ที่ |
เทคนิค / วิธีการตรวจสอบบัญชี |
ความหมาย |
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ |
1 |
การตรวจดู
(Inspection)
|
- เป็นการตรวจดูเอกสารหลักฐานต่างๆและทรัพย์สินที่มีรูปร่าง เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วสัญญาใช้เงิน โฉนดที่ดิน เอกสารการลงหุ้น
กรมธรรม์ประกันภัย
|
- ทรัพย์สินมีอยู่จริง
- มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
- สภาพของทรัพย์สิน
-ปริมาณของทรัพย์สิน(หากใช้เทคนิคการตรวจนับด้วย)
- ดูมูลค่าทรัพย์สิน
ข้อจำกัด
- สินทรัพย์นั้นต้องมีรูปร่าง
|
2 |
การสังเกตการณ์
(Observation) |
- เป็นการสังเกตด้วยตา เพื่อช่วยให้ผู้สอบบัญชีได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ รวมถึงการใช้วิจารณญาณสิ่งที่ได้เห็นและบันทึกไว้เช่น สังเกตการณ์ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จ่ายเงินเดือน สังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า สังเกตการณ์อนุมัติและการผ่านเอกสาร และความเหมาะสมของการปฏิบัติงานว่าได้กระทำตามวิธีที่กำหนดไว้ |
- ผลงานมีความถูกต้อง เชื่อถือได้
- มีการปฏิบัติตามระบบที่กำหนดไว้
ข้อจำกัด
- ข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิบัติงานจริงในช่วงเวลาที่สังเกตเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่จริงทั้งหมด ถ้าจะให้สามารถสรุปรวมได้ต้องหาเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมมายืนยันเพื่อให้หน่วยงานที่รับตรวจยอมรับ ข้อสังเกตและยินยอมแก้ไขตามข้อสังเกตของผู้ตรวจสอบ |
3 |
การตรวจนับ
(Counting) |
- เป็นการพิสูจน์ปริมาณและคุณภาพของสิ่งที่ต้องการตรวจว่ามีอยู่จริง ครบถ้วนตามที่บันทึกไว้โดยตรงให้เห็นด้วยตาตนเอง สภาพของสินทรัพย์(ชำรุด / เสียหาย) การเก็บดูแลรักษา |
- พิสูจน์ความมีอยู่จริง เช่น เงินสด สินค้า หลักทรัพย์
- มีการแสดงมูลค่าถูกต้อง
- มีกรรมสิทธิ์และภาระผูกพัน |
4 |
การยืนยันยอด
(Confirmation) |
-เป็นการที่ผู้ตรวจสอบขอให้บุคคลภายนอกซึ่งทราบเกี่ยวกับหลักฐานต่าง ๆ ให้การยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรมายังผู้ตรวจสอบโดยตรง เป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้มากที่สุด ถ้าปฏิบัติโดยถูกต้อง และผู้ตรวจสอบต้องควบคุมและสอบทานการยืนยันยอด รวมทั้งการจัดส่งให้ผู้รับเอง และต้องเป็นผู้รับคำตอบโดยตรง |
- พิสูจน์ความถูกต้องครบถ้วน เช่น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ เงินฝากธนาคาร เงินรับฝาก เป็นต้น
- กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์และภาระผูกพัน
- พิสูจน์ความมีอยู่จริง
- มีการแสดงมูลค่าถูกต้อง
ข้อจำกัด
- อาจไม่ได้รับความร่วมมือในการตอบยืนยันให้ผู้ตรวจสอบ |
5 |
การตรวจสอบเอกสารใบสำคัญ
(Examination of original documents) หรือการตรวจ Vouching |
- เป็นการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่บันทึกไว้ในสมุดบัญชี เช่น ใบกำกับสินค้าใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน กรมธรรม์ประกันชีวิต สัญญาต่าง ๆ และใบสำคัญจ่าย |
- พิสูจน์ความถูกต้องของเอกสารกับรายงานบัญชี
- รายการเกิดขึ้นจริง
- มีกรรมสิทธิ์และภาระผูกพัน
- มีการตีราคาหรือการแสดงมูลค่า
- การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
ข้อควรระวัง
- เอกสารนั้นเป็นเอกสารจริง มิใช่เอกสารปลอม (โดยเฉพาะในกรณีที่การควบคุมภายในไม่รัดกุม)
- อาจไม่แสดงถึงสภาพที่มีอยู่จริง เช่น สอบทะเบียนรถยนต์ไม่สามารถพิสูจน์ว่ารถมีอยู่จริง
- มีการบันทึกรายการโดยถูกต้อง ครบถ้วน |
6 |
การคำนวณ
(Recomputation) |
- เป็นการคำนวณตัวเลขในบัญชีซึ่งถือเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้มาก เช่น บวกเลขในสมุดขั้นต้นจำนวนยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภท คำนวณค่าเสื่อมราคา / หนี้สงสัยจะสูญ เป็นต้น |
- พิสูจน์ความถูกต้องของตัวเลขในบัญชี
ข้อจำกัด
- พิสูจน์แต่ความถูกต้องของผลลัพธ์ แต่มิได้พิสูจน์แหล่งที่มาของตัวเลขที่นำมาคำนวณ |
7 |
การตรวจสอบการผ่านรายการ
(Posting) |
- เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของการผ่านรายการจากสมุดขั้นต้นไปบัญชีสมุดขั้นปลาย (แยกประเภท) งบทดลองด้วยเรียกกันว่าการตรวจ Posting |
- พิสูจน์ความถูกต้องครบถ้วน
ข้อจำกัด
-เป็นการพิสูจน์ความถูกต้องของการคัดลอกข้อมูลเท่านั้นไม่ได้พิสูจน์ความสมบูรณ์ของรายการ |
8 |
การตรวจหารายการผิดปกติ
(Scanning) |
- เป็นการตรวจรายการในสมุดบัญชีต่าง ๆ ในบัญชีแยกประเภท สมุดขั้นต้น หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ |
- ตรวจดูรายการที่ผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้พบข้อผิดพลาดที่สำคัญได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของผู้ตรวจสอบเป็นสำคัญ เช่น รายการค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้า โดยปกติจะมี 12 รายการ (12 เดือน) ถ้ามีรายการไม่ครบต้องติดตามให้ได้ข้อเท็จจริง
ข้อสังเกต
- ควรสังเกตจากรายการที่ไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น เช่น
รายการจ่ายเกิน ยกเลิกใบเสร็จที่ใช้แล้ว มียอดอยู่ผิดด้าน
ข้อจำกัด
- รายการผิดปกติมิใช่หลักฐาน แต่เป็นเครื่องชี้ให้ทราบถึงความจำเป็นที่ต้องหาหลักฐาน หรือใช้เทคนิคอื่น |
9 |
การสอบถาม
(Inquiry) |
- เป็นการสอบถามผู้บริหารและพนักงาน เพื่อให้ได้ทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและผู้ตรวจสอบควรทราบซึ่งอาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือวาจา เช่น เหตุการณ์หลังวันสิ้นปีบัญชีที่สำคัญ หนี้สิน อาจเกิดขึ้นภายหน้า และภาระผูกพัน |
- ความมีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นจริง
- ความครบถ้วน
- กรรมสิทธิ์หรือภาระผูกพัน
- การตีราคาหรือแสดงมูลค่า
-การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลงบการเงิน
ข้อจำกัด
- เป็นเพียงหลักฐานประกอบเท่านั้นจำเป็นต้องพิสูจน์ความเชื่อถือที่ผู้ให้ข้อมูลด้วย |
10 |
การติดตามรายการ
(Tracing) |
- เป็นการติดตามตรวจสอบการบันทึกรายการในบัญชีบางรายการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบรายการ(ติดตามตรวจสอบจากหลักฐานไปยังบัญชี) |
- ความครบถ้วน
- การตีราคาหรือการแสดงมูลค่า
- การเปิดเผยข้อมูล |
11 |
การตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล |
-เป็นการตรวจสอบรายการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเนื่องจากข้อมูลของรายการหนึ่ง ๆอาจมีความสัมพันธ์กับรายการอื่น ๆ ได้ เช่น ขาย ต้นทุนขาย /รับคืนสินค้า / ลูกหนี้การค้า ซื้อ เจ้าหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้า ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
เงินให้กู้ ดอกเบี้ยรับจากเงินให้กู้
เงินรับฝาก ดอกเบี้ยจ่าย
ทรัพย์สินถาวร ค่าเบี้ยประกัน / ค่าเสื่อมราคา |
- การแสดงมูลค่า
-ความถูกต้องของรายการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน |
12 |
การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
(Analytical Tests) |
- เป็นวิธีการตรวจสอบที่โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่เป็นไปอย่างมีเหตุผลของข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอันนี้ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินว่าเป็นไปตามที่คาดหมายไว้หรือไม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงที่ผิดปกติ |
- พิสูจน์ความถูกต้องของรายการทางการเงิน เพื่อดูรายการที่ผิดปกติ
จุดเด่น
- ใช้เวลาตรวจสอบและค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย
- เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพถ้าใช้กับลักษณะรายการที่มีความสัมพันธ์ชัดเจน
- ช่วยลดการทดสอบในรายละเอียดของแต่ละบัญชีได้หากผู้ตรวจสอบมีความพอใจในความถูกต้องเพียงพอของการตรวจสอบรายการนั้นมีความเสี่ยงและความมีสาระสำคัญต่ำ
ข้อสังเกต
- หากผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่ามีความต่างที่เป็นสาระสำคัญต่อการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบต้องสอบถามเหตุผลและใช้เทคนิคการตรวจสอบอื่นเพิ่มเติม |
13 |
การตรวจทาน (Verification)
|
เป็นการยืนยันความจริง ความถูกต้อง ความแม่นยำ ความสมเหตุสมผล หรือความน่าเชื่อถือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการหาหลักฐานยืนยันกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ |
- ยืนยันความจริง ความถูกต้อง ความแม่นยำ ความสมเหตุสมผล หรือความน่าเชื่อถือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง |
14 |
การสืบสวน |
เป็นเทคนิคที่ผู้ตรวจสอบจะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถค้นพบข้อเท็จจริง ซึ่งคาดว่า มีอยู่หรือควรจะเป็น
ผู้ตรวจสอบต้องค้นหา ข้อเท็จจริง โดยการสืบสวน |
- เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งคาดว่า มีอยู่หรือควรจะเป็น
|