษาข้อมูลคร่าวๆ ของผู้สมัคร ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม ที่เราจะไว้วางใจให้บริหารงานของคอนโดที่เราพักอาศัยอยู่หรือไม่ เพราะเจ้าของร่วมจะต้องฝากความหวังส่วนใหญ่กับกรรมการที่ท่านเลือกตั้งขึ้นมาอย่างน้อย 2 ปี โดยทั่วไปฝ่ายจัดการฯ จะเชิญผู้สมัครเป็นคณะกรรมการฯ แนะนำข้อมูลของตนเอง คร่าวๆ กับที่ประชุมฯ ซึ่งหากท่านเจ้าของร่วมมีข้อซักถาม หรืออยากทราบข้อมูลใดๆ เพิ่มเติมจากผู้สมัคร ก็สามารถซักถามเพิ่มเติมได้ ก่อนลงมติเลือกตั้ง

5. การพิจารณาเรื่องอื่น ๆ

โดยในส่วนนี้เป็นหัวข้อ หรือวาระที่ผันแปรไปตามความเหมาะสมของแต่ละนิติบุคคลฯ เจ้าของร่วมอาจนำข้อเสนอแนะ หรือหัวข้อน่าสนใจอื่น ๆ มาร่วมหารือกันในที่ประชุมฯ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการบริหารงานทั้งในปัจจุบัน หรืออนาคตต่อไปได้

นอกจาก 5 วาระข้างต้นแล้ว สำหรับการประชุมใหญ่ครั้งแรก ยังมีอีก 2 วาระที่สำคัญไม่แพ้กันดังนี้ 

การรับรองข้อบังคับของนิติบุคคลฯ

สาระสำคัญส่วนมากจะเป็นไปตามเนื้อหาของมาตราต่างๆ ในพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ แต่ก็มีบางส่วนที่ผันแปรไปตามความเหมาะสม หรือเป็นไปตามแนวทางและเจตนารมของทางเจ้าของโครงการที่วางไว้ เช่น อัตราค่าใช้จ่ายส่วนกลาง, รอบการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลาง, อัตราเงินกองทุนครั้งแรก รวมทั้งเงื่อนไขการชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของเจ้าของร่วม

ถึงแม้ว่าข้อบังคับฯ นั้น จะได้รับการตรวจสอบ และรับรองจดทะเบียนจากทางสำนักงานที่ดินแล้ว แต่เจ้าของร่วมก็ควรจะศึกษา ทำความเข้าใจในข้อบังคับทุกหมวด หากพบข้อสงสัย หรือข้อความใดๆ ที่ผิดปกติ ก็ควรนำมาซักถาม หรือนำเสนอ หารือร่วมกัน ก่อนที่จะพิจารณาลงมติรับรองในข้อบังคับนั้นๆ

การรับรองระเบียบพักอาศัย ของนิติบุคคลฯ

ระเบียบการพักอาศัยนี้จะถูกกำหนดให้สอดคล้องกับรูปแบบความเป็นอยู่ของคอนโดมิเนียมนั้นซึ่งถือเป็นกรอบกฏเกณฑ์ภายใน ที่ออกแบบขึ้นเพื่อควบคุมให้ผู้พักอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นระเบียบ ทั้งนี้ หากท่านเจ้าของร่วม ศึกษาและเห็นว่าเนื้อหาของระเบียบนั้นๆ ไม่เหมาะสมกับลักษณะความเป็นอยู่ของคอนโดนั้น ๆ ก็อาจนำเสนอปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ เช่น เวลาการเปิดปิดห้องออกกำลังกาย, สระว่ายน้ำ, การกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้บริหารสันทนาการส่วนกลางต่างๆ เช่น จำนวนผู้ที่สามารถใช้บริการของแต่ละประเภทห้องชุด, การกำหนดอัตราค่าปรับสำหรับผู้กระทำผิดระเบียบ เป็นต้น

สำหรับการประชุมในปีต่อๆ ไป พระราชบัญญัติอาคาร ชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 42/1 ระบุว่า ให้คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้งภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อกิจการดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาอนุมัติ งบดุล (2) พิจารณารายงานประจำปี (3) แต่งตั้งผู้สอบบัญชี (4) พิจารณาเรื่องอื่นๆ

จากตัวอย่างหัวข้อการประชุมที่ยกมา จะเห็นได้ว่าการประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมนั้นมีความสำคัญมาก เพราะเป็นเหมือนเวที ในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น รวมถึงข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะต่างๆ จากเจ้าของร่วมทั้งหมด ดังนั้นเจ้าของร่วม ควรจะให้ความสนใจ ศึกษาข้อมูลต่างๆ ของคอนโดที่ตนถือครองอยู่ เพื่อนำมาช่วยกันหารือ แสดงความเห็น เพื่อปรับปรุงคุณภาพความเป็นอยู่ของอ
าคารให้มีคุณภาพสูงสุด

4 สิทธิและหน้าที่ ที่เจ้าของคอนโดจะได้รับ

 เมื่อเราซื้อคอนโดพร้อมโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเข้าอยู่อาศัยหรือปล่อยเช่า เราจะถือได้ว่าเป็นเจ้าของร่วมในนิติบุคคลในอาคารชุดนั้นๆ ตามกฎหมาย ซึ่งการเป็นเจ้าของร่วมในอาคารชุดนั้น จะนำมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ ในการการรับผิดชอบเรื่องต่างๆ ในฐานะสมาชิกของอาคารนั้นๆ โดยเจ้าของร่วมควรรักษาสิทธิ์ และปฎิบัติตามหน้าที่ของตนเพื่อ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทรัพย์สินของเรา โดยสิ่งที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้ 

 

 1. การเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี เจ้าของร่วมมีสิทธิ์เลือกตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด และผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ที่จะเป็นตัวแทนเจ้าของร่วมในการผู้ดูแลและกำหนดนโยบายการบริหารจัดการอาคารชุดเพื่อให้เป็นประโยชนย์สูงสุดต่อเจ้าของร่วม 

2. มีสิทธิ์ออกเสียง เพื่อกำหนดระเบียบต่างๆ ที่เป็นเป็นประโยชน์ หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อการอยู่อาศัยของเรา รวมถึงมีสิทธิ์ออกเสียงในการกำหนดอัตราการจัดเก็บค่าบริการต่างๆ ตามความจำเป็นในการดูแลรักษาอาคาร โดยคิดถึงประโยชน์จากการเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินเป็นสำคัญ มากกว่าการลดค่าใช้จ่ายที่อาจเป็นผลทำให้ทรัพย์สินเสื่อมโทรม

3. มีสิทธิ์ในห้องชุดของตนเองในฐานะที่เป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล โดยต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ของเจ้าของห้องชุดอื่น รวมถึงมีสิทธิ์ในการใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน และมีหน้าที่ในการดูแลรักษาพื้นที่ส่วนกลางเสมือนเป็นทรัพย์สินของตนเอง

4. เจ้าของร่วมมีหน้าที่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เพื่อเป็นงบประมาณและกองทุนที่ใช้ในการบริหารจัดการดูแลทรัพย์สินส่วนกลางให้คงสภาพที่ดี และปลอดภัย รวมถึงจัดให้มีการบริการส่วนกลางที่จำเป็นตามความต้องการของเจ้าของร่วม

หากเจ้าของร่วมทุกคนเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองและปฏิบัติตามแล้ว จะทำให้คอนโดของเรามีความน่าอยู่อาศัย และยังทำให้ทรัพย์สินของเรามีมูลค่าเพิ่มตามกาลเวลา เป็นประโยชน์สองต่อที่ใครๆ ก็ต้องการ

 

ที่มา : พลัส พร็อพเพอร์ตี้ + Plus.co.th




ความรู้เกี่ยวกับกฏหมาย

ความผิดอาญา ที่ยอมความได้ article
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง article
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก article
คำแนะนำผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา article
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย article
ถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ article
แพ้คดีมา 10 ปีแล้วเจ้าหนี้ยังตามยึดทรัพย์ได้ article
นิติกรรมสัญญาในชีวิตประจำวัน article
หนี้ขาดอายุความก็สามารถฟ้องร้องได้ article
รู้ก่อนจดทะเบียนสมรส ไม่ปวดหัวในวันไม่สมรัก
สิทธิของผู้ถือหุ้น ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
รถหายในห้างใครรับผิดชอบ
อุบัติเหตุทางจราจร ต้องรับผิดอย่างไรบ้าง
มรดก
การหย่าร้าง เหตุหย่า
วิธีการและขั้นตอน การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด
ขับรถ 'ชนคนตาย' แบบไหนถึง 'รอดคุก'
แก้เกมการทวงหนี้ บัตรเครดิต - บัตรเงินผ่อน
ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่ง
ระวังการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด อาจขัดต่อกฎหมาย
สรุปสาระสำคัญการแก้ไขป.พ.พ.ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2551
สรุปสาระสำคัญการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท เริ่มใช้ 1 กรกฎาคม 2551
การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง ผู้จัดการมรดก ของหน่วยงานคุ้มครองสิทธิ
การออกใบหุ้นและการโอนหุ้น
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด
พระราชบัญญัติ กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ
ยึดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้
สัญญาเปล่ากับลายเซ็นต์
ทำไม่ได้...อย่าสัญญา
การเลิกบริษัท เอกสารที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนเลิกบริษัท
ถูกเลิกจ้างต้องได้ เงินชดเชย จากนายจ้างเท่าไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี