คำชี้แจง
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี
พ.ศ. 2547
------------------------------
ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลา ในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2547 นั้น
เพื่อความเข้าใจสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องและเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ทำบัญชี รวมทั้งการขอความเห็นชอบหลักสูตรและสถาบันหรือหน่วยงานผู้จัดอบรม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้จัดทำคำชี้แจงประกาศฉบับดังกล่าวใน 2 เรื่อง คือหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทาง วิชาชีพของผู้ทำบัญชี และหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบหลักสูตร รวมทั้งสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานผู้จัดอบรม ดังนี้
หมวดที่ 1
หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี
1. จำนวนชั่วโมงขั้นต่ำและหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนชั่วโมง
ผู้ทำบัญชีจะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพตามหลักสูตรและสถาบันที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงในทุกรอบสามปี โดยจะต้องเป็นหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง และในแต่ละปีจะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหรือหลายกิจกรรมรวมกันได้ ดังต่อไปนี้
1. 1. การอบรมหรือสัมมนา
2. 2. การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา
3. 3. การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา
4. 4. การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
5. 5. การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
6. 6. กิจกรรมอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนด
รายละเอียดกิจกรรมที่จะถือว่าเป็นการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ ได้แก่ |
กิจกรรม |
เนื้อหาเกี่ยวกับ |
การนับจำนวนชั่วโมง |
ลำดับ |
เรื่อง |
ก. |
การเข้าร่วมการอบรม/สัมมนา
1.การบัญชี/การสอบบัญชี |
- หัวข้อที่กำหนดเป็นวิชาเอกบังคับและวิชาเอกเลือกในหลักสูตรทางการบัญชีที่กำหนดโดยสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือ สถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมาย ว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ทางการบัญชี
- เนื้อหาใหม่ ๆ และประเด็นที่ท้าท้ายของวิชาชีพบัญชี
- เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อทางการบัญชี
|
การนับจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ให้นับตามกำหนดเวลาที่สถาบันจัดอบรมแจ้งไว้ ดังนี้
การอบรม/สัมมนา
< 15 นาที = ไม่นับชั่วโมง
15 44 นาที = ½ ชั่วโมง
45 60 นาที = 1 ชั่วโมง
การพักรับประทานน้ำชา/กาแฟ กรณีกำหนดเวลา ให้ตัดเวลาออกตามเวลาที่ระบุไว้ในกำหนดการ ถ้าไม่กำหนดเวลาให้ตัดเวลาออกครั้งละ 15 นาที
การพักรับประทานอาหาร กรณีกำหนดเวลา ให้ตัดเวลาออกตามเวลาที่ระบุไว้ในกำหนดการ ถ้าไม่กำหนดเวลาให้ตัดเวลาออกครั้งละ 1 ชั่วโมง
การกล่าวเปิด/ปิดการอบรม ให้นับเป็นชั่วโมงได้เฉพาะการกล่าวเปิด/ปิด การอบรมในรูปแบบของการปาฐกถาพิเศษใน หัวข้อที่กำหนดให้เป็นหัวข้อการอบรมได้ ไม่ใช่การกล่าวเปิด/ปิดการอบรมโดยทั่วไป และให้นับเป็นชั่วโมงตามหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ในทุกรอบสามปี ไม่ให้นับซ้ำสำหรับ การอบรม/สัมมนาในหัวข้อเดิม เว้นแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาอย่างมีสาระสำคัญ |
. |
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
|
- กฎหมายว่าด้วยการบัญชี
- กฎหมายว่าด้วยการสอบบัญชี
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท)
- กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
- กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- กฎหมายว่าการธนาคารพาณิชย์
- กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
- กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ เงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
- กฎหมายอื่นๆที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการบัญชี
|
. |
. |
3. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการภาษีอากร
|
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
- เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการภาษีอากร
|
. |
. |
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี |
- พื้นฐานความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กระบวนการบริหารงานและปฎิบัติการระบบสารสนเทศ
- การพัฒนา การบริหารงานและการควบคุมระบบสารสนเทศ
- เรื่องอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
|
. |
. |
5. เรื่องอื่น ๆที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับวิชาชีพบัญชี |
เนื้อหาตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดเพิ่มเติมภายหลัง |
. |
ข. |
การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย
ผู้ดำเนินการอบรม/สัมมนา |
ในหลักสูตรเรื่องที่อบรม / สัมมนา
ตาม ก. 1 - 5 |
การนับจำนวนชั่วโมง ให้นับได้สามเท่าของเวลาที่ใช้ไปในการเป็นวิทยากร ผู้บรรยายผู้ดำเนินการสัมมนา เช่น การเป็นวิทยากรบรรยายสำหรับเนื้อหา 3 ชั่วโมงจะนับเป็นชั่วโมงได้ 3 เท่า = 9 ชั่วโมงโดยเวลาที่ใช้ไปในการเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา ให้นับตามกิจกรรม ก.
ทั้งนี้ในทุกรอบสามปีไม่ให้นับซ้ำสำหรับการเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนาในหัวข้อเดิม เว้นแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาอย่างมีสาระสำคัญ |
ค. |
การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐหรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชนซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ทางการบัญชีไม่ว่าจะเป็นการสอนในฐานะอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ |
สอนในวิชาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการอบรมตาม ก. 1 - 5 |
การนับจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ให้นับได้วิชาละ 9 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการสอนในภาคการศึกษาใด โดยในการพิจารณาว่าจะนับเป็นชั่วโมงในหัวข้อใดนั้นให้พิจารณาตามเนื้อหาของวิชาที่สอน
ทั้งนี้ ในทุกรอบสามปี ไม่ให้นับซ้ำสำหรับการสอนในวิชาเดิม และให้นับกิจกรรมนี้ได้ไม่เกิน 18 ชั่วโมง
|
ง. |
1. การศึกษาเพิ่มเติมในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีในระดับที่สูงกว่าคุณวุฒิเดิม |
ได้ศึกษาในสถาบันการศึกษาและได้รับคุณวุฒิในระดับ ปริญญาตรีประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท หรือปริญญาเอก ซึ่งสูงกว่าคุณวุฒิเดิม |
- กรณีเป็นคุณวุฒิทางการบัญชีโดยตรง ในทุกรอบสามปีให้นับได้ 27 ชั่วโมง
- กรณีเป็นคุณวุฒิอื่นในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีในทุกรอบสามปี ให้นับได้ 18 ชั่วโมง โดยในการพิจารณาว่าจะนับเป็นชั่วโมงในหัวข้อใดนั้น ให้พิจารณาตามสาขาที่สำเร็จการศึกษา
การนับเป็นชั่วโมงของรอบสามปีใดให้ถือตามปีที่สำเร็จการศึกษาเป็นเกณฑ์และถือว่าในแต่ละปีของรอบการพัฒนาความรู้สามปีนั้นได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เรื่องจำนวนชั่วโมงขั้นต่ำในแต่ละปี (6 ชั่วโมง ) แล้วดังนี้
(1) ถ้าสำเร็จการศึกษาระหว่างปีที่ 3 ของรอบสามปีใด ให้สามารถเลือกได้ว่าจะนับเป็นชั่วโมงของรอบนั้นหรือรอบสามปีถัดไป
ตัวอย่างเช่น ในรอบสามปีแรก 1 ม.ค. 2548 - 31 ธ.ค. 2550 นาย ก ซึ่งสำเร็จการศึกษาในระหว่างปี 2550 สามารถเลือกนับการได้รับ คุณวุฒิเป็นชั่วโมงของรอบสามปีแรก (1 ม.ค. 2548 - 31 ธ.ค. 2550 ) หรือรอบสามปีถัดไป (1 ม.ค. 2551 - 31 ธ.ค. 2553) ก็ได้ โดยถ้าเลือกนับเป็นชั่วโมงของรอบสามปีถัดไป นาย ก จะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ในรอบ 3 ปีแรกให้ครบ 27 ชั่วโมง
(2) ถ้าสำเร็จการศึกษาระหว่างปีที่ 1 หรือ 2 ของรอบสามปีใด จะต้องนับเป็นชั่วโมงของรอบสามปีนั้น
ตัวอย่างเช่น ในรอบสามปีแรก 1 ม.ค. 2548 - 31 ธ.ค. 2550 นาย ก ซึ่งสำเร็จการศึกษาในระหว่างปี 2548 -2549 จะต้องนับการได้รับคุณวุฒิเป็นชั่วโมงของรอบสามปีแรก (1 ม.ค. 2548 - 31 ธ.ค. 2550 ) |
. |
2. การศึกษาเพิ่มเติมในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีซึ่งอาจไม่สูงกว่าคุณวุฒิเดิม |
ได้ศึกษาในสถาบันการศึกษาและได้รับคุณวุฒิในระดับที่ไม่สูงกว่าคุณวุฒิที่เคยศึกษา ซึ่งอาจเป็น ปวส. ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท หรือปริญญาเอก |
การนับชั่วโมงในทุกรอบสามปี ให้นับได้ 9 ชั่วโมงในการพิจารณาว่าจะนับเป็นชั่วโมงในหัวข้อใดนั้น ให้พิจารณาตามสาขาที่สำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ การพิจารณานับว่าเป็นชั่วโมงการพัฒนาความรู้ของรอบสามปีใดให้ถือตามปีที่สำเร็จการศึกษาเป็นเกณฑ์และถือว่าในแต่ละปีของรอบการพัฒนาความรู้สามปีนั้นได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เรื่องจำนวนชั่วโมง ขั้นต่ำในแต่ละปี (6 ชั่วโมง ) แล้ว ดังนี้
(1) ถ้าสำเร็จการศึกษาระหว่างปีที่ 3 ของรอบสามปีใด ให้สามารถเลือกได้ว่าจะนับเป็นชั่วโมงของรอบนั้นหรือรอบสามปีถัดไป
ตัวอย่างเช่น ในรอบสามปีแรก 1 ม.ค. 2548 - 31 ธ.ค. 2550 นาย ก ซึ่งสำเร็จการศึกษาในระหว่างปี 2550 สามารถเลือกนับการศึกษาเพิ่มเติมเป็นชั่วโมงของรอบสามปีแรก (1 ม.ค. 2548 - 31 ธ.ค. 2550 ) หรือรอบสามปีถัดไป(1 ม.ค. 2551 - 31 ธ.ค. 2553) ก็ได้ โดยถ้าเลือกนับเป็นชั่วโมงของรอบสามปีถัดไป นาย ก จะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ในรอบ 3 ปีแรกให้ครบ 27 ชั่วโมง
(2) ถ้าสำเร็จการศึกษาระหว่างปีที่ 1 หรือ 2 ของรอบสามปีใด จะต้องนับเป็นชั่วโมงของรอบสามปีนั้น ตัวอย่างเช่น ในรอบสามปีแรก 1 ม.ค. 2548 - 31 ธ.ค. 2550 นาย ก ซึ่งสำเร็จการศึกษาในระหว่างปี 2548 -2549 จะต้องนับการได้รับคุณวุฒิเป็นชั่วโมงของรอบสามปีแรก (1 ม.ค. 2548 31 ธ.ค. 2550 ) |
จ.
|
การลงทะเบียนศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีและได้รับหลักฐานการผ่านจากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี |
วิชาการบัญชีหรือที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
|
การนับชั่วโมงในทุกรอบสามปี ให้นับได้วิชาละ 6 ชั่วโมง ในการพิจารณาว่าจะนับเป็นชั่วโมงในหัวข้อใดนั้น ให้พิจารณาตามวิชาที่ผ่านการศึกษา
ทั้งนี้ การพิจารณานับว่าเป็นชั่วโมงของรอบสามปีใด ให้ถือตามปีที่ผ่านการศึกษาเป็นเกณฑ์ |
ฉ. |
การเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ |
ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดเพิ่มเติมในภายหลัง |
. |
2. การปฏิบัติตามข้อกำหนดในประกาศฉบับนี้ของผู้ทำบัญชี
2.1 ผู้ทำบัญชีที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.บช. 5 หรือ แบบ ส.บช 5-ก ก่อนหรือในวันที่ 31ธันวาคม 2547 สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในประกาศฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไป
ตัวอย่างที่ 1 นาย ก ได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.บช. 5 ไว้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547(ซึ่งเป็นวันก่อนวันที่ 10 สิงหาคม 2547 และก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2547) ดังนั้น รอบในการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีสามปีรอบแรกของนาย ก จะเป็นช่วงของวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งจะต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงและนาย ก จะต้องเข้ารับการอบรมในแต่ละปีของรอบในการอบรมสามปีรอบแรก ดังนี้
o o ช่วงวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ต้องอบรม ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
o o ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ต้องอบรม ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
o o ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ต้องอบรม ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
สำหรับส่วนที่เหลืออีก 9 ชั่วโมงจะเป็นการอบรมในปีใดก็ได้ในระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งรวมทั้งสิ้นจะเท่ากับ 27 ชั่วโมงโดยจะต้องเป็นการอบรมในหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
ตัวอย่างที่ 2 นาย จ ได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.บช. 5 ไว้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2547 (ซึ่งเป็นวันหลังวันที่ 10 สิงหาคม 2547 แต่ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2547) ดังนั้น รอบในการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีสามปีรอบแรกของนาย จ จะเป็นช่วงของวันที่ 15 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งจะต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมง และนาย จ จะต้องเข้ารับการอบรมในแต่ละปีของรอบในการอบรมสามปีรอบแรก ดังนี้
o o ช่วงวันที่ 15 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
o o ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ต้องอบรม ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
o o ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ต้องอบรม ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
สำหรับส่วนที่เหลืออีก 9 ชั่วโมงจะเป็นการอบรมในปีใดก็ได้ในระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งรวมทั้งสิ้นจะเท่ากับ 27 ชั่วโมงโดยจะต้องเป็นการอบรมในหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
2.2 ผู้ทำบัญชีที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.บช. 5 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในประกาศฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.บช. 5
ตัวอย่างเช่น นาย ข ได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.บช. 5 ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2548 (ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่ 1 มกราคม 2548) ดังนั้น รอบในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพสามปีรอบแรกของนาย ข จะเป็นช่วงของวันที่ 15 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งจะต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงและ นาย ข จะต้องเข้ารับการอบรมในแต่ละปีของรอบในการอบรมสามปีรอบแรก ดังนี้
o o ช่วงวันที่ 15 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ต้องอบรม ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
o o ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ต้องอบรม ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
o o ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ต้องอบรม ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
สำหรับส่วนที่เหลืออีก 9 ชั่วโมงจะเป็นการอบรมในปีใดก็ได้ในระหว่างวันที่ 15 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งรวมทั้งสิ้นจะเท่ากับ 27 ชั่วโมงโดยจะต้องเป็นการอบรมในหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
3. หลักฐานการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
3.1 ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งรายละเอียดกิจกรรมการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพตามแบบฟอร์มที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดทางอินเตอร์เน็ตในเวปไซด์ www.dbd.go.th
ประเภทของกิจกรรม |
ข้อมูลของแต่ละกิจกรรมตามที่กำหนดให้แจ้ง |
หลักฐานที่ต้องเก็บรักษาไว้ 5 ปีซึ่งต้องมีข้อมูลตามที่กำหนดในหมวดที่ 2 ข้อ 3 |
- การเข้าร่วมการอบรม/สัมมนา
|
- เรื่องที่เข้ารับการอบรม/สัมมนา หรือเรื่องที่เป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา
- สถาบันจัดอบรม/สัมมนา
- วันเวลาและสถานที่จัดอบรม/สัมมนา
- จำนวนชั่วโมงที่นับได้
|
หนังสือรับรองการเข้ารับการอบรม/ สัมมนาประกาศนียบัตร หรือ หลักฐานแสดงการชำระเงินจากสถาบันจัดอบรม/สัมมนา |
2.การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการอบรม/สัมมนา |
- เรื่องที่เป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา
- สถาบันจัดอบรม/สัมมนา
- วันเวลาและสถานที่จัดอบรม/สัมมนา
- จำนวนชั่วโมงที่นับได้
|
หนังสือรับรองการเป็น วิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการอบรม/ สัมมนา จากสถาบันจัดอบรม/สัมมนา |
3. การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐหรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชนซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ทางการบัญชีไม่ว่าจะเป็นการสอนในฐานะอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ |
- วิชาที่สอน
- ชื่อสถาบันการศึกษา
- ช่วงเวลาที่สอนในวิชานั้น (ภาคการศึกษา)
- จำนวนชั่วโมงที่นับได้
|
หนังสือรับรองการเป็นอาจารย์สอนจากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือ สถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน |
4. การศึกษาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี (ไม่ว่าเป็นคุณวุฒิที่สูงกว่าคุณวุฒิเดิมหรือไม่) |
- ชื่อคุณวุฒิการศึกษาที่สำเร็จ
- ชื่อสถาบันการศึกษา
- ระยะเวลาที่เข้าศึกษาและสำเร็จการศึกษา
- จำนวนชั่วโมงที่นับได้
|
วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองผลการศึกษาจากสถาบันการศึกษา |
5. การลงทะเบียนศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวขัองกับวิชาชีพบัญชีและได้รับหลักฐานการผ่านจากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ทางการบัญชี |
- ชื่อวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีที่ได้ลงทะเบียนเรียนและสอบผ่าน
- ชื่อสถาบันการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนและสอบผ่าน
- ระยะเวลาที่เข้าศึกษาและผ่านการศึกษา
- จำนวนชั่วโมงที่นับได้
|
วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือหนังสือรับรองผลการศึกษาจากสถาบันการศึกษา |
6. การเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ |
ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดเพิ่มเติมในภายหลัง |
. |
4. การตรวจสอบหลักฐานการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
ผู้ทำบัญชีต้องจัดเก็บหลักฐานการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีไว้กับตนเองเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของวันที่สิ้นสุดการอบรม เช่น กรณีผู้ทำบัญชีเข้ารับการอบรมในวันที่ 10 มกราคม 2548 ผู้ทำบัญชีต้องจัดเก็บหลักฐานการอบรมนั้นไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับจากวันสิ้นปีปฏิทินของวันที่สิ้นสุดการอบรม (31 ธันวาคม 2548) ซึ่งต้องเก็บไว้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553
หากผู้ทำบัญชีได้รับหนังสือแจ้งจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้จัดส่งหลักฐานการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพเพื่อการตรวจสอบ ให้ผู้ทำบัญชีนำส่งหลักฐานดังกล่าว โดยดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
- นำส่งด้วยตนเองที่หน่วยรับแจ้งผู้ทำบัญชี สำนักกำกับดูแลธุรกิจ ชั้น 14 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
- นำส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนส่งไปยังสำนักกำกับดูแลธุรกิจ ตามที่อยู่ข้างต้น โดยใช้วันที่ที่ไปรษณีย์ต้นทางประทับตราเป็นวันรับแจ้ง
ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะถือเป็นกรณีฝ่าฝืนมาตรา 7(6) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หมวดที่ 2
หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบหลักสูตร รวมทั้งสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานผู้จัดอบรม
1. การขอรับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในหลักสูตรการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ หรือการขอความเห็นชอบเป็นสถาบันหรือหน่วยงานผู้จัดอบรม
1.1 กรณีสถาบันการศึกษาของรัฐ สถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฏหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย หรือ สถาบันผู้จัดอบรมที่เคยได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ให้ยื่นหลักฐานการขอรับความเห็นชอบในหลักสูตรการอบรม/สัมมนา เพื่อให้สามารถนับเป็นชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพได้ โดยต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่ออธิบดีพร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้
- รายละเอียดหลักสูตร เนื้อหา ขอบเขตวิชา
- ระยะเวลา และค่าธรรมเนียมในการจัดอบรม/สัมมนา
- ชื่อ คุณวุฒิ และประสบการณ์ในการทำงานของวิทยากรผู้บรรยาย ทั้งนี้ วิทยากรผู้บรรยายจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาที่ให้การอบรม/สัมมนา หรือมีประสบการณ์ในเรื่องที่จะให้การอบรม/สัมมนาอย่างเพียงพอ
1.2 กรณีสถาบันหรือหน่วยงานอื่นนอกเหนือจากข้อ 1.1 ต้องยื่นความประสงค์ขอรับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นผู้จัดอบรม/สัมมนาและขอความเห็นชอบหลักสูตรการอบรม/สัมมนาในแต่ละหลักสูตรเพื่อให้สามารถนับเป็นชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพได้ โดยต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่ออธิบดีพร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานนั้น
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและสำเนาหนังสือรับรองการจัดตั้งสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงาน (ถ้ามี)
- รายละเอียดหลักสูตร เนื้อหา ขอบเขตวิชา
- ระยะเวลาและค่าธรรมเนียมในการจัดอบรม/สัมมนา
- ชื่อ คุณวุฒิ และประสบการณ์ในการทำงานของวิทยากรผู้บรรยาย ทั้งนี้ วิทยากรผู้บรรยายจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาที่ให้การอบรม/สัมมนา หรือมีประสบการณ์ในเรื่องที่จะให้การอบรม/สัมมนาอย่างเพียงพอ
2.การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการอบรม/สัมมนาไปจากที่อธิบดีได้ให้ความเห็นชอบไว้หรือมีการจัดทำหลักสูตรขึ้นใหม่หรือวิทยากรใหม่
ในกรณีที่อธิบดีได้ให้ความเห็นชอบสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานใดแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการอบรม/สัมมนาไปจากที่อธิบดีได้ให้ความเห็นชอบไว้หรือมีการจัดทำหลักสูตรขึ้นใหม่ จะต้องขอรับความเห็นชอบหลักสูตรนั้นจากอธิบดีก่อนการจัดอบรม/สัมมนา โดยให้จัดส่งรายละเอียดตามข้อ 1.1 (1) (2) (3) หรือ 1.2 (3) (4) (5) เพื่อประกอบการพิจารณา เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการอบรม/สัมมนาในหัวข้อที่เป็นเรื่องเร่งด่วนหรือนำสมัยซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ทำบัญชีและไม่สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอรับความเห็นชอบได้ทัน สถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานนั้นอาจจัดอบรม/สัมมนาในเรื่องดังกล่าวไปก่อนได้แต่ต้องจัดส่งรายละเอียดดังกล่าว ต่ออธิบดีเพื่อขอรับความเห็นชอบภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดการอบรม/สัมมนา ทั้งนี้ สถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานนั้นต้องแจ้งให้ผู้ทำบัญชีที่สมัครเข้ารับการอบรม/สัมมนาทราบด้วยว่าหลักสูตรดังกล่าวอยู่ระหว่างการขอรับความเห็นชอบจากอธิบดี
3. การเก็บหลักฐานการลงทะเบียนเข้ารับการอบรม/สัมมนา
สถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานผู้จัดอบรมต้องจัดเก็บหลักฐานการลงทะเบียนเข้ารับการอบรม/สัมมนาของผู้ทำบัญชีทุกรายไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของวันที่สิ้นสุดการอบรม/สัมมนา และจะต้องออกหนังสือรับรองการเข้ารับการอบรม/สัมมนา ในแต่ละครั้งให้แก่ผู้ทำบัญชี โดยหนังสือรับรองดังกล่าวจะต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงาน (ถ้ามี)
- ชื่อผู้เข้ารับการอบรม/สัมมนาและรหัสเลขที่ผู้ทำบัญชี
- หลักสูตรที่อบรม/สัมมนา และวันที่ที่หลักสูตรนั้นได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี
- วัน เวลา และจำนวนชั่วโมงที่เข้ารับการอบรม/สัมมนา
- ลายมือชื่อของผู้มีอำนาจกระทำการแทน หรือผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนพร้อมทั้งประทับตรา (ถ้ามี)
- วันที่ออกหนังสือรับรอง
4. การพิจารณายกเลิกการให้ความเห็นชอบสถาบันวิชาชีพการบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงาน
สถาบันวิชาชีพหรือสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ 2 และข้อ 3 อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอาจพิจารณายกเลิกการให้ความเห็นชอบสถาบันวิชาชีพการบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานนั้น
อนึ่ง ในทางปฏิบัติอาจมีบางกรณีที่นอกเหนือจากคำชี้แจงที่ให้ไว้ และอาจจำเป็นต้องพิจารณาเพิ่มเติม โดยไม่จำกัดขอบเขตเพียงคำชี้แจงหรือตัวอย่างที่ให้ไว้ในที่นี้เท่านั้น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
วันที่ 31 สิงหาคม 2547 |