ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน

รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน

 เงื่อนไขเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร  มาตรา 65 ตรี การที่กฏหมายต้องกำหนดขอบเขตจำกัดรายจ่ายไว้ก็เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี ไม่ว่าโดยการแสดงรายจ่ายผิดจากความเป็นจริง หรือเกินสมควร หรือนำรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการมาถือเป็นรายจ่ายของกิจการ เพื่อลดกำไรสุทธิให้ต่ำลงหรือมีผลขาดทุนแทนกำไร เป็นเหตุให้เสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริงหรือไม่ต้องเสียภาษีเลย ซึ่งเงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับรายจ่ายที่กฎหมายไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 20 รายการ แต่สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกัยรายจ่ายฝ่ายทุนหรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ที่เกี่ยวเนื่องกับรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้บัญญัติห้ามไว้ในมาตรา 65 ตรี (5)
สาระสำคัญเบื้องต้น
1.หลักเกณฑ์รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร

     1.1 รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน (Capital Expenditure)
        คำว่า “รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน” นั้น ประมวลรัษฎากรไม่ได้มีคำวิเคราะห์ศัพท์ไว้จึงเกิดปัญหาว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่า รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน มีคำพิพากษาฎีกาที่ 949/2509 บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย วินิจฉัยว่า รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนนั้น มิใช่หมายถึงรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากรายจ่ายเท่านั้นไม่ แต่ต้องเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนขึ้นมา ลักษณะจะเป็นทุนรอนขึ้นมาก็คือเป็นทรัพย์ของบริษัทรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเป็นรายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเป็นการถาวรต่อกิจการไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เช่น รายจ่ายซื้อที่ดิน อาคาร ค่าสิทธิ ฯลฯ ซึ่งจะอำนวยประโยชน์แก่กิจการเป็นระยะเวลานานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
         กล่าวโดยสรุป รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน เป็นรายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเป็นการถาวรต่อกิจการไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งจะอำนวยประโยชน์แก่กิจการเป็นระยะเวลานานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
          1.2 รายจ่ายในการต่อเติม (Additions) เปลี่ยนแปลง (Alternation) ขยายออก (Extension) หรือทำให้ดีขึ้นทั้งทรัพย์สิน (Betterment) แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม
รายจ่ายเหล่านี้เป็นรายจ่ายเพื่อยังผลให้อายุการใช้งานของทรัพย์สินเดิมยาวนานขึ้น หรือปรับปรุงสภาพของทรัพย์สินที่กิจการมีอยู่แล้วให้มีสภาพดีขึ้น ประโยชน์การใช้มีมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะในรูปการต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงหรือขยายออกซึ่งทรัพย์สิน หรือแม้เพียงทำให้มีสภาพดีขึ้นก็ตามแต่มีข้อแม้ว่าในการปรับปรุงทรัพย์สินดังกล่าว หากเป็นการซ่อมแซมให้ทรัพย์สินเหล่านั้นกลับคืนสู่สภาพเดิมแล้ว ก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการตามปกติประเภทค่าซ่อมแซมได้โดยไม่ต้องตั้งเป็นทรัพย์สินไว้ในบัญชี และถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ โดยมีคำอธิบายพอสังเขปได้ดังนี้      

 (1) รายจ่ายในการต่อเติม (Additions) หมายถึง รายจ่ายเพื่อการต่อเติมส่วนต่างๆ ของทรัพย์สินซึ่งมักเป็นการต่อเติมส่วนต่างๆ ของทรัพย์สิน เช่น รายจ่ายในการต่อเติมอาคารจากเดิมซึ่งมีสี่ชั้นเป็นหกชั้น ค่าต่อเติมหลังคาของรถกระบะ ค่าต่อเติมอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้เป็นต้น
 (2) รายจ่ายในการเปลี่ยนแปลง (Alternation) หมายถึง รายจ่ายในการเปลี่ยนแปลงสภาพของทรัพย์สิน เช่น รายจ่ายในการกั้นห้อง ค่าทุบทำลายฝากั้นห้อง เจาะประตู หน้าต่าง ค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงรถยนต์บรรทุกหรือรถยนต์โดยสารให้เป็นรถยนต์นั่ง เป็นต้น
 (3) รายจ่ายในการขยายออก (Extension) หมายถึง รายจ่ายในการขยายทรัพย์สินออกไปซึ่งมักขยายออกไปทางขยายขนาดของทรัพย์สิน เช่น รายจ่ายในการขยายอาคารโรงงาน เป็นต้น
 (4) รายจ่ายในการทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน (Betterment) แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม หมายถึง รายจ่ายในการทำให้คุณภาพ หรือสภาพของทรัพย์สินดีขึ้นไปกว่าสภาพ ณ วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ที่มิใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม แม้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายภาพของทรัพย์สิน เช่น รายจ่ายในการเปลี่ยนแปลงซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมสั่งงานหรือควบคุมเครื่องจักร ค่าเปลี่ยนกระทะครอบล้อรถทั่วไปเป็นแมกเนติกที่ไม่เป็นสนิม กรณีซื้อบ้านหรือรับโอนบ้านหรืออาคารเก่ามาจากบุคคลอื่น ต่อมาได้ทำการปรับปรุงโดยการทาสีใหม่ หรือซ่อมเสริมส่วนที่ชำรุดหรือกรณีซื้อรถยนต์เก่ามาทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง อันมีผลให้สภาพของรถยนต์หรือเครื่องจักรดีขึ้น เป็นต้น
          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2530 วินิจฉัยว่า รายจ่ายค่ารับเหมาปูบล็อกประดับพื้นเป็นรายจ่ายเพื่อทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน มิใช่รายจ่ายเพื่อการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม จึงถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
         อย่างไรก็ตาม รายจ่ายในการทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน มีลักษณะใกล้เคียงกับค่าซ่อมแซมทรัพย์สินให้คงสภาพเดิม ซึ่งอาจสรุปหลักในการพิจารณาค่าซ่อมแซมทรัพย์สินให้คงสภาพเดิม คือ ต้องเป็นรายจ่ายที่ใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดสึกหรอของทรัพย์สิน โดยไม่ทำให้ทรัพย์สินนั้นมีสภาพดีกว่าสภาพเดิม ณ วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา เช่น ซ่อมรถยนต์ใหม่มาใช้ในกิจการ การเปลี่ยนยางรถยนต์ใหม่แทนของเก่าที่ใช้งานมานาน หรือการซ่อมแซมทรัพย์สิน

2. หลักเกณฑ์รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา
         2.1 รายจ่ายใดทำให้กิจการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน รายจ่ายนั้นถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2509
         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2509 วินิจฉัยว่า รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5) มิใช่หมายถึงรายจ่ายที่บริษัทได้รับประโยชน์จากรายจ่ายเท่านั้น แต่ต้องเป็นรายจ่ายที่ยังเกิดเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมา ลักษณะที่เป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมาก็คือ เป็นทรัพย์สินของบริษัทรายจ่ายที่โจทก์จ่ายไปในการสร้างท่าเรือ สร้างทางแยกและสร้างถนนที่ไม่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของบริษัท จึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5)
         2.2 รายจ่ายใดทำให้กิจการได้รับประโยชน์เกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี รายจ่ายนั้นถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2543
      คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2543 วินิจฉัยว่า โจทก์ประกอบกิจการให้เช่าเครื่องจักรผลิตกล่องและบรรจุอาหารโดยโจทก์เช่าเครื่องจักรจากบริษัทในประเทศสิงคโปร์แล้วนำมาให้ลูกค้าในประเทศไทยเช่าช่วง ค่าเช่าพื้นฐานที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่ารวมทั้งค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเครื่องจักรที่เช่าเป็นรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิการเช่าเครื่องจักร ซึ่งสิทธิการเช่าเครื่องจักรนี้ถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง การได้มาซึ่งสิทธิการเช่า จึงเป็นการได้สิทธิในทรัพย์สิน และเนื่องจากสิทธิการเช่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการของโจทก์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี  ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน โจทก์จึงไม่มีสิทธินำไปหักเป็นรายจ่ายทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีโจทย์นำเครื่องจักรดังกล่าวออกให้เช่าช่วง โจทก์คงมีสิทธิทยอยหักในรูปของค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา เมื่อการเช่าเครื่องจักรระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจึงหักได้ไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชีละร้อยละ 10 ตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 การที่เจ้าพนักงานประเมินนำรายจ่ายดังกล่าวมาเฉลี่ยหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเป็นเวลา 10 ปี จึงชอบด้วยกฎหมาย

3.หลักการบัญชีเกี่ยวกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
   สำหรับเรื่องรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน สมาคมนักบัญชีแห่งประเทศไทยเสนอแนะว่าหลักเกณฑ์ที่จะนำมาพิจารณาว่ารายจ่ายใดเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นทุนหรือไม่นั้น ควรพิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) หลักกรรมสิทธิ์ (Ownership Principle) หมายความว่า รายจ่ายนั้นเมื่อจ่ายไปแล้วได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินหรือไม่ ถ้าได้รับถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นทุน ตามหลักนี้รายจ่ายที่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมิได้หมายถึงรายจ่ายที่กิจการได้รับประโยชน์เท่านั้น แต่ต้องเป็นรายจ่ายแล้วบังเกิดเป็นทุนรอนของกิจการขึ้นมา ลักษณะที่เป็นทุนรอนของกิจการขึ้นมาก็คือเป็นทรัพย์สินของกิจการ
(ข) หลักประโยชน์ (Benefit Principle) หมายความว่า รายจ่ายนั้นเมื่อจ่ายไปแล้วได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ใดมาก็ตาม หากแต่ได้รับประโยชน์ตอบแทนต่อกิจการจากการใช้ทรัพย์สินก็ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นทุน ตามหลักนี้รายจ่ายใดถ้าจ่ายไปแล้วเป็นประโยชน์แก่กิจการเฉพาะในรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันเท่านั้น รายจ่ายนั้นถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไร เช่น เงินเดือน ค่าจ้างลูกจ้างพนักงาน ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ค่าน้ำค่าไฟ ค่าไปรษณีย์ ส่วนรายจ่ายใดถ้าจ่ายไปแล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว รายจ่ายนั้นถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน เช่น รายจ่ายค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน โรงงาน รายจ่ายค่าต่อเติมอาคาร เงินกินเปล่า หรือเงินช่วยค่าก่อสร้างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิการเช่า รายจ่ายค่าซื้อเครื่องจักร เครื่องใช้สำนักงาน รถยนต์ที่ซื่อมาใช้ในกิจการ หลักนี้เป็นหลักที่นักบัญชีใช้กันมาช้านานแล้ว
(ค) หลักความสำคัญ (Materiality) หมายความว่า รายจ่ายนั้นโดยทั่วไปมักจะเป็นจำนวนเงินก้อนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายครั้งเดียวหรือผ่อนชำระก็ตาม แต่บางกรณีอาจจะเป็นจำนวนเงินเล็กน้อยก็ได้ ในการปฏิบัติทางบัญชี ถ้ารายจ่ายใดต่ำกว่า 500 บาท แม้จะเข้าหลักเกณฑ์ตาม (ก) หรือ (ข) ก็ไม่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นทุน แต่ในทางภาษีอากรไม่ถือเช่นนั้น หลักนี้มาจากข้อสมมติฐานขั้นพื้นฐานทางการบัญชี (Basic Accounting Concept) ที่ว่า ในการพิจารณาว่าควรจะเปิดเผยข้อมูลอะไรบ้างนั้น ควรที่จะพิจารณาเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่สำคัญๆ อันจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเท่านั้น ข้อมูลที่ม่สำคัญไม่ควรจะเปิดเผย เพราะจะทำให้สาระที่สำคัญๆ มีความชัดเจนน้อยลงตามหลักนี้ รายจ่ายใดถ้าเป็นจำนวนเงินเพียงเล็กน้อยแม้จ่ายออกไปแล้ว จะทำให้กิจการได้รับประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี หรือทำให้กิจการได้มาซึ่งทรัพย์สิน รายจ่ายนั้นก็ไม่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน แต่จะถือเป็นรายจ่ายเพื่อหาผลกำไร ส่วนจำนวนเงินเท่าใดจึงจะถือเป็นเงินจำนวนเล็กน้อยนั้น โดยทั่วไปถ้ามีจำนวนต่ำกว่า 500 บาท แล้วถือเป็นเงินจำนวนเล็กน้อย เช่น เงินค่าซื้อไม้แขวนเสื้อราคา 100 บาท จะไม่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนแม้ว่าจะจ่ายไปแล้วจะทำให้กิจการได้รับประโยชน์จากไม้แขวนเสื้อเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีและได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในไม้แขวนเสื้อนั้นก็ตาม แต่จะถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไร เพราะเงินที่จ่ายไปนั้นต่ำกว่า 500 บาท อย่างไรก็ดี บางบริษัทอาจถือจำนวนเงินมากกว่า 500 บาท เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไร  แต่บางบริษัทก็ให้ถือว่ารายจ่ายที่ต่ำกว่า 2,000 บาท เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรก็ได้ แล้วแต่นโยบายของแต่ละบริษัท

บทสรุป
             การพิจารณาว่า รายจ่ายใดเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น รายจ่ายดังกล่าวต้องเป็นรายจ่ายเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี หากเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่กฎหมายมีข้อผ่อนปรนให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โดยหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ตามมาตรา 65 ทวิ (2) ประกอบพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 อย่างไรก็ดี การที่จะนำรายจ่ายดังกล่าวมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้นั้น จะเริ่มหักนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาและวันที่ถือว่าได้ทรัพย์สินมาหมายถึงวันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้
ประเด็นปัญหาและแนววินิจฉัยที่น่าสนใจ
1.แนวคำพิพากษาศาลฎีกา
         เรื่องที่ 1 รายจ่ายดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่ ดูฎีกาที่ 5857/2549
         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2549 วินิจฉัยสรุปความได้ว่า โจทก์นำเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางส่วนไปใช้ในกางลงทุนก่อสร้างโรงงานรายจ่ายดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจ แต่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ประกอบพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4
        เรื่องที่ 2 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2549 วินิจฉัยสรุปความได้ว่า เทปรายการโทรทัศน์ที่โจทก์ผลิตเองและออกอากาศไปแล้ว โจทก์ไม่ได้เก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในการหารายได้อันจะถือเป็นทรัพย์สินที่ก่อมูลค่าแก่กิจการอีกต่อไปค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์แต่ละครั้งจึงมิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
       เรื่องที่ 3 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2549 วินิจฉัยสรุปความได้ว่า การที่โจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ในประเทศเพื่อซื้อที่ดิน เงินกู้และดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินย่อมถือเป็นต้นทุนของที่ดินและเป็นค่าใช้จ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต่อมาโจทก์กู้ยืมเงินตราต่างประเทศมาเพื่อใช้หนี้เงินกู้ในประเทศ แม้มิใช่กู้เงินตราต่างประเทศเพื่อซื้อที่ดินโดยตรง แต่เมื่อโจทก์นำเงินกู้ในประเทศไปใช้ซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาและแบ่งขายในลักษณะโครงการปลูกสวนป่า หนี้เงินกู้และดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจึงเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับหนี้เงินกู้ในประเทศ ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายจ่ายค่าซื้อที่ดินอันเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน และการที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ดังนั้นผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายต่อเนื่องเท่านั้นที่เป็นผลโดยตรงจากการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศมาชำระหนี้เงินกู้ในประเทศเพื่อซื้อที่ดิน อันเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดินซึ่งเป็นต้นทุนของโจทก์ หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการบริหารงานในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทย์ไม่ เมื่อโจทย์คำนวณรายได้และรายจ่ายโดยใช้เกณฑ์สิทธิแต่โจทก์ยังไม่สามารถพัฒนาที่ดินเพื่อขายได้ โจทก์จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ามาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท
            เรื่องที่ 4 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2548 วินิจฉัยสรุปความได้ว่า ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาด้วยเงินกู้จากบริษัท อ. แล้วนำที่ดินดังกล่าวไปให้บริษัท อ. เช่านั้น ถือเป็นรายจ่ายที่ได้มาซึ่งที่ดินและโจทก์ได้รับประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวเป็นค่าเช่ามากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าซื้อที่ดินจึงเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินแก่โจทก์ ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน แม้ดอกเบี้ยของเงินกู้มาซื้อที่ดินจะไม่เป็นรายจ่ายที่ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ก็ถือว่าเป็นรายจ่ายต่อเนื่องที่เป็นผลให้โจทก์ได้รับเงินกู้จากผู้ให้กู้มาซื้อที่ดิน ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนไม่ใช่รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจเพื่อหากำไร ดอกเบี้ยอันเกิดจากที่โจทก์กู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่านั้น จึงนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
2.แนววินิจฉัยของกรมสรรพากร
             เรื่องที่ 1 รายจ่ายค่าออกแบบอาคารอพาร์ทเม้นท์ เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการก่อสร้างทรัพย์สิน เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ จะนำรายจ่ายดังกล่าวมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาก็ไม่ได้เช่นกันเพราะเป็นการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินจะเริ่มหักนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา และวันที่ถือว่าได้ทรัพย์สินมา หมายถึงวันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งในกรณีนี้คือวันที่มีการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ แต่กรณีของบริษัทฯ ยังไม่มีการก่อสร้างอาคาร ดังนั้น บริษัทฯ ควรตั้งบัญชีไว้เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนแม้ในขณะนี้บริษัทฯ มีนโยบายล้มเลิกโครงการไม่มีการก่อสร้างอาคารต่อไปอีก แต่บริษัทฯ ไม่ได้เลิกกิจการยังคงประกอบกิจการอยู่ แบบอาคารอพาร์ทเม้นท์จึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบรษัทฯ ถ้าในอนาคตบริษัทฯ มีการดำเนินการโครงการต่อหรือกรณีบริษัทฯ ขายแบบอาคารอพาร์ทเม้นท์ดังกล่าวไป บริษัทฯ ย่อมนำแบบอาคารดังกล่าวมาเป็นประโยชน์ได้ แต่จะนำรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนของโครงการที่ตั้งบัญชีไว้มาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่ เมื่อใด ด้วยวิธีใด ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในอนาคตที่ยังไม่อาจคาดการณ์ได้
          เรื่องที่ 2 กรณีบริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามสัญญาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 โดยตามสัญญาบริษัทฯ ต้องจ่ายเงินให้กับ กฟผ. เป็นจำนวน 730 ล้านบาท เพื่อให้ กฟฝ. ดำเนินการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าใหม่ (NEW TRANSMISSION FACILITIES – NTF) เพื่อเชื่อมโยงกับระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ.เมื่อบริษัทฯ ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าแบบใหม่ (NTF) ให้แก่ กฟผ. ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ฉบับลงวันที่ 30 มิถุนายน 2540  เพื่อให้ กฟผ. นำไปก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อใช้ในกิจการซื้อขาย ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งจำนวนวในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
