ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี คำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใช้ 1 มกราคม 2554 - 31 ธันวาคม 2566)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม)
bulletคำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


คำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
:: คำถามที่พบบ่อย ::   บัญชีธุรกิจและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

อยากทราบวิธีการบันทึกบัญชีการรับชำระค่าหุ้นจดทะเบียนเป็นเงินสดและลูกหนี้ค่าหุ้น ?

ตอบ : - การบันทึกทุนจดทะเบียน Dr เงินสด XXX ลูกหนี้ค่าหุ้น XXX Cr ทุนจดทะเบียน XXX - เมื่อได้รับชำระค่าหุ้น Dr เงินสด/ธนาคาร XXX Cr ลูกหนี้ค่าหุ้น XXX

การตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง หมายถึงอะไร และมีวิธีการรับรู้อย่างไร ?

ตอบ : ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง หมายถึง ส่วนต่างที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้า คงเหลือสภาพปกติหรือสภาพเสื่อมชำรุดระหว่างราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ เมื่อสินค้าคงเหลือถูกปรับลดให้เป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ไม่ให้ถือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับนั้นเป็นราคาทุนใหม่ ถ้ากิจการยังคงถือสินค้าคงเหลือดังกล่าวอยู่ ณ วันสิ้นงวดบัญชีถัดมา กิจการต้องเปรียบเทียบราคาทุนเดิมกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ได้ประเมินใหม่ ณ วันนั้น ซึ่งอาจเป็นผลให้มีการกลับรายการที่เคยบันทึกปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือในงวดบัญชีก่อน หากมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ประเมิน ณ วันสิ้นงวดบัญชีถัดมากลับมีมูลค่าสูงขึ้น

การบันทึกรายการบัญชีตามใบสำคัญทั่วไปในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ถือเป็นสมุดบัญชีรายวันทั่วไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้หรือไม่ ?

ตอบ : การจัดทำบัญชีรายวัน ไม่ว่าจัดทำด้วยมือหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะต้องเป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544

กิจการถูกไฟไหม้ ทำให้บัญชีและเอกสารเสียหายบางส่วน และได้แจ้งเอกสารเสียหายกับทางกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว โดยในทางบัญชีกิจการมีรายการลูกหนี้การค้าแต่ไม่มีเอกสารเรียกเก็บเงิน ทำให้ยอดลูกหนี้ยังคงมีปรากฏอยู่ในบัญชี ดังนั้นกิจการจะสามารถตัดบัญชีลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญได้หรือไม่ ?

ตอบ : ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดหนี้สูญไว้ดังนี้ 1. เมื่อมีการทวงถามถึงที่สุดแล้ว โดยดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย ภาษีอากร 2. คาดหมายได้แน่นอนว่าจะไม่ได้รับการรับชำระหนี้

กรณีที่กิจการมีเงินลงทุนชั่วคราวเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดทั้งประเภทหลักทรัพย์ เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายนั้น กิจการจะต้องมีการปรับปรุงเงินลงทุนให้เป็นมูลค่ายุติธรรมทุกงวดบัญชีหรือไม่ ?

ตอบ : ณ วันสิ้นปี กิจการจะต้องแสดงหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ทั้งที่เป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายที่ถือเป็นเงินลงทุนชั่วคราวในงบดุล ด้วยมูลค่ายุติธรรม โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการขายเงินลงทุนนั้น การปรับมูลค่าของเงินลงทุน-หลักทรัพย์เพื่อค้าเป็นราคายุติธรรมนั้น อาจปรับโดยผ่านบัญชี “ ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน-หลักทรัพย์เพื่อค้า ” แทนที่จะเครดิตออกจากบัญชีเงินลงทุนชั่วคราว-หลักทรัพย์เพื่อค้าก็ได้

กิจการรับงานก่อสร้างให้กับหน่วยราชการ ซึ่งในปัจจุบันราคาของวัตถุดิบแปรผันมากและส่วนใหญ่ ไม่สามารถจะเรียกร้องจากหน่วยราชการได้ จึงทำให้เกิดผลขาดทุนขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นกิจการควรแสดงงบการเงินหรือเปิดเผยถึงกรณีที่เกิดการขาดทุนเนื่องจากการซื้อมากกว่าการขายอย่างไร ?

ตอบ : ถ้ากิจการเกิดผลขาดทุนจริงๆ กิจการต้องแสดงงบการเงินตามความเป็นจริงและสามารถเปิดเผยถึงสาเหตุที่เกิดผลขาดทุนจำนวนสูงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินได้

กิจการจ่ายเช็คชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2548 แต่เจ้าหนี้การค้ายังไม่นำเช็คไปขึ้นเงิน กิจการต้องปรับปรุงบัญชีหรือไม่ ?

ตอบ : กิจการไม่ต้องปรับปรุงรายการ แต่ควรมีการจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคารเพื่อให้กิจการสามารถตรวจสอบรายการได้

กิจการ A ได้รวมธุรกิจกับกิจการ B โดยการเข้าซื้อธุรกิจของกิจการ B ดังนั้นกิจการ A ควรบันทึกบัญชีในการซื้อธุรกิจของกิจการ B อย่างไร ?

ตอบ : การรวมธุรกิจที่ถือเป็นการซื้อธุรกิจต้องปฏิบัติทางบัญชีโดยใช้วิธีซื้อ ซึ่งวิธีซื้อมีการบันทึกบัญชีคล้ายกับการซื้อสินทรัพย์โดยทั่วไป เนื่องจากการซื้อธุรกิจเป็นรายการบัญชีที่เกี่ยวกับการ โอนสินทรัพย์ การก่อหนี้สินหรือการออกหุ้นทุนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการควบคุมสินทรัพย์สุทธิและการดำเนินงานของอีกกิจการหนึ่ง วิธีซื้อใช้ราคาทุนเป็นเกณฑ์ในการบันทึกบัญชีโดยกำหนดต้นทุนการซื้อธุรกิจจากรายการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น

กิจการมีลูกหนี้การค้าที่เป็นหนี้ค้างชำระและไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่เนื่องจากนานมากและการจัดเก็บเอกสารไม่ดี ทำให้ไม่มีหลักฐานการเป็นหนี้ ดังนั้นกิจการควรทำอย่างไรจึงจะตัดเป็นหนี้สูญได้ ?

ตอบ : ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 เรื่องหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดหนี้สูญไว้ดังนี้
           1. เมื่อมีการทวงถามถึงที่สุดแล้ว โดยดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย ภาษีอากร
           2. คาดหมายได้แน่นอนว่าจะไม่ได้รับการรับชำระหนี้

กิจการได้กู้เงินนอกระบบมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ เนื่องจากกิจการไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งในการกู้เงินนอกระบบจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงินประมาณ 7 เท่า ดังนั้นกิจการสามารถนำเงินกู้และดอกเบี้ยนอกระบบมาบันทึกบัญชีได้หรือไม่ ?

ตอบ : ถ้ากิจการมีการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้จริง กิจการสามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ซึ่งเงินกู้ยืมที่ได้รับมาก็ต้องบันทึกเป็นหนี้สินในงบการเงิน และต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินและการชำระดอกเบี้ยที่สามารถตรวจสอบได้เพื่อประกอบการลงบัญชี

กรณีกิจการขายสินค้าให้ลูกค้าต่างประเทศเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ และต่อมาได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ต่างประเทศ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการกับวันที่รับชำระหนี้มีอัตราแตกต่างกัน ดังนั้นกิจการควรบันทึกบัญชีอย่างไร ?

ตอบ : กิจการต้องบันทึกผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นของวันที่เกิดรายการกับวันที่มีการรับชำระหนี้ โดยรับรู้เป็นกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบรายการเจ้าหนี้การค้าซึ่งมีสาระสำคัญ โดยการขอความร่วมมือกับเจ้าหนี้ของกิจการที่รับตรวจสอบ ซึ่งให้เจ้าหนี้ทำรายละเอียดยอดคงค้างทั้งหมด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น และขอเอกสารยืนยันจากเจ้าหนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ให้เพียงตัวเลขยอดคงค้างทั้งหมดเท่านั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดเอกสารหลักฐานใดๆเลย กรณีดังกล่าวผู้สอบบัญชีควรดำเนินการอย่างไร ?

ตอบ : ในการขอคำยืนยันยอดเจ้าหนี้นั้น ผู้สอบบัญชีต้องติดต่อกับเจ้าหนี้โดยตรง แต่ต้องได้รับอนุญาตจากลูกค้าก่อน เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าของลูกค้า โดยถ้าการขอคำยืนยันยอดหรือขอรายละเอียดหลักฐานจากเจ้าหนี้ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ผู้สอบบัญชีต้องใช้วิธีการตรวจสอบอื่นเพื่อให้ได้หลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับเจ้าหนี้การค้า

งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงหน้ารายงานการสอบบัญชีเป็นแบบไม่แสดงความเห็น ถือว่างบการเงินนั้นไม่ถูกต้องใช่หรือไม่ ?

ตอบ : การแสดงหน้ารายงานดังกล่าว ถือเป็นความเห็นของผู้สอบบัญชี โดยที่ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบไม่แสดงความเห็นก็ต่อเมื่อผู้สอบบัญชีไม่ได้ปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างมีสาระสำคัญมาก หรือกิจการที่ตรวจสอบมีปัญหาต่อการดำเนินงานต่อเนื่องอย่างมีสาระสำคัญมาก หรือมีความไม่แน่นอนอันมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญมาก ทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบงบการเงินให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอที่จะวินิจฉัยหรือให้ได้ความเห็นได้ว่า งบการเงินนั้นมีความถูกต้องตามที่ควรหรือไม่เพียงใด

ผู้สอบบัญชีไม่ได้เข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือปลายงวดของกิจการ เนื่องจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีหลังวันตรวจนับสินค้า และไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจในปริมาณของสินค้าคงเหลือได้ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่าผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจสอบบัญชีหรือไม่ ?

ตอบ : ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้สอบบัญชีได้ตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดและหรือตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป จะเรียกว่า ขอบเขตการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีถูกจำกัด ซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
           1. การถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบโดยลูกค้า
           2. การถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบโดยสถานการณ์ กรณีคำถามข้างต้น ถือว่าผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบโดยสถานการณ์

การแสดงความเห็นในหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี กรณีรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้อง กับกรณีไม่แสดงความเห็น มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร ?

ตอบ : ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้องก็ต่อเมื่อผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และผู้สอบบัญชีเห็นว่าหรือมีความเชื่อมั่นว่างบการเงินที่ตนตรวจสอบนั้นไม่ได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดไว้อย่างถูกต้องตามที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กล่าวโดยสรุปคืองบการเงินโดยรวมมีความถูกต้องน้อยมาก และมีสิ่งผิดพลาดมาก - ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบไม่แสดงความเห็นก็ต่อเมื่อผู้สอบบัญชีไม่ได้ ปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างมีสาระสำคัญมาก หรือกิจการที่ตรวจสอบมีปัญหาต่อการดำเนินงานต่อเนื่องอย่างมีสาระสำคัญมากหรือมีความไม่แน่นอน อันมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญมาก ทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบงบการเงินให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอที่จะวินิจฉัยหรือให้ความเห็นได้ว่างบการเงินนั้นมีความถูกต้องตามที่ควรหรือไม่เพียงใด กล่าวโดยสรุปคือ ผู้สอบบัญชีไม่อาจตรวจสอบงบการเงินเพื่อให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีจนเป็นที่พอใจเพื่อทราบว่างบการเงินโดยรวมมีความถูกต้องหรือไม่

กรณีที่กิจการให้ความร่วมมือทุกอย่างกับผู้สอบบัญชีเป็นอย่างดี แต่ผู้สอบบัญชีเขียนรายงานการสอบบัญชีเป็นแบบมีเงื่อนไข กิจการควรทำอย่างไร ?

ตอบ : กิจการต้องติดต่อกับผู้สอบบัญชีโดยตรง เนื่องจากกิจการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับผู้สอบบัญชี ถือว่าผู้สอบบัญชีไม่ถูกจำกัดขอบเขต แต่กิจการต้องดูด้วยว่าการรับงานของผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตโดยสถานการณ์หรือไม่ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้รายงานเป็นแบบมีเงื่อนไข หรือบัญชีและเอกสารของกิจการอาจไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

บัญชีงานระหว่างทำต้นงวด ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบได้ ควรดำเนินการเพิ่มเติมอย่างไร ?

ตอบ : หากผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบงานระหว่างทำต้นงวดของกิจการได้ ผู้สอบบัญชีอาจดูรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีปีก่อน ว่ามีการเขียนรายงานในเรื่องนี้เป็นแบบมีเงื่อนไขหรือไม่ หรืออาจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้สอบบัญชีคนก่อน และหากเป็นรายการที่มีจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีอาจแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข

ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันปิดบัญชี พร้อมกับกิจการทุกครั้งใช่หรือไม่ ?

ตอบ : ผู้สอบบัญชีต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ เนื่องจากมาตรฐานการสอบบัญชีกำหนดให้ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ต้องตรวจสอบรายการต่างๆ ในงบการเงิน อย่างไรก็ตาม หากผู้สอบบัญชีไม่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้า ผู้สอบบัญชีอาจใช้วิธีการตรวจสอบสินค้าคงเหลือวิธีอื่นที่ทำให้ผู้สอบบัญชีมั่นใจได้ว่ามูลค่าและปริมาณสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดถูกต้อง

การปรับโครงสร้างหนี้กรณีลูกหนี้โอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ตั๋วเงินทั้งจำนวนให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร ?

ตอบ : Dr. ที่ดิน XXX ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ XXX ขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ XXX Cr. ตั๋วเงินรับ XXX ดอกเบี้ยค้างรับ XXX (บันทึกการรับโอนที่ดินเพื่อรับชำระหนี้จากลูกหนี้ตั๋วเงินรับ) ณ วันที่ปรับโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้ต้องบันทึกบัญชีสินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรม และ เจ้าหนี้ต้องบันทึกผลต่างระหว่างเงินลงทุนในลูกหนี้ที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่รับโอน (หักด้วยประมาณการค่าใช้จ่ายในการขาย) เป็นรายการขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ภายหลังการบันทึกรายการเกี่ยวกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่มีอยู่

การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา มีวิธีปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับลูกหนี้อย่างไร ?

ตอบ : การปรับโครงสร้างหนี้เกิดจากการยินยอมของเจ้าหนี้ที่จะผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงิน ซึ่งตามปกติจะไม่พิจารณายินยอมให้ วิธีปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับลูกหนี้เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา สามารถจำแนกตามลักษณะได้ดังนี้
           1. การโอนสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้ทั้งหมด
               1.1 บันทึก “กำไร/ขาดทุนจากการโอนสินทรัพย์” = มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอน - ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่โอน
               1.2 บันทึก “รายการกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้” = ราคาตามบัญชีของหนี้ - มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอนให้เจ้าหนี้
           2. การโอนส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของเพื่อชำระหนี้ทั้งหมด (การแปลงหนี้เป็นทุน) บันทึก “รายการกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้” = ราคาตามบัญชีของหนี้ค้างชำระ - มูลค่ายุติธรรมของส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของ
           3. การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้
               3.1 บันทึกผลกระทบจากการปรับโครงสร้างหนี้นับตั้งแต่วันที่ปรับโครงสร้างหนี้จนถึงวันครบกำหนดของหนี้ตามเงื่อนไขใหม่
               3.2 บันทึก “กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้” หากราคาตามบัญชีของหนี้มากกว่าจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในอนาคตตามเงื่อนไขใหม่

กรณีกิจการได้บันทึกรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ในงวดก่อน แต่ต่อมาภายหลังมีข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่ารายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ได้หมดไปหรือลดลงไป ดังนั้นกิจการจะสามารถกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าได้หรือไม่ ?

ตอบ : ณ วันที่ในงบดุล เมื่อกิจการประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่ารายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่กิจการได้รับรู้ในงวดก่อนได้หมดไปหรือลดลงไป กิจการต้องกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่กิจการรับรู้ในงวดก่อน เมื่อประมาณการที่ใช้กำหนดมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนได้เปลี่ยนแปลงไปภายหลังจากที่กิจการได้รับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าแล้ว ในกรณีนี้ กิจการต้องบันทึกเพิ่มราคาตามบัญชีให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้น

กิจการจะต้องประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่มีอยู่ทุกๆปีหรือไม่ ?

ตอบ : สินทรัพย์จะเกิดการด้อยค่าก็ต่อเมื่อราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงินนั้นสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนจากการใช้หรือขายสินทรัพย์ และกิจการต้องรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่า ซึ่ง ณ วันสิ้นงวด กิจกาจต้องประเมินว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่เกิดการด้อยค่าหรือไม่ หากกิจการพบว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อได้ว่าสินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่า กิจการต้องประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้น

หากกิจการพบว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อได้ว่าสินทรัพย์เกิดการด้อยค่า กิจการจะสามารถหาราคาที่ถือเป็นหลักฐานสำหรับราคาขายสุทธิของสินทรัพย์จากแหล่งใดได้บ้าง ?

ตอบ : กิจการสามารถหาราคาขายสุทธิของสินทรัพย์ ได้จาก
           1. ราคาตามสัญญาซื้อขายที่เกิดจากการต่อรองอย่างเป็นอิสระ ปรับปรุงด้วยต้นทุนส่วนเพิ่มซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจำหน่ายสินทรัพย์
           2. ถ้าไม่มีราคาตาม 1. ให้ใช้ราคาซื้อขายในตลาดซื้อขายคล่อง
           3. ถ้าไม่มี 1.และ 2. ให้ประมาณราคาขายสุทธิจากข้อมูลที่ดีที่สุดที่หาได้ ซึ่งคาดว่า กิจการจะได้รับจากการจำหน่ายสินทรัพย์

การจัดทำบัญชีสินค้าจะต้องจัดทำลักษณะใดจึงจะถูกต้องและเป็นไปตามพ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543 ?

ตอบ : บัญชีสินค้าหรือบัญชีสินค้าซึ่งอยู่ในครอบครอง คือ บัญชีสำหรับบันทึกจำนวนสินค้าที่ได้มาและขายไป โดยไม่คำนึงว่าจะได้มาโดยซื้อหรือผลิตขึ้น บัญชีสินค้าก็คือบัญชีคุมสินค้าหรือบัญชีสต๊อกสินค้านั่นเอง ซึ่งการลงรายการในบัญชีสินค้าต้องลงตามประเภทหรือชนิดของสินค้าที่ซื้อมาหรือจำหน่ายไป ระบุวันเดือนปี รายการแสดงการได้มาหรือจำหน่ายไป และจำนวนสินค้า การลงรายการในบัญชีสินค้าควรระบุเลขที่ใบสำคัญเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการจำหน่ายสินค้าออกจากบัญชีด้วย สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544

กิจการซื้อสินค้าจากต่างประเทศและนำเข้าสินค้ามาทางเรือ โดยมีเงื่อนไขแบบ F.O.B Shipping Point กิจการจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร ?

ตอบ : กรณีซื้อโดยมีเงื่อนไข F.O.B Shipping Point นั้น กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนเป็นของผู้ซื้อเมื่อผู้ขายจัดส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ แม้ว่าสินค้าจะอยู่ระหว่างการขนส่งและยังไม่ถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งจะยึดวันที่ใน Bill of Lading (ใบยืนยันสินค้าได้ลงเรือแล้ว) บันทึกโดย Dr. สินค้าระหว่างทาง XXX Cr. เจ้าหนี้การค้า XXX เมื่อกิจการได้รับสินค้าเรียบร้อยแล้ว จะบันทึก Dr. ซื้อ XXX Cr. สินค้าระหว่างทาง XXX

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมธนาคารที่กิจการกู้มาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าจะรวมเป็นราคาทุนของสินค้าได้หรือไม่ ?

ตอบ : มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 33 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม ตามแนวทางที่กำหนดให้ถือปฏิบัติ ต้นทุนการกู้ยืมต้องถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่ค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้น โดยมิต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม ยกเว้นต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา การก่อสร้าง หรือการผลิตสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าต้นทุนการกู้ยืมดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่กิจการในอนาคต และกิจการสามารถประมาณจำนวนต้นทุนการกู้ยืมได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการสามารถนำมารวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้ ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข ได้แก่ โรงงาน โรงผลิตพลังงาน เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการแปลงสภาพให้พร้อมที่จะขาย ส่วนตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ไม่เข้าเงื่อนไข ได้แก่ เงินลงทุนอื่น สินค้าที่ทำการผลิตเป็นประจำ สินค้าที่ผลิตเป็นจำนวนมากโดยมีขั้นตอนการผลิตซ้ำๆ ในช่วงระยะเวลาสั้น และสินทรัพย์ที่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์หรือพร้อมที่จะขายทันที่ที่ซื้อ

กิจการนำสินค้าไปฝากขายกับบริษัท ก จำกัด เป็นเครื่องทำน้ำอุ่นจำนวน 10 เครื่อง กิจการควรบันทึกรับรู้รายได้จากการฝากขายเมื่อใด ?

ตอบ : กรณีการฝากขาย กรรมสิทธิ์ของสินค้ายังเป็นของผู้ฝากขายอยู่จนกว่าผู้รับฝากจะขายสินค้าได้ ดังนั้นกิจการจะรับรู้เป็นรายได้จากการฝากขายเมื่อบริษัทขายสินค้าของกิจการได้และส่งรายงานการรับฝากขายสุทธิมาให้กับกิจการ

กิจการต้องบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาใหม่ของสินทรัพย์อย่างไร ?

ตอบ : - กิจการต้องบันทึกราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่ไปยังบัญชี “ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์” ซึ่งแสดงในงบดุลภายใต้หัวข้อส่วนของเจ้าของ แต่หากสินทรัพย์รายการนั้นเคยตีราคาลดลง และกิจการได้เคยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อนแล้ว ส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่ให้นำไปรับรู้เป็นรายได้ โดยบันทึกในบัญชี “กำไรจากการตีราคาสินทรัพย์” ไม่เกินจำนวนที่เคยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อนของรายการนั้น
           - กิจการต้องบันทึกราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ลดลงจากการตีราคาใหม่เป็นค่าใช้จ่ายทันที แต่หากสินทรัพย์รายการนั้นเคยตีราคาเพิ่มขึ้น และยังมียอดคงเหลืออยู่ในบัญชี “ส่วนเกินทุน-จากการตีราคาสินทรัพย์” ส่วนที่ลดลงจากการตีราคาใหม่ให้นำไปลดบัญชี “ส่วนเกินทุน-จากการตีราคา สินทรัพย์” ได้ไม่เกินจำนวนที่เคยตีราคาเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์รายการนั้น ส่วนที่ลดลงที่เหลืออยู่ให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันที

กิจการขายสินค้าด้วยวิธีผ่อนชำระและยอมให้ลูกค้านำสินค้าเก่าที่ใช้อยู่มาแลกเป็นสินค้าใหม่ โดยคิดราคาให้ เพื่อถือเป็นการชำระราคาสินค้าใหม่ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือให้ลูกค้าผ่อนชำระภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน ดังนั้นกิจการควรบันทึกบัญชีอย่างไร ?

ตอบ : หลักการบัญชีเกี่ยวกับสินค้ารับแลกเปลี่ยน - ให้บันทึกเป็นทรัพย์สินไว้ในบัญชีในราคาตลาดที่ประมาณขึ้น และคำนวณกำไรจาก การขายผ่อนชำระเป็นรายได้ของแต่ละปีตามอัตราส่วนของเงินงวดที่เก็บได้แต่ละปีเทียบกับราคาขายผ่อนชำระหักด้วยส่วนเกินของราคาที่คิดให้สินค้ารับแลกเปลี่ยนที่สูงกว่าราคาตลาด ซึ่งราคาที่ผู้ขายคิดให้แก่สินค้าที่รับมาแลกเปลี่ยนสูงกว่าราคาตลาดของสินค้านั้น ให้แยกบัญชีไว้ต่างหากเพื่อนำไปลดยอดขายผ่อนชำระในภายหลัง

กิจการประกอบธุรกิจค้าที่ดิน และได้ทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำมาลงทุน โดยมีดอกเบี้ยจ่ายเกิดขึ้น ในระหว่างที่ปรับปรุงที่ดินและยังไม่พร้อมที่จะขาย ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นกิจการถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ แต่ต่อมาเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียนและได้หยุดทำการปรับปรุงที่ดิน ดังนั้นดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากหยุดทำการปรับปรุงที่ดิน จะถือเป็นค่าใช้จ่ายหรือเป็นต้นทุนของ สินทรัพย์ ?

ตอบ : ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 33 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม กล่าวถึงการรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์นั้น ต้องหยุดพักในระหว่างที่การดำเนินการพัฒนาสินทรัพย์หยุดชะงักลงเป็นเวลาต่อเนื่อง ต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นไม่อนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ ดังนั้นดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากหยุดทำการปรับปรุงที่ดินให้ถือเป็นค่าใช้จ่าย

กรณีกิจการไม่ได้ประเมินราคาที่ดินเพื่อการตีราคาใหม่ ณ วันสิ้นงวดของทุกปี จะมีความผิดหรือไม่ ?

ตอบ : ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ กำหนดให้กิจการต้องแสดงรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ หลังจากที่กิจการได้รับรู้รายการดังกล่าวเป็นสินทรัพย์แล้วเมื่อเริ่มแรก ส่วนแนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติได้คือ รายการที่เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์หลังจากที่รับรู้เป็นสินทรัพย์เมื่อเริ่มแรกอาจแสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ ราคาที่ตีใหม่ หมายถึง มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการตีราคาใหม่หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมที่คำนวณจากมูลค่ายุติธรรมนั้นและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ การตีราคาใหม่ต้องทำโดยสม่ำเสมอเพื่อมิให้ราคาตามบัญชี ณ วันที่ในงบดุลแตกต่างจากมูลค่ายุติธรรมอย่างมีนัยสำคัญ โดยใน หัวข้อการตีราคาใหม่ ได้กล่าวถึงความถี่ในการตีราคาใหม่ขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของมูลค่ายุติธรรมของรายการที่เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่จะตีราคาใหม่นั้น ในกรณีที่มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เคยมีการตีราคาใหม่ต่างไปจากราคาตามบัญชีอย่างมีนัยสำคัญ กิจการจำเป็นต้องตีราคาสินทรัพย์นั้นใหม่อีก มูลค่ายุติธรรมของรายการที่เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ บางรายการอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญบ่อยครั้งจนทำให้กิจการจำเป็นต้องตีราคาใหม่ทุกปี แต่มูลค่ายุติธรรมของรายการที่เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์บางรายการอาจมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการตีราคาใหม่ทุก 3-5 ปี จึงถือว่าเพียงพอ

การบันทึกรายการค่าเสื่อมราคา โดยการนำมาหักออกจากบัญชีสินทรัพย์โดยตรง ถือว่าเป็นการบันทึกที่ผิดหลักการบัญชีหรือไม่ ?

ตอบ : การบันทึกบัญชีดังกล่าวไม่ถือว่าผิดหลักการบัญชีหากมีการเปิดเผยข้อมูลครบถ้วน แต่วิธีที่เหมาะสมควรจะบันทึกค่าเสื่อมราคา คือ เดบิต ค่าเสื่อมราคา เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม ซึ่งบัญชีค่าเสื่อมราคาเป็นบัญชีค่าใช้จ่ายปิดโอนเข้าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายหรือกำไรขาดทุนแล้วแต่กรณี ส่วนบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมเป็นบัญชีปรับมูลค่า นำไปหักจากสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องในงบดุล ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการควบคุมและบริหารงานได้ กล่าวคือ ณ วันที่ในงบการเงินจะสามารถทราบถึงราคาทุนเริ่มแรกของสินทรัพย์ถาวรและทราบจำนวนค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์นั้น

กิจการทำสัญญาเช่าอาคารเพื่อใช้ในการดำเนินงาน โดยกิจการในฐานะผู้เช่ามีหน้าที่จะต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาของอาคารหรือไม่ ?

ตอบ : กิจการต้องดูที่สัญญาเช่าว่ามีข้อตกลงกันอย่างไร ถ้าลักษณะการเช่าอาคารเป็นสัญญาเช่าการเงิน ผู้เช่าจะต้องคิดจำนวนที่เสื่อมค่าได้ของทรัพย์สิน โดยปันส่วนไปแต่ละงวดบัญชีตลอดอายุที่คาดว่าจะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ที่เป็นระบบซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาที่ผู้เช่าใช้กับทรัพย์สินที่ตนเป็นเจ้าของ แต่ถ้าเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน ความเสี่ยงและผลตอบแทนแก่เจ้าของทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่า ดังนั้นผู้ให้เช่าจึงต้องบันทึกทรัพย์สินอยู่ในบัญชีเป็นทรัพย์สินที่เสื่อมค่าได้และบันทึกค่าเช่าเป็นรายได้ตลอดอายุสัญญาเช่า ส่วนผู้เช่าบันทึกค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องบันทึกค่าเสื่อมราคา

กิจการทำสัญญาเช่าอาคารเพื่อใช้ในการดำเนินงาน โดยกิจการบันทึกค่าเช่าอาคารเป็นค่าใช้จ่าย แต่ต่อมากิจการมีการซ่อมแซมอาคาร รายจ่ายดังกล่าวจะถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ หรือบันทึกเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน (ในสัญญาเช่าระบุให้ผู้เช่าเป็นผู้ดูแลอาคารและจ่ายค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคาร) ?

ตอบ : กิจการต้องทราบถึงประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่จะได้รับจากการซ่อมแซมอาคาร เนื่องจากตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ได้กล่าวถึงการบันทึกรายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งสินทรัพย์ เป็น 2 กรณี คือ 1. กิจการจะบันทึกรายจ่ายเกี่ยวกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่เกิดขึ้นในภายหลังเป็นสินทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อรายจ่ายนั้นทำให้สินทรัพย์มีสภาพดีขึ้นเมื่อเทียบกับมาตรฐานการปฏิบัติงานเดิมหรือการปรับปรุงสินทรัพย์ซึ่งทำให้ประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคตของสินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้น เช่น การปรับปรุงสภาพอาคารให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2. กิจการจะบันทึกรายจ่ายเกี่ยวกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่เกิดขึ้นในภายหลังเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้น เมื่อรายจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าบำรุงรักษา ทำให้สินทรัพย์สามารถให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กิจการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานเดิมที่กิจการเคยประเมินไว้ เช่น รายจ่ายค่าบำรุงรักษาอาคาร

การขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อ มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ?

ตอบ : การขายผ่อนชำระ หมายถึง การที่ผู้ขายส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ซื้อโดยยินยอมให้ผู้ซื้อจ่ายชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการบางส่วน ซึ่งเรียกว่า เงินวางเริ่มแรกหรือเงินดาวน์ ส่วนที่เหลือจ่ายชำระเป็นงวดๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด การเช่าซื้อ หมายถึง การที่เจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การเช่าซื้อต้องทำสัญญาและสัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือถือว่าเป็นโมฆะ ตามกฎหมาย การขายผ่อนชำระใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการซื้อขาย ส่วนการเช่าซื้อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเช่าซื้อเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติ นอกจากนี้ในทางกฎหมายการขายผ่อนชำระกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปให้ผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขาย ส่วนการเช่าซื้อนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้ให้เช่า ทางการบัญชี อนุโลมให้ผู้ขายใช้หลักการบัญชีเดียวกันสำหรับการขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อ ทั้งนี้เนื่องจากนักบัญชีพิจารณาจากเจตนา กล่าวคือ ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อได้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นนับแต่วันที่ตกลงกัน กระบวนการก่อให้เกิดรายได้สำเร็จแล้วสามารถรับรู้กำไรขั้นต้นในงวดที่มีการขาย แต่เนื่องจากการขายผ่อนชำระหรือการให้เช่าซื้อมีระยะเวลาการผ่อนชำระนานกว่ารอบระยะเวลาบัญชี การรับรู้กำไรขั้นต้นจึงอาจรับรู้โดยวิธีที่ถือว่ากำไรขั้นต้นเกิดขึ้นตามส่วนของเงินสดที่ได้รับชำระ

กิจการประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ โดยได้รถยนต์มาจากการเช่าซื้อ ณ วันที่เช่าซื้อถือว่ากิจการเป็น เจ้าของสินทรัพย์แล้วใช่หรือไม่ และกิจการจะต้องบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อสินทรัพย์อย่างไร ?

ตอบ : สินทรัพย์ที่เช่าซื้อและยังชำระเงินไม่ครบนั้นถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการแล้ว แม้ว่ากิจการยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นก็ตาม ทั้งนี้ เพราะกิจการมีสิทธิ์ครอบครองและใช้ประโยชน์สินทรัพย์นั้น และตลอดอายุการใช้สินทรัพย์เช่าซื้อให้คิดค่าเสื่อมราคาเช่นเดียวกับสินทรัพย์ที่ซื้อมาด้วย ราคาเช่าซื้อสินทรัพย์ ถือเป็นหนี้สินของกิจการที่ต้องบันทึกไว้ในบัญชีหักด้วยจำนวนที่ส่งชำระแล้ว ส่วนดอกเบี้ยที่ผู้ขายคิดเพิ่มจากราคาเช่าซื้อ จะต้องส่งชำระพร้อมกับเงินงวด โดยให้แยกแสดงเป็นดอกเบี้ยจ่ายของแต่ละปี

กิจการได้เช่าซื้อรถยนต์จำนวน 1 คัน โดยบันทึกบัญชีตามราคาทุนของทรัพย์สิน โดยแยกดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเข้าบัญชีดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดจ่าย แต่ทางสรรพากรให้กิจการทำการปรับปรุงราคาของทรัพย์สินใหม่ เป็นราคาทุนบวกดอกเบี้ยเช่าซื้อ แล้วจึงค่อยนำมาคิดค่าเสื่อมราคา ดังนั้นทางบัญชีควรต้องปรับปรุงบัญชีตามสรรพากรหรือไม่ ?

ตอบ : ในทางบัญชีไม่ต้องปรับปรุงการบันทึกบัญชีแต่อย่างใด เพียงแต่กิจการต้องปรับปรุงในแบบภาษีของสรรพากรเท่านั้น

บริษัทจำกัดมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 20 ล้านบาท และรายได้รวม 25 ล้านบาท จะต้องมีผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีเท่านั้นใช่หรือไม่ ?

ตอบ : บริษัทจำกัดสามารถมีผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี หรือผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าได้

ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายละเอียดคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีทางอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่ ?

ตอบ : ผู้ประกอบการไม่สามารถตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีทางอินเตอร์เน็ตได้เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนบุคคล แต่ข้อมูลของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่านสามารถดูได้จากเว็บไซด์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลือกงานบัญชีและสอบบัญชี หัวข้อรายชื่อผู้สอบบัญชี ซึ่งจะแยกเป็นผู้สอบบัญชีคงอยู่ ที่มีที่อยู่ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด และผู้สอบบัญชีที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

ถ้าผู้ทำบัญชีต้องบันทึกบัญชีตามความต้องการของเจ้าของกิจการ ถือว่ามีความผิดหรือไม่และต้องแก้ไขปัญหาอย่างไรเพื่อให้ผู้ทำบัญชีจัดทำบัญชีได้โดยไม่ถูกจำกัดขอบเขต ?

ตอบ : ผู้ทำบัญชีต้องทำความเข้าใจและต้องชี้แจงให้เจ้าของกิจการทราบถึงการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง เนื่องจากตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้กำหนดให้ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติตามที่กฏหมายกำหนดก็จะมีบทลงโทษทั้งของผู้ทำบัญชีและผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กิจการได้ทำสัญญาเงินกู้ยืมกรรมการเป็นระยะเวลา 1ปี ไม่มีการคิดดอกเบี้ยระหว่างกัน โดยกิจการจะได้รับเงินยืมกรรมการทุกเดือน เดือนละ 20,000 บาท และกิจการจะชำระเงินคืนในปีบัญชีถัดไป ดังนั้น กิจการจะต้องจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือไม่ อย่างไร ?

ตอบ : กิจการจะต้องจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเพื่อใช้ประกอบการลงบัญชีที่มีลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ โดยจัดทำใบสำคัญรับประกอบการลงรายการเงินยืมกรรมการทุกรายการ

กิจการจะต้องจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเพื่อใช้ประกอบการลงบัญชีที่มีลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ โดยจัดทำใบสำคัญรับประกอบการลงรายการเงินยืมกรรมการทุกรายการ ?

ตอบ : กิจการสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงมาบันทึกบัญชีได้ โดยในสัญญาเช่าอาคารจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และกิจการจะต้องจัดทำเอกสารใบสำคัญจ่ายเพื่อใช้ประกอบการลงบัญชีที่มีลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ

กิจการสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงมาบันทึกบัญชีได้ โดยในสัญญาเช่าอาคารจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และกิจการจะต้องจัดทำเอกสารใบสำคัญจ่ายเพื่อใช้ประกอบการลงบัญชีที่มีลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ ?

ตอบ : กิจการจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ก็ต่อเมื่อเป็นการจ่ายเพื่อการดำเนินงานของกิจการจริง โดยสามารถจัดทำเอกสารใบสำคัญเพื่อใช้ประกอบการลงบัญชีที่มีลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ

กิจการทำเอกสารประกอบการลงบัญชีของเดือนธันวาคมสูญหาย แต่กิจการสามารถไปขอให้ร้านค้าออกเอกสารให้ใหม่ได้ ดังนั้น กิจการจะต้องแจ้งกรณีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหายต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี หรือไม่ ?

ตอบ : กรณีที่กิจการสามารถให้ร้านค้าออกเอกสารใหม่ทดแทนฉบับที่สูญหายได้นั้น กิจการไม่จำเป็นต้องแจ้งเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยกเว้นถ้ากิจการไม่สามารถจัดหาเอกสารใหม่มาใช้ประกอบการลงบัญชีได้ กิจการจะต้องแจ้งต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ หรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น

กรณีกิจการได้รับเอกสารใบเสร็จรับเงินที่ไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายจากร้านค้า กิจการจะสามารถนำใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมาใช้ประกอบการลงบัญชีได้หรือไม่ ?

ตอบ : หากกิจการได้รับใบเสร็จรับเงินที่ไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด แต่กิจการได้จ่ายเงินไปจริงเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานของกิจการ ก็สามารถนำเอกสารมาใช้ประกอบการบันทึกบัญชีได้ โดยกิจการต้องมีการจัดทำเป็นเอกสารใบสำคัญเพื่อใช้ในกิจการของตนเองเพิ่มเติมด้วย

กรณีกิจการไม่ได้ประกอบการมาประมาณ 8 ปีแล้ว แต่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี โดยถ้ากิจการจะขอแจ้งการหยุดดำเนินการและการส่งงบการเงินของกิจการชั่วคราวได้หรือไม่ ?

ตอบ : กิจการมีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี แม้ว่ากิจการจะไม่ได้ประกอบธุรกิจเลยก็ตาม ซึ่งกิจการไม่สามารถแจ้งขอหยุดดำเนินการหรือการส่งงบการเงินชั่วคราวได้จนกว่ากิจการจะจดทะเบียนเลิกประกอบธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กิจการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินของปี 2548 หรือไม่ ?

ตอบ : กิจการมีหน้าที่ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน และต้องยื่นงบการเงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยต้องพิจารณารอบปีบัญชีจากข้อบังคับของกิจการประกอบด้วย หากข้อบังคับของกิจการกำหนดให้ปิดบัญชีครั้งแรกในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 กิจการมีหน้าที่จัดทำบัญชีตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2548 และต้องจัดส่งงบการเงินรอบบัญชี 13 ธันวาคม 2548 – 31 กรกฎาคม 2549 โดยต้องจัดให้มีการประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี และยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อนุมัติงบการเงิน คือ ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2549 หากกิจการไม่ได้กำหนดรอบปีบัญชีไว้ในข้อบังคับของ กิจการ กิจการอาจปิดบัญชีรอบปีบัญชีตามปีปฏิทินก็ได้ คือ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินรอบปี 2548 เพื่อยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดดังกล่าว

กิจการได้จดทะเบียนเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 และกิจการยังไม่ได้ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี กิจการจะต้องจัดทำงบการเงิน ณ วันสิ้นงวดปี 2548 หรือไม่ ?

ตอบ : กิจการมีหน้าที่ต้องนำส่งงบการเงินสำหรับงวดปี 2548 ตามปกติ และจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ คือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 โดยถ้ากิจการยังไม่มีการยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี กิจการจะต้องยื่นรายงานการชำระบัญชีทุกสามเดือน

ตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีบัญชีผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาฯ หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯ ควรเลือกวิธีใดดีครับ ?

ตอบ : ตามกฎหมายท่านสามารถเลือกวิธีใดก็ได้ แต่เนื่องจากสภาฯ จัดเก็บค่าบำรุงสมาชิกและค่าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีในอัตราเท่ากัน การสมัครเป็นสมาชิกสภาน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านมากกว่า เนื่องจากท่านจะได้รับสิทธิในการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีตามที่กําหนดในมาตรา 16 เช่น สิทธิในการเข้าร่วมประชุมสภาฯ สิทธิในการออกเสียงลงคะแนน และสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการสภาฯ เป็นต้น

เป็นผู้ทําบัญชีแต่ไม่อยากเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีจะจ่ายค่าขึ้นทะเบียนผู้ทําบัญชีได้อย่างไร ?

ตอบ : หากท่านเป็นผู้ทําบัญชีซึ่งได้แจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วสภาฯ จะรับขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีให้กับท่านโดยอัตโนมัติโดยมิต้องเสียธรรมเนียม แต่การขึ้นทะเบียนนี้มีผลจนถึงสิ้นปีนี้ (31 ธันวาคม 2547) เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ท่านจะต้องยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีสําหรับปีถัดไป (ป? 2548) กับสภาวิชาชีพบัญชีพร้อมทั้งการชําระค่าธรรมเนียมภายในเดือนมีนาคม 2548 โดยท่านสามารถขอแบบคําขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าประจําจังหวัด สภาวิชาชีพบัญชี หรือ สาขาของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ทุกแห่ง ขบวนการชําระค่าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีเหมือนกับขบวนการชําระค่าบํารุงสมาชิกทุกประการ

ผู้ทําบัญชีทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกสภาฯ หรือขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯ ใช่หรือไม่ ?

ตอบ : ไม่ใช่ เฉพาะผู้ทําบัญชีผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตาม พ.ร.บ. การบัญชี (พ.ศ. 2543 เท่านั้นจึงจะต้องสมาชิกสภาฯ หรือขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯ และนักบัญชีทุกท่านก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้เพราะเพิ่มศักดิ์ศรีของตนเอง และของสถาบัน

ขณะนี้เป็นผู้ทำบัญชีตาม พ.ร.บ. การบัญชี (พ.ศ. 2543 ) และได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วทำไมดิฉันต้องมาขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีอีก ?

ตอบ : การแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจเป็นขบวนการที่กำหนดใน พ.ร.บ. การบัญชี (พ.ศ. 2543) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ทำบัญชีมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในกฎหมายฉบับดังกล่าวในขณะที่การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชีนี้เป็นขบวนการที่กําหนดในพ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมดูแลให้ประกอบวิชาชีพทําบัญชีปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่ดีภายใต้กลุ่มชนที่ใหญ่ขึ้น

กําลังอยู่ระหว่างการฝึกหัดงานสอบบัญชีธุรกิจ และยังสอบผ่านไม่ครบทุกวิชาจะได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีหรือไม่ ?

ตอบ : ไม่ได้รับผลกระทบสิทธิหน้าที่ของท่านในด้านการฝึกหัดงานสอบบัญชี การรายงาน การทดสอบความรู้ รวมทั้งการสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะกฎข้อบังคับภายใต?พรบ. ผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 ให้ถือว่ามีผลต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้พรบ.ใหม่นี้

ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมการสัมนา (CPD) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาฯ กําหนดอยากทราบว่าสภาฯ ได้ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วหรือยัง ?

ตอบ : สภาฯกําลังอยู่ในระหว่างการยกร่างข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนี้

กฎหมายบังคับให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องเป็นสมาชิกของสภาฯ ด้วย ดังนั้นนอกจากจะต้องชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้วผู้สอบบัญชียังจะต้องชำระค่าบำรุงสมาชิกอีกด้วยเข้าใจถูกหรือไม่ ?

ตอบ : ท่านเข้าใจถูกต้องแล้วเว้นแต่ ผู้สอบบัญชีซึ่งใบอนุญาตเดิม (ที่ออกโดย ก.บช.) ยังไม่หมดอายุกฎหมายยอมให้ผู้นั้นใช้ใบอนุญาตเดิมได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะหมดอายุ และในช่วงที่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุลงนี้ผู้สอบบัญชีนั้นจะเป็นสมาชิกสภาหรือไม่ก็ได้

ตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไมมีอายุแต่ทำไมต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทุกปีด้วย ?

ตอบ : ถึงแม้ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีจะมีอายุไม่จํากัด แต่กฎหมายอนุญาตให้สภาฯ จัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นรายปีได้ ทั้งนี้เพื่อนําเงินที่ได้ไปใช้ในการบริหารงานของสภา ฯ

ทําไมสภาวิชาชีพบัญชีไม่อนุญาตให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชีเป็นรายสามปี หรือรายห้าปีเหมือนค่าบำรุงสมาชิกบ้าง ?

ตอบ : ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้สภาฯ เห็นว่าควรออกข้อบังคับกําหนดให?ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมในลักษณะปีต่อปีไปพลางๆ ก่อน หากคณะกรรมสภาวิชาชีพบัญชีชุดเลือกตั้งเห็นว่าสมควรแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นก็สามารถดําเนินการได้ตามขบวนที่กําหนดในกฎหมาย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ในอนาคตผู้สอบบัญชีสามารถชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นรายสามปีหรือรายห้าปีได้

เป็นผู้สอบบัญชีอยู่แล้วใบอนุญาตผู้สอบบัญชีที่ออกโดย ก.บช.จะหมดอายุลงในวันที่ 30 กันยายน 2548 ต้องปฏิบัติตนอย่างไร ?

ตอบ : 1. ท่านสามารถปฏิบัติงานสอบบัญชีได้ต่อไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2548 โดยยังไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีนี้
           2. อย่างไรก็ตามภายในเวลาสามเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสอบบัญชีเดิมของท่านจะหมดอายุท่านจะต้องดําเนินการขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีใหม่จากสภาวิชาชีพบัญชี และเริ่มเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป
           3. ในระหว่างที่ใบอนุญาตเดิมของท่านยังไม่หมดอายุนี้ ท่านจะเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่ก็ได้

ทําไมค่าธรรรมเนียมใบอนุญาตสอบบัญชีจึงแพงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากเดิมจ่ายให้ ก.บช. เพียง 200 บาทต่อห้าปี ตอนนี้ต้องจ่ายให้สภาวิชาชีพบัญชีปีละ 1,000 บาท ?

ตอบ : สภาวิชาชีพบัญชีเป็นองค์กรวิชาชีพอิสระไม่มีงบประมาณสบับสนุนจากภาครัฐ (ต่างจากสํานักงาน ก.บช. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์) ดังนั้นเพื่อให้สภาวิชาชีพบัญชีสามารถดําเนินงานได?ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาจึงจําเป็นต้องจัดหารายได้ในจํานวนที่เพียงพอต่อการบริหารงานด้วยเหตุนี้สภาจึงมีความจําเป็นที่ต้องกําหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชีให้สูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้สัมพันธกับค่าใช้จ่ายดําเนินงานที่จะเกิดขึ้น

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชี สามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบได้หรือไม่ เพราะทราบว่าอัตราค่าบํารุงสมาชิกประเภทสมทบถูกกว่าสมาชิกสามัญ ?

ตอบ : ไม่ได้ ท่านสามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสามัญเท่านั้น เฉพาะผู้ที่จบการศึกษาในระดับ ปวส. (ด้านการบัญชี) ระดับอนุปริญญา หรือ ผู้ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีเทานั้นจึงจะสามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบได้

สภาวิชาชีพบัญชีตั้งอยู่ที่ไหน ?

ตอบ : ปัจจุบันสภาวิชาชีพบัญชีมีที่ทําการชั่วคราวตั้งอยู่ที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เลขที่ 441/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพ 10300

ในกรณีที่ผมจ่ายค่าบํารุงสมัครเป็นรายสามปี หรือรายห้าปี สภาวิชาชีพบัญชีจะมีส่วนลดให้หรือไม่ ?

ตอบ : ไม่มี (การที่อนุญาตให้สมาชิกจ่ายค่าบํารุงเป็นรายสามปี หรือรายห้าปีได้นั้น มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับสมาชิกที่ไม่ต้องการจ่าย ชําระค่าบํารุงทุกๆปี)

สภาวิชาชีพบัญชีประกอบด้วยสมาชิกซึ่งประกอบวิชาชีพบัญชีต่าง ๆรวมหกด้านด้วยกัน ตอนที่ผมสมัครเป็นสมาชิกของสภาฯ จําเป็นต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งด้วยหรือไม่ ?

ตอบ : ไม่ต้องเพราะกฎหมายไม่ได้กําหนดใหสมาชิกต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งการที่กฎหมายกําหนดให้วิชาชีพบัญชีประกอบด้วยวิชาชีพบัญชีหกด้านนั้นเพื่อให้สภาวิชาชีพบัญชีมีความหลากหลายในด้านวิชาชีพพร้อมกับเปิดโอกาสให้วิชาชีพบัญชีแต่ละด้านนั้นมีตัวแทน (ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านต่าง ๆ) อยู่ในคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี เพื่อยกระดับวิชาชีพด้านนั้นและด้านอื่นให้เจริญก้าวหน้าร่วมกัน

อยู่ในกรุงเทพจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด ?

ตอบ : 1.ขอรับใบสมัครเป็นสมาชิกได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (นนทบุรี)หรือจากสภาวิชาชีพบัญชี (สามเสน) หรือดาวน์โหลดใบสมัครจากเว็บไซต์ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย www.icaat.or.th ก็ได้
           2. กรอกใบสมัคร
           3. โอนเงินค่าบํารุงเข้าบัญชีธนาคารของสภาวิชาชีพบัญชี หรือ ซื้อธนาณัติไปรษณีย์หรือ แคชเชียร็เช็ค ตามรายละเอียดที่ระบุในคําชี้แจงแนบท้ายใบสมัคร
           4. ส่งใบสมัครเอกสารประกอบการสมัครรวมทั้งเอกสารการชําระค่าบํารุง ตามข้อ 3 ข้างต้นมายังสภาวิชาชีพบัญชีทางไปรษณีย์ โดยท่านไม่จําเป็นต้องเดินทางมาด้วยตนเอง (หากท่านต้องการจ่ายเป็นเงินสดท่านต้องนําใบสมัคร และเอกสารประกอบการสมัครพร้อมเงินสดมาส่งที่สภาวิชาชีพบัญชี)

อยู่ต่างจังหวัดจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด ?

ตอบ : 1. ขอรับใบสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้จากสํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าประจําจังหวัดทุกแห่งหรือจากสาขาของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
           2. กรอกใบสมัคร
           3. โอนเงินค่าบํารุงเข้าบัญชีธนาคารของสภาวิชาชีพบัญชี หรือ ซื้อธนาณัติไปรษณีย? หรือแคชเชียร์เช็ค ตามรายละเอียดที่ระบุในคําชี้แจงแนบท้ายใบสมัคร
           4. ส่งใบสมัครเอกสารประกอบการสมัครรวมทั้งเอกสารการชําระค่าบํารุงตามข้อ 3 ข้างต้นมายังสภาวิชาชีพบัญชีทางไปรษณีย? โดยท่านไม่จําเป็นต้องเดินทางมาด้วยตนเอง

ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่ ?

ตอบ : ไม่จําเป็นยกเว้นสองกรณีคือ
           (1) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งได้รับใบอนุญาตที่ออกตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีนี้ และ
           (2) ผู้ทําบัญชีตามกฎหมายบัญชีเท่านั้นที่จะต้องเป็นสมาชิกของสภาฯตามบทบัญญัติของกฎหมาย

เป็นสมาชิกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยประเภทสมาชิกตลอดชีพสมาคมฯ มีแผนที่จะโอนสมาชิกภาพมาสังกัดที่สภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่ ?

ตอบ : สภาวิชาชีพบัญชีเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากสมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ดังนั้นในด้านกฎหมายสมาคมฯไม่สามารถโอนสมาชิกภาพของท่านไปสังกัดกับสภาวิชาชีพบัญชีได้ อย่างไรก็ตามท่านยังคงมีสิทธิหน้าที่ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยอยู่เช่นเดิมทุกประการตามข้อบังคับของสภาฯ ที่ได้ร่างไว้ได้เปิดโอกาสให้มีการงดเก็บค่าบํารุงจากสมาชิกสมาคมฯ หากได้มีการเลิกสมาคมฯ

สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลมีภาระหนาที่และความรับผิดตามพ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีอย่างไร ?

ตอบ : กฎหมายไม่ได้กําหนดภาระหน้าที่และความรับผิดไว้เป็นกรณีพิเศษ

สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลมีภาระหน้าที่และความรับผิดตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีอย่างไร ?

ตอบ : 1. ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี (ตามมาตรา11)
           2. ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม (ดูคําถามข้อที่ 1)
           3. หากบริการด้านการสอบบัญชีนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดร่วมกับผู้สอบบัญชีที่เซ็นรับรองงบการเงิน

สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลจะต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร ?

ตอบ : ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ ออกกฎกระทรวงเพื่อกําหนด ประเภท จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธี การของการจัดให้มีหลักประกัน โดยให้คํานึงถึงขนาดและรายได้ของนิติบุคคล และให้นําความเห็นของหน่วยงานวิชาชีพบัญชีและสภาวิชาชีพบัญชีมาประกอบการพิจารณา ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์กําลัง พิจารณายกร่างกฎกระทรวงดังกล่าวอยู่

อยากทราบเรื่องการลงวันที่ในรายงานผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีสามารถลงวันที่ย้อนหลังในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีได้หรือไม่ ?

ตอบ :วันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หมายถึง วันที่สิ้นสุดการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ดังนั้น ผู้สอบบัญชีควรใช้วันสิ้นสุดการตรวจสอบเป็นวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นการแจ้งให้ผู้ใช้งบการเงินทราบว่าผู้สอบบัญชีได้พิจารณาผลกระทบต่องบการเงินและรายงานถึงเหตุการณ์หรือรายการที่ได้เกิดขึ้นจนถึงวันที่สิ้นสุดการตรวจสอบแล้ว

หน้ารายงานของผู้สอบบัญชีต้องกล่าวถึง การดำรงอยู่ของกิจการหรือไม่ ?

ตอบ : ในการปฏิบัติงานตรวจสอบผู้สอบบัญชีควรพิจารณาความเหมาะสมของการใช้ข้อสมมติ เรื่อง การดำเนินงานต่อเนื่อง ( Going Concern) ของกิจการซึ่งผู้บริหารใช้ในการจัดทำงบการเงินเพื่อพิจารณาในเรื่องความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินการต่อเนื่องของกิจการ ทั้งนี้ ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานผู้สอบบัญชีจะดำเนินการ ดังนี้
           (1) หากไม่พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเรื่องความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการไว้ในรายงานของผู้สอบบัญชีและสามารถแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขต่องบการเงินสำหรับกรณีดังกล่าวได้
           (2) หากพบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอนซึ่งอาจมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญถึงแม้ว่ากรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นสถานการณ์ที่กระทบต่อรูปแบบการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีแต่ผู้สอบบัญชีควรเปลี่ยนแปลงรายงานการสอบบัญชีโดยเพิ่มวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ เพื่อเน้นเรื่องความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งระบุไว้ในหน้ารายงานโดยให้สังเกตหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เปิดเผยเรื่องดังกล่าวด้วย
           (3) หากเหตุการณ์ตาม (2) มีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ อย่างร้ายแรง ผู้สอบบัญชีควรเสนอรายงานการสอบบัญชีแบบไม่แสดงความเห็น

กรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่ตรวจนับเงินสดซึ่งมีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีจะรายการการสอบบัญชีแบบไม่แสดงความเห็น อยากทราบว่าการที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นนั้นเป็นการไม่แสดงความเห็นเฉพาะเงินสดอย่างเดียวหรือไม่แสดงความเห็นต่อรายการทั้งหมดของงบการเงิน ?

ตอบ : การรายงานการสอบบัญชีกรณีที่ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินจะเพิ่มวรรคอธิบายการถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ ปัญหาการดำเนินการต่อเนื่องของกิจการมีความไม่แน่นอนอื่นต่อท้ายวรรคขอบเขตและการไม่แสดงความเห็นจะอ้างอิงถึงวรรคอธิบายนั้นๆ ในกรณีนี้หากตัวเงินสดมีสาระสำคัญผู้สอบบัญชีจะรายงานแบบมีเงื่อนไขเฉพาะเงินสดได้ แต่หากมีสาระสำคัญมากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่อรายการทั้งหมดในงบการเงินก็ได้

อยากทราบว่าทางก.บช. มีเกณฑ์ในการเลือกสำนักงานตรวจสอบบัญชีในการฝึกหัดงานเพื่อเก็บชั่วโมงหรือป่าวคับว่าตั้งเป็นสำนักงานที่ใหญ่มีมาตรฐานหรือว่าเป็นที่ไหนก็ได้ขอให้เป็นสำนักบัญชีคับ แล้วเมื่อทำแล้วเราจะมีหน้าที่ทำอะไรบ้างคับ ?

ตอบ : วัตถุประสงค์ของการกำหนดให้ฝึกหัดงานสอบบัญชีเพื่อให้ผู้ฝึกหัดงานมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสอบบัญชีจริงกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานเมื่อท่านเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนดว่าจะฝึกหัดงานกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก

มาตรา 1210 ได้กำหนดเรื่องค่าสินจ้างว่าให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้กำหนด ดังนั้นถ้าที่ประชุมใหญ่ยังไม่สามารถกำหนดเรื่องค่าสินจ้างของผู้สอบบัญชีได้ในขณะนั้น ที่ประชุมใหญ่สามารถมอบหมายให้คณะกรรมการของบริษัทเป็นผู้กำหนดค่าสินจ้างนั้นแทนได้หรือไม่ หรือต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องค่าสินจ้างอีกครั้ง ?

ตอบ : การกำหนดค่าสินจ้างของผู้สอบบัญชีตามมาตรา 1210 ได้กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้กำหนด แต่ถ้าที่ประชุมใหญ่ไม่ได้กำหนดค่าสินจ้างแต่มอบหมายให้คณะกรรมการของบริษัทเป็นผู้กำหนดแทนก็สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับผลของที่ประชุมใหญ่

เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว 5 ปี และในปีที่ 5 ไม่ได้ไปต่ออายุ ต้องทำเช่นไร ทั้งนี้ ยังรับสอบบัญชีกับสำนักงานตรวจสอบบัญชีอยู่ตลอดเวลา ?

ตอบ : หากท่านขาดต่ออายุใบอนุญาต และในระหว่างขาดต่ออายุไม่ได้มีการลงลายมือชื่อสอบบัญชี รวมทั้งมีความประสงค์ที่จะต่ออายุ ท่านจะต้องไปอบรมหรือสัมมนาเกี่ยวกับวิชาชีพสอบบัญชีก่อน แล้วเอาหลักฐานการเข้าอบรมมาแสดงเพื่อขอต่ออายุ ดังนี้
           (1) ขาดต่ออายุ เกิน 6 เดือน ถึง 3 ปี ถ้าเคยปฏิบัติงานสอบบัญชี ต้องอบรม 24 ชั่วโมง ไม่เคยปฏิบัติงาน อบรม 48 ชั่วโมง
           (2) ขาดต่ออายุเกิน 3 ปี ถึง 5 ปี ต้องอบรม 60 ชั่วโมง
           (3) ขาดต่ออายุเกิน 5 ปี ต้องอบรม72 ชั่วโมง ทั้งนี้ วิชาที่เข้าอบรมบังคับว่า จะต้องเป็นวิชาการบัญชี/สอบบัญชี ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หากท่านยังมีข้อสงสัย กรุณาสอบถามเพิ่มเติมที่ สำนักงาน ก.บช โทร 0 2547 4417-8

ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีมา 4 ปี ยังไม่เคยรับงานสอบบัญชี มีคนติดต่อมา หากรับงานสอบบัญชี ที่เป็นงบที่ไม่ดำเนินงานมีแต่ทุนจดทะเบียน อาคารเป็นทรัพย์สินซึ่งดูแล้วสามารถ ปฏิบัติงานได้ตามมาตราฐานการตรวจสอบบัญชี ได้อย่างไม่ลำบากนักหากรับงานสอบบัญชีงบดังกล่าว ซึ่งมีจำนวนมาก จะทำให้ถูกการเพ็งเล็งจากเจ้าหน้าที่ กบช.หรือไม่ อย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับรับงบดำเนินงาน ในปริมาณเท่าๆกัน ?

ตอบ : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องไม่สอบบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานได้ เมื่อพิจารณาขอบเขตการปฏิบัติงานและแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชีที่พึงปฏิบัติหน้าที่ได้โดยมีประสิทธิภาพแล้ว จะมีความสามารถในการตรวจสอบและรับรองการสอบบัญชีได้ไม่เกิน 300 รายต่อปี ดังนั้นในกรณีที่ปรากฏว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตผู้ใดลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีเกิน 300 รายต่อปี จะพึงถือว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตผู้นั้นสอบบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีได้ ซึ่งเป็นไปตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 44 (พ.ศ.2544) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนของผู้ที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ทั้งนี้ ไม่ว่าท่านจะรับสอบบัญชีให้ธุรกิจที่ดำเนินงานหรือไม่ดำเนินงานก็ตาม หากท่านได้ปฏิบัติตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 44 (พ.ศ.2544) แล้ว ในการพิจารณาเบื้องต้น จะพึงถือว่าท่านสอบบัญชีในกิจการที่ไม่เกินความรู้ความสามารถของท่านที่จะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีได้

การบันทึกบัญชีเงินเกินบัญชีธนาคารซึ่งในอดีตมิได้บันทึกเนื่องจากผู้บริหารนํ าเงินในบัญชีดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวทําให้เป็นยอดเบิกเกินสูงมาก ดังนั้น ดอกเบี้ยที่เก็บและตัวเงินจึงไม่บันทึกบัญชี ถ้าจะบันทึกใหม่ทําอย่างไร ?

ตอบ : เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ซึ่งไม่เคยบันทึกบัญชีเนื่องจากผู?บริหารนํ าไปใช?เป?นการส?วนตัว ดอกเบี้ยที่เกิด และตัวเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารจึงไม่ได้บันทึกในบัญชีของบริษัท บริษัทจึง ควรปรับปรุงดังนี้ เงินต้นเริ่มแรกของเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร และดอกเบี้ยทั้งหมดที่เกิด ขึ้นให้บันทึกผู?บริหารที่นํ าเงินไปใช้ส่วนตัวเป็นลูกหนี้ของบริษัททั้งจํ านวน และบันทึกบัญชี ธนาคารเงินเบิกเกินบัญชีเป็นบัญชีเจ้าหนี้ของบริษัทต่อไป ดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารในปีต่อมาให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของ บริษัท และขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องบันทึกดอกเบี้ยรับจากผู้บริหารที่นํ าเงินไปใช้เป็นการ ส่วนตัว ดอกเบี้ยดังกล่าวให้คํ านวณจากยอดคงเหลือบัญชีลูกหนี้ของบริษัทด้วยอัตราดอก เบี้ยเดียวกันกับที่ธนาคารเรียกเก็บจากบัญชีเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ดังนั้น จํ านวนสุทธิ ของดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งเป็นดอกเบี้ยของบริษัท อนึ่งการจ่ายเงินจากบัญชีเงิน เบิกเกินบัญชีธนาคารภายหลังการปรับปรุงและต้องเป็นรายการเฉพาะของบริษัทเท่านั้น

สินทรัพย์ถาวรที่หามูลค่าเริ่มแรก หรือวันที่ได้มาไม่ได้ จะทํ าอย่างไร หากต้องการจะบันทึกเป็น สินทรัพย์ของกิจการ ?

ตอบ : หากกิจการต้องการบันทึกสินทรัพย?ถาวรที่หามูลค?าเริ่มแรกหรือวันที่ที่ซื้อสินทรัพย์ไม่ได้ กิจการควรเทียบราคากับสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน หรือให้ผู้ประเมินราคาอิสระทําการประเมินราคาแบบต้นทุนทดแทน หรือบริษัททํ าการประเมินเองตามวิธีหามูลค่าที่จะได้รับคืนจากการ ใช้สินทรัพย์ถาวรตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 เรื่อง การด?อยค่าของสินทรัพย์

ในกรณีสินค้าคงเหลือเกินหรือขาดจากบัญชี เราในฐานะผู้ทําบัญชีควรจะดํ าเนินการอย่างไร ในทางด้านการบันทึกปรับปรุงบัญชีและด้าน Stock ?

ตอบ : กรณีที่บริษัทมีสินค้าคงเหลือเกินหรือขาดจากบัญชี ผู้ทํ าบัญชีควรปรับปรุงบัญชีสินค้าดังกล่าวให้ถูกต้องตรงตามจํ านวนสินค้าที่มีอยู่จริง ณ วันสิ้นปีการบัญชี นอกจากนี้บัตรคุมสินค้าก็ต้องปรับให้ถูกต้องตรงกับสินค้าตามที่มีอยู่จริงด้วย อนึ่ง รายการสินค้าคงเหลือสิ้นปีต่างจากความเป็นจริง รายการดังกล่าวย่อมกระทบกับ การคํานวณต้นทุนขายของบริษัทจึงควรปรับปรุงรายการสินค้าดังกล่าวในกํ าไรขาดทุนสะสม ต้นปีและกระทบยอดรายการสินค้าที่ปรับปรุงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ของปีปัจจุบันเพื่อให้ จํานวนภาษีที่ต้องจ่ายถูกต้อง

ในกรณีที่บริษัทมียอดสินค้าคงเหลือตามบัญชีแต่ในความเป็นจริงไม่มีสินค้าคงเหลือแล้ว ซึ่ง เกิดจากการทําบัญชีผิดพลาดของปีก่อน ควรจะมีการปรับปรุงอย่างไร จึงเป็นวิธีที่ถูกต้อง ?

ตอบ : บริษัทไม่มีสินค้าคงเหลือตามที่ปรากฎในบัญชีเพราะการบันทึกบัญชีผิดพลาดของปีก่อน ใน กรณีนี้ บริษัทต้องปรับปรุงรายการสินค้าให้ถูกต้องตามความเป็นจริง โดยการปรับปรุงสินค้า และต้นทุนขาย ดังกล่าวกับบัญชีกําไรสะสมต้นปี แต่ปรับปรุงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ของ ปีปัจจุบัน

บริษัทซื้อที่ดินไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีเอกสารหลักฐานในการซื้อครบถ?วน โดยซื้อในนามบริษัท แต่เจ้าของบริษัทไม่ได้เอาลงบัญชี ในการจัดทำงบการเงินรอบปี 2544 ได้จัดเอกสารดังกล่าวให้ ผู้สอบบัญชีเพื่อบันทึกที่ดินนั้นในบัญชี แต่ผู้สอบไม่ยอมให้ลงบัญชี ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ (ที่ผ่านมา 5 ปี บริษัทไม่มีรายรับ) ?

ตอบ : บริษัทมีที่ดินพร้อมเอกสารยืนยันความเป็นเจ้าของในที่ดินผืนดังกล่าว บริษัทต้องการนําที่ดิน ดังกล่าวบันทึกในบัญชี ส่วนสําคัญคือ ต้องติดตามและบันทึกที่ดินให้ถูกต้องว่าใช้เงินของใครซื้อ การจัดทําบัญชีให้ถูกต้องเป็นหน้าที่และอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ผู้สอบบัญชีไม่มีสิทธิห้ามบริษัทนําที่ดินดังกล่าวมาบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง แต่มีหน้าที่รายงานจากผลการตรวจสอบบัญชีของบริษัทเท่านั้น

หากกิจการมีสินทรัพย์ที่อยู่นอกบัญชีและต้องการปรับปรุงบัญชี เอกสารที่ซื้อสินทรัพย์เป็นของปีก่อนๆ เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่ยอมรับได้หรือไม่ และการตัดค่าเสื่อมราคาให้ตัดตั้งแต่วันที่ซื้อสินทรัพย์ตามเอกสารใช่หรือไม่ ?

ตอบ : บริษัทมีสินทรัพย์อยู่นอกบัญชีและต้องการบันทึกปรับปรุงให้ถูกต้องโดยใช้เอกสาร ประกอบรายการซื้อสินทรัพย์ในปีก่อน ๆ ถือเป็นหลักฐานที่ยอมรับได้ สิ่งสํ าคัญคือ รายการสิน ทรัพย์นอกบัญชีต้องอยู่ในกรรมสิทธิของบริษัท ส่วนการคิดค่าเสื่อมให้เริ่มคิดตั้งแต่วันที่สินทรัพย์ ถูกใช้งาน ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่เริ่มใช้งานจนถึงวันสิ้นงวดรอบระยะเวลา บัญชีปีก่อนทางบัญชีจะปรับปรุงเข้ากํ าไรสะสมต้นปี ส่วนค่าเสื่อมของปีปัจจุบันให้ถือเป็นค่าใช้ จ่ายของปีปัจจุบัน แต่ค่าเสื่อมของปีก่อน ๆ ควรปรับปรุงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ของปีปัจจุบันให้ถูกต้องด้วย

กรณีที่ทรัพย์สินของบริษัท เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ เกิดการชำรุดหรือเสียหาย บริษัทจะตัดบัญชีทรัพย์สินอย่างไร ?

ตอบ : การตัดบัญชีทรัพย์สินกรณีที่ทรัพย์สินนั้นชำรุหรือเสียหายออกจากบัญชีต้องมีหลักฐานประกอบการลงบัญชีที่ชัดเจนที่แสดงข้อมูลยืนยันถึงการชำรุดหรือเสียหาย ซึ่งหากมีหลักฐานยืนยันได้ว่าชำรุดหรือเสียหายให้บันทึกตัดบัญชีสินทรัพย์ตามราคาทุนที่บันทึกบัญชีไว้รวมทั้งโอนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ชำรุดนั้นออกทั้งหมด ผลต่างที่เกิดขึ้นถือเป็นกำไร(ขาดทุน)จากการตัดบัญชีทรัพย์สิน

บริษัทมีบัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ แต่ในอดีตที่ผ่านมาไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ย ต่อมาในปี 2546 ถูกทางสรรพากรประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจากดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินให้กู้ยืมกรรมการตั้งแต่ปี 2543-2546 รายการข้างต้นนี้จะถือเป็นข้อผิดพลาดที่สำคัญหรือไม่ บริษัทต้องรับรู้รายการที่เกิดขึ้นอย่างไร ?

ตอบ : การที่บริษัทมีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการโดยไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยและในปี 2546 บริษัทถูก ประเมินภาษีจากดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมกรรมการ จะถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงคือ หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัทไม่ได้กำหนดให้กรรมการต้องจ่าย ดอกเบี้ยหรือไม่มีนโยบายคิดดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมกรรมการจริงในทางบัญชีบริษัทก็ไม่ต้องบันทึกรายการดอกเบี้ยแต่อย่างใด เมื่อกรมสรรพากรประเมินภาษีจากดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินให้กู้ยืมกรรมการ ให้บริษัทรับรู้ภาษีและเบี้ยปรับเงินเพิ่มในปีที่เกิดรายการนั้น

ขาดทุนสะสมเนื่องจากปรับปรุงที่ดินลดลงจะจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่ กิจการมีกำไรสะสมจากการประกอบกิจการ 5 ล้านบาท แต่ได้ปรับปรุงมูลค่าลดลงในที่ดินเมื่อปีก่อน 8 ล้าน ทำให้ขาดทุนสะสม 3 ล้าน แต่จริง ๆ แล้วบริษัท มีรายได้ค่าเช่า ทำให้มีเงินเหลืออยากจะจ่ายปันผลถ้าขาดทุนสะสมจะจ่ายไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ถามว่าขาดทุนสะสม ดังกล่าวเป็นการปรับตามมาตรฐานการ บัญชี จะยังจ่ายเงินปันผลได้อยู่หรือไม่ และ ตั้งสำรองอย่างไร ถ้าจ่ายได้ แล้วทำอย่างไรถึงจะจ่ายเงินปันผลได้ เพราะกรรมการไม่ต้องกู้ยืมเงินบริษัทมาใช้เนื่องจากบริษัท ต้องเสียภาษี ธุรกิจเฉพาะ ?

ตอบ : ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 หากบริษัทพบว่า มีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อได้ว่า สินทรัพย์ของบริษัทอาจเกิดการด้อยค่าบริษัทก็ยังคงต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่านั้นในงบกำไรขาดทุน ดังนั้น กรณีของการปรับปรุงมูลค่าลดลงในที่ดินนี้ก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นการปรับตามมาตรฐานการบัญชีก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดผลขาดทุนสะสม ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า การจ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไรจะกระทำมิได้ ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผล

บริษัทถูกกรมศุลกากรประเมินเงินเพิ่มค่าอากร เนื่องจากสำแดงพิกัดไม่ตรงกัน บริษัทไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์ต่อกรมศุลฯ แต่การอุทธรณ์ต้องจ่ายเงินเพิ่มอากรดังกล่าวไปก่อน ถามว่าสามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์(บัญชี Claim) ไว้ก่อนได้หรือไม่ หรือว่าต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน ?

ตอบ : การที่จะบันทึกรายการเงินเพิ่มอากรที่จ่ายไป เป็นรายการอะไรนั้น ให้พิจารณาเปรียบเทียบกับข้อมูลในแม่บทการบัญชีก่อนว่ารายการดังกล่าวนั้นเป็นไปตามคำนิยามและเข้าเกณฑ์เงื่อนไข การรับรู้ ทุกข้อขององค์ประกอบต่างๆ ในงบการเงิน หรือไม่ แต่จากข้อมูลเบื้องต้นในคำถาม ที่ถามมานั้น น่าจะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเพราะประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน นอกจากนี้ ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนี้ไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย

กิจการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคารมาแต?ไม?ได?นำมาบันทึกบัญชี และนํามาใช้ส่วนตัวโดยไม่มีรายละเอียดว่านำเงินไปใช้จ่ายในเรื่องใดบ้าง อยากทราบว?ารายการนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้หรือไม่ และจะปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องต้องทํ าอย่างไร ?

ตอบ : บริษัทต้องบันทึกรายการบัญชีของกิจการทุกรายการที่เกิดขึ้น แต่รายการนี้นั้นจะถือเป็น รายได้หรือหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคํ าณวนภาษีเงินได้ได้หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับหลักฐานประกอบ รายการบัญชี ดังนั้น การที่บริษัทเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งกรรมการผู้จัดการนําไปใช้ส่วนตัว บริษัท ต้องปรับปรุงบัญชี โดยตั้งผู้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารไปใช้ส่วนตัวเป็นลูกหนี้ และบันทึกบัญชี เจ้าหนี้ธนาคารให้ถูกต้อง จนกว่าผู้เบิกเงินเกินบัญชีจะหาเอกสารที่เชื่อถือได้มาประกอบรายการ จึงโอนไปเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายการเดบิตอื่นที่เกี่ยวข้อง

ประกอบกิจการเกี่ยวกับสปาและมีการบริการด้านอาหารด้วยซึ่งมีการขายอาหารไม่มากนักจะขายอาหารให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการสปาในการซื้อผัก ผลไม้ ข้าวหรือตัวอื่นๆ ในการประกอบอาหารอยากทราบว่าจะลงบัญชีอย่างไรและใช้ชื่อบัญชีอย่างไรรวมถึงค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการให้บริการในส่วนของสปาด้วย ?

ตอบ : ธุรกิจสปา รายได้จากธุรกิจสปาถือว่าเป็นรายได้หลักของกิจการ ดังนั้นควรบันทึกบัญชีรายได้ดังกล่าว เป็น รายได้ค่าบริการ ส่วนต้นทุนของการให้บริการสปา เป็นต้นทุนการให้บริการ รายได้ที่ได้รับจากการขายอาหาร ถือว่าเป็น รายได้อื่นจากการประกอบกิจการ ควรลงบัญชี เป็น รายได้อื่น และ ต้นทุนในการประกอบอาหาร ถือว่าเป็น ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

กิจการมีการเช่าช่วงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเวลา 30 ปี กิจการแสดงในงบการเงินภายในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และมีการทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายทุกๆปี และควรบันทึก,ปรับปรุงบัญชีอย่างไร ?

ตอบ : ตอนจ่ายเงินเพื่อเช่าช่วงทรัพย์สิน ให้บันทึกบัญชีโดย เดบิต สิทธิการเช่ารอตัดบัญชี (สินทรัพย์อื่น) และ เครดิต เงินสดหรือธนาคาร เมื่อถึง ณ วันสิ้นปี ทยอยตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย โดย เดบิต สิทธิการเช่าตัดบัญชี(ค่าใช้จ่าย) และ เครดิต สิทธิการเช่ารอตัดบัญชี

อยากทราบว่าเวลาที่บริษัทซื้อของตามจำนวนที่ผู้ขายกำหนดไว้แล้วจะมีการแถมของให้เช่นซื้อแอร์ครบ 7 เครื่องแล้วแถมโทรทัศน์ 1 เครื่อง (ระบุในใบกำกับภาษีว่าแถมโทรทัศน์ 1 เครื่อง)ไม่ทราบว่าโทรทัศน์ที่ได้แถมจะต้องรับรู้เป็นรายได้หรือสินทรัพย์ ?

ตอบ : โทรทัศน์ที่ได้แถมมานั้นจะต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ ซึ่งการตีราคาต้องใช้วิธีราคายุติธรรมในขณะนั้น โดยใช้มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยต้นทุนให้กับสินทรัพย์แต่ละชนิด

หนี้สินที่เราสามารถประมาณค่าหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นได้แต่ยังไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่และเมื่อไหร่ เราควรทำอย่างไร ควรจะบันทึกบัญชีหรือไม่ หรือควรจะเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบอย่างไร ?

 

 

ตอบ : เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึง สภาพ หรือสถานการณ์ หรือเหตุการณ์บางอย่างอันอาจจะมีผลทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนแก่กิจการซึ่งผลสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในอนาคตว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ กิจการควรบันทึกบัญชี ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้
           (1) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าผลเสียหายจะเกิดขึ้นในอนาคตและจะมีผลทำให้ สินทรัพย์ ณ วันที่ในงบดุลมีค่าลดลง หรือหนี้สินมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงส่วนที่อาจเรียกชดใช้คืนได้ด้วย และ
           (2) สามารถประมาณจำนวนเงินได้อย่างสมเหตุสมผล
           (3) ในกรณีที่ไม่เข้าเงื่อนไข ตาม (2) ก็ให้ปิดเผยผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าไว้ในหมายเหตุประกบงบการเงิน เว้นแต่โอกาสที่จะเกิดผลขาดทุนนั้นมีน้อยมาก
           (4) กิจการไม่ควรบันทึกบัญชีสำหรับผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า แต่ถ้ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่า ผลกำไรนั้นอาจจะเกิดขึ้นก็ให้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน การเปิดเผยข้อมูล กรณีที่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ตาม (3) ถึง (4) ควรเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้
           - ลักษณะของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
           - ปัจจัยของความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งอาจกระทบผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
           - ประมาณจำนวนผลกระทบทางการเงิน หรือถ้าประมาณไม่ได้ก็ให้ระบุว่าไม่สามารถประมาณจำนวนผลกระทบทางการเงินได้ ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เรื่องเหตุการณที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า และเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน


ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี