ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี ค่าชดเชยการเลิกจ้าง กับภาระภาษีอากร
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ค่าชดเชยการเลิกจ้าง กับภาระภาษีอากร

 

ารกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชย ("Severance Pay") ให้แก่ลูกจ้างเกิดจากแนวความคิดพื้นฐานที่ต้องการให้ลูกจ้างได้รับความช่วยเหลือหลังจากที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ซึ่งการเลิกจ้างนั้นมิได้เกิดจากความผิดของลูกจ้าง โดยให้ลูกจ้างมีเงินจำนวนหนึ่งสำหรับ ใช้จ่ายในระหว่างที่ว่างงาน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ในขณะนี้ คือลูกจ้างบางคนที่ต้องออกจากงานอาจไม่ทราบว่าตนมีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง หรือหากทราบ แต่ก็ไม่ทราบว่าแท้ที่จริงแล้วอาจจะมีแนวทางประหยัดภาษีสำหรับเงิน ค่าชดเชยที่ได้รับจากนายจ้างได้ด้วย ผู้เขียนจึงขอนำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยในส่วนแรก จะขอสรุปหลักถึงประเด็นข้อกฎหมายต่างๆ ที่นายจ้างและลูกจ้างพึงนำมาพิจารณาเพื่อปกป้องสิทธิของตนเมื่อมีการเลิกจ้างเกิดขึ้น และในส่วนที่สอง จะเป็นการวิเคราะห์และสรุปถึงแนวทางการคำนวณภาระภาษีให้แก่ลูกจ้างสำหรับเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง ทั้งนี้ ได้จัดทำตารางสรุปสิทธิประโยชน์ทางภาษีของลูกจ้างรวมทั้งแนวคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องไว้ตอนท้าย

ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการจ่ายเงินค่าชดเชยสำหรับลูกจ้างที่เป็นคนไทย ตลอดจนคนต่างชาติซึ่งเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างในประเทศไทยว่า ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหาก (1) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยมิได้กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนด และ (2) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างหลังจากที่ทำงานกับนายจ้างมาแล้วอย่างน้อยครบ 120 วัน ฉะนั้น ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานเอง ก็ไม่ถือว่า เป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแม้ว่าจะทำงานให้กับนายจ้างเป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ตาม1

อัตราค่าชดเชย

นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในจำนวนที่ไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 6 อัตรา ขึ้นอยู่กับอายุงานของลูกจ้าง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

จากตาราง จะเห็นได้ว่าระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างเป็นตัวกำหนดว่า (1) ลูกจ้าง มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างหรือไม่ และ (2) ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างเป็นจำนวนมากหรือน้อยเพียงใดด้วย ฉะนั้น ประเด็นสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นลำดับแรกคือเรื่องของการนับระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ซึ่งการนับระยะเวลาการทำงานจะต้องพิจารณาว่า ลูกจ้างจะเริ่มนับระยะเวลาการทำ งานของตนได้ตั้งแต่เมื่อใดและถูกเลิกจ้างเมื่อใด

ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ลูกจ้างสามารถเริ่มนับระยะเวลาการทำงานได้นับตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างเริ่มเข้าทำงานให้กับนายจ้าง หากลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างครบ 120 วันแล้วและถูกเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนด ลูกจ้างย่อมมีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างแม้ว่าลูกจ้างรายนั้น จะอยู่ในระหว่างทดลองงานก็ตาม นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างและจะนำเหตุว่าลูกจ้างอยู่ในระหว่างทดลองงานมาปฏิเสธการจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างไม่ได้ โดยสรุปลูกจ้างทดลองงานก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเช่นเดียวกับลูกจ้างทั่วไป นอกจากนี้
หลังจากที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในปี 2551 แล้ว ท่านจะเห็นได้ว่าลูกจ้างทดลองงานจะมีสถานะทางกฎหมายไม่แตกต่างจากลูกจ้างทั่วไปแต่ประการใด ยกตัวอย่างเช่น หากมีการเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน นายจ้างจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างทดลองงานหรือจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างทดลองงานด้วย2 ทั้งนี้ ในกรณีที่นายจ้างไม่ต้องการจ้างลูกจ้างทดลองงานและไม่ต้องการจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างทดลองงานอีกต่อไป นายจ้างสามารถทำได้อยู่ในทางปฏิบัติโดยการกำหนดระยะเวลาทดลองงานไม่เกิน 119 วัน

นอกจากนี้ หากมีข้อเท็จจริงปรากฎว่า นายจ้างจ้างลูกจ้างโดยตกลงแบ่งทำสัญญาจ้างเป็นช่วงๆต่อเนื่องกันเพื่อจะหลีกเลี่ยงว่า ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกัน ในกรณีเช่นนี้ หากลูกจ้างทำงานในลักษณะเดียวกันในทุกช่วงเวลา ก็ต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างในเรื่องค่าชดเชยด้วย

ค่าจ้างอัตราสุดท้าย

โดยหลักการ นายจ้างนำเฉพาะค่าจ้างหรือเงินเดือนในอัตราสุดท้ายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างมาเป็นฐานในการกำหนดจำนวนค่าชดเชยซึ่งนายจ้างจะต้องชำระให้แก่ลูกจ้าง ฉะนั้น นายจ้างและลูกจ้างพึงต้องคำนึงถึงค่าจ้างอัตราสุดท้ายให้มากเพราะอัตราค่าจ้างดังกล่าวจะใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย

ในบางกรณี ในขณะเจรจาตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานนั้น นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างด้วยวาจาว่า นายจ้างมีนโยบายจ่ายเงินเดือนให้กับลูกจ้างเป็นจำนวนไม่มาก แต่จะเสนอเงินโบนัส (แบบไม่มีกำหนดตายตัว) ให้แก่ลูกจ้างแทนในตอนปลายปี ในกรณีที่มีการตกลงกัน ดังกล่าว หากต่อมานายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง จำนวนค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นก็จะต้องคำนวณโดยใช้เงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างเป็นพื้นฐานในการคำนวณ โดยไม่รวมถึงเงินโบนัสที่นายจ้างตกลงว่าจะจ่ายให้ลูกจ้าง ทั้งนี้ เนื่องจากเงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้างและเป็นดุลพินิจของนายจ้างซึ่งจะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ หรือจ่ายมากน้อยเท่าใดก็ได้ ดังนั้นหากนายจ้างไม่จ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้าง หรือจ่ายน้อยกว่าตามที่ได้ตกลงกันด้วยวาจา หรือนายจ้างมิได้นำเงินโบนัสมาเป็นฐานในการคำนวณเงินชดเชย ลูกจ้างจึงไม่สามารถเรียกร้องเงินโบนัสต่อนายจ้างได้แต่อย่างใด

นอกจากนี้ ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตในเรื่องเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างว่า ตามกฎหมายแรงงานนั้น ค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
(ฎ. 1427/2533และ ฎ. 7210/2546) เมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องนำค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปรวมกับเงินเดือนซึ่งเป็นค่าจ้างเพื่อเป็นฐานในการคำนวณเป็นค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง แต่ตามกฎหมายภาษีอากรของประเทศไทย หากนายจ้างออกค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้าง (ลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเอง) ในกรณีเช่นนี้ เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างจึงต้องนำค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนไปรวมกับเงินเดือนลูกจ้างได้รับเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ในทางปฏิบัติ หากมีข้อตกลงเรื่องการให้นายจ้างออกค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน เพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต นายจ้างลูกจ้างควรตกลงร่วมกันให้ชัดเจนว่า นายจ้างจะออกภาษีทอดแรกให้ลูกจ้างเพียงทอดเดียว หรือนายจ้างจะออกภาษีให้แก่ลูกจ้างทุกทอด

ทั้งนี้ ในกรณีที่นายจ้างออกค่าเช่าบ้าน หรือค่าน้ำมันรถให้แก่ลูกจ้าง หลักเบื้องต้น ในการพิจารณาว่าค่าตอบแทนพิเศษเหล่านี้จะ ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่ นั้น จะต้องพิจารณาว่า ค่าตอบแทนดังกล่าวจ่ายให้กับลูกจ้างตามที่ลูกจ้างได้จ่ายไปจริงโดยแสดงใบเสร็จรับเงิน หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ ค่าตอบแทนดังกล่าว จะไม่ถือเป็นค่าจ้างเพราะไม่ใช้เป็นกรณีที่นายจ้างจ่ายเพื่อเข้ากระเป๋าของลูกจ้าง (ฎ. 2601/2526) ในทางกลับกัน หากนายจ้างจ่ายค่าตอบแทนพิเศษในลักษณะเป็นเงินจำนวนเฉพาะเจาะจงแน่นอนทุกเดือนโดยไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงินประกอบ ค่าตอบแทนดังกล่าว จะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และจะต้องนำไปรวมกับเงินเดือนซึ่งเป็นค่าจ้างเพื่อเป็นคำนวณเป็นค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง (ฎ. 178/2528)3

 

ายุความฟ้องเรียกค่าชดเชย

เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเฉพาะซึ่งกำหนดในเรื่องอายุความเรียกค่าชดเชย ลูกจ้างจึงอาจฟ้องเรียกค่าชดเชยได้ภายในอายุความ 10 ปี (ฎ. 1121/2524, ฎ. 2859/2525)

ข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยและการให้เหตุผลในการเลิกจ้าง

ตามมาตรา 119 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดเหตุ ที่นายจ้างสามารถนำมาอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างไว้หลายกรณี เช่น ในกรณี ที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือในกรณีที่เป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเริ่มต้น และสิ้นสุดการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้าง เลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง และงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลา 2 ปี ในรายละเอียด ขอให้พิจารณาในมาตรา 118 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า การจ้างแรงงานที่มีกำหนดเวลาซึ่งนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ต้องเป็นงานที่ไม่ใช่งานปกติในธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง แต่ในกรณีที่เป็นงานที่ลูกจ้างทำเป็นงานปกติ ในธุรกิจในทางการค้าของนายจ้าง ย่อมไม่เข้า ข้อยกเว้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง (ฎ.4026/2548)

นอกจากนี้ ถึงแม้ว่า มาตรา 119 ของ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จะกำหนดเหตุที่นายจ้างสามารถนำมาอ้าง เพื่อ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างไว้หลายกรณี แต่หากนายจ้างจะนำมาใช้เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง นายจ้างจะต้องระบุเหตุผลในการเลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้างด้วย ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อที่จะปฏิเสธที่จะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างไม่ได้

ลักกฎหมายภาษีอากรในเรื่องค่าชดเชย

ในลำดับถัดไป ผู้เขียนจะขอนำเสนอถึงช่องทางที่ลูกจ้างควรที่จะนำมาพิจารณาเพื่อประหยัดภาษีเงินได้ของลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยจากนายจ้าง ทั้งนี้ ก่อนที่ผู้เขียนจะนำเสนอถึงวิธีการที่ลูกจ้างพึงนำมาพิจารณาเพื่อประกอบการวางแผนภาษีอากรของลูกจ้าง ผู้เขียนมีความเห็นว่าลูกจ้างควรที่จะต้องทราบถึงหลักกฎหมายภาษีพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและข้อยกเว้นที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างก่อน

หลักกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้เป็นลูกจ้างนั้นมีหลักการสำคัญว่าเมื่อลูกจ้างได้รับเงินได้ หรือผลประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลค่าและถือเอาได้ จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้เสมอ เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายมากำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ เช่น ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างเป็นต้น

ในเรื่องค่าชดเชยนั้น กฎหมายภาษีได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างและนายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินเงินเดือน 300 วันสุดท้ายและต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากเกิน ลูกจ้างก็จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพียงแต่ส่วนที่ไม่เกินเท่านั้น ทั้งนี้เมื่อลูกจ้างทราบข้อยกเว้นดังกล่าว ลูกจ้างย่อมนำมาใช้เป็นแนวทางในการคำนวณภาระภาษีเงินได้ของตนได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ เสียภาษีเงินได้โดยประหยัดและโดยถูกต้องตามกฎหมาย

 

รณีศึกษา

ในกรณีที่นายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างแต่ลูกจ้างสมัครใจลาออกจากงานเอง โดยนายจ้างใจดี ยอมจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่ง หรือในกรณีนายจ้างมีนโยบายลดค่าใช้จ่ายและประสงค์จะเลิกจ้างแต่เพื่อไม่ให้เกิดความกดดันกับลูกจ้างส่วนใหญ่ จึงใช้วิธีเสนอผลประโยชน์ให้ลูกจ้าง ลาออก ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างไม่สมัครใจลาออกตั้งแต่แรกแต่ด้วยการตัดสินใจในสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นลูกจ้าง โดยได้รับผลประโยชน์มากกว่าที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด การจ่ายค่าชดเชยในกรณีเหล่านี้ นายจ้างและลูกจ้างมักจะเข้าใจว่า ลูกจ้างจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในเงินช่วยเหลือที่ได้รับจากนายจ้างเช่นเดียวกับกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างและจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เขียนมักจะถูกถามความเห็นค่อนข้างบ่อย จึงมีความเห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านอยู่บ้าง

วามเห็นของผู้เขียน

เนื่องจากกรมสรรพากรมีคำวินิจฉัยว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างแต่ลูกจ้างสมัครใจลาออกจากงานเอง กรณีดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้าง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างจึงไม่ใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉะนั้น ในกรณีที่ลูกจ้างสมัครใจลาออกจากงาน ไม่ว่าการลาออกจะมีเหตุจูงใจมาจากลูกจ้างเองตั้งแต่ต้น หรือจากนโยบายของนายจ้างที่ต้องการลดพนักงาน ลูกจ้างก็ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เทียบเคียงกับหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0811 / 02176 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2542 และ กค 0811/02176 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2546

ที่มา : สรรพากรสาส์น

 




ความรู้เกี่ยวกับภาษี

SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร ? article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 โดยอาจารย์ อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ article
การชดเชยค่าภาษีอากร-บัตรภาษี article
มนุษย์เงินเดือนเฮครม.อนุมัติลดหย่อนภาษีหักค่าใช้จ่าย60% (มีผลบังคับใช้ในปี 2550) article
การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย article
ภาษีป้าย article
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
ใบลดหนี้ (Credit Note)
ภาระภาษีในการประนอมหนี้ ค่าบริการ
เงื่อนไขในการคำนวณส่วนของ หนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจาก ภาษีขาย
การทำบัญชี ของบุคคลธรรมดา ที่ไม่จด VAT
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือ Consortium
Income Tax Guide for foreign Company
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี
ภาษีค่าสิทธิ - จากสรรพากรสาส์น
ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่าย
การเสีย VAT กรณีนำเข้าสินค้ามาขายแบบ 3 เส้า
คลังสินค้าทัณฑ์บน (BONDED WAREHOUSE ) คืออะไร?
เขตปลอดอากร เขตยกเว้นภาษี
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่น่าสนใจ
บัญชีอากรแสตมป์ อัตราอากรแสตมป์
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ตาม มาตรา 56 ทวิ)
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
การเฉลี่ยภาษีซื้อ
Withholding Tax Rates for Royalties under Thailand's DTAs
Withholding Tax Rates for Interest under Thailand's DTAs
เงินได้พึงประเมินที่ผู้เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสิทธิแยกคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) article
คณะบุคคล... อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม
ภาษีบ้านเช่าครึ่งปี
ภาษีเลี้ยงรับรองปีใหม่
ภาษีค่าน้ำมันรถ
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจาก 50,000 เป็น 100,000
มาตรการสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ + ห้องชุด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สารพัน ปัญหาภาษีสรรพากร - สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนประกันชีวิตได้รับถือเป็นเงินได้ประเภทใด
ขายสินค้าเกษตรเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับรู้รายได้เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลเสียหายจากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรายได้จากการให้บริการป้ายโฆษณา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าซ่อมเครื่องจักรและ ค่าที่ปรึกษาไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์และค่าบริการอื่นให้แก่บริษัทต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของนิติบุคคลอาคารชุด
ปัญหา ของขวัญกับการเสียภาษี
ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
ปัญหา ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF
เงินสนับสนุนการศึกษาและเงินบริจาค
สารพันปัญหา "ค่าลดหย่อน"
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ.2564)
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
การคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
พระราชกฤษฎีกา ลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ปี 2555
การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ
คำชี้แจงกรมสรรพากร กรณีการยื่นแบบเสียภาษีของสามีและภรรยา ปี 2555
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ป็นทางค้าหรือหากำไร
สรุปอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2555-2558
มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs
สรุปคำชี้แจงการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
บัญชี IFRS for SMEs กับภาษี ตอน รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาของ SMEs
ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า!!!
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ เมื่อมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
ฎีกาภาษี : การขีดฆ่าอากรแสตมป์
ภาษีการรับมรดก
เครื่องมือช่วยคำนวณรายการทางบัญชีเป็นรายการทางภาษี
วิธีการประมาณการกําไรสทธิ ภงด.51 article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กับกิจการขายของ Online article
เงินได้พึงประเมินของผู้ประกอบโรคศิลปะ-แพทย์(หมอ) article
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง article
คำสั่งกรมสรรพากร. ที่ป.161/2566. เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี