ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี สรุปสาระสำคัญของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs)
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


สรุปสาระสำคัญของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs)

สรุปสาระสำคัญของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs)

 

ขอบเขต

 

- ใช้กับกิจการ NPAEs ซึ่งเป็นไปตามคำนิยามเท่านั้น

 

- ถ้ามีเรื่องใดที่มาตรฐานฉบับนี้ไม่กำหนดไว้ กิจการอาจใช้มาตรฐานการรายงาน

ทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดโดยอ้างอิงจาก IFRS

 

- กิจการ NPAEs ที่ประสงค์จะใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชี

กำหนดโดยอ้างอิง IFRS ก็สามารถทำได้ โดยต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดของ

มาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวทุกฉบับ และถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

 

คำนิยาม

 

กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities) หมายถึงกิจการที่ไม่ใช่กิจการดังต่อไปนี้

 

(1) กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการซึ่งมีการซื้อขายในตลาดสาธารณะ

ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศหรือการซื้อขายนอกตลาด

หลักทรัพย์ รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค) หรือกิจการที่นำส่งหรืออยู่ใน

กระบวนการของการนำส่งงบการเงินของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับ

หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่น เพื่อวัตถุประสงค์ในการ

ออกขายหลักทรัพย์ใดๆ ในตลาดสาธารณะ

 

(2) กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง

ได้แก่ สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์

กองทุนรวม ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

เป็นต้น

 

(3) บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน

 

(4) กิจการอื่นที่จะกำหนดเพิ่มเติม

 

กรอบแนวคิด

 

- ข้อสมมติที่ใช้ คือ เกณฑ์คงค้าง และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

 

- วัตถุประสงค์หลักของการรายงานทางการเงินตามมาตรฐานนี้ คือ การให้ข้อมูลที่

   เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน

 

- ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน คือ เชื่อถือได้ และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

 

การนำเสนองบการเงิน

 

- กำหนดให้จัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลง

  ส่วนของเจ้าของ หมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

- ไม่กำหนดให้จัดทำงบกระแสเงินสด และงบการเงินรวม แต่หากกิจการเห็นถึง 

  ประโยชน์ก็สามารถจัดทำได้

 

รายการที่กำหนดใน NPAEs

 

มาตรฐานฯ ฉบับนี้ จะครอบคลุมวิธีการปฏิบัติทางการบัญชี รวมทั้งการจัดทำงบการเงินสำหรับ NPAEs ในเรื่อง

 

- การนำเสนองบการเงิน

- การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี

  และการแก้ไขข้อผิดพลาด

- เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

- ลูกหนี้

- สินค้าคงเหลือ

- เงินลงทุน

- ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

- สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

- อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

- ต้นทุนการกู้ยืม

- สัญญาเช่า

- ภาษีเงินได้

- ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

- เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน

- รายได้

- การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์

- สัญญาก่อสร้าง

- ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 

 

แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ

 

 - ผลประโยชน์พนักงาน มาตรฐานฯ ฉบับนี้กำหนดให้รับรู้ภาระผูกพันในปัจจุบัน

   ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์พนักงานตามหลักเกณฑ์ของประมาณการหนี้สิน แต่

   กิจการอาจเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่อ้างอิงจาก IFRS

   (TFRS for PAEs) ว่าด้วยเรื่องผลประโยชน์พนักงาน

 

- ภาษีเงินได้ มาตรฐานฯ ฉบับนี้กำหนดให้รับรู้ภาษีเงินได้ตามวิธีเกณฑ์คงค้าง หรือ

  วิธีภาษีเงินได้ค้างจ่าย แต่กิจการอาจเลือกปฏิบัติตาม TFRS for PAEs ว่าด้วยเรื่อง

  ภาษีเงินได้ ทั้งนี้ กิจการต้องถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

 

วันถือปฏิบัติ

 

- ใช้กับงบการเงินที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554

 

- ให้กิจการรับรู้ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยปรับย้อนหลัง ยกเว้น

  ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติให้ใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป

 

 

สรุปรายละเอียด

 

การนำเสนองบการเงิน

 

·       งบการเงินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย

o      งบแสดงฐานะทางการเงิน

o      งบกำไรขาดทุน

o      งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ

o      หมายเหตุประกอบงบการเงิน

·       ไม่กำหนดให้กิจการต้องทำ

o      งบกระแสเงินสด

o      งบการเงินรวม

o      การเสนอข้อมูลจำแนกตามส่วนงาน

o      การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

o      การเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน

·       งบการเงินควรนำเสนอข้อมูลที่เปรียบเทียบได้

·       งบการเงินระหว่างกาลต้องเป็นไปตามข้อกำหนดทุกข้อใน TFRS for NPAEs

·       ต้องแยกแสดงรายการที่มีลักษณะหรือหน้าที่ที่คล้ายคลึงกันที่มีสาระสำคัญ

·       ห้ามนำทรัพย์สินและหนี้สิน หรือรายได้และค่าใช้จ่ายมาหักกลบกัน ยกเว้นมีข้อกำหนดให้ทำได้

·       ต้องมีการระบุเอกลักษณ์อย่างชัดเจน

 

งบแสดงฐานะการเงิน

 

·       ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการประเมินฐานะการเงิน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

·       ต้องแยกแสดงการจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินเป็นรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน

 

งบกำไรขาดทุน

 

·       กิจการต้องรับรู้รายการรายได้และค่าใช้จ่ายทุกรายการสำหรับงวดใบงบกำไรขาดทุน เพื่อคำนวณหาผลกำไร(ขาดทุน) ยกเว้นรายการกำไรหรือขาดทุน ซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ

·       กิจการจะเลือกจัดประเภทค่าใช้จ่ายตามหน้าที่หรือตามลักษณะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้บริหาร

 

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ

 

·       กิจการต้องนำเสนอรายการต่อไปนี้

o      เงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของและจ่ายคืนให้แก่เจ้าของ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไร

o      กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด

o      ยอดคงเหลือ ณ วันต้นงวด การเปลี่ยแปลงรายการต่างๆ และยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด

o      รายการซึ่งกำหนดให้กิจการรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ

 

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

·       ต้องแสดงข้อมูลดังต่อไปนี้

o      ข้อความที่ระบุว่างบการเงินได้จัดทำขึ้นตาม TFRS for NPAEs

o      สรุปนโยบายการบัญชีที่เลือกใช้

o      ข้อมูลที่กำหนดให้เปิดเผยเป็นการเฉพาะ

o      ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และการแก้ไขข้อผิดพลาด

 

·       การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีประกอบด้วย

(ก)    การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี

(ข)    การเปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชีและ

(ค)    การแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อน

 

·       ในกรณีที่มิได้กำหนดแนวทางปฎิบัติสำหรับรายการค้าเหตุการณ์หรือสถานการณ์อื่นเป็นการเฉพาะ ต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกใช้นโยบายการบัญชี ตามลำดับดังต่อไปนี้

o      ข้อกำหนดและแนวปฎิบัติสำหรับเรื่องที่คล้ายคลึงและเกี่ยวข้องกัน เช่น การรับรู้รายได้

o      ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลในงบการเงิน คำนิยามและการรับรู้รายการ และการวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน ที่ระบุไว้ในกรอบแนวคิด

o      มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย  (TFRS) เฉพาะรายการนั้นๆ

·       กิจการต้องเปลี่ยแปลงนโยบายการบัญชี ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

o      เกิดจากข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

o      ทำให้งบการเงินให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมากขึ้นในส่วนที่เกี่ยวกับผลกระทบของรายการค้า เหตุการณ์และสถานการณ์อื่นที่มีต่อฐานะการเงิน และผลการดำเนินงาน

·       เมื่อกิจการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ให้กิจการรับรู้ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง โดยการนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฎิบัติย้อนหลัง เว้นแต่ในทางปฎิบัติไม่สามารถระบุจำนวนเงินของผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชี หรือไม่สามารถระบุจำนวนเงินของผลกระทบสะสมที่เกิดจากข้อผิดพลาดได้ ให้ใช้วิธีเปลี่ยนทันที เป็นต้นไป กล่าวคือ ใช้นโยบายบัญชีใหม่สำหรับรายการค้า เหตุการณ์สถานการณ์ต่างๆ หลังจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี

·       กิจการต้องรับรู้ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชี โดยใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป ด้วยการรับรู้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชีสำหรับงวดปัจจุบันและงวดอนาคตที่ได้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของสินค้าคงเหลือ การเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้สงสัยจะสูญ

·       ข้อผิดพลาดในงวดก่อน หมายถึง  การละเว้นการแสดงรายการและการแสดงรายการที่ขัดต่อข้อเท็จจริงในงบการเงินของกิจการในงวดใดงวดหนึ่งหรือหลายงวดรวมกัน

o      กิจการต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญของงวดก่อน โดยปรับย้อนหลัง ในงบการเงินฉบับแรกที่ได้รับการอนุมัติให้เผยแพร่หลังจากที่พบข้อผิดพลาด

o      กิจการต้องแก้ไขข้อผิดพลาดของงบการเงินงวดก่อนโดยการปรับงบการเงินย้อนหลัง เว้นแต่ในทางปฎิบัติไม่สามารถระบุจำนวนเงินของผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชี หรือไม่สามารถระบุจำนวนเงินของผลกระทบสะสมที่เกิดจากข้อผิดพลาดได้

 

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

 

·       ให้นิยาม เงินสด เงินฝากธนาคาร และรายการเทียบเท่าเงินสด

·       ให้กิจการนำเสนอเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดรวมเป็นรายการเดียวกัน

·       เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ไม่สามารถนำมาหักกลบกับรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

 

ลูกหนี้

 

·       ลูกหนี้ หมายถึง สิทธิที่กิจการจะได้รับเงินสดหรือทรัพยากรหรือประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอื่นๆ เมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้อาจรวมถึงลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นฯ

·       ต้องวัดมูลค่าภายหลังด้วยมูลค่าที่จะได้รับ ซึ่งหมายถึง มูลค่าหลังจากหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

·       วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญสามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่

o      วิธีอัตราร้อยละของขายเชื่อสุทธิ

o      วิธีอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่ค้างชำระจำแนกตามอายุของลูกหนี้

o      วิธีพิจารณาลูกหนี้เป็นแต่ละราย

·       การตัดจำหน่ายหนี้สูญ ไม่อ้างถึงการตัดหนี้สูญ ทางภาษีอากร

 

สินค้าคงเหลือ

 

·       สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

o      ถือไวเพื่อขายตามลักษณะของการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ

o      อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย

o      อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ

·       ต้นทุนของสินค้าคงเหลือต้องประกอบด้วย ต้นทุนทั้งหมดในการซื้อ ต้นทุนแปลงสภาพและต้นทุนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าคงเหลือนั้นอยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

·       กิจการอาจเลือกใช้วิธีการคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขายโดยวิธี

o      วิธีราคาเจาะจง

o      วิธีเข้าก่อนออกก่อน

o      วิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนสินค้าที่ซื้อเข้ามาแต่ละงวด

·       สินค้าคงเหลือต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Net Realizable Value – NRV) แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า ถือเป็นการปรับมูลค่าลดลง ไม่ใช่ การตั้งค่าเผื่อ

·       มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติธุรกิจ หักด้วยประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จและต้นทุนที่จำเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้

·       มูลค่าที่ลดลงของสินค้าคงเหลือจากการปรับมูลค่าให้เท่ากับ NRV ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายโดยแสดงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย

·       ผลขาดทุนอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ เช่น ขาดทุนจากสินค้าสูญหาย ทำลาย ไฟไหม้ เป็นต้น ต้องบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

·       การกลับรายการ ปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือ ให้นำไปหักจากต้นทุนขายในรอบปัจจุบัน

 

เงินลงทุน

 

·       กิจการต้องจัดประเภทเงินลงทุนในตราสารหนี้และเงินลงทุนในตราสารทุน เป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด (เพื่อค้าและเผื่อขาย) และเงินลงทุนที่ไม่ใช่หลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด

·       เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้า

·       กิจการต้องวัดมูลค่าเงินลงทุนทุกประเภท เมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุนเท่านั้น ซึ่งหมายถึง มูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ให้ไปเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุนนั้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเข้าทำรายการ

·       การวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารทุน

o      กิจการต้องวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่ใช่หลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาดหรือเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้า ด้วยราคาทุนเดิม หักด้วยค่าเผื่อการลดของมูลค่า (ถ้ามี) ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลารายงาน

o      เงินลงทุนในตราสารทุนที่เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด ให้วัดมูลค่าเงินลงทุนดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรม (ตามปกติจะใช้ราคาเสนอซื้อปัจจุบัน) ให้รับรู้ผลต่างเป็นกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่าเงินลงทุน

§       หลักทรัพย์เพื่อค้า ให้รับรู้ไปยังงบกำไรขาดทุน

§       หลักทรัพย์เผื่อขาย ให้รับรู้ไปยังส่วนของเจ้าของ

·       การวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้

o      กิจการต้องวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดที่กิจการตั้งใจจะถือจนครบกำหนดและเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่ใช่หลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาดที่กิจการไม่ได้ตั้งใจจะถือจนครบกำหนด ด้วยราคาทุนตัดจำหน่ายหักด้วยค่าเผื่อการลดลงของมูลค่า(ถ้ามี) ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลารายงาน

o      ราคาทุนตัดจำหน่าย หมายถึง ราคาทุนของตราสารหนี้ที่ได้มาเมื่อเริ่มแรก หักด้วยเงินต้นที่ต้องจ่ายคืน และบวกหรือหักค่าตัดจำหน่ายสะสมของส่วนต่างระหว่างราคาทุนเริ่มแรกกับมูลค่าที่ตราไว้โดยวิธีการตัดจำหน่ายส่วนต่างตามวิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหรือวิธีอื่นที่ให้ผลไม่แตกต่างจากวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอย่างมีนัยสำคัญ

o      กิจการต้องวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด ที่กิจการไม่ได้ตั้งใจจะถือจนครบกำหนดด้วยมูลค่ายุติธรรมและกิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างราคาทุนตัดจำหน่ายและมูลค่ายุติธรรม ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลารายงาน เป็นกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่าเงินลงทุน

§       หลักทรัพย์เพื่อค้า ให้รับรู้ไปยังงบกำไรขาดทุน

§       หลักทรัพย์เผื่อขาย ให้รับรู้ไปยังส่วนของเจ้าของ

·       ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่าเงินลงทุนมีมูลค่าลดลงอย่างถาวร เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมีสาระสำคัญและติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานหรือมีหลักฐานที่แสดงความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารลดลงอย่างมีสาระสำคัญ เป็นต้น กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการลดมูลค่าของเงินลงทุนในงบกำไรขาดทุน

·       การโอนเปลี่ยนประเภท

o      ตามปกติ การโอนเปลี่ยนเงินลงทุนจากประเภทหนึ่งไปอีกประเภทหนึ่งจะไม่เกิดขึ้นบ่อย เนื่องจากกิจการต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการถือเงินลงทุนนับตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้เงินลงทุนมา

o      หากกิจการไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กิจการต้องจัดประเภทเงินลงทุนนั้นเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายในทันที

o      การโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนต้องมีหลักฐานสนับสนุนอย่างเพียงพอ

 

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

 

·       กิจการต้องรับรู้ต้นทุนเริ่มแรกเพื่อให้ได้มาหรือก่อสร้างรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อมีการซ่อมบำรุง ต่อเติม ดัดแปลง ปรับปรุง เปลี่ยนแทนส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นทรัพย์สิน เมื่อ

o      มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากรายการนั้น

o      กิจการสามารถวัดมูลค่าต้นทุนของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ

·       ราคาทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ประกอบด้วย

o      ราคาซื้อรวมอากรขาเข้าและภาษีซื้อที่เรียกคืนไม่ได้ หลังหักส่วนลดการค้า และจำนวนที่ได้รับคืนจากผู้ขาย

o      ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินทรัพย์เพื่อให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

o      ต้นทุนที่ประมาณที่ดีที่สุดสำหรับการรื้อ การขนย้าย และการบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์ ซึ่งเป็นภาระผูกพันของกิจการที่เกิดขึ้นเมื่อกิจการได้สินทรัพย์นั้นมาหรือเป็นผลจากการใช้สินทรัพย์นั้นในช่วงเวลาหนึ่ง (ให้บันทึกเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนด้วย) โดยตั้งเป็นประมาณการหนี้สินไว้

·       การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ กิจการต้องวัดมูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่นำไปแลกเปลี่ยน เว้นแต่กรณีที่มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้มานั้นมีหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจนกว่า หากไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือได้ กิจการต้องบันทึกสินทรัพย์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนด้วยราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่นำไปแลกเปลี่ยน

·       Bundle of Assets และ Component Assets

o      หากแต่ละส่วนประกอบของรายการสินทรัพย์มีอายุการใช้งานไม่เท่ากันหรือให้ประโยชน์ต่อกิจการในรูปแบบที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กิจการต้องปันส่วนรายจ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับการได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้นให้กับแต่ละส่วนประกอบที่มีนัยสำคัญ เช่น การแยกบันทึกส่วนประกอบของเครี่องจักร

o      ต้องรับรู้ต้นทุนในการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบ เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีเมื่อต้นทุนนั้นเกิดขึ้นและเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ และต้องตัดมูลค่าตามบัญชีของชิ้นส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทนออก

o      ต้องรับรู้ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบสภาพครั้งใหญ่ แต่ละครั้งเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีหากเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการและต้องตัดมูลค่าตามบัญชีที่เหลือของต้นทุนการตรวจสภาพครั้งใหญ่ในครั้งก่อนออก

·       ในการครอบครองอาคารชุดหรือสินทรัพย์อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในสถานการณ์ที่กิจการได้สิทธิในการครอบครองและใช้ประโยชน์เฉพาะพื้นที่ของอาคารชุดหน่วยนั้น และทรัพย์สิยส่วนกลางที่มีสิทธิในการใช้ร่วมกันกับเจ้าของอาคารชุดหน่วยอื่น ให้กิจการรับรู้ต้นทุนทั้งหมดของการได้มาซึ่งอาคารชุดหรือสินทรัพย์อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันไว้เป็นรายการอาคารและอุปกรณ์ที่ได้มาเป็นหน่วยเดียวกัน (ไม่ต้องแยกเป็นที่ดินและอาคารชุด)

·       ไม่อนุญาตให้ใช้วิธีตีราคาใหม่ แต่กิจการอาจเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมและเกณฑ์ในการกำหนดมูลค่ายุติธรรมในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

·       ให้แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อการลดลงของมูลค่า

·       กิจการต้องคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แต่ละส่วนที่มีนัยสำคัญแยกต่างหากจากกัน

·       กิจการควรทบทวนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา มูลค่าคงเหลือ และอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ (ไม่จำเป็นต้องทำทุกปี)

·       การคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์จะเริ่มต้นเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมใช้งาน เช่น เมื่อสินทรัพย์อยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์

·       การคิดค่าเสื่อมราคาจะสิ้นสุดเมื่อกิจการตัดรายการสินทรัพย์นั้นออกจากบัญชี หรือเมื่อได้จัดประเภทสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน

·       ต้องจัดประเภทสินทรัพย์เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย หากกิจการมีวัตถุประสงค์ที่จะถือไว้เพื่อขาย โดยพิจารณาจากการที่มูลค่าตามบัญชีที่จะได้รับคืนส่วนใหญ่มาจากการขาย มิใช่ มาจากการใช้สินทรัพย์นั้น

o      วัดมูลค่าด้วยจำนวนที่ต่ำกว่าระหว่างมูลค่าตามบัญชีและราคาที่คาดว่าจะขายได้สุทธิจากต้นทุนในการขาย

o      ไม่บันทึกค่าเสื่อมราคาอีกต่อไป

 

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

 

·       สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีลักษณะทางกายภาพ

·       สินทรัพย์สามารถระบุได้ก็ต่อเมื่อ

o      สามารถแยกเป็นเอกเทศได้ หรือ

o      ได้มาจากทำสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่นๆ

·       กิจการต้องวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน

·       การแลกเปลี่ยนเหมือนรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

·       หลังจากนั้นต้องแสดงราคาด้วยราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสม และค่าเผื่อการลดลงของมูลค่า (ไม่อนุญาตให้ใช้วิธีตีราคาใหม่)

·        กิจการต้องไม่รับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ให้รับรู้รายการดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนในงวดที่เกิดขึ้น เว้นแต่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในดังกล่าวเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ

·       ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน คือ ผลรวมของรายจ่ายที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการเป็นครั้งแรก

·       ในการประเมินว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการหรือไม่ ต้องแยกขั้นตอนเป็น

o      การวิจัย หมายถึง การสำรวจตรวจสอบที่วางแผนและริเริ่มเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจใหม่ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือทางด้านเทคนิค

o      การพัฒนา หมายถึง การนำผลของการวิจัยหรือความรู้อื่นมาใช้ในแผนงานหรือการออกแบบเพื่อผลิตสิ่งใหม่หรือสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างเป็นสาระสำคัญก่อนที่จะเริ่มผลิตหรือใช้ในเชิงพาณิชย์

o      ถ้าแยกไม่ได้ให้ถือเป็นการวิจัย

·       ค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการวิจัย ต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อรายจ่ายนั้นเกิดขึ้น

·       ค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการพัฒนา จะรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ก็ต่อเมื่อ เป็นไปตามข้อกำหนดทั้ง 6 ข้อ

1.       มีความเป็นไปได้ทางเทคนิค

2.       มีความตั้งใจทำให้เสร็จสมบูรณ์

3.       สามารถขายหรือใช้ประโยชน์ได้

4.       สามารถแสดงให้เห็นถึงวิธีที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต

5.       มีความสามารถในการจัดหาทรัพยากร

6.       วัดมูลค่าของรายจ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างน่าเชื่อถือ

·       สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอนให้กิจการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ตลอดอายุการให้ประโยชน์ที่ทราบได้แน่นอนนั้น

·       ส่วนสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบได้แน่นอนให้กิจการสมมุติให้อายุการให้ประโยชน์เท่ากับ 10 ปี

·       กิจการต้องกำหนดมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้เป็นศูนย์ เว้นแต่

o      บุคคลที่สามให้สัญญาว่าจะซื้อ

o      มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับ

·       ต้องทบทวนวิธีการตัดจำหน่าย มูลค่าคงเหลือและระยะเวลาในการตัดจำหน่าย อย่างสม่ำเสมอ หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสำคัญ กิจการต้องปรับปรุงโดยวิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป

 

อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

 

·       อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน อาคาร หรือส่วนของอาคาร(ส่วนควบอาคาร) หรือทั้งที่ดินและอาคาร) ที่ถือครอง(โดยเจ้าของหรือโดยผู้เช่าภายใต้สัญญาเช่าการเงิน) เพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ หรือทั้งสองอย่าง ทั้งนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการ หรือขายตามสักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ

·       ตัวอย่างของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

o      ที่ดินที่ถือครองไว้เพื่อหวังกำไรจากการเพิ่มมูลค่า

o      ที่ดินที่ถือครองไว้โดยยังมิได้ระบุวัตถุประสงค์ของการใช้

o      อาคารที่ครอบครองภายใต้สัญญาเช่าทางการเงิน และให้เช่าต่อด้วยสัญญาเช่าดำเนินงาน

o      อาคารที่ยังไม่มีผู้เช่า ซึ่งมีไว้เพื่อให้เช่าต่อภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงาน

o      อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างหรือพัฒนา เพื่อใช้เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในอนาคต

·       ตัวอย่างที่ไม่ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

o      มีไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ

o      อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง หรือพัฒนาให้บุคคลอื่น

o      มีไว้ใช้งาน รวมถึงเพื่อใช้ภายในกิจการในอนาคต ถือครองเพื่อการพัฒนาในอนาคตและนำมาใช้ภายในกิจการในเวลาต่อมา ใช้ประโยชน์โดยพนักงาน และที่มีไว้ใช้งานรอการจำหน่าย

o      ให้กิจการอื่นเช่าภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

·       วัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน

·       กิจการต้องวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ โดยใช้วิธีราคาทุน โดยแสดงรายการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้น ด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อการลดลงของมูลค่า(ถ้ามี) ไม่อนุญาตให้ใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม

·       หากสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการอาจเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมและเกณฑ์ในการกำหนดมูลค่ายุติธรรมในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

·       การโอนระหว่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้งาน กับ สินค้าคงเหลือ จะไม่ทำให้มูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลง และจะไม่ทำให้ราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการวัดมูลค่าหรือการเปิดเผยข้อมูลเปลี่ยนแปลง

·       โอนด้วยมูลค่าตามบัญชี ไม่ก่อให้เกิดกำไร (ขาดทุน) จากการโอนเปลี่ยนประเภท

·       กิจการต้องตัดรายการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ออกจากงบแสดงฐานะการเงินเมื่อกิจการจำหน่ายหรือเลิกใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นอย่างถาวร และคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตอีก

·       ผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการเลิกใช้หรือจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ต้องพิจารณาจากผลต่างระหว่างจำนวนเงินที่ได้รับสุทธิจากการจำหน่ายกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น และต้องรับรู้กำไรหรือขาดทุนในงวดที่เลิกใช้หรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้น

 

ต้นทุนการกู้ยืม

 

·       ต้นทุนการกู้ยืม หมายถึง ดอกเบี้ยและต้นทุนอื่นที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมของกิจการ โดยต้นทุนการกู้ยืม อาจรวมถึง

o      ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นรวมทั้งภาษีที่เกี่ยวข้อง

o      จำนวนที่ตัดบัญชีของส่วนลดหรือส่วนเกิน

o      จำนวนที่ตัดบัญชีของรายจ่าย

o      ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ ส่วนที่นำมาปรับปรุงกับต้นทุนของดอกเบี้ย

·       กิจการต้องรวมต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา การก่อสร้าง หรือการผลิตสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์นั้น

·       สินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข หมายถึง สินทรัพย์ที่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานในการเตรียมพร้อมเพื่อให้สามารถนำสินทรัพย์นั้นมาใช้ได้ตามประสงค์หรือนำไปขาย

·       เงินที่กู้มาโดยเฉพาะ ต้นทุนการกู้ยืมต้องหักด้วยรายได้ที่เกิดจากการนำเงินกู้ดังกล่าวไปลงทุนเป็นการชั่วคราว

·       เงินที่กู้มาเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป ให้คูณรายจ่ายของสินทรัพย์นั้นด้วย อัตราตั้งขึ้นเป็นราคาทุน ซึ่งได้แก่ อัตราถัวเฉลี่ยน้ำหนักของต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดจากเงินกู้ที่คงค้างในระหว่างงวดโดยไม่รวมเงินที่กู้มาโดยเฉพาะ

·       เรี่มต้นรวมเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุน เมื่อ

o      รายจ่ายเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้นได้เกิดขึ้น

o      ต้นทุนการกู้ยืมได้เกิดขึ้น

o      สินทรัพย์อยู่ในระหว่างการดำเนินการที่จำเป็น

·       สิ้นสุดเมื่อการดำเนินการส่วนใหญ่ที่จำเป็นในการเตรียมสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ หรือพร้อมที่จะขายได้สร็จสิ้นลง

 

สัญญาเช่า

 

·       สัญญาเช่าการเงิน หมายถึง สัญญาเช่าที่ทำให้กิดการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า ไม่ว่าในที่สุดการโอนกรรมสิทธิ์จะเกิดขึ้นหรือไม่

·       สัญญาเช่าดำเนินงาน หมายถึง สัญญาเช่าที่มิใช่สัญญาเช่าการเงิน

·       กิจการต้องจัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าการเงิน หากสัญญานั้นโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า ไม่ว่าในที่สุดการโอนกรรมสิทธิ์จะเกิดขึ้นหรือไม่

·       สถานการณ์ที่ถือเป็นสัญญาเช่าการเงิน

o      โอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเช่า

o      ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์ด้วยราคาที่คาดว่าจะต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมมาก เช่น ไม่เกินร้อยละ 5 ของราคายุติธรรม

o      ระยะเวลาของสัญญาเช่าครอบคลุมอายุการให้ประโยชน์ส่วนใหญ่ของสินทรัพย์ เช่น ครอบคลุมระยะเวลาอย่างน้อยร้อยละ 80

o      มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายมีจำนวนเท่ากับหรือเกือบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า เช่น ร้อยละ 90 ของมูลค่ายุติธรรม

·       สัญญาเช่าการเงินในงบการเงินของผู้เช่า

o      รับรู้เป็นสินทรัพย์และหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน ด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า หรือมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายแล้วจำนวนใดจะต่ำกว่า

o      เกิดค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่เสื่อมสภาพและค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับงวดบัญชีแต่ละงวด

·       สัญญาเช่าการเงินในงบการเงินของผู้ให้เช่า

o      รับรู้สินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าการเงินเป็นลูกหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน ด้วยจำนวนที่เท่ากับเงินลงทุนสุทธิในสัญญาเช่า

o      รับรู้รายได้ทางการเงินด้วยอัตราผลตอบแทนคงที่ในแต่ละงวด

o      ผู้ให้เช่าที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายต้องรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากการขายสำหรับงวดตามนโยบายการบัญชีที่กิจการใช้สำหรับการขายเสร็จเด็ดขาด

·       สัญญาเช่าดำเนินงาน

o      ผู้เช่า รับรู้จำนวนเงินที่จ่ายตามสัญญาเช่าดำเนินงาน เป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า

o      ผู้ให้เช่า แสดงสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานในงบแสดงฐานะการเงิน ตามลักษณะของสินทรัพย์ รับรู้รายได้ค่าเช่าตามเกณฑ์เส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า

 

ภาษีเงินได้

 

·       กิจการต้องรับรู้ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน โดยใช้วิธีเงินได้ค้างจ่าย

·       อย่างไรก็ตาม หากกิจการประสงค์จะเลือกรับรู้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้หรือรายได้ภาษีเงินได้ และสินทรัพย์หรือหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี โดยใช้วิธีหนี้สินตามงบแสดงฐานะการเงิน (The balance sheet liability method) ให้ถือปฎิบัติตามข้อกำหนดทุกข้อในมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (TFRSs) อย่างสม่ำเสมอ

 

ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

 

·       ประมาณการหนี้สิน หมายถึง หนี้สินหรือภาระผูกพันในปัจจุบันที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระ

·       กิจการต้องไม่รับรู้หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น แต้ให้เปิดเผยรายละเอียดของภาระผุกพันที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งมูลค่าผลกระทบทางการเงินหากสามารถประมาณได้ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

·       ประมาณการหนี้สินจะต้องรับรู้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังนี้

o      กิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบันซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีต ไม่ว่าภาระผูกพันนั้นจะเป็นภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมาน

o      มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอน ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว และ

o      สามารถประมาณจำนวนของภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ

·       กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุดของรายจ่าย ที่ต้องนำไปจ่ายชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

·       ประมาณการที่ดีที่สุดของรายจ่าย ที่ต้องนำไปจ่ายชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน คือ จำนวนที่สมเหตุสมผลที่กิจการจะจ่ายเพื่อชำระภาระผูกพันหรือโอนภาระผูกพันให้กับบุคคลที่สาม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

·       มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ กำหนดให้รับรู้ผลประโยชน์ของพนักงาน ที่เป็นไปตามหลักการรับรู้รายการด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุดของรายจ่ายที่ต้องนำไปชำระผูกพันใน ปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

อย่างไรก็ตามหากกิจการประสงค์จะรับรู้ประมาณการหนี้สินสำหรับผลประโยชน์ของพนักงานตามแนวทางที่กำหนดใน มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (TFRSs) ให้กิจการปฎิบัติตามข้อกำหนดทุกข้อในมาตรฐานการรายงานทางการเงินนั้นอย่างสม่ำเสมอ

 

เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน

 

·       เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานกับวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นไปในทางดีหรือไม่ แยกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.       เหตุการณ์ที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าสถานการณ์ได้มีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน (เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ต้องปรับปรุง)

2.       เหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ได้เกิดขึ้นภายหลังรอบระยะเวลารายงาน (เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ไม่ต้องปรับปรุง เพียงแต่เปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน)

 

รายได้

 

·       รายได้ หมายถึง กระแสรับของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (ก่อนหักรายจ่าย) ในรอบระยะเวลารายงานซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกิจการ เมื่อกระแสรับนั้นส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของและรายการกำไรซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้า

·       กิจการต้องวัดมูลค่าของรายได้โดยใช้มูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ได้รับหรือค้างรับ

·       รับรู้รายได้จากการขายสินค้า เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้

o      ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญให้กับผู้ซื้อแล้ว

o      ไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำ

o      สามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ

o      มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น

o      สามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากรายการบัญชีนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ

·       รับรู้รายได้จากการให้บริการ ตามขั้นความสำเร็จของรายการ ณ วันที่ในงบการเงิน ผลของรายการสามารถประมาณได้อย่างน่าเชื่อถือเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้

o      สามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ

o      มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น

o      สามารถวัดขั้นความสำเร็จของรายการบัญชี ณ วันที่ในงบการเงินได้อย่างน่าเชื่อถือ

o      สามารถวัดมูลค่าของต้นทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ

·       รับรู้รายได้ในรูปดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล ที่เกิดจากให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ของกิจการ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้

o      สามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ

o      มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น

o      ดอกเบี้ยรับ ต้องรับรู้ตามวิธีผลตอบแทนที่แท้จริงหรือวิธีอื่นที่ให้ผลไม่แตกต่างจากวิธีผลตอบแทนที่แท้จริงอย่างมีนัยสำคัญ

o      ค่าสิทธิ  ต้องรับรู้ตามเกณฑ์คงค้างซึ่งเป็นไปตามเนื้อหาของข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง

o      เงินปันผล ต้องรับรู้เมื่อผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับเงินปันผล

·       การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ทั้ง 3 ประเภท คือ การขายที่ดิน ขายที่ดินพร้อมสิ้งปลูกสร้าง และกสรขายอาคารชุด สามารถเลือกรับรู้รายได้หลายวิธี ตามเงื่อไขของการเกิดขึ้นของรายได้จากการขายนั้น คือ

o      รับรู้รายได้ทั้งจำนวน

o      รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ

o      รับรู้รายได้ตามเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ

·       เงื่อนไขการรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จหรือตามเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ

o      การขายเกิดขึ้นแล้ว (ขายอาคารชุดไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่

o      ผู้ซื้อไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน

o      ผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีความเป็นอิสระต่อกันหรือเป็นการดำเนินธุรกิจตามปกติ

o      เงินวางเริ่มแรกและเงินค่างวดของผู้ซื้อที่ชำระแล้วต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 20

o      ผู้ขายมีความสามารถเก็บเงินได้ตามสัญญา

o      งานพัฒนาและงานก่อสร้างของผู้ขายได้ผ่านขั้นตอนเบื้องต้นแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

o      ผู้ขายมีความสามารถทางการเงินดี

o      การก่อสร้างได้ก้าวหน้าไปด้วยดี

o      ผู้ขายสามารถประมาณเงินรับจากการขายรวมและต้นทุนทั้งหมดที่ต้องใช้ในการก่อสร้างได้อย่างมีหลักเกณฑ์

·       การรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ

o      วิธีการกำหนดอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ

1.       อัตราส่วนของต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้น

2.       การสำรวจเนื้องานที่ได้ทำแล้ว

3.       ใช้ 1+2

o      ผู้ซื้อผิดนัดชำระเงินเกินกว่า 3 งวดติดต่อกันและอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จสูงกว่าเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ ให้หยุดการรับรู้รายได้ทันที

o      ควรมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

·       การรับรู้รายได้ตามเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ

o      ให้ใช้วิธีการรับรู้ตามอัตรากำไรขั้นต้น

o      ในกรณีที่อัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จต่ำกว่าสัดส่วนของเงินที่ได้รับผ่อนชำระตามกำหนดต่อราคาขายผ่อนชำระ ให้รับรู้รายได้ไม่เกินอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ

o      ผู้ซื้อผิดนัดชำระเงินเกินกว่า 3 งวดติดต่อกันและอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จสูงกว่าเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ ให้หยุดการรับรู้รายได้ทันที

o      ควรมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

o      ถ้าผู้ซื้อชำระเงินส่วนที่เหลือทั้งหมดได้ก่อนและผู้ขายได้โอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ให้รับรู้จำนวนเงินดังกล่าวเป็นรายได้ทั้งจำนวนในงวดนั้น

 

สัญญาก่อสร้าง

 

·       รายได้ค่าก่อสร้างประกอบด้วย

o      จำนวนรายได้เมื่อเริ่มแรกตามที่ตกลงไว้ในสัญญา

o      จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสัญญาอันเกิดจากการดัดแปลงงาน การเรียกร้องค่าชดเชย หรือการจ่ายเงินเพื่อจูงใจ หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้

·       มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะก่อให้เกิดรายได้

·       สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ

·       ต้นทุนการก่อสร้างประกอบด้วยรายการทุกข้อต่อไปนี้

o      ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานก่อสร้างตามสัญญา

o      ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโดยทั่วไป ซึ่งสามารถปันส่วนให้กับงานก่อสร้างตามสัญญา

o      ต้นทุนอื่นที่สามารถเรียกเก็บจากผู้ว่าจ้างได้ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาก่อสร้าง

·       กิจการต้องรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างและต้นทุนการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อสร้างเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายตามลำดับ โดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ( เพียงวิธีเดียว)

·       กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากงานก่อสร้างตามสัญญาเป็นค่าใช้จ่ายทันที

·       การประมาณผลของงานก่อสร้าง ได้อย่างน่าเชื่อถือ กรณีสัญญาราคาคงที่

o      รายได้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้นสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ

o      มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง

o      ต้นทุนการก่อสร้างที่จะต้องจ่ายจนเสร็จสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ และขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง สามารถประมาณได้อย่างน่าเชื่อถือ

o      ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างสามารถระบได้อย่างชัดเจนและวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ

·       การประมาณผลของงานก่อสร้าง ได้อย่างน่าเชื่อถือ กรณีต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม

o      มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง

o      ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างสามารถระบได้อย่างชัดเจนและวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ไม่ว่ากิจการจะสามารถเรียกต้นทุนนั้นคืนจากผู้ว่าจ้างได้หรือไม่

·       การกำหนดขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง

o      อัตราส่วนของต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้นของงานที่ทำเสร็จจนถึงปัจจุบัน กับ ประมาณการต้นทุนการก่อสร้างทั้งสิ้น

o      การสำรวจเนื้องานที่ได้ทำแล้ว

o      การสำรวจอัตราส่วนของงานก่อสร้างที่ทำเสร็จ กับ งานก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญาโดยพิจารณาจากการสำรวจทางกายภาพ

·       ถ้าไม่สามารถประมาณผลของงานก่อสร้างได้อย่างน่าเชื่อถือ

o      ต้องรับรู้รายได้ไม่เกินกว่าต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้น และมีความเป็นได้ค่อนข้างแน่ที่เรียกเก็บเงินในส่วนของต้นทุนนั้นจากผู้ว่าจ้างได้

o      กิจการต้องรับรู้ต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดเป็นค่าใช้จ่าย

·       ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประมาณการรายได้ค่าก่อสร้าง ต้นทุนค่าก่อสร้าง หรือผลของงานก่อสร้าง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี

 

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

 

·       รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศต้องบันทึกรายการ รับรู้มูลค่าเริ่มแรกเป็นสกุลเงินบาท โดยการแปลงจำนวนเงินตราต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยนทันทีของสกุลเงินบาทกับสกุลเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่เกิดรายการ

·       ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละงวด

o      รายการที่เป็นตัวเงินให้แปลงค่าโดยใช้อัตราปิด

o      รายการที่ไม่เป็นตัวเงินให้แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ

o      รายการสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินที่อยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศ ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารรับซื้อ

o      รายการหนี้สินที่เป็นตัวเงินที่อยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศ ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารขาย

o      ผลต่างที่เกิดขึ้นจากการชำระเงินของรายการที่เป็นตัวเงินหรือจากการแปลงค่าให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน

 

วันถือปฎิบัติ

 

มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะฉบับนี้ ให้ถือปฎิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป

 




มาตรฐานการบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 เรื่องการบัญชีสำหรับงานก่อสร้างตามสัญญา article
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ article
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 การรับรู้รายได้ article
ความแตกต่างของรายได้ตาม ภ.ง.ด.50 กับ รายได้ตาม ภ.พ. 30 article
เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล article
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 53 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง กำไรต่อหุ้น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนใน ตราสารหนี้ และ ตราสารทุน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 การบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน (วิธีการบันทึกบัญชี)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 เรื่อง สินค้าคงเหลือ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม
แบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินประจำปี
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 เรื่อง การบัญชีสำหรับ สัญญาเช่าระยะยาว
มาตรฐานการบั ญชี ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบกระแสเงินสด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 45 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ส่วนได้เสียในการร่วมค้า article
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาเช่า
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๑ / ๒๕๕๐ เรื่อง การยกเว้นการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชี
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๔ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 52 (ปรับปรุง 2549) เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 53 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง ๒๕๕๒)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๔ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๐ เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
Summaries of International Financial Reporting Standards and International Accounting Standards
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและงบการเงิน ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๗ (ปรับปรุง ๒๕๔๙) เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๑๗/๒๕๕๓ เรื่อง มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง ๒๕๕๒)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๓๔/๒๕๕๓ เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ ๓ (ปรับปรุง ๒๕๕๒) เรื่อง การรวมธุรกิจ
มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี