ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 102/2544

เรื่อง      การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ และคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง

 

---------------------------------------------

 

                เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำ ผู้มีเงินได้หรือผู้ประกอบการ สำหรับการเสียภาษีเงินได้และ ภาษีมูลค่าเพิ่มของนักแสดงสาธารณะ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ และคู่สัญญาที่ จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

 

                “ข้อ 1  คำว่า “นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม เช่น นักแสดงละครเวที นักแสดงภาพยนตร์ นักแสดงละครวิทยุ นักแสดงละครโทรทัศน์ ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์ นักแสดงตลก นายแบบ นางแบบ นักพูดรายการทอล์คโชว์ นักมวยอาชีพ นักฟุตบอลอาชีพ เป็นต้น

 

                        นักแสดงสาธารณะตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงผู้ประกาศข่าว โฆษก พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการในสถานบันเทิงใด ๆ ผู้บรรยายหรือนักพากย์ ผู้จัดการส่วนตัวของนักแสดงสาธารณะ ผู้กำกับการแสดง ผู้จัดการทีมกีฬา ผู้ฝึกสอน นักกีฬาหรือบุคคลผู้กระทำการในลักษณะทำนองเดียวกัน”

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.128/2546)

                        คำว่า "ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ" หมายความว่า ผู้ดำเนินการเพื่อ จัดให้มีการแสดงหรือแข่งขันของนักแสดงสาธารณะในประเทศไทย

                        คำว่า "คู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง" หมายความว่า ผู้ดำเนินการ ติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันในประเทศไทย ไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ

                        คำว่า "แสดงเป็นหมู่หรือคณะหรือแข่งขันเป็นทีม" หมายถึง การแสดงหรือการแข่งขันที่ ผู้ว่าจ้างได้ตกลงว่าจ้างให้แสดงเป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม

                        คำว่า "เงินได้ของนักแสดงสาธารณะ" หมายความว่า เงินได้พึงประเมินหรือ ค่าตอบแทนจากการประกอบอาชีพนักแสดงสาธารณะตามวรรค หนึ่ง รวมถึงรางวัลและประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการแสดงหรือการแข่งขัน เช่น ค่าพาหนะในการเดินทาง ค่า เบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะจ่ายตามจำนวนคราวที่แสดงหรือแข่งขัน จ่ายเป็นการเหมา หรือจ่ายในลักษณะ อื่นทำนองเดียวกัน

 

                ข้อ 2  การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของนักแสดงสาธารณะ ให้นำเงินได้ ของนักแสดงสาธารณะซึ่งเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

                        กรณีนักแสดงสาธารณะที่แสดงเป็น หมู่หรือคณะหรือแข่งขันเป็นทีมให้นำ เงินได้ของนักแสดงสาธารณะอันเกิดจากการ แสดงหรือแข่งขันที่ได้รับทั้งสิ้น ไม่ว่าจะได้รับในนามของหมู่หรือคณะ หรือทีม หรือได้รับแยกเป็นรายบุคคล มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามคณะบุคคล โดยให้ผู้จัดการคณะบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการยื่นรายการและชำระภาษี ในชื่อของคณะ บุคคลภายในกำหนดเวลาและตามแบบแสดง รายการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ นักแสดงสาธารณะแต่ละคนไม่ต้อง ยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึง ประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีเป็นราย บุคคลอีก แต่ถ้า คณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระให้ นักแสดงสาธารณะทุกคนในหมู่หรือคณะ หรือทีมร่วมรับผิดใน เงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย

                        กรณีผู้ว่าจ้างได้ตกลงว่าจ้าง นักแสดงสาธารณะเป็นรายบุคคลให้แสดงเป็น หมู่หรือคณะหรือแข่งขันเป็นทีม ให้นักแสดงสาธารณะแต่ละคนนำเงิน ได้ของนักแสดงสาธารณะที่ได้รับมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของแต่ละคน

                        นักแสดงสาธารณะตามวรรคสองและวรรคสามมีหน้าที่ยื่นรายการและชำระภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง ดังนี้

                           (1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนไป ยื่นรายการและชำระภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94

                           (2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายใน เดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.90 ทั้งนี้ ให้นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีที่ชำระไว้ตาม (1) มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษี

 

                ข้อ 3  ในการเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของนักแสดงสาธารณะตามข้อ 2 ให้คำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอม ให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ดังนี้

                        (1) หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือ

                        (2) หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ดังนี้

                                 (ก) สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60

                                 (ข) สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40 การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ของ นักแสดงสาธารณะ ถ้าความเป็น สามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดใน การยื่นรายการและเสียภาษี โดยให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้ จ่ายตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง

                                 ตัวอย่าง

                                 นาย ก และนาง ข เป็นนักแสดงภาพยนตร์และเป็นสามีภริยากัน ในปีภาษีที่ล่วง มาแล้วต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ โดยนาย ก มีเงินได้พึงประเมิน 2,000,000 บาท และนาง ข มีเงินได้พึงประเมิน 500,000 บาท ดังนั้น นาย ก จึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการยื่นรายการและชำระภาษี ในนามของนาย ก โดยนำเงินได้ของนาง ข มารวมคำนวณภาษีด้วย และหากเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ให้หักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้

                                   - เงินได้ของนาย ก หักค่าใช้จ่ายได้จำนวน 600,000 บาท

                                   - เงินได้ของนาง ข หักค่าใช้จ่ายได้จำนวน 260,000 บาท

                                   รวมค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาที่มีสิทธิหักได้ 860,000 บาท

 

                ข้อ 4   ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ นักแสดงสาธารณะตามข้อ 2 ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร

                        กรณีนักแสดงสาธารณะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักค่าลดหย่อน คู่สมรสและหรือบุตรได้ ไม่ว่าคู่สมรสและบุตรจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย หรือไม่

                        กรณีนักแสดงสาธารณะไม่ได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย จะคำนวณหักค่า ลดหย่อนคู่สมรสและหรือบุตรได้ เฉพาะคู่สมรสและบุตรที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

 

                ข้อ 5  นักแสดงสาธารณะที่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ และเข้ามาแสดงหรือแข่ง ขันในประเทศไทย มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ทั้งนี้ ไม่ว่าการจ่ายเงิน ได้ดังกล่าวจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

                        นักแสดงสาธารณะตามวรรคหนึ่งมี หน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นราย การและชำระภาษี โดยปฏิบัติตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4

                        กรณีนักแสดงสาธารณะมีถิ่นที่อยู่ ในประเทศที่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนกับประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในอนุสัญญาเพื่อการ เว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับประเทศนั้น ๆ

 

                ข้อ 6  คนต่างด้าวที่มีเงินได้พึงประเมินจากการเป็น นักแสดงสาธารณะในประเทศไทย มีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องตามแบบที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด เพื่อขอรับใบผ่านภาษีอากรภายในกำหนดเวลา ไม่เกินสิบ ห้าวันก่อนออกเดินทาง ไม่ว่ามีเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ หรือไม่ตามมาตรา 4 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

 

                ข้อ 7  การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้ผู้จ่ายเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายในเจ็ด วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้ ดังนี้

                        (1) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 10,000 บาท ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้ที่จ่าย เว้นแต่การจ่ายเงินได้ของนักแสดงสาธารณะที่ได้ จากการประกวดหรือแข่งขันให้คำนวณหัก ตามอัตราภาษีเงินได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 50(4) แห่งประมวลรัษฎากร

                        (2) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 9(2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ดังนี้

                                 (ก) กรณีนักแสดงสาธารณะมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 5.0

                                 (ข) กรณีนักแสดงสาธารณะมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ให้คำนวณหักภาษีไว้ตามอัตราที่ กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

                ข้อ 8  การเสียภาษีเงินได้ของผู้จัดให้มีการแสดง ของนักแสดงสาธารณะในประเทศไทย และการหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้จัดให้ มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะให้ปฏิบัติ ดังนี้

                        (1) กรณีผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดง สาธารณะเป็นผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากการจัดให้มี การแสดงของนักแสดงสาธารณะซึ่งเป็นเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะเป็นค่าจำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดง หรือเงินอื่นใดที่ได้จากการ จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

                           การจ่ายค่าจ้างในการจัดให้มีการ แสดงให้แก่ผู้จัดให้มีการแสดงของ นักแสดงสาธารณะตามวรรคหนึ่ง ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้

                                 (ก) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ถ้าการจ่ายมีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 10,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 50(4) แห่งประมวลรัษฎากร

                                 (ข) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งในอัตราร้อยละ 3.0 ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

                        (2) กรณีผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดง สาธารณะเป็นบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำ กิจการในประเทศไทย มีหน้าที่นำรายได้จากการประกอบกิจการมา รวมคำนวณเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร

                           การจ่ายค่าจ้างในการจัดให้มีการ แสดงให้แก่ผู้จัดให้มีการแสดงของ นักแสดงสาธารณะตามวรรคหนึ่ง ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้

                                 (ก) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาลสุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

                                 (ข) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล หรือ นิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ให้แก่ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ ที่เป็นบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่รวมถึงมูลนิธิ หรือสมาคม หรือที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ โดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ คำนวณหักภาษี ณ จ่ายนำส่งในอัตราร้อยละ 3.0 ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 8(2) และ (3) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

                                 (ค) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่ง เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้จัดให้มีการ แสดงของนักแสดงสาธารณะที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศประกอบ กิจการในประเทศไทย โดยมิได้มีสำนักงานสาขาตั้ง อยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหัก ภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งในอัตราร้อยละ 5.0 ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 12 ของคำสั่ง กรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528

                              กรณีผู้จัดให้มีการแสดงของนัก แสดงสาธารณะมีถิ่นที่อยู่ใน ประเทศที่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนกับประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในอนุสัญญาเพื่อการ เว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับประเทศนั้น ๆ

 

                ข้อ 9  การเสียภาษีเงินได้ของคู่สัญญาที่จัด หานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันในประเทศไทย และการหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ คู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงให้ปฏิบัติ ดังนี้

                        (1) กรณีคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่ง ขันใน ประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากการติดต่อจัดหา นักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันในประเทศไทย ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

                           การจ่ายค่าจัดหานักแสดงสาธารณะให้แก่ คู่สัญญาที่จัดหานักแสดง สาธารณะมาแสดงตามวรรคหนึ่ง ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งตามมาตรา 50(1) และมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร

                        (2) กรณีคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง หรือแข่งขันใน ประเทศไทยเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย ต้องนำรายได้ที่ได้จากการติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

                           การจ่ายค่าจัดหานักแสดงสาธารณะให้ แก่คู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันตามวรรคหนึ่ง ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้

                                 (ก) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

                                 (ข) กรณีผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ไม่ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่ง

                        (3) กรณีคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดงหรือแข่งขันในประเทศไทย เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ที่ได้รับจากการติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง หรือแข่งขันในประเทศไทย โดยให้ผู้จ่ายเงินได้ไม่ว่าจะเป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หักภาษีนำส่งจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร

                              กรณีคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะ มาแสดงมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับประเทศนั้น ๆ

 

                ข้อ 10  การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของนักแสดงสาธารณะ ผู้จัดให้มีการแสดงของ นักแสดงสาธารณะ และคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง

                        (1) การให้บริการของนักแสดงสาธารณะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่า เพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฒ) แห่งประมวลรัษฎากร

                        (2) การจัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะในประเทศไทย ถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนในลักษณะเป็นค่าเข้าชมการแสดง หรือค่าตอบแทนอื่นในลักษณะเดียวกัน เว้นแต่เป็นการจัดการแสดงเพื่อการ กุศลสาธารณะหรือการแข่งขันกีฬาสมัครเล่น ตามมาตรา 81(1)(ฑ) และ (ธ) แห่งประมวลรัษฎากร

                           การจัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ ตามวรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการ ให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมใน สาขานาฏศิลป์ สาขาดุริยางคศิลป์และสาขาคีตศิลป์ ซึ่งผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะมิได้เรียกเก็บค่าบริการโดย ตรงจากผู้ชมหรือผู้ฟัง แต่ไม่รวมถึงการให้บริการโดยกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากรและ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 11) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการให้บริการที่ เป็นงานทางศิลปะและ วัฒนธรรมตามมาตรา 81(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534

                        (3) การติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง หรือแข่งขันในประเทศไทยของ คู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง ถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูล ค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร

                        (4) การจ่ายค่าบริการตาม (2) และ (3) ให้แก่ผู้ประกอบการดังต่อไปนี้ ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่า เพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร

                                 (ก) ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดง สาธารณะในประเทศไทย หรือคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมา แสดงหรือแข่งขันในประเทศไทยที่ได้เข้ามา ดำเนินการติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะในราช อาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว

                                 (ข) ผู้ประกอบการซึ่งเป็นคู่สัญญาที่จัดหา นักแสดงสาธารณะมา แสดงหรือแข่งขันในประเทศไทย โดยได้ดำเนินการติดต่อจัดหานักแสดงสาธารณะในต่างประเทศ

 

                ข้อ 11  บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ ขัดแย้งหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก

 

                ข้อ 12  คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินให้ แก่นักแสดงสาธารณะตั้งแต่วัน ที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป

 

สั่ง ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2544

 

ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล

อธิบดีกรมสรรพากร




ความรู้เกี่ยวกับภาษี

SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร ? article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 โดยอาจารย์ อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ article
การชดเชยค่าภาษีอากร-บัตรภาษี article
มนุษย์เงินเดือนเฮครม.อนุมัติลดหย่อนภาษีหักค่าใช้จ่าย60% (มีผลบังคับใช้ในปี 2550) article
การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย article
ภาษีป้าย article
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
ใบลดหนี้ (Credit Note)
ภาระภาษีในการประนอมหนี้ ค่าบริการ
เงื่อนไขในการคำนวณส่วนของ หนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจาก ภาษีขาย
การทำบัญชี ของบุคคลธรรมดา ที่ไม่จด VAT
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือ Consortium
Income Tax Guide for foreign Company
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี
ภาษีค่าสิทธิ - จากสรรพากรสาส์น
ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่าย
การเสีย VAT กรณีนำเข้าสินค้ามาขายแบบ 3 เส้า
คลังสินค้าทัณฑ์บน (BONDED WAREHOUSE ) คืออะไร?
เขตปลอดอากร เขตยกเว้นภาษี
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่น่าสนใจ
บัญชีอากรแสตมป์ อัตราอากรแสตมป์
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ตาม มาตรา 56 ทวิ)
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
การเฉลี่ยภาษีซื้อ
Withholding Tax Rates for Royalties under Thailand's DTAs
Withholding Tax Rates for Interest under Thailand's DTAs
เงินได้พึงประเมินที่ผู้เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสิทธิแยกคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) article
คณะบุคคล... อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม
ภาษีบ้านเช่าครึ่งปี
ภาษีเลี้ยงรับรองปีใหม่
ภาษีค่าน้ำมันรถ
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจาก 50,000 เป็น 100,000
มาตรการสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ + ห้องชุด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สารพัน ปัญหาภาษีสรรพากร - สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ค่าชดเชยการเลิกจ้าง กับภาระภาษีอากร
ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนประกันชีวิตได้รับถือเป็นเงินได้ประเภทใด
ขายสินค้าเกษตรเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับรู้รายได้เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลเสียหายจากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรายได้จากการให้บริการป้ายโฆษณา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าซ่อมเครื่องจักรและ ค่าที่ปรึกษาไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์และค่าบริการอื่นให้แก่บริษัทต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของนิติบุคคลอาคารชุด
ปัญหา ของขวัญกับการเสียภาษี
ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
ปัญหา ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF
เงินสนับสนุนการศึกษาและเงินบริจาค
สารพันปัญหา "ค่าลดหย่อน"
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ.2564)
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
การคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
พระราชกฤษฎีกา ลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ปี 2555
คำชี้แจงกรมสรรพากร กรณีการยื่นแบบเสียภาษีของสามีและภรรยา ปี 2555
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ป็นทางค้าหรือหากำไร
สรุปอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2555-2558
มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs
สรุปคำชี้แจงการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
บัญชี IFRS for SMEs กับภาษี ตอน รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาของ SMEs
ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า!!!
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ เมื่อมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
ฎีกาภาษี : การขีดฆ่าอากรแสตมป์
ภาษีการรับมรดก
เครื่องมือช่วยคำนวณรายการทางบัญชีเป็นรายการทางภาษี
วิธีการประมาณการกําไรสทธิ ภงด.51 article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กับกิจการขายของ Online article
เงินได้พึงประเมินของผู้ประกอบโรคศิลปะ-แพทย์(หมอ) article
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง article
คำสั่งกรมสรรพากร. ที่ป.161/2566. เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี