มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550)
เรื่อง
สัญญาก่อสร้าง
คําแถลงการณ
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงถ้อยคําให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดย มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศเรื่อง สัญญาก่อสร้าง พ.ศ. 2549 (IAS No. 11 Construction Contracts (2006))
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้ให ถือปฏิบัติกับการบัญชีสําหรับสัญญาก่อสร้างในงบการเงินของกิจการที่รับงานก่อสร้าง
คํานิยาม
2. คําศัพทที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
สัญญาก่อสร้าง หมายถึง สัญญาที่ทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อก่อสร้างสินทรัพยรายการเดียว
หรือก่อสร้างสินทรัพย หลายรายการซึ่งสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หรือต้องพึ่งพากันในด้านการออกแบบ เทคโนโลยีและหน้าที่ หรือวัตถุประสงคในการใช้ประโยชน์ขั้นสุดท้าย
สัญญาราคาคงที่ หมายถึง สัญญาก่อสร้างซึ่งมี การตกลงด้วยราคาคงที่หรือด้วยอัตราคงที่ต่อหน่วยของผลผลิตซึ่งระบุไว้ในสัญญาในบางกรณีราคาหรืออัตราที่ตกลงกันขึ้นอยูกับการ เปลี่ยนแปลงของต้นทุนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา
สัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม หมายถึง สัญญาก่อสร้างซึ่งกิจการจะได้รับคืนต้นทุนตามที่ตกลงกัน
บวกส่วนเพิ่มซึ่งส่วนเพิ่มนั้นกําหนดเป็นอัตราร้อยละของต้นทุนดังกล่าวหรือเป็นจํานวนคงที่
การรวมและการแยกสัญญาก่อสร้าง
3. เมื่อกิจการทําสัญญาเพื่อก่อสร้างสินทรัพย หลายรายการ การก่อสร้างสินทรัพย แต่ละรายการให้ถือเสมือนว่าได้มีการทําสัญญาก่อสร้างแยกจากกัน หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
3.1 สินทรัพย์แต่ละรายการมีข้อเสนอที่แยกจากกัน
3.2 สินทรัพยแต่ละรายการมี การต่อรองแยกจากกัน นอกจากนั้น กิจการและผู้จ้างสามารถยอมรับ
หรือปฏิเสธสัญญาส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพยแต่ละรายการได
3.3 ต้นทุนและรายไดของสินทรัพยแต่ละรายการสามารถระบุได
4. กิจการต้องปฏิบัติต่อกลุ่มสัญญาก่อสร้างเสมือนว่าเป็นสัญญาเดียว ไม่ว่ากลุ่มสัญญานั้นจะทํากับ
ผู้จ้างเพียงรายเดียวหรือหลายราย หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
4.1 สัญญาหลายสัญญามีการต่อรองร่วมกันในลักษณะของสัญญาชุดเดียวกัน
4.2 สัญญาทุกสัญญามีความสัมพันธ์กันอย่างมากจนทําให้สัญญาแต่ละสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการเดียวซึ่งมีอัตรากําไรร่วมกัน
4.3 การปฏิบัติตามสัญญาทุกสัญญาเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน หรือเกิดขึ้นเป็นลําดับต่อเนื่องกัน
5. สัญญาก่อสร้างอาจให้สิทธิแก่ผู้จ้างหรืออาจมีการแก้ไขเพื่อให้ผู้จ้างว่าจ้างกิจการให้ก่อสร้าง
สินทรัพยเพิ่มเติมได้สินทรัพย์ที่สร้างเพิ่มเติมนี้ กิจการต้องปฏิบัติ เสมือนว่าเป็นสัญญาก่อสร้างแยกต่างหากเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
5.1 สินทรัพย์ที่ก่อสร้างเพิ่มเติมแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากสินทรัพยที่ระบุในสัญญาเดิมไม่ว่าจะ
เป็นในด้านการออกแบบเทคโนโลยี หรือการใช้ประโยชน
5.2 การต่อรองราคาของสินทรัพย์ที่ก่อสร้างเพิ่มเติมไม่ได้คํานึงถึงราคาตามสัญญาเดิม
รายได้ค่าก่อสร้าง
6. รายได้ค่าก่อสร้างประกอบด้วย
6.1 จํานวนรายไดเมื่อเริ่มแรกตามที่ตกลงไวในสัญญา และ
6.2 จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสัญญาอันเกิดจากการดัดแปลงงาน การเรียกร้อง
ค่าเสียหาย หรือการจ่ายเงินเพื่อจูงใจ หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
6.2.1.มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะก่อให้เกิดรายได
6.2.2 สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
ต้นทุนการก่อสร้าง
7. ตนทุนการก่อสร้างประกอบด้วยรายการทุกข้อต่อไปนี้
7.1 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานก่อสร้างตามสัญญา
7.2 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโดยทั่วไปซึ่งสามารถปันส่วนให้กับงานก่อสร้างตามสัญญา
7.3 ต้นทุนอื่นที่สามารถเรียกเก็บจากผู้จ้างไดภายใต้เงื่อนไขของสัญญาก่อสร้าง
การรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างและต้นทุนค่าก่อสร้าง
8. เมื่อกิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้รายไดค่าก่อสร้างและต้นทุนการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อสร้างเป็นรายไดและค่าใช้จ่ายตามลําดับโดยอ้างอิงกับขั้นความสําเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันที่ในงบดุล กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากงานก่อสร้างตามสัญญาเป็นค่าใช้จ่ายทันทีตามที่ระบุไวในย่อหน้าที่ 13
9. ในกรณีที่สัญญาก่อสร้างเป็นสัญญาราคาคงที่ กิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
9.1 รายได้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้นสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
9.2 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง
9.3 ต้นทุนการก่อสร้างที่จะต้องจ่ายจนกระทั่งงานก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาสามารถวัดมูลค่า
ได้อย่างน่าเชื่อถือ และขั้นความสําเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันที่ในงบดุล สามารถประมาณได้อยาง
น่าเชื่อถือ
9.4 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างสามารถระบุ ได้อย่างชัดเจนและวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
ซึ่งทําใหกิจการสามารถเปรียบเทียบต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริงกับต้นทุนที่ไดประมาณไว
10. ในกรณีที่สัญญาก่อสร้างเป็นสัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม กิจการจะสามารถประมาณผลของงาน
ก่อสร้างตามสัญญาไดอย่างน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
10.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง
10.2 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างสามารถระบุได้ อย่างชัดเจนและวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
ไม่ว่ากิจการจะสามารถเรียกต้นทุนนั้นคืนจากผู้จ้างได้หรือไม
11. เมื่อกิจการไม่สามารถประมาณผลของงานก่อสร้างได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องปฏิบัติตาม
ข้อกําหนดทุกข้อต่อไปนี้
11.1 กิจการต้องรับรู้รายได้ไม่เกินกว่าต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้น และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่
ที่จะได้รับต้นทุนนั้นคืน
11.2 กิจการต้องรับรู้ต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดเป็นค่าใช้จ่าย
กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากงานก่อสร้างเป็นค่าใช้จ่ายทันที ตามที่ระบุไว้ใน
ยอหน้าที่ 13
12. เมื่อความไม่แน่นอนซึ่งทำให้กิจการไม่สามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่าง
น่าเชื่อถือได้หมดไป กิจการต้องรับรู้รายไดและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 8 แทนการปฏิบัติตามข้อกําหนดที่ระบุไวในย่อหน้าที่ 11
การรับรู้ขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
13. เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแนที่ต้นทุนการก่อสร้างทั้งสิ้นจะสูงกว่ารายได้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น กิจการต้องรับรู้ขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายทันที
การเปิดเผยข้อมูล
14. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้
14.1 จํานวนรายได้ค่าก่อสร้างที่รับรูเป็นรายได้ในระหว่างงวด
14.2 วิธีที่ใช้ในการกําหนดรายไดค่าก่อสร้างที่รับรูเป็นรายได้ในระหว่างงวด
14.3 วิธีที่ใช้ในการกําหนดขั้นความสําเร็จของงานระหว่างก่อสร้าง
15. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้เกี่ยวกับสัญญางานก่อสร้างระหว่างทําที่มีอยู ณ วันที่ในงบดุล
15.1 จํานวนรวมของต้นทุนที่เกิดขึ้นและกําไรที่รับรู (หักด้วยขาดทุนที่รับรู) จนถึงปัจจุบัน
15.2 จํานวนเงินรับล่วงหน้า
15.3 จํานวนเงินประกันผลงาน
16. กิจการต้องแสดงรายการทุกข้อต่อไปนี้
16.1 จํานวนเงินทั้งสิ้นที่กิจการมี สิทธิเรียกร้องจากผู้จ้างสําหรับงานก่อสร้างทุกสัญญา เป็นสินทรัพย์ของกิจการ
16.2 จํานวนเงินทั้งสิ้นที่ผู้จ้างมีสิทธิเรียกร้องจากกิจการสําหรับงานก่อสร้างทุกสัญญา เป็นหนี้สินของกิจการ
วันถือปฏิบัติ
17.มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) ใหถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป