ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใช้ 1 มกราคม 2554 - 31 ธันวาคม 2566)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม)
bulletคำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

 

วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

 

กิจการซื้อขายสินค้าจะมีการซื้อสินค้ามาเพื่อขายให้เพียงพอและมีการสำรองสินค้าไว้เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากิจการมีสินค้าพร้อมขายตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีจึงต้องมีการตรวจนับและตีราคาสินค้าว่าคงเหลืออยู่เป็นจำนวนเงินเท่าใด จะบันทึกเป็น “สินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดบัญชี หรือสินค้าคงเหลือปลายงวด” นำไปแสดงเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนในงบดุล

 

วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้ามี 2 วิธี คือ

 

1.       วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง  ( Perpetual Inventory Method )

         วิธีนี้กิจการจะเปิด "บัญชีสินค้าคงเหลือ"ขึ้นเพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้าที่เกิดขึ้นตลอดปีดำเนินงาน โดยบันทึกมูลค่าของสินค้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าการส่งคืนรับคืนดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือคือ สินค้าที่ยังเหลืออยู่และยังมิได้ขายซึ่งจะทำให้ทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ขายสินค้าราคาแพง ข้อดีของวิธีนี้คือ ทำให้สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา จากบัญชีสินค้าคงเหลือโดยไม่ต้องมีการตรวจนับสินค้า ข้อเสีย คือ การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินค้า
นั้นจะทำให้มีการบันทึกบัญชีค่อนข้างมาก

 

การบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้ามีดังนี้

1. ซื้อสินค้า เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาเพื่อขายจะมีผลกระทบต่อบัญชีสินค้าคงเหลือ นั่นคือมีจำนวนสินค้าเพิ่มขึ้น

 

กรณีซื้อสินค้าเป็นเงินสด

                   เดบิต สินค้าคงเหลือ                        xx

                              ภาษีซื้อ                                    xx

                              เครดิต เงินสด                             xx

กรณีซื้อสินค้าเงินเชื่อ

                 เดบิต สินค้าคงเหลือ                        xx

            ภาษีซื้อ                                      xx

                              เครดิต เจ้าหนี้                             xx

 

2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายนำเข้า ค่าภาษีขาเข้า ฯลฯ เมื่อกิจการซื้อสินค้า ตามวิธีนี้ จะบันทึกค่าใช้จ่ายในการซื้อ ในบัญชีสินค้าคงเหลือทางด้านเดบิต เนื่องจากทำให้สินค้ามีต้นทุนเพิ่มขึ้น

     เดบิต สินค้าคงเหลือ                        xx

                ภาษีซื้อ                  xx

                              เครดิต เงินสด                            xx

3. การส่งคืน การส่งคืนสินค้าเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ซื้อได้รับสินค้าไม่ถูกต้องตามที่สั่งซื้อ ตามวิธีนี้จะบันทึกการส่งคืนเข้าบัญชีสินค้าคงเหลือทางเครดิต เนื่องจากมีผลทำให้ต้นทุนของสินค้าลดลง

กรณีส่งคืนสินค้าที่เป็นเงินสด

                 เดบิต เงินสด                                xx

                              เครดิต สินค้าคงเหลือ                    xx

           ภาษีซื้อ                                xx

กรณีคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อ

                 เดบิต เจ้าหนี้การค้า                         xx

                              เครดิต สินค้าคงเหลือ                    xx

           ภาษีซื้อ                                xx

4. ส่วนลดรับ ในกรณีที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และผู้ขายมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขส่วนลดเงินสด ตามวิธีจะบันทึกเข้าบัญชีสินค้าคงเหลือทางด้านเครดิต เนื่องจากมีผลทำให้ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อลดลง

เดบิต เจ้าหนี้การค้า                        xx

                              เครดิต เงินสดหรือธนาคาร              xx

                                           สินค้าคงเหลือ                        xx

 

การบันทึกบัญชีเกี่ยวข้องกับการขายสินค้า ดังนี้

1. ขายสินค้า รายได้จากการขายสินค้าจะบันทึกเข้าบัญชีขาย การขายสินค้าตามวิธีนี้ ต้องบันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายทุกครั้งที่มีการขาย

1. บันทึกการขาย

กรณีขายสินค้าเป็นเงินสด

                 เดบิต เงินสด/ธนาคาร                    xx

                                 เครดิต ขาย                              xx

                                                              ภาษีขาย                     xx

กรณีขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ

                                   เดบิต ลูกหนี้การค้า                       xx

                                 เครดิต ขาย                              xx

                                                              ภาษีขาย                     xx

2. บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขาย

เดบิต ต้นทุนขาย                          xx

                             เครดิต สินค้าคงเหลือ                   xx

2. ค่าใช้จ่ายในการขาย กิจการขายสินค้า และเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขายต่างๆเช่น ค่าขนส่ง กิจการ จะบันทึกเข้าบัญชีค่าใช้จ่ายในการขาย เป็นบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย

เดบิต ค่าใช้จ่ายในการขาย-ค่า......                        xx

           ภาษีซื้อ (ถ้ามี)                                               xx

                               เครดิต เงินสด                                                   xx

3. รับคืนสินค้า ในระหว่างการขนส่ง สินค้าอาจจะชำรุดเสียหาย ผิดขนาด คุณภาพไม่ตรงตามที่ระบุหรือสินค้ามีตำหนิ การบันทึกบัญชีตามวิธีนี้ จะบันทึก 2 ขั้นตอน โดยบันทึกการรับคืนสินค้าในราคาขาย และบันทึกราคาทุนของสินค้าที่รับคืน

กรณีรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินสด

        3.1 บันทึกการรับคืนสินค้าในราคาขาย

               เดบิต รับคืน                              xx

          ภาษีขาย                          xx

                              เครดิต เงินสด                          xx

       3.2. บันทึกราคาทุนของสินค้าที่รับคืน

              เดบิต สินค้าคงเหลือ                      xx

                              เครดิต ต้นทุนขาย                     xx

            กรณีรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อ

                3.2.1 บันทึกการรับคืนสินค้าในราคาขาย

                                 เดบิต รับคืนสินค้า                              xx

            ภาษีขาย                                     xx

                                 เครดิต ลูกหนี้การค้า                  xx

3.2.2. บันทึกราคาทุนของสินค้าที่รับคืน

                                 เดบิต สินค้าคงเหลือ                     xx

                                  เครดิต ต้นทุนขาย                    xx

4. ส่วนลดจ่าย กรณีที่ผู้ขายขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ ผู้ขายจะให้ส่วนลดเงินสดแก่ผู้ซื้อ โดยจะบันทึกในบัญชี “ส่วนลดจ่าย” ซึ่งมีผลทำให้มูลค่าขายสินค้าลดลง

เดบิต      เงินสด/ธนาคาร                   xx

                                 ส่วนลดจ่าย                           xx

                                                เครดิต ลูกหนี้การค้า                  xx

ต้นทุนสินค้าที่ขาย

ตามวิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่องทุกครั้งที่มีรายการขายสินค้าการบันทึกต้นทุนสินค้าขายด้วยและเมื่อมีการรับคืนจะบันทึกลดยอดต้นทุนสินค้าที่ขาย โดยต้นทุนสินค้าที่ขายนี้ จะบันทึก “ต้นทุนขาย” วันสิ้นงวด บัญชีต้นทุนขายจะถูกปิดไปเข้าบัญชีกำไรขาดทุน

 

                2. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด ( Periodic Inventory Method )

วิธีนี้จะไม่มีการบันทึก “บัญชีสินค้าคงเหลือ” ในระหว่างงวดดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือจะเป็นยอดของสินค้าคงเหลือ ณ วันต้นงวดและจะไม่บันทึกต้นทุนขายของสินค้าทุกครั้งที่มีการขาย วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดนี้ เมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือของสินค้า ณ วันใดวันหนึ่ง จะต้องทำการตรวจนับและตีราคาสินค้าคงเหลือ และถ้าต้องการทราบต้นทุนของสินค้าที่ขายต้องทำการคำนวณ

ดังนั้นเมื่อถึงวันสิ้นงวดจึงต้องทำการตรวจนับบัญชีสินค้าคงเหลือเพื่อนำมาบันทึกเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวดวิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่มีการขายในปริมาณมากเช่นห้างสรรพสินค้าข้อดีของวิธีนี้คือการบันทึกบัญชีทำได้ง่ายและประหยัดเวลาข้อเสียคือไม่สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าคงเหลือได้ทันทีต้องทำการตรวจนับ

 

การบันทึกบัญชีเกี่ยวข้องกับซื้อสินค้ามีดังนี้

1. ซื้อสินค้า เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาจะบันทึกเข้าบัญชีซื้อด้วยราคาทุนที่ซื้อ

กรณีซื้อสินค้าเป็นเงินสด

                   เดบิต ซื้อ                                 xx

                               ภาษีซื้อ                        xx

                                  เครดิต เงินสด                      xx

กรณีซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ

                   เดบิต ซื้อ                                 xx

                              ภาษีซื้อ         xx

                                  เครดิต เจ้าหนี้                       xx

2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น ค่าขนส่งเข้า ค่าใช้จ่ายนำเข้า ค่าภาษีขาเข้า ฯลฯ เมื่อกิจการซื้อสินค้า ตามวิธีนี้ จะบันทึกค่าใช้จ่ายในการซื้อ ในบัญชีค่าใช้จ่ายประเภทนั้นๆ ทางด้านเดบิต

เดบิต      ค่าขนส่งเข้า                          xx

                                ค่าใช้จ่ายนำเข้า                    xx                                               

                                ค่าภาษีขาเข้า                         xx

ภาษีซื้อ                                  xx

  เครดิต เงินสด                                                   xx

3. ส่งคืนสินค้า การส่งคืนสินค้าเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ซื้อได้รับสินค้าไม่ถูกต้องโดยจะบันทึกเข้าบัญชีส่งคืน

              กรณีส่งคืนสินค้าเป็นเงินสด

                 เดบิต เงินสด                            xx

ภาษีซื้อ                                  xx

                                 เครดิต ส่งคืน                        xx

              กรณีส่งคืนสินค้าเป็นเงินเชื่อ

                 เดบิต เจ้าหนี้                             xx

ภาษีซื้อ                                  xx

                                เครดิต ส่งคืน                         xx

4. ส่วนลดรับ ในกรณีที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และผู้ขายมีเงื่อนไขในการให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด

เดบิต เจ้าหนี้                             xx

                                เครดิต   เงินสด/ธนาคาร              xx

                                               ส่วนลดรับ                     xx

 

 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการขายสินค้า

1. ขายสินค้า รายได้จากการขายสินค้าจะบันทึกเข้าบัญชีขาย และไม่ต้องบันทึกต้นทุนขายทุกครั้งที่มีการขาย

กรณีขายสินค้าเงินสด

                                เดบิต เงินสด/ธนาคาร                xx                                   

                                   เครดิต ขาย                          xx

                                                                ภาษีขาย                 xx

กรณีขายสินค้าเงินเชื่อ

                                 เดบิต ลูกหนี้                            xx

                                 เครดิต   ขาย                           xx

ภาษีขาย                 xx

2. ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าขนส่ง เมื่อกิจการขายสินค้าเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งจะบันทึกเข้าบัญชีค่าขนส่งออก

                เดบิต      ค่าขนส่งออก                     xx

ภาษีซื้อ                              xx

                                เครดิต เงินสด                        xx

3. รับคืนสินค้า จะบันทึกเพียงรับคืนสินค้าในราคาขายเท่านั้น

เดบิต      รับคืน                                     xx

                ภาษีขาย                                 xx

                               เครดิต เงินสด                         xx

4. ส่วนลดจ่าย ในกรณีที่ผู้ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขส่วนลดเงินสด โดยจะบันทึกในบัญชี “ส่วนลดจ่าย”

                เดบิต เงินสด/ธนาคาร                xx

                        ส่วนลดจ่าย                      xx

                               เครดิต ลูกหนี้การค้า                  xx

 

 การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย (Cost of Goods’ sold)

บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด จะไม่มีการบันทึกต้นทุนขายเมื่อมีการขายหรือรับคืน ดังนั้นเมื่อต้องการทราบต้นทุนสินค้าที่ขายจึงต้องคำนวณ ดังนี้

                  ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสุทธิ – สินค้าคงเหลือปลายงวด

       และ   ซื้อสุทธิ = ซื้อ + ค่าใช้จ่ายในการซื้อ – ส่งคืน – ส่วนลดรับ

 

โดยสินค้าคงเหลือต้นงวดได้มาจากยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือ ส่วนสินค้าคงเหลือปลายงวดได้มาจากการตรวจนับและตีราคาสินค้า ณ วันสิ้นงวด

 

การตีราคาสินค้าคงเหลือ

ไม่ว่าจะบันทึกสินค้าด้วยวิธีใดก็ตาม จำนวนเงินของสินค้าคงเหลือปลายงวดจะต้องตีราคาให้ถูกต้องและเหมาะสม การตีราคาสินค้าคงเหลือ ตามมาตรฐานการบัญชี ให้ใช้ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า (Lower of cost or Net realizable Value)

มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Net realizable Value) หมายถึง ราคาที่คาดว่าจะขายได้ หัก ต้นทุนส่วนเพิ่มที่จะผลิตต่อให้เสร็จ (กรณีที่เป็นสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิต) และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้

 

การคำนวณราคาทุนของสินค้าคงเหลือ

               

International Accounting Standard หรือ IAS สนับสนุนให้ใช้วิธีคำนวณหาราคาทุนของสินค้าคงเหลือได้ 4 วิธีดังนี้

1.       Specific Identification Method (วิธีราคาเจาะจง)

2.       First in – First out Method หรือ FIFO (วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน)

3.       Weighted Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก)

4.       Moving Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่)

 

Specific Identification Method (วิธีราคาเจาะจง)

                วิธีราคาเจาะจงเหมาะสำหรับกิจการที่จำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่มากๆ หรือสินค้าราคาสูงมากและมีสินค้าจำหน่ายในท้องตลาดจำนวนไม่มาก เช่น เครื่องบิน เครื่องจักร หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งสามารถชี้เฉพาะเจาะจงลงไปได้ว่าสินค้าชิ้นนั้นมีราคาทุนเท่าใด วิธีราคาเจาะจงนี้ใช้ได้ทั้งกรณีที่กิจการบันทึกสินค้าแบบ  Periodic Inventory และ Perpetual Inventory ซึ่งทั้งสองวิธีนั้นจะคำนวณเช่นเดียวกัน

 

First in – First out Method หรือ FIFO (วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน)

                วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน เป็นวิธีที่นิยมใช้ในทางปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับกิจการที่มีสินค้าจำนวนมาก การตีราคาสินค้าตามวิธีนี้ถือว่าสินค้าใดซื้อมาก่อนจะถูกนำไปขายก่อน สินค้าที่เหลืออยู่จะเป็นสินค้าที่ซื้อมาครั้งหลังสุดตามลำดับย้อนขึ้นไป ส่วนต้นทุนสินค้าที่ขายจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาจากครั้งแรกสุดไล่ลงมาตามลำดับการซื้อ

 

Weighted Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก)

                วิธีนี้ถือว่าราคาทุนถัวเฉลี่ยของสินค้าต่อหน่วยเป็นจำนวนเงินของสินค้าที่ไว้ขายทั้งสิ้น ซึ่งยกมาจากต้นงวด บวก สินค้าที่ซื้อมาระหว่างงวด หารด้วยจำนวนหน่วยของสินค้าที่มีไว้ขายทั้งสิ้น จำนวนเงินของสินค้าคงเหลือคำนวณได้โดยนำจำนวนสินค้าที่เหลือคูณกับราคาทุนถัวเฉลี่ยต่อหน่วย วิธีนี้มีข้อจำกัดคือ ใช้ได้เฉพาะกิจการที่บันทึกสินค้าแบบ  Periodic Inventory Method เท่านั้น

 

Moving Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่)

                วิธีนี้จะต้องคำนวณราคาทุนของสินค้าต่อหน่วยทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าเข้ามา ต้นทุนของสินค้าที่ขายจะใช้ราคาทุนต่อหน่วยซึ่งคำนวณไว้ในครั้งสุดท้ายก่อนการขายนั้น ข้อจำกัดของวิธีนี้ คือ ใช้ได้เฉพาะกิจการที่บันทึกบัญชีสินค้าแบบ Perpetual Inventory Method เท่านั้น

 

การปรับราคาทุนที่ลดลงเนื่องจากมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่าราคาทุน

                เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาขายไม่ว่าจะบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic Inventory Method หรือ Perpetual Inventory Method ณ วันสิ้นงวดบัญชีกิจการต้องตีราคาสินค้าในราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า กรณีที่มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Net realizable Value) ต่ำกว่า ต้องทำการปรับปรุงราคาทุนที่ลดลง

 

วิธีการบัญทึกบัญชีปรับราคาทุนที่ลดลงทำได้ดังนี้

ก. ถ้ากิจการบันทึกสินค้าแบบ Periodic Inventory Method ทำได้ 3 วิธี คือ

1. ผลขาดทุนเนื่องจากมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่าราคาทุน ไม่แสดงแยกต่างหาก ให้รวมอยู่ในส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย

                จะบันทึกบัญชีโดย

                เดบิต      สินค้าคงเหลือ (งบดุล)                                                       xx

                                เครดิต    การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ (งบกำไรขาดทุน)    xx                                                         (สินค้าคงเหลือต้นงวด – ปลายงวด)

ซึ่งอาจอยู่เดบิตหรือเครดิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าปลายงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากต้นงวด

 

2. แสดงผลขาดทุนแยกต่างหากในบัญชีขาดทุนจากการลดราคาสินค้า

                จะบันทึกบัญชีโดย

                เดบิต      สินค้าคงเหลือ      (งบดุล)                                                  xx

                                ขาดทุนจากการลดราคาสินค้า (งบกำไรขาดทุน)          xx

                                เครดิต    การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ (งบกำไรขาดทุน)    xx                                                         (สินค้าคงเหลือต้นงวด – ปลายงวด)

ซึ่งอาจอยู่เดบิตหรือเครดิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าปลายงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากต้นงวด

3. แสดงผลขาดทุนแยกต่างหากในบัญชีขาดทุนจากการลดราคาสินค้า โดยปรับปรุงคู่กับการตั้งบัญชีค่าเผื่อการลดราคาสินค้า

                จะบันทึกบัญชีโดย

                เดบิต      สินค้าคงเหลือ (งบดุล)                                                       xx

                                เครดิต    การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ (งบกำไรขาดทุน)    xx                                                         (สินค้าคงเหลือต้นงวด – ปลายงวด)

ซึ่งอาจอยู่เดบิตหรือเครดิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าปลายงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากต้นงวด

               

                เดบิต      ขาดทุนจากการลดราคาสินค้า (งบกำไรขาดทุน)          xx

                                เครดิต    ค่าเผื่อการลดราคาสินค้า (งบดุล)                                     xx

 

วิธีนี้จะแสดงสินค้าคงเหลือปลายงวดในราคาทุน โดยนำผลขาดทุนจากการลดราคาสินค้าไปหักออกจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ส่วนบัญชีค่าเผื่อการลดราคาสินค้านั้นจะนำไปหักออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือในงบดุล




ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับบัญชีและภาษีอากร

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี