ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี ประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใช้ 1 มกราคม 2554 - 31 ธันวาคม 2566)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม)
bulletคำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

สารบัญ

   

เรื่อง หน้า

 

 

 ประเด็นคำถาม-คำตอบ ของสำนักทะเบียนธุรกิจ                                                2 - 41

 

 ประเด็นคำถาม-คำตอบ ของสำนักข้อมูลธุรกิจ                                                 43 - 53

ประเด็นคำถาม-คำตอบ ของสำนักบัญช                                                          55 - 74

ประเด็นคำถาม-คำตอบ ของสำนักบริหาร -                                                      76 - 91

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ประเด็นคำถาม-คำตอบ ของสำนักพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจ                                    93 - 98

ประเด็นคำถาม-คำตอบ ของสำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์                                 100 - 104

ประเด็นคำถาม-คำตอบ ของสำนักกฎหมายและคดี                                         106 - 110

ประเด็นคำถาม-คำตอบ ของสำนักส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ                                     112 - 124

ประเด็นคำถาม-คำตอบ ของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ                                         126

 

 

ประเด็นคำถามคำตอบ 

 

ของ สำนักทะเบียนธุรกิจ

   

1. ความแตกต่างระหว่างการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัด มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร

  คำตอบ ลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีดังนี้

 

  1. ประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป 

  2. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองจะตกลงให้มีผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการของหุ้นส่วนก็ได้

3. ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถลงหุ้นได้ทั้งเงินสด ทรัพย์สิน และแรงงาน

ลักษณะของห้างหุ้นส่วนจำกัด มีดังนี้

1. ประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

2. มีหุ้นส่วน 2 จำพวก คือ

(1) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัด เพียง

จำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น

(2) หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน

3. หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ต้องลงหุ้นด้วยเงินหรือทรัพย์สินจะลงหุ้นด้วยแรงงานไม่ได้

4. ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จะเป็นได้เฉพาะแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น

2. การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด มีขั้นตอนอย่างไร ใช้เอกสารและหลักฐานอะไรบ้าง

คำตอบ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้ขอจองชื่อนิติบุคคล และให้หุ้นส่วนผู้จัดการยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนพิจารณาให้จองและใช้ชื่อได้ โดยยื่นเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนตามระเบียบฯ

3. การจดจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด อายุของผู้เริ่มก่อการมีขั้นต่ำหรือไม่

คำตอบ อายุไม่น้อยกว่าสิบสองปี ตามระเบียบฯ ข้อ 49

4. หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดกับหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต่างกันอย่างไร

คำตอบ 1.หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน

2.หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัด เพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น

 

5. การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดในแบบ หส.2 ไม่มีเลขรหัสประจำบ้านได้หรือไม่

  คำตอบ ไม่ได้ เพราะต้องระบุรายการจดทะเบียนให้ครบถ้วนในแบบพิมพ์ ตามระเบียบฯ

 6. การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดในแบบ หส. 2 ชื่อที่จองเป็นภาษาโรมันตัวพิมพ์เล็กแต่เมื่อพิมพ์ใส่เอกสารเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ได้หรือไม่

คำตอบ ได้

7. ชาวต่างชาติเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดได้หรือไม่ และถ้าได้ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างคำตอบ ได้ โดยแนบสำเนา passport ของผู้เป็นหุ้นส่วนชาวต่างชาติ

8. ถ้าชาวต่างชาติเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด รายละเอียดในการกรอกที่อยู่จำเป็นต้องตาม Passportหรือไม่

คำตอบ ไม่จำเป็น

9. ห้างหุ้นส่วนจำกัดดูรอบระยะเวลาบัญชีอย่างไร

คำตอบ รอบปีบัญชีตามปีปฏิทินโดยเริ่มจากเดือนมกราคมและสิ้นสุดในเดือนธันวาคมของทุกปี

10. ถ้าต้องการให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการร่วมกัน 2 คน ได้หรือไม่

คำตอบ สามารถกระทำได้

11. ในแบบ สสช.1 รายละเอียดในข้อ 5 เรื่องผู้รับเหมาช่วงในกิจการ หมายความว่าอย่างไร

คำตอบผู้รับเหมาช่วงหมายความว่า ผู้ซึ่งทำสัญญากับผู้รับเหมาชั้นต้นโดยรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่

บางส่วนของงานใดในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาชั้นต้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้าง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งทำสัญญากับผู้รับเหมาช่วงเพื่อรับช่วงงานในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาช่วง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะรับเหมาช่วงกันกี่ช่วงก็ตาม

12. การค้นหารหัสธุรกิจในแบบ สสช.1 สามารถค้นหาได้จากไหน

คำตอบ สามารถค้นหาได้จาก web side กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ไปที่...บริการข้อมูลธุรกิจ และเลือก...ค้นหารหัสธุรกิจ

13. ในแบบหนังสือมอบอำนาจส่วนที่พิมพ์ว่า ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท...ต้องใส่รายละเอียดอะไร

คำตอบ ระบุชื่อจังหวัดที่สำนักงานแห่งใหญ่ของห้างหุ้นส่วนบริษัท ฯ นั้น ตั้งอยู่

 

14. การทำตราประทับของห้างหุ้นส่วนจำกัด ทำได้อย่างไรบ้าง

  คำตอบ ตราจะมีชื่อห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ได้ หากตรามีชื่อห้างหุ้นส่วน ชื่อในตรานั้นต้องชัดเจนและตรงกับชื่อที่ขอจดทะเบียนหรือตรงกับชื่อภาษาต่างประเทศที่ขอใช้ และต้องมีคำแสดงประเภทของนิติบุคคลด้วย

15. แผนที่ของสถานที่ประกอบการทั้งบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัดสามารถเขียนได้ไหม

คำตอบ สามารถเขียนได้ แต่ต้องชัดเจนและเรียบร้อย

16. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด มีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ ให้หุ้นส่วนผู้จัดการยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุที่ประสงค์ ไม่ว่าจะโดยการเพิ่ม ลด หรือแก้ไขเฉพาะข้อใดข้อหนึ่งก็จะถือว่าเป็นการยกเลิกวัตถุที่ประสงค์เดิมทั้งหมด และใช้วัตถุประสงค์ใหม่ตามที่ปรากฏในแบบ ว. ที่แนบพร้อมกับเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนตามระเบียบฯ

17. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อและดวงตราประทับของห้างหุ้นส่วนจำกัดมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้ขอจองชื่อนิติบุคคล และให้หุ้นส่วนผู้จัดการยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมชื่อและดวงตราประทับของห้างหุ้นส่วนจำกัด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนพิจารณาให้จองและใช้ชื่อได้ โดยยื่นเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนตามระเบียบฯ

18. การแก้ไขชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดในการกรอกรายละเอียดต้องใส่ชื่อเดิมหรือชื่อใหม่ตรงส่วนไหนบ้าง

คำตอบ ในคำขอจดทะเบียนให้ใส่ชื่อเก่า ยกเว้นในหน้าหนังสือรับรองและแบบ หส.2 ข้อ 1. ให้ใส่ชื่อใหม่

19. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของห้างหุ้นส่วนจำกัด มีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ ให้หุ้นส่วนผู้จัดการยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของห้างฯ โดยให้ระบุสถานที่ย้ายไปตั้งอยู่พร้อมทั้งสำนักงานสาขาทั้งหมดในคำขอจดทะเบียนและยื่นเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนตามระเบียบฯ

20. ถ้านิติบุคคลอยู่ต่างจังหวัดสามารถยื่นจดทะเบียนที่สำนักงานบริการจดทะเบียนที่กรุงเทพฯได้หรือไม่

คำตอบ ไม่สามารถยื่นได้ เพราะว่าหากสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดใดก็ให้ยื่น ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดที่สำนักงานแห่งใหญ่ของห้างฯ นั้น ตั้งอยู่

21. ใบสำคัญชำระเงินค่าหุ้นต้องพิมพ์อย่างไร และใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อ

คำตอบ ให้พิมพ์ใบสำคัญชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น โดยระบุชื่อบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ระบุวันที่ที่ได้รับชำระเงิน ระบุชื่อผู้ชำระเงิน ระบุจำนวนเงินที่ได้รับชำระ ระบุประเภทการจดทะเบียนว่าเป็นการจัดตั้งหรือเพิ่มทุน

 

ระบุประเภทการรับชำระเงินว่าเป็นเงินสด หรือเช็คธนาคารสาขาใด เลขที่ใด ลงวันที่ใด หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารใด สาขาใด ชื่อบัญชีใด เลขที่บัญชีใด เมื่อวันที่ใด และผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินคือกรรมการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

22. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัด มีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วน ต้องระบุรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะที่ยังคงอยู่และที่เข้าใหม่เท่านั้น ส่วนหุ้นส่วนที่ออกไปในคราวนี้ไม่ต้องกล่าวถึง และจะต้องให้หุ้นส่วนนั้นลงลายมือชื่อไว้ท้ายรายละเอียดของแต่ละคนด้วย โดยให้ยื่นคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน ตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.. 2554 (เอกสารแนบ 1)

23. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มทุนและลดทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัด มีขั้นตอนอย่างไร และค่าธรรมเนียมเท่าไร

คำตอบ ให้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มทุนและลดทุนของห้างหุ้นส่วน โดยให้ยื่นคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน ตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.. 2554 และค่าธรรมเนียมจดทะเบียนเพิ่มทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน คิดตามทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนที่เพิ่มขึ้น รวมกันทุก 100,000 บาท คิด 100 บาท (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น100,000 บาท) เพิ่มทุนตั้งแต่ 5,000,000 บาท คิด 5,000 บาท และจดทะเบียนลดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน คิดคนละ 300 บาท (เอกสารแนบ 1)

24. ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 คน ถ้าต้องการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดจะต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ ให้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน โดยให้มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หลังจากนั้นให้ดำเนินการตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องการจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบริษัทจำกัด ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 (เอกสารแนบ 2)

25. ถ้าจะทำการแปรสภาพของห้างหุ้นส่วนจำกัดมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ ให้ดำเนินการตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องการจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบริษัทจำกัด ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 (เอกสารแนบ 2)

26. ถ้าจะเปลี่ยนชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนแปรสภาพได้หรือไม่

คำตอบ ได้

 

27. ห้างมีวัตถุประสงค์ 40 ข้อ ในการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด จะใช้วัตถุประสงค์สำเร็จรูป 23 ข้อ ได้หรือไม่

คำตอบ เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าเมื่อห้างแปรสภาพเป็นบริษัทแล้ว บริษัทย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของห้างเดิมทั้งหมด ดังนั้นวัตถุประสงค์เดิมของห้าง 40 ข้อ ต้องเป็นวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วย

28. ในการแปรสภาพห้างเป็นบริษัท หากมีเจ้าหนี้คัดค้านการแปรสภาพห้างจะต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ ในกรณีที่มีเจ้าหนี้คัดค้าน ห้างฯ จะแปรสภาพไม่ได้จนกว่าจะได้ชำระหนี้หรือให้ประกันเพื่อหนี้นั้นแล้ว

29. เมื่อห้างแปรสภาพเป็นบริษัทแล้ว รอบปีบัญชีของบริษัทจะต้องเป็นรอบเดียวกันกับตอนเป็นห้าง

คำตอบ ต้องเป็นรอบปีบัญชีเดียวกัน

30. การยื่นคำขอจดทะเบียนต่างจังหวัดใช้เอกสารกี่ชุด

คำตอบ ใช้เอกสาร 1 ชุด

31. ผู้รับมอบอำนาจอายุต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์ ได้หรือไม่

คำตอบ ได้

32. ถ้ามีการจดทะเบียนไว้ผิดจะทำหนังสือขอแก้ไขได้หรือไม่

คำตอบ ไม่ได้ เนื่องจากเป็นรายการทางทะเบียนที่ต้องจดทะเบียน ดังนั้นต้องแก้ไขโดยการจดทะเบียน และชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ

33. ผู้ให้เช่าเปลี่ยนเลขที่ห้องของสำนักงานจะต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ จะต้องดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานให้ถูกต้อง

34. ชื่อในตราต้องตรงกับชื่อที่ขอจองไว้ในแบบจองชื่อนิติบุคคลทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศหรือไม่

คำตอบ ชื่อในตราต้องตรงกับชื่อที่ขอจองไว้ในแบบจองชื่อนิติบุคคลทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศด้วย

35. สถานที่ยื่นจดทะเบียนมีบริการที่ไหนบ้าง

คำตอบ ในการยื่นคำขอจดทะเบียนเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่น ณ. สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ที่สำนักงานแห่งใหญ่ของห้างฯ นั้นตั้งอยู่ เช่น ห้างหุ้นส่วนมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครก็ให้ยื่น ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจแห่งใดแห่งหนึ่งทั้ง 8 แห่ง หรือหากว่าสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นก็ให้ยื่น ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัด ที่สำนักงานแห่งใหญ่ของห้างฯ นั้น ตั้งอยู่

 

36. ตราประทับหายต้องทำอย่างไร เสียค่าธรรมเนียมเท่าไร

  คำตอบ ตราหายต้องดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมตรา ค่าธรรมเนียม 400บาท

37. ห้างหุ้นส่วนบริษัท จะจดทะเบียนดวงตรามากกว่า 1 ดวงได้หรือไม่

คำตอบ ห้างหุ้นส่วนบริษัท จะจดทะเบียนดวงตรามากกว่า 1 ดวงก็ได้ ซึ่งหากจดทะเบียนดวงตรามากกว่า 1 ดวง ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องจดทะเบียนรายการอื่น ๆ ซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบด้วย โดยระบุให้ชัดเจนว่าตราดวงใดใช้ในกรณีใด

38. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องจดทะเบียนตราหรือไม่

คำตอบ ห้างหุ้นส่วนทั้ง 2 ประเภท ต้องจดทะเบียนตราด้วย

39. ถ้าจะทำการเลิกและเสร็จชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด มีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ การจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน ทำขึ้นตามความตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตามที่ปรากฎในสัญญาเลิกห้างหุ้นส่วน และเมื่อการชำระสะสางของห้างหุ้นส่วนสำเร็จลง ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชีเพื่อแสดงว่า ได้ดำเนินการชำระบัญชีและจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไปประการใด แล้วเรียกประชุมใหญ่เพื่อเสนอรายงานและชี้แจงต่อที่ประชุม ซึ่งเมื่อที่ประชุมได้อนุมัติรายงานนั้นแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องนำความไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี (เอกสารแนบ 3)

40. งบชุดที่ยื่นวันเสร็จชำระบัญชีเป็นงบหลังเลิกหรือก่อนเลิกและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คำตอบ งบการเงิน ณ วันเลิกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท จะใช้งบการเงิน ณ วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงให้เลิกห้างหุ้นส่วนหรือที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท หรืองบการเงิน ณ วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทก็ได้ และให้ยื่นพร้อมคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

41. การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ กรณีบริษัทจำกัด จัดประชุมมติพิเศษผู้ถือหุ้น มีวาระการเลิกบริษัท และวาระการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีและกำหนดค่าตอบแทน โดยกรรมการทุกคนของบริษัทต้องเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี เว้นแต่บริษัทได้มีข้อบังคับให้แต่งตั้งบุคคลอื่นที่มิใช่กรรมการเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้

กรณีห้างหุ้นส่วนฯ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงเลิกห้างฯ และหุ้นส่วนผู้จัดการต้องเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี และตกลงค่าตอบแทนให้กับผู้ชำระบัญชี

 

42. ที่อยู่สำนักงานของผู้ชำระบัญชีเป็นที่ของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการ

 คำตอบ ที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี เป็นไปตามสัญญาหรือข้อตกลงของหุ้นส่วน

43. หลังจากยื่นจดทะเบียนเลิกแล้วมีกำหนดระยะเวลาในการยื่นเสร็จชำระบัญชีไหม และถ้ายังไม่พร้อมเสร็จชำระบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไร

คำตอบ เมื่อจดทะเบียนเลิกแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำงบดุลและให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบฯ และผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่จัดทำรายงานการชำระบัญชีทุก ๆ 3 เดือน และดำเนินการชำระสะสางกิจการเพื่อการชำระบัญชี

44. ในกรณีที่สำนักงานเขตเปลี่ยนที่ตั้งของสำนักงานต้องปฏิบัติอย่างไร

คำตอบ ให้กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการตามอำนาจทำหนังสือชี้แจงถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แจ้งการเปลี่ยนเขตที่ตั้งสำนักงานเนื่องจากทางราชการปรับเปลี่ยน โดยระบุให้ชัดเจนว่า จากเดิมเขตใดและเปลี่ยนเป็นเขตใด พร้อมแนบหลักฐานการเปลี่ยนแปลงจากทางสำนักงานเขต หรือสำเนาทะเบียนบ้านประกอบการชี้แจง

45. ในกรณีมอบอำนาจต้องมีผู้รับรองลายมือชื่อสามารถ ซึ่งเป็นท่านใดได้บ้างและต้องแนบเอกสารอะไรบ้าง

คำตอบ คำถามไม่ชัดเจน ไม่ทราบว่ามอบอำนาจให้มาดำเนินการใด

46. ขั้นตอนการจองชื่อทางอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้อย่างไร และรอผลอนุมัติกี่วัน

คำตอบ 1. ผู้จองชื่อจะต้องเป็นหุ้นส่วน ผู้เริ่มก่อการ ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการ

2. สมัครสมาชิกในwww.dbd.go.th เมื่อได้ username และ password แล้ว ให้เข้าหัวข้อ

บริการออนไลน์ จองชื่อนิติบุคคล log in เข้าระบบ ลงทะเบียนจองชื่อนิติบุคคล กรอกข้อมูล

ให้ครบถ้วนแล้วคลิกตกลง เพื่อให้นายทะเบียนตรวจสอบ หลังจากนั้นรอผลอนุมัติประมาณ 1 -2 วัน โดยเมื่อ log in เข้าระบบแล้ว ให้ไปที่ ตรวจสอบคำขอของท่าน เมื่อคลิกเข้าไปจะปรากฏรายการที่ได้จองชื่อไว้

47. ใบจองชื่อสามารถดาวน์โหลดในอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่

คำตอบ ใบจองชื่อไม่สามารถดาวน์โหลดนำมายื่นจองชื่อด้วยตนเองได้

48. ค่าธรรมเนียมในการจดจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเท่าใด

คำตอบ ทุกจำนวนเงินทุน 100,000 บาท คิดค่าธรรมเนียม 100 บาท เศษของ 100,000 บาท คิดเป็น 100,000 บาท

ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000 บาท

 

49. ค่าธรรมเนียมในการจดจัดตั้งบริษัทจำกัดเท่าใด

 คำตอบ กรณีจัดตั้งบริษัทภายในวันเดียวกันจะมีค่าธรรมเนียมของการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิด้วย ดังนี้

การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ทุกจำนวนเงินทุน 100,000 บาท คิดค่าธรรมเนียม 50 บาท เศษของ 100,000 บาท คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 500 บาท แต่ไม่เกิน 25,000 บาท

การจดทะเบียนตั้งบริษัท ทุกจำนวนเงินทุน 100,000 บาท คิดค่าธรรมเนียม 500 บาท เศษของ 100,000 บาทคิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท แต่ไม่เกิน 250,000 บาท

50. การกรอกแบบลช.3 มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

คำตอบ ลช.3 เป็นรายงานการชำระบัญชี ซึงเป็นรายงานการชำระบัญชีทุก 3 เดือน ตั้งแต่เลิกห้างหรือบริษัทดังนั้นงานการชำระบัญชี ฉบับที่ 1 จะเริ่มตั้งแต่วันเลิกหรือวันที่จดทะเบียนเลิกก็ได้ และสิ้นสุดทุก 3 เดือนผู้ชำระบัญชีจะต้องระบุหรือเติมข้อความลงในช่องว่างที่ให้กรอก เช่น ชื่อห้างหรือบริษัท ชื่อผู้ชำระบัญชี หรือแจ้งการดำเนินการต่าง ๆ ลงในแบบรายงานดังกล่าว ว่า ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ได้ดำเนินการอะไรไปบ้าง หากเกิน 3 เดือน ก็จะต้องมีรายงานการชำระบัญชี ฉบับที่ 2 หรือ 3 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเสร็จการชำระบัญชี

51.ขั้นตอนการจดทะเบียนทางอินเตอร์เน็ตมีขั้นตอนอย่างไร และเสร็จสมบูรณ์เลยหรือไม่

คำตอบ สมัครสมาชิกในwww.dbd.go.th เมื่อได้ username และ password แล้ว ให้เข้าหัวข้อ จดทะเบียนนิติบุคคล log in เข้าระบบ จังหวัดที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ธุรกรรมที่ต้องการและกรอกข้อมูลแล้วคลิกส่งให้นายทะเบียนตรวจสอบ นายทะเบียนแจ้งผลการตรวจสอบและจำนวนเงินค่าธรรมเนียมให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ กรณีมีข้อบกพร่องผู้ขอจดทะเบียนแก้ไขข้อบกพร่องแล้วคลิกส่งข้อมูลให้นายทะเบียนตรวจสอบใหม่อีกครั้งผู้ขอพิมพ์เอกสารคำขอจดทะเบียนและนำไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงนาม ผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรษณีย์ นายทะเบียนตรวจสอบและรับจดทะเบียน (เอกสารแนบ 4)

52. การลงทุนจดทะเบียนใช้ทรัพย์สินลงทุนแทนได้หรือไม่และทำอย่างไร

คำตอบ การลงทุนด้วยทรัพย์สินแทนเงินสดสามารถทำได้ แต่จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นและมีการกำหนดหรือตีราคาทรัพย์สินที่จะนำมาลงทุน และกำหนดจำนวนหุ้น หรือจำนวนทุนที่จะผู้ที่นำทรัพย์สินนั้นมาลงทุนให้ชัดเจน

 

53. ในกรณีหุ้นส่วนเสียชีวิตมีขั้นตอนอย่างไร

  คำตอบ ในกรณีเหลือหุ้นส่วนคนเดียวก็จะต้องจดทะเบียนเลิกห้าง หากยังมีหุ้นส่วนอื่นเหลือตั้งแต่สองคนขึ้นไป และไม่ประสงค์จะเลิกห้างก็ให้ยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนโดยแนบสำเนาใบมรณบัตรประกอบคำขอจดทะเบียน

54. การสั่งจ่าย cashier cheque มีกำหนดขั้นต่ำไหมและระยะเวลาต้องสั่งจ่ายไม่เกินกี่วัน

คำตอบ ไม่มีกำหนดขั้นต่ำไว้ ระยะเวลา 15 วันทำการ

55. ในกรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกขีดขื่อขึ้นเป็นทะเบียนร้างมีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร ถ้าทิ้งไปเลยได้ไหม มีอายุความเท่าไร จะมีความผิดหรือไม่

คำตอบ เมื่อถูกขีดชื่อเป็นทะเบียนร้างทำให้ห้างหุ้นส่วนฯ นั้นสิ้นสภาพ แต่ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้เป็นหุ้นส่วนยังคงมีอยู่ ซึ่งหากมีผู้ที่ต้องเสียหายจากการขีดชื่อออกจากทะเบียน (ห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือเจ้าหนี้ สามารถยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลสั่งให้จดชื่อห้างหุ้นส่วนกลับเข้าสู่ทะเบียนก้ได้ แต่ห้ามร้องขอเมื่อพ้น10 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนออกจากทะเบียน

56. ถ้าหุ้นส่วนผู้จัดการถูกฟ้องล้มละลายจะมีผลอะไรบ้างต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด

คำตอบ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลาย เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ห้างเลิก ตามมาตรา 1055 ประกอบมาตรา1080

57. การจดทะเบียนบริษัทจำกัด มีขั้นตอนอย่างไร ใช้เอกสารและหลักฐานอะไรบ้าง

คำตอบ ปัจจุบันสามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียวกัน โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดการใช้เอกสารสามารถเข้าไปดูที่ www.dbd.go.th (เอกสารแนบ 5)

58.การจดจัดตั้งบริษัทจำกัดอายุของผู้เริ่มก่อนการมีขั้นต่ำหรือไม่

คำตอบ ผู้เริ่มก่อการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 12 ปี ตามระเบียบฯ ข้อ 49

59. อำนาจหน้าที่ของกรรมการและผู้ถือหุ้นต่างกันอย่างไร

คำตอบ ผู้ถือหุ้นมีหน้าที่รับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ตนเองยังชำระค่าหุ้นไม่ครบตามมูลค่าหุ้นที่จองซื้อไว้และมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นในกรณีที่บริษัทเรียกประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาและอนุมัติการดำเนินการต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ส่วนกรรมการ เป็นผู้บริหารกิจการซึ่งต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและข้อบังคับของบริษัท

 

60. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกดัในแบบบอจ.2 ไม่มีเลขรหัสประจำบ้านได้หรือไม่

 

 คำตอบ แบบบอจ.3 จะต้องใส่เลขรหัสประจำบ้านด้วย

61. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดในแบบบอจ. 2 ชื่อที่จองเป็นภาษาโรมันตัวพิมพ์เล็กแต่เมื่อพิมพ์ใส่เอกสารเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ได้หรือไม่

คำตอบ ได้

62. ถ้าชาวต่างชาติเป็นกรรมการรายละเอียดในการกรอกที่อยู่จำเป็นต้องตาม passport หรือไม่ และต้องแนบเอกสารอะไรบ้าง

คำตอบ ให้กรอกตามที่อยู่ตามจริงและสามารถติดต่อได้ เอกสารที่แนบคือ passport

63. การทำตราประทับของบริษัทจำกัด ทำได้อย่างไรบ้าง

คำตอบ ตราประทับของบริษัท จะมีชื่อของบริษัทหรือไม่ก็ได้ หากมีชื่อบริษัทจะต้องใส่ให้ครบถ้วนและมีคำแสดงนิติฐานะให้ครบถ้วนตรงกับที่ได้จองชื่อไว้ และต้องไม่มีลักษณะหรือรูป ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วย การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.. 2554 ข้อ 40 เช่น เครื่องหมายตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ , ฉัตรต่าง เป็นต้น สามารถดูระเบียบดังกล่าวได้ที่ www.dbd.go.th

64. ในกรณีที่ชาวต่างประเทศเป็นกรรมการผู้มีอำนาจและต้องลงลายมือชื่อในแบบคำขอจดทะเบียนแต่กรรมการอยู่ที่ต่างประเทศมีวิธีอย่างไรบ้าง

คำตอบ ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วย การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.. 2554

65. การประชุมผู้ถือหุ้นสามารถประชุมทางโทรศัพท์ได้หรือไม่

คำตอบ ในปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้

66. อำนาจของกรรมการตามหน้าหนังสือรับรองระบุสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันแต่ในแบบ บอจ.4 มีช่องสำหรับลงลายมือชื่อท่านเดียวจะทำอย่างไร

คำตอบ ให้กรรมการหนึ่งในสองท่าน ลงลายมือชื่อเพียงท่านเดียวได้ หรือ สามารถพิมพ์วงเล็บชื่อเพิ่มด้านข้างเพื่อให้กรรมการลงชื่อให้ครบตามอำนาจก็ได้

67. การจดจัดตั้งบริษัทจำกัดต้องประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมอีกหรือไม่

คำตอบ ไม่ต้องประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุม

 

68. พยานที่ลงลายมือชื่อในแบบ บอจ.2 เกี่ยวข้องอะไรกับทางบริษัทบ้าง

คำตอบ เป็นผู้ที่รับรองลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการว่าได้ลงชื่อต่อหน้าตนในวันที่จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ

69. การชำระค่าหุ้นมีขั้นต่ำเท่าไร

คำตอบ ต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้น

70. วัตถุประสงค์ของบริษัทจำกัดสามารถนำแบบ ว.1 และ แบบ ว.2 มารวมกันได้หรือไม่ ทำได้อย่างไรบ้าง

คำตอบ สามารถนำมารวมได้ แต่ต้องพิมพ์ใส่แบบ ว. ขาว หรือจัดพิมพ์ตามแบบ ว. ขึ้นใหม่ โดยเรียงลำดับข้อต่อกันไป ไม่สามารถนำแบบ ว. สำเร็จรูปมายื่นจดทะเบียนรวมกันได้

71. รายงานการประชุมตั้งบริษัทจำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีเลยหรือไม่ แจ้งภายหลังได้ไหม

คำตอบ ต้องเลือกตั้งผู้สอบบัญชี ตาม ปพพ. มาตรา 1108 (6)

72. ข้อบังคับของบริษัทจะมีหรือไม่ก็ได้ใช่หรือไม่

คำตอบ ใช่ โดยกำหนดเป็นใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นข้อบังคับของบริษัท ก็ได้

73. การพิมพ์รายชื่อผู้ถือหุ้นมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ คัดลอกมาจากสมุดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้น

74. ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดมีขั้นต่ำเท่าไร ถ้ามี 2 คนได้ไหม และมีผลอย่างไร

คำตอบ ผู้ถือหุ้นต้องมีอย่างน้อย 3 คน หากมีต่ำกว่านั้น อาจเป็นเหตุให้ศาลสั่งให้เลิกบริษัทได้

75.แบบ บอจ. 5 ในช่องเลขหมายใบหุ้นช่องลงวันที่ คือวันที่อะไร

คำตอบ คือวันที่ลงในใบหุ้น

76. ถือหุ้นของบริษัทจำกัดสามารถเป็นนิติบุคคลได้หรือไม่และเป็นผู้เริ่มก่อตั้งได้หรือไม่

คำตอบ นิติบุคคลสามารถเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ แต่เป็นผู้เริ่มก่อการไม่ได้

77. ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นชำระทุนจดทะเบียนไม่ครบตอนจัดตั้งหลังจากนั้นเมื่อมีการชำระเพิ่มเติมสามารถแก้ไขเอกสารอะไรได้บ้าง

คำตอบ ยื่นแบบ บอจ. 5 พร้อมหนังสือนำส่ง

 

78. แบบ บอจ. 5 ในรายละเอียดที่อยู่ของผู้ถือหุ้นตามบัตรประชาชนหรือที่อยู่อาศัย ณ ปัจจุบัน

 

 คำตอบ ที่อยู่อาศัย ณ ปัจจุบัน ที่สามารถติดต่อได้

79. ถ้าจะแก้ไขวัตถุประสงค์ของบริษัทจำกัดมีขั้นอย่างไร

คำตอบ 1. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้น ทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุม    ไมน้อยกว่า  14 วัน และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องแกไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของบริษัทและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. ที่ต้องการจะแกไขให้ครบถ้วน

การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วัน ถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการ หลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น

2. ในการลงมติให้แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 3. (วัตถุประสงค์) ต้องลงมติด้วย คะแนนเสียงข้างมากไมต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

3. จัดทำคำขอจดทะเบียน โดยให้กรรมการตามอำนาจที่จดทะเบียนไว้เป็นผู้ขอจด ทะเบียนแล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

80. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบการของบริษัทจำกัดมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ การจดทะเบียนแกไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานของบริษัทจำกัดมีหลายกรณี ได้แก่ การแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ การแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานสาขา

ในการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่นั้น แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. แก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่โดยที่ตั้งแห่งใหม่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน

2. แกไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแหงใหญ่โดยที่ตั้งแห่งใหม่ย้ายไปตั้งอยู่จังหวัดอื่น

การแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่โดยที่ตั้งแห่งใหม่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ตาม 1. กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการ ดังนั้น ในการจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่จึงไม่ต้องอ้างอิงมติที่ประชุมแต่หากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้แก้ไขจะระบุรายละเอียดการประชุมใน คำขอจดทะเบียนด้วยก็ได้การแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่โดยที่ตั้งแห่งใหม่ย้ายไปตั้งอยู่จังหวัดอื่น ตาม 2 กฎหมายกำหนดว่าจะต้องมีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติม หนังสือบริคณห์สนธิข้อ 2 (สำนักงานของบริษัท) ว่าจะย้ายสำนักงานไป ตั้งอยู่จังหวัดใด ดังนั้น ในการจดทะเบียนจะต้องอ้างอิงมติที่ ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขอจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 2 (สำนักงานของ บริษัท) และจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่อีกรายการหนึ่งด้วย

 

81. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทจำกัดมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ ในกรณีที่กรรมการของบริษัทต้องการออกจากตำแหน่งกรรมการและบริษัทได้แต่งตั้ง กรรมการใหม่แทนพร้อมทั้งประสงค์จะแก้ไขอำนาจกรรมการผู้มีอำนาจลงนามกระทำการแทนบริษัทนั้น จะต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นหรือประชุมคณะกรรมการของบริษัทแล้วแต่กรณี เพื่อมีมติให้กรรมการออกจากตำแหนงและแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนคนที่ลาออกพร้อมทั้งมีมติให้แกไขอำนาจกรรมการให้สอดคล้องกับกรรมการด้วยการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและ/หรืออำนาจกรรมการ ต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจตามที่จดทะเบียนไว้เดิมเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนการยื่นจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการจะต้องยื่นต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ การดำเนินการในกรณีดังกล่าวข้างต้น จะต้องดำเนินการดังนี้

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ

กรรมการออกจากตำแหน่งและการแต่งตั้งกรรมการ

1. ครบวาระ ในการประชุมสามัญประจำปีแต่ละปี กรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งจำนวนหนึ่งในสาม (โดย 2 ปี)แรก หลังจากตั้งบริษัทถ้ามิได้มีการตกลงกนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ใช่วิธีการจับสลากออก ส่วนปีถัดไป (ปีที่ 3) ให้กรรมการที่อยู่นานที่สุดออกจากตำแหน่ง) และแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกจากตำแหน่งกรรมการที่ออกจากตำแหนงจะถูกแต่งตั้งกลับเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทอีกก็ได้

2. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ออก และมีมติแตงตังกรรมการใหม่แทน การปลดกรรมการ ออกจากตำแหน่ง

จะต้องอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น

3. ลาออกจากตำแหน่งกรรมการ

1.1 ออกจากตำแหน่งกรรมการโดยมีหนังสือลาออกถึงบริษัท หรือ

1.2 ลาออกจากตำแหนงกรรมการด้วยวาจาโดยแจ้งในการประชุมคณะกรรมการหรือ การประชุมผู้ถือหุ้นและที่ประชุมมีมติให้ออก

1.4 ตาย

1.5 ล้มละลาย

1.6 ไร้ความสามารถ

การแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกโดยการลาออก ตาย ล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติแต่งตั้งกรรมการคนใหม่แทนกรรมการที่ออกได้ โดยกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่จะมีวาระเท่ากับกรรมการเดิมที่ออกไป

กรณีที่จะแต่งตั้งกรรมการใหม่เพิ่มเติมจากจำนวนกรรมการที่มีอยู่เดิม จะต้องให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้นมีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่

 

82. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อและตราประทับของบริษัทจำกัดมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ 1. กรรมการของบริษัทจองชื่อนิติบุคคล

2. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ตอบรับและลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมชื่อบริษัทและตราสำคัญของบริษัท รวมทั้งแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อ) ที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน

การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น

3. ในการลงมติให้แก้ไขชื่อ และตราสำคัญของบริษัท รวมทั้งแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อ) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

4. จัดทำคำขอจดทะเบียน รายการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อบริษัท)โดยให้กรรมการตามอำนาจที่จดทะเบียนไว้เป็นผู้ขอจดทะเบียน แล้วยื่น จดทะเบียนต่อนายทะเบียน

5. ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนตราสำคัญไว้โดยระบุชื่อบริษัทไว้ในตรา บริษัทต้องจดทะเบียนแก้ไขตราสำคัญให้สอดคล้องกับชื่อใหม่ด้วย ให้ระบุรายการแก้ไขตราสำคัญไว้ในคำขอจดทะเบียนเดียวกับการแก้ไขชื่อบริษัท

83. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมกาของบริษัทจำกัดมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ ในกรณีที่กรรมการของบริษัทต้องการออกจากตำแหน่งกรรมการและบริษัทได้แต่งตั้ง กรรมการใหม่แทนพร้อมทั้งประสงค์จะแก้ไขอำนาจกรรมการผู้มีอำนาจลงนามกระทำการแทนบริษัทนั้น จะต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นหรือประชุมคณะกรรมการของบริษัทแล้วแต่กรณี เพื่อมีมติให้กรรมการออกจากตำแหนงและแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนคนที่ลาออกพร้อมทั้งมีมติให้แกไขอำนาจกรรมการให้สอดคล้องกับกรรมการด้วยการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและ/หรืออำนาจกรรมการ ต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจตามที่จดทะเบียนไว้เดิมเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนการยื่นจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการจะต้องยื่นต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ การดำเนินการในกรณีดังกล่าวข้างต้น จะต้องดำเนินการดังนี้

 

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ

 

กรรมการออกจากตำแหน่งและการแต่งตั้งกรรมการ

1. ครบวาระ ในการประชุมสามัญประจำปีแต่ละปี กรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งจำนวนหนึ่งในสาม (โดย 2 ปีแรก หลังจากตั้งบริษัทถ้ามิได้มีการตกลงกนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ใช่วิธีการจับสลากออก ส่วนปีถัดไป (ปีที่ 3)ให้กรรมการที่อยู่นานที่สุดออกจากตำแหน่ง) และแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกจากตำแหน่งกรรมการที่ออกจากตำแหนงจะถูกแต่งตั้งกลับเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทอีกก็ได้

2. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ออก และมีมติแตงตังกรรมการใหม่แทน การปลดกรรมการ ออกจากตำแหน่งจะต้องอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น

3. ลาออกจากตำแหน่งกรรมการ

1.1 ออกจากตำแหน่งกรรมการโดยมีหนังสือลาออกถึงบริษัท หรือ

1.2 ลาออกจากตำแหนงกรรมการด้วยวาจาโดยแจ้งในการประชุมคณะกรรมการหรือ การประชุมผู้ถือหุ้นและที่ประชุมมีมติให้ออก

1.4 ตาย

1.5 ล้มละลาย

1.6 ไร้ความสามารถ

การแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกโดยการลาออก ตาย ล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติแต่งตั้งกรรมการคนใหม่แทนกรรมการที่ออกได้ โดยกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่จะมีวาระเท่ากับกรรมการเดิมที่ออกไป

กรณีที่จะแต่งตั้งกรรมการใหม่เพิ่มเติมจากจำนวนกรรมการที่มีอยู่เดิม จะต้องให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้นมีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่

84. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มลดสาขาของบริษัทจำกัดมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ การแก้ไขเพิ่มลดสาขาของบริษัทจำกัด กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการ ดังนั้นในการจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่จึงไม่ต้องอ้างอิงมติที่ประชุม แต่หากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้แก้ไข จะระบุรายละเอียดการประชุมในคำขอจดทะเบียนด้วยก็ได้

85. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงลดทุนของบริษัทจำกัดมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ ขั้นตอนการจดทะเบียนลดทุนบริษัท มี 2 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 จดทะเบียนมติพิเศษให้ลดทุน

ขั้นตอนที่ 2 จดทะเบียนลดทุนและแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5 (ทุน)

 

วิธีการลดทุน

 

บริษัทจะลดทุนของบริษัทลงด้วยการลดมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นให้ต่ำลง (แต่ต้องคงเหลือไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท) หรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลงก็ได้ โดยอาศัยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้จะลดทุนของบริษัทให้เหลือต่ำกว่าจำนวนหนึ่งในสี่ของทุนทั้งหมดไม่ได้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทุนต้องแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) ด้วย โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. การนัดประชุม

จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อมีมติพิเศษให้ลดทุนและแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่ลด โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยต้องระบุวาระการประชุมเรื่องลดทุนและแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. ที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วนการนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุม ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น

2. การประชุมผู้ถือหุ้น

2.1 ในการลงมติพิเศษให้ลดทุนและให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

2.2 การลดทุนจะลดโดยการลดมูลค่าหุ้นหรือจำนวนหุ้นก็ได้

2.3 จำนวนทุนที่ลดจะลดลงไปให้เหลือต่ำกว่าหนึ่งในสี่ของทุนไม่ได้

3. การบอกกล่าวเจ้าหนี้

เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้ลดทุน และแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. แล้ว บริษัทต้องประกาศโฆษณาการลดทุนในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้งและต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ของบริษัท เพื่อให้เจ้าหนี้ทราบการลดทุนและมีสิทธิคัดค้านภายใน 30วัน นับแต่วันที่บอกกล่าว

4. การยื่นขอจดทะเบียน

4.1 กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทต้องยื่นคำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้ลดทุนภายใน 14 วัน นับจากวันที่มีมติพิเศษให้ลดทุน

4.2 เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศหนังสือพิมพ์ หรือวันบอกกล่าวเจ้าหนี้ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุด และไม่มีเจ้าหนี้คัดค้านการลดทุน หรือกรณีเจ้าหนี้คัดค้านให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หรือวางประกันหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนพอใจไม่คัดค้านแล้ว ให้กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทยื่นคำขอจดทะเบียนลดทุน และแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5 (ทุน)

 

86. ถ้าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจำกัดมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ 1. จัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน)ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่ม การประชุม

1.1 ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน)รวมทั้งให้ระบุทุนที่เพิ่มและหนังสือบริคณห์สนธิที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วนการนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น

1.2 ในการลงมติเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

2. การเพิ่มทุนต้องออกหุ้นใหม่ในมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้เดิม

3. หุ้นที่ออกใหม่ ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นๆ ถือหุ้นอยู่คำเสนอ ต้องทำเป็นหนังสือแจ้งไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน ให้ระบุจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิจะซื้อได้ และกำหนดวันที่จะต้องแจ้ง หากพ้นวันดังกล่าวแล้วยังไม่ตอบรับการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะถือว่าผู้ถือหุ้นไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว

4. เมื่อพ้นกำหนดไปแล้วไม่มีการตอบรับจากผู้ถือหุ้น หรือผู้ถือหุ้นปฏิเสธไม่ซื้อหุ้นที่เพิ่มทุนให้ขายหุ้นนั้นแก่ผู้ถือหุ้นคนอื่น หรือกรรมการรับซื้อไว้เองก็ได้

5. หุ้นที่ออกใหม่จะขายให้แก่บุคคลภายนอกไม่ได้

6. หุ้นที่ออกใหม่ถ้าชำระด้วยสิ่งอื่นนอกจากตัวเงินต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น

วิธีการจดทะเบียนเพิ่มทุน แบ่งเป็นดังนี้

1. กรณียังไม่ได้ขายหุ้นออกใหม่ ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน (ภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมมีมติพิเศษ)

2. กรณีที่ขายหุ้นออกใหม่เป็นคราว ๆ ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน (ภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมมีมติพิเศษ) และจดทะเบียนเพิ่มทุนตามจำนวนหุ้นที่ขายได้ พร้อมทั้งจดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ห้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่มในการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่มเป็นคราวๆ ไป นั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นการประชุมคราวเดียวกับการประชุมมติพิเศษเพิ่มทุนก็ได้

 

3. กรณีขายหุ้นออกใหม่ทั้งหมดในคราวเดียวกัน ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน จดทะเบียนเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) พร้อมกัน ทั้งนี้จะต้องจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุนภายใน14 วัน นับจากวันที่มีมติพิเศษให้เพิ่มทุน

ในกรณีที่ต้องการออกหุ้นใหม่ในมูลค่าที่ต่างจากมูลค่าเดิม จะต้องจัดประชุมแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (มูลค่าหุ้น) โดยให้แก้ไขมูลค่าหุ้น (แปลงมูลค่าหุ้น) ก่อน แล้วจึงมีมติเพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสามารถพิจารณาในการประชุมคราวเดียวกันได้การยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (มูลค่าหุ้น) ในกรณีที่ต้องการแปลงมูลค่าหุ้นพร้อมกับการขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุนนั้น ให้ผู้ขอจดทะเบียนจัดทำคำขอจดทะเบียน 2 คำขอ คือ

3.1 คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (มูลค่าหุ้น)

3.2 คำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน เพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน)ให้ยื่นจดทะเบียนพร้อมกันทั้ง 2 คำขอ

87. ในกรณีที่บริษัทจำกัดมีการควบบริษัทกันมีขั้นตอนอย่างไร มีระยะเวลาเท่าไร

คำตอบ 1. บริษัทแต่ละบริษัทที่จะควบเข้ากันเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษให้ควบบริษัทเข้าด้วยกัน ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่เข้าประชุมการจัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อมีมติพิเศษให้ควบบริษัท ต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

2. เมื่อมีมติพิเศษให้ควบบริษัทแล้ว แต่ละบริษัทจะต้องนำมติไปจดทะเบียนมติพิเศษให้ควบบริษัทภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการลงมติ

3. แต่ละบริษัทต้องลงประกาศโฆษณาการควบบริษัทในหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้ง

4. แต่ละบริษัทต้องมีหนังสือบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์แจ้งให้เจ้าหนี้ของบริษัททราบเพื่อคัดค้านการควบบริษัท ภายใน 60 วันนับแต่วันบอกกล่าว

5. เมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศหนังสือพิมพ์หรือวันบอกกล่าวเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นเวลาครั้งหลังสุดและไม่มีเจ้าหนี้คัดค้าน ให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จะควบเข้ากันทั้งหมดเข้าประชุมหารือร่วมกันเพื่อจัดตั้งบริษัทใหม่ โดยจะตกลงกันในรายละเอียดของบริษัทใหม่ เช่น ชื่อบริษัท ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ข้อบังคับวัตถุประสงค์ เป็นต้น

ในกรณีมีเจ้าหนี้ของบริษัทคัดค้านการควบบริษัท บริษัทที่เป็นลูกหนี้จะต้องใช้หนี้หรือให้ประกันการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนกว่าเจ้าหนี้จะพอใจไม่คัดค้านเสียก่อน จึงจะดำเนินการควบบริษัทต่อไป

 

6. เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติให้ควบเข้ากันตามข้อ 5 แล้ว ให้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ภายใน14 วันนับแต่วันที่มีมติ โดยกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท

88. ในกรณีที่บริษัทจำกัดต้องการเลิกกิจการมีขั้นตอนอย่างไร

คำตอบ ขั้นตอนการเลิก

1. บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้

1.1 เลิกโดยผลของกฎหมาย

(1) กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น

(2) ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น

(3) ตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำกิจการนั้นเสร็จแล้ว

(4) บริษัทล้มละลาย

1.2 โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น

(1) ผู้ถือหุ้นลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท

การเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัดในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท โดยดำเนินการจัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่เข้าประชุม

1.3 เลิกโดยคำสั่งศาล เหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทคือ

(1) ทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท

(2) บริษัทไม่เริ่มประกอบการภายใน 1 ปีนับแต่จดทะเบียน หรือหยุดทำการถึง 1 ปี

(3) การค้ามีแต่ขาดทุนและไม่มีหวังกลับฟื้นคืน

(4) จำนวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 คน

คำขอจดทะเบียนเลิกและอำนาจของผู้ชำระบัญชีของบริษัท จะต้องลงลายมือชื่อโดยผู้ชำระบัญชี ซึ่งได้แก่กรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก

การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีของบริษัท หากข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรรมการทุกคนของบริษัทต้องเป็นผู้ชำระบัญชี โดยผลของกฎหมาย ถ้าผู้ชำระบัญชีมีหลายคน ผู้ชำระบัญชีทุกคนต้องกระทำการร่วมกัน เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่หรือศาลจะได้กำหนดอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นในกรณีที่บริษัทไม่ได้กำหนดข้อบังคับในเรื่องการตั้งผู้ชำระบัญชีไว้ หากบริษัทประสงค์จะตั้งกรรมการบางคน หรือ กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชีเมื่อบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลเลิกกัน บริษัทจะยังคงตั้งอยู่เพื่อการชำระบัญชี การเลิกบริษัทกรณีอื่นนอกจากล้มละลายต้องมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เพื่อดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชีของบริษัทให้

 

เสร็จสิ้นไป เช่น การรวบรวมทรัพย์สิน ชำระหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการได้ออกไปในการดำเนินกิจการค้าแทนบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนและเฉลี่ยเป็นกำไรในระหว่างผู้ถือหุ้น และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี เมื่อได้จด

2. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอและยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัท

3. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย

4. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี)ขั้นตอนตาม 2-4 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท

89. ในกรณีผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองในแบบคำขอจดทะเบียนต้องแนบเอกสารอะไรบ้าง

คำตอบ สำเนาใบอนุญาตผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและสำเนาใบเสร็จรับเงินค่าสามาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

90. บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นต้องใช้เอกสารอะไรประกอบบ้าง

คำตอบ จัดทำใบนำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้น รายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับใหม่(บอจ.5) และจัดทำใบโอนหุ้นด้วยหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว

91. ริษัทจะส่งหนังสือนัดประชุมให้ถึงตัวผู้ถือหุ้นโดยตรง แทนการส่งหนังสือนัดประชุมโดยทางไปรษณีย์ตอบรับได้หรือไม่

คำตอบ บริษัทจะส่งหนังสือนัดประชุมให้ถึงตัวผู้ถือหุ้นโดยตรง แทนการส่งหนังสือนัดประชุมโดยทางไปรษณีย์ตอบรับได้ ตามมาตรา 1244

92. บริษัทจะส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้นโดยใช้ e-mail แทนการส่งไปรษณีย์ตอบรับได้หรือไม่

คำตอบ ไม่ได้ เนื่องจากตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 1175 กำหนดว่า คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน

93. การประชุมสามัญ และการประชุมวิสามัญคืออะไร

คำตอบ การประชุมสามัญ คือ การประชุมประจำปีของบริษัทจำกัด ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยสาระที่จะต้องประชุมคือพิจารณาการดำเนินกิจการของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่เข้าแทนกรรมการที่ออกตามวาระ แต่งตั้งผู้สอบบัญชีคนใหม่และอนุมัติงบดุลของบริษัท ส่วนการประชุมวิสามัญ

นั้น จะมีขึ้นเมื่อใดและจะประชุมเมื่อใดเรื่องใดก็ได้สุดแต่กรรมการจะเห็นสมควร

 

94. มติธรรมดาและมติพิเศษ แตกต่างกันอย่างไร 

คำตอบ การลงมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมี 2 ประเภท คือ มติธรรมดาและมติพิเศษ ซึ่งแตกต่างกันใน 3 กรณีคือ (1) กิจการที่จะลงมติ กิจการที่จะลงมติธรรมดาเป็นกิจการทั่วๆไป ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ตกลงกันด้วยมติพิเศษ ส่วน

95. การลงคะแนนเสียงด้วยวิธีชูมือ (โดยเปิดเผย) และการลงคะแนนลับแตกต่างกันอย่างไร

คำตอบ การลงคะแนนด้วยวิธีชูมือ ให้นับผู้ถือหุ้นแต่ละคนที่มาประชุมหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมแทน มีเสียงคนละหนึ่งเสียง โดยไม่คำนึงถึงจำนวนหุ้น การลงคะแนนลับ ให้นับคะแนนตามจำนวนหุ้น โดยถือว่าผู้ถือหุ้นทุกคนมีคะแนนเสียง เสียงหนึ่งต่อหนึ่งหุ้น

96. คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ซึ่งต้องลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ จะต้องประกาศเป็นภาษาไทยเท่านั้น หรือประกาศเป็นภาษาต่างประเทศด้วย

คำตอบ โดยปกติต้องประกาศเป็นภาษาไทย แต่ถ้าต้องการประกาศเป็นภาษาต่างประเทศด้วย ก็ควรกำหนดไว้ในข้อบังคับเพื่อเป็นการป้องกันการโต้แย้งระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท ทั้งนี้รวมถึงหนังสือนัดประชุมที่จะต้องส่งทางไปรษณีย์ตอบรับด้วย

97. หุ้นของบริษัทมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

คำตอบ ของบริษัทจำกัด มี 2 ชนิด คือ (1) หุ้นสามัญ เป็นหุ้นชนิดที่ผู้ถือหุ้นในบริษัทมีสิทธิตามธรรมดา เช่น สิทธิเข้าประชุม และลงคะแนนเสียงในที่ประชุมใหญ่ สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล เมื่อบริษัทได้กำไร เป็นต้น (2) หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหุ้นชนิดที่ผู้ถือหุ้นในบริษัทมีสิทธิเป็นพิเศษบางประการดีหรือด้อยกว่าหุ้นสามัญ เช่น สิทธิที่จะได้รับเงินปันผลก่อน มีสิทธิออกเสียงเป็น 2 เท่าของหุ้นสามัญ หรือกำหนดให้ได้รับคืนเงินค่าหุ้นก่อนหุ้นสามัญเมื่อบริษัทเลิกกันก็ได้ อย่างไรก็ตามหุ้นบุริมสิทธินี้ต้องวางกำหนดสภาพ และบุริมสิทธิตั้งแต่ตอนประชุมตั้งบริษัท

หรือตอนเพิ่มทุน(หากบริษัทออก

98. ใบหุ้น คืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง และแต่ละประเภทมีวิธีการโอนแตกต่างกันอย่างไร

คำตอบ ใบหุ้น คือหนังสือสำคัญซึ่งบริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเพื่อเป็นหลักฐานแสดงการถือหุ้น ใบหุ้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ใบหุ้นชนิดระบุชื่อ คือใบหุ้นชนิดที่ระบุชื่อผู้ถือหุ้น (2) ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ คือใบหุ้นชนิดที่ไม่ระบุชื่อผู้ถือหุ้น แต่จะระบุในใบหุ้นนั้นว่าเป็นหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ซึ่งหุ้นชนิดนี้จะออกได้ก็ต่อเมื่อ

2.1 มีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตไว้

2.2 หุ้นได้ใช้ราคาเต็มมูลค่าแล้ว การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน และมีพยานอย่างน้อย 1 คนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอน และจะใช้ยันบริษัทหรือ

 

บุคคลภายนอกได้ ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนการโอนลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว ส่วนการโอนหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือจะสมบูรณ์เพียงส่งมอบใบหุ้นให้แก่กันเท่านั้น

99. เวลาที่บริษัทจะบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ต้องประกาศหนังสือพิมพ์ และส่งหนังสือนัดประชุมโดยทางไปรษณีย์ตอบรับด้วยนั้น ถ้าเป็นกรณีที่ห้างฯ จะประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องประกาศหนังสือพิมพ์ และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับเหมือนบริษัทหรือไม่

คำตอบ การบอกกล่าวเรียกประชุมที่ต้องประกาศ หนังสือพิมพ์และส่งไปรษณ๊ย์ตอบรับ ใช้เฉพาะการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เท่านั้น ไม่ใช้บังคับกรณีที่เป็นห้างฯแต่อย่างใด

100. กฎหมายใหม่ให้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัทพร้อมกันภายในวันเดียวกันได้ แต่ถ้าต้องการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อน แล้วจดทะเบียนบริษัทในภายหลังตามแบบเดิม สามารถทำได้หรือไม่?...

ตอบ ได้

101. กรณีผู้ถือหุ้นหลายคนมีที่อยู่เดียวกัน บริษัทสามารถส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นหลายฉบับทางไปรษณีย์ตอบรับใน

คำตอบ ไม่ได้ ต้องแยกส่งคนละซอง มิฉะนั้นจะไม่มีหลักฐานการส่งไปยังผู้ถือหุ้นแต่ละคน

102. การส่งหนังสือนัดประชุมทางไปรษณีย์ตอบรับ ใครจะต้องเป็นผู้เซ็นรับในใบตอบรับ

คำตอบ ผู้ที่จะเซ็นชื่อรับหนังสือนัดประชุมที่ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับจะต้องเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับหนังสือนั้นไว้ เช่นตัวผู้ถือหุ้นเอง หรือบุคคลที่อยู่ภายในบ้านเดียวกับผู้ถือหุ้น นั้น

103.ถ้าบริษัทมีผู้ถือหุ้นอยู่ต่างประเทศ เวลาบริษัทจะเรียกประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทจะต้องลงโฆษณาหนังสือพิมพ์ในต่างประเทศด้วยหรือไม่

คำตอบ กฎหมายกำหนดให้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ซึ่งหมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ออกในจังหวัดหรือมีจำหน่ายในจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท ดังนั้นแม้ผู้ถือหุ้นอยู่ต่างประเทศ ก็ไม่ต้องลงโฆษณาหนังสือพิมพ์ในต่างประเทศ

104. ในการจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือไม่

คำตอบ หากบริษัทมีหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น การจ่ายเงินปันผลบริษัทต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นโดยทางไปรษณีย์ หรือส่งมอบแก่ตัวผู้ถือหุ้นเองก็ได้ แต่ถ้าบริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ บริษัทต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์อย่างน้อยหนึ่งครั้งด้วย

 

105. การยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัทพร้อมกันในวันเดียว ผู้มีอำนาจลงนามในคำขอจดทะเบียนคือผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการ

คำตอบ ผู้มีอำนาจลงนามในคำขอจดทะเบียนคือกรรมการผู้มีอำนาจ

106. การนับระยะเวลาส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น มีวิธีการนับอย่างไร

คำตอบ การนับระยะเวลาส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือวันที่ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับ ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น

107. การโฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อบอกกล่าวว่าจะปันผล จะต้องโฆษณาล่วงหน้าเป็นเวลา 7 วันหรือไม่

คำตอบ กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่าจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากี่วัน

108. กรณีที่บริษัทมีกรรมการคนเดียวและกรรมการได้ถึงแก่กรรมแล้ว ใครจะเป็นผู้ดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ

คำตอบ เมื่อบริษัทไม่มีกรรมการเหลืออยู่แล้ว ให้ผู้ถือหุ้นซึ่งมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัทเป็นผู้เรียกประชุมได้เอง เพื่อพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ ตามมาตรา 1173 , 1174

109. บริษัทมีกรรมการคนเดียวได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งต่อบริษัทและได้แจ้งการลาออกต่อนายทะเบียน ตามมาตรา 1153/1 แล้ว กรรมการที่ลาออกดังกล่าวจะเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนเพื่อให้ตัวเองออกจากกรรมการโดยไม่มีกรรมการเข้าใหม่ได้หรือไม่

คำตอบ กรรมการที่ลาออกสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ นายทะเบียนจะรับคำขอไว้แต่ยังไม่รับจดทะเบียน หลังจากนั้นต้องให้ผู้ถือหุ้นซึ่งมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัท เป็นผู้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณา

แต่งตั้งกรรมการแทนคนที่ลาออก และให้กรรมการใหม่เป็นผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนกรรมการเข้าใหม่พร้อมเอกสารประกอบดังนี้

1.หนังสือพิมพ์ที่ลงพิมพ์โฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

2.สำเนาหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อ

พิจารณาเรื่องกรรมการพร้อมด้วยหลักฐานการส่งหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน หรือ หลักฐานการรับทราบการเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี

3.สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นที่ปรากฏมติแต่งตั้งกรรมการ และ 4.สำเนารายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งปรากฏลายมือชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้เข้าประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วนายทะเบียนจึงจะรับ

จดทะเบียนทั้ง 2 คำขอพร้อมกัน

 

110. บริษัทมีกรรมการเพียงคนเดียว สามารถจัดประชุมคณะกรรมการก่อนที่จะเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นได้หรือไม่?

คำตอบ กรณีที่บริษัทมีกรรมการเพียงคนเดียว ไม่สามารถจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการได้ แต่สามารถบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นได้เลย

111. กรณีส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ทางไปรษณีย์ตอบรับแล้ว แต่หนังสือบอกกล่าวถูกส่งคืนบริษัทเนื่องจากไม่มีผู้รับจะถือว่าการส่งคำบอกกล่าวนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

คำตอบ ถ้าได้ส่งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้วถือเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎ หมายแล้วแม้จะไม่มีผู้รับก็ตาม

112. กรณียื่นคำขอจดทะเบียนล่าช้าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะต้องเสียค่าปรับเท่าใด

คำตอบ กรณีจะทะเบียนเปลี่ยนแปลงบริษัท ปรับบริษัท 200 บาทกรรมการคนอีกคนละ 200 บาท (ควรดูตารางเปรียบเทียบปรับที่กรมกำหนดเนื่องจากมีหลายกรณี)

113. คำขอที่จะต้องยื่นจดทะเบียนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดนั้นหากวันท้ายที่จะต้องยื่นจดทะเบียนตรงกับวันหยุดราชการ ผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นจดทะเบียนในวันแรกที่เปิดทำการตามปกติได้หรือไม่

คำตอบ ได้

114. ในการประชุมสามัญประจำปีวันที่ลงประกาศโฆษณาบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นและวันที่ส่งหนังสือนัดประชุมทางไปรษณีย์ตอบรับ จะเป็นวันก่อนวันที่ที่ปรากฏในรายงานผู้สอบบัญชีได้หรือไม่

คำตอบ ได้ เพียงแต่วันที่ผู้สอบรับรองจะต้องเป็นวันที่ก่อนวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า สามวัน (มาตรา 1197)

115. บริษัทจดทะเบียนเลิกแล้วจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในเวลาเท่าใดและต้องประกาศ หนังสือพิมพ์เรื่องเลิกบริษัทภายในกี่วัน ถ้าลืมประกาศหนังสือพิมพ์จะต้องทำอย่างไร

คำตอบ กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาว่าต้องจดทะเบียนเสร็จภายในเวลาเท่าใด เพียงแต่ถ้าไม่เสร็จภายใน สามเดือน มาตรา 1267 กำหนดให้ส่งรายงานการชำระบัญชีไว้ที่หอทะเบียนทุกสามเดือน และถ้าเกิน 1 ปี ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมใหญ่ประจำปีเพื่อรายงานความเป็นไปของการชำระบัญชีด้วย (มาตรา 1268)

116. บริษัทมีทุนจดทะเบียน 6 ล้านบาท เรียกชำระเงินค่าหุ้นแล้ว 4 ล้านบาท จะเรียกให้ชำระเพิ่มอีก 2 ล้านบาทจะต้องทำอย่างไร

คำตอบ กฎหมายให้เป็นดุลยพินิจของกรรมการบริษัทที่เรียกเก็บค่าหุ้นเพิ่มเติมจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ตาม มาตรา 1120 โดยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ตาม มาตรา 1121 ดังนี้

 

1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรียกชำระค่าหุ้น

2. ส่งคำบอกกล่าวลวงหน้าด้วยจดหมายลงทะเบียนเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้น

3. คำบอกกล่าวต้องส่งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 21 วัน

4. คำบอกกล่าวต้องกำหนดว่าให้ส่งเงินค่าหุ้นให้แก่ผู้ใดสถานที่และเวลาใด

117. บริษัทที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างแล้ว ต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีอีกหรือไม่

คำตอบ เมื่อถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างแล้วกฎหมายให้บริษัทสิ้นสภาพนิติบุคคลไม่ต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีอีก

118. บริษัทจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชีไปแล้ว เจ้าหนี้จะยังมีสิทธิฟ้องบริษัทได้อีกหรือไม่ หรือจะร้องต่อศาลให้บริษัทลูกหนี้นั้นคืนสู่ทะเบียน เหมือนกรณีถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างได้หรือไม่

ตอบ จะฟ้องร้องได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป แต่กฎหมายเปิดช่องไว้ตามมาตรา 1272 ให้ฟ้องได้ภายในสองปีนับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี

การร้องขอให้คืนสู่ทะเบียน เป็นกรณีถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างเท่านั้น จะนำมาใช้กับกรณีดังกล่าวไม่ได้

119. บริษัทเคยจดทะเบียนข้อบังคับไว้ ต่อมามีการแก้ไข ป... บริษัทจะไม่จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับได้

หรือไม่

คำตอบ ถ้าข้อบังคับจดทะเบียนไว้ไม่ขัดกับกฎหมายก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข แต่ถ้าบริษัทเห็นว่ามีข้อบังคับไปขัดกับหลักกฎหมายใหม่ก็ควรจะแก้ไข

120. วันที่ไปยื่นจดทะเบียนเตรียมเอกสารไปไม่ครบ จะถือว่าคำขอจดทะเบียนนั้นเป็นโมฆะหรือไม่

คำตอบ ถ้าจัดเตรียมเอกสารมาไม่ถูกต้องเรียบร้อยนายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนให้ สามารถนำคำขอจดทะเบียนกลับไปแก้ไขให้ถูกต้องแล้วนำมายื่นจดทะเบียนใหม่ได้

121. บริษัทมีผู้ถือหุ้นเกิน 7 คน ต้องการให้เหลือ 3 คน ตามกฎหมายใหม่สามารถทำได้หรือไม่ ต้องเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติก่อนหรือไม่ และหลังจากจากโอนแล้วต้องแจ้งต่อนายทะเบียนทุกครั้งหรือไม่

คำตอบ ในปัจจุบันตามกฎหมาย ผู้ถือหุ้นบริษัทมี เพียง 3 คน ก็ได้ ดังนั้นถ้าผู้ถือหุ้นมีมากกว่า 3 คน จะลดให้เหลือสามคนก็ได้ โดยปกติการโอนหุ้นไม่จำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเว้นแต่ข้อบังคับของบริษัทจะกำหนดให้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน เมื่อโอนหุ้นแล้วกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ส่งบัญชีหุ้นกับกรมฯแต่อย่างใด แต่ควรจะส่งไว้เป็นหลักฐานทางทะเบียน

 

122. บริษัทจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิไว้แล้วก่อนที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ เมื่อกฎหมายใหม่ใช้บังคับแล้วยังสามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไปได้หรือไม่

คำตอบ สามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไปได้ หนังสือบริคณห์สนธิไม่ได้สิทธิผล

123. ผู้ที่เป็นพยานในหนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ. 2 หน้า 2) จะเป็นผู้รับมอบอำนาจในการยื่นคำขอจดทะเบียนได้หรือไม่

คำตอบ ได้

124. การลดทุนและการควบบริษัท ที่กฎหมายกำหนดให้แจ้งบรรดาเจ้าหนี้เพื่อให้สิทธิคัดค้านนั้น เจ้าหนี้หมายถึงใครบ้างหมายรวมถึงเจ้าหนี้การค้าปกติด้วยหรือไม่

คำตอบ กฎหมายกำหนดให้แจ้งไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท ไม่มียกเว้นของกฎหมายที่ไม่

ต้องส่งเจ้าหนี้บางประเภทไว้

125. ที่อยู่ของผู้เริ่มก่อการต่างชาติจะต้องระบุที่ใด

คำตอบ ให้ระบุที่อยู่จริงที่สามารถติดต่อและส่งจดหมายถึงได้

126. ผู้เริ่มก่อการ1 ใน 3 ต้องเป็นกรรมการตอนตั้งบริษัทด้วย หรือไม่

คำตอบ ผู้เริ่มก่อการหรือผู้ถือหุ้นกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นกรรมการด้วย เว้นแต่บริษัทจะได้กำหนดข้อบังคับไว้ว่าให้เป็นกรรมการด้วยก็ต้องเป็นไปตามข้อบังคับ

127.ผู้เริ่มก่อการต้องเป็นผู้ถือหุ้นตอนตั้งบริษัทด้วยหรือไม่

คำตอบ ตอนจัดตั้งบริษัทผู้เริ่มก่อการทุกคนต้องเป็นผู้ถือหุ้นด้วย โดยต้องถือหุ้นหนึ่งหุ้นเป็นอย่างน้อย

128. ผู้เริ่มก่อการตายไป 1 คน จะต้องทำอย่างไร

คำตอบ กรณีที่จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิไว้ ถ้าปรากฏว่ามีผู้เริ่มก่อการคนใดคนหนึ่งตายหนังสือบริคณห์

สนธิฉบับนั้น จะสิ้นผลทันทีไม่สามารถนำมาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอีกต่อไปไม่ได้

129. ผู้ถือหุ้นเสียชีวิตต้องปฏิบัติอย่างไร

คำตอบ เมื่อผู้ถือหุ้นตายโดย หุ้นย่อมตกเป็นของทายาททันที นับแต่เวลาที่ เจ้ามรดกตาย สิทธิในหุ้นโอนไปยังทายาทโดยผลของกฎหมาย ตาม ป... มาตรา 1599, 1600 แม้บริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนให้ทายาทเป็นผู้ถือหุ้น กรณีดังกล่าวให้ผู้ที่มีสิทธิได้หุ้นนั้นเอาใบหุ้นมาเวนคืนถ้าอยู่ในวิสัยจะทำได้ พร้อมกับหลักฐานแสดงสิทธิ

ของตน เช่น คำสั่งศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกหรือคำพิพากษาของศาลว่าเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เพื่อให้บริษัทจดแจ้งชื่อลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นและออกใบหุ้นใหม่ให้

 

130. ผู้เยาว์เป็นผู้เริ่มก่อการได้หรือไม่

คำตอบ ผู้เยาว์ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปสามารถเป็นผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้งบริษัทจำกัดได้

131. หนังสือบริคณห์สนธิคืออะไร

คำตอบ หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือสัญญาจัดตั้งบริษัทที่ผู้เริ่มก่อการได้ตกลงกัน เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในการจัดตั้งบริษัท โดยมีรายการจดทะเบียน ดังนี้

1. ชื่อบริษัทจะต้องมีคำว่าบริษัทนำหน้า และคำว่าจำกัดต่อท้าย

2. สถานที่ตั้งของสำนักงานบริษัท

3. วัตถุประสงค์ทั้งหลายของบริษัท

4. กำหนดความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้น

5. กำหนดทุนเรือนหุ้นที่จะจดทะเบียน แบ่งออกเป็นกี่หุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่าใด

6. ชื่อ สำนัก อาชีวะ และลายมือชื่อผู้เริ่มก่อการ และจำนวนหุ้นที่ผู้เริ่มก่อการได้เข้าชื่อซื้อไว้

132. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิจะต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

1. ผู้เริ่มก่อการจองชื่อนิติบุคคล

2. เมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อแล้ว ผู้เริ่มก่อการ่อย่างน้อย 3 คน เข้าชื่อกันจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ

หมายเหตุ ผู้เริ่มก่อการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

2.1 เป็นบุคคลธรรมดา จะเป็นนิติบุคคลไมได้

2.2 มีอายุตังแต่ 12 ปี ขึ้นไป

2.3 จะต้องจองซื้อหุ้นอย่างน้อยคนละ 1 หุ้น

3. ผู้เริ่มก่อการยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิตอนายทะเบียนภายใน 30 วัน

นับแต่ วันที่นายทะเบียนอนุญาตให้จองชื่อนิติบุคคล

133. ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดเหลือไม่ถึง 3 คนจะได้หรือไม่

คำตอบ ไม่ได้ เนื่องจากถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนไม่ถึงสามคนศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทได้ตาม ปพพ.มาตรา 1237

134. จดทะเบียนว่าชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว จะขอเปลี่ยนเป็นชำระ 25 % ได้ หรือ ไม่

 คำตอบ ไม่ได้

135 จดทะเบียนมีทุนขั้นต่ำสุดหรือไม่

คำตอบ ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด กฎหมายไม่ได้กำหนดทุนขั้นต่ำไว้ แต่ในเรื่องของบริษัทจำกัด กฎหมายกำหนดเรื่องมูลค่าหุ้นไว้ว่ามูลค่าหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า ห้าบาท

136. วัตถุประสงค์จะพิมพ์ขึ้นเองโดยไม่ใช้วัตถุประสงค์สำเร็จรูปของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ หรือไม่

คำตอบ ได้

137. ใครจะเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมบริษัทจำกัด

คำตอบ ต้องลงชื่อโดยกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้เดิม

138. กรรมการลาออกและจะแต่งตั้งกรรมการใหม่แทน จะต้องประชุมกรรมการหรือผู้ถือหุ้น

คำตอบ โดยปกติการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการต้องใช้มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตาม ป... มาตรา 1151 เว้นแต่กรณีกรรมการลาออกระหว่างวาระคณะกรรมการเลือกตั้งแทนก็ได้แต่กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจะอยู่ในตำแหน่งได้

เท่ากำหนดเวลากรรมการผู้ออกไปนั้นชอบที่จะอยู่ได้

139. ตราประทับใช้เป็นโลโก้อย่างเดียวได้ไม่

คำตอบ ตราของจะทำเป็นโลโก้อย่างเดียวก็ได้ จะมีชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่ก็ได้ (ข้อ 41)

140. หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิแตกต่างกันอย่างไร

คำตอบ หุ้นบุริมสิทธิ หมายถึงหุ้นที่มีสิทธิบางประการแตกต่างจากหุ้นสามัญในเรื่องต่างๆ ได้แก่

- สิทธิในการรับเงินปันผล

- สิทธิในการคืนทุนเมื่อเลิกบริษัท

- สิทธิในการออกสียง

141. บริษัทจำกัดจะมีการเพิ่มทุน เดิมเป็นหุ้นสามัญแต่จะเปลี่ยนเป็นหุ้นบุริมสิทธิได้หรือไม่

คำตอบ ไม่สามารถทำได้

 

142. ถ้าบริษัทจำกัดถูกขีดชื่อขึ้นเป็นทะเบียนร้างจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร 

คำตอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๒๗๓/๔ ถ้าห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ใดๆ ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นรู้สึกว่าต้องเสียหายโดยไม่เป็นธรรมเพราะการที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เมื่อห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลและ

ศาล พิจารณาได้ความเป็นที่พอใจว่าในขณะที่ขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ หรือเห็นเป็นการยุติธรรมในการที่จะให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้กลับคืนสู่ทะเบียนก็ดี ศาลจะสั่งให้จดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ได้ และให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ยังคงอยู่ตลอดมาเสมือนมิได้มีการขีดชื่อออกเลย โดยศาลจะสั่งและวางข้อกำหนดไว้เป็นประการใดๆ ตามที่เห็นเป็นการยุติธรรมด้วยก็ได้เพื่อให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทและ บรรดาบุคคลอื่นๆ กลับคืนสู่

ฐานะอันใกล้ที่สุดกับฐานะเดิมเสมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นมิได้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเลย การร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนสู่ทะเบียน ห้ามมิให้ร้องขอเมื่อพ้นกำหนด สิบปีนับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียน ให้ท่านร้องต่อศาลขอกลับคืนสู่ทะเบียน เมื่อได้คำสั่งศาลแล้วให้ท่านทำหนังสือชี้แจงและแนบคำสั่งศาลยื่นต่อกรมฯเพื่อกลับคืนสู่ทะเบียน

143. การจดทะเบียนเพิ่มสาขาจำเป็นต้องประชุมผู้ถือหุ้นด้วยหรือไม่

คำตอบ หากข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดไว้ จะมีการประชุมผู้ถือหุ้นหรือไม่ก็ได้

144. การจดทะเบียนบริษัทอำนาจกรรมการที่เป็นชาวต่างชาติที่มีอำนาจลงลายมือชื่อจำเป็นต้องลงลายมือชื่อร่วมกับคนไทยหรือไม่

คำตอบ การกำหนดอำนาจกรรมการบริษัทให้เป็นตามที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นกำหนด

145. ในกรณีที่แก้ไขเพิ่มเติกรรมการซึ่งกรรมการคนที่เข้าใหม่เป็นทนายความจะลงลายมือชื่อรับรองคำขอจดทะเบียนได้หรือไม่ ในการมอบอำนาจ

คำตอบ ทำได้

146. ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนของบริษัทจำกัดโดยออกหุ้นใหม่เป็นหุ้นบุริมสิทธิต้องทำอย่างไร จำเป็นต้องแนบหนังสือชี้แจงด้วยหรือไม่

คำตอบ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. จัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุน

การประชุม

1.1 ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาใน

 

หนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กาหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) รวมทั้ง ให้ระบุทุนที่เพิ่มและหนังสือบริคณห์สนธิที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน

1.2 ในการลงมติเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) ต้องลงมติด้วยคะแนน เสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

2. การเพิ่มทุนต้องออกหุ้นใหม่ในมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้เดิม

3. หุ้นที่ออกใหม่ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นถือหุ้นอยู่คำเสนอต้องทำเป็นหนังสือแจ้งไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน ให้ระบุจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิจะซื้อได้ และกำหนดวันที่จะต้องแจ้งหากพ้นวันดังกล่าวแล้วยังไม่ตอบรับการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะถือว่า ผู้ถือหุ้นไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว

4. เมื่อพ้นกำหนดไปแล้วไม่มีการตอบรับจากผู้ถือหุ้น หรือผู้ถือหุ้นปฏิเสธไม่ซื้อหุ้นที่เพิ่มทุน ให้ขายหุ้นนั้นแก่ผู้ถือหุ้นคนอื่น หรือกรรมการรับซื้อไว้เองก็ได้

5. หุ้นที่ออกใหม่จะขายให้แก่บุคคลภายนอกไม่ได้

6. หุ้นที่ออกใหม่ถ้าชำระด้วยสิ่งอื่น นอกจากตัวเงินต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น

วิธีการจดทะเบียนเพิ่มทุนแบ่งเป็นดังนี้

1. กรณียังไม่ได้ขายหุ้นออกใหม่ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน (ภายใน 14 วันนับจาก วันที่ประชุมมีมติพิเศษ)

2. กรณีที่ขายหุ้นออกใหม่เป็นคราว ๆ ให้ ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน (ภายใน 14 วันนับ จากวันที่ประชุมมีมติพิเศษ) และจดทะเบียนเพิ่มทุนตาม จำนวนหุ้นที่ขายได้ พร้อมทั้งจดทะเบียน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกั่บทุนที่เพิ่มในการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่มเป็นคราวๆ ไป นั้น จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นการประชุมคราว เดียวกับการประชุมมติพิเศษเพิ่มทุนก็ได้

3. กรณีขายหุ้นออกใหม่ทั้งหมดในคราวเดียวกัน ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่ม ทุน จดทะเบียนเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) พร้อมกันทั้งนี้จะต้ องจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุนภายใน 14 วัน นับจากวันที่มีมติพิเศษให้เพิ่มทุนในกรณีที่ต้องการออกหุ้นใหม่ในมูลค่าที่ต่างจากมูลค่าเดิม จะต้องจัดประชุมแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (มูลคาหุ้น) โดยให้แก้ไขมูลค่าหุ้น (แปลงมูลค่าหุ้น ) ก่อนแล้วจึงมีมติเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสามารถพิจารณาในการประชุมคราวเดียวกันได้การยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (มูลค่าหุ้น) ในกรณีที่ต้องการแปลงมูลค่าหุ้นพร้อมกับการขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุนนั้น ให้ผู้ขอจดทะเบียนจัดทำคำขอจดทะเบียน 2 คำขอ คือ

 

3.1 คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (มูลค่าหุ้น)

3.2 คำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) ให้ยื่นจดทะเบียนพร้อมกันทั้ง 2 คำขอ

147. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการลาออกจำเป็นต้องแนบหนังสือลาออกของกรรมการด้วยหรือไม่

คำตอบ จะแนบสำเนาหนังสือลาออกของกรรมการด้วยหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากรายการเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด ตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง พ.. 2554 ไม่ได้บังคับว่าต้องนำส่งสำเนาหนังสือลาออกมาประกอบการจดทะเบียนด้วย

148. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบการข้ามจังหวัดต้องยื่นจดทะเบียนแก้ไขที่ไหน

คำตอบ ยื่นจดทะเบียนที่ที่ตั้งของสำนักใหญ่ของห้างหุ้นส่วนบริษัท ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน

149. บริษัทจำเป็นต้องจดทะเบียนตราของบริษัทด้วยหรือไม่

คำตอบ ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นกำหนด หากการลงนามของกรรมการเพื่อผูกพันบริษัทมีการประทับตราด้วย ก็ต้องจดทะเบียนตราประทับด้วยเพื่อให้สอดคล้องกัน

150. สาเหตุในการที่จะเลิกบริษัทมีอะไรบ้าง

คำตอบ () ถ้าในข้อบังคับของบริษัทมีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกัน เมื่อมีกรณีนั้น

() ถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้นไว้เฉพาะกำหนดกาล ใดเมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น

() ถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้น

() เมื่อมีมติพิเศษให้เลิก

() เมื่อบริษัทล้มละลาย

151. กรรมการบริษัทจะต้องมีกี่คน

คำตอบ ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นกำหนดษัท

จะต้องจัดให้มีขึ้น ณ ท้องที่ใด

152. การเปลี่ยนอำนาจกรรมการจะต้องประชุมผู้ถือหุ้นหรือกรรมการ

คำตอบ หากข้อบังคับบริษัทกำหนดไว้ว่าคณะกรรมการสามารถเปลี่ยแปลงอำนาจกรรมการได้ก็สามารถใช้การประชุมคณะกรรมการเปลี่ยนแปลงอำนาจได้ หากไม่ได้กำหนดไว้ต้องใช้มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น

153. ถ้าแบบ ลช.3 ไม่ส่งตามกำหนดทุกๆ 3 เดือนมีโทษและค่าปรับอย่างไร

คำตอบ พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.. ๒๔๙๙ มาตรา ๓๕ ผู้ชำระบัญชีใด ของห้างหุ้นส่วนจด

ทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด

() ไม่ทำงบดุล หรือไม่เรียกประชุมใหญ่ตามมาตรา ๑๒๕๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

() ไม่ทำรายงานหรือไม่เปิดเผยรายงานตามมาตรา ๑๒๖๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

() ไม่ทำรายงาน ไม่เรียกประชุมใหญ่ หรือไม่ชี้แจงกิจการตามมาตรา ๑๒๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ

() ไม่มอบบัญชีและเอกสารตามมาตรา ๑๒๗๑ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

*ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

154. จะจองชื่อนิติบุคคลได้ที่ใดบ้าง

คำตอบ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 5 เขต สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดและขอจองชื่อผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

155. ชื่อที่จองได้แล้ว จะต้องจดทะเบียนภายในกี่วัน

คำตอบ ภายใน 30 วัน

156. ชื่อภาษาต่างประเทศจะขอใช้ได้หรือไม่

คำตอบ ขอใช้ได้

157. สามารถจองชื่อได้กี่ชื่อในแต่ละครั้ง

คำตอบ จำนวน 3 ชื่อ

158. ชื่อของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจะซ้ำกันได้หรือไม่

คำตอบ ไม่ได้

159. ใบสำคัญการจดทะเบียนพาณิชย์จะใช้ได้ตลอดไปหรือไม่

คำตอบ ใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะจดทะเบียนเลิกใบทะเบียนพาณิชย์

160. การจดทะเบียนพาณิชย์ ให้บุคคลอื่นมาจดให้ได้หรือไม่

คำตอบ ได้ โดยการทำหนังสือมอบอำนาจมาประกอบการจดทะเบียน

161. เมื่อย้ายที่ตั้งสำนักงาน เปลี่ยนชื่อร้าน หรือมีการเปลี่ยนแปลงรายการ ตามที่จดทะเบียนไว้จะต้องทำอย่างไร

คำตอบ ยื่นแบบฟอร์มและเอกสารประกอบการจดทะเบียนเพื่อเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ

 

162. การขอจดทะเบียนพาณิชย์ จะต้องนำหลักฐานอะไรไปบ้าง

คำตอบ (ตามแนบ หน้า 1-5)

163. เมื่อจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจแล้ว ต่อมาจะเปิดร้านทำการค้าใหม่จะทำได้หรือไม่

คำตอบ ทำได้

164. เมื่อเลิกประกอบพาณิชยกิจแล้ว ผู้ประกอบพาณิชยกิจควรทำอย่างไร

คำตอบ ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งให้ทราบว่าได้ยกเลิกใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว

165. ผู้ประกอบการพาณิชยกิจคนเดียวจะมีร้านหลายร้านได้หรือไม่

คำตอบ ได้

166. เมื่อใบสำคัญการจดทะเบียนทะเบียนพาณิชย์ชำรุด หรือสูญหายจะทำอย่างไร

คำตอบ ดำเนินการขอใบแทน

167. เดิมเจ้าของใบทะเบียนพาณิชย์เสียชีวิตจะทำการแก้ไขอย่างไร

คำตอบ ให้ทายาทผู้ประกอบพาณิชยกิจรายนั้นยื่นจดทะเบียนลิกประกอบพาณิชยกิจ

168. ใบทะเบียนพาณิชย์สามารถโอนชื่อเจ้าของกิจการได้หรือไม่

คำตอบ ไม่ได้ เนื่องจากเป็นกิจการเฉพาะตัวบุคคล

169. นิติบุคคลที่จดทะเบียนมีวัตถุประสงค์เป็นพาณิชยกิจพิเศษ จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์เพิ่มเติมหรือไม่

คำตอบ ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต้องจดทะเบียนพาณิชย์

() การขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบ

ดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

() การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี

() การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

() การบริการอินเทอร์เน็ต

() การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

() การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

() การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ ระบบดิ

จิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

() การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต

() การให้บริการฟังเพลง และร้องเพลงโดยคาราโอเกะ

(๑๐) การให้บริการเครื่องเล่มเกมส์

(๑๑) การให้บริการตู้เพลง

(๑๒) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

170. ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนำจกัด จะเสนอขายหุ้นต่อบุคคลใดได้บ้างและจะเสนอขาย ได้เมื่อไหร่

คำตอบ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทสามารถเสนอขายหุ้นได้ 2 วิธี

1. เสนอขายหุ้นให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท

2. เสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

171. การจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คำตอบ การเป็นบริษัทมหาชนจำกัด มี 3 วิธี

1. จัดตั้งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด

ขั้นตอนตามแผนผังการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

2. แปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด

ขั้นตอนตามแผนผังการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด

3. ควบกับบริษัทมหาชนจำกัด

เป็นนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจำกัด และต้องการควบกับบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัดนั้น ก็มีมติพิเศษให้ควบกับบริษัทมหาชนจำกัด และพ้นกำหนดเวลาที่ให้เจ้าหนี้คัดค้าน บริษัทที่ต้องการควบก็จัดประชุมร่วมกัน และนำไปจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดใหม่

172. ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องมีจำนวนเท่าใด และมีคุณสมบัติอย่างไร

คำตอบ เป็นบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คน คุณสมบัติ

1. ต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว

2. มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไม่น้อยกว่า ½ ของจำนวนผู้เริ่มจัดตั้งทั้งหมด

3. จองหุ้น และหุ้นที่จองทั้งหมดนั้นต้องเป็นหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเป็นตัวเงินรวมกันไม่น้อยกว่า 5% ของทุนจดทะเบียน

4. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย 

5. ไม่เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต

173. ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด จะถอนตัวจากการเป็นผู้เริ่มจัดตั้งได้หรือไม่

คำตอบ ผู้เริ่มจัดตั้งสามารถถอนตัวได้ก่อนที่จะมีการประชุมจัดตั้งบริษัทเสร็จสิ้น

174. ในกรณีผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดตาย หรือถอนตัว ผู้เริ่มจัดตั้งคนอื่นจะต้องมีหน้าที่ดำเนินการอย่างไร

หรือไม่

คำตอบ เมื่อผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดตาย หรือ ถอนตัว มีผล 2 ประการ คือ

1. กรณีไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป หนังสือบริคณห์สนธินั้นก็จะสิ้นผล นับแต่วันที่ผู้เริ่มจัดตั้งตายหรือถอนตัว ให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทแจ้งต่อนายทะเบียนและผู้จองหุ้นภายใน 14 วันนับแต่หนังสือบริคณห์สนธินั้นสิ้นผล

2. กรณีผู้เริ่มจัดตั้งประสงค์จะดำเนินการต่อไป หากยังคงมีผู้เริ่มจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 คน และตกลงกันไม่หาคนมาแทนที่ ก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ หากมีผู้เริ่มจัดตั้งไม่ครบ 15 คนต้องปฏิบัติดังนี้

- หาคนแทนที่ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้เริ่มจัดตั้งตาย หรือถอนตัว

- ขอแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเกี่ยวกับจำนวนและบุคคลผู้เริ่มจัดตั้งภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ผู้เริ่มจัดตั้งตาย หรือ ถอนตัวหากผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดที่เหลืออยู่ไม่ดำเนินการดังกล่าวข้างต้น จะทำให้หนังสือบริคณห์สนธิสิ้นผลนับแต่วันที่ผู้เริ่มจัดตั้งตาย หรือถอนตัว โดยต้องแจ้งนายทะเบียนและผู้จองหุ้นภายใน 14 วันนับแต่วันที่หนังสือบริคณห์สนธินั้นสิ้นผล

175. หนังสือบริคณห์สนธิจะมีกำหนดระยะเวลาสิ้นผลหรือไม่

คำตอบ หนังสือบริคณห์สนธิมีอายุ 6 เดือน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียน

176. การนัดผู้จองซื้อหุ้นเพื่อประชุมจัดตั้งบริษัท จะต้องดำเนินการเมื่อใดและมีวิธีการดำเนินการอย่างไร

คำตอบ ผู้เริ่มจัดตั้งจะเรียกนัดประชุมตั้งบริษัทเมื่อ

1. มีการจองหุ้นครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 50 % ของจำนวนหุ้นที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ

2. การเรียกประชุมต้องไม่เกิน 2 เดือนนับแต่วันที่มีการจองหุ้นครบตามจำนวนที่กำหนดไว้

ทั้งนี้การเรียกประชุมจัดตั้งบริษัทดังกล่าวต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

 

วิธีการเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท

ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทต้องจัดทำบัญชีจองหุ้น ระบุชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ และจำนวนหุ้นที่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทรับจองเพื่อให้ผู้จองหุ้นตรวจดูได้ในวันประชุมตั้งบริษัท ณ สถานที่จัดประชุม และจัดส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้จองหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันประชุม และต้องส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้กับผู้จองหุ้น

1. ระเบียบวาระการประชุม

2. เอกสารเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้ที่ประชุมจัดตั้งบริษัทพิจารณาให้สัตยาบันหรืออนุมัติโดยมีผู้เริ่มจัดตั้ง

บริษัท 2 คนรับรองว่าถูกต้อง

3. ร่างข้อบังคับของบริษัท

ให้จัดส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารดังกล่าวให้นายทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่า

7 วันด้วย

177. ข้อบังคับของบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องมีลักษณอย่างไร

คำตอบ ต้องไม่ขัดกับหนังสือบริคณห์สนธิและกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และต้องกำหนดเรื่อง

ดังต่อไปนี้

1. การออกหุ้นและการโอนหุ้น

2. การประชุมผู้ถือหุ้น

3. จำนวน วิธีการเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดออกตามวาระการ

ประชุม และอำนาจกรรมการ

4. การบัญชี การเงิน และการสอบบัญชี

5. การออกหุ้นบุริมสิทธิ (ถ้ามี)

6. การแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญ (ถ้ามี)

178. จะมีวิธีการส่งหนังสือนัดประชุมให้ผู้จองซื้อหุ้นอย่างไร

คำตอบ 1. ส่งให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นหรือผู้แทน โดยตรง ให้ลงนามรับเอกสาร

2. ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้จองซื้อหุ้น ณ สถานที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้

 

179. มีวิธีการแต่งตั้งกรรมการกี่วิธี อะไรบ้าง 

คำตอบ 2 วิธี คือ แบบคะแนนเสียงสะสม และแบบคะแนนเสียงข้างมาก

- แบบบคะแนนเสียงสะสม คือ ผู้ถือหุ้นมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นคูณด้วยจำนวนกรรมการที่จะเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียงสามารถแบ่งคะแนนเสียงได้ และกรรมการที่ได้รับเลือกเป็นผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับ

- แบบคะแนนเสียงข้างมาก คือ ผู้ถือหุ้นมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถือ การลงคะแนนเสียงไม่สามารถแบ่งคะแนนเสียงได้

180. ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมีหน้าที่จะต้องจัดทำบัญชีผู้จองหุ้นหรือไม่

คำตอบ ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทต้องจัดบัญชีผู้จองหุ้น โดยระบุชื่อ สัญชาติ ที่อยู่และจำนวนหุ้นที่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทรับจองและให้ผู้จองหุ้นตรวจดูได้ในวันประชุมจัดตั้งบริษัท ณ สถานที่จัดประชุม

181. การจัดตั้งบริษัท จะต้องจัดให้มีขั้น ณ ท้องที่ใด

คำตอบการประชุมจัดตั้งบริษัทนั้น จะต้องจัดประชุม ณ สถานที่ที่จะเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท หรือจังหวัดใกล้เคียง

182. การประชุมจัดตั้งบริษัท จะต้องมีผู้จองหุ้นมาประชุมจำนวนเท่าไร ถึงจะครบเป็นองค์ประชุมที่จะดำเนินการประชุมได้

คำตอบ ต้องมีผู้จองหุ้นซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่า ½ ของจำนวนหุ้นที่จองแล้วมาประชุมจึงจะเป็นองค์ประชุม

183. ในกรณีผู้จองหุ้นมาประชุมไม่ครบเป็นองค์ประชุม ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ ให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้จองหุ้นภายในสิบสี่วันนับแต่วันประชุมครั้งแรก แต่ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม

184. มีวิธีการในการนับคะแนนในการลงมติของที่ประชุมจัดตั้งบริษัทอย่างไร

คำตอบ การลงมติของที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้จองหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ในการออกเสียงลงคะแนน ให้ผู้จองหุ้นมีคะแนนเสียงเท่าจำนวนหุ้นที่จอง โดยถือว่าหุ้นหนึ่งมีเสียงหนึ่ง การออกเสียงลงคะแนนให้กระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่ผู้จองหุ้นไม่น้อยกว่าห้าคนร้องขอและที่ประชุมลงมติให้ลงคะแนนลับก็ให้ลงคะแนนลับ ส่วนวิธีการออกเสียงลงคะแนนลับนั้นให้เป็นไปตามที่ประธานในที่ประชุมกำหนด

  

185. ผู้จองหุ้นจะมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปเข้าร่วมประชุมจัดตั้งบริษัทได้หรือไม่ 

 คำตอบ ได้ แต่ต้องมอบฉันทะให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น

186. การมอบฉันทะ ผู้มอบฉันทะจะต้องปฏิบัติอย่างไร

คำตอบ การมอบฉันทะต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้มอบฉันทะ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการจำนวนหุ้นที่ผู้มอบฉันทะถืออยู่, ชื่อผู้รับมอบฉันทะและครั้งที่ของการประชุมที่มอบฉันทะให้เข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนน และมอบหนังสือนั้นแก่บุคคลซึ่งผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทกำหนดไว้ ณ สถานที่ที่ก่อนผู้รับมอบฉันทะเข้าประชุม

187. กรณีมอบฉันทะรายเดียวและได้รับมอบฉันทะจากผู้จองหุ้นหลายรายจะนับคะแนนเสียงอย่างไร

คำตอบ ผู่รับมอบฉันทะมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนคะแนนเสียงที่ผู้จองหุ้นมอบฉันทะมีรวมกัน เว้นแต่ผู้รับมอบฉันทะจะแถลงต่อที่ประชุมก่อนลงคะแนนว่าตนจะออกเสียงแทนผู้ซึ่งมอบฉันทะเพียงบางคน โดยระบุชื่อผู้มอบฉันทะและจำนวนหุ้นที่ผู้มอบฉันทะถืออยู่ด้วย

188. วาระที่ต้องประชุมพิจารณาในการประชุมจัดตั้งบริษัทมีอะไรบ้าง

คำตอบ วาระที่ต้องประชุมพิจารณาในการประชุมจัดตั้งบริษัท มีดังนี้

1.พิจารณาข้อบังคับของบริษัท

2.ให้สัตยาบันแก่กิจการที่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทได้ทำไว้ และอนุมัติค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในการจัดตั้งบริษัท

3.กำหนดจำนวนเงินที่จะให้แก่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท ถ้าระบุไว้เช่นนั้นในหนังสือชี้ชวน

4.กำหนดลักษณะแห่งหุ้นบุริมสิทธิ (ถ้ามี)

5.กำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิที่จะออกให้แก่บุคคลใดเสมือนว่าได้รับเงินชำระหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว

6.เลือกตั้งกรรมการ

7.เลือกตั้งผู้สอบบัญชี และกำหนดจำนวนเงินค่าสอบบัญชีของบริษัท

189. ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทจะมีหน้าที่อะไร ภายหลังจากประชุมจัดตั้งบริษัทเสร็จสิ้นแล้ว

คำตอบ ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทต้องมอบกิจการและเอกสารทั้งปวงของบริษัทแก่คณะกรรมการภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการประชุมจัดตั้งบริษัท

190. ภายหลังจากที่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมจัดตั้งบริษัทให้เป็นคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทจะต้องมีหน้าที่ปฏิบัติอย่างไร

  

คำตอบ คณะกรรมการมีหน้าที่ทำหนังสือแจ้งให้ผู้จองหุ้นชำระเงินค่าหุ้นโดยกำหนดเวลาให้ไม่น้อยกว่า 14 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ในกรณีที่มีการจองหุ้นโดยชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ตัวเงิน ให้มีหนังสือแจ้งผู้จองหุ้นให้โอนทรัพย์สินหรือโอนกรรมสิทธิ์ หรือทำเอกสารการใช้สิทธิให้แก่บริษัทตามที่ได้จองไว้ ภายในกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน นับแต่วันจดทะเบียนบริษัท 

 

 191. ในการชำระหุ้นที่จอง ผู้จองหุ้นจะต้องหักกลบลบหนี้กับผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทหรือบริษัทซึ่งเป็นหนี้สินตนอยู่ได้หรือไม่

คำตอบ ในการชำระค่าหุ้น จะหักกลบลบหนี้กับผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทหรือบริษัทมิได้

192. ถ้าผู้จองหุ้นคนใดไม่ชำระค่าหุ้น คณะกรรมการจะต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ คณะกรรมการต้องทำหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระค่าหุ้นให้เสร็จสิ้น ภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีหนังสือเตือนพร้อมทั้งให้แจ้งด้วยว่าหากไม่ชำระค่าหุ้นภายในกำหนดเวลา คณะกรรมการจะนำหุ้นออกขายทอดตลาดต่อไป

193. ในกรณีนำหุ้นออกขายตลาดแล้ว ได้เงินเกินกว่ามูลค่าหุ้นที่จองซื้อหรือได้เงินไม่ครบมูลค่าหุ้นที่จองซื้อคณะกรรมการจะต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ กรณีได้เงินไม่ครบมูลค่าหุ้นให้คณะกรรมการเรียกเก็บส่วนที่ขาดจากผู้จองหุ้น กรณีได้เงินเกินไม่น่าจะเกิดขึ้นได้

194. คณะกรรมการจะต้องดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อใด

คำตอบ เมื่อได้รับชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินการขอจดทะเบียนบริษัทภายในสามเดือนนับแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัทเสร็จสิ้น

195. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องมีเอกสารอะไรบ้าง

คำตอบ 1. คำขอจดทะเบียน (แบบ บมจ.101)

2. รายการจดทะเบียน (แบบ บมจ. 001)

3. แบบ บมจ.005 หน้า 1-4

4. ข้อบังคับบริษัท

5. สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท

6. หนังสือของสถาบันการเงินแสดงว่าได้รับชำระเงินค่าหุ้น โดยระบุจำนวนเงินที่ได้รับไว้ทั้งสิ้น ประเภท

และเลขบัญชีเงินฝาก

7. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บมจ.006)

8. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

  196. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร

คำตอบ คิดตามจำนวนเงินทุน โดยทุกจำนวนเงินทุน 1,000,000 บาท คิดค่าธรรมเนียม 1,000 บาท เศษของเงินทุนที่ไม่ถึง 1,000,000 บาท ให้คิดเป็นเงินทุน 1,000,000 บาท แต่ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมสูงสุดที่ต้องเสียจะไม่เกิน 250,000 บาท

197. ก่อนที่นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท คณะกรรมการจะจำหน่ายทรัพย์สิน หรือนำเงินซึ่งเป็นค่าจองหุ้นไปใช้จ่ายได้หรือไม่

คำตอบ ไม่ได้

198. ถ้ามิได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท คณะกรรมการมีหน้าที่จะต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ กรรมการต้องคืนเงินแก่ผู้จองหุ้น โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินคืนแก่ผู้จองหุ้น

199. ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด จะถอนตัวจากการเป็นผู้เริ่มจัดตั้งได้หรือไม่

คำตอบ ถอนได้และผู้เริ่มจัดตั้งที่เหลือประสงค์จะดำเนินการต่อไปให้หาคนแทนที่ภายใน 1 เดือน

200. บริษัทมหาชนจำกัด กำหนดมูลค่าไว้เท่าไร

คำตอบ หุ้นของบริษัทไม่ได้กำหนดขั้นต่ำของมูลค่าหุ้นไว้ แต่ทุกหุ้นต้องมีมูลค่าเท่ากัน

201. ในกรณีบริษัทมหาชนจำกัดเสนอขายหุ้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ต้องเรียกเก็บเงินค่าหุ้นอย่างไร

คำตอบ ให้เรียกเก็บครั้งเดียวไปพร้อมกัน

202. บริษัทมหาชนจำกัด จะเสนอขายหุ้นต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ได้หรือไม่

คำตอบ ได้ แต่ต้องเป็นบริษัทที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี มีผลประกอบการขาดทุน ต้องได้รับ

อนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า ¾ ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง

ลงคะแนน

*************************************

 

ประเด็นคำถาม - คำตอบ 

ของ สำนักข้อมูลธุรกิจ

 

1. การกรอกข้อมูลในแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) ต้องกรอกรายละเอียดอย่างไรบ้าง

  คำตอบ การกรอกรายละเอียดในแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) ต้องกรอกรายละเอียดดังนี้

1) เอกสารที่นำส่ง ให้เลือกเอกสารงบการเงิน หรือเอกสารบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หากส่งพร้อมกันให้เลือกทั้ง 2 หัวข้อ

2) รูปแบบธุรกิจ คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด

บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร หรือกิจการที่มีการลงทุนระหว่างประเทศ โดยให้เลือกรูปแบบธุรกิจตามประเภทของกิจการ

3) ชื่อธุรกิจ

4) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของกิจการ

5) ชื่อผู้ทำบัญชี

6) สำนักงานบริการรับทำบัญชี (ถ้ามี)

7) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่รับรองงบการเงินของรอบปีบัญชีที่นำส่ง

8) ข้อมูลทางการเงิน คือ งบดุล (รวมสินทรัพย์,ทุนจดทะเบียน) และงบกำไรขาดทุน (รวมรายได้)

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.dbd.go.th หัวข้อคำแนะนำการใช้บริการ

2. การพิมพ์ชื่อสกุลของกรรมการในวงเล็บใต้ลายมือชื่อหน้าแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) สามารถพิมพ์เกินวงเล็บได้หรือไม่

คำตอบ การพิมพ์ชื่อสกุลกรรมการในวงเล็บใต้ลายมือชื่อหน้าแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) สามารถพิมพ์เกินวงเล็บได้

3. กรณีกรรมการผู้มีอำนาจไม่สามารถลงลายมือชื่อในแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) และงบการเงิน สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนได้หรือไม่

คำตอบ การลงลายมือชื่อในแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) และงบการเงิน กรรมการผู้มีอำนาจไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนได้

4. การนำส่งงบการเงินผู้ใดเป็นผู้ลงลายมือชื่อในแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) หากมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการหลังจากวันที่ประชุมอนุมัติงบการเงิน

คำตอบ การนำส่งงบการเงิน กรรมการผู้มีอำนาจ ณ วันที่นำส่งงบการเงิน เป็นผู้ลงลายมือชื่อในแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3)

5. รหัสผู้ทำบัญชีในแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) ใส่เลขบัตรประชาชนหรือเลขทะเบียนผู้ทำบัญชี

  คำตอบ รหัสผู้ทำบัญชีให้ใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ทำบัญชี

6. ในแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) การคำนวณรายได้หลักเป็นอัตราร้อยละเท่าใดของรายได้รวม มีวิธีการคำนวณอย่างไร

คำตอบ คำนวณโดย นำรายได้หลัก คูณ 100 หาร รายได้รวม รายได้หลัก x 100

รายได้รวม

7. ในแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) ต้องใส่รหัสธุรกิจหรือไม่ หากต้องใส่จะสามารถค้นหาข้อมูลรหัสธุรกิจได้จากที่ใด

คำตอบ - ในแบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) ต้องใส่รหัสธุรกิจ โดยระบุรหัสธุรกิจให้ตรงกับวัตถุประสงค์

ของการประกอบธุรกิจของกิจการ

- การค้นหารหัสธุรกิจสามารถค้นหาได้ที่ www.dbd.go.th เลือกหัวข้อค้นหารหัสธุรกิจ

8. การนำส่งแบบ ส.บช.3/1 สามารถนำส่งได้ที่ใดบ้าง

คำตอบ การนำส่งแบบ ส.บช.3/1 สามารถนำส่งได้ 2 แห่ง คือ

- ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะรับเฉพาะที่นำส่งพร้อมงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31

ธันวาคม เท่านั้น

- ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

9. การนำส่งรายงานประจำปีของบริษัทมหาชนจำกัดสามารถจัดทำเป็นแผ่นซีดีได้หรือไม่

คำตอบ การนำส่งรายงานประจำปีของบริษัทมหาชนจำกัดสามารถจัดทำเป็นแผ่นซีดีได้ โดยต้องดำเนินการ ดังนี้

1) ให้บริษัทจัดทำหนังสือนำส่งรายงานประจำปี โดยผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทลงลายมือชื่อและประทับตรา (ถ้ามี) พร้อมระบุข้อความรับรองความถูกต้องของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่นำส่งในหนังสือนำส่งด้วย

2) ให้กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทอย่างน้อย 1 คน ลงลายมือชื่อกำกับไว้บนแผ่นซีดีข้อมูล

10. เอกสารที่ต้องนำส่งในการยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีอะไรบ้าง

 คำตอบ เอกสารประกอบงบการเงินที่ต้องนำส่ง

เอกสารที่จัดส่ง ลำดับที่ รายการ จำนวน

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

นิติบุคคลต่างประเทศ

กิจการร่วมค้า

บ ริ ษั ทจำกัด

บ ริ ษั ทมหาชนจำกัด

ส ม า ค ม

การค้า หอการค้า

1. แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) 2 ฉบับ / / /

2. รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 1 ฉบับ / / / / /

3. งบการเงิน 1 ชุด / / / / /

4. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น 1 ชุด / /

5. - สำ เนารายงานการประชุมสามัญประจำปีอนุมัติงบการเงิน 1 ชุด- รายงานประจำปี1 ชุด

6. หนังสือนำส่ง 1 ฉบับ / /

11. การนำส่งงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดต้องส่งรายงานประจำปีด้วยหรือไม่

คำตอบ บริษัทมหาชนจำกัดต้องนำส่งรายงานประจำปีพร้อมงบการเงิน โดยการนำส่งสามารถทำได้ ดังนี้

1. จัดพิมพ์งบการเงินไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปี หรือ

2. จัดพิมพ์งบการเงินและรายงานประจำปีแยกเป็นแต่ละชุดและต้องนำส่งรายงานประจำปี

พร้อมงบการเงิน

12. การยื่นงบการเงินจะต้องระบุข้อความงบการเงินที่จัดส่งได้จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงและตาม มาตรฐานการบัญชีในหน้างบดุลหรือไม่

คำตอบ ไม่ต้องระบุข้อความดังกล่าวในหน้างบดุล

13. การนำส่งงบการเงินของนิติบุคคลจะต้องระบุชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของรอบปีบัญชีถัดไปหรือไม่

คำตอบ ไม่ต้องระบุชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของรอบปีบัญชีถัดไป

14. กรณีมีข้อบกพร่องในงบการเงินที่นำส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วจะสามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ?

คำตอบ หากนิติบุคคลพบว่างบการเงินที่ได้นำส่งไว้แล้วมีความผิดพลาดหรือบกพร่อง สามารถ

แก้ไขและยื่นเปลี่ยนแปลงงบการเงินฉบับใหม่ได้ โดยนำส่งพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้

 

1. หนังสือชี้แจงเหตุผลในการขอนำส่งงบการเงินฉบับใหม่จากผู้มีอำนาจของนิติบุคคล

2. แบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) ฉบับใหม่ 2 ชุด

3. งบการเงินฉบับใหม่ 1 ชุด

4. แบบนำส่งงบการเงิน (.บช.3) ฉบับเก่า ที่มีลายเซ็นของเจ้าหน้าที่ที่รับงบการเงินไว้

15. งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคืออะไร

คำตอบ งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุน สินทรัพย์ หรือรายได้ทุกรายการไม่เกินที่กำหนดไว้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต คือ

1) ทุนห้าล้านบาท (5 ล้าน)

2) สินทรัพย์รวมสามสิบล้านบาท (30 ล้าน)

3) รายได้รวมสามสิบล้านบาท (30 ล้าน)

16. กฎหมายกำหนดเวลาในการนำส่งงบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไว้อย่างไร

คำตอบ กำหนดเวลาในการนำส่งงบการเงินมีดังนี้

ผู้มีหน้าที่นำส่งงบการเงิน กำหนดเวลาในการนำส่งงบการเงิน

1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

นิติบุคคลต่างประเทศ

กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

- ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี

2. บริษัทจำกัด

บริษัทมหาชนจำกัด

- ต้องนำเสนองบการเงินเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และนำส่งงบการเงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่

3. หอการค้า

สมาคมการค้า

- ต้องนำเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ภายใน 120 วัน นับแต่

วันสิ้นปีบัญชี และนำส่งงบการเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันประชุมใหญ่

 

17. บริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่ออนุมัติงบการเงินประจำปี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 บริษัทสามารถนำส่งงบการเงินได้ภายในวันที่ใด

 คำตอบ ระยะเวลาในการนำส่งงบการเงินของบริษัทตามกฎหมายกำหนด คือ ต้องนำส่งงบการเงินภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่

ดังนั้น กรณีบริษัทมีการประชุมใหญ่เพื่ออนุมัติงบการเงิน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 จะต้องยื่นงบการเงินภายในวันที่ 31 มีนาคม 2554

18. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) มีหลายหน้าถ้าผิดหน้าใดหน้าหนึ่งต้องยื่นแก้ไขทั้งชุดหรือไม่

คำตอบ ต้องนำส่งใหม่ทั้งชุด โดยต้องมีเอกสารประกอบการนำส่งดังนี้

1) หนังสือนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น

2) สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับที่ถูกต้อง

19. นิติบุคคลที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการต้องนำส่งงบการเงินหรือไม่ และผู้ใดมีอำนาจในการลงลายมือชื่อในงบการเงิน

คำตอบ นิติบุคคลที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟู กิจการยังมีสถานะเป็นนิติบุคคลอยู่ และมีหน้าที่ต้องนำส่งงบการเงินตามที่กฎหมายกำหนด ผู้บริหารแผนกิจการเป็นผู้มีอำนาจในการลงลายมือชื่อในงบการเงิน

20. การนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) ของบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด หากมีการเพิ่มทุนหรือลดทุนจดทะเบียนหลังจากวันที่ประชุมอนุมัติงบการเงิน ต้องแสดงทุนจดทะเบียนในสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่นำส่งพร้อมงบการเงินอย่างไร

คำตอบ บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดมีหน้าที่ต้องนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) อย่างน้อยปีละครั้ง และนำส่งภายใน 14 วันนับแต่การประชุมสามัญ ดังนั้น การแสดงทุนจดทะเบียนในสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต้องเป็นทุนจดทะเบียน ณ วันประชุมอนุมัติงบการเงิน

21. นิติบุคคลที่แปรสภาพ หรือควบกิจการ จะต้องนำส่งงบการเงินประจำปีอย่างไร

คำตอบ การนำส่งงบการเงินของนิติบุคคลที่แปรสภาพหรือควบกิจการ ให้นำส่งงบการเงินของนิติบุคคลตามสถานะของนิติบุคคลที่เป็นอยู่ ณ วันปิดบัญชีประจำปี

22. การลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจแทนกิจการในหมายเหตุประกอบงบการเงินต้องลงลายมือชื่อทุกหน้าหรือไม่

คำตอบ การลงลายมือชื่อในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ผู้มีอำนาจแทนกิจการจะลงลายมือชื่อทุกหน้า หรือลงลายมือชื่อเฉพาะหน้าสุดท้ายหน้าเดียวได้

 

23. ผู้มีอำนาจแทนกิจการต้องลงลายมือชื่อในหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตด้วยหรือไม่

 คำตอบ ผู้มีอำนาจแทนกิจการไม่ต้องลงลายมือชื่อในหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

24. หากนิติบุคคลได้รับแจ้งข้อบกพร่องในเอกสารการนำส่งงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นกิจการจะต้องทำอย่างไร

คำตอบ กิจการจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องตามที่ระบุไว้ เมื่อแก้ไขเอกสารถูกต้องแล้วให้ส่งเอกสารพร้อมใบแจ้งข้อบกพร่องกลับคืนไปที่สำนักงานที่แจ้งข้อบกพร่องให้ทราบ

25. นิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อหลังจากวันที่ประชุมอนุมัติงบการเงิน ต้องระบุชื่อนิติบุคคลในงบการเงินรอบปีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่ออย่างไร

คำตอบ ระบุชื่อนิติบุคคลที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแล้วเพราะเป็นชื่อปัจจุบัน ทั้งนี้อาจระบุชื่อเดิมก่อนที่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อไว้ในวงเล็บได้

26. สถานที่ให้บริการรับงบการเงินของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีที่ใดบ้าง

คำตอบ สถานที่ให้บริการรับงบการเงินทั่วประเทศ มีดังนี้

- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-5

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทุกจังหวัด

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สาขาหัวหิน)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชลบุรี (สาขาพัทยา)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตาก (สาขาแม่สอด)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี (สาขาเกาะสมุย)

- ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ

27. สถานที่ให้บริการขอหนังสือรับรอง การรับรองและตรวจค้นเอกสารทางทะเบียนนิติบุคคล งบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น สามารถขอได้ที่ใด

คำตอบ การขอหนังสือรับรอง การรับรองและตรวจค้นเอกสารทางทะเบียนนิติบุคคล สำเนางบการเงิน และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น สามารถขอได้

1. ณ สถานที่ทำการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั่วประเทศ ดังนี้

- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-5

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทุกจังหวัด

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สาขาหัวหิน)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชลบุรี (สาขาพัทยา)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตาก (สาขาแม่สอด)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี (สาขาเกาะสมุย)

2. ยื่นคำขอผ่านทางเว็บไซต์กรม www.dbd.go.th เลือกขอหนังสือรับรอง/คัดสำเนา

28. การขอหนังสือรับรอง การรับรองและตรวจค้นสำเนาเอกสารทางทะเบียนนิติบุคคล งบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ต้องใช้หลักฐานในการขอรับรองหรือตรวจค้นหรือไม่

คำตอบ การขอหนังสือรับรอง การรับรองและตรวจค้นสำเนาเอกสารทางทะเบียนนิติบุคคล งบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ผู้ขอใช้บริการไม่ต้องใช้หลักฐานใดประกอบการขอ ใช้เพียงแบบฟอร์มบริการข้อมูลธุรกิจที่กรมจัดเตรียมไว้เท่านั้น

29. การขอคัดหนังสือรับรอง รับรองสำเนา และถ่ายเอกสาร ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต มีช่องทางและระยะเวลาการรับเอกสารอย่างไร

คำตอบ การรับเอกสารหนังสือรับรอง รับรองสำเนา ใช้ระยะเวลา ดังนี้

1) กรณีติดต่อด้วยตนเอง ณ สถานที่ทำการของกรม สามารถรับหนังสือรับรอง รับรองสำเนาได้ภายใน 30 นาทีนับจากชำระค่าธรรมเนียม

2) กรณียื่นคำขอผ่านเว็บไซต์ของกรม และชำระเงินผ่านธนาคารแล้ว สามารถรับเอกสารที่ขอได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

- จัดส่งโดยพนักงานส่งเอกสารของกรม (Delivery) บริการเฉพาะผู้ที่อยู่ในเขตกรุงเทพนนทบุรี

สมุทรปราการและปทุมธานี เอกสารจะส่งถึงผู้รับภายใน 3 ชั่วโมงของวันทำการปกติ นับแต่เวลาที่ชำระเงิน (หากชำระเงินหลัง 13.00 . ของวันทำการปกติจะได้รับเอกสารไม่เกิน 11.00 .ของวันการถัดไป)

- จัดส่งให้ทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) เอกสารจะถึงภายใน 1 วันนับแต่ชำระเงิน (ชำระเงิน

ก่อน 15.00 .ของวันทำการปกติ)

- มารับเอกสาร ณ สถานที่ทำการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่เลือกรับเอกสาร

30. หนังสือรับรองของนิติบุคคลมีระยะเวลาในการใช้งานหรือไม่

คำตอบ หนังสือรับรองของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้กำหนดระยะเวลาการ ใช้งานของหนังสือรับรองของนิติบุคคลไว้

31. รายการทางทะเบียนในหนังสือรับรองสะกดตัวอักษรผิด สามารถขอแก้ไขได้หรือไม่

คำตอบ รายการทางทะเบียนในหนังสือรับรองที่สะกดตัวอักษรผิด สามารถแจ้งขอแก้ไขให้ถูกต้องได้ ดังนี้

1) แจ้งเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานโดยตรง

2) ทางโทรศัพท์ หมายเลข 02-547-4368 , 02-547-4389

32. การขอหนังสือรับรองของนิติบุคคลที่มีสำนักงานสาขา ต้องทำอย่างไร

คำตอบ 1) กรอกแบบบริการข้อมูลธุรกิจ เลือกสำนักงานใหญ่ และสาขา

2) กรณียื่นคำขอผ่านเว็บไซต์กรม ต้องโทรศัพท์แจ้งเลขที่คำขอจากระบบ e- Service ก่อนนำคำขอนั้น ๆไปชำระเงินค่าธรรมเนียม หมายเลขโทรศัพท์ที่รับแจ้งเลขที่คำขอคือ 02-547-5994 , 02-5475160

33. การขอหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารเป็นภาษาอังกฤษต้องทำอย่างไร

คำตอบ การขอหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารเป็นภาษาอังกฤษต้องดำเนินการดังนี้

1) ขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนาเอกสารจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

2) นำหนังสือรับรอง รับรองสำเนาไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ

3) นำหนังสือรับรอง รับรองสำเนาทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไปติดต่อยังกองสัญชาติและนิติกร กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ โทร. 02-575-1058 เพื่อรับรองคำแปลเอกสาร

34. การตรวจสอบสถานะของนิติบุคคลสามารถตรวจได้จากที่ใด

คำตอบ การตรวจสอบสถานะของนิติบุคคล สามารถตรวจสอบได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

1) ทางเว็บไซต์กรม www.dbd.go.th โดยมีขั้นตอนดังนี้

- ขั้นตอนที่ 1 เลือกหัวข้อบริการออนไลน์

- ขั้นตอนที่ 2 เลือกบริการข้อมูลธุรกิจ

- ขั้นตอนที่ 3 เลือกตรวจค้นข้อมูลทะเบียนธุรกิจ

2) ติดต่อด้วยตนเอง ณ สถานที่ทำการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั่วประเทศ ดังนี้

- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-5

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทุกจังหวัด

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สาขาหัวหิน)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชลบุรี (สาขาพัทยา)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตาก (สาขาแม่สอด)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี (สาขาเกาะสมุย)

 

35. การขอตรวจสอบรายการทางทะเบียนในหนังสือรับรอง สามารถตรวจสอบได้จากที่ใดและมีค่าใช้จ่ายหรือไม่

 

คำตอบ การขอตรวจสอบรายการทางทะเบียนของนิติบุคคลในหนังสือรับรอง สามารถตรวจสอบได้ 2

ช่องทาง ดังนี้

1) ทางเว็บไซต์กรม www.dbd.go.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีขั้นตอนดังนี้

- ขั้นตอนที่ 1 เลือกหัวข้อบริการออนไลน์

- ขั้นตอนที่ 2 เลือกบริการข้อมูลธุรกิจ

- ขั้นตอนที่ 3 เลือกตรวจค้นข้อมูลทะเบียนธุรกิจ

2) ติดต่อด้วยตนเอง ณ สถานที่ทำการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมีค่าใช้จ่านิติบุคคลรายละ 50 บาท

36. การขอใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท กรณีที่ชำรุดหรือสูญหายจะทำอย่างไร

คำตอบ 1) กรณีใบสำคัญชำรุด

บุคคลที่จะขอใบสำคัญได้จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้ถือหุ้นกรรมการ หรือผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลดังกล่าว โดยยื่นแบบบริการข้อมูลธุรกิจ พร้อมแนบใบสำคัญฉบับที่ชำรุดแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ทำการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั่วประเทศ

2) กรณีสูญหาย

บุคคลที่จะขอใบสำคัญได้จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้ถือหุ้นกรรมการ หรือผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลดังกล่าว โดยยื่นแบบบริการข้อมูลธุรกิจ โดยไม่ต้องแนบใบแจ้งความ

37. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท สามารถขอได้ที่ใดบ้าง

คำตอบ ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล สามารถขอได้ ณ สถานที่ทำการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั่วประเทศ ดังนี้

- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-5

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทุกจังหวัด

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สาขาหัวหิน)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชลบุรี (สาขาพัทยา)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตาก (สาขาแม่สอด)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี (สาขาเกาะสมุย)

 

38. การขอหนังสือรับรอง รับรองและขอสำเนาเอกสารทางทะเบียนนิติบุคคลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คำตอบ การขอหนังสือรับรอง รับรองและขอเอกสารทางทะเบียนนิติบุคคลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมีขั้นตอนการใช้บริการ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เข้าเว็บไซต์ www.dbd.go.th เลือกหัวข้อขอหนังสือรับรอง/คัดสำเนา

ขั้นตอนที่ 2 สมัครสมาชิกโดยกำหนดชื่อ (Username) และ รหัสผ่าน (Password)ได้ด้วยตนเอง

หากสมัครสมาชิกแล้วให้กรอก Username และ Password เดิม เพื่อเข้าใช้บริการ

ขั้นตอนที่ 3 เลือกประเภทบริการ เช่นขอหนังสือรับรอง รับรองและขอเอกสาร และ

ดำเนินการตามวิธีการที่แนะนำไว้ในระบบ

ขั้นตอนที่ 4 ชำระค่าธรรมเนียมและค่าบริการตามที่กำหนดไว้ในระบบ โดยผ่านธนาคาร

39. การขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนาเอกสารและตรวจค้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมีค่าธรรมเนียมและค่าบริการเท่าใด

คำตอบ การขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนาเอกสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมีค่าธรรมเนียมและค่าบริการ ดังนี้

1) ค่าธรรมเนียม

- หนังสือรับรองรายการละ 40 บาท

- รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท

- ตรวจค้นเอกสารนิติบุคคลรายละ 50 บาท

2) ค่าบริการในการจัดส่ง คิดตามวิธีที่เลือกรับบริการ

- ค่าบริการรายการละ 150 บาท จัดส่งโดยพนักงานของกรม (Delivery)

- ค่าบริการคิดตามน้ำหนักของเอกสาร โดยส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS)

- ไม่มีค่าบริการ กรณีมารับเอกสาร ณ สถานที่ทำการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่เลือกรับเอกสาร

40. การขอหนังสือรับรอง และขอสำเนาเอกสารทางทะเบียนนิติบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้าเลือกวิธีรับเอกสารด้วย

ตนเองที่กรุงเทพฯ จะสามารถมารับที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-5 ได้หรือไม่

คำตอบ การขอหนังสือรับรอง และขอสำเนาเอกสารทางทะเบียนนิติบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้าเลือกวิธีรับเอกสารด้วยตนเองที่กรุงเทพฯ ไม่สามารถรับที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-5 ได้ ต้องมารับที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 3 ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี เท่านั้น

 

41. การค้นหาข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล มีช่องทางใดบ้าง

  คำตอบ การค้นหาข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล ค้นหาได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

1) ทางเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เลือกหัวข้อบริการกรม

ขั้นตอนที่ 2 เลือกข้อมูลธุรกิจ

ขั้นตอนที่ 3 เลือกสถิติข้อมูล

ขั้นตอนที่ 4 เลือกข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล รายเดือน ไตรมาส รายปี

2) ติดต่อด้วยตนเอง ณ สถานที่ทำการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั่วประเทศ ดังนี้

- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-5

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทุกจังหวัด

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สาขาหัวหิน)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชลบุรี (สาขาพัทยา)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตาก (สาขาแม่สอด)

- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี (สาขาเกาะสมุย)

*******************************************

 

ประเด็นคำถาม - คำตอบ

 

ของ สำนักบัญชีธุรกิจ

 

1. กิจการ A ได้รวมธุรกิจกับกิจการ B โดยการเข้าซื้อธุรกิจของกิจการ B ดังนั้นกิจการ A ควรบันทึกบัญชีในการซื้อธุรกิจของกิจการ B อย่างไร

คำตอบ ขอให้ศึกษาจากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจก่อน หากยังมีข้อสงสัย ขอให้โทรสอบถามโดยตรงที่สำนักบัญชีธุรกิจ

2. กรณีกิจการไม่ได้ประกอบการมาประมาณ 8 ปีแล้ว แต่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปีโดยถ้ากิจการจะขอแจ้งการหยุดดำเนินการและการส่งงบการเงินของกิจการชั่วคราว ได้หรือไม่ ? ...

คำตอบ หากกิจการเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

3. กิจการได้จดทะเบียนเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 และกิจการยังไม่ได้ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี กิจการจะต้องจัดทำงบการเงิน ณ วันสิ้นงวดปี 2553 หรือไม่ ?

คำตอบ ขึ้นอยู่กับรอบปีบัญชีของกิจการ ตัวอย่าง หากกิจการปิดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ในรอบปีบัญชี 2553 กิจการต้องจัดทำงบการเงินและนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่นเดิม แต่ในรอบปีบัญชี 2554 เมื่อกิจการได้จดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว กิจการต้องดำเนินการยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี และจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกคือ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 เพื่อยื่นต่อนายทะเบียน

4. อยากทราบวิธีการบันทึกบัญชีการรับชำระค่าหุ้นจดทะเบียนเป็นเงินสดและลูกหนี้ค่าหุ้น

คำตอบ

กรณีผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นเป็นเงินสดเต็มจำนวน

เดบิต เงินสด 100

เครดิต ทุนจดทะเบียน 100

กรณีผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นเป็นเงินสด 25% และเกิดลูกหนี้ค่าหุ้น 75%

เดบิต เงินสด 25

ลูกหนี้ค่าหุ้น 75

เครดิต ทุนจดทะเบียน 100

 

5. การตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง หมายถึงอะไร และมีวิธีการรับรู้อย่างไร

คำตอบ เป็นการปรับมูลค่าของสินค้า ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ กำหนดให้บันทึกราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า หากมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับต่ำกว่า กิจการควรรับรู้ผลขาดทุนดังกล่าว และลดราคาสินค้าคงเหลือจากราคาทุนให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ดังนี้

เดบิต ขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง

เครดิต ค่าเผื่อการปรับมูลค่าของสินค้า

6. การบันทึกรายการบัญชีตามใบสำคัญทั่วไปในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ถือเป็นสมุดบัญชีรายวันทั่วไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.. 2543 ได้หรือไม่

คำตอบ หากกิจการจัดทำบัญชีและมีข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี เป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ..2544 ในหมวดที่ 1 ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ และหมวด 2 ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี

7. กรณีที่กิจการมีเงินลงทุนชั่วคราวเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดทั้งประเภทหลักทรัพย์ เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายนั้น กิจการจะต้องมีการปรับปรุงเงินลงทุนให้เป็นมูลค่ายุติธรรมทุกงวดบัญชีหรือ ไม่

คำตอบ ใช่

8. กิจการรับงานก่อสร้างให้กับหน่วยราชการ ซึ่งในปัจจุบันราคาของวัตถุดิบแปรผันมากและส่วนใหญ่

ไม่สามารถจะเรียกร้องจากหน่วยราชการได้ จึงทำให้เกิดผลขาดทุนขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นกิจการควรแสดงงบการเงินหรือเปิดเผยถึงกรณีที่เกิดการขาดทุน เนื่องจากการซื้อมากกว่าการขายอย่างไร

คำตอบ การแสดงรายการในงบการเงินและเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 เรื่อง สัญญาก่อสร้าง

9. กิจการจ่ายเช็คชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2548 แต่เจ้าหนี้การค้ายังไม่นำเช็คไปขึ้นเงิน กิจการต้องปรับปรุงบัญชีหรือไม่

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

 

10. งบการเงินของบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติซึ่งได้ BOI ต้องแยกทุนขั้นต่ำตามกฎหมายหรือไม่และต้องแสดงงบกำไรขาดทุนแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้ใบอนุญาตหรือไม่

 คำตอบ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีฐานะเป็นคนต่างด้าวและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้ ด้วย

- ลักษณะการประกอบธุรกิจและรายการทุนขั้นต่ำตามกฎหมายแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้รับ

ใบอนุญาต

- รายได้และค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต

11. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ..2553 มีผลบังคับใช้เมื่อใด

คำตอบ ขณะนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ยกร่างประกาศกรมเรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินฉบับใหม่ ที่จะมีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 ( 20. 54 ยังเป็นร่างอยู่)

12. กรณีนำงบปีก่อนมาเปรียบเทียบ ต้องจัดประเภทรายการในงบการเงินของปีก่อนให้เป็นประกาศกรมฯฉบับใหม่ด้วยหรือไม่

คำตอบ ใช่

13. บริษัทแม่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งต้องทำงบการเงินตามรูปแบบท้ายประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแบบที่ 3 บริษัทลูกที่เป็นบริษัทจำกัดต้องทำงบการเงินแบบที่2หรือ3

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

14. เงินฝากธนาคารประเภทเงินฝากประจำ 1 ปีต้องจัดในรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดหรือจัดอยู่ในรายการเงินลงทุนชั่วคราว

คำตอบ จัดเป็นเงินลงทุนชั่วคราว

15. กิจการมีลูกหนี้การค้าที่เป็นหนี้ค้างชำระและ ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่เนื่องจากนานมากและการจัดเก็บเอกสารไม่ดี ทำให้ไม่มีหลักฐานการเป็นหนี้ ดังนั้นกิจการควรทำอย่างไรจึงจะตัดเป็นหนี้สูญได้

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

 

16. กิจการได้กู้เงินนอกระบบมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ เนื่องจากกิจการไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งในการกู้เงินนอกระบบจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงินประมาณ 7 เท่า ดังนั้นกิจการสามารถนำเงินกู้และดอกเบี้ยนอกระบบมาบันทึกบัญชีได้หรือไม่

 คำตอบ กิจการสามารถนำดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวมาบันทึกบัญชีได้ โดยที่กิจการต้องมีเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เช่น สัญญาเงินกู้ ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องการบันทึกรายการดอกเบี้ยจ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ กิจการควรหารือกับกรมสรรพากร

17. กรณีกิจการขายสินค้าให้ลูกค้าต่างประเทศเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ และต่อมาได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ต่างประเทศ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการกับวันที่รับชำระหนี้มีอัตราแตกต่างกัน ดังนั้นกิจการควรบันทึกบัญชีอย่างไร

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

18. การแสดงความเห็นในหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี กรณีรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้อง กับกรณีไม่แสดงความเห็น มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร

คำตอบ 1. กรณีรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้อง เป็นกรณีที่งบการเงินงบใดงบหนึ่งไม่ได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน กระแสเงินสดอย่างถูกต้องตามที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

2. กรณีไม่แสดงความเห็น กรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบได้ตามมาตรฐานการสอบ

บัญชี หรืองบการเงินที่ตรวจสอบมีปัญหาในการดำเนินงานต่อเนื่อง หรือมีความไม่แน่นอนบางเรื่องที่มีผลกระทบต่องบการเงินที่ตรวจสอบ อย่างมีสาระสำคัญมาก

19. กรณีที่กิจการให้ความร่วมมือทุกอย่างกับผู้สอบบัญชีเป็นอย่างดี แต่ผู้สอบบัญชีเขียนรายงานการสอบบัญชีเป็นแบบมีเงื่อนไข กิจการควรทำอย่างไร

คำตอบ กิจการควรสอบถามกับผู้สอบบัญชีโดยตรง เพื่อจะได้ทราบเหตุผลหรือข้อบกพร่อง จะได้แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

20. บัญชีงานระหว่างทำต้นงวด ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบได้ ควรดำเนินการเพิ่มเติมอย่างไร

คำตอบ ควรหาตรวจสอบวิธีอื่น เช่น ตรวจสอบระบบการบันทึกบัญชีงานระหว่างทำ หรืออื่น ๆ เพื่อยืนยันความถูกต้องของรายการงานระหว่างทำต้นงวด

 

21. ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันปิดบัญชี พร้อมกับกิจการทุกครั้งใช่หรือไม่

คำตอบ การเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันปิดบัญชี เป็นวิธีการตรวจสอบที่ดีในการยืนยันความมีอยู่จริงของสินค้าและสภาพของสินค้า ซึ่งควรจะทำทุกปี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและการวางแผนของผู้สอบบัญชี

22. การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา มีวิธีปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับลูกหนี้อย่างไร

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

23. อยากทราบเรื่องการลงวันที่ในรายงานผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีสามารถลงวันที่ย้อนหลังในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีได้หรือไม่

คำตอบ ไม่ได้ โดยปกติวันที่ในรายงานผู้สอบบัญชีเป็นวันที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบงานภาคสนาม(fieldwork) ณ สำนักงานของลูกค้าเสร็จสิ้น

24. หน้ารายงานของผู้สอบบัญชีต้องกล่าวถึง การดำรงอยู่ของกิจการหรือไม่

คำตอบ ขึ้นอยู่กับผลการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี

25. กิจการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553 กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงินของปี 2553 หรือไม่

คำตอบ ขึ้นอยู่กับกิจการว่ามีการกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีไว้อย่างไร หากกิจการกำหนดปิดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ในรอบปีบัญชี 2553 กิจการต้องจัดทำงบการเงินและนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

26. อยากทราบเรื่องการลงวันที่ในรายงานผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีสามารถลงวันที่ย้อนหลังในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีได้หรือไม่

คำตอบ ข้อนี้ซ้ำกับข้อ 23

27. หน้ารายงานของผู้สอบบัญชีต้องกล่าวถึง การดำรงอยู่ของกิจการหรือไม่

คำตอบ ข้อนี้ซ้ำกับข้อ 24

 

28. การบันทึกบัญชีเงินเกินบัญชีธนาคารซึ่งในอดีตมิได้บันทึก เนื่องจากผู้บริหารนำเงินในบัญชีดังกล่าวไปใช้ส่วนตัว ทำให้เป็นยอดเบิกเกินสูงมาก ดังนั้น ดอกเบี้ยที่เก็บและตัวเงินจึงไม่บันทึกบัญชี ถ้าจะบันทึกใหม่ทำอย่างไร

 คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

29. ในกรณีสินค้าคงเหลือเกินหรือขาดจากบัญชี เราในฐานะผู้ทำบัญชีควรจะดำเนินการอย่างไร ในทางด้านการบันทึกปรับปรุงบัญชีและด้าน Stock..

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

30. ในกรณีที่บริษัทมียอดสินค้าคงเหลือตามบัญชี แต่ในความเป็นจริงไม่มีสินค้าคงเหลือแล้ว ซึ่งเกิดจากการทำบัญชีผิดพลาดของปีก่อน ควรจะมีการปรับปรุงอย่างไร จึงเป็นวิธีที่ถูกต้อง..

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

31. หากกิจการมีสินทรัพย์ที่อยู่นอกบัญชีและต้องการปรับปรุงบัญชี เอกสารที่ซื้อสินทรัพย์เป็นของปีก่อนๆ เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่ยอมรับได้หรือไม่ และการตัดค่าเสื่อมราคาให้ตัดตั้งแต่วันที่ซื้อสินทรัพย์ตามเอกสารใช่หรือ ไม่

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

32. กรณีที่ทรัพย์สินของบริษัท เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ เกิดการชำรุดหรือเสียหาย บริษัทจะตัดบัญชีทรัพย์สินอย่างไร

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

33. จะจัดทำงบการเงินปี 2553 จัดทำอย่างไรบ้าง

คำตอบ การจัดทำงบการเงิน ให้แสดงรายการเป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.. 2552

34. ถ้าผู้ทำบัญชีต้องบันทึกบัญชีตามความต้องการของเจ้าของกิจการ ถือว่ามีความผิดหรือไม่และต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อให้ผู้ทำบัญชีจัดทำบัญชีได้โดยไม่ถูกจำกัดขอบเขต

คำตอบ ตาม พ... การบัญชี พ.. 2543 มาตรา 20 กำหนดไว้ว่า ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้

 ถูกต้องครบถ้วน ถ้าทำผิดมาตรา 20 มีความผิดตามมาตรา 34 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท สำหรับบทกำหนดโทษของความผิดอื่น ๆ สามารถศึกษาได้จากหมวด 5 ของพ... การบัญชี พ..2545

 35. สินทรัพย์ถาวรที่หามูลค่าเริ่มแรก หรือวันที่ได้มาไม่ได้ จะทำอย่างไร หากต้องการจะบันทึกเป็นสินทรัพย์ของกิจการ

คำตอบ สามารถศึกษาได้จากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

36. ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบรายการเจ้าหนี้การค้าซึ่งมีสาระสำคัญ โดยการขอความร่วมมือกับเจ้าหนี้ของกิจการที่รับตรวจสอบ ซึ่งให้เจ้าหนี้ทำรายละเอียดยอดคงค้างทั้งหมด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น และขอเอกสารยืนยันจากเจ้าหนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ให้เพียงตัวเลขยอดคงค้างทั้งหมดเท่านั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดเอกสารหลักฐานใดๆเลย

คำตอบ ควรให้กิจการที่ตรวจสอบชี้แจงข้อเท็จจริง หรือหาผลต่างให้

37. งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงหน้ารายงานการสอบบัญชีเป็นแบบไม่แสดงความเห็น ถือว่างบการเงินนั้นไม่ถูกต้องใช่หรือไม่

คำตอบ ขึ้นอยู่กับประเด็นที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถแสดงความเห็น มีผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร

38. บัญชีงานระหว่างทำต้นงวด ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบได้ ควรดำเนินการเพิ่มเติมอย่างไร ?

คำตอบ ข้อนี้ซ้ำกับข้อ 20

39. การปรับโครงสร้างหนี้ กรณีลูกหนี้โอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ตั๋วเงินทั้งจำนวนให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร.

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

40. กรณี กิจการได้บันทึกรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ในงวดก่อน แต่ต่อมาภายหลังมีข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่ารายการขาดทุนจากการด้อยค่าของ สินทรัพย์ได้หมดไปหรือลดลงไป ดังนั้นกิจการจะสามารถกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าได้หรือไม่

คำตอบ ได้ แต่ขอให้ศึกษาจากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์เพิ่มเติม ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่า

 

41. หากกิจการพบว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อได้ว่าสินทรัพย์เกิดการด้อยค่า กิจการจะสามารถหาราคาที่ถือเป็นหลักฐานสำหรับราคาขายสุทธิของสินทรัพย์จาก แหล่งใดได้บ้าง

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรงที่สำนักบัญชีธุรกิจ

42. กิจการจะต้องประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่มีอยู่ทุกๆ ปีหรือไม่

คำตอบ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ ย่อหน้า 9 -10 สรุปได้ว่า ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการต้องประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทำให้สินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่าเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีกิจการต้องประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้น แต่สินทรัพย์บางประเภท เช่น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน เป็นต้น กิจการต้องทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นประจำทุกปี โดยไม่คำนึงว่าจะมีข้อบ่งชี้ของการด้อยค่าเกิดขึ้นหรือไม่

43. การจัดทำบัญชีสินค้าจะต้องจัดทำลักษณะใดจึงจะถูกต้องและเป็นไปตามพ...การบัญชี พ.. 2543

คำตอบ หากกิจการจัดทำบัญชีและมีข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี เป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ..2544

44. กิจการซื้อสินค้าจากต่างประเทศและนำเข้าสินค้ามาทางเรือ โดยมีเงื่อนไขแบบ F.O.B Shipping Point กิจการจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร.

คำตอบ เงื่อนไขแบบ F.O.B Shipping Point นี้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้ขายได้ส่งสินค้าให้กับบริษัทที่รับขนส่ง ดังนั้น ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง และรับความเสี่ยงสำหรับสินค้าชำรุดเสียหาย หรือสูญหายระหว่างการขนส่ง จึงให้บันทึกค่าขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินค้า

45. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมธนาคารที่กิจการกู้มาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าจะรวมเป็นราคาทุนของสินค้าได้หรือไม่

คำตอบ ขึ้นอยู่กับสินค้าที่ผลิต ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืมย่อหน้า 4 และ 7 สรุปได้ว่า มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ไม่ใช้กับการผลิตของสินค้าคงเหลือที่ผลิตเป็นจำนวนมาก โดยมีขั้นตอนการผลิตซ้ำ ๆ นอกจากบางสถานการณ์ สินค้าคงเหลือนั้นสามารถจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข

46. กิจการนำสินค้าไปฝากขายกับบริษัท ก จำกัด เป็นเครื่องทำน้ำอุ่นจำนวน 10 เครื่อง กิจการควรบันทึก

รับรู้รายได้จากการฝากขายเมื่อใด

คำตอบ ปกติ รับรู้รายได้เมื่อบริษัทที่รับฝากขายสินค้าได้ นอกจากมีเงื่อนไขตกลงเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้กิจการควรศึกษาประเด็นเรื่องนี้ด้านภาษีอากรด้วย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน

 

47. กิจการขายสินค้าด้วยวิธีผ่อนชำระและยอมให้ลูกค้านำสินค้าเก่าที่ใช้อยู่มาแลกเป็นสินค้าใหม่ โดยคิดราคาให้ เพื่อถือเป็นการชำระราคาสินค้าใหม่ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือให้ลูกค้าผ่อนชำระภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน ดังนั้นกิจการควรบันทึกบัญชีอย่างไร

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

48. กิจการนำสินค้าไปฝากขายกับบริษัท ก จำกัด เป็นเครื่องทำน้ำอุ่นจำนวน 10 เครื่อง กิจการควรบันทึกรับรู้รายได้จากการฝากขายเมื่อใด.

คำตอบ ข้อนี้ซ้ำกับข้อ 46

49. กิจการขายสินค้าด้วยวิธีผ่อนชำระและยอมให้ลูกค้านำสินค้าเก่าที่ใช้อยู่มาแลกเป็นสินค้าใหม่ โดยคิดราคาให้ เพื่อถือเป็นการชำระราคาสินค้าใหม่ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือให้ลูกค้าผ่อนชำระภายในระยะเวลา

ที่ตกลงกัน ดังนั้นกิจการควรบันทึกบัญชีอย่างไร

คำตอบ ข้อนี้ซ้ำกับข้อ 47

50. กิจการทำสัญญาเช่าอาคารเพื่อใช้ในการดำเนินงาน โดยกิจการบันทึกค่าเช่าอาคารเป็นค่าใช้จ่าย แต่ต่อมากิจการมีการซ่อมแซมอาคาร รายจ่ายดังกล่าวจะถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

คำตอบ ได้ แต่ควรพิจารณาลักษณะรายจ่ายที่เกิดขึ้นด้วยว่า ให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจนกิจการต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ในงบดุลหรือไม่

51. กิจการประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ โดยได้รถยนต์มาจากการเช่าซื้อ ณ วันที่เช่าซื้อถือว่ากิจการเป็นเจ้าของสินทรัพย์แล้วใช่หรือไม่ และกิจการจะต้องบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อสินทรัพย์อย่างไร.

คำตอบ กิจการต้องจำแนกประเภทสัญญาเช่าว่าเป็นประเภทใดและต้องบันทึกบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาเช่า ซึ่งได้จำแนกประเภทของสัญญาเช่าเป็น 2 ประเภท

1. สัญญาเช่าการเงิน หมายถึง สัญญาเช่าที่ทำให้เกิดการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมด

หรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า ไม่ว่าในที่สุดการโอนกรรมสิทธิ์จะ

เกิดขึ้นหรือไม่

2. สัญญาเช่าดำเนินงาน หมายถึง สัญญาเช่าที่ไม่ได้โอนความเสี่ยงหรือผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า

 

52. กรณีกิจการได้รับเอกสารใบเสร็จรับเงินที่ไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายจากร้านค้า กิจการจะสามารถนำใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมาใช้ประกอบการลงบัญชีได้หรือไม่

 คำตอบ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีต้องเป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.. 2544

53. ในกรณีการซื้อ-ขายสินค้ากับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันรายการลูกหนี้/เจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นดังกล่าวควรจดประเภทรายการเป็นลูกหนี้การค้า/เจ้าหนี้การค้าหรือลูกหนี้/เจ้าหนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

คำตอบ กรณีที่กิจการมีรายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการต้องเปิดเผยลักษณะ

ความสัมพันธ์กับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับรายการและยอดคงค้างของรายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่จำเป็นในการทำความเข้าใจถึงผลกระทบจากความสัมพันธ์กับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่อาจมีต่องบการเงิน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี เรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

54. งบกำไรขาดทุนสามารถเลือกปฏิบัติว่าจะแสดงแบบใดได้หรือไม่ และมีข้อพิจารณาอย่างไร

คำตอบ ตามคำชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.. 2552 งบกำไรขาดทุนอาจเลือกแสดงแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย หรือจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบขั้นเดียว หรือจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบหลายขั้น ก็ได้ โดยหากเลือกแสดงแบบใดแล้วควรถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบที่เลือกแสดงควรเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย ทั้งนี้ กรณีที่กิจการเลือกแสดงงบกำไรขาดทุนแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย ตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชีด้วย ทั้งนี้

 

55. การจัดทำงบกำไรขาดทุนตามหน้าที่กรณีที่กิจการเลือกแสดงงบกำไรขาดทุนแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่ายข้อมูลค่าใช้จ่ายตามลักษณะที่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินมีอะไรบ้าง

คำตอบ กิจการต้องเปิดเผยค่าใช้จ่ายตามลักษณะทุกรายการที่มีสาระสำคัญ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ทั้งนี้ การเปิดเผยรายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่ทำหน้าที่ต้นทุนขาย รายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการขาย และรายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่ทำหน้าที่บริหารงาน โดยรวมถือได้ว่าเป็นรูปแบบการเปิดเผยค่าใช้จายตามลักษณะรูปแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวอาจทำให้ค่าใช้จ่ายตามลักษณะบางรายการถูกกระจายอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินมากกว่าหนึ่งแห่ง ดังนั้น กิจการควรเปิดเผยยอดรวมของค่าใช้จ่ายตามลักษณะดังกล่าวด้วย

 

56. ต้นทุนทางการเงินประกอบด้วยค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

คำตอบ ตามคำชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.. 2552กำหนดให้ต้นทุนทางการเงิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการที่กิจการต้องจัดหาเงินทุนมาดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมธนาคาร ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากสัญญาเช่าการเงิน เป็นต้น

 

57. ดอกเบี้ยจ่ายจากการเช่าซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการถือเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือต้นทุนทางการเงิน

คำตอบ ต้นทุนทางการเงิน ตามคำชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.. 2552 กำหนดให้ต้นทุนทางการเงิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการที่กิจการต้องจัดหาเงินทุนมาดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมธนาคาร ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากสัญญาเช่าการเงิน เป็นต้น

 

58. การแสดงงบกำไรขาดทุนทั้งจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่ายหรือจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่

จะแสดงยอดรวมของค่าใช้จ่ายเท่ากันหรือไม่

คำตอบ การแสดงงบกำไรขาดทุนแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะกับแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่อาจมียอดรวมของค่าใช้จ่ายเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ แต่กำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนจะเท่ากันเสมอ

 

59. ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งต้องยื่นงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการจะต้องใช้งบการเงินตามรูปแบบใดและต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรองหรือไม่

คำตอบ เมื่อกิจการจดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี (ภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมอนุมัติการชำระบัญชี) โดยต้องจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกห้างหุ้นสวน (ณ วันที่ผู้เป็นหุ้นสวนตกลงกันให้เลิกหรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก) พร้อมทั้งให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง

 

60. ในกรณีทีกิจการแสดงงบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะ จะต้องแสดงรายการในแบบ ภงด.50 อย่างไร

คำตอบ เนื่องจากรายการที่แสดงในงบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะไม่สอดคล้องกับรายการในแบบ ภงด. 50 ดังนั้น กิจการควรนำข้อมูลตามที่บันทึกบัญชีที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วมากรอกรายการในแบบ ภงด. 50 ทั้งนี้ กิจการอาจหารือกรมสรรพากรเพื่อความถูกต้องในการกรอกแบบต่อไป

 61. กิจการถูกไฟไหม้ ทำให้บัญชีและเอกสารเสียหายบางส่วน และได้แจ้งเอกสารเสียหายกับทางกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว โดยในทางบัญชีกิจการมีรายการลูกหนี้การค้าแต่ไม่มีเอกสารเรียกเก็บเงิน ทำให้ยอดลูกหนี้ยังคงมีปรากฏอยู่ในบัญชี ดังนั้นกิจการจะสามารถตัดบัญชีลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญได้หรือไม่

คำตอบ เป็นคำถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สำนักบัญชีธุรกิจ

62. บริษัท จำกัดมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 20 ล้านบาท และรายได้รวม 25 ล้านบาทจะต้องมีผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีเท่านั้นใช่หรือไม่

คำตอบ คุณวุฒิของผู้ทำบัญชีขั้นต่ำที่สามารถทำบัญชีของบริษัทนี้ได้จะต้องเป็น ผู้ทำบัญชีที่คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (..) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัติวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหมายเหตุ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นผู้ทำบัญชี พ.. 2543 ข้อ 4. (4)

63. ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายละเอียดคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีทางอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่

คำตอบ ไม่ได้

64. คุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีมีระเบียบอย่างไร

คำตอบ ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นผู้ทำบัญชี พ.. 2543 ข้อ 4. ข้อ 5. และ ข้อ 6. กำหนดไว้ดังนี้

ข้อ 4. ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

1. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย

2. มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้

 

3. ไม่เคยต้องโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากได้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือกฎหมายวาด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี

 4. มีคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้

() ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (..) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี

() ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (..)หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี

1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีใน

รอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน หรือสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน ()

2) บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

3) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย

4) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

5) ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย

6) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่ายด้วยการส่งเสริมการลงทุน

() ในกรณีที่เป็นการเริ่มทำบัญชีรอบปีบัญชีแรก ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีคุณวุฒิของผู้ทำบัญชี

ให้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ใน () และ () แล้วแต่กรณี

5. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติ

วิชาชีพบัญชี พ.. 2547

ข้อ 5. ในกรณีที่เป็นผู้ทำบัญชีของบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนซึ่งรัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คุณวุฒิของผู้ทำบัญชีดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 (4) () หรือ () โดยอนุโลม

ข้อ 6. ในกรณีที่ทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตาม ข้อ 4 (4) () เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นต่อไป ให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังกล่าวต่อไปได้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

65. การนับชั่วโมงผู้ทำบัญชีมีวิธีการนับอย่างไร

คำตอบ ผู้ทำบัญชีจะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพตามหลักสูตรและสถาบันที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงในทุกรอบสามปี โดยจะต้องเป็นหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า18 ชั่วโมง และในแต่ละปีจะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงการนับชั่วโมงทุกรอบสามปี ให้นับตามปีปฏิทินโดยเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดจากปีที่ผู้ทำบัญชีแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชี โดยในระยะเวลาแรก (รอบสามปีแรก) ให้ผู้ทำบัญชีสามารถนำชั่วโมงที่เข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชีตั้งแต่วันที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีไปนับรวมกับชั่วโมงในรอบระยะเวลาแรก (รอบสามปีแรก) ได้

หมายเหตุ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.. 2547 และ คำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทาง

วิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.. 2547

 

66. ในกรณีผู้ทำบัญชีต้องการปรับวุฒิการศึกษาจะแจ้งอย่างไร

คำตอบ สามารถยื่นแจ้งได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักบัญชีธุรกิจ ชั้น 13 อาคารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 (โทรศัพท์ 02-547-5977) กรณีผู้แจ้งมีที่อยู่หรือสถานที่ทำงานในกรุงเทพ และจังหวัดนนทบุรี (ณ วันที่แจ้งเป็นผู้ทำบัญชีและไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่/สถานที่ติดต่อ) และ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดในจังหวัดที่ผู้แจ้งมีที่อยู่/สถานที่ติดต่อในส่วนภูมิภาค

การแจ้งให้ใช้เอกสาร หลักฐาน ดังต่อไปนี้

1. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี ตามมาตรา 7(6) และมาตรา 42 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.. 2543 (แบบ ส.บช. 6) จำนวน 2 ชุด กรณีแจ้ง ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ 3 ชุด กรณีแจ้ง ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาหลักฐานการศึกษา (ประกาศนียบัตร/อนุปริญญา/

ปริญญาตรี) ในกรณีที่ปริญญาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นสาขาบัญชีให้แนบใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) เพิ่มเติม จำนวน 1 ชุด กรณีแจ้ง ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ 2 ชุด กรณีแจ้ง ณสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด

 

67. ในกรณีผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีให้บริษัทแล้วแต่ไม่ทำให้จะมีผลและโทษอย่างไรบ้าง

คำตอบ มีบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.. 2543 ดังนี้

1. ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20 (ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะ

การเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท : มาตรา 34

2. ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 (ในการลงรายการในบัญชี ผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือคำแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้ (2) เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท : มาตรา 35

 

68. ตาม พ... วิชาชีพบัญชี ผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาฯ หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาฯควรเลือกวิธีใดดีครับ

คำตอบ ปัจจุบันกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเป็นผู้ทำบัญชี จะต้องแจ้ง/ขึ้นทะเบียนเป็น

ผู้ทำบัญชีดังต่อไปนี้

1. แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ

2. ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกต่อสภาวิชาชีพบัญชี

 

69. เป็นผู้ทำบัญชีแต่ไม่อยากเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี จะจ่ายค่าขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีได้อย่างไร

คำตอบ - คำตอบเดียวกับข้อ 68 -

 

70. ผู้ทำบัญชีทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกสภาฯ หรือขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาฯ ใช่หรือไม่

คำตอบ – ใช่ (ดูคำตอบข้อ 68 )

 

71. ขณะนี้เป็นผู้ทำบัญชีตาม พ... การบัญชี พ.. 2543 และได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ทำไมดิฉันต้องมาขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีอีก

คำตอบ – เนื่องจากพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.. 2547 มาตรา 44 ได้กำหนดไว้โดยสรุปว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชี ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี

 

72. กำลังอยู่ระหว่างการฝึกหัดงานสอบบัญชีธุรกิจ และยังสอบผ่านไม่ครบทุกวิชาจะได้รับผลกระทบจากพ... วิชาชีพบัญชีหรือไม่

คำตอบ – ปัจจุบันงานส่วนนี้อยู่ที่สภาวิชาชีพบัญชี กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

73. ตาม มาตรา 43 แห่ง พ... วิชาชีพบัญชีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วม การสัมมนา (CPD) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาฯ กำหนดอยากทราบว่าสภาฯ ได้ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วหรือยัง.

คำตอบ – ออกแล้ว ขอให้ศึกษาจากข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๕) เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนา เพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.. ๒๕๕๐ ที่เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th หรือสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

 

74. กฎหมายบังคับให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องเป็นสมาชิกของสภาฯ ด้วย ดังนั้นนอกจากจะต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ผู้สอบบัญชียังจะต้องชำระค่าบำรุงสมาชิกอีกด้วยเข้าใจถูกต้องหรือไม่

คำตอบ – ใช่ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

 

75. ตาม พ... วิชาชีพบัญชี ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไมมีอายุ แต่ทำไมต้องจ่าย

ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทุกปีด้วย.

คำตอบ – เป็นไปตามข้อกำหนดของ มาตรา 41 ของพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ. 2547

 

76. ทำไมสภาวิชาชีพบัญชีไม่อนุญาตให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชีเป็นรายสามปี หรือรายห้าปีเหมือนค่าบำรุงสมาชิกบ้าง

คำตอบ – ปัจจุบันสามรถชำระเป็นรายสามปี หรือห้าปีได้แล้ว สามารถสอบถามเพิ่มเติมไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

 

77. เป็นผู้สอบบัญชีอยู่แล้วใบอนุญาตผู้สอบบัญชีที่ออกโดย ก.บช. จะหมดอายุลงในวันที่ 30 กันยายน

2548 ต้องปฏิบัติตนอย่างไร.

คำตอบ – กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

 

78. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชี สามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบได้หรือไม่เพราะทราบว่าอัตราค่าบำรุงสมาชิกประเภทสมทบถูกกว่าสมาชิกสามัญ

คำตอบ – ไม่ได้ ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบต้องมีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี เช่น ปวส ทางการบัญชี

79. สภาวิชาชีพบัญชีตั้งอยู่ที่ไหน

คำตอบ ที่ตั้งสำนักงาน : 133 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

เลขโทรศัพท์ : 0-2685-2500

โทรสาร : 0-2685-2502

Url : www.fap.or.th

 

80. ในกรณีที่ผมจ่ายค่าบำรุงสมัครเป็นรายสามปี หรือรายห้าปี สภาวิชาชีพบัญชีจะมีส่วนลดให้หรือไม่

คำตอบ - กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500 -

 

81. สภาวิชาชีพบัญชีประกอบด้วยสมาชิกซึ่งประกอบวิชาชีพบัญชีต่าง ๆรวมหกด้านด้วยกัน ตอนที่ผมสมัครเป็นสมาชิกของสภาฯ จำเป็นต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งด้วยหรือไม่..

คำตอบ – ไม่ต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งในหกด้าน

 

82. อยู่ในกรุงเทพจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด

คำตอบ - กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

 

83. อยู่ต่างจังหวัดจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด

คำตอบ – สภามีสาขาต่างจังหวัด แต่ไม่ครบทุกจังหวัด กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

 

84. ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่

คำตอบ - ปัจจุบันกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเป็นผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

 

85. เป็นสมาชิกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยประเภทสมาชิกตลอดชีพสมาคมฯ มีแผนที่จะโอนสมาชิกภาพมาสังกัดที่สภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่

คำตอบ – สภาวิชาชีพบัญชีได้ดำเนินการโอนสมาชิกภาพให้แล้วมีอายุ 10 ปี สามารถสอบถามเพิ่มเติมไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

 

86. อยาก ทราบว่าทาง ก.บช. มีเกณฑ์ในการเลือกสำนักงานตรวจสอบบัญชีในการฝึกหัดงานเพื่อเก็บชั่วโมงหรือ ป่าวครับว่าตั้งเป็นสำนักงานที่ใหญ่มีมาตรฐานหรือว่าเป็นที่ไหนก็ได้ขอให้ เป็นสำนักบัญชีครับ แล้วเมื่อทำแล้วเราจะมีหน้าที่ทำอะไรบ้างคับ.

 คำตอบ - ปัจจุบันไม่มี ก.บช. แล้ว การขึ้นทะเบียนฝึกหัดงานสอบบัญชีต้องไปติดต่อที่สภาวิชาชีพบัญชี

กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

 

87. เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว 5 ปี และในปีที่ 5 ไม่ได้ไปต่ออายุ ต้องทำเช่นไร ทั้งนี้ ยังรับสอบบัญชี

กับสำนักงานตรวจสอบบัญชีอยู่ตลอดเวลา.

คำตอบ - กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

 

88. ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา13 แห่ง พรบ.การบัญชี พ..2543 หากกิจการประสงค์จะเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้นอกราชอาณาจักร กิจการสามารถขออนุญาตจากสารวัตรใหญ่เพื่อดำเนินการดังกล่าวได้หรือไม่

คำตอบ ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.. 2543 มาตรา 13 กำหนดไว้ว่า ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำ

กรณีจัดทำบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออื่นใดในสถานที่อื่นใดในราชอาณาจักรที่มิใช่สถานที่ดังกล่าว แต่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือนั้นมายังสถานที่ดังกล่าว ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่ดังกล่าวแล้ว

ดังนั้น กิจการไม่สามารถขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้นอกราชอาณาจักร

 

89. สำนักงานให้บริการรับทำบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลมีภาระหน้าที่และความรับผิดตาม พ... วิชาชีพบัญชีอย่างไร

คำตอบ 1. ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี (ตามมาตรา 11 ของ พ...วิชาชีพบัญชี พ..2547 งกำหนดให้นิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการด้านสอบบัญชีหรือด้านการทำ

บัญชีหรือให้บริการวิชาชีพด้านอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 9

ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี)

2. ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม (ตามมาตรา 11 (1)

พ... วิชาชีพบัญชี พ.. 2547 ซึ่งกำหนดให้นิติบุคคลต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อระกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ทั้งนี้ ตามประเภท จำนวน หลักเกณฑ์ และ

วิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง)

3. หากบริการด้านการสอบบัญชีนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดร่วมกับผู้สอบบัญชีที่เซ็น

รับรองงบการเงิน

 

90. สำนักงานให้บริการรับทำบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล มีภาระหน้าที่และ

ความรับผิดตามพ... วิชาชีพบัญชีอย่างไร

คำตอบ กฎหมายไม่ได้กำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดไว้เป็นกรณีพิเศษ

 

91. สำนักงานให้บริการรับทำบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลจะต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร

คำตอบ ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีพ..2543 เพื่อกำหนด ประเภท จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการของการจัดให้มีหลักประกันโดยให้

คำนึงถึงขนาดและรายได้ของนิติบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. ประเภทของหลักประกันเพื่อประกอบความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ได้แก่

- เงินฝากสถาบันการเงินในประเทศประเภทฝากประจำตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป

- บัตรเงินฝากซึ่งสถาบันการเงินในประเทศออกให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเพื่อ

เป็นหลักฐานการฝากเงินของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีนั้น

- พันธบัตรรัฐบาลไทยที่จำหน่ายในราชอาณาจักร

- พันธบัตรองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลซึ่งมีพระราชบัญญัติหรือพระราช

กฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น

- กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

2. จำนวนหลักประกันเพื่อประกอบความรับผิดต่อบุคคลที่สาม

- สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่เริ่มรับทำบัญชีในรอบปีบัญชี ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่งประเภทใด

รวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี

- สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่จดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีอยู่แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงจะมีผลใช้บังคับ ต้องจัดให้มีหลักประกันประเภทหนึ่ง

ประเภทใดรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันสิ้นรอบปี บัญชีที่ผ่านมา หรือขอรายได้รอบปีบัญชีที่ผ่านมากแล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า

- และภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีทุกปี ให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจัด

ให้มีหลักประกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันสิ้นรอบปี

บัญชีที่ผ่านมา หรือของรายได้รอบปีบัญชีที่ผ่านมาก แล้วแต่จำนวนใดจะ

มากกว่า

3. การแจ้งหลักประกัน ให้ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี

****************************************

 

ประเด็นคำถามคำตอบ

ของ

สำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

 

1. คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยสนธิสัญญาหรือความร่วมมือทางธุรกิจตามความตกลงเขตการค้าเสรีสามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจตามเงื่อนไขในสัญญาหรือความตกลงได้หรือไม่

 คำตอบ ได้

2. อย่างไรถือว่าเป็นคนต่างด้าว

คำตอบ คนต่างด้าวหมายถึง

(1) บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย

(2) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ

(3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย โดยมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) ถือหุ้นหรือลงทุนตั้งแต่ 50% ขึ้นไป หรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นคนที่ไม่มีสัญชาติไทย

(4) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย โดยมีบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) ถือหุ้นหรือลงทุน

ตั้งแต่ 50% ขึ้นไป

3. ประเภทธุรกิจที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวมีประเภทใดบ้างและแบ่งแยกอย่างไร

คำตอบ พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดประเภทธุรกิจต่างๆ ไว้จำนวน 43 รายการธุรกิจ แบ่งออกเป็น 3 บัญชีดังนี้

 

บัญชีหนึ่ง เป็นธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ มีธุรกิจรวม 9

รายการธุรกิจ ได้แก่

(1) การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุ

โทรทัศน์

(2) การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน

(3) การเลี้ยงสัตว์

(4) การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ

(5) การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของ

ประเทศไทย

(6) การสกัดสมุนไพรไทย

(7) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

ของประเทศ

(8) การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร

(9) การค้าที่ดิน

 

บัญชีสอง เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัย หรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบ

ต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม 13

รายการธุรกิจ ได้แก่

หมวด 1 ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ

(1) การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุง

() อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ดินปืน วัตถุระเบิด

() ส่วนประกอบของอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด

() อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะทางการทหาร

() อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท

(2) การขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบินใน

ประเทศ

หมวด 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน

(1) การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย

(2) การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก

(3) การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลายผ้า

ไหมไทย

(4) การผลิตเครื่องดนตรีไทย

(5) การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน

(6) การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย

หมวด 3 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม

(1) การผลิตน้ำตาลจากอ้อย

(2) การทำนาเกลือ รวมทั้งการทำเกลือสินเธาว์

(3) การทำเกลือหิน

(4) การทำเหมือง รวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน

(5) การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

 

บัญชีสาม ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว

รวม 21 รายการธุรกิจ ได้แก่

(1) การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่

(2) การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

(3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก

(4) การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด หรือฮาร์ดบอร์ด .

(5) การผลิตปูนขาว

(6) การทำกิจการบริการทางบัญชี

(7) การทำกิจการบริการทางกฎหมาย

(8) การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม

(9) การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม

(10) การก่อสร้าง ยกเว้น

() การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการ พื้นฐานแก่ประชาชนด้านการ

สาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี

หรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าว

ตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป

() การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(11) การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น

() การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับ

การซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือ

หลักทรัพย์

() การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็น

ต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน

() การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหา

ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตใน

ประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะ เป็นการประกอบ

ธุรกิจระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้าน

บาทขึ้นไป

() การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(12) การขายทอดตลาด ยกเว้น

() การขายทอดตลาด ที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่

มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงาน

ศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทาง

ประวัติศาสตร์ของประเทศ

() การขายทอดตลาด ประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

(13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้

(14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือ

ที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท

(15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท

(16) การทำกิจการโฆษณา

(17) การทำกิจการโรงแรม เว้นแต่บริการจัดการโรมแรม

(18) การนำเที่ยว

(19) การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม

(20) การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช

(21) การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง

4. ชาวต่างชาติมาลงทุนเปิดร้านค้าเป็นธุรกิจเจ้าของคนเดียว ต้องขออนุญาตหรือไม่และสามารถทำได้หรือไม่

คำตอบ หากชาวต่างชาติมาลงทุนเปิดร้านค้าโดยเป็นธุรกิจเจ้าของคนเดียว ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจ

ของคนต่างด้าว โดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

5. ชาวต่างชาติมาร่วมลงทุนกับคนไทยโดยถือหุ้นมากกว่าคนไทยสามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้หรือไม่

คำตอบ หากชาวต่างชาติมาร่วมลงทุนกับคนไทยโดยถือหุ้นมากกว่าคนไทยสามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

ได้ แต่หากนิติบุคคลนั้นประกอบธุรกิจที่อยู่ในบัญชีสองต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี และหากนิติบุคคลนั้นประกอบธุรกิจตามบัญชีสามต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

6. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนนิติบุคคลต่างด้าวคิดเหมือนนิติบุคคลรูปแบบปกติหรือไม่

คำตอบ ค่าธรรมเนียมคิดเท่ากัน

 

7.ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีชาวต่างชาติเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้หรือไม่

 คำตอบ ได้ แต่จะทำให้ห้างนั้นมีสถานะเป็นห้างต่างด้าว และหากประกอบธุรกิจที่อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบของคนต่างด้าว พ.. 2542 ก็ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจ

8. บัญชีที่หนึ่ง บัญชีที่สอง และบัญชีที่สาม แบ่งออกเป็นธุรกิจอะไรบ้าง และผู้ใดเป็นผู้อนุมัติ

คำตอบ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. 2542 แบ่งออกเป็น 3 บัญชีดังนี้

บัญชีหนึ่ง เป็นธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ ซึ่งธุรกิจตาม

บัญชีนี้ห้ามคนต่างด้าวประกอบโดยเด็ดขาด มีธุรกิจรวม 9 รายการธุรกิจ ได้แก่

(1) การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุ

โทรทัศน์

(2) การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน

(3) การเลี้ยงสัตว์

(4) การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ

(5) การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของ

ประเทศไทย

(6) การสกัดสมุนไพรไทย

(7) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

ของประเทศ

(8) การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร

(9) การค้าที่ดิน

บัญชีสอง เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัย หรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบ

ต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม 13

รายการธุรกิจ ได้แก่

หมวด 1 ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ

(1) การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุง

() อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ดินปืน วัตถุระเบิด

() ส่วนประกอบของอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด

() อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะทางการทหาร

() อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท

 

(2) การขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบินในประเทศ

หมวด 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน

(1) การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย

(2) การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก

(3) การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลายผ้า

ไหมไทย

(4) การผลิตเครื่องดนตรีไทย

(5) การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน

(6) การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย

หมวด ๓ ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม

(1) การผลิตน้ำตาลจากอ้อย

(2) การทำนาเกลือ รวมทั้งการทำเกลือสินเธาว์

(3) การทำเกลือหิน

(4) การทำเหมือง รวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน

(5) การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

ธุรกิจตามบัญชีสองคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้ต้องได้รับอนุญาตจาก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี

บัญชีสาม ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว

รวม 21 รายการธุรกิจ ได้แก่

(1) การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่

(2) การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

(3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก .

(4) การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด หรือฮาร์ดบอร์ด .

(5) การผลิตปูนขาว

(6) การทำกิจการบริการทางบัญชี

(7) การทำกิจการบริการทางกฎหมาย

(8) การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม

(9) การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม

(10) การก่อสร้าง ยกเว้น

 

() การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการ พื้นฐานแก่ประชาชนด้านการสาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักรเทคโนโลยี

หรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป

() การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(11) การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น

() การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับ

การซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์

() การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็น

ต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน

() การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหา

ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตใน

ประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะ เป็นการประกอบ

ธุรกิจระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้าน

บาทขึ้นไป

() การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(12) การขายทอดตลาด ยกเว้น

() การขายทอดตลาด ที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่

มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงาน

ศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทาง

ประวัติศาสตร์ของประเทศ

() การขายทอดตลาด ประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มี

กฎหมายห้ามไว้

(14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือ

ที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท

(15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท

(16) การทำกิจการโฆษณา

(17) การทำกิจการโรงแรม เว้นแต่บริการจัดการโรมแรม

(18) การนำเที่ยว

(19) การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม

(20) การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช

(21) การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง

ธุรกิจตามบัญชีสามต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความ

เห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

9. สถานที่ยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวสามารถยื่นได้ที่ใดบ้าง

คำตอบ 1. กรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

2. จังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าหวัด

10. การยื่นขออนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวมีขั้นตอนอย่างไรและใช้เอกสารอะไรบ้าง

คำตอบ ขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวตามมาตรา 17

ขั้นตอนการขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ตาม พ...การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. 2542

นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใน นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศ

ไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจในบัญชีหนึ่ง

ต้องขออนุญาตธุรกิจเกี่ยวกับความมั่นคง

ปลอดภัย ของประเทศ ศิลปวัฒนธรรมและ

สิ่งแวดล้อม ตามบัญชีสอง

ต้องขออนุญาตธุรกิจที่คนไทยไม่มีความพร้อม

ในการแข่งขัน ตามบัญชีสาม

การขออนุญาตประกอบธุรกิจ

ยื่นขอใบอนุญาตตามมาตรา 17

เจ้าหน้าที่พิจารณาเอกสาร

ประกอบคำขอและวิเคราะห์ธุรกิจ

ชำระค่าธรรมเนียมคำขอ 2,000 บาท

การพิจารณาของคณะอนุกรรมการ /

คณะกรรมการ / คณะรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี

(60 วันนับแต่วันชำระค่าคำขอ)

 

เอกสารประกอบคำขอ

บุคคลธรรมดา

1. แบบ ต. 2

2. สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

3. สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาใน ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

4. คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าตนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. 2542

5. หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต

6. แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย

7. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน

8. หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

1. แบบ ต. 2

2. สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน

วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล

3. หนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้แต่งตั้งให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินกิจการในประเทศไทยแทนนิติบุคคล

4. สำเนาหนังสือเดินทาง ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง

5. สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้า

มาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง

6. คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนที่

ได้รับแต่งตั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. 2542

7. หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต

8. แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย

ชำระค่าธรรมเนียมรับใบอนุญาต

บัญชีสอง 40,000 – 500,000 บาท

บัญชีสาม 20,000 – 250,000 บาท

 9. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน

10. หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย

1. แบบ ต. 2

2. สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน

วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล

3. คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ หรือผู้จัดการ มี

คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. 2542

4. หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต

5. หนังสือแจ้งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างด้าว จำนวนหุ้น ประเภทหรือชนิด

ของหุ้นที่คนต่างด้าวถือ

6. แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย

7. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน

8. หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

 

11. การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวต้องมีทุนขั้นต่ำในการยื่นจดทะเบียนหรือไม่

คำตอบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ต้องมีทุนขั้นต่ำ (กรณีเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยหมายถึงทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว หรือกรณีเป็นบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศหมายถึงเงินตราต่างประเทศที่คนต่างด้าวนำส่งเข้ามาเพื่อใช้ในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย) ดังนี้

11.1 หากเป็นธุรกิจที่ไม่อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวต้องมีทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าสองล้านบาท

11.2 หากเป็นธุรกิจที่อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวต้องมีทุนขั้นต่ำสำหรับแต่ละธุรกิจไม่น้อยกว่าสามล้านบาท

 

12. กรณียื่นแบบ ต.6 มีขั้นตอนอย่างไรและใช้ระยะเวลาเท่าไร

คำตอบ 1. ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองตามมาตรา 11

2. ใช้ระยะเวลา 30 วัน (ปัจจุบันปฏิบัติจริง ประมาณ 1 สัปดาห์)

13. นิติบุคคลต่างประเทศมาร่วมลงทุนและถือหุ้นบริษัทจำกัดได้หรือไม่ และมีวิธีการอย่างไร

คำตอบ นิติบุคคลต่างประเทศมาร่วมลงทุนและถือหุ้นในบริษัทจำกัดได้ แต่หากถือหุ้นตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปจะทำให้บริษัทนั้นมีสถานะเป็นนิติบุคคลต่างด้าว

ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใน นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศ

การขอประกอบธุรกิจ

ยื่นขอหนังสือรับรองตามมาตรา 11

เจ้าหน้าที่พิจารณาเอกสาร

ประกอบคำขอและตรวจสอบ

ชำระค่าธรรมเนียมคำขอ 2,000 บาท

อธิบดีเห็นชอบออกหนังสือรับรอง

(30 วันนับแต่วันชำระค่าคำขอ)

ชำระค่าธรรมเนียมรับหนังสือรับรอง

 

14. ในกรณีมีการแจ้งเปลี่ยนชื่อผู้ได้รับอนุญาตหรือชื่อบริษัทในประเทศไทยทำอย่างไร

คำตอบ บริษัทต้องแจ้งการเปลี่ยนชื่อดังกล่าวต่อนายทะเบียนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยใช้เอกสารดังนี้

1. หนังสือแจ้ง

2. ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ฉบับจริง

3. หนังสือรับรองบริษัทที่มีการเปลี่ยนชื่อแล้ว (กรณีจดทะเบียนในประเทศไทย)

4. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อจากสำนักงานใหญ่ ที่ผ่านการรับรองจากสถานทูตไทยหรือโนตารี่พับลิคไม่เกิน 6 เดือน พร้อมคำแปลภาษาไทย (กรณีบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ)

5. หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน

6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจ

7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

8. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

15. ในกรณีที่มีการแจ้งเปลี่ยนผู้รับผิดชอบดำเนินการในไทยทำอย่างไร

คำตอบ บริษัทต้องแจ้งการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการดังกล่าวต่อนายทะเบียนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยใช้เอกสารดังนี้

1. หนังสือแจ้ง

2.หนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้แต่งตั้งให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินกิจการในประเทศไทยแทนนิติบุคคล ซึ่งผ่านการรับรองจากสถานทูตไทยหรือโนตารี่พับลิค ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมคำแปลภาษาไทย

3. สำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง

4. หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน

5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจ

6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

7. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

 

16. ในกรณีมีการแจ้งย้ายที่ตั้งสำนักงานในไทยทำอย่างไร

คำตอบ บริษัทต้องแจ้งย้ายต่อนายทะเบียนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายโดยใช้เอกสารดังนี้

1. แบบฟอร์ม ต.1

2. แผนที่ตั้ง

3. หนังสือรับรองบริษัท (กรณีจดทะเบียนในประเทศไทย)

4. กรณีที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจมีการระบุสถานที่ให้นำใบอนุญาตประกอบธุรกิจมาเปลี่ยน

ใหม่ด้วย

5. หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน

6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจ

7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

8. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

 

17. การแจ้งเลิกสำนักงานสาขาในไทยสามารถดำเนินการอย่างไร

คำตอบ บริษัทต้องแจ้งเลิกดังกล่าวต่อนายทะเบียนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภายใน 15 วันนับแต่

วันที่เลิก โดยใช้เอกสารดังนี้

1. แบบฟอร์ม ต.1

2. ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ ฉบับจริง

3. หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจ

5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

6. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

 

18. เป็นธุรกิจจีนจะมาร่วมลงทุนในไทยจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คำตอบ หากบริษัทต่างชาติจะมาร่วมลงทุนกับบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย ตั้งแต่ 50% ขึ้นไปและประกอบธุรกิจตามบัญชีสองของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. 2542 ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือประกอบธุรกิจตามบัญชีสามต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

 

19. การขอใบแทนใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรณีชำรุดหรือสูญหายจะทำอย่างไร

คำตอบ ถ้าใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองประกอบธุรกิจชำรุดหรือสูญหาย ให้ยื่นคำขอรับใบแทนต่อนายทะเบียนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการชำรุดหรือสูญหายโดยใช้เอกสารดังนี้

1. แบบ ต. 8

2. หนังสือชี้แจง

3. ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ ฉบับเดิมที่ชำรุด (กรณีชำรุด)

4. หนังสือแจ้งการสูญหาย(กรณีสูญหาย)

5. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน

6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจ

7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

8. ค่าธรรมเนียม 5,000 บาท

 

20. แจ้งสะกดหรือแปลชื่อผู้ขอรับอนุญาต ชื่อบริษัทหรือชื่อกรรมการ ผู้รับผิดชอบผิด จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร

คำตอบ จัดทำหนังสือชี้แจงชื่อใหม่ที่ถูกต้องแล้วแจ้งต่อนายทะเบียนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

โดยใช้เอกสารดังนี้

1. หนังสือชี้แจง

2. เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวกับชื่อที่แจ้งผิด

3. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจ

5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

6. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

 

21. การขอหนังสือรับรองตามที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 12) มีขั้นตอนอย่างไร

 คำตอบ ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองตามมาตรา12

22. ในกรณีที่บริษัทต่างชาติจะมาร่วมลงทุนกับบริษัทจำกัดที่จดใต้กฎหมายไทย ต้องขออนุญาตหรือไม่

คำตอบ หากบริษัทต่างชาติจะมาร่วมลงทุนกับบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย ตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และประกอบธุรกิจตามบัญชีสองของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. 2542 ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือประกอบธุรกิจบัญชีสามต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ตาม พ...การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. 2542

นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใน

การขอประกอบธุรกิจ

ยื่นขอหนังสือรับรองตามมาตรา 12

เจ้าหน้าที่พิจารณาเอกสาร

ประกอบคำขอและตรวจสอบ

ธุรกิจ

ชำระค่าธรรมเนียมคำขอ 2,000 บาท

อธิบดีเห็นชอบออกหนังสือรับรอง

(30 วันนับแต่วันชำระค่าคำขอ)

ชำระค่าธรรมเนียมรับหนังสือรับรอง

 

23. บริษัทที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทยต้องมีผู้เริ่มก่อการจำนวนเท่าใด

คำตอบ ผู้เริ่มก่อการเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป

24. สำนักงานอยู่ต่างประเทศจะมาขออนุญาตจดสาขาในประเทศไทยใช้ระยะเวลาเท่าใด

คำตอบ 60 วัน นับแต่วันที่เอกสารครบ

 

25. ถ้าชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนต้องมีทุนขั้นต่ำในการจดทะเบียนหรือไม่

คำตอบ ขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นที่เป็นของคนต่างด้าว โดยหากร่วมลงทุนตั้งแต่ 50% ขึ้นไปต้องมีทุนขั้นต่ำดังนี้

25.1 หากเป็นธุรกิจที่ไม่อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวต้องมี

ทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าสองล้านบาท

25.2 หากเป็นธุรกิจที่อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวต้องมีทุนขั้น

ต่ำสำหรับแต่ละธุรกิจไม่น้อยกว่าสามล้านบาท

***************************************

 

ประเด็นคำถาม - คำตอบ

 ของ สำนักพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจ

 

1. ในกรณีที่จะก่อตั้งสมาคมการค้ามีขั้นตอนและระเบียบอย่างไรบ้าง

คำตอบ การขออนุญาตจัดตั้งสมาคมการค้า ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและเป็น

ผู้ประกอบวิสาหกิจ ไม่น้อยกว่า 3 คน ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน มีขั้นตอน ดังนี้

1. จะต้องตั้งชื่อสมาคมการค้า โดยสอบถามทางโทรศัพท์ 02-547-5972 โทร.ภายใน

3631 ว่าชื่อที่ตั้งขึ้นซ้ำกับสมาคมอื่น หรือขัดต่อระเบียบหรือไม่ อย่างไร

 

2. จัดทำคำขอจัดตั้ง พร้อมเอกสารประกอบ ดังนี้

2.1 คำขอสมาคมการค้าและหอการค้า (แบบ ส..1)

2.2 รายการขออนุญาตและจดทะเบียน (แบบ ส..2)

2.3 หนังสือรับรองความประพฤติของผู้เริ่มก่อการจัดตั้ง (แบบ ส..3)

2.4 ข้อบังคับของสมาคมการค้า อย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้

2.4.1 ชื่อ

2.4.2 วัตถุที่ประสงค์

2.4.3 ที่ตั้งสำนักงาน

2.4.4 วิธีรับสมาชิกและให้สมาชิกออกจากสมาคมการค้า ตลอดจนสิทธิและหน้าที่

ของสมาชิก

2.4.5 การดำเนินกิจการของสมาคมการค้า การตั้ง การออกจากตำแหน่ง และการ

ประชุมของกรรมการตลอดจนการประชุมใหญ่

ข้อบังคับของสมาคมการค้าต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนพร้อมกับการยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งสมาคมการค้า ก่อนออกใบอนุญาต ถ้านายทะเบียนเห็นสมควรจะสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนั้นก็ได้

2.5 สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ของผู้เริ่มก่อการทุกคน

2.6 หลักฐานการเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจของผู้เริ่มก่อการทุกคน

2.7 สำเนาหนังสือแสดงสิทธิการใช้สถานที่ตั้งของสมาคม

2.8 แผนที่แสดงที่ตั้ง โดยสังเขปพร้อมรูปถ่าย

2.9 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

 

3. ผู้ขออนุญาตจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอต่อหน้านายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้อง

แสดงบัตรประจำตัวพร้อมสำเนา

 

4. กรอกข้อความในแบบพิมพ์คำขอ ให้ใช้พิมพ์ดีด หรือบันทึกข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

ให้ครบถ้วน ตามแบบฟอร์มที่กำหนด และเอกสารประกอบการจดทะเบียน

 

5. การยื่นขอจดทะเบียน

 - ที่ตั้งสมาคมการค้าอยู่ในกรุงเทพมหานคร ยื่นขอจดทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 4

- ที่ตั้งสมาคมการค้าอยู่ต่างจังหวัด ยื่นขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ

2. ในกรณีที่จะก่อตั้งหอการค้ามีขั้นตอนและระเบียบอย่างไรบ้าง

คำตอบ การขออนุญาตจัดตั้งหอการค้า ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจ ไม่น้อยกว่า 5 คน ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน มีขั้นตอน ดังนี้

1. จะต้องตั้งชื่อหอการค้า โดยสอบถามทางโทรศัพท์ 02-547-5972 โทร.ภายใน 3631 ว่าชื่อ

ที่ตั้งขึ้นซ้ำกับหอการค้าอื่น หรือขัดต่อระเบียบหรือไม่ อย่างไร

2. จัดทำคำขอจัดตั้ง พร้อมเอกสารประกอบ ดังนี้

2.1 คำขอสมาคมการค้าและหอการค้า (แบบ ส..1)

2.2 รายการขออนุญาตและจดทะเบียน (แบบ ส..2)

2.3 หนังสือรับรองความประพฤติของผู้เริ่มก่อการจัดตั้ง (แบบ ส..3)

2.4 ข้อบังคับของหอการค้า อย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้

2.4.1 ชื่อ

2.4.2 วัตถุที่ประสงค์

2.4.3 ที่ตั้งสำนักงาน

2.4.4 วิธีรับสมาชิกและให้สมาชิกออกจากหอการค้า ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

2.4.5 การดำเนินกิจการของหอการค้า การตั้ง การออกจากตำแหน่ง และการประชุมของ

กรรมการตลอดจนการประชุมใหญ่

ข้อบังคับของหอการค้าต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนพร้อมกับการยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งหอการค้า ก่อนออกใบอนุญาต ถ้านายทะเบียนเห็นสมควรจะสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนั้นได้

2.5 สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ของผู้เริ่มก่อการทุกคน

2.6 หลักฐานการเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจของผู้เริ่มก่อการทุกคน

2.7 สำเนาหนังสือแสดงสิทธิการใช้สถานที่ตั้งของหอการค้า

2.8 แผนที่แสดงที่ตั้ง โดยสังเขปพร้อมรูปถ่าย

2.9 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

3. ผู้ขออนุญาตจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอต่อหน้านายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้อง

แสดงบัตรประจำตัวพร้อมสำเนา

 

4. กรอกข้อความในแบบพิมพ์คำขอ ให้ใช้พิมพ์ดีด หรือบันทึกข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

 ให้ครบถ้วน ตามแบบฟอร์มที่กำหนด และเอกสารประกอบการจดทะเบียน

5. การยื่นขอจดทะเบียน

- ที่ตั้งหอการค้าอยู่ในกรุงเทพมหานคร ยื่นขอจดทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 4

- ที่ตั้งหอการค้าอยู่ต่างจังหวัด ยื่นขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น ๆ

ทั้งนี้ตามข้อ 1. และข้อ 2. อาจใช้แบบฟอร์มตามเวปไซต์ของกรมฯ ได้ถึงสิงหาคม 2554

3. การจัดตั้งสมาคมการค้าบุคคลธรรมดาสามารถรวมกับนิติบุคคลได้หรือไม่

คำตอบ ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมมีจำนวนไม่น้อยสามคน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจ ซึ่งผู้ประกอบวิสาหกิจอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ นิติบุคคลสามารถร่วมกับบุคคลธรรมดาจัดตั้งสมาคมการค้าได้ โดยนิติบุคคลจะต้องมอบอำนาจให้บุคคลธรรมดามาผู้เป็นเริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมการค้า

4. ขั้นตอนการจดสมาคมการค้าใช้ระยะเวลานานเท่าใด และเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร

คำตอบ - ระยะเวลาการให้บริการ ภายใน 1 วัน (เอกสารถูกต้องครบถ้วน และไม่รวมระยะเวลารอคอย)

- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 400.00 บาท

5. การจดทะเบียนสมาคมการค้าต้องจองชื่อเหมือนนิติบุคคลหรือไม่

คำตอบ - ผู้เริ่มก่อการจะต้องกำหนดชื่อสมาคมการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ชั้น 4 โทรศัพท์ 02-547-5972 หรือโทร.ภายใน 3631 ไม่ต้องกรอกแบบฟอร์มเหมือนนิติบุคคล

 

6. ถ้าสนใจเข้าร่วมกิจกรรมปรึกษาธุรกิจสามารถปรึกษาได้ที่ไหน และเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง

คำตอบ โดยจัดส่งใบสมัครขอรับคำปรึกษา หรือส่งรายละเอียดประเด็นคำถาม เพื่อขอนัดคำปรึกษา

ล่วงหน้าตามวัน และเวลาได้ที่ www.businessclinic@dbd.go.th หรือโทร. 0 2547 5158 โทรสาร 0 25475963

สถานที่จัดบริการให้คำปรึกษาธุรกิจ

ส่วนกลาง ศูนย์เครือข่ายธุรกิจ (Biz Club) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

1. ศูนย์เครือข่ายธุรกิจ (Biz Club) ชั้น 12 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โทร. 02 – 5475158

2. ศูนย์เครือข่ายธุรกิจ (Biz Club) ชั้น 4 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง

กรุงเทพฯ โทร. 0 2 2767259 – 64

 

ส่วนภูมิภาค ศูนย์เครือข่ายธุรกิจ (Biz Club) จำนวน 6 แห่ง ได้แก่

1. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4324 1184 โทรสาร 0 4324 1162

E-mail : Khonkaen@dbd.go.th

2. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชัยนาท โทร. 0 5642 1315-6 โทรสาร 0 5642 1315

E-mail : chainat@dbd.go.th

3. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5311 2736 - 7 โทรสาร 0 5311 2738

E-mail : chiangmai@dbd.go.th

4. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพิษณุโลก โทร. 0 5521 6780 โทรสาร 0 5521 6779

E-mail : phitsanulok@dbd.go.th

5. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเพชรบุรี โทร. 0 3240 0771 โทรสาร 0 3240 0772

E-mail : phetchaburi@dbd.go.th

6. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสงขลา โทร. 0 7425 9015 โทรสาร 0 7425 9016-7

E-mai : songkhla@dbd.go.th

ประเด็นที่ให้คำปรึกษา ได้แก่ การเริ่มต้นธุรกิจ แผนธุรกิจ การตลาด การเงินพัฒนาผลิตภัณฑ์

กฎหมายธุรกิจ และการบริหารจัดการ

 

7. ศูนย์เครือข่ายธุรกิจ (Biz Club) มีสิทธิประโยชน์ และสามารถสมัครร่วมกิจกรรมได้อย่างไร

คำตอบ สิทธิประโยชน์

1. เป็นการรวมกลุ่มพันธมิตรและเครือข่าย เพื่อสร้างความเข้มแข็งและต่อยอดธุรกิจ โดยขอใช้สถานที่ของ

Biz Club ในแต่ละพื้นที่เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เจรจาธุรกิจ

2. ได้รับการพัฒนาความรู้ โดยเรียนผ่านระบบทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ e-learning

3. รับสิทธิ์เข้ารับคำปรึกษาการประกอบธุรกิจ

4. การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ

การสมัครร่วมกิจกรรม Biz Club

โดยการแจ้งความประสงค์สมัครสมาชิกที่ www.dbd.go.th หรือ www.dbdbizclub.com หรือที่ศูนย์Biz Club ทุกแห่ง (ศูนย์ Biz Club ด้านบน) โทร. 02 5475158, 02 5475964

 

8 .โครงการพัฒนาผู้ประกอบการผ่านสื่อออนไลน์ (e-Learning) มีกี่หลักสูตร และสามารถสมัครร่วมกิจกรรมได้อย่างไร

คำตอบ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้มีการพิจารณาหลักสูตรพื้นฐานที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถทำความเข้าใจ และเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางอินเทอร์เน็ต ตลอดจนได้มีการพัฒนาและเพิ่มเติมหลักสูตรมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในปี 2554 เปิดหลักสูตรทั้งสิ้น 5 กลุ่มหลักสูตร รวม 13 หัวข้อ ประกอบด้วย

o หลักสูตรทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. ความรู้เบื้องต้นด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2. การตลาดด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3 การพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย

4. กลยุทธ์ดึงดูดลูกค้าออนไลน์

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการธุรกิจ

o หลักสูตรทางด้านบริหารจัดการและการตลาด สำหรับผู้ประกอบธุรกิจระดับต่าง ๆ

1. การเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ

2. ก้าวสู่มืออาชีพระดับก้าวหน้า

3. เตรียมความพร้อมสำหรับผู้ส่งออก

o หลักสูตรทางด้านบัญชีและธรรมาภิบาล

1. สารสนเทศทางการบัญชี 1

2. สารสนเทศทางการบัญชี 2

3. ธรรมาภิบาลภาคธุรกิจ

4. งบการเงินสำหรับผู้บริหาร

o หลักสูตรเตรียมพร้อมการประกอบธุรกิจในโลกยุคเปิดการค้าเสรี

- Business English Writing

การสมัครทำได้ง่าย ๆ เข้าไปที่ www.dbdacademy.com กรอกข้อมูลส่วนตัว และจัดส่งหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งอาจสามารถใช้วิธีสแกนส่งผ่านทางระบบออนไลน์ หรือ แฟกซ์หลักฐานมาที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะมีรายละเอียดขั้นตอนการเรียนและคำแนะนำ ตลอดจนสถานที่ติดต่อขึ้นอยู่บนเว็บไซต์ โดยละเอียด ทั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดในการสมัครเข้าเรียนผ่านระบบดังกล่าวสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทรศัพท์

02- 547-5962 , 02-547-5156 , 0-2962-2146 ต่อ 123, 08-5221-5483 หรือสายด่วน 1570

 

9. ปฏิทินตารางอบรมของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สามารถสอบถามได้ที่หน่วยงานใด

คำตอบ ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้สนใจ สามารถสอบถามปฏิทินตารางการอบรมของกรมพัฒนาธุรกิจ

การค้าได้ที่ สายด่วน 1570 หรือด้านท้ายของใบรับสมัครเข้ารับการอบรมของแต่ละโครงการ

**************************************

 

ประเด็นคำถาม - คำตอบ

ของ สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

1. เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน (DBD Registered) สามารถขอจดได้อย่างไร

คำตอบ 1.1 ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ที่ ฝ่ายปกครองของสำนักงานเขตกทม. ณ ที่ตั้งของผู้ประกอบการตั้งอยู่ หรือที่สำนักงานใหญ่ กทม.(ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร)

1.2 ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ต่อองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล ตามที่ตั้งสถานที่ทำการของผู้ประกอบการเมื่อผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลได้รับใบทะเบียนพาณิชย์แล้วให้แนบไฟล์หรือส่งแฟกซ์ใบทะเบียนพาณิชย์ (พค0403) และเอกสารแนบแบบ ทพ. มาที่ e-commerce@dbd.go.th หรือแฟกซ์ 02-5475973 สามารถโทรติดต่อสอบถามได้ที่ 02-5475959

 

2. เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Verified) สามารถขอได้อย่างไร เสียค่าธรรมเนียมเท่าไร

คำตอบ สามารถขอเครื่องหมายผ่านเว็บไซต์ www.Trustmarkthai.com โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ในเบื้องต้น

ผู้ประกอบการต้องเป็น

* เป็นนิติบุคคล

* จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน

* เป็นเจ้าของชื่อโดเมนนั้น

* ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

* มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับการขอใช้เครื่องหมายรับรองฯ หลักเกณฑ์ 8 ข้อ ได้แก่

2.1 ความโปร่งใสของผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Operational Transparency) * เว็บไซต์ของท่านต้องมีข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็น เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ วิธีการติดต่อ ฯลฯ เพื่อแสดงความมีตัวตนของท่านและเพื่อให้ผู้บริโภค สามารถติดต่อหรือสอบถามได้

2.2 การตลาดและประชาสัมพันธ์ (Advertising and Marketing Practices)

* การโฆษณา การเสนอซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ ในเว็บไซต์ต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี

* จะต้องไม่กระทำการหลอกลวงหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ สินค้า/บริการ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีอื่นใดที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของ สินค้า/บริการ

2.3 การให้ข้อมูลของสินค้าและบริการที่ชัดเจนและเพียงพอ (Adequate and Timely Information Aboutn Offers) เว็บไซต์ของท่านจะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องของ

 

* ข้อมูลของสินค้า / บริการราคาสินค้าหรือบริการ (หากมีค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติม เช่น ภาษี ,ค่าบริการจัดส่ง ฯลฯ ต้องระบุให้ชัดเจน)

* วิธีการและระยะเวลาในการชำระราคาค่าสินค้า/บริการ

* ข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น เงื่อนไขการรับประกันสินค้า เงื่อนไขการคืนหรือเปลี่ยนสินค้า ฯลฯ

2.4 การยืนยันการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าและบริการ (Acknowledgement of Order and Fulfillment)

* เว็บไซต์ของท่านจะต้องมีระบบทบทวนและยืนยันการสั่งซื้อ และมีทางเลือกในการยกเลิก หรือยืนยันการทำธุรกรรม

* เว็บไซต์ของท่านควรมีจัดเตรียมแบบฟอร์มการสั่งซื้อและวิธีการกรอกข้อมูล ที่ชัดเจน และควรมีใบยืนยันการสั่งซื้อเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าไปตรวจสอบหรือติดต่อได้

* การจัดส่งสินค้า/บริการจะต้องระบุวิธีการและระยะเวลาที่ชัดเจน และดำเนินการจัดส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด

2.5 ระบบความปลอดภัยในการทำธุรกรรม (Transactional Security)

* เว็บไซต์ของท่านต้องจัดให้มีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมของผู้ซื้อหรือผู้ขาย โดยมี

การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ เหมาะสมกับข้อมูลที่มีการจัดเก็บและส่งข้อมูล

2.6 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค (Consumer Privacy)

* เว็บไซต์ของท่าน จะต้องแสดงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy policy) ในที่ที่ผู้บริโภคสามารถค้นหาได้สะดวก

2.7 ช่องทางในการติดต่อสื่อสารและรับเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภค (Consumer Inquiries and Complaints) * เว็บไซต์ของท่าน ต้องจัดเตรียมช่องทางการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการตอบข้อสงสัย และมีกระบวนการในการจัดการข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น และจะต้องมีการตอบสนองข้อร้องเรียน หรือข้อสอบถาม ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียนหรือข้อสอบถาม

2.8 การคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ( Protection of Children)

* สินค้าหรือบริการที่อาจมีผลกระทบต่อเด็กหรือเยาวชน จะต้องจัดให้มีข้อความเตือนบนเว็บไซต์ เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชน

3. เครื่องหมาย trustmark หมายความว่าอย่างไร

คำตอบ เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ เรียกสั้นๆว่า

“Trustmark” นั้น เป็นเครื่องหมายรับรองซึ่งออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยผู้บริโภคจะมั่นใจได้ว่า

 

4. การทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย

คำตอบ ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อมีการทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย (หรือมีเว็บไซต์) ซึ่งต้องทำเว็บไซต์ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนแล้วจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 30 วันนับตั้งแต่เริ่มต้นประกอบพาณิชยกิจ

5. อินเตอร์เน็ต บริการอินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องจดทะเบียนไหม และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

คำตอบ จำเป็น ผู้ประกอบการที่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียน คือ ผู้ประกอบการที่มีเว็บไซต์

5.1 ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

5.2 บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) คือ หน่วยงานที่บริการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต กล่าวคือ ให้บริการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานต่าง ๆ เข้ากับ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ทำให้เราสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งโดยปกติในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เราจะต้องมีการเชื่อมต่อสัญญาณกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม(สายโทรศัพท์) หรือ เชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ (สายเคเบิล หรือ DSL)

5.3 ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) คือ ผู้ให้บริการเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อทำหน้าที่ในการรับฝากเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถออนไลน์ หรือมองเห็นบนอินเทอร์เน็ตได้ทุกเว็บไซต์ที่ออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตจะต้องได้รับการฝากที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ซึ่งเซิร์ฟเวอร์นี้จะทำหน้าที่เป็นตัวติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกแห่งทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง (ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)โดยผู้ให้บริการเครื่อง Server จะคิดค่าใช้จ่ายตามพื้นที่ (ขนาดของเว็บไซต์) ที่แบ่งให้เช่า

5.4 บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (e-Marketplace) คือ เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสินค้าและร้านค้าเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน โดยรูปแบบของ E-Marketplace จะเป็นการบริการในรูปแบบของเว็บไซต์ ที่เปิดให้บุคคลทั่วไป เข้าไป post ซื้อขายสินค้าหรือ ให้บริการหน้าเว็บไซต์สำเร็จรูป เพื่อให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ เข้ามาเปิดหน้าร้านออนไลน์บนเว็บไซต์ตลาดกลาง เพื่อขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ

6. การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนการจดอย่างไรบ้างและสามารถยื่นจดได้ที่ไหน  คำตอบ การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนการจด ดังนี้

1. ทำเว็บไซต์ให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมออนไลน์ ซึ่งเว็บไซต์จะต้องประกอบไปด้วย

- รายละเอียดของสินค้าหรือบริการ

- ราคาของสินค้าหรือบริการ

- วิธีการชำระเงิน

 

- ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ หรือที่อยู่ตามใบทะเบียนพาณิชย์

2. กรอกเอกสารการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้จาก

www.dbd.go.th

กรณีบุคคลธรรมดา

- สำเนาเอกสาร ทพ.

- สำเนาเอกสารแนบแบบ ทพ.

- สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน

- กรณีที่อยู่หรือสถานประกอบการเป็นบ้านเช่าหรือบ้านญาติที่มิใช่ที่อยู่ตามบัตร

ประชาชนหรือทะเบียนบ้าน ต้องใช้เอกสารสิทธิ์ในการเช่ากรณีที่เป็นบ้านเช่า หรือ

ให้เจ้าบ้านเซ็นยินยอมให้ใช้สถานที่กรณีที่เป็นบ้านญาติพร้อมทั้งรับรองสำเนาใน

บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านด้วย

กรณีนิติบุคคล

- สำเนาเอกสาร ทพ.

- สำเนาเอกสารแนบแบบ ทพ.

- หนังสือรับรองนิติบุคคล (ต้องมีวัตถุประสงค์การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดย

วิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต)

- สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน

- กรณีที่อยู่หรือสถานประกอบการเป็นบ้านเช่าหรือบ้านญาติที่มิใช่ที่อยู่ตามบัตร

ประชาชนหรือทะเบียนบ้านต้องใช้เอกสารสิทธิ์ในการเช่ากรณีที่เป็นบ้านเช่า หรือ

ให้เจ้าบ้านเซ็นยินยอมให้ใช้สถานที่กรณีที่เป็นบ้านญาติพร้อมทั้งรับรองสำเนาใน

บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านด้วย

3. สามารถยื่นจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ตามที่อยู่ของบัตร

ประชาชนหรือทะเบียนบ้าน (กรุงเทพมหานคร ) เทศบาล หรือ อบต. ตามที่อยู่ของบัตร

ประชาชนหรือทะเบียนบ้าน (ต่างจังหวัด)

หมายเหตุ เมื่อผู้ประกอบการหรือนิติบุคคล ได้รับใบทะเบียนพาณิชย์แล้วให้แนบไฟล์ใบทะเบียน (พค 0403) และเอกสารแนบแบบทพ. ส่งทางอีเมล์ (e-commerce@dbd.go.th) หรือส่งแฟกซ์ (02 547 5973) มาที่สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

7. www.dbdmart.com บริการร้านค้าออนไลน์สำเร็จรูปในการขายสินค้าและบริการมีค่าใช้จ่ายเท่าไร

คำตอบ ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

8. ถ้าสนใจเข้าร่วมโครงการเปิดร้านค้าออนไลน์สมัครได้อย่างไร และเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร

คำตอบ สมัครผ่านเว็บ www.dbdmart.com โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด

9. ถ้าผู้ประกอบการเป็นชาวต่างชาติสามารถจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่

คำตอบ ได้ถ้ามีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และ/หรือ หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

10. ทำธุรกิจการบริการโดยทำเว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไหม

คำตอบ ไม่ต้องจด

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ ไม่ต้องจดทะเบียน

- มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อหรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ….

- การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี Banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก Banner ก็ตาม

- การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่นเพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน

- การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า

- เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว

- เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ

11.ผู้ประกอบการหนึ่งคนสามารถมีเว็บไซต์ได้กี่เว็บไซต์ จำกัดหรือไหม

คำตอบ ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนพาณิชย์กี่เว็บไซต์ก็ได้ ไม่จำกัดจำนวน

12.ผู้ประกอบการหนึ่งคนสามารถจดเว็บไซต์ได้ตามบัตรประชาชนหรือตามที่อยู่ของผู้ประกอบการคำตอบ ผู้ประกอบการสามารถไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานเขตพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร) เทศบาลหรือ อบต. (ต่างจังหวัด) ได้ตามที่อยู่บัตรประชาชนหรือตามที่อยู่ของผู้ประกอบการเอง ซึ่งถ้าเป็นการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามที่อยู่ของผู้ประกอบการจะต้องแสดงเอกสารสิทธิ์ของที่อยู่ต่อนายทะเบียน

13.การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีเว็บไซต์บริการแล้วกี่วันถึงจะต้องจด

คำตอบ การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องดำเนินการภายใน 30 วันนับจากวันที่เริ่มต้นประกอบพาณิชยกิจ

หรือเว็บไซต์ออนไลน์

 

ประเด็นคำถามคำตอบ

ของ สำนักกฎหมายและคดี

 

1. ในกรณีที่ส่งงบการเงิน ปี 2553 ล่าช้ามีอัตราค่าปรับอยู่ที่เท่าไร

 คำตอบ อัตราค่าปรับกรณีการส่งงบการเงินประจำปี 2553 ล่าช้า นั้น พิจารณาจากประเภทนิติบุคคลและ

ระยะเวลาในการนำส่งงบการเงิน ตามตารางอัตราค่าปรับที่แนบ 1

2. ใบบันทึกยินยอมให้เปรียบเทียบและชำระเงินค่าปรับ ถ้ากรรมการไม่สามารถมาได้ จะทำการมอบอำนาจได้หรือไม่

คำตอบ ในกรณีบริษัทหรือกรรมการไม่ไปให้เปรียบเทียบและชำระเงินค่าปรับด้วยตนเอง สามารถดำเนินการได้โดย

1. มอบอำนาจให้ผู้อื่นชำระเงินค่าปรับแทนได้ โดยกรรมการต้องลงชื่อในแบบบันทึกยินยอมให้เปรียบเทียบและชำระเงินค่าปรับ หรือ

2. ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจโดยมีรายละเอียดสาระสำคัญให้ครบถ้วนเช่นเดียวกับแบบบันทึกยินยอมให้เปรียบเทียบและชำระเงินค่าปรับแทน

3. ใบบันทึกยินยอมให้เปรียบเทียบและชำระเงินค่าปรับ ส่วนที่เป็นพยานหมายถึงผู้ใดก็ได้ใช่หรือไม่

คำตอบ ส่วนที่เป็นพยานหมายถึงผู้ใดก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ผู้ที่กระทำความผิด

4. การชำระค่าปรับสามารถชำระผ่านช่องทางใดได้บ้าง

คำตอบ ในปัจจุบันการชำระค่าปรับจะต้องไปชำระที่งานเปรียบเทียบปรับ ชั้น 4 กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

โดยจะชำระเป็นเงินสด หรือ เช็คเงินสด (แคชเชียร์เช็ค) สั่งจ่ายในนามกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือ“Department Of Business Development”

5. การชำระค่าปรับสามารถทำเรื่องขอผ่อนผันได้หรือไม่

คำตอบ การชำระค่าปรับ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เป็นความผิดทางอาญา กรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่สามารถผ่อนผันหรือยกเว้นการดำเนินคดีได้

6. ใบบันทึกยินยอมให้เปรียบเทียบและชำระเงินค่าปรับ สามารถเขียนได้หรือไม่

คำตอบ ใบบันทึกยินยอมให้เปรียบเทียบและชำระเงินค่าปรับ สามารถเขียนได้ ไม่จำเป็นต้องพิมพ์แต่อย่างใด

7. อายุความของการปรับเรื่องยื่นงบการเงินล่าช้ามีอายุความกี่ปี

คำตอบ การยื่นงบการเงินล่าช้า เป็นความผิดทางอาญา ซึ่งมีอัตราโทษปรับสถานเดียว จึงมีอายุความในการดำเนินคดี 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95

 

แต่อย่างไรก็ตาม หากนิติบุคคลรายใดไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นงบการเงินล่าช้า และไม่ยินยอมชำระค่าปรับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะส่งเรื่องให้ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายภายในอายุความการดำเนินคดีทุกราย

8. กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้ง 9 ฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท , พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.. 2499 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.. 2499 ,พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.. 2509 พระราชบัญญัติหอการค้า พ.. 2509 พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.. 2535 , พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. 2542 และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี

พ.. 2547 ฉบับใหม่ล่าสุดสามารถค้นหาได้จากไหน

คำตอบ กรณีกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมฯ ทั้ง 9 ฉบับ ที่เป็นปัจจุบัน สามารถค้นหาได้จากเว็ปไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ http://www.dbd.go.th ในหัวข้อกฎหมายหรือสามารถค้นหาได้ที่เว็ปไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ http://www.krisdika.go.th

9. กรณีบริษัทจำ กัดไม่ได้จัดประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายในสี่เดือนนับแต่วันที่ลงในงบดุล

คำตอบ กรณีบริษัทจำกัดกระทำความผิดฐานไม่นำงบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนนับแต่วันที่ลงในงบดุล ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1197 โดยบริษัทจำกัด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา 18 และกรรมการทุกคนของบริษัท ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท

จำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.. 2499 แต่เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีอำนาจเปรียบเทียบได้ จึงได้กำหนดอัตราเปรียบเทียบปรับไว้ตามตารางด้านล่าง

ฐานความผิด ค่าปรับ

บริษัท กรรมการ (คนละ)

บริษัทไม่นำ งบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนนับแต่วันที่ ลงใน

งบดุล 2,000 5,000

 

10. ถ้าได้รับหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะดำเนินการอย่างไร

คำตอบ กรณีนิติบุคคลรายใดได้รับหมายเรียกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ว่าการกระทำความผิดฐานใดก็ตามขอให้ติดต่อกับพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีโดยตรง ซึ่งในหมายเรียกจะปรากฏชื่อของพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี และเบอร์โทรศัพท์ไว้อยู่แล้ว หากมีข้อขัดข้องประการใดตามหมายเรียก ก็ขอให้แจ้งพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี

11. ในกรณีงบการเงินปี 2552 ขาดส่ง อยากทราบว่าอัตราค่าปรับจนถึงปัจจุบันเท่าไร

คำตอบ กรณีงบการเงินรอบบัญชีปี 2552 ที่ขาดส่งนั้น เนื่องจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ส่งดำเนินคดีกับนิติบุคคลในความผิดฐานไม่ยื่นงบการเงินรอบปีบัญชี 2552 ไปแล้ว ดังนั้น ในปัจจุบันงบการเงินรอบปีบัญชี 2552กรมฯ จึงไม่ดำเนินการเปรียบเทียบปรับงบการเงินรอบปีบัญชีดังกล่าวแล้ว แต่นิติบุคคลสามารถส่งงบการเงินรอบปีบัญชีดังกล่าวได้ตามปกติ

 

12. ในกรณียื่นเอกสารการจดทะเบียนล่าช้ามีอัตราค่าปรับอยู่ที่เท่าไร

คำตอบ ในกรณีการยื่นเอกสารการจดทะเบียนล่าช้าของบริษัทจำกัด เช่น เปลี่ยนแปลงกรรมการ เปลี่ยนแปลงข้อบังคับ มติพิเศษเพิ่มทุน มติพิเศษลดทุน เป็นต้น บริษัทย่อมมีความผิดและต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา 13 และกรรมการทุกคนของบริษัทต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

พ.. 2499 แต่เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีอำนาจเปรียบเทียบได้ จึงได้กำหนด อัตราเปรียบเทียบปรับไว้ในอัตราชั่วคราว ตามตารางอัตราค่าปรับที่แนบ 2

 

13. คณะบุคคลสามารถเข้ามาถือหุ้นบริษัทได้หรือไม่ เป็นไปตามกฎหมายใด

คำตอบ กรณีการถือหุ้นบริษัทนั้น เป็นไปตามมาตรา 1118 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมิได้ห้ามบุคคลหลายคนถือหุ้นเดียวร่วมกัน เพียงแต่กรณีที่มีหลายคนถือหุ้นเดียวร่วมกันนั้น กฎหมายบังคับให้บุคคลเหล่านั้นจะต้องตั้งคนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ถือหุ้น เพื่อการประชุมออกเสียงลงคะแนน การขอรับเงินปันผล ฯลฯ ทั้งนี้ คำว่าบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมาย หมายถึง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (หนังสือตอบข้อหารือ ที่ พณ 0803.03/172 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2554)

 

14. ในกรณีขาดส่งงบการเงินติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี จะมีอัตราค่าปรับเท่าใด

คำตอบ ปัจจุบันกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะดำเนินการเปรียบเทียบปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้า หรือไม่ยื่นงบการเงิน เฉพาะงบการเงินรอบบัญชีปี 2553 เท่านั้น

 

สำหรับงบการเงินรอบปีบัญชี 2552 ลงไป เนื่องจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ส่งดำเนินคดีกับนิติบุคคล ในความผิดฐานไม่ยื่นงบการเงินแต่ละรอบปีบัญชีเป็นประจำทุกปีแล้ว ดังนั้น งบการเงินรอบปีบัญชี 2552 ลงไป กรมฯ จึงไม่ดำเนินการเปรียบเทียบปรับงบการเงินรอบปีบัญชีดังกล่าวแล้ว แต่นิติบุคคลสามารถส่งงบการเงินรอบปีบัญชีดังกล่าวได้ตามปกติ

15. ถ้าไม่มีหนังสือแจ้งในเรื่องค่าปรับงบการเงิน จะสามารถติดต่อล่วงหน้าก่อนได้หรือไม่

คำตอบ ในกรณีถ้าไม่มีหนังสือแจ้งในเรื่องค่าปรับงบการเงิน นิติบุคคลก็สามารถชำระค่าปรับได้โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบันทึกยินยอมให้เปรียบเทียบและชำระเงินค่าปรับ ได้จากเว็ปไซต์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ http://www.dbd.go.th ในหัวข้อดาวน์โหลดแบบฟอร์ม” : “งานเปรียบเทียบปรับ” : บันทึกยินยอมให้เปรียบเทียบและชำระเงินค่าปรับ (ไม่ยื่นงบการเงินภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด) (เอกสารแนบ 2)

ตารางอัตราค่าปรับ

ค่าปรับ

ลำดับที่ ฐานความผิด บริษัท/ห้างหุ้นส่วน

กรรมการ/ หุ้นส่วนผู้จัดการ

และผู้ชำระบัญชี (คนละ)

1. บริษัทไม่นำงบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุม

ใหญ่ภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่ลงในงบดุล

2,000 5,000

2. บริษัทไม่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการภายใน

14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

200

3. บริษัทไม่จดทะเบียนข้อบังคับที่ตั้งขึ้นใหม่หรือเพิ่มเติมภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ลงมติพิเศษ

200

4. บริษัทไม่จดทะเบียนมติพิเศษเพิ่มทุนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ

200

5. บริษัทไม่จดทะเบียนมติพิเศษลดทุนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ

200

6. ห้างฯ ไม่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

200

7. ผู้ชำระบัญชีไม่จดทะเบียนเลิกบริษัทภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน- 200

8. ผู้ชำระบัญชีไม่จดทะเบียนเลิกห้างฯ ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน

- 200

9. ผู้ชำระบัญชีไม่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุม

- 200

10. ผู้ชำระบัญชีไม่บอกกล่าวแก่ประชาชน ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน

- 200

11. ผู้ชำระบัญชีไม่แจ้งเจ้าหนี้ทุกคน ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน

- 200

12. ผู้ชำระบัญชีไม่ทำรายงานยื่นต่อนายทะเบียน ทุก 3 เดือน

- 200

***************************************

 

ประเด็นคำถามคำตอบ

 ของ สำนักส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ

 

1. การส่งเสริมและพัฒนาด้านการตลาดสินค้าธุรกิจชุมชนและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สามารถทำได้อย่างไร

 คำตอบ ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและพัฒนาด้านการตลาดสินค้าธุรกิจชุมชนและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น หน่วยงานของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ดูแลรับผิดชอบทั่วทุกภูมิภาค เริ่มจากรับลงทะเบียนรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการพัฒนาเครือข่ายและองค์ความรู้ ด้วยการเน้นส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพร้อมๆ กับเพิ่มศักยภาพกลุ่มอาชีพในแต่ละชุมชนโดยเน้นการบริหารจัดการและเพิ่มขีด

ความสามารถในการแข่งขัน ทั้งด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด และการจัดการทุน

ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ก็มีมาตรการในการสนับสนุนและผลักดันเพื่อยกระดับคุณภาพ สินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือการที่กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนในการขยายตลาดภายในประเทศและส่งออกอย่างเต็มที่ ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมส่งเสริมการส่งออก

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก(SMEs) โดยได้จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ในการนำสินค้าท้องถิ่นไปสู่ประชาคมโลก ตามแนวคิด Local to Global ควบคู่กันไปด้วยสิ่งสำคัญที่สุดจะต้องเข้าใจเรื่องการตลาด การตลาดคือการสร้างโอกาสทางการขายเพื่อขยายและสร้างกำไร แนวคิดเรื่องการสร้างแบรนด์ และการสร้างความสำคัญกับลูกค้า เป็นเรื่องจำเป็นในการสร้างความภักดีจากลูกค้า นั่นคือประโยชน์มหาศาล โดยเฉพาะการบอกปากต่อปาก จะช่วยลดต้นทุนการขายได้อย่างดี การตลาดสมัยใหม่จึงมุ่งที่ "ลูกค้า คือ พระเจ้า" เพราะมีอิทธิพลต่อสินค้าที่เราจะผลิต ดังนั้นการส่งเสริมด้านการตลาดสินค้าชุมชนก็เช่นเดียวกัน จะต้องมองที่ลูกค้าที่ต้องการซื้ออะไร แบบไหน ความนิยมของลูกค้าเป็นอย่างไร แล้วจึงมาวางแผนการผลิตเพื่อสนองต่อความต้องการของลูกค้าจึงจะถือว่าเป็นการส่งเสริมพัฒนาตลาดสินค้าสมัยใหม่การตลาดสมัยใหม่ ต้องเน้นการบริการ และความต้องการของผู้บริโภค โดยเริ่มมองจากนอกสู่ในดูจาก

1.คุณค่าที่จะมอบให้กับผู้บริโภคคืออะไร ผู้บริโภคคือใคร ผู้บริโภคต้องการอะไร

2.ผู้บริโภคยินดีจ่ายในราคาเท่าไร แล้วเราต้องผลิตให้ได้ต้นทุนต่ำกว่าที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายเพื่อจะได้มีกำไรหรือรู้ราคาที่ผู้บริโภคยอมจ่ายแล้วกำหนดต้นทุนการผลิต

3.ผู้บริโภคสามารถซื้อได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลา เรามีหน้าที่บริการอำนวยความสะดวกให้บริโภคมีผลิตภัณฑ์ตรงกับกาลเทศะ จังหวะเวลาที่ผู้บริโภคต้องการ

4.การสื่อสารหาผู้บริโภค และการติดต่อจากผู้บริโภคมาหาเราต้องถูกต้อง ตรงประเด็นไม่ตกหล่น สูญหาย เป็นการสื่อสารแบบสองทางที่เข้าใจตรงกัน และสื่อสารในสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการรู้เพื่อจัดหาสิ่งที่ต้องการได้

 

2. การทำธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง จะเริ่มต้นอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

 คำตอบ การทำธุรกิจค้าส่งค้าปลีก ต้อง

1. สำรวจตัวเอง

โดยประเมินทักษะ ความรู้ความสามารถที่มีต่อธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก มีความพร้อมหรือยัง มีองค์ความรู้ของธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทิศทางเป็นอย่างไร คำนึงถึงทักษะและประสบการณ์ ความชำนาญที่เกี่ยวข้อง นำมาวางแผนเพื่อตัดสินใจว่าตัวผู้ดำเนินการเชื่อมั่นในตนเองแค่ไหน กล้าตัดสินใจพร้อมแก้ปัญหาหากมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจุบันเรื่องของการตลาดการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยคือปัจจัยที่ต้องประเมิน

2. งบประมาณและทำเลที่ตั้ง ต้องรู้ว่างบประมาณในการลงทุนเพียงพอหรือไม่ การลงทุนเป็นอย่างไร

มีเงินหรือกู้เงินคำนึงถึงค่าใช้จ่ายและรายรับที่จะเกิด อย่างน้อยคุณควรมีเงินออมในการเริ่มต้นธุรกิจประมาณ6 เดือน และต้องวางแผนการใช้เงินอย่างเป็นระบบคำนวณเป็นรายเดือนไว้เลย ทำเลที่ตั้งเหมาะสมหรือไม่ เป็นที่ของตัวเองหรือต้องเช่า ซึ่งต้องประกอบกับงบประมาณในการตัดสินใจที่เหมาะสม

3. วางเป้าหมายหลักในการทำการค้า วาดภาพตัวเองกับกลุ่มธุรกิจ มองเป้าหมายลูกค้า ความเป็นไปได้ความเจริญเติบโต มองธุรกิจรอบข้างเรียนรู้ถึงปัจจัยที่ทำให้สำเร็จและก่ออุปสรรค ศึกษาธุรกิจต้นน้ำ-ปลายน้ำ(ผู้ผลิต supplier ลูกค้า) ใครคือพันธมิตรทางธุรกิจ ใครคือคู่แข่ง จุดเด่นคืออะไร ตลาดอยู่ที่ไหน เพื่อให้รู้ว่าจะสามารถตั้งเป้าหมายและทำได้สำเร็จเกินร้อยละ 60

4. เมื่อตัดสินใจทำธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก ดูก่อนว่าคุณจะเริ่มต้นประกอบการจดทะเบียนแบบไหนดี เป็นบุคคลธรรมดา เจ้าของคนเดียว (ลักษณะการเสียภาเป็นอัตราก้าวหน้า) เหมาะหรือยัง หรือในนามนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือเป็นบริษัทจำกัด ต้องรู้รายละเอียดของการลงทุน การบริหารงาน ความรับผิด ภาษีเงินได้ความน่าเชื่อถือ แต่ถ้าเป็นธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก ระยะเริ่มแรกอาจจะทำในนามบุคคลธรรมดาก่อนก็ได้

5. การจดทะเบียน ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยและสามารถทดลองประกอบธุรกิจได้ (ขนาดเล็ก) แต่ถ้าจะเป็นธุรกิจใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ซึ่งในแง่ข้อกฎหมายก็ต้องศึกษาในการจดทะเบียนไว้ด้วยเรื่องจดทะเบียนกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแนะนำได้ทั้งหมด รายละเอียดและข้อกฎหมายสามารถให้คำแนะนำได้ ขึ้นอยู่กับว่าตัดสินใจทำรูปแบบไหนการทำธุรกิจค้าปลีก ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ

1. เล็งกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อจะได้ทำการเลือกสินค้า และ บริการ ที่สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า

2. เปลี่ยนแปลงเชิงรุก คือการปรับตัวเองให้ทันต่อกระแสนิยมของลูกค้า ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาพฤติกรรม

ของลูกค้า อย่างต่อเนื่อง และต้องพยากรณ์พฤติกรรมของลูกค้าในอนาคตด้วย

3. ใช้เทคโนโลยี ในการติดตามพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า เพื่อจะได้สั่งซื้อสินค้าให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะทำให้สินค้าคงคลังลดน้อยลง

4. ตั้งราคาให้มีกำไรเพียงพอ อย่างน้อยควรจะมีกำไรขั้นต้นอย่างน้อย 50% เพื่อให้สามารถรองรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการได้อย่างเพียงพอ และมีกำไร

 5. สร้างพันธมิตร กับคู่ค้า ในการออกแบบสินค้า หรือ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆเพื่อการกระตุ้นยอดขาย

6. กล้าซื้อสินค้า เนื่องจากกระแสนิยมของลูกค้าเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ดังนั้นหากคาดการณ์ว่าสินค้าสามารถขายได้เร็ว จึงต้องสั่งสินค้าให้มีมากพอที่จะรองรับออร์เดอร์ของลูกค้า เพราะหากรอ รีพีทออร์เดอร์สินค้าที่จัดส่งมาก็อาจไม่ทันกับกระแสนิยมของลูกค้าแล้ว

7. บริหารสินค้าอย่างเข็มงวด ต้องคอยติดตามเอาสินค้าที่ขายไม่ได้ออกไป และเติมสินค้าที่ขายดีเข้ามาอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะได้ไม่เกิดโอกาสที่จะสูญเสียยอดขาย หรือเก็บสินค้าที่ขายไม่ได้ในคลังสินค้า

8. เน้นการขายโดยพนักงาน หากลูกค้าพอใจในบริการของพนักงาน ลูกค้าจะกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง จึงไม่ควรยึดติดกับการขายที่เน้นการโฆษณา หรือใช้การลดราคา เพราะไม่สามารถสร้างความจงรักภักดีให้กับลูกค้า

9. บริการเหนือความคาดหมาย จะทำให้ลูกค้าประทับใจ และจดจำไว้ตลอดกาล ซึ่งจะทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้ากับอีกครั้ง

10. เข้มงวดในมาตรฐาน หากจะทำให้ลูกค้าจงรักภักดีได้นั้น การรักษาระดับมาตรฐานเป็นสิ่งที่ต้องดูแลอย่างเข็มงวด

3. การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ทำได้อย่างไร และต้องขออนุญาตจากไหนบ้าง

คำตอบ ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าแฟรนไชส์คืออะไรเสียก่อน เพราะหลายท่านอาจเข้าใจผิดว่าการทำธุรกิจของท่านเป็นแฟรนไชส์ แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นเพียงการผลิตสินค้าแล้วขายส่งธรรมดา

ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ วิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี ผู้ที่ต้องการขายแฟรนไชส์ คือ แฟรนไชส์ซอ หรือเจ้าของสิทธิเครื่องหมายการค้า ต้องมีความเชี่ยวชาญหรือ Know How ในการประกอบธุรกิจนั้น และธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จมาแล้ว อาจจะเป็นวิธีการในการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอดให้ แฟรนไชส์ซี ในรูปแบบของการทำงานทั้งหมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

สิ่งที่ต้องทำก่อนอื่น คือ ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้ การขายแฟรนไชส์ ก็คือการทำสัญญาอนุญาตให้ผู้ซื้อใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า และสอนให้ผู้ซื้อทำธุรกิจอย่างเดียวกับที่แฟรนไชส์ ซอทำอยู่ สัญญาแฟรนไชส์จึงทำในรูปของสัญญาซื้อขาย และกำหนดเงื่อนไขต่างตอบแทนกันระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย เนื่องจากกฎหมายแฟรนไชส์ยังไม่ประกาศใช้บังคับ จึงไม่ต้องขออนุญาต หรือจดทะเบียน

ผู้สนใจศึกษารายละเอียดได้จากเว็บไซต์ dbdfranchise.com หรือ dbdfranchise.net หรือโทร

 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทางโทรศัพท์ 02 5475953 หรือสายด่วน 1570

4. กลุ่มชาวบ้านรวมตัวกันจัดทำสินค้า OTOP แต่ไม่รู้ว่าจะนำเสนอสินค้าได้อย่างไร ไม่รู้จะหาแหล่งตลาดได้จากไหนพอจะมีวิธีแนะนำไหม

คำตอบ 1. ถ้าเป็นกลุ่มชาวบ้าน รวมตัวกันจัดทำสินค้า OTOP แล้ว ถ้ายังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น OTOP ก็ต้องไปติดต่อกับหน่วยงานกรมการพัฒนาชุมชน ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ที่ร้านค้าตั้งอยู่ หรือจะไปที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เพื่อขอขึ้นทะเบียนผู้ผลิตสินค้า OTOP เพื่อที่จะได้รับโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำเสนอสินค้าสู่ตลาดทั้งภายในและนอกประเทศได้ โดยเป็นช่องทางหนึ่งในการนำเสนอสินค้าจากการร่วมงานแสดงสินค้า การประกวดเพื่อยกระดับสินค้า และพัฒนาสู่ธุรกิจ SMEs ที่มีศักยภาพต่อไป

2. ถ้าเป็นกลุ่มชาวบ้าน ที่ขึ้นทะเบียนและมีการพัฒนาระดับหนึ่งแล้ว การนำเสนอสินค้าโดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้ากับกระทรวงพาณิชย์ ก็จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในระดับพื้นที่ คือ ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ที่ให้การสนับสนุนทั้งองค์ความรู้ด้านการตลาด การขยายช่องทางการตลาดสินค้า และการร่วมงานแสดงสินค้า สามารถไปแจ้งความประสงค์เพื่อขอเข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงาน และนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับลงทะเบียนเป็นข้อมูลในการพัฒนาต่อไปได้

3. การสมัครเข้าร่วมงานแสดงสินค้าของภาคเอกชน หรือกิจกรรมในระดับจังหวัด เช่น การร่วมงานจำหน่ายสินค้าประจำปี งานเทศกาลที่สำคัญในท้องถิ่น การร่วมจำหน่ายสินค้าในตลาดท้องถิ่นที่ได้รับการส่งเสริม เช่น ตลาดน้ำ ตลาดโบราณ ตลาดสินค้าพื้นเมือง ตลาดนัด เป็นต้น โดยการตั้งตัวแทนเพื่อดำเนินการ หรือจ้างผู้จัดการ หรือจัดหาผู้แทนจำหน่ายในการลงสินค้า แล้วแต่กรณี

4. การแสวงหาข้อมูลและเสนอขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเข้าสู่ตลาดในปัจจุบัน ถ้ายังขาดเครื่องมือที่ทันสมัย อาจจะศึกษาจากเครือข่าย OTOP ประเภทเดียวกันและเข้าไปร่วมธุรกิจด้วยกัน เพื่อนำเสนอสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต สร้างระบบเครือข่ายการค้าร่วมกัน

5. สร้างสินค้า OTOP ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการค้า OTOPที่ดีควรมองเอกลักษณ์ที่เป็นหนึ่งเดียวในเขตพื้นที่ชุมชนแล้วรวมกลุ่มกันขายความเป็นเอกลักษณ์หรือลักษณ์เด่นร่วมกัน ไม่ควรเป็นคู่แข่งกันเอง การนำเสนอสินค้าก็ง่าย ส่งเสริมก็ง่าย และยังดึงผู้สนใจเข้าไปยังแหล่งผลิตสินค้า เป็นการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย จุดเด่นของกลุ่มมีดีอยู่แล้ว เพียงแต่ประสานความร่วมมือ สร้างเครือข่าย ศึกษาความนิยมของลูกค้าปรับเข้ากับลักษณะเด่นของสินค้าที่มีในชุมชนอย่างมีเอกลักษณ์หนึ่งเดียว แล้วขายความเป็น OTOP จริง ๆ ไม่ใช่ OTOP ที่สร้างขึ้นโดยลอกเลียนแบบจากชุมชนอื่นแล้วก็ผลิตแข่งกันเอง หาความเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นไม่เจอ หาที่มาไม่พบไม่มีจุดขาย การตั้งราคาสูงขึ้นจากการเพิ่มมูลค่าที่แตกต่าง จะทำกำไรดีกว่าการเพิ่มต้นทุนในสินค้าแล้วตั้งราคาใหม่ที่สูงขึ้น

 

5. ถ้าสนใจจะร่วมโครงการสินค้า OTOP จะทำได้อย่างไร

คำตอบ

1. ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำแนกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1.1 กลุ่มผู้ผลิตชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มในชุมชน ผลิตสินค้าที่แสดงความเป็นไทยหรือภูมิปัญญาไทย และสมาชิกในกลุ่มร่วมกันผลิต ร่วมกันบริหารจัดการ และร่วมรับผลประโยชน์ เช่น กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ ได้แก่ สมาคม สหกรณ์ มูลนิธิวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่ไม่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ ได้แก่ กลุ่ม ชมรม

1.2 ผู้ผลิตชุมชนที่เป็นเจ้าของรายเดียว หมายถึง บุคคลใดบุคคลหนึ่งในชุมชนที่ผลิตสินค้าที่แสดงความเป็นไทย หรือ ภูมิปัญญาไทย และมีความเชื่อมโยงกับชุมชนในข้อใดข้อหนึ่ง ได้แก่ การที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิต หรือมีการจ้างแรงงานในชุมชน หรือมีการใช้วัตถุดิบในชุมชน หรือมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ หรือมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์

1.3 ผู้ผลิตที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หมายถึง ผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผลิตสินค้าที่แสดงความเป็นไทย หรือภูมิปัญญาไทยและมีความเชื่อมโยงกับชุมชนในข้อใดข้อหนึ่ง ได้แก่ การที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิต/จ้างแรงงานในชุมชน/ใช้วัตถุดิบในชุมชน หรือมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหรือมีส่วนร่วมได้รับผลประโยชน์ โดยมีสินทรัพย์ลงทุนไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท

2. หลักเกณฑ์การลงทะเบียน

2.1 ลักษณะและคุณสมบัติของผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าที่มีสิทธิลงทะเบียน

2.1.1 เป็นผู้ผลิตดังต่อไปนี้

1) เป็นกลุ่มผู้ผลิตชุมชน

2) เป็นผู้ผลิตชุมชนที่เป็นเจ้าของรายเดียว

3) เป็นผู้ผลิตที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่จะลงทะเบียน ให้ใช้ที่ตั้งของสถานที่ผลิตเป็นหลักในการยื่นขอลงทะเบียน โดยผ่านการรับรองจากประธานเครือข่าย OTOP อำเภอ/ผู้แทน หรือประธานชุมชนของเขต (กรุงเทพมหานคร)/ผู้แทนว่าได้ดำเนินการผลิตในพื้นที่นั้นจริง

2.1.2 กลุ่มเป้าหมายตามข้อ 2.1.1 ต้องมีความเชื่อมโยงกับชุมชน โดยเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง

ต่อไปนี้

1) ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิต เช่น ใช้แรงงานในชุมชน (ภายในจังหวัดที่ขอลงทะเบียน)

มีการใช้วัตถุดิบการผลิตในชุมชน เป็นต้น

2) ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

3) ชุมชนได้รับประโยชน์

2.1.3 สถานที่ผลิตของกลุ่มเป้าหมายตามข้อ 2.1.1 ต้องตั้งอยู่ภายในอำเภอ/เขต (กรุงเทพมหานคร) ที่ขอลงทะเบียน

2.1.4 ผู้ผลิต ผู้ประกอบการและสมาชิกกลุ่ม ต้องมีสัญชาติไทย

2.1.5 กรณีส่งตัวแทนมาแจ้งการลงทะเบียนจะต้องเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจ (มีเอกสารมอบอำนาจ)

2.2 ลักษณะผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่สามารถลงทะเบียนได้ต้องแสดงถึงภูมิปัญญาไทย และมีลักษณะดังนี้

2.2.1 วัตถุดิบที่นำมาผลิต ต้องไม่ผิดกฎหมาย

2.2.2 ไม่เป็นสินค้าที่เลียนแบบ ดัดแปลง นำเข้า หรือนำเข้าเพื่อดัดแปลงหรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

2.2.3ไม่เป็นสินค้าที่ก่ออันตรายอย่างร้ายแรงต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่ขัดต่อ

ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมอันดีของไทย

2.2.4 กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายบังคับต้องได้รับอนุญาตให้ผลิต

2.3 ประเภทผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียน ต้องผ่านกระบวนการผลิตโดยใช้ภูมิปัญญา

จำแนก 5 ประเภท ดังนี้

2.3.1 ประเภทอาหาร หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตรและอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย.,GAP, GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1) ผลิตผลทางการเกษตรที่ใช้บริโภคสด

2) ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบและผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น

3) อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป

2.3.2 ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม

1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

2) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

2.3.3 ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม

1) ผ้า

2) เครื่องแต่งกาย

2.3.4 ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก แบ่งเป็น ๗ กลุ่ม

1) ไม้

2) จักสาน

3) ดอกไม้ประดิษฐ์/วัสดุจากเส้นใยธรรมชาติ

4) โลหะ

5) เซรามิค/เครื่องปั้นดินเผา

6) เคหะสิ่งทอ

2.3.5 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม

1) ยาจากสมุนไพร

2) เครื่องสำอางสมุนไพร

3) วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน

2.4 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากทางราชการให้ผู้มาลงทะเบียน นำใบรับรองมาตรฐานจาก

ทางราชการมาด้วย เพื่อกรอกข้อมูลและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียน (ถ้ามี)

3. วิธีการลงทะเบียน

3.1 ลงทะเบียนเป็นรายผู้ผลิต ผู้ประกอบการ โดยให้หัวหน้ากลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ หรือ ผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจ เป็นผู้ยื่นแบบลงทะเบียน

3.2 การรับลงทะเบียน จะดำเนินการภายในระยะเวลาที่ประกาศหรือกำหนดเท่านั้น

3.3 เอกสารประกอบการลงทะเบียน ให้นำทั้งเอกสารจริงและถ่ายสำเนา สำหรับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหมายเลขเอกสาร/หลักฐาน ให้ตรงกับข้อมูลที่กรอก ได้แก่

3.3.1 สำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้ยื่นลงทะเบียน

3.3.2 หนังสือมอบอำนาจจากกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

3.3.3 ภาพถ่ายผลิตภัณฑ์ทุกประเภท ที่จะลงทะเบียน ขนาด 4” x 6”

3.3.4 เอกสารอนุญาตให้ทำการผลิต กรณีมีกฎหมายกำหนด

3.3.5 หนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่จะแจ้งในแบบลงทะเบียน (ถ้ามี) เพื่อให้เจ้าหน้าที่

ตรวจสอบ ชื่อกลุ่ม ชื่อผลิตภัณฑ์ และเลขที่กำกับใบรับรองมาตรฐาน

3.3.6 เอกสารตามข้อ 3.3.1 – 3.3.4 ให้อำเภอเก็บไว้เป็นหลักฐาน

3.3.7 ให้ประธานเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ/ผู้แทน หรือประธานชุมชนของเขต

(กรุงเทพมหานคร) /ผู้แทน รับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ผลิตในพื้นที่ที่รับลงทะเบียนจริง

 

4. ขั้นตอนการลงทะเบียน

4.1 กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

ขอรับแบบฟอร์ม กรอกข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน และยื่นขอลงทะเบียนได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ /เขต(กรุงเทพมหานคร) ที่เป็นที่ตั้งของกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

4.2 อำเภอ / เขต (กรุงเทพมหานคร)

4.2.1 เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียน รับคำร้อง ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูล และเอกสารประกอบ

4.2.2 บันทึกข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่มายื่นขอลงทะเบียนในโปรแกรม (บันทึกเฉพาะข้อมูลที่

ถูกต้อง)

4.2.3 พิมพ์หลักฐานการรับลงทะเบียนมอบให้ผู้ลงทะเบียนเก็บไว้เป็นหลักฐาน

4.2.3 จัดการประชุมคณะกรรมการ ที่อำเภอ/เขต (กรุงเทพมหานคร) แต่งตั้ง เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

4.2.4 แจ้งข้อมูลการลงทะเบียนและผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้จังหวัด/กรุงเทพมหานคร

4.3 จังหวัด / กรุงเทพมหานคร

4.3.1 จัดการประชุมคณะกรรมการ ที่จังหวัด/กรุงเทพมหานคร แต่งตั้ง เพื่อพิจารณารับรองให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP

4.3.2 ประกาศผลผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP

4.3.3 ทำหนังสือแจ้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ที่ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนพร้อมเหตุผลประกอบในกรณีนี้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ สามารถอุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งผล

4.3.4 รายงานผลการพิจารณารับรองการขึ้นทะเบียนให้กรมการพัฒนาชุมชน

4.4 กรมการพัฒนาชุมชน

4.4.1 ตรวจสอบข้อมูลผู้ได้รับการรับรองให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOPของ

จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ในกรณีที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีบางรายไม่ใช่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP กรมการพัฒนาชุมชน จะแจ้งให้จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ดำเนินการเพิกถอนการเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ต่อไป

4.4.2 ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ปี 2553 เพื่อใช้ประโยชน์ในการ

ดำเนินงานโครงการ OTOP

 

6. การทำธุรกิจสปาจะมีขั้นตอนอย่างไร และต้องขออนุญาตจากไหนบ้าง

 คำตอบ 1. การขออนุญาตประกอบธุรกิจ

สำหรับการประกอบธุรกิจสปา มีขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

การจัดตั้งธุรกิจ

บุคคลธรรมดา : เจ้าของกิจการมีหน้าที่ต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานเขตในท้องที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้เริ่มประกอบกิจการ เจ้าของกิจการใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และปรับต่อเนื่องอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้จดทะเบียนพาณิชย์ต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาท

นิติบุคคล : ห้างหุ้นส่วนและบริษัท: ผู้ดำเนินการขอจดทะเบียนได้ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-5 และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th หรือสอบถามสายด่วน 1570

การขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ยื่นขอได้ที่ กรมสรรพากร ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดต่อขอชำระภาษีได้ที่ สรรพากรเขตหรือสาขา ส่วนต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ที่ สรรพากรอำเภอ หรือที่www.rd.go.th

การขอเลขที่บัญชีนายจ้าง จากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

ทั้งนี้ ผู้ประสงค์ขอเลขทะเบียนนิติบุคคล สามารถขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและเลขบัญชีนายจ้าง ได้พร้อมกัน โดยสามารถยื่นเอกสารและหลักฐานเพียงชุดเดียว ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทั่วประเทศ

การขออนุญาตต่อกระทรวงสาธารณสุข

สปาเพื่อสุขภาพ ขอใบอนุญาตรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

และใบอนุญาตรับรองผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ สถานที่ติดต่อ สำนักงานส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เบอร์โทร 02- 951-0792-94

การนวดเพื่อสุขภาพ ขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหากเป็นการ

นวดเพื่อบำบัด วินิจฉัยโรค หรือฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ..2542 ผู้ทำการนวดต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณจาก คณะกรรมการวิชาชีพ และต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น (หากเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค ผู้ที่ทำการนวดไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตผู้ประกอบการโรคศิลปะ)

 

ยื่นขอได้ที่ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข หรือในต่างจังหวัดยื่นที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

7. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีอบรมแนะนำการเริ่มต้นธุรกิจสปา หรือ OTOP หรือไม่

คำตอบ สำนักส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ จัดทำคู่มือการเริ่มต้นของธุรกิจสปา เพื่อที่ผู้ประกอบการสามารถศึกษาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ในการเริ่มต้นธุรกิจสปาได้ สามารถขอรับได้ที่ สำนักส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ ส่วนส่งเสริมธุรกิจบริการ 02-547-5954

การอบรมในเรื่องของการเริ่มต้นธุรกิจ โดยสามารถติดตามการตารางการอบรมได้ที่สำนักพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งจะสามารถให้ความรู้เบื้องต้นในการจัดตั้งธุรกิจ ความรู้พื้นฐานการประกอบธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการได้ นอกจากนี้สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการเรียนรู้การประกอบธุรกิจแบบออนไลน์ได้ที่ www.dbdacademy.com

การอบรมในเรื่อง OTOP ของสำนักส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในปีนี้ไม่ได้ดำเนินการในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาพาณิชย์ภูมิภาค มีการดำเนินงานเกี่ยวกับช่องการตลาด หากสนใจติดต่อที่ โทร. 02-507 6905, 02-507 6467 E – mail: Sayjaik@moc.go.th

8.จะหาช่องทางการตลาดได้จากไหน

คำตอบ (ต้องเรียนรู้เพื่อเป็นแนวเพาะคำถามไม่เจาะจงประเภทสินค้า)

ช่องทางการตลาดหาได้จากทุกหนทุกแห่งรอบตัว ขึ้นอยู่กับธุรกิจ เช่น มนุษย์ สื่อต่างๆ อินเตอร์เน็ตการตัดสินใจในเรื่องช่องทางการตลาด เป็นการตัดสินใจที่สำคัญ จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะเมื่อตัดสินใจไม่ถูกต้อง จะไม่สามารถทำการปรับเปลี่ยนได้ทันทีทันใด และการตัดสินใจเรื่องช่องทางกาตลาดมักจะมีความสัมพันธ์หรือ มีผลกระทบต่อการตัดสินใจทางการตลาดในด้านอื่น ๆ ด้วยตัวอย่างตัดสินใจเลือกใช้ คนกลาง (intermediaries) เมื่อประเมินแล้วว่า การใช้คนกลางจะช่วยให้การจัดเสนอสินค้าให้แก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือ เห็นว่าการใช้คนกลางทำให้มียอดขายหรือกำไรมากขึ้นกว่าวิธีอื่น ๆ เช่นการตลาดแบบไม่ผ่านคนกลาง (direct marketing) นอกจากนี้ต้องพิจารณาเรื่องงบประมาณ มีพอหรือไม่ และมีความเหมาะสมหรือไม่

การตัดสินใจว่าจะใช้ช่องทางการตลาดแบบใด ผู้ประกอบการ ต้องมีขั้นตอนดำเนินการด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า

2. กำหนดวัตถุประสงค์ในเรื่องช่องทางการตลาด

3. ค้นหาทางเลือกและประเมินแต่ละทางเลือก

4. นับจำนวนของประเภทและจำนวนของช่องทางการตลาดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ทางเลือกต่าง ๆ มากมายหลายช่องทาง ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น

1. การขายโดยตรง หรือ เช่นการส่งจดหมายไปรษณีย์ (mail order) โทรศัพท์(telemarketing) การจำหน่ายทางตรงแบบ door to door เป็นต้น

2. การค้าปลีก ได้พัฒนาจากเดิมร้านค้าปลีกแบบมีผู้ค้าอิสระเป็นเจ้าของร้าน สู่การเป็นร้านค้าปลีกรวมตัวกันเป็นศูนย์กลางในรูปแบบต่าง ๆ (corporate retailing) บริษัทค้าปลีกหลายแห่งรวมตัวกันเป็นศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น มีเครือข่ายมากขึ้น มีสาขามากขึ้น และได้เปรียบในด้านการประหยัดจากขนาดการซื้อครั้งละปริมาณมาก (economy of scale) การมีตรายี่ห้อของร้านค้าปลีก ที่แข็งแกร่งและเป็นที่รู้จักกว้างขวาง และมีการฝึกอบรมพนักงานบริการในร้านเป็นอย่างดี

3. การค้าส่ง ที่ต้องดำเนินการมีหลากหลายไม่จำกัด ได้แก่ การขาย การส่งเสริมการตลาด การจัดซื้อและความหลากหลายของสินค้า (assortment bilding) การแบ่งหน่วยใหญ่ให้เป็นหน่วยย่อย หรือ การแบ่งบรรจุ(bulk breaking) การบริหารคลังสินค้า การขนส่ง การเงิน การรับความเสี่ยง การสื่อสารส่งข่าวสารสนเทศด้านการตลาดแก่ผู้ใช้บริการ การให้บริการด้านบริหารจัดการ และการให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ เป็นต้น

4. การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจเป็นช่องทางการตลาด ซึ่งช่องทางนี้มีประโยชน์เพื่อ

- สนับสนุนการทำงานของพนักงาน

- สื่อสารที่ต้นทุนต่ำสามารถใช้อินเตอร์เนต ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างไร้พรมแดน

- สามารถพัฒนาการติดต่อสื่อสารในการทำธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก

การพัฒนารูปแบบใหม่ของการแข่งขันที่มีอยู่ตลอดเวลา อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางทางการค้าที่ทันสมัย

ซึ่งทำให้ผู้ค้ารายย่อยสามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้โดยการสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า หนทางหนึ่งที่อินเตอร์เน็ตสามารถช่วยผู้ค้ารายย่อย ก็คือ ผู้ค้ารายย่อยสามารถเข้าถึงระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์และระบบเครือข่ายที่มีต้นทุนสูงได้โดยตรงอย่างที่ไม่สามารถ กระทำได้ในอดีตสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมที่จะทำ E-commerce แบบเต็มรูปแบบ ก็สามารถที่จะใช้เวปเพจ ทางอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแสดงสินค้า และเป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจ ได้ติดต่อกลับมา เพื่อเจรจากันภายหลังก็ได้ มีหลายกลุ่มหลายบริษัทที่รับออกแบบเวปเพจ ให้คำปรึกษาทางด้านการทำ E-commerce และ ระบบการตลาดทางอินเตอร์เน็ต โดยแต่ละที่ก็มีราคาค่าใช้จ่ายต่างกันไป ตั้งแต่ระดับ หลักร้อยบาท จนถึงระดับ หลักหมื่น หลักแสน

ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของระบบที่ต้องการ เราสามารถให้ผู้ที่เคยใช้อินเตอร์เน็ต ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ที่รับออกแบบเวปเพจได้ ซึ่งจะพบเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

5. สิ่งสำคัญของการขยายช่องทางธุรกิจเพื่อให้แข่งขันได้คือการคำนึงถึงระบบลอจิสติกส์ (logistics)ลอจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการ/กรรมวิธี ในการขนส่ง เคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการจากต้นทางไปยังปลายทาง

 

ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการ SMEs ในปัจจุบันต้องตัดสินใจและบริหารจัดการเรื่องการประสานงานกับหน่วยต่าง ๆ ได้แก่ Supplier ตัวแทนจัดซื้อ ผู้ผลิต นักการตลาด และลูกค้า เป็นต้น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) เป็นเครื่องมือ สำคัญในการบริหารลอจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็วทันเวลา แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการบริหารลอจิสติกส์จะสูง แต่การวางระบบบริหารจัดการที่ดี และมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างอำนาจการแข่งขันด้านการตลาดให้แก่ธุรกิจได้ดี เป้าหมายสูงสุดของการบริหารการตลาดลอจิสติกส์อยู่ที่ การตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างผลกำไรได้มากขึ้น

 

10. ถ้าจะพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์สู่เกณฑ์คุณภาพ มีขั้นตอนอย่างไร?

คำตอบ

1. ผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ที่สนใจพัฒนาธุรกิจสู่เกณฑ์คุณภาพ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์สู่เกณฑ์คุณภาพธุรกิจ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยติดตามประกาศรับสมัครได้ทางwww.dbd.go.th หรือสอบถามที่สำนักส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ โทร. 02 547 5955

2. เมื่อได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการจะได้ประเมินกิจการของตนตามเกณฑ์คุณภาพธุรกิจโลจิสติกส์ เพื่อวัดระดับว่าสถานประกอบการมีการบริหารจัดการอยู่ในระดับ A (ดีมาก),B (ดี), C (พอใช้) หรือ F (ไม่ผ่านเกณฑ์)

3. หลังจากนั้น ทีมที่ปรึกษาจะให้คำแนะนำ ว่าธุรกิจของท่านควรได้รับการปรับปรุงในด้านใด (โดยคำแนะนำสำหรับแต่ละกิจการจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผลการประเมินกิจการในขั้นตอนที่ 2) รวมถึงชี้แนะวิธีการเพื่อพัฒนาสถานประกอบการให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพหรือมีผลการประเมินในระดับที่สูงขึ้นและให้ผู้ประกอบการนำไปปรับปรุงกิจการของตนเอง โดยใช้ระยะเวลาที่เหมาะสม

4. ผู้ประกอบการทำการประเมินตนเองอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังดำเนินการปรับปรุง/พัฒนาตามคำแนะนำของ ที่ปรึกษาเรียบร้อยแล้ว โดยทีมที่ปรึกษาจะนัดหมายวันเวลา เพื่อตรวจประเมินและรับรองว่าธุรกิจได้มีการปรับปรุงจนผ่านเกณฑ์คุณภาพแล้ว

หมายเหตุ

- ผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถขอรับหนังสือคู่มือเกณฑ์คุณภาพธุรกิจโลจิสติกส์ พร้อมซีดีประเมินผลเพื่อศึกษาทำความเข้าใจและทดลองประเมินกิจการตามเกณฑ์คุณภาพ ได้ที่ส่วนส่งเสริมธุรกิจโลจิสติกส์สำนักส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ โทร. 02 547 5955

- เนื้อหาของเกณฑ์คุณภาพ ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริการ ด้านการตลาด ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ และด้านผลประกอบการ ดังนั้น ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการควรเป็นบุคลากรระดับผู้จัดการหรือผู้บริหาร ที่สามารถประเมินกิจการได้ในทุกๆด้าน ทั้งนี้ เพื่อให้ผลการประเมินสะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด

***************************************

 

ประเด็นคำถามคำตอบ

ของ เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

1. การดาวน์โหลดแบบฟอร์มบนเว็บไซต์

 1.1 ดาวโหลดแบบฟอร์มแล้วพิมพ์ไม่ได้

คำตอบ สอบถามว่ามีโปรแกรม Acrobat Reader ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่ ถ้ามีให้สอบถามว่าใช้ Acrobat Version ไหน

(1) กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ถาม ไม่มีโปรแกรม Acrobat Reader

ให้ติดตั้งโปรแกรม Acrobat Reader Version 9.0 ซึ่งสามารถติดตั้งจากเว็บไซต์กรมฯ หัวข้อ

download แบบฟอร์ม -> คำแนะนำการใช้งาน -> Acrobat reader 9.0

(2) กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ มีโปรแกรม Acrobat Reader แต่ไม่ใช่ Version 9.0

ให้ Remove Acrobat เดิมก่อนแล้วติดตั้งโปรแกรม Acrobat reader Version 9.0 (เหมือนข้อ(1) )

โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องติดตั้ง Acrobat Reader ตัวเดียวเท่านั้น

หลังจากทำข้อ (1) หรือ (2) แล้ว ให้ Update ภาษา ใน Acrobat ด้วยจึงจะสามารถพิมพ์ภาษาไทยในแบบพิมพ์ได้ (ดูข้อ 1.2)

1.2 ดาวโหลดแบบฟอร์มแล้วแต่พิมพ์ภาษาไทยในแบบฟอร์มไม่ได้ (กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีโปรแกรมAcrobat Reader Version 9.0 แล้ว)

คำตอบ ให้เข้าโปแกรม Acrobat Reader -> คลิกเมนู Help -> Check for updates now… -> จากนั้นโปรแกรมจะเช็คว่าได้ติดตั้ง Multilanguage Support แล้วหรือยังถ้ายังให้ทำการ Update เข้าไปด้วย โดยทำตามขั้นตอนของโปรแกรมต่อไป

2.สมัครสมาชิกในเว็บไซต์กรม แล้วเข้าใช้งานไม่ได้

คำตอบ ให้ส่ง mail มาที่ computer@dbd.go.th โดยแจ้ง

- ปัญหาสมัครสมาชิกแล้วไม่สามารถใช้งานได้

- ชื่อ-นามสกุล

- หมายเลขบัตรประชาชน

- email ที่ใช้สมัครสมาชิกในเว็บไซต์กรม

**********************************************__







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี