หน้า ๖๔
เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๙ มกราคม ๒๕๕๒
___________________________________________________
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี
ที่ ๘๖/๒๕๕๑
เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ (ปรับปรุง ๒๕๕๐)
และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๔ (ปรับปรุง ๒๕๕๐)
_________________
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ (๓) และ มาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชี มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และกฎหมายอื่น ทั้งนี้มาตรฐานการบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้
สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการ
กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพในการประชุม ครั้งที่ ๙ (๑/๒๕๕๑) เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๑
จึงออกประกาศ ดังนี้
๑. ให้ยกเลิกมาตรฐานการบัญชี ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี สำหรับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์
๒. ให้ยกเลิกมาตรฐานการบัญชี ตามประกาศคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๑๐/๒๕๔๘ เรื่อง ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๒ - ๕๔ คือ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๔ เรื่อง การดำเนินงานที่ยกเลิก
๓. ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีแนบท้ายประกาศนี้แทน
๓.๑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์
๓.๒ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๔ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เกษรี ณรงค์เดช
นายกสภาวิชาชีพบัญชี
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550)
เรื่อง
การด้อยค่าของสินทรัพย์
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ พ.ศ. 2549 (IAS 36 (2006), Impairment of Assets)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับการด้อยค่าของสินทรัพย์ทุกประเภทยกเว้น
1.1 สินค้าคงเหลือ (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 31(ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ)
1.2 สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาก่อสร้าง (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 49 (ปรับปรุง2550) เรื่องสัญญาก่อสร้าง)
1.3 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 56 เรื่อง ภาษีเงินได้ (เมื่อมีการประกาศใช้)
1.4 สินทรัพย์ที่เกิดจากผลประโยชน์ของพนักงาน (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน (เมื่อมีการประกาศใช้)
1.5 สินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งรวมอยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้)
1.6 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่องอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (เมื่อมีการประกาศใช้)
1.7 สินทรัพย์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเกษตรที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมหักประมาณการค่าใช้จ่าย ณ จุดขาย (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 57 เรื่อง เกษตรกรรม(เมื่อมีการประกาศใช้))
1.8 ต้นทุนการได้มารอการตัดบัญชีและสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาของผู้รับประกันภายใต้สัญญาประกันภัยซึ่งรวมอยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาประกันภัย (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาประกันภัย (เมื่อมีการประกาศใช้)
1.9 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำ เนินงานที่ยกเลิก ซึ่งถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีเรื่องสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหรือกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิก ที่ถือไว้เพื่อขาย และการดำเนินงานที่ยกเลิก (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่54 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก)
คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
ตลาดซื้อขายคล่อง หมายถึง ตลาดที่มีคุณสมบัติทุกข้อดังต่อไปนี้
1) รายการที่ซื้อขายในตลาดต้องมีลักษณะเหมือนกัน
2) ต้องมีผู้ที่เต็มใจซื้อและขายตลอดเวลา
3) ราคาต้องเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชน
วันที่ตกลงรวมธุรกิจ หมายถึง วันที่ข้อตกลงที่สำคัญระหว่างกิจการที่รวมธุรกิจ
กันบรรลุผล สำหรับบริษัทจดทะเบียนต้องมีการ
ประกาศต่อสาธารณะชนด้วย สำหรับกรณีที่เป็น
การครอบงำ กิจการแบบปรปักษ์ วันแรกที่
ข้อตกลงที่สำคัญระหว่างกิจการที่รวมธุรกิจกัน
บรรลุผล คือวันที่จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นในธุรกิจ
ที่ถูกซื้อ ซึ่งยอมรับคำเสนอซื้อของผู้ซื้อมีมาก
เพียงพอที่จะทำให้ผู้ซื้อสามารถควบคุมผู้ถูกซื้อ
มูลค่าตามบัญชี หมายถึง ราคาของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงบดุลหลังจากหักค่า
เสื่อมราคาสะสม (หรือค่าตัดจำหน่ายสะสม)
และค่าเผื่อการด้อยค่าสะสมของสินทรัพย์
หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด หมายถึง สินทรัพย์กลุ่มที่เล็กที่สุดที่สามารถระบุได้ว่าการ
ใช้กลุ่มสินทรัพย์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจะ
ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็น
อิสระจากกระแสเงินสดรับที่เกิดจากสินทรัพย์
อื่นหรือกลุ่มสินทรัพย์อื่น
สินทรัพย์องค์กร หมายถึง สินทรัพย์ที่มีส่วนทำให้หน่วยสินทรัพย์ที่
ก่อให้เกิดเงินสดที่อยู่ภายใต้การพิจารณาและ
หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดอื่นสามารถ
ก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ในอนาคต ทั้งนี้ไม่
รวมถึงค่าความนิยม
ต้นทุนในการขาย หมายถึง ต้นทุนส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการ
จำหน่ายสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่
ก่อให้เกิดเงินสดซึ่งไม่รวมต้นทุนทางการเงิน
และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
จำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคา หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์หรือราคาอื่นที่ใช้แทน
ราคาทุนในงบการเงินหักด้วยมูลค่าคงเหลือ
ค่าเสื่อมราคา(หรือค่าตัดจำหน่าย) หมายถึง การปันส่วนจำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของ
สินทรัพย์อย่างมีระบบ ตลอดอายุการให้ประโยชน์1
1 ในกรณีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะเรียกว่าค่าตัดจำหน่ายแทนคำว่าค่าเสื่อมราคา ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน
มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย หมายถึง จำนวนที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์หรือ
หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดหักด้วยต้นทุน
จากการขายสินทรัพย์นั้นโดยที่ผู้ซื้อกับผู้ขาย
สามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระใน
ลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ในขณะที่
ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน
ผลขาดทุนจากการด้อยค่า หมายถึง จำนวนมูลค่าตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่า
จะได้รับคืนของสินทรัพย์ หรือหน่วยสินทรัพย์ที่
ก่อให้เกิดเงินสด
มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน หมายถึง มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายของสินทรัพย์หรือ
หน่วย สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดหรือมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์นั้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
อายุการให้ประโยชน์ หมายถึง กรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
1) ระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์
จากสินทรัพย์
2) จำนวนผลผลิตหรือจำนวนหน่วยในลักษณะ
อื่นที่คล้ายคลึงกันซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์
มูลค่าจากการใช้ หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตที่
คาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์หรือหน่วย
สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด
การระบุสินทรัพย์ที่อาจเกิดการด้อยค่า
3. ณ วันที่เสนองบการเงิน กิจการต้องประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทำให้สินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่าหรือไม่ หาก
กิจการพบว่ามีข้อบ่งชี้ดังกล่าว กิจการต้องประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้น
4. กิจการต้องดำเนินการต่อไปนี้ โดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีข้อบ่งชี้ของการด้อยค่าเกิดขึ้นหรือไม่
4.1 กิจการต้องทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน หรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ยังไม่พร้อมใช้งานเป็นประจำทุกปี โดยทำการเปรียบเทียบมูลค่าตามบัญชีกับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน การทดสอบการด้อยค่านี้ กิจการอาจจะจัดทำขึ้นในช่วงใดของปีก็ได้ แต่
ต้องจัดทำขึ้น ณ เวลาเดียวกันของทุกปี กิจการสามารถทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่
ไม่เหมือนกัน ณ ช่วงเวลาที่แตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตาม หากกิจการได้มาซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ในระหว่างรอบปีปัจจุบัน กิจการต้องทำการทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนดังกล่าวก่อน
วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้มา
4.2 กิจการต้องทดสอบการด้อยค่าของค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมธุรกิจทุกปี ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 21 ถึง 40
5. ในการประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ว่าสินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่าหรือไม่ กิจการต้องพิจารณาถึงข้อบ่งชี้ต่อไปนี้เป็น
อย่างน้อย
แหล่งข้อมูลภายนอก
5.1 ราคาตลาดของสินทรัพย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในระหว่างงวดโดยจำนวนที่ลดลงนั้นสูงกว่าจำนวนที่คาดว่าจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไปหรือจากการใช้งานตามปกติ
5.2 มีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการในระหว่างงวดหรือในอนาคตอันใกล้อย่างมี
นัยสำคัญ ผลกระทบดังกล่าวอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของกิจการหรือของ
ตลาดของสินทรัพย์นั้นทางด้านเทคโนโลยีการตลาด เศรษฐกิจ หรือกฎหมาย
5.3 อัตราดอกเบี้ยในตลาดหรืออัตราผลตอบแทนอื่นในตลาดจากการลงทุนมีการเพิ่มขึ้นในระหว่างงวดจนน่าจะมีผลกระทบต่ออัตราคิดลดที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ และทำให้มูลค่าที่
คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้นลดลงอย่างมีสาระสำคัญ
5.4 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิของกิจการสูงกว่าราคาตลาดของกิจการ
แหล่งข้อมูลภายใน
5.5 มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ล้าสมัยหรือชำรุดเสียหาย
5.6 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับลักษณะที่กิจการใช้หรือคาดว่าจะใช้สินทรัพย์ ซึ่งส่ง
ผลกระทบทางลบต่อกิจการในระหว่างงวด หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้การเปลี่ยนแปลง
ดังกล่าวรวมถึงการที่สินทรัพย์ไม่ได้ใช้งาน แผนที่จะยกเลิกหรือปรับโครงสร้างส่วนงานที่มีสินทรัพย์
นั้นรวมอยู่ด้วย หรือแผนที่จะจำหน่ายสินทรัพย์ก่อนกำหนด และการประเมินอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์จากอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่ทราบแน่นอนเป็นอายุการให้ประโยชน์ที่ทราบแน่นอน (2)
(2) มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขการเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย (หรือถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสินทรัพย์ที่จะถูกจำหน่ายซึ่งถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย) ซึ่งต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐาน
การบัญชี ฉบับที่ 54 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก
5.7 มีหลักฐานจากข้อมูลที่รายงานเป็นการภายในซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลการปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์ได้ลดลงหรือจะลดลงกว่าที่คาดไว้
มูลค่าจากการใช้
6. องค์ประกอบดังต่อไปนี้ต้องรวมอยู่ในการคำนวณมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์
6.1 ประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์
6.2 การคาดการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นกับจำนวนเงิน หรือจังหวะเวลาของกระแส
เงินสดในอนาคต
6.3 มูลค่าของเงินตามเวลา โดยใช้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันในตลาดจากการลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยง
6.4 ราคาที่ได้คำนึงถึงความไม่แน่นอนที่สืบเนื่องมาจากสินทรัพย์
6.5 ปัจจัยอื่น เช่น การขาดสภาพคล่องซึ่งผู้ซื้อขายในตลาดใช้ในการพิจารณากระแสเงินสดในอนาคตที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์
เกณฑ์ในการประมาณการกระแสเงินสดในอนาคต
7. ในการวัดมูลค่าจากการใช้กิจการต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
7.1 ประมาณการกระแสเงินสด โดยอาศัยข้อสมมุติที่สมเหตุสมผลและมีหลักฐานสนับสนุน ซึ่งแสดงถึงการคาดการณ์ที่ดีที่สุดของฝ่ายบริหารภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะเป็นอยู่ตลอดอายุการให้
ประโยชน์ที่เหลืออยู่ของสินทรัพย์ กิจการควรให้น้ำหนักกับหลักฐานสนับสนุนที่ได้จากภายนอก
7.2 ประมาณการกระแสเงินสดโดยอาศัยงบประมาณ หรือประมาณการทางการเงินล่าสุด ซึ่งได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบริหาร แต่ต้องไม่รวมประมาณการกระแสเงินสดรับหรือจ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก
การปรับโครงสร้างในอนาคต หรือจากการปรับปรุงหรือทำให้สินทรัพย์นั้นดีขึ้น การคาดการณ์ที่อาศัย
งบประมาณหรือประมาณการดังกล่าวต้องครอบคลุมระยะเวลาอย่างมากที่สุด 5 ปีนอกจากมีเหตุผล
สนับสนุนเพียงพอว่าควรครอบคลุมระยะเวลาที่นานกว่านั้น
7.3 ประมาณกระแสเงินสดหลังจากช่วงเวลาของงบประมาณหรือประมาณการทางการเงินล่าสุดโดยปรับกระแสเงินสดในงบประมาณ หรือประมาณการสำหรับอนาคตที่ไกลออกไปด้วยอัตราการเติบโตที่
คงที่หรือลดลง นอกจากมีเหตุผลสนับสนุนว่ากิจการควรใช้อัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น อัตราการ
เติบโตนี้ต้องไม่สูงกว่าอัตราการเติบโตถัวเฉลี่ยระยะยาวของผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมหรือประเทศที่
กิจการนั้นดำเนินงานอยู่หรือของตลาด ซึ่งกิจการนำสินทรัพย์นั้นไปใช้ นอกจากมีเหตุผลสนับสนุนว่า
กิจการควรใช้อัตราการเติบโตที่สูงกว่า
ส่วนประกอบของประมาณการกระแสเงินสดในอนาคต
8. ประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตต้องรวมถึง
8.1 ประมาณการกระแสเงินสดรับจากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
8.2 ประมาณการกระแสเงินสดจ่ายที่จำเป็นในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับจากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง (ซึ่งรวมถึงกระแสเงินสดจ่ายเพื่อการเตรียมสินทรัพย์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะใช้งานได้) และประมาณการกระแสเงินสดจ่ายดังกล่าวจะต้องเกี่ยวข้องโดยตรง หรือสามารถปันส่วนให้กับ
สินทรัพย์โดยใช้เกณฑ์ที่สมเหตุสมผลและสม่ำเสมอได้
8.3 กระแสเงินสดสุทธิที่จะได้รับ (หรือที่จะต้องจ่าย) จากการจำหน่ายสินทรัพย์นั้นเมื่อสิ้นอายุการให้ประโยชน์
9. กิจการต้องประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตจากสภาพในปัจจุบันของสินทรัพย์ และการประมาณการ
ดังกล่าวต้องไม่รวมกระแสเงินสดรับหรือจ่ายในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากรายการต่อไปนี้
9.1 การปรับโครงสร้างในอนาคตที่ยังไม่ตกลงผูกพันเป็นที่แน่นอน หรือ
9.2 รายจ่ายที่จะทำให้สินทรัพย์มีสภาพดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
10. การประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตต้องไม่รวม
10.1 กระแสเงินสดรับหรือจ่ายจากกิจกรรมจัดหาเงิน หรือ
10.2 ภาษีเงินได้ที่รับหรือจ่ายไป
11. ประมาณการกระแสเงินสดสุทธิที่จะได้รับ (หรือที่จะต้องจ่าย) จากการจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นอายุการให้ประโยชน์ต้องเป็นจำนวนเงินซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ในราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมี
ความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่
ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน จำนวนที่คาดว่าจะได้รับจากการจำหน่ายนี้ต้องหักประมาณการต้นทุนในการ
จำหน่าย
อัตราคิดลด
12. อัตราคิดลดต้องเป็นอัตราก่อนหักภาษีที่สะท้อนถึงการประเมินสถานการณ์ตลาดปัจจุบันของ
12.1 มูลค่าของเงินตามเวลา และ
12.2 ความเสี่ยงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสินทรัพย์ที่กำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งประมาณการกระแสเงินสด
ในอนาคตยังไม่ได้มีการปรับความเสี่ยงดังกล่าว
การรับรู้และการวัดมูลค่าผลขาดทุนจากการด้อยค่า
13. กิจการต้องบันทึกลดมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนหากมูลค่าที่คาดว่าจะ
ได้รับคืนต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ส่วนที่ลดลงคือ ผลขาดทุนจากการด้อยค่า
14. กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าเป็นค่าใช้จ่ายในกำไรหรือขาดทุนทันที นอกจากว่ามูลค่าตาม
บัญชีของสินทรัพย์เป็นราคาที่ตีใหม่ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น (ตัวอย่างเช่น ตามข้อกำหนดของวิธีราคาที่ตีใหม่ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (เมื่อมีการประกาศใช้)) กิจการต้องนำผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ตีราคาใหม่ไปลด
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น
15. หากผลขาดทุนจากการด้อยค่าที่ประมาณขึ้นมีจำนวนสูงกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์กิจการต้องรับรู้
ส่วนต่างนั้นเป็นหนี้สินหากมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นกำหนดไว้
16. หลังจากที่กิจการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่า กิจการต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่ายของ
สินทรัพย์ โดยใช้มูลค่าตามบัญชีใหม่ของสินทรัพย์หักด้วยมูลค่าคงเหลือ การคำนวณค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่ายต้องเป็นการปันส่วนอย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ที่เหลืออยู่ของสินทรัพย์
การกำหนดหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด
17. หากมีข้อบ่งชี้ที่แสดงว่าสินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่า กิจการต้องประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของ
สินทรัพย์แต่ละรายการ หากกิจการไม่สามารถประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์แต่ละรายการ
ได้ กิจการต้องกำหนดว่าสินทรัพย์ที่กำลังพิจารณารวมอยู่ในหน่วยสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิด
เงินสดใด
18. กิจการต้องระบุให้สินทรัพย์หรือกลุ่มสินทรัพย์เป็นหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดหากสินทรัพย์หรือกลุ่มสินทรัพย์นั้นมีผลผลิตที่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับแม้ว่าจะมีการนำผลผลิตบางส่วนหรือทั้งหมดมาใช้
ภายในกิจการ หากราคาโอนภายในมีผลต่อกระแสเงินสดรับที่ได้จากสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด กิจการต้องนำประมาณการราคาตลาดในอนาคตที่ดีที่สุดของฝ่ายบริหารสำหรับผลผลิตนั้นมาใช้เพื่อ
18.1 ประมาณกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตเพื่อกำหนดมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดนั้น และ
18.2 ประมาณกระแสเงินสดที่จะต้องจ่ายในอนาคตเพื่อกำหนดมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์หรือ หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่ถูกกระทบจากราคาโอนภายใน
19. หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดสำหรับสินทรัพย์เดียวกันหรือสินทรัพย์ประเภทเดียวกันต้องกำหนดขึ้น
อย่างสม่ำเสมอในแต่ละงวด เว้นแต่กิจการสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล
มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนและมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด
20. กิจการต้องกำหนดมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดให้สอดคล้องกับมูลค่าที่คาดว่าจะ
ได้รับคืนของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดนั้น
ค่าความนิยม
การปันส่วนค่าความนิยมให้หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด
21. เพื่อวัตถุประสงค์ในการทดสอบการด้อยค่าของค่าความนิยมตั้งแต่วันที่ซื้อ กิจการที่เป็นผู้ซื้อต้องปันส่วน
ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจให้กับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด หรือกลุ่มของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการรวมธุรกิจ ไม่ว่าสินทรัพย์อื่นหรือหนี้สินอื่นของกิจการที่ถูกซื้อจะถูกปันส่วนกับหน่วยสินทรัพย์หรือกลุ่มของหน่วยสินทรัพย์เหล่านั้นหรือไม่ก็ตาม สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดแต่ละหน่วยหรือแต่ละกลุ่มที่กิจการได้ปันส่วนค่าความนิยมต้อง
21.1 เป็นหน่วยในระดับที่เล็กที่สุดที่กิจการใช้ในการประเมินค่าความนิยมในการบริหารภายในกิจการและ
21.2 ไม่ใหญ่กว่าส่วนงานหลัก หรือส่วนงานรองที่กิจการใช้ในการรายงานข้อมูลจำแนกตามส่วนงานตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ส่วนงานปฏิบัติการ (เมื่อมีการประกาศใช้)
22. ค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมธุรกิจแสดงถึงจำนวนเงินที่ผู้ซื้อจ่ายไป โดยคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์ ซึ่งไม่สามารถระบุได้เป็นแต่ละรายการและรับรู้ในงบการเงินแยกจากกันได้ ค่าความนิยมไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่เป็นอิสระจากสินทรัพย์อื่นหรือกลุ่มของสินทรัพย์อื่น และในหลายกรณีมักจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดจากหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดหลายหน่วยรวมกัน บางครั้งกิจการอาจไม่สามารถปันส่วนค่าความนิยมอย่างสมเหตุสมผลให้กับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดแต่ละหน่วยได้ แต่สามารถปันส่วนให้กับกลุ่มของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดได้ ดังนั้น หน่วยที่อยู่ในระดับเล็กที่สุดที่กิจการใช้ในการพิจารณาค่าความนิยม ในการบริหารภายในกิจการ บางครั้งจะประกอบด้วยหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับค่าความนิยมแต่กิจการไม่สามารถปันส่วนค่าความนิยมให้กับหน่วยที่เล็กที่สุด