ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ 2564,กฎกระทรวง ฉบับที่ 374
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใช้ 1 มกราคม 2554 - 31 ธันวาคม 2566)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม)
bulletคำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ.2564)

กฎกระทรวง ฉบับที่  374  (พ.ศ.  2564)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ 

หลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่บังคับใช้มาเป็นเวลานานเกือบ 30 ปี ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) ไม่สอดคล้องกับสภาพการดำเนินงานทางธุรกิจในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ.2564) ที่ได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และให้ผู้ประกอบการสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม โดยหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ จะมีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

หลักเกณฑ์สำคัญของหนี้ ข้อ 3   หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

                      (1) ต้องเป็นหนี้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ ไม่รวมหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ 

                      (2) ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้

 

สรุปสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมุ่งเน้นถึงการจำหน่ายหนี้สูญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปเป็นหลัก ดังนี้

1. กำหนดจำนวนหนี้ในการจำหน่ายหนี้สูญในแต่ละลำดับชั้นใหม่ ดังนี้

     โดยหลักแล้ว การจำหน่ายหนี้สูญสำหรับมูลหนี้ในแต่ละลำดับชั้นจะมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่แตกต่างกัน การปรับเกณฑ์จำนวนหนี้ที่จะจำหน่ายเป็นหนี้สูญตามกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ นอกจากทำให้เจ้าหนี้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยการนำหนี้สูญมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ยังทำให้การตัดจำหน่ายหนี้สูญสะดวกมากขึ้น

2. มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ใหม่ในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้

2.1 กรณีจำนวนหนี้ตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป

 

หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 3 แล้ว  ต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย

(1) ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี  โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถาม อย่างชัดแจ้ง  แต่ไม่ได้รับชำระหนี้  โดยปรากฏว่า 

(ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย  เป็นคนสาบสูญ  หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป  และ ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้  หรือ 

(ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ  และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมด ของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

(2) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่น ฟ้องในคดีแพ่ง โดยได้มีหมายบังคับคดีของศาลแล้วและมีรายงานการบังคับคดีครั้งแรกของเจ้าพนักงาน บังคับคดีอันสามารถแสดงได้ว่าได้มีการดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชำระหนี้ได้ (3) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย หรือในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย  โดยได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกหรือ ศาลได้มีคำสั่งปิดคดีแล้ว

 

การด าเนินการตาม  (2)  หรือ  (3)  ที่ได้กระทำในต่างประเทศหรือการดำเนินการอื่น ในลักษณะทำนองเดียวกันที่ได้กระทำในต่างประเทศ  ต้องมีเอกสารหลักฐานแห่งการดำเนินการ ที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ  ออกให้  และหลักฐานดังกล่าวต้องได้รับการรับรองคำแปล จากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย  ตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร

 

2.2 กรณีมูลหนี้ไม่เกิน 2,000,000 บาท

 หนี้สูญ ที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ  3  แล้ว  ต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง   ดังต่อไปนี้ด้วย

1) ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี  โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถาม อย่างชัดแจ้ง  แต่ไม่ได้รับชำระหนี้  โดยปรากฏว่า 

(ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย  เป็นคนสาบสูญ  หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป  และ ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ  จะชำระหนี้ได้  หรือ 

(ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ  และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมด ของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

(2) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคำขอ เฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว   

(3) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้ว  หรือในคดี ที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับำฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย  และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์หรือศาล  แล้วแต่กรณี ได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้นั้นแล้ว

 

ในกรณีตาม  (2)  หรือ  (3)  กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้  ต้องมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้  ภายในสามสิบวัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น 


2.3 กรณีมูลหนี้ไม่เกิน 200,000 บาท

 

ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน  200,000 บาท

1.หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

                      (1) ต้องเป็นหนี้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ ไม่รวมหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ

                      (2) ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้

 2.ได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชําระหนี้และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชําระ (ควรทวงถามเป็นหนังสืออย่างน้อย 2 ครั้ง)

 

หลักกฎหมายที่อ้างอิง-กฎกระทรวง ฉบับที่  374  (พ.ศ.  2564)กรมสรรพากร

 

 

 

หลักเกณฑ์การตัดหนี้สูญตามหลักเกณฑ์เดิมใช้ตั้งแต่ปี 2534 ถึงปี 2562 (ของเดิม)

 

หลักเกณฑ์การตัดหนี้สูญตามประมวลรัษฎากร

 

กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญไว้ คือ มาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ว่า การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่ถ้าได้รับชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใดให้นำมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

 

โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) ได้วางหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ไว้ดังนี้

 

1.    หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

·     ต้องเป็นหนี้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ไม่รวมถึงหนี้ที่ผู้เป็นหรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ

(กรรมการซื้อสินค้าแล้วไม่จ่าย ก็ตัดหนี้สูญไม่ได้)

 

·       ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องร้องลูกหนี้ได้

(หลักฐานชัดเจน เช่น ใบรับสินค้า ใบส่งของ ใบกำกับภาษี หรือ เช็คที่ธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน)

 

2.    หลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญ มี 3 กรณี

 

2.1           ลูกหนี้ที่เป็นหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาท

(หนี้ของลูกหนี้แต่ละราย หมายถึง จำนวนหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย แม้ว่าลูกหนี้คนเดียวกันจะเป็นหนี้หลายจำนวนหรือหลายครั้งก็ตาม (รวมหนี้ทั้งหมด))

 

ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาทไปให้ดำเนิการดังนี้

 

·        กรณีไม่ต้องมีการดำเนินการทางศาล

 

กรณีนี้สามารถจำหน่ายหนี้สูญได้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ต้องมีการทวงหนี้ กล่าวคือ ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า

ก. ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้

ข. ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

 

                (หากเกิดเพียงกรณีตามข้อ ก หรือ ข้อ ข กรณีใดกรณีหนึ่งก็จำหน่ายหนี้สูญได้แล้ว)                                                                                                           

·        กรณีที่มีการดำเนินการทางศาล

ก. กรณีฟ้องคดีแพ่ง ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้นๆ ได้มีคำบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้

 

(การจำหน่ายหนี้สูญในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาทขึ้นไป หลักฐานที่พิสูจน์ว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ เดิมกรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ คือ สำเนารายงานการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่รายงานต่อศาลมาใช้ประกอบการจำหน่ายหนี้สูญ และกรมสรรพากรไม่เคยยอมรับการใช้รายงานของเจ้าหนี้ผู้ติดตามสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ประกอบกับคำบังคับของศาลที่ให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือ คำสั่งเป็นหลักฐานในการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ได้ แต่ปัจจุบันการจำหน่ายหนี้สูญ ในกรณีดังกล่าว สามารถใช้สำเนารายงานการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่แสดงว่า ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ที่จะชำระหนี้ได้ โดย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องรับรองความถูกต้องของรายงานด้วย หรือเจ้าหนี้อาจใช้รายงานการติดตามสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้จากทนายความ โดยแจ้งรายงานดังกล่าวเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประกอบการจำหน่ายหนี้สูญ กรณีเช่นนี้ หากเจ้าหนี้จำหน่ายหนี้สูญ โดยใช้หลักฐานตามแนวทางที่กรมสรรพากรได้วางไว้ ก็น่าจะเป็นการยอมรับของเจ้าพนักงานประเมินได้)

 

ข. กรณีฟ้องคดีล้มละลาย ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้นๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาล พิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการ แบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว

 

(การประนอมหนี้ หมายถึง การที่ลูกหนี้ขอทำความตกลงกับเจ้าหนี้ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โดยลูกหนี้จะชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้แต่เพียงบางส่วน)

 

เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบกับการประนอมหนี้ ผู้ฟ้องคดีล้มละลายย่อมมีสิทธิจำหน่ายหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายออกจากบัญชีลูกหนี้ได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นได้ และในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องเอง แต่เจ้าหนี้รายอื่นเป็นผู้ฟ้องและเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว รวมถึงกรณีที่ประนอมหนี้ไม่สำเร็จ ศาลก็จะมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ซึ่งจะต้องมีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกก่อน จึงจะจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งแรกได้

 

 

2.2           ลูกหนี้ที่เป็นหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท

               

ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

                       (1) ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า

                            (ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้

                            (ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

 

(หากเกิดเพียงกรณีตามข้อ ก หรือ ข้อ ข กรณีใดกรณีหนึ่งก็จำหน่ายหนี้สูญได้แล้ว)                           

                      (2) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว หรือ

 

(เพียงแต่ให้ศาลมีคำสั่งรับฟ้องคดีที่เจ้าหนี้ฟ้องหรือยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ เจ้าหนี้ก็สามารถตัดจำหน่ายหนี้สูญได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น (รอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลรับฟ้องเท่านั้น) ไม่ต้องรอผลแห่คดีว่าอย่างไร)

 

                      (3) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้นั้นแล้ว

 

( กฎหมายให้จำหน่ายหนี้สูญได้ทันทีในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องในคดีล้มละลายหรือมีคำสั่งขอรับชำระหนี้ โดยไม่ต้องรอให้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งแรก เหมือนกรณีที่หนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาท)

                 

ในกรณีตาม (2) หรือ (3) กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

 

2.3           ลูกหนี้ที่เป็นหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท

 

การจำหน่ายหนี้สูญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุน ฯ ( สถาบันการเงิน) ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์เหมือนในข้อ 2.1 หรือ ข้อ 2.2 ถ้าปรากฏว่าได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับ

 

สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของธนาคาร หรือบริษัทเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท การจำหน่ายหนี้สูญก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับการจำหน่ายหนี้สูญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท

 

กฏหมายที่อ้างอิง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กฎกระทรวง

ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้

 

---------------------------------------------

 

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

 

                ข้อ 1   ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 181 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้

 

               “ข้อ 2  การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 261 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 11 สิงหาคม 2549 เป็นต้นไป)

 

                ข้อ 3   หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

                      (1) ต้องเป็นหนี้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ ไม่รวมหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ

                      (2) ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้

 

                ข้อ 4   การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาทขึ้นไป ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

                      (1) ให้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า

                            (ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้

                            (ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

                      (2) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีคำบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้ หรือ

                      (3) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว

 

                ข้อ 5   การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

                      (1) ได้ดำเนินการตามข้อ 4 (1) แล้ว

                      (2) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว หรือ

                      (3) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้นั้นแล้ว

                      ในกรณีตาม (2) หรือ (3) กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

 

                ข้อ 6   การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 หรือข้อ 5 ถ้าปรากฏว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ

                      ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับสำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนดังกล่าว ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาทด้วย

 

                “ข้อ ๖ ทวิ   การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖

                      “สถาบันการเงิน” หมายความว่า

                      (๑) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์

                      (๒) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน

                      (๓) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๗๖ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ใช้บังคับวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป)

 

                “ข้อ 6 ตรี   การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในส่วนที่ได้ปลดหนี้หรือประนอมหนี้ให้ลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 216 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับ 10 เมษายน 2541 เป็นต้นไป)

 

                “ข้อ ๖ จัตวา   การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖

                      “สถาบันการเงิน” หมายความว่า

                      (๑) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน

                      ((๒) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

                      (๓) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย

                      (๔) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์

                      (๕) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน

                      (๖) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม

                      (๗) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

                      “เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน

                      “ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วยและให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๗๖ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ใช้บังคับวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป)

 

                “ข้อ 6 เบญจ   การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญและลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ 100 ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด สำหรับหนี้ในส่วนที่ได้กันเงินสำรองไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6

                      การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญและลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ 100 ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด สำหรับหนี้ในส่วนที่ได้กันเงินสำรองไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2534 จนถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2539 โดย

                      (1) ในส่วนของหนี้ที่ได้กันเงินสำรองไว้และได้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ให้จำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลังเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6

                      (2) ในส่วนของหนี้ที่ได้กันเงินสำรองไว้แต่ไม่อาจถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นได้ การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 221 (พ.ศ. 2542) ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2542 เป็นต้นไป)

                      “สถาบันการเงิน” หมายความว่า

                            (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์

                            (2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

                            (3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งนี้ การถือหุ้นโดยอ้อมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                            (4) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 225 (พ.ศ. 2542) ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2542 เป็นต้นไป)

 

                    “ข้อ 6 ฉ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6

                                            “สถาบันการเงิน” หมายความว่า

                                              (1)  ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์

                                              (2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

                                              (3) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์

                                              (4) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

                                            “ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัย” หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล ที่ได้ลงทะเบียนกับศูนย์หรือหน่วยงานช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยของทางราชการ และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้นั้นด้วย

 

                      ข้อ 6  สัตต การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งดำเนินการโดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4  ข้อ 5 หรือข้อ 6 

                                           “เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยและได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน

                                           “ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัย” หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล ที่ได้ลงทะเบียนกับศูนย์หรือหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยของทางราชการ และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้นั้นด้วย

                                          “สถาบันการเงิน” หมายความว่า

                                             (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์

                                             (2) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน

                                             (3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย

                                             (4) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน

                                             (5) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ 

                                             (6) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์

                                             (7) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม

                                             (8) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 261 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 11 สิงหาคม 2549 เป็นต้นไป)

 

                “ข้อ 6  อัฏฐ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่เกษตรกร ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 ทั้งนี้ สำหรับการปลดหนี้ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป

                                     “เกษตรกร” หมายความว่า เกษตรกรตามที่กฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่เข้ากระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกำหนด

                                     “คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

                                    “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 262 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 28 สิงหาคม 2549 เป็นต้นไป)

 

                “ข้อ 7 หนี้ของลูกหนี้รายใดที่ได้ดำเนินการหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ครบถ้วนแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้จำหน่ายเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้และถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่กรณีตามข้อ 5(2) และ (3) ให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้อง คำขอเฉลี่ยหนี้ หรือคำขอรับชำระหนี้ และกรณีตามข้อ 6 ตรี ให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ แล้วแต่กรณี”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 261 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 11 สิงหาคม 2549 เป็นต้นไป)

 

                ข้อ 8  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป

 

ให้ไว้ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534

 

วีระพงษ์ รามางกูร

รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาการแทน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

___________________________________________________________________

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษำากร สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

(ร.จ. เล่ม 108 ตอนที่ 194 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2534)




ความรู้เกี่ยวกับภาษี

SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร ? article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 โดยอาจารย์ อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ article
การชดเชยค่าภาษีอากร-บัตรภาษี article
มนุษย์เงินเดือนเฮครม.อนุมัติลดหย่อนภาษีหักค่าใช้จ่าย60% (มีผลบังคับใช้ในปี 2550) article
การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย article
ภาษีป้าย article
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
ใบลดหนี้ (Credit Note)
ภาระภาษีในการประนอมหนี้ ค่าบริการ
เงื่อนไขในการคำนวณส่วนของ หนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจาก ภาษีขาย
การทำบัญชี ของบุคคลธรรมดา ที่ไม่จด VAT
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือ Consortium
Income Tax Guide for foreign Company
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี
ภาษีค่าสิทธิ - จากสรรพากรสาส์น
ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่าย
การเสีย VAT กรณีนำเข้าสินค้ามาขายแบบ 3 เส้า
คลังสินค้าทัณฑ์บน (BONDED WAREHOUSE ) คืออะไร?
เขตปลอดอากร เขตยกเว้นภาษี
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่น่าสนใจ
บัญชีอากรแสตมป์ อัตราอากรแสตมป์
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ตาม มาตรา 56 ทวิ)
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
การเฉลี่ยภาษีซื้อ
Withholding Tax Rates for Royalties under Thailand's DTAs
Withholding Tax Rates for Interest under Thailand's DTAs
เงินได้พึงประเมินที่ผู้เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสิทธิแยกคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) article
คณะบุคคล... อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม
ภาษีบ้านเช่าครึ่งปี
ภาษีเลี้ยงรับรองปีใหม่
ภาษีค่าน้ำมันรถ
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจาก 50,000 เป็น 100,000
มาตรการสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ + ห้องชุด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สารพัน ปัญหาภาษีสรรพากร - สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ค่าชดเชยการเลิกจ้าง กับภาระภาษีอากร
ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนประกันชีวิตได้รับถือเป็นเงินได้ประเภทใด
ขายสินค้าเกษตรเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับรู้รายได้เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลเสียหายจากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรายได้จากการให้บริการป้ายโฆษณา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าซ่อมเครื่องจักรและ ค่าที่ปรึกษาไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์และค่าบริการอื่นให้แก่บริษัทต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของนิติบุคคลอาคารชุด
ปัญหา ของขวัญกับการเสียภาษี
ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
ปัญหา ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF
เงินสนับสนุนการศึกษาและเงินบริจาค
สารพันปัญหา "ค่าลดหย่อน"
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
การคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
พระราชกฤษฎีกา ลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ปี 2555
การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ
คำชี้แจงกรมสรรพากร กรณีการยื่นแบบเสียภาษีของสามีและภรรยา ปี 2555
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ป็นทางค้าหรือหากำไร
สรุปอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2555-2558
มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs
สรุปคำชี้แจงการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
บัญชี IFRS for SMEs กับภาษี ตอน รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาของ SMEs
ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า!!!
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ เมื่อมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
ฎีกาภาษี : การขีดฆ่าอากรแสตมป์
ภาษีการรับมรดก
เครื่องมือช่วยคำนวณรายการทางบัญชีเป็นรายการทางภาษี
วิธีการประมาณการกําไรสทธิ ภงด.51 article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กับกิจการขายของ Online article
เงินได้พึงประเมินของผู้ประกอบโรคศิลปะ-แพทย์(หมอ) article
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง article
คำสั่งกรมสรรพากร. ที่ป.161/2566. เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง article
การประกอบกิจการโรงพยาบาลสัตว์ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี