ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน

หน้า ๒๓   เล่ม ๑๒๔  ตอนพิเศษ  ๑๕๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๐


ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี

ฉบับที่ ๓๘ / ๒๕๕๐

เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๕ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) ฉบับที่ ๓๙ (ปรับปรุง ๒๕๕๐)

และ ฉบับที่ ๔๑ (ปรับปรุง ๒๕๕๐)

______________________

 

อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ () และ มาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.. ๒๕๔๗ ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐานการบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้

สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพในการประชุมครั้งที่ ๗(/๒๕๕๐) เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงออกประกาศ ดังนี้

. ให้ยกเลิกมาตรฐานการบัญชี ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (.. ๒๕๔๓) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี รวม ๓ ฉบับ ดังนี้

              .๑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การนำเสนองบการเงิน

              .๒ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๙ เรื่อง กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด

 ข้อผิดพลาดที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี

              .๓ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๑ เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล

. ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้แทน

              .๑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๕ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง การนำเสนองบ

                    การเงิน

              .๒ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๙ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง นโยบายการบัญชี

                    การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด

              .๓ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๑ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง งบการเงินระหว่าง

                    กาล

 

ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.. ๒๕๕๐

 

เกษรี ณรงค์เดช

(ศาสตราจารย์เกษรี ณรงค์เดช)

นายกสภาวิชาชีพบัญชี

 

 

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550)

เรื่อง

การนำเสนองบการเงิน

 

คำแถลงการณ์

มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน (IAS No. 1 “Presentation of Financial Statements” (December 2006))

 

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) นี้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 (ฉบับเดิม) โดยมีหลักการไม่แตกต่างกัน เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้

1. กำหนดให้เปิดเผย แหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการประมาณการ

2. ยกเลิกการแสดง รายได้และค่าใช้จ่ายเป็นรายการพิเศษ

3. ยกเลิกการแสดง กำไรหรือขาดทุนจากกิจกรรมตามปกติ

4. ยกเลิกการแสดง จำนวนพนักงาน

5. ยกเลิกหัวข้อ นโยบายการบัญชี และข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลือกใช้นโยบายการบัญชี

6. เพิ่มคำนิยาม ความมีสาระสำคัญ

7. เพิ่มคำนิยาม มาตรฐานการบัญชี

8. กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวดที่แบ่งปันให้แก่บริษัทใหญ่ และส่วนที่แบ่งปันให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

9. กำหนดให้กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินทางการเงินที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเป็นหนี้สินหมุนเวียนแม้ว่ามีหลักฐานเป็นสัญญาที่แสดงถึงการชำระหนี้โดยการก่อหนี้สินระยะยาวใหม่ หรือมีการต่ออายุหนี้ให้เป็นหนี้ระยะยาว ซึ่งสัญญาดังกล่าวจัดทำเสร็จสมบูรณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงินและก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน

10. กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยไว้ในหัวข้อสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญหรือในส่วนอื่นของหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหารในการกำหนดนโยบายการบัญชี ซึ่งนโยบายนั้นมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อจำนวนเงินของรายการที่รับรู้ในงบการเงิน นอกเหนือจากการใช้ดุลยพินิจเกี่ยวกับประมาณการทางบัญชี

11. ตัวอย่างของงบการเงินในภาคผนวกได้ปรับปรุงใหม่ โดยงบดุลได้ปรับปรุงและจัดลำดับการแสดงรายการโดยอ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เดิมชื่อ กรมทะเบียนการค้า) เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.. 2544 ส่วนงบกำไรขาดทุนและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ ได้ปรับปรุงใหม่ให้มีรูปแบบเดียวกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ

 

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน

 

ขอบเขต

 

1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป ซึ่งกิจการได้จัดทำและนำเสนอตามมาตรฐานการบัญชี

ส่วนประกอบของงบการเงิน

 

2. งบการเงินที่สมบูรณ์ประกอบด้วย

2.1. งบดุล

2.2. งบกำไรขาดทุน

2.3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของโดยแสดงในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้

2.3.1. การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในส่วนของเจ้าของ

2.3.2. การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ซึ่งไม่รวมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากรายการกับ

ผู้เป็นเจ้าของซึ่งกระทำการในฐานะของผู้เป็นเจ้าของ

2.4. งบกระแสเงินสด

2.5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ และคำอธิบายอื่น

 

3. คำนิยาม

 

คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังต่อไปนี้

ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ หมายถึง การที่กิจการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตร

ฐานการบัญชีแม้ว่ากิจการจะได้พยายามอย่างเต็มที่

แล้วในทุกกรณี

 

มาตรฐานการบัญชี หมายถึง      หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไป

หรือมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ รวมถึงการตีความมาตรฐานการบัญชีด้วย

 

ความมีสาระสำคัญ หมายถึง      การไม่แสดงรายการหรือการแสดงรายการผิดพลาดถือว่ามี

                                      สาระสำคัญหากรายการแต่ละรายการหรือทุกรายการโดยรวมมี

                                      ผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน

                                      ที่ใช้การเงิน ความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของ

                                      การไม่แสดงรายการหรือการแสดงรายการผิดพลาดซึ่งพิจารณา

                                      ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมนั้น ทั้งนี้ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา

                                      อาจเป็นขนาดหรือลักษณะของรายการหรือทั้งสองอย่างก็ได้

 

หมายเหตุประกอบงบการเงิน หมายถึง   ข้อมูลที่นำเสนอเพิ่มเติมจากที่แสดงในงบดุล งบกำไร

ขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ

และงบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงินให้

ข้อมูลเกี่ยวกับคำอธิบายรายการ รายละเอียดของ

รายการต่างๆ ที่แสดงในงบการเงินและข้อมูลเกี่ยวกับ

รายการที่ไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการในงบการเงินที่นำเสนอ

ข้อพิจารณาโดยรวม

 

การนำเสนองบการเงินโดยถูกต้องตามที่ควรและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี

 

4. งบการเงินต้องแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามที่ควรการแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรคือการเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของผลกระทบของรายการบัญชีเหตุการณ์ และเงื่อนไขต่างๆ ตามคำนิยามและเกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ในแม่บทการบัญชี การนำเสนองบการเงินซึ่งได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและมีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมให้เหมาะสมแก่กรณีถือได้ว่างบการเงินนั้นนำเสนอข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควร

5. งบการเงินที่จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีต้องเปิดเผยถึงการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างชัดเจนโดยไม่มีเงื่อนไข งบการเงินที่ไม่ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีต้องไม่พรรณนาว่างบการเงินได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี

6. การเปิดเผยนโยบายการบัญชี การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินหรือการจัดทำคำอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีที่ไม่เหมาะสมที่กิจการใช้ไม่ทำให้นโยบายการบัญชีนั้นเหมาะสมขึ้นมาได้ งบการเงินถูกต้องตามที่ควรได้ ไม่ว่าจะโดยการเปิดเผยให้ทราบถึงนโยบายการบัญชีที่ไม่เหมาะสมนั้น หรือโดยการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือโดยการจัดทำคำอธิบายก็ตาม

7. ในสถานการณ์ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้น หากฝ่ายบริหารของกิจการมีข้อสรุปว่าการปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชีเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดอย่างมากจนเป็นเหตุให้งบการเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงบการเงินตามที่กำหนดในแม่บทการบัญชี กิจการต้องไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้น และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุในย่อหน้า 8 ในกรณีที่หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องมีข้อกำหนด หรือไม่มีข้อห้ามการไม่ปฏิบัติตามดังกล่าว

8. ในกรณีที่กิจการไม่ปฏิบัติตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดตามที่ระบุไว้ในย่อหน้า 7 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้

8.1. ข้อสรุปของฝ่ายบริหารที่ว่างบการเงินได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดโดยถูกต้องตามที่ควร

8.2. ข้อความที่แสดงว่ากิจการได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ยกเว้นเรื่องที่กิจการจำต้องไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชี เพื่อให้งบการเงินแสดงข้อมูลถูกต้องตามที่ควร

8.3. มาตรฐานการบัญชีฉบับที่กิจการไม่ปฏิบัติตาม ลักษณะของการไม่ถือปฏิบัติ ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีที่กิจการไม่ปฏิบัติตาม เหตุผลที่หากปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว

แล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมากในสถานการณ์ต่างๆ จนเป็นเหตุให้งบการเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในแม่บทการบัญชี และวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการเลือกใช้

8.4. ผลกระทบทางการเงินของการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่มีต่อรายการแต่ละรายการในงบการเงินของกิจการสำหรับทุกงวดบัญชีที่แสดง หากกิจการไม่ถือปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีสำหรับแต่ละงวดบัญชีที่มีการนำเสนอนั้น

9. กรณีที่กิจการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีเรื่องใดในงวดบัญชีก่อนแล้วส่งผลต่อจำนวนเงินที่รับรู้ในงบการเงินงวดบัญชีปัจจุบัน กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนดในย่อหน้า 8.3 และ 8.4

10. ในสถานการณ์ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้น หากฝ่ายบริหารของกิจการมีความเห็นว่าการปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชีเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดอย่างมากจนเป็นเหตุให้งบการเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี แต่ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องไม่อนุญาตให้มีการไม่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว ถ้าเป็นเช่นนั้น กิจการต้องใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อลดความเข้าใจผิดซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีนั้นโดยการเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้

10.1. ชื่อของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่มีปัญหา ลักษณะของข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชี และเหตุผลที่ฝ่ายบริหารของกิจการเห็นว่าการปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชีจะทำให้งบการเงินบิดเบือนและเป็นเหตุให้งบการเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี

10.2. การปรับปรุงแต่ละรายการในงบการเงินสำหรับแต่ละงวดบัญชีที่มีการนำเสนอ ซึ่งฝ่ายบริหารของกิจการเห็นว่าจำเป็นเพื่อให้งบการเงินนำเสนอข้อมูลถูกต้องตามที่ควร

 

การดำเนินงานต่อเนื่อง

 

11. ในการจัดทำงบการเงิน ฝ่ายบริหารต้องประเมินความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของกิจการ งบการเงินต้องจัดทำขึ้นตามหลักการดำเนินงานต่อเนื่อง เว้นแต่กิจการมีความตั้งใจที่จะชำระบัญชี เลิกกิจการ หรือไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกเหนือจากการชำระบัญชีหรือเลิกกิจการจากการประเมินความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง หากฝ่ายบริหารพบว่ามีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือสภาพการณ์ใดที่อาจทำให้เกิดความสงสัยอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของกิจการ กิจการต้องเปิดเผยให้ทราบถึงความไม่แน่นอนเหล่านั้น ในกรณีที่งบการเงินมิได้จัดทำขึ้นตามหลักการดำเนินงานต่อเนื่อง กิจการจะต้องเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงนี้ พร้อมทั้งเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินนั้น และเหตุผลที่กิจการไม่อาจดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้

 

เกณฑ์คงค้าง

 

12. กิจการต้องจัดทำงบการเงินตามเกณฑ์คงค้าง ยกเว้นข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสด

 

ความสม่ำเสมอในการนำเสนอ

13. กิจการต้องนำเสนอและจัดประเภทรายการในงบการเงินในลักษณะเดียวกันในทุกงวดบัญชี ยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

13.1 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงลักษณะการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของกิจการอย่างมีนัยสำคัญหรือการทบทวนงบการเงินแล้วเป็นที่ชัดเจนว่าการนำเสนอและการจัดประเภทรายการในงบการเงินแบบใหม่จะทำให้การนำเสนองบการเงินมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงเกณฑ์การเลือกใช้และการปฏิบัติตามนโยบายการบัญชีที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง

2550) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด

13.2 มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงการนำเสนองบการเงิน

 

ความมีสาระสำคัญและการนำเสนอด้วยยอดรวม

 

14. รายการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่ละประเภทที่มีสาระสำคัญต้องแยกแสดงในงบการเงิน รายการที่มีลักษณะหรือหน้าที่ไม่คล้ายคลึงกันแต่ละรายการต้องแยกแสดงในงบการเงิน เว้นแต่รายการเหล่านั้นไม่มีสาระสำคัญ

 

การหักกลบ

 

15. สินทรัพย์และหนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่าย ต้องไม่นำมาหักกลบกัน นอกจากมาตรฐานการบัญชีมีข้อกำหนดหรืออนุญาตให้หักกลบได้

 

ข้อมูลเปรียบเทียบ

 

16. กิจการต้องแสดงข้อมูลของงวดก่อนเปรียบเทียบกับทุกรายการที่แสดงในงบการเงินงวดปัจจุบันหากมาตรฐานการบัญชีมิได้อนุญาตหรือกำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อมูลเชิงบรรยายและพรรณนาต้องแสดงเปรียบเทียบกันหากข้อมูลนั้นช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจงบการเงินของงวดบัญชีปัจจุบันได้ดีขึ้น

17. เมื่อต้องมีการแก้ไขการนำเสนอหรือจัดประเภทรายการในงบการเงิน กิจการต้องจัดประเภทรายการที่นำมาเปรียบเทียบใหม่ด้วย เว้นแต่การจัดประเภทใหม่ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ เมื่อมีการจัดประเภทใหม่ กิจการต้องเปิดเผยทุกข้อดังต่อไปนี้

17.1 ลักษณะของการจัดประเภทใหม่

17.2 จำนวนเงินของแต่ละรายการหรือแต่ละประเภทที่ถูกจัดประเภทใหม่

17.3 เหตุผลในการจัดประเภทใหม่

18. หากกิจการไม่สามารถจัดประเภทรายการที่นำมาเปรียบเทียบใหม่ได้ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้

18.1 เหตุผลที่ไม่สามารถจัดประเภทรายการใหม่ได้

18.2 ลักษณะของรายการปรับปรุงหากมีการจัดประเภทรายการใหม่

 

โครงสร้างและเนื้อหา

 

การระบุชื่องบการเงิน

19. งบการเงินต้องมีการระบุชื่อไว้อย่างชัดเจนและแยกออกจากข้อมูลอื่นที่นำเสนออยู่ในเอกสารเผยแพร่ชุดเดียวกัน

20. กิจการต้องระบุชื่อส่วนประกอบของงบการเงินแต่ละส่วนอย่างชัดเจน และยังต้องแสดงข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้อย่างเด่นชัด ซึ่งจะแสดงซ้ำกันได้ถ้าการแสดงซ้ำนั้นทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

20.1 ชื่อของกิจการที่เสนอรายงานหรือวิธีการอื่นที่เป็นการแสดงชื่อและการเปลี่ยนแปลงในข้อมูลดังกล่าวที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ในงบดุล

20.2 การระบุว่างบการเงินนั้นเป็นงบการเงินเฉพาะกิจการหรือเป็นงบการเงินของกลุ่มกิจการ

20.3 วันที่ในงบดุลหรือรอบระยะเวลาของงบการเงิน แล้วแต่จะเหมาะสมกับส่วนประกอบของ

งบการ เงินนั้นๆ

20.4 สกุลเงินที่ใช้รายงานตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 30 (ปรับปรุง 2550)

เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (เมื่อมีการประกาศใช้)

20.5 จำนวนหลักที่ใช้ในการแสดงจำนวนเงินในงบการเงิน

 

รอบระยะเวลาที่รายงาน

 

21. กิจการต้องนำเสนองบการเงินอย่างน้อยปีละครั้ง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวันที่ในงบดุลและเป็นเหตุให้กิจการต้องนำเสนองบการเงินซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชียาวกว่าหรือสั้นกว่าหนึ่งปี กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมทุกข้อดังต่อไปนี้

21.1 เหตุผลในการใช้งวดบัญชีที่ยาวกว่าหรือสั้นกว่าหนึ่งปี

21.2 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำนวนเงินเปรียบเทียบที่แสดงในงบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลง ส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินของงวดก่อนไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับงวดปัจจุบันได้ทั้งหมด

 

งบดุล

 

ความแตกต่างระหว่างรายการหมุนเวียนกับรายการไม่หมุนเวียน

 

22. กิจการต้องแยกแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเป็นรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนในงบดุลตามข้อกำหนดของย่อหน้า 24 ถึง 34 เว้นแต่การแสดงรายการตามสภาพคล่องจะมีความน่าเชื่อถือและมีความเกี่ยวข้องมากขึ้นกับการตัดสินใจ หากกิจการปฏิบัติตามข้อยกเว้นนี้ สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดจะต้องแสดงตามลำดับของสภาพคล่อง

23. ไม่ว่าสินทรัพย์และหนี้สินจะนำเสนอไว้ด้วยวิธีใดก็ตาม สินทรัพย์และหนี้สินแต่ละรายการที่ได้รวมยอดคงเหลือส่วนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์หรือชำระคืนภายใน 12 เดือนหลังจากวันที่ในงบดุลไว้กับยอดคงเหลือส่วนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์หรือชำระคืนนานเกินกว่า 12 เดือนหลังจากวันที่ในงบดุลกิจการต้องเปิดเผยจำนวนเงินของยอดคงเหลือส่วนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์หรือชำระคืนนานเกินกว่า12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล

 

สินทรัพย์หมุนเวียน

 

24. สินทรัพย์จะจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อสินทรัพย์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

24.1 คาดว่าจะได้รับประโยชน์ หรือตั้งใจจะขายหรือใช้ภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ

24.2 มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า

24.3 คาดว่าจะได้รับประโยชน์ภายในระยะเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล

24.4 เป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด (ตามที่ได้นิยามไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 25(ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบกระแสเงินสด) และไม่มีข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนหรือการใช้ชำระหนี้สินภายในระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล

 

สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

 

25. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้คำว่า ไม่หมุนเวียน ให้หมายรวมถึง สินทรัพย์มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน และสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งมีลักษณะที่เป็นระยะยาว และมิได้มีข้อห้ามในการใช้คำอื่นหากคำที่เลือกใช้แทนนั้นยังคงมีความหมายชัดเจนและทดแทนกันได้

26. วงจรการดำเนินงาน หมายถึง ระยะเวลาที่เริ่มตั้งแต่ได้สินทรัพย์มาเพื่อใช้ในการดำเนินงาน จนกระทั่งได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด หากไม่สามารถระบุวงจรการดำเนินงานได้อย่างชัดเจนให้ถือว่าวงจรการดำเนินงานมีระยะเวลา 12 เดือน สินทรัพย์หมุนเวียนหมายรวมถึง สินทรัพย์ต่างๆ (เช่น สินค้าคงเหลือ และลูกหนี้การค้า) ที่ขาย ใช้ไป หรือให้ประโยชน์ภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติ ถึงแม้กิจการไม่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านั้นภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลก็ตาม สินทรัพย์หมุนเวียนยังรวมถึงสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อค้า (สินทรัพย์ทางการเงินที่ถือไว้เพื่อค้าจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้))และส่วนที่จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของสินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่หมุนเวียน

 

หนี้สินหมุนเวียน

 

27. หนี้สินจะจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียนเมื่อหนี้สินนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

27.1 คาดว่าจะมีการชำระภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ

27.2 มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า

27.3 ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล

27.4 กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขให้เลื่อนการชำระหนี้ออกไปอีกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า

12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุลหนี้สินที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นให้จัดประเภทเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน

28. หนี้สินบางประเภทที่เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในวงจรการดำเนินงานตามปกติของกิจการให้จัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน แม้ว่าจะครบกำหนดชำระเกินกว่า 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล เช่น เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายบางรายการที่เกี่ยวกับพนักงาน และค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่น วงจรการดำเนินงานตามปกตินี้ให้ใช้กับการจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินของกิจการได้ สำหรับกรณีที่กิจการไม่สามารถระบุวงจรการดำเนินงานได้อย่างชัดเจนให้ถือว่าวงจรการดำเนินงานมีระยะเวลา 12 เดือน

29. หนี้สินหมุนเวียนอื่น เป็นหนี้สินที่มีกำหนดชำระคืนภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล หรือมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้า แต่การชำระคืนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวงจรการดำเนินงานตามปกติ ตัวอย่างเช่นหนี้สินทางการเงินที่จัดประเภทมีไว้เพื่อค้าตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ส่วนของหนี้สินทางการเงินไม่หมุนเวียนระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี เงินปันผลค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่าย และเจ้าหนี้อื่นๆ สำหรับหนี้สินทางการเงินซึ่งกิจการใช้เป็นแหล่งเงินทุนระยะยาว (นั่นคือมิได้เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในวงจรการดำเนินงานตามปกติของกิจการ) และยังไม่ครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลให้ถือเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนที่ต้องปฏิบัติตามย่อหน้า 32 และ 33

30. กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินทางการเงินที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเป็นหนี้สินหมุนเวียนถึงแม้ว่าหนี้สินนั้นเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

30.1 เงื่อนไขเดิมในการชำระหนี้สินจะมีระยะเวลาเกินกว่า 12 เดือน

30.2 มีข้อตกลงที่จะชำระหนี้โดยการก่อหนี้สินระยะยาวใหม่หรือต่ออายุหนี้ให้เป็นหนี้สินระยะยาว ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจัดทำเสร็จสมบูรณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงินและก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน

31. ภายใต้เงื่อนไขการกู้ยืมในปัจจุบัน หากกิจการคาดหวังและมีอำนาจที่จะชำระภาระผูกพันเดิมโดยการก่อหนี้สินใหม่ที่มีอายุอย่างน้อย 12 เดือน หรือต่ออายุภาระผูกพันเดิมออกไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล ภาระผูกพันนั้นต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนแม้ว่าภาระผูกพันเดิมนั้นมีกำหนดชำระภายในระยะเวลาสั้นกว่า 12 เดือน อย่างไรก็ตาม หากกิจการไม่มีอำนาจในการชำระภาระผูกพันเดิมโดยการก่อหนี้สินใหม่หรือการต่ออายุภาระผูกพันเดิม (เช่น ไม่มีข้อตกลงในการชำระภาระผูกพันเดิมโดยการก่อหนี้สินใหม่) ภาระผูกพันนั้นต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน ทั้งนี้โดยไม่พิจารณาความสามารถของกิจการในชำระภาระผูกพันเดิมโดยการก่อหนี้สินใหม่

32. หากก่อนหรือ ณ วันที่ในงบดุล กิจการละเมิดเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวเป็นผลให้หนี้สินนั้นกลายเป็นหนี้สินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินนั้นเป็นหนี้สินหมุนเวียน แม้ว่าภายหลังวันที่ในงบดุลและวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน เจ้าหนี้มีข้อตกลงไม่เรียกคืนหนี้นั้นทั้งที่ได้มีการละเมิดเงื่อนไขสัญญากู้ กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินนี้เป็นหนี้สินหมุนเวียน เนื่องจาก ณ วันที่ในงบดุล กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขที่จะเลื่อนการชำระหนี้ออกไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล

33. อย่างไรก็ตาม หากภายในวันที่ในงบดุลผู้ให้กู้ยืม ยินยอมที่จะให้ระยะเวลาปลอดหนี้อย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเพื่อให้กิจการดำเนินการแก้ไขการละเมิดเงื่อนไขเพื่อให้ตรงตามสัญญาเงินกู้ยืม ซึ่งภายในช่วงระยะเวลาดังกล่าวผู้ให้กู้ยืมจะไม่สามารถเรียกหนี้คืนได้ในทันที กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินนี้เป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน

34. ในส่วนของเงินกู้ยืมที่จัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน หากมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ในงบดุลและวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน เหตุการณ์ดังกล่าวถือว่าเข้าเงื่อนไขที่ไม่ต้องปรับปรุงงบการเงินแต่ต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 52 (ปรับปรุง 2549) เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล

34.1 มีการชำระเงินกู้ยืมเดิมโดยการก่อหนี้สินระยะยาวใหม่

34.2 มีการแก้ไขการละเมิดเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา

34.3 เจ้าหนี้ให้ระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเพื่อให้กิจการดำเนินการแก้ไขการละเมิดเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวเพื่อให้เป็นไปตามสัญญา

 

ข้อมูลที่ต้องนำเสนอในงบดุล

 

35. งบดุลต้องมีรายการที่แสดงจำนวนเงินทุกข้อดังต่อไปนี้ หากกิจการไม่ได้นำเสนอจำนวนเงินดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ตามย่อหน้า 35

35.1 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

35.2 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

35.3 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

35.4 สินทรัพย์ทางการเงิน (ไม่รวมจำนวนเงินที่แสดงในข้อ 35.5 35.8 และ 35.9)

35.5 เงินลงทุนซึ่งบันทึกตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น

35.6 สินทรัพย์ชีวภาพ

35.7 สินค้าคงเหลือ

35.8 ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

35.9 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

35.10 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

35.11 ประมาณการหนี้สิน

35.12 หนี้สินทางการเงิน (ไม่รวมจำนวนเงินที่แสดงในข้อ 35.10 และ 35.11)

35.13 หนี้สินและสินทรัพย์ภาษีเงินได้สำหรับงวดปัจจุบันตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่56 เรื่อง ภาษีเงินได้ (เมื่อมีการประกาศใช้)

35.14 หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 56 เรื่อง ภาษีเงินได้ (เมื่อมีการประกาศใช้)

35.15 ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่แสดงในส่วนของเจ้าของ

35.16 ทุนที่ออกจำหน่าย และสำรองต่างๆ ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่

35 ก งบดุลต้องมีรายการที่แสดงจำนวนเงินทุกข้อดังต่อไปนี้

(1) ยอดรวมของสินทรัพย์ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ถือไว้รอการขายและสินทรัพย์ที่รวมในกลุ่มสินทรัพย์รอการจำหน่ายซึ่งจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ถือไว้รอการขายตามมาตรฐานการบัญชี เรื่องสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการประกาศใช้)

(2) หนี้สินที่รวมในกลุ่มหนี้สินรอการจำหน่ายที่จัดประเภทเป็นหนี้สินถือไว้รอการขายตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการประกาศใช้)

36. กิจการจะต้องแสดงรายการแต่ละรายการ หัวข้อเรื่อง และยอดรวมย่อยในงบดุลเพิ่มเติม ถ้าหากการแสดงรายการในลักษณะดังกล่าวช่วยให้เกิดความเข้าใจในฐานะการเงินของกิจการ

37. ถ้ากิจการแยกการจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินในงบดุลเป็นรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนกิจการต้องไม่จัดประเภทรายการสินทรัพย์ (หนี้สิน) ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเป็นสินทรัพย์ (หนี้สิน) หมุนเวียน

 

ข้อมูลที่ต้องนำเสนอในงบดุลหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

38. กิจการต้องเปิดเผยการจัดประเภทรายการย่อยในงบดุลหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงินโดยจัดประเภทให้เหมาะสมกับการดำเนินงานของกิจการ

39. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในงบดุลหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

39.1 สำหรับหุ้นทุนแต่ละประเภท

39.1.1 จำนวนหุ้นที่จดทะเบียน

39.1.2 จำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายและชำระเต็มมูลค่า และจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแต่ยังชำระ

ไม่เต็มมูลค่า

39.1.3 ราคาที่ตราไว้ต่อหุ้น หรือเปิดเผยว่าหุ้นไม่มีราคาตราไว้

39.1.4 รายการกระทบยอดของจำนวนหุ้นที่ถือโดยบุคคลภายนอก ณ วันเริ่มรอบระยะเวลา

และวันสิ้นรอบระยะเวลา

39.1.5 สิทธิ บุริมสิทธิ และข้อจำกัดของหุ้นทุนแต่ละประเภท ซึ่งรวมถึงข้อจำกัดในการจ่าย

ปันผลและการจ่ายคืนทุน

39.1.6 จำนวนหุ้นของกิจการที่ถือโดยกิจการหรือบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของกิจการ

39.1.7 จำนวนหุ้นที่สำรองไว้เพื่อออกให้ตามสิทธิหรือตามสัญญาการขายหุ้น พร้อมเงื่อนไข

และจำนวนเงินที่เกี่ยวข้อง

39.2 คำอธิบายถึงลักษณะและวัตถุประสงค์ของสำรองแต่ละประเภทในส่วนของเจ้าของ

40. กิจการที่ไม่มีหุ้นทุน เช่น ห้างหุ้นส่วน หรือทรัสต์ ต้องเปิดเผยข้อมูลซึ่งเทียบเท่ากับข้อมูลที่กำหนดในย่อหน้า 39.1 โดยให้แสดงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดสำหรับแต่ละรายการในส่วนของเจ้าของ ตลอดจนสิทธิ บุริมสิทธิ และข้อจำกัด ของส่วนได้เสียของเจ้าของแต่ละประเภท

 

งบกำไรขาดทุน

 

กำไรหรือขาดทุนสำหรับงวด

 

41. รายได้และค่าใช้จ่ายทุกรายการที่รับรู้ในงวดต้องนำมารวมเป็นกำไรหรือขาดทุน เว้นแต่มาตรฐานการบัญชีจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

 

ข้อมูลที่ต้องนำเสนอในงบกำไรขาดทุน

 

42. งบกำไรขาดทุนสำหรับงวดต้องแสดงรายการแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงิน ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย

42.1 รายได้

42.2 ต้นทุนทางการเงิน

42.3 ส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนในเงินลงทุนซึ่งบันทึกตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น

42.4 ค่าใช้จ่ายภาษี

42.5 ยอดรวมของ () กำไรหรือขาดทุนหลังภาษีเงินได้จากการดำเนินงานที่ยกเลิก และ () ผล

กำไรหรือผลขาดทุนหลังภาษีเงินได้ที่รับรู้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมสุทธิจากต้นทุนในการขาย

หรือจากการจำหน่ายสินทรัพย์หรือรอจำหน่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่ยกเลิก

42.6 กำไรหรือขาดทุน

43. งบกำไรขาดทุนต้องเปิดเผยรายการเกี่ยวกับการจัดสรรกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวด ดังนี้

43.1 กำไรหรือขาดทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

43.2 กำไรหรือขาดทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่

44. กิจการจะต้องแสดงรายการแต่ละรายการ หัวข้อเรื่อง และยอดรวมย่อยในงบกำไรขาดทุนเพิ่มเติมถ้าหากการแสดงรายการในลักษณะดังกล่าวช่วยให้เกิดความเข้าใจในผลการดำเนินงานของกิจการ

45. กิจการต้องไม่แสดงรายการรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นรายการพิเศษไม่ว่าจะแสดงในงบกำไรขาดทุนหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

ข้อมูลที่ต้องนำเสนอในงบกำไรขาดทุนหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

46. สำหรับรายการรายได้และค่าใช้จ่ายที่ถือว่ามีสาระสำคัญ กิจการต้องเปิดเผยลักษณะและจำนวนแยกสำหรับแต่ละรายการ

47. กิจการต้องนำเสนอการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายโดยการจัดประเภทตามลักษณะหรือตามหน้าที่ของค่าใช้จ่ายภายในกิจการที่ให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจได้ดีกว่า

48. กิจการที่แสดงค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมถึงค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน

49. กิจการต้องเปิดเผยจำนวนเงินของการจ่ายปันผลที่รับรู้เป็นการจัดสรรแก่ผู้ถือหุ้นระหว่างรอบระยะเวลาและจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องต่อหุ้นไว้ในงบกำไรขาดทุน หรือในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ

 

50. กิจการต้องนำเสนองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ ซึ่งประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้

50.1 กำไรหรือขาดทุนสำหรับงวด

50.2 รายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับแต่ละรายการของงวดที่รับรู้โดยตรงไว้ในส่วนของเจ้าของตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น โดยให้แสดงยอดรวมของรายการเหล่านั้นด้วย

50.3 ยอดรวมของรายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับงวดซึ่งเป็นผลรวมของรายการตามย่อหน้า 50.1 และ 50.2 พร้อมทั้งแสดงจำนวนที่จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่และผู้ถือหุ้นส่วนน้อยแยกจากกัน

50.4 ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีต่อแต่ละรายการในส่วนของเจ้าของตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่องนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด

 

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของที่มีเพียงรายการในข้อ 50.1 ถึง 50.4 ให้เรียกว่างบแสดงการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย

 

51. นอกจากนี้ กิจการต้องแสดงรายการต่อไปนี้เพิ่มเติมไว้ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

51.1 จำนวนเงินของรายการบัญชีที่เกิดกับผู้ถือหุ้นในฐานะผู้เป็นเจ้าของ โดยแยกแสดงจากส่วนแบ่งที่ให้กับผู้ถือหุ้น

51.2 ยอดคงเหลือในบัญชีกำไรสะสม (กำไรหรือขาดทุนสะสม) ณ วันเริ่มรอบระยะเวลาบัญชี การเปลี่ยนแปลงระหว่างงวด และยอดคงเหลือ ณ วันที่ในงบดุล

51.3 การกระทบยอดคงเหลือของสำรองและรายการต่างๆ แต่ละรายการที่แสดงในส่วนของเจ้าของ ณ วันเริ่มรอบระยะเวลาบัญชี และวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยเปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลง

ของแต่ละรายการแยกจากกัน

 

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

โครงสร้าง

 

52. หมายเหตุประกอบงบการเงินจะต้อง

52.1 นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงินและนโยบายการบัญชีที่กิจการใช้ตามที่ระบุในย่อหน้า 54 ถึง 61

52.2 เปิดเผยข้อมูลที่ไม่ได้นำเสนอในงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของหรืองบกระแสเงินสดตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี

52.3 ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมที่ไม่ได้นำเสนออยู่ในงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ หรืองบกระแสเงินสด แต่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อการทำความเข้าใจงบการเงิน

เหล่านั้น

53. กิจการต้องนำเสนอหมายเหตุประกอบงบการเงินในลักษณะที่เป็นระบบให้มากที่สุดเท่าที่จะได้ในทางปฏิบัติ โดยแต่ละรายการที่ปรากฏในงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ หรืองบกระแสเงินสด กิจการต้องมีการอ้างอิงถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งได้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

การเปิดเผยนโยบายการบัญชี

 

54. กิจการต้องเปิดเผยทุกเรื่องต่อไปนี้ในหัวข้อสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ

54.1 เกณฑ์การวัดมูลค่าที่ใช้จัดทำงบการเงิน

54.2 นโยบายการบัญชีอื่นๆ ที่กิจการเลือกใช้ซึ่งเกี่ยวข้องต่อความเข้าใจในงบการเงินของกิจการ

55. เกณฑ์การวัดมูลค่าที่ใช้จัดทำงบการเงิน (ตัวอย่างเช่น การวัดมูลค่าด้วยราคาทุนเดิม ราคาทุนปัจจุบัน มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ มูลค่ายุติธรรม หรือมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน) มีผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงินดังนั้น การที่ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบถึงเกณฑ์การวัดมูลค่าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเกณฑ์การวัดมูลค่าที่ใช้ในงบการเงินมีมากกว่าหนึ่งเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น กรณีที่สินทรัพย์บางประเภทมีการตีราคาใหม่ กิจการต้องเปิดเผยให้เห็นว่าสินทรัพย์และหนี้สินประเภทใดใช้เกณฑ์การวัดแบบใด

56. ในการตัดสินใจว่ากิจการต้องเปิดเผยนโยบายการบัญชีเรื่องใดบ้างนั้น ฝ่ายบริหารของกิจการ ต้องพิจารณาว่าการเปิดเผยนั้นจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจว่ารายการบัญชี เหตุการณ์ และสภาพการณ์ ได้ถูกสะท้อนให้เห็นไว้ในผลการดำเนินงานและฐานะการเงินที่รายงานหรือไม่ ถ้านโยบายการบัญชีที่เลือกใช้นั้นเป็นหนึ่งในหลายทางเลือกที่มาตรฐานการบัญชีอนุญาตให้ใช้ การเปิดเผยให้ทราบถึงนโยบายการบัญชีที่ฝ่ายบริหารเลือกใช้จะมีประโยชน์มากต่อผู้ใช้งบการเงิน ตัวอย่างเช่น ผู้ร่วมค้าเลือกจัดทำงบการเงินรวมโดยรับรู้ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าที่มีการควบคุมร่วมกันด้วยวิธีรวมตามสัดส่วนหรือด้วยวิธีส่วนได้เสีย (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ส่วนได้เสียในการร่วมค้า) มาตรฐานการบัญชีบางฉบับมีข้อกำหนดพิเศษที่กำหนดให้กิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีโดยเฉพาะ รวมถึง นโยบายการบัญชีที่ฝ่ายบริหารเลือกใช้จากนโยบายการบัญชีที่มาตรฐานการบัญชีอนุญาต ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (เมื่อมีการประกาศใช้) กำหนดการเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดมูลค่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แต่ละประเภท มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) เรื่องต้นทุนการกู้ยืม กำหนดการเปิดเผยข้อมูลว่ากิจการเลือกบันทึกต้นทุนกู้ยืมเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงวดหรือถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข

57. กิจการต้องพิจารณาลักษณะการดำเนินงานและนโยบายการบัญชีที่ใช้ ซึ่งผู้ใช้งบการเงินคาดหวังว่าจะได้ทราบตามลักษณะของธุรกิจนั้น ตัวอย่างเช่น กิจการซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ ผู้ใช้งบการเงินคาดหวังจะได้ทราบนโยบายการบัญชีเรื่องภาษีเงินได้รวมทั้งนโยบายเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้อง หรือกิจการที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศหรือมีรายการบัญชีเป็นเงินตราต่างประเทศที่มีนัยสำคัญ ผู้ใช้งบการเงินย่อมคาดหวังจะได้ทราบนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้ผลกำไรและขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือเมื่อมีการรวมธุรกิจเกิดขึ้น กิจการต้องเปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการวัดมูลค่าค่าความนิยม และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เป็นต้น

58. นโยบายการบัญชีอาจมีความสำคัญเนื่องจากลักษณะการดำเนินงานของกิจการแม้ว่าจำนวนเงินของรายการที่แสดงในงวดปัจจุบันและงวดก่อนๆ จะไม่มีสาระสำคัญก็ตาม การเปิดเผยนโยบายการบัญชีเป็นการเหมาะสมหากกิจการมีเรื่องที่สำคัญที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีกำหนดไว้แต่กิจการได้กำหนดนโยบายการบัญชีขึ้นเพื่อใช้ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด

59. กิจการต้องเปิดเผยไว้ในหัวข้อสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญหรือในส่วนอื่นของหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหารซึ่งมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อจำนวนเงินของรายการที่รับรู้ในงบการเงินในการกำหนดนโยบายการบัญชี นอกเหนือจากการใช้ดุลยพินิจเกี่ยวกับประมาณการทางบัญชี (ดูย่อหน้า 62)

60. ในการปฏิบัติตามนโยบายการบัญชี ฝ่ายบริหารของกิจการต้องใช้ดุลยพินิจซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อจำนวนเงินที่รับรู้ในงบการเงิน เพื่อตัดสินใจในเรื่องต่างๆ (นอกเหนือจากการใช้ดุลยพินิจเกี่ยวกับประมาณการทางบัญชี) ตัวอย่างของการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหารได้แก่

60.1 สินทรัพย์ทางการเงินเป็นเงินลงทุนที่จะถือจนครบกำหนดหรือไม่

60.2 ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าได้โอนไปให้แก่กิจการอื่นแล้วเมื่อใด

60.3 โดยเนื้อหาของรายการแล้ว การขายสินค้าบางรายการถือเป็นข้อตกลงทางการเงินซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้จากการขายหรือไม่

60.4 ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างกิจการกับกิจการเฉพาะกิจที่ทำให้กิจการสามารถควบคุมกิจการเฉพาะกิจนั้นได้หรือไม่

61. มาตรฐานการบัญชีบางฉบับกำหนดแนวทางการเปิดเผยข้อมูลสำหรับข้อมูลที่สอดคล้องกับย่อหน้า 59 ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ กำหนดให้กิจการเปิดเผยเหตุผลที่ไม่มีอำนาจควบคุมบริษัทย่อยทั้งที่มีสิทธิออกเสียงทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมกันมากกว่ากึ่งหนึ่ง ในกรณีที่การจัดประเภทอสังหาริมทรัพย์จัดประเภทได้ยาก มาตรฐานการบัญชี เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (เมื่อมีการประกาศใช้) กำหนดให้กิจการเปิดเผยเกณฑ์ที่กิจการกำหนดขึ้นเองที่ใช้ในการจัดประเภทอสังหาริมทรัพย์เป็นเพื่อการลงทุน เพื่อถือไว้ใช้เอง หรือเพื่อขายตามปกติธุรกิจ

 

แหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการประมาณการ

 

62. กิจการต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินถึงข้อสมมติที่ใช้เกี่ยวกับอนาคตและที่มาของความไม่แน่นอนในการประมาณการที่มีอยู่ ณ วันที่ในงบดุล ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญเป็นเหตุให้ต้องมีการปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินด้วยจำนวนที่มีสาระสำคัญในปีบัญชีถัดไป ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินซึ่งรวมถึงรายละเอียดทุกข้อดังนี้

62.1 ลักษณะของสินทรัพย์และหนี้สินที่ต้องมีการปรับปรุงมูลค่า

62.2 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันที่ในงบดุล

การเปิดเผยเรื่องส่วนทุน

63 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินวัตถุประสงค์ของกิจการ นโยบาย และกระบวนการจัดการส่วนทุน

 

การเปิดเผยเรื่องอื่นๆ

 

64. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

64.1 จำนวนเงินปันผลที่กิจการเสนอหรือประกาศจ่ายก่อนวันอนุมัติให้ออกงบการเงิน ซึ่งในงวดนี้กิจการยังไม่ได้รับรู้เป็นรายการจัดสรรส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นทุน พร้อมทั้งจำนวนเงินปันผลต่อหุ้น

64.2 จำนวนเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมซึ่งไม่ได้รับรู้ในงบการเงิน

65. กิจการต้องเปิดเผยเรื่องต่อไปนี้หากยังมิได้เปิดเผยไว้ในข้อมูลเผยแพร่พร้อมกับงบการเงิน

65.1 ภูมิลำเนาและรูปแบบตามกฎหมายของกิจการ ประเทศที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งกิจการ และที่อยู่ตามที่จดทะเบียน (หรือสถานที่หลักในการประกอบธุรกิจหากแตกต่างไปจากที่อยู่จดทะเบียน)

65.2 คำอธิบายลักษณะการดำเนินงานและกิจกรรมหลักของกิจการ

65.3 ชื่อของบริษัทใหญ่ และชื่อของบริษัทใหญ่ในลำดับสูงสุดของกลุ่มบริษัท

 

วันถือปฏิบัติ

 

66. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม กิจการสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ก่อนวันถือปฏิบัติได้แต่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในงบการเงิน

 




มาตรฐานการบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 เรื่องการบัญชีสำหรับงานก่อสร้างตามสัญญา article
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ article
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 การรับรู้รายได้ article
ความแตกต่างของรายได้ตาม ภ.ง.ด.50 กับ รายได้ตาม ภ.พ. 30 article
เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล article
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 53 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง กำไรต่อหุ้น
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนใน ตราสารหนี้ และ ตราสารทุน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 การบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน (วิธีการบันทึกบัญชี)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 เรื่อง สินค้าคงเหลือ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม
แบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินประจำปี
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 เรื่อง การบัญชีสำหรับ สัญญาเช่าระยะยาว
มาตรฐานการบั ญชี ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบกระแสเงินสด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 45 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ส่วนได้เสียในการร่วมค้า article
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาเช่า
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๑ / ๒๕๕๐ เรื่อง การยกเว้นการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชี
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๔ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 52 (ปรับปรุง 2549) เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 53 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง ๒๕๕๒)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๔ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๐ เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
Summaries of International Financial Reporting Standards and International Accounting Standards
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและงบการเงิน ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๗ (ปรับปรุง ๒๕๔๙) เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๑๗/๒๕๕๓ เรื่อง มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง ๒๕๕๒)
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๓๔/๒๕๕๓ เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ ๓ (ปรับปรุง ๒๕๕๒) เรื่อง การรวมธุรกิจ
มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
สรุปสาระสำคัญของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs)



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี