ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี ปัญหาเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีและปัญหาเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใช้ 1 มกราคม 2554 - 31 ธันวาคม 2566)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม)
bulletคำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ปัญหาเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีและปัญหาเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี

1. ปัญหาเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

          1.1 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอกมีรายการไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

 

ประเด็นปัญหา

แนวทางปฏิบัติ

     เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้รับจากบุคคลภายนอก มีรายการไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจากบุคคลภายนอกหรือบริษัทฯผู้ขายเพื่อใช้เป็นหลักฐานหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีในการจ่ายเงินให้กับบริษัทฯผู้ขายไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงิน

 

     การบัญทึกรายการในบัญชีซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบกิจการจะต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่เชื่อถือได้ว่ามีรายการเกิดขึ้นจริง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชีโดยเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 7(4) จะต้องมีรายการตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่องกำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความ และรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

พ.ศ. 2544

 

 

          1.2 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอกมีรายการไม่     ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

 

ประเด็นปัญหา

แนวทางปฏิบัติ

1. สำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อเป็นหลักฐานในการขายสินค้าโดยยังมิได้มีการชำระเงินหรือตั๋วเงิน ไม่มีลายมือชื่อผู้จัดทำเอกสารและผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ

 

 

2. สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าและใช้เป็นหลักฐานในการรับเงิน ไม่มีลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน

 

 

 

 

3. สำเนาใบแจ้งหนี้/ใบส่งสินค้าที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อเป็นหลักฐานในการขายสินค้าโดยยังมิได้มีการชำระเงินหรือตั๋วเงิน ไม่มีลายมือชื่อผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ

 

     1-3 การบัญทึกรายการในบัญชีซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบกิจการจะต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่เชื่อถือได้ว่ามีรายการเกิดขึ้นจริง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชีโดยเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 7(4) จะต้องมีรายการตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่องกำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

 พ.ศ.2544 กล่าวคือ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก กฎหมายกำหนดให้มีรายการ ดังนี้

     1. ชื่อของผู้จัดทำเอกสาร

     2. ชื่อของเอกสาร

     3. เลขที่ของเอกสารและเล่มที่ (ถ้ามี)

     4. วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร

     5. จำนวนเงินรวม

     6. ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงิน รับฝากเงิน รับชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการ ดังนี้

          6.1 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร

          6.2 สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร

          6.3 ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วยและราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ

          6.4 รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน

          6.5 ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน

     7. ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการจำหน่าย จ่าย โอน ส่งมอบสินค้าหรือบริการโดยยังมิได้มีการชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการตาม

6.1 6.3 แล้ว และรายการ

          7.1 ชื่อหรือชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจและที่อยู่ของผู้ซื้อหรือผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ

          7.2 ลายมือชื่อผู้จัดทำเอกสาร

          7.3 ลายมือชื่อผู้รับสินค้าหรือรับบริการ

 

 

       1.3 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ภายในกิจการ มีรายการไม่

           ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

 

ประเด็นปัญหา

แนวทางปฏิบัติ

1. เอกสารใบสำคัญจ่าย ไม่มีชื่อของกิจการซึ่งเป็นผู้จัดทำเอกสารและไม่มีลายมือชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ

 

 

2. เอกสารใบสำคัญรายวันทั่วไป เอกสารรายวันรับเงิน รายวันจ่ายเงิน ที่ธุรกิจจัดทำขึ้นใช้ภายในกิจการ เพื่อเป็นเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีจ่ายค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัท เงินเดือน ค่าเสื่อมราคา รับชำระเงินค่าหุ้น ฯลฯ ไม่มีลายมือชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ

 

3. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีรายการไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดและไม่น่าเชื่อถือ กล่าวคือ ใบสำคัญจ่าย ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทฯ ที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อใช้ภายในกิจการไม่ได้ระบุชื่อกิจการ ไม่มีลายมือชื่อผู้อนุมัติรายการ และไม่มีเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินที่ได้รับจากบุคคลภายนอกสำหรับบางรายการ เช่น ใบเสร็จรับเงินจ่ายชำระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯที่ได้รับจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น

 

4. เอกสารที่ใช้ประกอบการบันทึกรายการบัญชีค่าเสื่อมราคาไม่มีคำอธิบายรายการ วิธีการและการคำนวณ และไม่มีลายมือชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ

 

     1-4  การบันทึกรายการในบัญชีซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบกิจการจะต้องมีเอกสารทที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่เชื่อถือได้ว่ามีรายการเกิดขึ้นจริง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชีโดยเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 7(4) จะต้องมีรายการตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

พ.ศ. 2544 กล่าวคือ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ภายในกิจการ กฎหมายกำหนดให้มีรายการ ดังนี้

     1. ชื่อของผู้จัดทำเอกสาร

     2. ชื่อของเอกสาร

     3. เลขที่ของเอกสารและเล่มที่ (ถ้ามี)

     4. วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร

     5. จำนวนเงินรวม

     6. คำอธิบายรายการ

     7. วิธีการและการคำนวณต่างๆ  (ถ้ามี)

     8. ลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ

 

2. ปัญหาเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี

          2.1 บันทึกรายการบัญชีไม่สอดคล้องกับเอกสารหลักฐานทางบัญชี

 

ประเด็นปัญหา

แนวทางปฏิบัติ

     กิจการบันทึกรายการในบัญชีไม่สอดคล้องกับเอกสารหลักฐานทางบัญชี ดังนี้

1. วันที่บันทึกบัญชีไม่ตรงกับวันที่ในเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ตัวอย่างเช่น

                                                  วันที่                  วันที่บันทึก  จำนวนเงิน

รายการ                   ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญจ่าย    บัญชี

1. ค่าเครื่องเขียน          06/08/51       01/12/51       01/12/51       450.00

   และแบบพิมพ์

2. ซื้อสินค้า                 13/10/51        01/12/51       01/12/51    1,016.50

3. ค่าใช้จ่ายในการ           -                 10/09/51      05/09/51       400.00

    จัดตั้งบริษัท

 

 

 

2. บริษัทฯนำเงินฝากประจำประเภท 6 เดือน แต่บันทึกรายการบัญชีเป็นรายการเงินฝากออมทรัพย์

 

3. ตามหลักฐาน Debit Note/Receipt Set ของธนาคารระบุเป็นการจ่ายค่าสินค้าตามใบ Invoice จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของกิจการ แต่บริษัทฯบันทึกจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน

 

4. บันทึกอาคารพาณิชย์ที่กิจการนำออกให้เช่าเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายโดยไม่มีการคำนวณค่าเสื่อมราคา

 

5. บันทึกรายการค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเรียกเก็บเป็นรายการดอกเบี้ยจ่าย

 

6. บันทึกรายได้ค่าเช่าในบัญชีรายวันทั่วไปโดย เดบิต รายได้ค่าเช่าและบัญชีภาษีหัก ณ ที่จ่าย เครดิต บัญชีเงินสดแต่ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภทถูกต้อง โดย เดบิต บัญชีเงินสดและบัญชี หัก ณ ที่จ่าย เครดิต บัญชีรายได้

 

7. บันทึกรายการซื้อสินทรัพย์ เป็นค่าใช้จ่าย

8. ตามเอกสารใบเสร็จรับเงินเป็นการซื้อสินค้าเป็นเงินสด แต่กิจการบันทึกรายการบัญชีเป็นซื้อเชื่อ หรือตามเอกสารใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี เป็นการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ แต่กิจการบันทึกรายการเป็นขายสด

 

9. บันทึกรายการจ่ายค่าใช้จ่ายในสมุดรายวันจ่ายเป็นเงินสดแต่เอกสารประกอบการบันทึกรายการในบัญชีปรากฎว่ามีการระบุเลขที่เช็คซึ่งเป็นเช็คส่วนตัวของกรรมการโดยไม่ได้มีการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและกรรมการ

 

10. บันทึกรายการเงินให้กู้ยืมกรรมการเป็นรายการลูกหนี้ค่าหุ้น (ซึ่งตามเอกสารใบรับชำระค่าหุ้นระบุว่ากิจการได้รับชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว)

 

11. บันทึกรายการในบัญชีธนาคาร-กระแสรายวัน ซึ่งเปิดในนามของกิจการ โดยจะแสดงเฉพาะยอดคงเหลือยกมาต้นปี ระหว่างปีไม่มีการบันทึกรายการรับ-จ่าย ซึ่งปรากฏรายการดังกล่าวใน Bank statement แต่จะนำไปบันทึกรวมอยู่ในบัญชีเงินสด และ ณ วันสิ้นรอบปีบัญชีกิจการจะปรับยอดบัญชีเงินฝากธนาคารกับบัญชีเงินสด เพื่อให้ยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคารตรงกับยอดคงเหลือใน Bank statement

 

12. บันทึกรายการจ่ายเงินเดือนพนักงานในสมุดรายวันจ่าย จำนวน 14,000 บาท เต็มจำนวน โดยไม่ได้บันทึกรายการเงินสมทบกองทุนประกันสังคมรอนำส่งของพนักงานซึ่งกิจการหักไว้จำนวนเงิน 700 บาท และวันที่กิจการนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้แก่สำนักงานประกันสังคม ซึ่งตามใบเสร็จรับเงินระบุจำนวนเงิน 1,400 บาท แต่กิจการบันทึกรายการเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเฉพาะในส่วนของนายจ้าง จำนวนเงิน 700 บาท ดังนี้

ณ วันที่จ่ายเงินเดือน

     เดบิต  เงินเดือน                  14,000

               เครดิต  เงินสด                            14,000

 

 

ณ วันที่จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม

     เดบิต  เงินสมทบกองทุนประกันสังคม  700

               เครดิต  เงินสด                                       700

 

 

13. รายการจ่ายค่าผ่อนชำระเงินดาวน์ตามใบเสร็จรับเงินจำนวน 6 ฉบับ ซึ่งระบุเป็นการจ่ายชำระเงินดาวน์งวดเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 25X1 แต่กิจการนำมาบันทึกรายการในสมุดรายวันจ่าย วันที่ 15 มิถุนายน 25X1 วันเดียวทั้ง 6 รายการ

 

 

 

     1-13. การบันทึกรายการในบัญชีจะต้องบันทึกรายการทุกรายการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบกิจการในรอบปีบัญชีนั้น ๆ ตามวันที่เกิดรายการให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีโดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่เชื่อถือได้ว่ามีรายการเกิดขึ้นจริงและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     กิจการควรบันทึกรายการ ดังนี้

ณ วันที่จ่ายเงินเดือน

     เดบิต  เงินเดือน                    14,000

                เครดิต  เงินสมทบฯรอนำส่ง-พนักงาน   700

                            เงินสด                                    13,300

 

ณ วันที่จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม

     เดบิต  เงินสมทบฯรอนำส่ง-พนักงาน    700

                เงินสมทบฯ-นายจ้าง                   700

                เครดิต  เงินสด                                     1,400

 

        

            2.2 บันทึกรายการบัญชีไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี

 

ประเด็นปัญหา

แนวทางปฏิบัติ

     กิจการบันทึกรายการบัญชีไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ดังนี้

1. บันทึกรายการที่ดินและอาคารรวมกันทำให้คิดค่าเสื่อมราคาอาคารสูงไป

 

 

 

 

 

2. ไม่คิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ซึ่งกิจการชี้แจงว่าเป็นนโยบายของบริษัทที่จะไม่หักค่าเสื่อมราคาตั้งแต่ต้น

 

3. กิจการหยุดคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ เนื่องจากในรอบปีบัญชีนั้น กิจการหยุดดำเนินกิจการ

 

4. คิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ไม่ครบถ้วนทุกรายการ

 

5. บันทึกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์โดยนำไปหักกับสินทรัพย์โดยตรง ดังนั้น ในบัญชีแยกประเภทของสินทรัพย์แต่ละประเภทจะแสดงยอดยกมาและยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นปีด้วยยอดสุทธิหลังจากหักค่าเสื่อมราคาในแต่ละปี ไม่ได้แสดงราคาทุนเริ่มแรก และไม่ได้แสดงรายการค่าเสื่อมราคาสะสม

 

6. บันทึกรายการดอกเบี้ยเช่าซื้อรวมเป็นราคาทุนของยานพาหนะที่เช่าซื้อ เป็นผลทำให้การบันทึกรายการยานพาหนะและการคำนวณค่าเสื่อมราคายานพาหนะสูงไป

 

 

7. บันทึกรายการดอกเบี้ยเช่าซื้อ เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน ณ วันที่ทำสัญญา

 

8. กิจการนำเงินดาวน์จากการเช่าซื้อรถยนต์ไปบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย

 

 

9. บริษัทฯ มีการบันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร จำนวนเงิน

13,404.30 บาท โดย

   

 เดบิต  บัญชีเงินสด                   13,404.30

            เครดิต  บัญชีกำไร(ขาดทุน)สะสม    13,404.30

 

 

10. บันทึกรายการซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่จ่ายชำระเงิน ทำให้ไม่ปรากฏรายการกำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

 

 

 

11. บันทึกรายการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 25X1 ถึง 30 เมษายน 25X2 จำนวน 12,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายในรอบปีบัญชี 25X1 ทั้งจำนวน โดยบันทึกรายการในบัญชี ดังนี้

     เดบิต  ค่าเบี้ยประกันภัย               12,000

                เครดิต  เงินสด                                  12,000

 

     

     1. ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ กำหนดว่าหากสินทรัพย์มีส่วนประกอบสำคัญที่มีอายุการใช้งานต่างกัน กิจการควรบันทึกสินทรัพย์แยกต่างหากจากกันซึ่งปกติที่ดินเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานไม่จำกัด ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา ดังนั้น กิจการต้องแยกรายการที่ดินออกจากรายการอาคาร

    

      2-4. มาตรการบัญชีกำหนดให้ หลังจากที่กิจการรับรู้รายการเป็นสินทรัพย์แล้ว กิจการต้องปันส่วนมูลค่าเสื่อมสภาพของสินทรัพย์เป็นค่าเสื่อมราคาอย่างมีระบบตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์

     ดังนั้น ในช่วงที่กิจการหยุดดำเนินงานกิจการยังคงต้องคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ด้วย

 

 

     5. การบันทึกรายการค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ จะต้องบันทึกบัญชีโดย

     เดบิต  บัญชีค่าเสื่อมราคา             XX

                เครดิต  บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม        XX

 

 

     6-8. ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาเช่า ผู้เช่าต้องรับรู้สัญญาเช่าการเงินเป็นสินทรัพย์และหนี้สินในงบดุลของผู้เช่าด้วยจำนวนเงินที่ต่ำกว่าระหว่างมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า ณ วันเริ่มต้นสัญญาเช่ากับมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งหมด ส่วนผลต่างระหว่างจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าทั้งสิ้นตลอดอายุของสัญญาเช่ากับหนี้สินที่บันทึกในตอนแรกจะเป็นค่าใช้จ่ายทางการเงินซึ่งจะต้องปันส่วนให้กับงวดต่างๆ ตลอดอายุสัญญาเช่าโดยกิจการอาจบันทึกไว้ในบัญชีดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี และทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเช่าซื้อตามงวดที่ถึงกำหนดจ่ายชำระ

 

     9. ตามหลักการบัญชีกิจการต้องบันทึกรายการบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการประกอบกิจการ ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายบางรายการที่ประมวลรัษฎากรไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษี กิจการเพียงแต่นำรายการที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากรบวกกลับในแบบ

ภ.ง.ด.50 ไม่ต้องปรับปรุงรายการดังกล่าวในบัญชี

 

     10. ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กำหนดให้กิจการต้องรับรู้ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจากการจ่ายชำระซึ่งเป็นอัตราที่แตกต่างไปจากเดิม โดยให้รับรู้เป็นรายได้-ค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้น

 

     11. กิจการควรบันทึกรายการ ดังนี้

     เดบิต  ค่าเบี้ยประกันภัย               12,000

                เครดิต  เงินสด                                 12,000

ณ 31 ธันวาคม 25X1 กิจการต้องปรับปรุงรายการโดย

     เดบิต  ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า    4,000

                เครดิต  ค่าเบี้ยประกันภัย                     4,000

         

 

           2.3 บันทึกรายการในบัญชีไม่ครบถ้วน

 

ประเด็นปัญหา

แนวทางปฏิบัติ

     กิจการบันทึกรายการในบัญชีไม่ครบถ้วน ดังนี้

1. ไม่ได้บันทึกรายการดอกเบี้ยรับธนาคาร จำนวน

546.20 บาท

 

2. ไม่ได้บันทึกรายการดอกเบี้ยค้างรับจากเงินฝากประจำธนาคาร

 

3. ไม่ได้บันทึกรายการปรับปรุงดอกเบี้ยเช่าซื้อเป็นค่าใช้จ่ายตามงวดที่ถึงกำหนดจ่ายชำระ

 

4. ไม่ได้บันทึกรายการในบัญชี กล่าวคือ มีเอกสารต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ต้นฉบับใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเป็นเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีแต่ไม่นำมาบันทึกบัญชี

 

5. ไม่บันทึกรายการซื้อสินค้าบางรายการ

 

6. ณ วันสิ้นปี ไม่ได้บันทึกรายการปิดบัญชีรายได้ ค่าใช้จ่าย เข้าบัญชีกำไร(ขาดทุน)สุทธิ และไม่ได้ปิดบัญชีกำไร(ขาดทุน) สุทธิ เข้าบัญชีกำไร(ขาดทุน)สะสม

 

7.  ไม่บันทึกดอกเบี้ยจ่ายนับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากับสถาบันการเงิน หรือไม่บันทึกดอกเบี้ยจ่ายของเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารที่เปิดในนามของกิจการ

 

 

 

     1-6. การบันทึกรายการในบัญชีจะต้องบันทึกรายการทุกรายการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบกิจการในรอบปีบัญชีนั้นและบันทึกให้ตรงกับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     7. ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเป็นภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่สามารถวัดค่าได้ค่อนข้างแน่นอน กิจการต้องเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรในอนาคต เพื่อชำระภาระผูกพัน ดังนั้น ณ วันสิ้นรอบปีบัญชี กิจการต้องรับรู้ดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนและดอกเบี้ยค้างจ่ายเป็นหนี้สินในงบดุล

         

 

           2.4 บันทึกรายการในบัญชีโดยไม่มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

 

ประเด็นปัญหา

แนวทางปฏิบัติ

     กิจการบันทึกรายการในบัญชีโดยไม่มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ดังนี้

1. บันทึกรายการเงินกู้ยืม-เงินให้ยืมกรรมการในสมุดรายวันเงินสด โดยไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชี ตามที่ระบุในบัญชี

 

2. บันทึกรายการปรับปรุงบัญชีค่าสอบบัญชีค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างรับ ค่าเสื่อมราคา ฯลฯ  ณ วันสิ้นปีในสมุดรายวันทั่วไปโดยไม่มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามที่ระบุในบัญชี

 

3. บันทึกรายการในสมุดรายวันจ่าย โดยไม่มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามที่ระบุในบัญชี เช่น บันทึกรายการจ่ายค่าทำบัญชี

 

4. บันทึกจำนวนวัตถุดิบ(ผ้า) ที่เบิกไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป(ผ้าปูที่นอน) และบันทึกจำนวนสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตได้ในบัญชีรายงานสินค้าและรายงานวัตถุดิบโดยไม่มีเอกสารประกอบการลงรายการในบัญชี

 

    

     1-4. การบันทึกรายการในบัญชีซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบกิจการจะต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่เชื่อถือได้ว่ามีรายการเกิดขึ้นจริง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชีโดยเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              

 

           2.5 อื่นๆ

 

ประเด็นปัญหา

แนวทางปฏิบัติ

1. กิจการลงรายการในบัญชีเป็นภาษาต่างประเทศโดยไม่มีภาษาไทยกำกับหรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีโดยไม่มีคำแปลที่เป็นภาษาไทยกำกับ

 

 

 

 

 

 

2. กิจการมีการจ่ายเงินปันผลแต่ไม่บันทึกรายการจัดสรรกำไรสะสมเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย

     1. การบันทึกรายการในบัญชีจะต้องบันทึกให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

มาตรา 21 คือ

          1.1 ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับหรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือคำแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้

          1.2 เขียนด้วนหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน

     

     2. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท) กำหนดว่า ทุกครั้งที่จ่ายเงินปันผล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อย

1 ใน 20 ส่วนของจำนวนผลกำไรซึ่งบริษัททำมาหาได้จากกิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึง 1 ใน 10 ของจำนวนทุนของบริษัท หรือมากกว่านั้นแล้วแต่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท

              

 

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

 

 

   ตัวอย่างใบรับ/ใบเสร็จรับเงิน/บิลเงินสด ที่นำมาใช้เป็นหลักฐานประกอบการหักรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

ต้องมีข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้

 

ตัวอย่างเอกสารประกอบการหักค่าใช้จ่ายจริง