          เรื่องที่ 3 บริษัท P ได้ก่อสร้างอาคารโกดัง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 โดยว่าจ้างบริษัท D จำกัด เป็นผู้ออกแบบ บริษัท T และ E เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและบริษัท S เป็นผู้ดำเนินการด้านขุดเจาะและตรวจสภาพชั้นดิน ในระหว่างการก่อสร้าง ลักษณะของดินเกิดการพังทลาย ประมาณเดือนมกราคม 2549 จึงหยุดการก่อสร้าง บริษัทฯได้ว่าจ้างวิศวกรมาทำการวิเคราะห์เสถียรภาพ การแก้ปัญหาการเคลื่อนตัวของกำแพงกันดินและการออกแบบแก้ไข จากผลการวิเคราะห์ บริษัทฯ ตัดสินใจไม่ดำเนินการก่อสร้างอาคารต่อและยกเลิกสัญญาเช่าที่ดินและขนย้ายเครื่องมือออกจากที่ก่อสร้างรวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง จำนวน 9,198,178 บาท ซึ่งบริษัทฯ บันทึกบัญชีเป็นทรัพย์สินระหว่างก่อสร้าง กรณีบริษัทฯ ขอยกเลิกการก่อสร้างเนื่องจากปํญหาการพังทลายของดิน มูลค่าของทรัพย์สินระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 9,198,178 บาท สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2549 ได้หรือไม่ และถ้าบริษัทฯ ไม่ได้ดำเนินการฟ้องร้องกับบริษัท S และบริษัท D  มีผลต่อการบันทึกค่าใช้จ่ายหรือไม่ ซึ่งประเด็นปํญหาดังกล่าววินิจฉัยได้ว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการก่อสร้างอาคารโกดัง เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน มิให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ จะนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินจะเริ่มหักนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา กล่าวคือวันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้แล้ว แต่กรณีอาคารโกดังของบริษัทฯ เป็นทรัพย์สินที่ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จหากบริษัทฯ ประสงค์จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด บริษัทฯ จะต้องทำการรื้อหรือทำลายสิ่งก่อสร้างดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจกรมสรรพากรอนุมัติเป็นอย่างอื่นได้ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ไม่ได้เลิกกิจการยังคงประกอบกิจการต่อไป ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ การออกแบบ และการจัดโครงการก็ยังอยู่ และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ จึงควรบันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ในอนาคตหากบริษัทฯ มีการดำเนินการโครงการต่อหรือกรณีบริษัทฯ ขายแบบอาคารโกดัง บริษัทฯจะนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่ เมื่อใด ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าซึ่งยังไม่อาจคาดการณ์ได้ และแม้จะมีการฟ้องร้องทางแพ่งระหว่างบริษัทฯ กับคู่กรณี ก็ไม่มีผลต่อการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้แต่อย่างใด
           เรื่องที่ 4 บริษัท ท. ประกอบธุรกิจ Freight Forwarder มีลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ บริษัทฯได้ซื้ออาคารชุดเพื่อรับรองลูกค้าในการติดต่อธุรกิจ รายจ่ายจากการซื้ออาคารชุดประกอบด้วยค่าธรรมเนียมคำขอต่างๆ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ ค่าธรรมเนียมธนาคารในการจดจำนอง ค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ยจ่าย รายจ่ายดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ให้นำไปหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามมตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่145) พ.ศ. 2527 สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้จ่ายไป หากเป็นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 375) พ.ศ.2543
            เรื่องที่ 5 ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการที่พักอาศัยและโครงการโรงแรม เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน มิให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯจะนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินจะเริ่มหักนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา วันที่ถือว่าได้ทรัพย์สินมาหมายถึงวันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้ คือวันที่มีการก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งกรณีทรัพย์สินของบริษัทฯ เป็นทรัพย์สินที่ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ดังนั้นหากบริษัทฯ ประสงค์จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด บริษัทฯก็จะต้องทำการรื้อหรือทำลายสิ่งก่อสร้างดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นแต่ประการเดียวเท่านั้นทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจกรมสรรพากรอนุมัติเป็นอย่างอื่นได้
          เรื่องที่ 6 ค่าต่อเติมและปรับปรุงอาคารเช่า เป็นการทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีสิทธินำไปหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4(5) แหงพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 เมื่อบริษัทฯ ได้ต่อเติมและปรับปรุงอาคารเช่าโดยมิได้มีการรื้อของเดิมทิ้ง บริษัทฯ จะนำค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินส่วนที่ยังตัดไม่หมดไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทั้งจำนวนไม่ได้ต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต่อไปจนหมด เว้นแต่บริษัทฯ ได้มีการรื้อหรือทำลายทรัพย์สินนั้น บริษัทฯ จึงมีสิทธิตัดต้นทุนที่เหลืออยู่เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทั้งจำนวนในปีที่มีการรื้อหรือทำลายได้ อนึ่ง การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้นทุนดังกล่าวต้องหักในฐานะมูลค่าต้นทุนของอาคารถาวรซึ่งบริษัทฯ หักได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าต้นทุนนั้น ตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145 ) พ.ศ. 2527
           เรื่องที่ 7 บริษัทประกอบกิจการทำเหมืองแร่หินปูนและโรงโม่ เพื่อย่อยหินโดยการรับสัมปทาน (ประทานบัตร) จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2 แห่ง คือ อำเภอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอ จังหวัดกระบี่ บริษัทฯ ต้องการขยายฐานธุรกิจการเหมืองแร่ไปยังจังหวัดชลบุรี บริษัทฯจึงได้ซื้อที่ดินบริเวณที่ราบเชิงเขาเขียวของอำเภอ  ซึ่งจากกการคำนวณพบว่า มีปริมาณแร่สำรองประมาณ 30 ล้านตัน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ซื้อที่ดินมาเพื่อทำเหมืองแร่ เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้และไม่มีสิทธินำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145 ) พ.ศ. 2527
           เรื่องที่ 8 กรณีเงินเดือนของพนักงานบริษัทฯ ในสายงานพัฒนาธุรกิจ ค่าเสื่อมราคาอาคารสำนักงานใหญ่ซึ่งบริษัทฯ ใช้เป็นปกติวิสัย ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายตามปกติทั่วไปสำหรับสายงานพัฒนาธุรกิจ เนื่องจากรายจ่ายต่างๆ ดังกล่าว เป็นรายจ่ายตามปกติ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำและไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯจึงมีสิทธินำรายจ่ายต่างๆ ดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่รายจ่ายดังกล่าวเกิดขึ้น ทั้งนี้ไม่ว่ารายจ่ายดังกล่าวจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการจัดตั้งบริษัทลูก และไม่ว่าโครงการดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม
          สำหรับค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการใหม่ๆ นั้นเนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษ และเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทลูกในแต่ละโครงการ ดังนั้นบริษัทฯ จึงต้องนำรายจ่ายดังกล่าวมาบันทึกป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนในแต่ละโครงการ โดยถือเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
           อนึ่ง หากโครงการที่บริษัทฯ ศึกษาความเป็นไปได้ ไม่ประสบความสำเร็จและถูกยกเลิกก่อนที่จะมีการลงทุนในหุ้น บริษัทฯสามารถนำค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการล้มเลิกโครงการดังกล่าว เนื่องจากบริษัทฯ ไม่มีสินทรัพย์ใดๆ ให้บันทึกเป็นต้นทุนอีกต่อไป
           เรื่องที่ 9 กรณีบริษัทผู้เช่าที่ดินมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงป้ายเหล็ก ถือเป็นรายจ่านอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน จึงต้องห้ามมิให้นำมาหักเป็นรายจ่านในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ให้นำต้นทุนดังกล่าวทั้งหมดมาถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินเพื่อหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
         เรื่องที่ 10 การพิจารณาว่ารายจ่ายใดเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น รายจ่ายดังกล่าวต้องเป็นรายจ่ายเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ และก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งกรณีตามข้อเท็จจริงการก่อสร้างและปรับปรุงระบบสายส่งไฟฟ้า แม้ว่าจะอำนวยประโยชน์แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลานานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีก็ตาม แต่เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จทรัพย์สินจะตกเป็นของการไฟฟ้าฯ มิใช้กรรมสิทธิ์ของบริษัท ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากรายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ สามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
           เรื่องที่ 11 บริษัทฯ ได้เช่าอาคารและพื้นที่เพื่อใช้เป็นสำนักงานและจำหน่ายสินค้า โดยได้ลงทุนตกแต่งพื้นที่ดังกล่าวและลงบัญชีเป็นค่าตกแต่งตัดจำหน่ายในอัตราที่กฎหมายกำหนด ต่อมาได้มีการตกแต่งใหม่โดยที่ค่าตกแต่งเดิมยังตัดไม่หมด ค่าตกแต่งอาคารและพื้นที่เป็นการทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีสิทธินำไปหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2)  แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145 ) พ.ศ. 2527 กรณีที่บริษัทฯ ได้มีการตกแต่งสำนักงานใหม่ โดยมิได้มีการรื้อของเดิมทิ้ง บริษัทฯจะนำค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินส่วนที่ยังตัดไม่หมดไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทั้งจำนวนไม่ได้ ต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต่อไปจนหมด เว้นแต่บริษัทฯ ได้มีการรื้อหรือได้ทำลายทรัพย์สินนั้น บริษัทฯ จึงจะมีสิทธิตัดต้นทุนที่เหลืออยู่เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทั้งจำนวณในปีที่มีการรื้อหรือทำลายได้
          เรื่องที่ 12 กรณีค่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซึ่งกรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้กู้ยืมจากธนาคารเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและตกแต่งอาคารใช้เป็นสถานประกอบกิจการของบริษัทฯ โดยการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวเป็นการปลูกสร้างอาคารลงบนที่ดินของบริษัทฯ ได้เช่ามาจากกรรมการซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารดังกล่าว และเงินที่กู้มาจากธนาคารก็ได้มีการนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามของบริษัทฯ ซึ่งได้รับรองว่าเป็นการกู้ยืมในนามของบริษัทฯ ตามบันทึกรายงานการประชุมของผู้ถือหุ้น ดังนั้นบริษัทฯ จึงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากเงินกู้ยืมโดยตรง ซึ่งบริษัทฯ ต้องร่วมรับผิดชอบในการกู้ยืมเงินนั้นด้วย ดังนั้นดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกูยืมดังกล่าวย่อมเป็นรายจ่ายของบริษัทฯโดยตรง แต่เนื่องจากได้จ่ายไปในระหว่างการก่อสร้างจนถึงการก่อสร้างแล้วเสร็จหรืออาคารใช้การได้ตามสภาพ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร จะนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ แต่มีสิทธินำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าอาคาร เพื่อหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
         สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องจ่ายไปหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จหรืออาคารนั้นใช้การได้ตามสภาพ บริษัทฯ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่พึงต้องจ่ายได้
         กรณีค่าธรรมเนียมและค่าอากรในการจดทะเบียนจำนองตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีกรรมการนำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนอง ซึ่งเป็นการค้ำประกันการกู้ยืมเงินเพื่อปลูกสร้างอาคารใช้เป็นสถานประกอบการของบริษัทฯ ค่าธรรมเนียมและค่าอากรในการจดทะเบียนจำนองดังกล่าว หากปรากฎหลักฐานเป็นค่าใช้จ่ายของกรรมการบริษัทฯ ผู้จดทะเบียนจำนอง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพราะ บริษัทฯ ไม่อาจนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
          เรื่องที่ 13 กรณีที่บริษัทฯ จ้างบริษัท จ. ออกแบบชุดชั้นในสตรี และแบบดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ นั้น รายจ่ายค่าจ้างออกแบบเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งต้องห้ามมิให้นำมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ มีสิทธิคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
          เรื่องที่ 14 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ได้ทำสัญญาปรับปรุงแบบของสถานีบริการร่วมกับ ป. โดยห้างฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงทั้งหมด และ ป. ให้เงินช่วยเหลือจำนวน 3 ล้านบาท เมื่อห้างฯ ได้ก่อสร้างปรับปรุงสถานีบริการเสร็จสิ้น ห้างฯ มีค่าใช้จ่ายรวมภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 4 ล้านบาท และห้างฯ ได้รับเงินช่วยเหลือจาก ป. จำนวน 3 ล้านบาท ถือเป็นรายได้เนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนเงินค่าก่อสร้างปรับปรุงสถานีบริการที่ห้างฯได้ จ่ายไป ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่าย ต้องห้ามถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ยอมให้หักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ ตามมาตรา 5(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
           เรื่องที่ 15 กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินเริ่มต้นสัญญาเช่า ถือเป็นรายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่าทรัพย์สิน และเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ มีสิทธินำเงินค่าเริ่มต้นสัญญาดังกล่าว มาถือเป็นต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้หรือมีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน ในอัตราร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการเช่าและอายุที่ได้รวมกัน ตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
            เรื่องที่ 16 กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพื้นที่เช่าซึ่งอยู่ใต้พื้นที่ลานคอนกรีตรวมถึงค่าใช้จ่ายในการปรับพื้นที่อาคารสำนักงานและคลังสินค้า ถือเป็นการทำให้มูลค่าของที่ดินสูงขึ้น จึงต้องนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปรวมกับกับราคาที่ดินและถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป้นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีสิทธหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
           เรื่องที่ 17 บริษัทฯ ประกอบกิจการโรงเรียน ให้บริการด้านการศึกษาแก่นักเรียนโดยเปิดกิจการมาประมาณ 3 ปี และมีผลขาดทุนสะสมเรื่อยมา ในเดือนมีนาคม 2550 บริษัทฯได้ขายที่ดิน 1 แปลงซึ่งเคยใช้เป็นที่จอดรถ บริษัทฯ ต้องนำรายได้จากการขายที่ดินมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยบริษัทฯ มีสิทธินำต้นทุนการซื้อที่ดินและผลขาดทุนสะสมของบริษัทฯ ที่ไม่เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) และ (12) แห่งประมวลรัษฎากร มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร




ความรู้เกี่ยวกับภาษี

SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร ? article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 โดยอาจารย์ อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ article
การชดเชยค่าภาษีอากร-บัตรภาษี article
มนุษย์เงินเดือนเฮครม.อนุมัติลดหย่อนภาษีหักค่าใช้จ่าย60% (มีผลบังคับใช้ในปี 2550) article
การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย article
ภาษีป้าย article
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
ใบลดหนี้ (Credit Note)
ภาระภาษีในการประนอมหนี้ ค่าบริการ
เงื่อนไขในการคำนวณส่วนของ หนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจาก ภาษีขาย
การทำบัญชี ของบุคคลธรรมดา ที่ไม่จด VAT
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือ Consortium
Income Tax Guide for foreign Company
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี
ภาษีค่าสิทธิ - จากสรรพากรสาส์น
ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่าย
การเสีย VAT กรณีนำเข้าสินค้ามาขายแบบ 3 เส้า
คลังสินค้าทัณฑ์บน (BONDED WAREHOUSE ) คืออะไร?
เขตปลอดอากร เขตยกเว้นภาษี
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่น่าสนใจ
บัญชีอากรแสตมป์ อัตราอากรแสตมป์
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ตาม มาตรา 56 ทวิ)
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
การเฉลี่ยภาษีซื้อ
Withholding Tax Rates for Royalties under Thailand's DTAs
Withholding Tax Rates for Interest under Thailand's DTAs
เงินได้พึงประเมินที่ผู้เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสิทธิแยกคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) article
คณะบุคคล... อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม
ภาษีบ้านเช่าครึ่งปี
ภาษีเลี้ยงรับรองปีใหม่
ภาษีค่าน้ำมันรถ
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจาก 50,000 เป็น 100,000
มาตรการสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ + ห้องชุด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สารพัน ปัญหาภาษีสรรพากร - สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ค่าชดเชยการเลิกจ้าง กับภาระภาษีอากร
ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนประกันชีวิตได้รับถือเป็นเงินได้ประเภทใด
ขายสินค้าเกษตรเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับรู้รายได้เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลเสียหายจากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรายได้จากการให้บริการป้ายโฆษณา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าซ่อมเครื่องจักรและ ค่าที่ปรึกษาไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์และค่าบริการอื่นให้แก่บริษัทต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของนิติบุคคลอาคารชุด
ปัญหา ของขวัญกับการเสียภาษี
ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
ปัญหา ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF
เงินสนับสนุนการศึกษาและเงินบริจาค
สารพันปัญหา "ค่าลดหย่อน"
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ.2564)
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
การคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
พระราชกฤษฎีกา ลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ปี 2555
การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ
คำชี้แจงกรมสรรพากร กรณีการยื่นแบบเสียภาษีของสามีและภรรยา ปี 2555
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ป็นทางค้าหรือหากำไร
สรุปอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2555-2558
มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs
สรุปคำชี้แจงการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
บัญชี IFRS for SMEs กับภาษี ตอน รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาของ SMEs
ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า!!!
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ เมื่อมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
ฎีกาภาษี : การขีดฆ่าอากรแสตมป์
ภาษีการรับมรดก
เครื่องมือช่วยคำนวณรายการทางบัญชีเป็นรายการทางภาษี
วิธีการประมาณการกําไรสทธิ ภงด.51 article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กับกิจการขายของ Online article
เงินได้พึงประเมินของผู้ประกอบโรคศิลปะ-แพทย์(หมอ) article
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง article
คำสั่งกรมสรรพากร. ที่ป.161/2566. เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี