ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี การเฉลี่ยภาษีซื้อ
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใช้ 1 มกราคม 2554 - 31 ธันวาคม 2566)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม)
bulletคำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


การเฉลี่ยภาษีซื้อ
ในการทำธุรกิจผู้ประกอบการหลายรายมักทำธุรกิจให้มีความหลากหลายและครบวงจรมากขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยผู้ประกอบการคนเดียวอาจประกอบธุรกิจหลายประเภท ซึ่งบางธุรกิจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและบางธุรกิจไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขายปลาสวยงาม ถ้าขายเฉพาะปลาสวยงามก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าผู้ประกอบการมีบริการรับจ้างทำและตกแต่งตู้ปลา รวมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องจัดการกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในธุรกิจทั้งสองประเภทอย่างถูกต้อง

         
  ทําไมต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

           การเฉลี่ยภาษีซื้อจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT) และผู้ประกอบการได้นำสินค้าหรือบริการ   มาใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท โดยไม่สามารถแยก ได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่นำมาใช้นั้น เป็นการใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการนั้นเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใดแน่ จึงต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ตนเองนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้

         
ธุรกิจอะไรบ้างที่อาจต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

          การประกอบธุรกิจประเภทที่อาจจำเป็นต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ตัวอย่างเช่น
         - การประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (VAT) และธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON   VAT)
         - การประกอบธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT) และให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง (VAT)
         - การประกอบธุรกิจขายพืชผลทางการเกษตร (NON VAT) และประกอบธุรกิจส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)
         - การประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ (NON VAT) และประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ (VAT) 

          
การเฉลี่ยภาษีซื้อมีวิธีการใดบ้าง ?

           การเฉลี่ยภาษีซื้อมี  2 วิธีคือ
           1. เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ 
           2. เฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

         
  การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ 

              การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ ใช้สำหรับเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่
           1. ภาษีซื้อสำหรับค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
           2. ภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา ค่าซ่อมแซม เป็นต้น

          
การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้   มีวิธีการอย่างไร ?

           การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้มีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

          - ปีแรกที่เริ่มมีรายได้ 

            1.ให้ประมาณการรายได้ของกิจการทั้ง 2 ประเภททั้งที่ต้องเสียและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่า-เพิ่มในปีที่เริ่มมีรายได้ (ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี ทั้งนี้ไม่ว่าจะมี  รายได้ต่อเนื่องกันทุกเดือนภาษีหรือไม่ก็ตาม) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ โดยในปีแรกให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย
            2. สิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ให้ผู้ประกอบการทำการปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดจากปีที่เริ่มมี   รายได้ โดยให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่ได้มีการเฉลี่ยภาษีซื้อถึงเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.2 เพิ่มเติมเพียงฉบับเดียวภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีแรกภายหลังสิ้นสุดปีที่เริ่มมีรายได้ โดยแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

            กรณีต้องจ่ายชำระภาษีเพิ่มเติม

            ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้ และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มากกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้น โดยผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด
            นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่เกินดังกล่าวซึ่งยังมิได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

            กรณีได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

            ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้วน้อยกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อส่วนที่ขาดนั้น
            นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่ขาดดังกล่าวซึ่งได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น  

            - 
ปีที่ 2 และปีต่อๆไป

            1. ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 และปีต่อๆ ไป โดยใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ
            2. สิ้นปีที่ 2 และปีต่อๆ ไป ผู้ประกอบการ สามารถเลือกปฏิบัติได้ดังนี้
            - ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบันของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดไป โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับสิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ หรือ
           - ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบัน วิธีนี้จะทำให้กิจการได้รับความสะดวกในการจัดทำบัญชี โดยเมื่อเริ่มต้นปีภาษีใหม่ก็จะใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ
             เมื่อผู้ประกอบการได้เลือกปฏิบัติตามวิธีใดแล้วให้ถือปฏิบัติตามวิธีนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้

            กรณีศึกษา 1 การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้
            ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย เริ่มเปิดดำเนินการในปี 2549 ประกอบธุรกิจขายปลาสวยงาม (NON VAT) และขายอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ (VAT) ได้ประมาณการสัดส่วนรายได้ของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ ในสัดส่วน  40  :  60 ตามลำดับในปี 2549 มีภาษีซื้อที่เกิดจากทรัพย์สินและบริการส่วนกลางที่ใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท ซึ่งไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ดังนี้
may11_221

            เมื่อสิ้นปี 2549  ปรากฏว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจริงของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ มีสัดส่วน  55 : 45  ตามลำดับ

            ประเด็นที่ 1 ในระหว่างปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไรในแต่ละเดือน ?

            ในระหว่างปี 2549 ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการรายได้ ของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ ในสัดส่วน 40  :  60 ตามลำดับ ในปี 2549 เป็นปีแรกที่เริ่มมี  รายได้ ให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย

may12_476



            ประเด็นที่ 2 สิ้นปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวยจะต้องปรับปรุงภาษีซื้ออย่างไร และมีผลกระทบต่อต้นทุนของทรัพย์สินและบริการอย่างไร?
           
            สิ้นปี 2549  ถือเป็นสิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ ผู้ประกอบการจะต้องปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปี 2549 ของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนมกราคม 2550  ดังนี้

may13_482


            จะเห็นได้ว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้ มากกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง  45,750 > 41,175  = 4,575 บาท

            ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีเพิ่มเติม 4,575 บาท โดยยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30.2 เพิ่มเติมเพียงฉบับเดียว ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใดโดยผู้ประกอบการจะต้องนำภาษีซื้อ จำนวน 4,575 บาท ไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของปี 2549 ที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

             ประเด็นที่ 3 ในระหว่างปี 2550 หากมีภาษีซื้อที่ต้องนำมาเฉลี่ย จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไร ?

             ปี 2550 ถือเป็นปีที่ 2 ที่มีรายได้ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้น โดยใช้สัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของปี 2549 เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อปี 2550  ในกรณีพบว่าปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย มีรายได้จากการประกอบกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วน 55 : 45 ดังนั้นในปี 2550 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวยจึงมีสิทธินำภาษีซื้อมาใช้ในอัตราร้อยละ 45   เมื่อสิ้นปี 2550 ผู้ประกอบการสามารถเลือกปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของ   รายได้ที่เกิดขึ้นจริง ในปี 2550 หรือเลือกที่จะ  ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้    ที่เกิดขึ้นจริงในปี 2550 ก็ได้ แต่วิธีหลังผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวกในการจัดทำบัญชีมากกว่า

             การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีข้อยกเว้นหรือไม่ ?

             การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีข้อยกเว้นไม่ต้องนำภาษีซื้อมาเฉลี่ย หากรายได้จากการประกอบกิจการของปีที่ผ่านมาเป็นดังนี้

            (1) หากรายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการ VAT มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกนำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขาย แต่ผู้ประกอบการห้ามนำภาษีซื้อดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปี ก็ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ เช่น

                        - รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง (VAT)                  90%
                        - รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT)   10%
                                                                       รวมรายได้    100%

            (2) หากรายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการประเภท NON VAT มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ผู้ประกอบการมีสิทธิ เลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจาก   ภาษีขาย แต่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปีก็ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ เช่น

                       - รายได้จากกิจการขายพืชผลทางการเกษตร (NON VAT) 90% 
                       - รายได้จากการส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)         10%
                                                                        รวมรายได้        100%

                 
สรุปประเด็นการเฉลี่ยภาษีซื้อได้ตามส่วนของรายได้

                 ผู้ประกอบการหลายรายอาจมีความรู้สึกว่าหากกิจการต้องทำการเฉลี่ยภาษีซื้อ จะเกิดความยุ่งยากและอาจมีปัญหาในภายหลังได้  ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการหลีกเลี่ยงการเฉลี่ยภาษีซื้อ หรือต้องการขจัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเฉลี่ยภาษีซื้อ ผู้ประกอบการควรต้องวางแผนการดำเนินธุรกิจให้ชัดเจนตั้งแต่แรก  ซึ่งมีหลายแนวทางยกตัวอย่างเช่น
                1. แยกหน่วยธุรกิจออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างธุรกิจที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม    กับธุรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแยกตั้งธุรกิจเป็นคนละบุคคลหรือคนละนิติบุคคล หรือ
                2. แยกสถานประกอบการ และแยกการบริหารงานของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากกันอย่างชัดเจน หรือ
               3. แยกรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการทั้ง 2 ประเภทออกจากกัน เช่น แยกการจัดซื้อ แยกการออกใบกำกับภาษี แยกการใช้สินทรัพย์หรือบริการ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดการเฉลี่ยภาษีซื้อให้เหลือเฉพาะที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้จริงๆเท่านั้น

การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

                การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร ใช้สำหรับเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามพื้นที่การใช้อาคาร

     การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร มีวิธีการอย่างไร ?

                การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคารมีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

                - เมื่อเริ่มก่อสร้างอาคาร
                  1. ให้ผู้ประกอบการทำการประมาณพื้นที่อาคารที่ใช้เพื่อการประกอบกิจการ VAT และ NON VAT โดยให้แจ้งประมาณการใช้พื้นที่เป็นตารางเมตรในแต่ละชั้นต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ.05.1 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มก่อสร้างอาคาร หรือวันที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคาร แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน
                 2.ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคารที่ได้ประมาณไว้ตามอัตราส่วนของแต่ละกิจการ โดยเริ่มเฉลี่ยตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่เกิดภาษีซื้อจากค่าก่อสร้างอาคาร

                - เมื่ออาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
                  1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ต่ออธิบดีกรมสรรพากร  ตามแบบ ภ.พ.05.2 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
                  2. ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
                      หากผู้ประกอบการยังไม่ได้ใช้พื้นที่ของอาคาร หรือใช้พื้นที่ของอาคารตรงตามที่ได้ประมาณไว้ หรือใช้พื้นที่ของอาคารในส่วนของกิจการ VAT และ NON VAT ไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน ในกรณีนี้ผู้ประกอบการไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้

                  กรณีศึกษา 2 

                  บริษัท แคน จำกัด มีแผนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ได้ประมาณสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารสำนักงาน ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในสัดส่วน  70 : 30 ตามลำดับเมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แล้ว    สมมติว่าบริษัท แคน จำกัด มีสัดส่วนการใช้อาคารเกิดขึ้นจริงในกรณีต่างๆ ดังนี้

may14_469


                  ข้อสรุป เมื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว และบริษัท แคน จำกัด มีการใช้พื้นที่อาคารจริงตามที่ได้สมมติไว้ 4 กรณีดังกล่าวข้างต้น บริษัท แคน จำกัด ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว  

                  หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้แจ้งประมาณการไว้เป็นครั้งแรก ให้ผู้ประกอบการดำเนินการ ดังนี้
                 1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารต่ออธิบดีกรมสรรพากรภาย  ใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร
                 2. ปรับปรุงภาษีซื้อของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีแรกที่ใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้ประมาณการไว้ โดยให้ปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อเป็นรายเดือน ตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่มีภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารเกิด    ขึ้นจนถึงเดือนภาษีก่อนเดือนภาษีที่ได้ใช้พื้นที่อาคารดังกล่าว โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.3 เป็นรายเดือนภาษีทุกเดือน เดือนละ 1 ฉบับ ตามจำนวนเดือนภาษีที่ปรับปรุงภาษีซื้อ โดยยื่นพร้อมกันทั้งหมดภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อ โดยแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

                กรณีต้องจ่ายชำระภาษีเพิ่มเติม
                ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการและได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มากกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีซื้อส่วนเกิน โดยผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนเกินซึ่งยังมิได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีนั้น

                กรณีได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการและได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว น้อยกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่ขาด นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่ขาดซึ่งได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีนั้น

                กรณีศึกษา 3 

                บริษัท แคน จำกัด มีแผนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ได้ประมาณสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารสำนักงาน ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วน  70 : 30 ตามลำดับ
                เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แล้ว    สมมติว่าบริษัท แคน จำกัด มีสัดส่วนการใช้อาคารเกิดขึ้นจริงในกรณีต่างๆ ดังนี้

may15_465


               ข้อสรุป เมื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว และบริษัท แคน จำกัด มีการใช้พื้นที่อาคารจริงตามที่ได้สมมติไว้ 4 กรณีดังกล่าวข้างต้น บริษัท แคน จำกัด ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว เนื่องจากมีการใช้พื้นที่จริงในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน
               หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้แจ้งประมาณการไว้เป็นครั้งที่สองหรือครั้งต่อๆ ไป ให้ผู้ประกอบการดำเนินการดังนี้
               1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร
               2. ปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อดังกล่าวตั้งแต่ เดือนภาษีที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารในครั้งก่อน จนถึงเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารครั้งหลังสุด และให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งแรก
               3. เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่อาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผู้ประกอบการจะเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารอย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อแต่อย่างใด
              4. ในกรณีที่อาคารได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และต่อมาได้มีภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นอีก โดยไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นภาษีซื้อในส่วนใด จะต้องนำภาษีซื้อดังกล่าวมาเฉลี่ยตามอัตราส่วนการใช้พื้นที่ที่เกิดขึ้นจริง

             กรณีศึกษา 4

             บริษัท บีบี จำกัด เริ่มก่อสร้างในเดือนสิงหาคม 2548 เพื่อใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยได้ประมาณการการใช้พื้นที่อาคารในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 70% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 30% ของพื้นที่อาคารทั้งหมด อาคารได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2549 โดยมีภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 ถึงเดือนพฤษภาคม 2549 ดังนี้

            เมื่อเริ่มก่อสร้างอาคาร
            ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการที่ได้กำหนดไว้สำหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 70% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 30%

may16_507


           เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
           ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้อาคารดังนี้

          may17_242

           การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 1 เดือนมิถุนายน 2549 กิจการไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ เนื่องจากการใช้พื้นที่อาคารจริงไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้
           การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 2 เดือนตุลาคม 2549 กิจการต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ เนื่องจากพื้นที่การใช้อาคารจริงไม่เป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้ โดยใช้พื้นที่อาคารเพื่อกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าที่ประมาณการไว้

           ดังนั้นกิจการต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคารที่เกิดขึ้นจริง ในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 40% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 60%

may18_503


 

may19_533


          การปรับปรุงภาษีซื้อในเดือนตุลาคม 2549 จะต้องปฏิบัติดังนี้

         1.ชำระภาษีซื้อส่วนเกิน เนื่องจากภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการ มากกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง
                               765,100  > 437,200  = 327,900  บาท 
                                ดังนั้นผู้ประกอบการต้องชำระภาษีซื้อเพิ่มเติม 327,900  บาท
            ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.3 เป็นรายเดือนภาษีทั้ง 10 เดือน เดือนละ 1 ฉบับ ตามจำนวนเดือนภาษีที่ปรับปรุงภาษีซื้อ โดยยื่นพร้อมกันทั้งหมด 10 ฉบับ ภายในวันที่ 15 ของเดือนพฤศจิกายน 2549 โดยผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร

         2. นำภาษีซื้อส่วนเกินจำนวน  327,900  บาท ไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของอาคารหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีนั้น

         สรุปประเด็นการเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

        ผู้ประกอบการควรทำการประมาณการใช้พื้นที่อาคารอย่างระมัดระวัง โดยต้องประมาณการการใช้พื้นที่ให้ชัดเจนและแน่นอน สำหรับกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยากในการต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว โดยเมื่ออาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ผู้ประกอบการจะต้องใช้พื้นที่อาคารตามส่วนที่ได้แจ้งประมาณการไว้หรือไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับตั้งแต่เดือนภาษีที่อาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
        หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารสำหรับกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าส่วนที่ได้ประมาณการไว้ จะมีผลต่อภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ในช่วงของการก่อสร้างอาคาร ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อให้ตรงตามการใช้พื้นที่จริง โดยต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อ ย้อนหลังกลับไปตั้งแต่แรกที่เริ่มมีภาษีซื้อจาก การก่อสร้างอาคาร และปรับปรุงเป็นรายเดือน-ภาษี หากผู้ประกอบการใช้ภาษีซื้อมากเกินไปต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย อีกทั้งเมื่อมีการปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อจะส่งผลต่อการ จัดทำบัญชีของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการต้องปรับปรุงต้นทุนของอาคารและค่าเสื่อมราคาให้ถูกต้องอีกด้วย

 
บทสรุป

        จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องของการเฉลี่ยภาษีซื้อ คงจะทำให้ผู้ประกอบการหลายๆท่านมีความเข้าใจในเรื่องราวของการเฉลี่ย  ภาษีมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ที่ประกอบธุรกิจทั้งประเภท VAT และ NON VAT จะได้ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและจัดการกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องทั้งการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้และการเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนจัดการกับการเฉลี่ยภาษีซื้อตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหายุ่งยากและเป็นภาระในภายหลังเมื่อต้องปรับปรุงบัญชีหรือเสียภาษีเพิ่มเติมอีก

บทความจาก : สรรพากรสาส์น

 




ความรู้เกี่ยวกับภาษี

SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร ? article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 โดยอาจารย์ อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ article
การชดเชยค่าภาษีอากร-บัตรภาษี article
มนุษย์เงินเดือนเฮครม.อนุมัติลดหย่อนภาษีหักค่าใช้จ่าย60% (มีผลบังคับใช้ในปี 2550) article
การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย article
ภาษีป้าย article
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
ใบลดหนี้ (Credit Note)
ภาระภาษีในการประนอมหนี้ ค่าบริการ
เงื่อนไขในการคำนวณส่วนของ หนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจาก ภาษีขาย
การทำบัญชี ของบุคคลธรรมดา ที่ไม่จด VAT
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือ Consortium
Income Tax Guide for foreign Company
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี
ภาษีค่าสิทธิ - จากสรรพากรสาส์น
ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่าย
การเสีย VAT กรณีนำเข้าสินค้ามาขายแบบ 3 เส้า
คลังสินค้าทัณฑ์บน (BONDED WAREHOUSE ) คืออะไร?
เขตปลอดอากร เขตยกเว้นภาษี
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่น่าสนใจ
บัญชีอากรแสตมป์ อัตราอากรแสตมป์
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ตาม มาตรา 56 ทวิ)
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
Withholding Tax Rates for Royalties under Thailand's DTAs
Withholding Tax Rates for Interest under Thailand's DTAs
เงินได้พึงประเมินที่ผู้เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสิทธิแยกคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) article
คณะบุคคล... อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม
ภาษีบ้านเช่าครึ่งปี
ภาษีเลี้ยงรับรองปีใหม่
ภาษีค่าน้ำมันรถ
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจาก 50,000 เป็น 100,000
มาตรการสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ + ห้องชุด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สารพัน ปัญหาภาษีสรรพากร - สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ค่าชดเชยการเลิกจ้าง กับภาระภาษีอากร
ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนประกันชีวิตได้รับถือเป็นเงินได้ประเภทใด
ขายสินค้าเกษตรเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับรู้รายได้เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลเสียหายจากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรายได้จากการให้บริการป้ายโฆษณา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าซ่อมเครื่องจักรและ ค่าที่ปรึกษาไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์และค่าบริการอื่นให้แก่บริษัทต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของนิติบุคคลอาคารชุด
ปัญหา ของขวัญกับการเสียภาษี
ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
ปัญหา ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF
เงินสนับสนุนการศึกษาและเงินบริจาค
สารพันปัญหา "ค่าลดหย่อน"
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ.2564)
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
การคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
พระราชกฤษฎีกา ลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ปี 2555
การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ
คำชี้แจงกรมสรรพากร กรณีการยื่นแบบเสียภาษีของสามีและภรรยา ปี 2555
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ป็นทางค้าหรือหากำไร
สรุปอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2555-2558
มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs
สรุปคำชี้แจงการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
บัญชี IFRS for SMEs กับภาษี ตอน รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาของ SMEs
ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า!!!
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ เมื่อมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
ฎีกาภาษี : การขีดฆ่าอากรแสตมป์
ภาษีการรับมรดก
เครื่องมือช่วยคำนวณรายการทางบัญชีเป็นรายการทางภาษี
วิธีการประมาณการกําไรสทธิ ภงด.51 article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กับกิจการขายของ Online article
เงินได้พึงประเมินของผู้ประกอบโรคศิลปะ-แพทย์(หมอ) article
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง article
คำสั่งกรมสรรพากร. ที่ป.161/2566. เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง article
การประกอบกิจการโรงพยาบาลสัตว์ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี