การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ (Account Receivables)
ลูกหนี้ เป็นสิทธิเรียกร้องที่กิจการมีต่อบุคคลอื่นในการที่จะให้ชำระหนี้ด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์อย่างอื่นโดยคาดหมายว่าจะได้รับชำระเต็มจำนวนเมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้เป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งของกิจการต้องแสดงในงบการเงินด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ
ลูกหนี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ลูกหนี้การค้า
2. ลูกหนี้อื่นๆ
3. รายได้ค้างรับ
การตีราคาบัญชีลูกหนี้
หากกิจการคาดว่าจะมีจำนวนหนี้ที่อาจเก็บไม่ได้หรือต้องให้ส่วนลดในการรับชำระหนี้ก็ดี ควรตั้งประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้และนำไปแสดงหัก ออกจากยอดลุกหนี้ เพื่อให้ได้สินทรัพย์ประเภทลูกหนี้ซึ่งเป็นตัวเงินที่แท้จริง
วิธีการประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทำได้ 2 วิธี
1. ประมาณจากยอดลูกหนี้
2. ประมาณจากยอดขาย
3.
การบันทึกบัญชีกรณีที่เก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้
การบันทึกบัญชี กรณีที่เก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ มี 2 วิธี คือ
1. วิธีตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance Method)
เมื่อสิ้นงวดบัญชีต้องประมาณการจำนวนลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ แล้วบันทึกรายการปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่าย โดย
เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ xx
เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xx
2. วิธีตัดจำหน่ายโดยตรง (Direct Write off Method)
เมื่อกิจการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ เรียกว่า หนี้สูญ เป็นลูกหนี้ที่ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้จึงตัดจำหน่ายยอดจากบัญชี โดยบันทึกบัญชีหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายและลดยอดบัญชีลูกหนี้การค้า
เดบิต หนี้สูญ (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) xx
เครดิต ลูกหนี้การค้า xx
การบันทึกสำหรับการตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญ
การตัดบัญชีลูกหนี้เป็นหนี้สูญ หากกิจการได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว และไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ กิจการสามารถตัดลูกหนี้ให้เป็นหนี้สูญได้ และต่อมาภายหลังหนี้สูญดังกล่าวนำเงินมาชำระหนี้ กิจการจะบันทึกบัญชีได้ 2 กรณี ดังนี้
กรมสรรพากรยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ |
กรมสรรพากรไม่ยอมให้หักเป็นค่าใช้จ่าย |
วันที่ตัดยอดลูกหนี้เป็นหนี้สูญ เดบิต หนี้สูญ xx เครดิต ลูกหนี้ xx ตัดบัญชีหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ |
เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xx เครดิต ลูกหนี้ xx ตัดบัญชีหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้
|
เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xx เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ xx ลดยอดบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ |
-- |
หนี้สูญรับคืน เดบิต เงินสด xx เครดิต หนี้สูญได้รับคืน xx ได้รับเงินคืนจากลูกหนี้ที่ตัดเป็นหนี้สูญ |
เดบิต เงินสด xx เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xx ได้รับเงินคืนจากลูกหนี้ที่ตัดเป็นหนี้สูญ
|
การหาเงินสดโดยใช้บัญชีลูกหนี้
กิจการอาจนำบัญชีลูกหนี้ที่มีระยะเวลาชำระนานและมีจำนวนมากไปใช้ในการหาเงินสดเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในกิจการ หากกิจการมีเงินสดไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย โดยสามารถทำได้ 3 วิธี
1. ขายบัญชีลูกหนี้
2. นำบัญชีลูกหนี้ไปค้ำประกันเงินกู้
3. โอนบัญชีลูกหนี้
วิธีที่ 1 การขายบัญชีลูกหนี้
การขายบัญชีลูกหนี้ (Sales or Factoring of Accounts receivable) วิธีนี้บริษัทจะขายบัญชีลูกหนี้ให้แก่บริษัทการเงิน หรือ บริษัท แฟ็กตอริ่ง ในราคาที่ต่ำกว่ายอดลูกหนี้ซึ่งปรากฏอยู่ในบัญชี ซึ่งบริษัทการเงินจะรับซื้อเป็นจำนวนเงินตามใบกำกับสินค้า/ใบกำกับภาษี หักด้วยส่วนลดเงินสด ค่านายหน้า ค่าป่วยการ และจำนวนเงินที่เผื่อไว้สำหรับค่าสินค้าที่รับคืนเป็นอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่รับซื้อ
การขายบัญชีลูกหนี้แยกออกได้เป็น 2 กรณี
1. ขายบัญชีลูกหนี้โดยผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สูญ (Sale of Receivable without Recourse)
วิธีการบันทึกบัญชี
รายการ |
การบันทึกบัญชีของผู้ขาย |
การบันทึกบัญชีของผู้ซื้อ |
1. เมื่อมีการขายลูกหนี้ |
เงินสด xx
ค่าธรรมเนียมจาก-
การขายบัญชีลูกหนี้ xx
เงินประกันค่าใช้จ่าย xx
ลูกหนี้ xx |
ลูกหนี้ xx
เงินสด xx
รายได้ค่าบริการ xx
เงินประกัน-
ค่าใช้จ่าย xx |
2. เมื่อบริษัทการเงินเก็บหนี้ได้และมีการรับคืนสินค้า มีส่วนลดจ่ายให้ลูกค้า หนี้สูญบางส่วน |
รับคืนสินค้า xx
ส่วนลดจ่าย xx
เงินประกันค่าใช้จ่าย xx |
เงินสด xx
เงินประกันจ่าย xx
หนี้สูญ xx
ลูกหนี้ xx |
3. บริษัทการเงินจ่ายเงินประกันคืนส่วนที่เหลือ |
เงินสด xx
เงินประกันค่าใช้จ่าย xx |
เงินประกันค่าใช้จ่าย xx
เงินสด xx |
2. ขายบัญชีลูกหนี้โดยผู้ขายต้องรับผิดชอบในหนี้สูญ (Sale of Receivable with Recourse)
รายการ |
ผู้ขาย- ถ้าถือเป็นการขาย |
ผู้ขาย- ถ้าถือเป็นการกู้ยืม |
1. เมื่อมีการขายลูกหนี้ |
เงินสด xx
ค่าธรรมเนียมจาก-
การขายบัญชีลูกหนี้ xx
เงินประกันค่าใช้จ่าย xx
ลูกหนี้ xx |
เงินสด xx
ส่วนลดจาก-
การโอนลูกหนี้ xx
เงินประกันค่าใช้จ่าย xx
หนี้สินที่เกิดจาก
การโอนลูกหนี้ xx
|
2. เมื่อบริษัทการเงินเก็บหนี้ได้และมีการรับคืนสินค้า มีส่วนลดจ่ายให้ลูกค้า หนี้สูญบางส่วน |
รับคืนสินค้า xx
ส่วนลดจ่าย xx
หนี้สูญ xx
เงินประกันค่าใช้จ่าย xx
|
รับคืนสินค้า xx
ส่วนลดจ่าย xx
หนี้สูญ xx
เงินประกันค่าใช้จ่าย xx
|
|
|
หนี้สินที่เกิดจาก
การโอนลูกหนี้ xx
ลูกหนี้ xx |
|
|
ดอกเบี้ยจ่าย xx
ส่วนลดจาก-
การโอนลูกหนี้ xx
|
3. บริษัทการเงินจ่ายเงินประกันคืนส่วนที่เหลือ |
เงินสด xx
เงินประกันค่าใช้จ่าย xx |
เงินประกันค่าใช้จ่าย xx
เงินสด xx |
วิธีที่ 2 การนำบัญชีลูกหนี้ไปค้ำประกันเงินกู้ (Secured borrowing or pledging accounts receivable)
การนำบัญชีลูกหนี้ไปค้ำประกันเงินก็ (Pledging of Accounts Receivable) วิธีนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การโอนโดยทั่วไป ( General Assignment) เมื่อกิจการไปกู้เงินจากบุคคลภายนอกจะต้องระบุว่าใช้บัญชีลูกหนี้เป็นหลักประกันการกู้เงิน ซึ่งบัญชีลูกหนี้ต้องมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่จะใช้เป็นหลักประกันเงินกู้
การบันทึกบัญชี
เดบิต เงินสด xx
เครดิต เงินกู้ยืม xx
บันทึกการกู้ยืมเงินตามปกติ (แต่ในงบการเงินต้องเปิดเผยการนำลูกหนี้ไปค้ำประกันการกู้ยืมด้วย)
วิธีที่ 3 การโอนบัญชีลูกหนี้ (Assignment of accounts receivable)
การโอนบัญชีลูกหนี้เหมือนกับการนำบัญชีลูกหนี้ไปค้ำประกันเงินกู้ ต่างกันตรงที่การโอนบัญชีลูกหนี้เพื่อไปขอกู้เงินจากสถาบันการเงินนั้นจะระบุบัญชีลูกหนี้จำนวนหนึ่ง และระบุด้วยว่าเป็นลูกหนี้รายใด เนื่องจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอาจต้องการดูภาวะความเสี่ยงของลูกหนี้รายที่นำมาค้ำประกันว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด เพื่อประกอบการอนุมัติเงินกู้ ซึ่งเงินกู้ที่ได้จะน้อยกว่ามูลค่าของบัญชีลูกหนี้ที่โอน เนื่องจากผู้ให้กู้จะต้องเผื่อไว้สำหรับค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อาจเกิดจากการเก็บเงินจากลูกหนี้ ทั้งนี้การเก็บเงินจากลูกหนี้ที่โอนนั้นอาจจะให้ฝ่ายผู้กู้หรือผู้ให้กู้เป็นผู้เก็บเงิน ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อตกลง
การบันทึกบัญชี
ตัวอย่าง เช่น บริษัทได้รับเงินกู้สำหรับระยะเวลา 1 ปี จำนวน 400,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 5% บริษัทจึงโอนบัญชีลูกหนี้จำนวน 560,000 บาท ให้กับบริษัทการเงิน โดยเสียค่าธรรมเนียม 8% ของเงินกู้ เมื่อบริษัทได้รับเงิน จึงโอนบัญชีลูกหนี้กับบริษัทการเงิน
บันทึกการโอนบัญชีลูกหนี้
เดบิต ลูกหนี้ที่โอน 560,000
เครดิต ลูกหนี้ 560,000
บันทึกรายการกู้เงินและค่าใช้จ่าย 8% ของยอดเงินกู้
เดบิต เงินสด 368,000
ค่าใช้จ่ายในการโอนบัญชีลูกหนี้ 32,000
เครดิต เงินกู้-บริษัทการเงิน 400,000
บันทึกรายการเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้
เดบิต เงินสด 460,000
ส่วนลดจ่าย (ถ้ามี) 2,000
หนี้สูญ (ถ้ามี) 5,000
รับคืนสินค้า (ถ้ามี) 3,000
เครดิต ลูกหนี้ที่โอน 560,000
บันทึกรายการชำระคืนเงินกู้
เดบิต เงินกู้-บริษัทการเงิน 400,000
ดอกเบี้ยจ่าย 20,000
เครดิต เงินสด 420,000