ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี มูลนิธิ สมาคม สำนักงานบัญชี
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


รายงานของมูลนิธิและสมาคม

ตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีของมูลนิธิ

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เสนอ สมาชิกและกรรมการ มูลนิธิ ....

ความเห็น

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงินของ มูลนิธิ ..... ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 งบรายรับและรายจ่าย สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันและหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมถึงหมายเหตุสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ

ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินของ มูลนิธิ ..... ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ผลการดำเนินงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

เกณฑ์ในการแสดงความเห็น

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ความรับผิดชอบของข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ใน
วรรคความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อการตรวจสอบงบการเงินในรายงานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีความเป็นอิสระจากมูลนิธิฯตามประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี รวมถึง มาตรฐานเรื่องความเป็นอิสระที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี (ประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบงบการเงิน และข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามความรับผิดชอบด้านจรรยาบรรณอื่น ๆ ตามประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ข้าพเจ้าได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า

ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน

ผู้บริหารมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำและนำเสนองบการเงินเหล่านี้โดยถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ และรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ผู้บริหารพิจารณาว่าจำเป็นเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาดในการจัดทำงบการเงิน ผู้บริหารรับผิดชอบในการประเมินความสามารถของมูลนิธิฯในการดำเนินงานต่อเนื่อง เปิดเผยเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่อง และการใช้เกณฑ์การบัญชีสำหรับการดำเนินงานต่อเนื่องเว้นแต่ผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะเลิกมูลนิธิฯหรือหยุดดำเนินงานหรือไม่สามารถดำเนินงานต่อเนื่องต่อไปได้

 ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อการตรวจสอบงบการเงิน

การตรวจสอบของข้าพเจ้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินโดยรวมปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด และเสนอรายงานของผู้สอบบัญชีซึ่งรวมความเห็นของข้าพเจ้าอยู่ด้วย ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลคือความเชื่อมั่นในระดับสูงแต่ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าการปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีจะสามารถตรวจพบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่มีอยู่ได้เสมอไป ข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอาจเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาดและถือว่ามีสาระสำคัญเมื่อคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่ารายการที่ขัดต่อข้อเท็จจริงแต่ละรายการหรือทุกรายการรวมกันจะมีผลต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินจากการใช้งบการเงินเหล่านี้

ในการตรวจสอบของข้าพเจ้าตามมาตรฐานการสอบบัญชี ข้าพเจ้าได้ใช้ดุลยพินิจและการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพตลอดการตรวจสอบ การปฏิบัติงานของข้าพเจ้ารวมถึง

·            ระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในงบการเงินไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ออกแบบและปฏิบัติงานตามวิธีการตรวจสอบเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงเหล่านั้น และได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อเป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ความเสี่ยงที่ไม่พบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญซึ่งเป็นผลมาจากการทุจริตจะสูงกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากข้อผิดพลาด เนื่องจากการทุจริตอาจเกี่ยวกับการสมรู้ร่วมคิด การปลอมแปลงเอกสารหลักฐาน การตั้งใจละเว้นการแสดงข้อมูล การแสดงข้อมูลที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริงหรือการแทรกแซงการควบคุมภายใน

·            ทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อความมีประสิทธิผลของการควบคุมภายในของมูลนิธิฯ

·            ประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผู้บริหารใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดทำขึ้นโดยผู้บริหาร

 ·            สรุปเกี่ยวกับความเหมาะสมของการใช้เกณฑ์การบัญชีสำหรับการดำเนินงานต่อเนื่องของผู้บริหารและจากหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับ สรุปว่ามีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถของมูลนิธิฯในการ ดำเนินงานต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าข้าพเจ้าได้ข้อสรุปว่ามีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญ ข้าพเจ้าต้องกล่าวไว้ในรายงานของผู้สอบบัญชีของข้าพเจ้าโดยให้ข้อสังเกตถึงการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินที่เกี่ยวข้อง หรือถ้าการเปิดเผยดังกล่าวไม่เพียงพอ ความเห็นของข้าพเจ้าจะเปลี่ยนแปลงไป ข้อสรุปของข้าพเจ้าขึ้นอยู่กับหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับจนถึงวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชีของข้าพเจ้า อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์หรือสถานการณ์ในอนาคตอาจเป็นเหตุให้มูลนิธิฯต้องหยุดการดำเนินงานต่อเนื่อง

·            ประเมินการนำเสนอ โครงสร้างและเนื้อหาของงบการเงินโดยรวม รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลว่างบการเงินแสดงรายการและเหตุการณ์ในรูปแบบที่ทำให้มีการนำเสนอข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรหรือไม่

ข้าพเจ้าได้สื่อสารกับผู้บริหารในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงขอบเขตและช่วงเวลาของการตรวจสอบตามที่ได้วางแผนไว้ ประเด็นที่มีนัยสำคัญที่พบจากการตรวจสอบ รวมถึงข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญในระบบการควบคุมภายในหากข้าพเจ้าได้พบในระหว่างการตรวจสอบของข้าพเจ้า

นาย/นาง..........

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เลขทะเบียน..........

สำนักงาน....

สมุทรปราการ : 5 มีนาคม 2566

 

 

 

ตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีของสมาคม

 

 

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เสนอ สมาชิกและคณะกรรมการ สมาคม..........

ความเห็น

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงินของ สมาคม....... ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 งบรายรับและรายจ่าย สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันและหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมถึงสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ

ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินของ สมาคม......... ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และผลการดำเนินงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

เกณฑ์ในการแสดงความเห็น

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ความรับผิดชอบของข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ใน
วรรคความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อการตรวจสอบงบการเงินในรายงานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีความเป็นอิสระจากบริษัทตามประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี รวมถึง มาตรฐานเรื่องความเป็นอิสระ
ที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี (ประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
การตรวจสอบงบการเงิน และข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามความรับผิดชอบด้านจรรยาบรรณอื่น ๆ ตามประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ข้าพเจ้าได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า

ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน

ผู้บริหารมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำและนำเสนองบการเงินเหล่านี้โดยถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ และรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ผู้บริหารพิจารณาว่าจำเป็นเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด

ในการจัดทำงบการเงิน ผู้บริหารรับผิดชอบในการประเมินความสามารถของสมาคมฯในการดำเนินงานต่อเนื่อง เปิดเผยเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่อง และการใช้เกณฑ์การบัญชีสำหรับการดำเนินงานต่อเนื่อง เว้นแต่ผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะเลิกสมาคมฯหรือหยุดดำเนินงานหรือไม่สามารถดำเนินงานต่อเนื่องต่อไปได้

  
ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อการตรวจสอบงบการเงิน

การตรวจสอบของข้าพเจ้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินโดยรวมปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด และเสนอรายงานของผู้สอบบัญชีซึ่งรวมความเห็นของข้าพเจ้าอยู่ด้วย ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลคือความเชื่อมั่นในระดับสูงแต่ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าการปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีจะสามารถตรวจพบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่มีอยู่ได้เสมอไป ข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอาจเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาดและถือว่ามีสาระสำคัญเมื่อคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่ารายการที่ขัดต่อข้อเท็จจริงแต่ละรายการหรือทุกรายการรวมกันจะมีผลต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินจากการใช้งบการเงินเหล่านี้

ในการตรวจสอบของข้าพเจ้าตามมาตรฐานการสอบบัญชี ข้าพเจ้าได้ใช้ดุลยพินิจและการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพตลอดการตรวจสอบ การปฏิบัติงานของข้าพเจ้ารวมถึง

·            ระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในงบการเงินไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ออกแบบและปฏิบัติงานตามวิธีการตรวจสอบเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงเหล่านั้น และได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อเป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ความเสี่ยงที่ไม่พบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญซึ่งเป็นผลมาจากการทุจริตจะสูงกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากข้อผิดพลาด เนื่องจากการทุจริตอาจเกี่ยวกับการสมรู้ร่วมคิด การปลอมแปลงเอกสารหลักฐาน การตั้งใจละเว้นการแสดงข้อมูล การแสดงข้อมูลที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริงหรือการแทรกแซงการควบคุมภายใน

·            ทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อความมีประสิทธิผลของการควบคุมภายในของสมาคมฯ

·            ประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผู้บริหารใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดทำขึ้นโดยผู้บริหาร

 

·            สรุปเกี่ยวกับความเหมาะสมของการใช้เกณฑ์การบัญชีสำหรับการดำเนินงานต่อเนื่องของผู้บริหารและจากหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับ สรุปว่ามีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถของสมาคมฯในการ ดำเนินงานต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าข้าพเจ้าได้ข้อสรุปว่ามีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญ ข้าพเจ้าต้องกล่าวไว้ในรายงานของผู้สอบบัญชีของข้าพเจ้าโดยให้ข้อสังเกตถึงการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินที่เกี่ยวข้อง หรือถ้าการเปิดเผยดังกล่าวไม่เพียงพอ ความเห็นของข้าพเจ้าจะเปลี่ยนแปลงไป ข้อสรุปของข้าพเจ้าขึ้นอยู่กับหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับจนถึงวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชีของข้าพเจ้า อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์หรือสถานการณ์ในอนาคตอาจเป็นเหตุให้สมาคมฯต้องหยุดการดำเนินงานต่อเนื่อง

·            ประเมินการนำเสนอ โครงสร้างและเนื้อหาของงบการเงินโดยรวม รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลว่างบการเงินแสดงรายการและเหตุการณ์ในรูปแบบที่ทำให้มีการนำเสนอข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรหรือไม่

ข้าพเจ้าได้สื่อสารกับผู้บริหารในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงขอบเขตและช่วงเวลาของการตรวจสอบตามที่ได้วางแผนไว้ ประเด็นที่มีนัยสำคัญที่พบจากการตรวจสอบ รวมถึงข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญในระบบการควบคุมภายในหากข้าพเจ้าได้พบในระหว่างการตรวจสอบของข้าพเจ้า

 
 
 
 
นาย/นาง.....
 
 
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
 
 
เลขทะเบียน ......
 
 
 
 
 
บริษัท..........
 

สมุทรปราการ : 8 เมษายน 2566

 

 

หลักการบัญชี : กิจการที่ไม่แสวงหากำไร : มูลนิธิ สมาคม นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

สถานศึกษา โรงพยาบาล วัด สมาคม สโมสร มูลนิธิ ชมรมต่างๆ นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร 
 

 

           กิจการประเภทที่จัดตั้งขึ้นโดยมิได้มุ่งหวังผลกําไร หรือมิได้แสวงหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่แสวงหากําไรจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่ประชาชนหรือสมาชิก รวมถึงการทําประโยชน์ให้กับสังคมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การส่งเสริม กิจกรรมทางสังคม การดําเนินกิจกรรมเพื่อการกุศลและสาธารณประโยชน์ การจัดการทรัพย์สินและสาธารณูโภคส่วนกลาง(กรณีหมู่บ้านจัดสรรและอาคารชุด) รวมถึงเพื่อการสันทนาการ เป็นต้น โดยไม่มีความมุ่งหมายที่จะแสวงหาผลกําไรหรือมุ่งหวังผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ซึ่งการดําเนินงานของกิจการที่ไม่แสวงหากําไรอาจอยู่ในรูปขององค์กรต่างๆ เช่น สถานศึกษา โรงพยาบาล วัด สมาคม สโมสร มูลนิธิ ชมรมต่างๆ นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น

           โดยองค์การที่่ก่อตั้งขึ้นมานั้น จะมีการกำหนดข้อบังคับ ระเบียบ วิธีจัดการ และวัตถุประสงค์  มีการตั้งกองทุน การเรียกเก็บเงิน ค่าบำรุงสมาชิก รายรับต่างๆ และรายจ่ายต่างๆ  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการ จัดทำบัญชี สำหรับเงินกองทุน และรายรับรายจ่ายดังกล่าว โดยผู้จัดทำบญชี คือ เหรัญญิก ของ สโมสรและสมาคม หรือ พนักงานบัญชีและการเงิน

 

การก่อตั้งและทุนในการดําเนินการ

 

              การจัดตั้งองค์กรโดยมิได้แสวงหาผลกําไรจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการดําเนินกิจกรรมทางสังคม และจากการที่เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไรทําให้ไม่มีส่วนของเจ้าของ ดังนั้นแหลงเงินทุนที่ใชjในการดําเนินกิจกรรมอาจมาจากการสนับสนุนจากรัฐบาล การรับบริจาค และเงินค่าสมาชิกเป็นต้น ในการก่อตั้งองค์กรดังกล่าว สามารถแบ่งออก ตามกลุ่มผู้จัดตั้งได้ดังนี้

              1. องค์กรที่ก่อตั้งโดยภาครัฐบาล เป็นองค์กรไม่แสวงหากําไรที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การกํากับดูแลโดยกฎหมาย ได้แก่โรงพยาบาล สถานศึกษา วัด เป็นต้น โดยแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดําเนินการจะมาจากงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินบริจาค และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นต้น

              2. องค์กรที่ก่อตั้งโดยภาคเอกชน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มคน หรือสมาชิก เพื่อดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสมาชิกขององค์กร เช่น การกีฬา การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมรวมถึงการบําเพ็ญประโยชน์ให้สังคม เป็นต้น องค์กรดังกล่าวอาจดําเนินกิจกรรมในรูปของมูลนิธิสมาคม ชมรม หรือสโมสร หรือนิติบุคคลอาคารชุด/นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยต้องอยู่ภายใตการกํากับดูแลจากทางภาครัฐ แหลjงเงินทุนที่ใช้ในการดําเนินกิจกรรมจะมาจากค่าสมาชิก เงินบริจาค เงินค่าลงทะเบียน และเงินที่ได้จากการจัดกิจกรรมขององค์กร

 

รายรับและรายจ่าย

 

                รายรับ ของกิจการที่ไม่แสวงหาผลกําไรอาจประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้ คือ รายรับจากเงินค่าสมาชิก ค่าบริการที่เรียกเก็บ ดอกเบี้ยรับ เงินปันผล เงินบริจาค เงินค่าลงทะเบียนเงินสนับสนุน รายได้ค่าธรรมเนียมต่างๆ รายได้ค่าบํารุงการศึกษา ค่าหน่วยกิจ และรายได้จากการจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆ เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับรูปแบบขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นว่าเป็นรูปแบบใดรายได้ก็จะมีความแตกต่างกันไป

                รายจ่าย ของกิจการที่ไม่แสวงหาผลกําไรจะประกอบด้วยรายจ่ายที่สําคัญดังต่อไปนี้ คือ รายจ่ายดําเนินงาน รวมทั้งต้นทุนของสินค้าและบริการที่จัดมาจําหน่าย รวมถึงเงินบริจาคที่ช่วยเหลือแก่สังคม เป็นต้น

การบริหารและควบคุมการดําเนินงาน

               จากการที่องคกรไมแสวงหาผลกําไรไดรับเงินอุดหนุนจากแหลงเงินทุนตางๆ ซึ่งมีวัตถุประสงคเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานขององคกรที่แตกตางกันไป ดังนั้นเพื่อใหการใชเงินเปนไปตามวัตถุประสงคของผูสนับสนุน ทางองคกรอาจนําระบบกองทุนเขามาชวยในการบริหารและควบคุมการดําเนินงานขององคกร โดยแตละกองทุนจะถือเปนหนวยงานอิสระทางการเงิน มีสินทรัพย และระบบบัญชีตางๆ ที่สมบูรณของตนเอง องคกรที่ไมแสวงหาผลกําไรในแตละองคกรอาจประกอบดวยกองทุนเพียงกองทุนเดียว หรือหลายกองทุนก็ไดขึ้นอยูกับความเหมาะสมของแตละองคกร โดยกองทุนที่จัดตั้งขึ้นอาจประกอบดวยกองทุนตาง ๆ ดังนี้

               1. กองทุนทั่วไปหรือกองทุนดําเนินงาน เปนกองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยไมมีการกําหนดวัตถุประสงคการดําเนินงานไวเฉพาะเจาะจง แตจะทําหนาที่ในการบริหารงานทั่วไปขององคกร

               2. กองทุนเฉพาะกิจ เปนกองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงคในการดําเนินงานเฉพาะตามที่ผูใหการสนับสนุนดานเงินทุนกําหนดไว ไดแก กองทุนไดรับเงินสนับสนุนเพื่อชวยเหลือผูติดเอดส กองทุนไดรับเงินสนับสนุนเพื่อชวยเหลือผูประสบภัยตาง ๆ หรือกองทุนไดรับเงินสนับสนุนเพื่อชวยเหลือคนยากไร เปนตน

               3. กองทุนจัดหาผลประโยชน เปนกองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงคเพื่อทําการบริหารเงินทุนที่ไดรับจากการสนับสนุน เพื่อใหเกิดดอกผลและโอนดอกผลดังกลาวไปใหกองทุนตาง ๆเพื่อใชในการดําเนินงาน สวนเงินตนที่ไดรับการสนับสนุนในตอนแรกสวนมากจะไมถูกนําไปใชจาย

              4. กองทุนจัดหาสินทรัพยถาวร เปนกองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงคในการจัดหาสินทรัพยถาวร หรือสิ่งอํานวยความสะดวกที่มีอายุการใชงานนาน และมีมูลคาสูง ๆ เชน อาคาร ยานพาหนะ เปนตน

              5. กองทุนทรัสตและกองทุนตัวแทน เปนกองทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อทําหนาที่ดําเนินการเกี่ยวกับทรัพยสินของบุคคลอื่นหรือหนวยงานอื่นที่เขามาอยูในความดูแล โดยกองทุนอาจทําหนาที่ในฐานะผูบริหารจัดการผลประโยชน หรือผูดูแลรักษาสินทรัพยดังกลาว

การบัญชีสําหรับกิจการไมแสวงหาผลกําไร

               กิจการที่ไมแสวงหาผลกําไรที่จัดตั้งโดยภาครัฐ หรือภาคเอกชน ถึงแมจะไมมีวัตถุประสงค เพื่อแสวงหากําไร แตก็มีความจําเปนที่จะตองจัดทําบัญชี และรายงานทางการเงิน เพื่อใหสมาชิกบุคคลทั่วไป รวมถึงหนวยงานที่เกี่ยวของไดรับทราบถึงฐานะทางการเงิน รายไดรายจาย ที่มีผลตอกองทุนขององคกรนั้นๆ รวมถึงไดมีการดําเนินงานใหเปนไปตามวัตถุประสงคที่กําหนดไวหรือไม และจากการที่องคกรตองมีการควบคุมคาใชจายใหเปนไปตามวัตถุประสงคของแหลงเงินที่ใหการสนับสนุน องคกรที่ไมแสวงหาผลกําไรจึงไดนําระบบบัญชีกองทุนมาชวยในการควบคุมการดําเนินงาน

               การจัดทําบัญชีกองทุน ไดมีการนําหลักการบัญชีการเงินที่ใชกับองคกรธุรกิจทั่วไปมาปรับใชกับองคกรที่มิไดมุงแสวงหาผลกําไร ทําใหวิธีการบันทึกบัญชีทั้งสององคกรมีความใกลเคียงกันแตอาจจะมีความแตกตางกันบาง ในเรื่องการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับรูรายได คาใชจายและการคิดคาเสื่อมราคา ที่จะตองมีการปรับวิธีการบันทึกบัญชีใหมีความสอดคลองกับองคกรที่มิไดมุงแสวงหาผลกําไร ในแตละองคกร องคกรที่ไมแสวงหากําไรอาจประกอบดวยกองทุนเพียงกองทุนเดียว หรือหลายกองทุน ซึ่งแตละกองทุนจะถือเปนหนวยงานอิสระทางการเงินมีสินทรัพยและระบบบัญชีเปนของตนเอง ซึ่งในแตละกองทุนอาจเลือกใชหลักเกณฑในการบันทึกบัญชีดังนี้

               1.การบันทึกบัญชีเกณฑเงินสด คือเกณฑที่กองทุนจะทําการบันทึกบัญชีรายไดและรายจายก็ตอเมื่อไดมีการรับเงินสดเขามา และจายเงินสดออกไป

               2.การบันทึกบัญชีเกณฑคงคาง คือเกณฑที่กองทุนจะทําการบันทึกบัญชีรายไดหรือรายจายทันทีเมื่อมีรายไดหรือรายจายเกิดขึ้น โดยไมคํานึงถึงวาจะมีการรับเงินสดเขามา หรือไดจายเงินสดออกไปหรือยัง แตในทางปฏิบัติแมจะมีการบันทึกบัญชีโดยใชหลักคงคางแตถาเปนรายการรายรับหรือรายจายที่มีจํานวนเงินไมมากอาจทําการบันทึกบัญชีโดยใชเกณฑเงินสด เชน รายการรายไดเบ็ดเตล็ด รายจายเบ็ดเตล็ด ดอกเบี้ยจายเปนตน

               3.การบันทึกบัญชีเกณฑผสม คือเกณฑที่กองทุนจะทําการบันทึกบัญชีรายไดตอเมื่อไดรับเงินสดเขามา แตจะบันทึกบัญชีรายจายทันทีเมื่อมีรายจายเกิดขึ้นโดยไมคํานึงวาจะมีการจายเงินสดออกไปหรือยัง

การบันทึกบัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคา

               เมื่อกิจการที่ไม่แสวงหากําไรได้รับสินทรัพย์ถาวรมาอยูในความดูแล กิจการจะต้องทําบันทึกบัญชีจากการได้รับสินทรัพย์ดังกล่าวเข้ามาอยู่ในความดูแล โดยถ้าเป็นองค์กรที่ไมแสวงหาผลกําไรที่ประกอบดวยกองทุนเพียงกองทุนเดียวอาจบันทึกบัญชีเชนเดียวกับภาคธุรกิจ แตถาเปนองคกรที่ประกอบดวยกองทุนหลายกองทุนและมีการแยกกองทุนสินทรัพยถาวรออกมาตางหากอาจใชวิธีการบันทึกบัญชีวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้

                1. การบันทึกสินทรัพย์ถาวรที่ได้รับมาเป็นค่าใช้ประจํางวดทั้งจํานวน และไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา ซึ่งวิธีนี้เหมาะสําหรับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไรที่จัดตั้งโดยภาครัฐ หรือเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าไม่สูงมากเพราะเวลาที่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายจะไม่ส่งผลกระทบต่องบการเงินประจําปี โดยมีวิธีการบันทึกบัญชี ดังนี้

                    เดบิต  ค่าใช้จ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร                          xxx
                             เครดิต เงินสด  หรือเงินฝากธนาคาร                             xxx

                2. การบันทึกบัญชีสินทรัพย์ถาวร และค่าเสื่อมราคาเช่นเดียวกับการบันทึกบัญชีของภาคธุรกิจ โดยเมื่อมีการรับสินทรัพย์ถาวรเข้ามา จะบันทึกบัญชี โดย

                    เดบิต  สินทรัพย์ถาวร                                          xxx
                             เครดิต  เงินสด หรือเงินฝากธนาคาร                            xxx

                    และเมื่อถึงตอนสิ้นงวดจะมีการบันทึกบัญชีรายการปรับปรุงค่าเสื่อมราคา โดย

                    เดบิต   ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร                        xxx
                              เครดิต  ค่าเสื่อมราคาสะสมสินทรัพย์ถาวร                   xxx

การบันทึกบัญชีรายการรับรู้รายได้และรายจ่าย

                  ในการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายของกิจการที่ไม่แสวงหาผลกําไรที่จัดตั้งโดยภาคเอกชน ส่วนใหญ่สามารถใช้หลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีเช่นเดียวกับระบบบัญชีการเงินของภาคธุรกิจที่ใช้เกณฑ์คงค้างเพื่อให้การรับรู้รายได้และค่าใช้ตรงตามงวด และใชเกณฑ์เงินสดกรณีที่รายรับและรายจ่ายมีความไม่แน่นอน ไม่เกิดขึ้นเป็นประจํา และไม่มีสาระสําคัญ แต่มีรายรับและรายจ่ายบางรายการที่องค์กรไม่แสวงหากําไรจะต้องมีการปรับวิธีการบันทึกบัญชีในการรับรู้รายได้ให้เหมาะสมกับองค์กรซึ่งจะแตกต่างไปจากธุรกิจทั่วไป โดยได้แก่รายการดังต่อไปนี้

                  1. รายได้ค่าบำรุงสมาชิก กรณีที่องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไรมีการเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในกรณีที่เป็นค่าสมาชิก ถ้าองค์กรบันทึกเป็นรายได้รับล่วงหน้าทั้งจํานวนเวลาปรับปรุงรายการตอนสิ้นปีอาจทําได้ไม่ถูกต้องเนื่องจากไม่สามารถคาดเดาได้ว่าสมาชิกจะมีอายุยืนยาวเท่าไร ดังนั้นควรใช้เกณฑ์เงินสดในการบันทึกบัญชีรับรู้รายได้ดังกล่าว

                  2. รายได้จากเงินอุดหนุนระยะยาว ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทุกปี โดยไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะต้องได้รับการสนับสนุนทุกๆ ปี องค์กรควรบันทึกบัญชีโดยใช้เกณฑ์เงินสด

                  3. รายการสินค้าและวัสดุ ที่องค์กรแสวงหาผลกําไรได้จัดซื้อมา ถ้ากรณีมีมูลค่าไม่มากอาจบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งจํานวนในงวดนั้น แต่ถ้ามีมูลค่ามากควรบันทึกเป็นสินทรัพย์เมื่อได้รับมาในงวดนั้น แล้วค่อยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีการใช้จริง

สมุดบัญชี

                 สมุดบัญชีที่ใช้ในการบันทึกบัญชีขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร  จะมีลักษณะเหมือกับกิจการภาคธุรกิจที่แสวงหาผลกําไร โดยจะประกอบด้วย

                 1. สมุดขั้นต้น ซึ่งได้แก่ สมุดรายวันทั่วไป และสมุดรายวันเฉพาะ

                 2. สมุดขั้นปลาย ได้แก่ สมุดแยกประเภททั่วไป

การปดบัญชีและจัดทํางบการเงิน

                ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการที่ไม่แสวงหาผลกําไรจะต้องดําเนินการปิดบัญชีและจัดทํางบการเงินเพื่อให้สมาชิกและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบถึงฐานะการเงิน และการดําเนินงานที่ผ่านมาว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่ โดยการปิดบัญชีจะประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

                1. ปิดบัญชีรายได้รายจ่าย โดยจะปิดบัญชีรายได้และรายจ่ายเข้าบัญชีเงินกองทุน สําหรับกิจการไม่แสวงหากําไรที่ประกอบด้วยกองทุนเดียวจะมีความยุ่งยากน้อยกว่า กิจการที่ประกอบดวยหลายกองทุนเพราะจะต้องมีการแยกบัญชีรายได้และรายจ่ายที่ต้องปิดออกเป็นของแต่ละกองทุนโดยการปิดบัญชีสามารถบันทึกได้ดังนี้

                    เดบิต  รายได้                                                             xxx
                             รายได้ต่ํากว่ารายจ่าย(กรณีรายได้ต่ํากว่ารายจ่าย)       xxx

                             เครดิต  รายจ่าย                                                               xxx
                                        รายได้สูงกว่ารายจ่าย(กรณีรายได้สูงกว่ารายจ่าย)          xxx

                2. ปิดบัญชีรายได้สูง(ต่ํา)กว่ารายจ่าย เข้าบัญชีกองทุน

                   กรณีรายได้สูงกวารายจ่าย

                       เดบิต  รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย                                          xxx
                                เครดิต กองทุน                                                               xxx

                   กรณีรายได้ต่ํากว่ารายจ่าย

                                 เดบิต  กองทุน                                                 xxx
                                          เครดิต  รายได้ต่ํากว่าใช้จ่าย                                    xxx

ในการจัดทํางบการเงินของกิจการที่ไม่แสวงหาผลกําไรจะประกอบด้วย

               1. งบดุล คืองบที่แสดงถึงฐานะการเงินขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลาบัญชี มีลักษณะใกล้เคียงกับกิจการที่แสวงหากําไร โดยจะประกอบด้วยสินทรัพย์ หนี้สิน แต่จะไม่มีบัญชีส่วนของเจ้าของเนื่องจากเป็นกิจการที่ไม่แสวงหากําไร แต่จะมีบัญชีเงินกองทุนแทน

                   ตัวอยางงบดุล

ชื่อองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร
งบดุล
ณ วันที่…………………

สินทรัพย์

สินทรัพย์หมุนเวียน
          เงินสด และเงินฝากธนาคาร                                    xxx
          ดอกเบี้ยค้างรับ                                                     xxx
          วัสดุคงเหลือ                                                        xxx
          สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น                                            xxx                     
xxxx
                                                                                          
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
          ที่ดิน                                                                  xxx
          อาคาร(สุทธิ)                                                       xxx
          อุปกรณ์(สุทธิ)                                                      xxx                      xxxx
                    รวมสินทรัพย์                                                                          xxxx

หนี้สินและกองทุน

      หนี้สินหมุนเวียน.

         ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                                                  xxx
         
หนี้สินหมุนเวียนอื่น                                                xxx                      xxxx
     หนี้สินไม่หมุนเวียน
         
เจ้าหนี้เงินกู้                                                          xxx
         หนี้สินอื่น                                                             xxx                     
xxxx
                  รวมหนี้สิน                                                                          

กองทุนคงเหลือ                                                                                       xxxx

                  รวมหนี้สินและกองทุน                                                           xxxx

              
2. งบรายได้ค่าใช้จ่าย คืองบที่แสดงผลการดําเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร โดยประกอบด้วย รายได้ รายจ่าย และถ้ากรณีรายได้สูงกว่ารายจ่าย จะแสดงด้วยรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายแต่ถารายจ่ายสูงกว่ารายได้จะแสดงด้วยรายได้ต่ํากว่าค่าใช้จ่าย และส่วนต่างดังกล่าวจะถูกนําไปปรับกับบัญชีเงินกองทุนสะสม

                  ตัวอย่างงบรายได้ค่าใช้จ่าย

ชื่อองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร
งบรายได้ค่าใช้จ่าย
สําหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่………………..

                                  รายได้
                                                ค่าสมาชิก                                                     xxx
                                                ดอกเบี้ยรับ                                                   xxx
                                                รับบริจาค                                                      xxx         
xxxx

                                  ค่าใช้จ่าย
                                                ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานทั่วไป                  xxx
                                                ค่าซ่อมแซมและบํารุงรักษา                           xxx
                                                ค่าใช้จ่ายในการวิจัย                                     xxx
                                                ค่าเสื่อมราคาอาคาร                                      xxx
                                                ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์                                    xxx
                                                ค่าตอบแทนพนักงาน                                    xxx         
xxxx

                                                                            รายได้สูง(ต่ํา)กว่าคาใช้จ่าย                 xxxx

              3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของเงินกองทุน เป็นงบที่แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงส่วนของเงินกองทุนขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร ที่เกิดระหว่างระยะเวลาบัญชี

                  ตัวอย่างงบแสดงการเปลี่ยนแปลงของเงินกองทุน

ชื่อหน่วยงาน........................
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของกองทุน
สําหรับปี สิ้นสุด..................................

ยอดยกมา1มกราคม2545                                                                xxx
รับจัดสรรจากกองทุนทั่วไป                                                               xxx
รับเงินบริจาค                                                                                 xxx
จัดสรรรายได้สูง(ต่ํา)กว่าค่าใช้จ่าย                                                      xxx
รายได้จากกองทุนจัดหาผลประโยชน์                                                  xxx
ยอดคงเหลือยกไป                                                                         xxx

 

สรุป

              กิจการที่ไม่แสวงหากําไร หมายถึง กิจการที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่ ประชาชนหรือสมาชิก รวมถึงการทําประโยชน์ให้กับสังคมในด้านต่างๆ โดยกิจการที่มิได้แสวงหาผลกําไรอาจจัดตั้งโดยภาครัฐบาลหรือภาคเอกชน ที่อยู่ในรูปแบบของสถานศึกษา สถานพยาบาล วัด ชมรม สมาคม สโมสร หรือมูลนิธิ

              ในการดําเนินงานของกิจการที่ไม่แสวงหากําไรจะได้รับเงินอุดหนุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานขององค์กรที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเพื่อให้การใช้เงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้สนับสนุน ทางองค์กรอาจนําระบบกองทุนเขามาชjวยในการบริหารและควบคุมการดําเนินงาน รวมถึงได้นําระบบบัญชีกองทุนมาใช้ในจัดทําบัญชี และรายงานทางการเงิน เพื่อให้สมาชิก บุคคลทั่วไป รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงฐานะทางการเงิน รายได้รายจ่าย ขององค์กรนั้นๆ โดยระบบบัญชีกองทุนจะมีความใกล้เคียงกับระบบบัญชีขององค์กรธุรกิจทั่วไปแต่อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างในบางเรื่องที่จะต้องมีการปรับวิธีการบันทึกบัญชีให้มีความสอดคล้องกับองค์กรที่มิได้มุ่งแสวงหาผลกําไรในแต่ละองค์กร

 

-----------------------------------------------------------------------

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี