การวิเคราะห์งบการเงิน
งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานทางบัญชีที่จัดทำขึ้นเมื่อครบรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะ และผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบระยะเวลาที่ผ่านมา
งบการเงินจะประกอบด้วยข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผลประกอบการในงวดการบัญชีที่ผ่านมา งวดบัญชีอาจแบ่งเป็นรอบ 6 เดือน คือปิดงบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม ในระยะเวลาหนึ่งปี หรืออาจกำหนดเป็น 12 เดือน และกำหนดรอบเวลาการบัญชีมาบรรจบ ณ เดือนใดเดือนหนึ่งก็ได้ แต่ที่นิยมมักจะกำหนดวันสิ้นปี คือ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี
3.1.1 การวิเคราะห์งบดุล
งบดุล (Balance Sheet) เป็นงบการเงินที่แสดงสถานภาพทางการเงินของธุรกิจในวันสิ้นงวด โดยงบดุลนี้จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ด้วยกัน คือ สินทรัพย์ (Assets) หนี้สิน (Liabilities) และส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s Equity)
ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการ และบุคคลภายนอก สามารถทราบถึงฐานและความมั่นคงของธุรกิจได้จากงบดุล โดยเฉพาะเจ้าหนี้ สามารถทราบว่าธุรกิจนั้นจะอยู่ในฐานะที่ชำระหนี้ เมื่อครบกำหนดได้เพียงใด เช่น สามารถวิเคราะห์เพื่อทราบสภาพคล่อง (Liquidity) ของธุรกิจนั้น ซึ่งจะทำให้ทราบถึงความสามารถในการชำระหนี้ได้
นอกจากนั้น งบดุลยังแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานของธุรกิจตั้งแต่เริ่มกิจการ เนื่องจากรายการต่าง ๆ แสดงตัวเลขในแง่สะสม ทำให้ทราบแนวโน้มของรายการต่าง ๆ ที่มีอยู่ว่าเป็นไปในทางเพิ่มขึ้นหรือลดลง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างรายการหนึ่งกับอีกรายการหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจมีสถานภาพเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
การวิเคราะห์งบดุลที่สำคัญวิธีหนึ่งคือ การวิเคราะห์ย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common-Size)
ตัวอย่าง
บริษัท กขค. จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 และ 31 ธันวาคม 2541
(หน่วย : บาท)
|
2540
|
2541
|
สินทรัพย์
เงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
|
4,600,000
|
4,450,000
|
ลูกหนี้การค้า
|
6,500,000
|
12,000,000
|
สินค้าคงเหลือ
|
9,400,000
|
11,500,000
|
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
|
20,500,000
|
27,950,000
|
ที่ดิน
|
2,000,000
|
1,900,000
|
โรงงานและอุปกรณ์
|
13,000,000
|
15,600,000
|
ค่าเสื่อมราคาสะสม
|
(5,000,000)
|
(4,500,000)
|
โรงงานและอุปกรณ์สุทธิ
|
8,000,000
|
9,100,000
|
สินทรัพย์อื่น ๆ
|
4,600,000
|
6,500,000
|
รวม
|
35,100,000
|
45,450,000
|
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สิน
หนี้สินระยะสั้น
|
10,000,000
|
14,000,000
|
หนี้สินระยะยาว
|
8,000,000
|
10,600,000
|
ส่วนของผู้ถือหุ้น
|
|
|
หุ้นสามัญ
|
4,500,000
|
5,500,000
|
กำไรสะสม
|
12,600,000
|
15,350,000
|
รวม
|
35,100,000
|
45,450,000
|
จากตัวเลขข้างต้น หากวิเคราะห์จากข้อมูลปี 2541 แล้ว จะเห็นได้ว่า เงินลงทุนในสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของบริษัท กขค. จำกัด จะอยู่ในรายการโรงงานและอุปกรณ์ รองลงมาได้แก่ ลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ เมื่อวิเคราะห์ทางด้านหนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นของงบดุลแล้ว จะพบว่าเงินทุนส่วนใหญ่ได้มาจากส่วนของผู้ถือหุ้น รองลงมาได้แก่หนี้สินหมุนเวียน และหนี้ระยะยาวตามลำดับ ถ้าเราต้องการวิเคราะห์ความคล่องตัวของบริษัท ผู้วิเคราะห์ก็สามารถเปรียบเทียบอัตราร้อยละของสินทรัพย์หมุนเวียนต่อสินทรัพย์ทั้งสิ้น กับอัตราร้อยละของหนี้สินหมุนเวียนต่อสินทรัพย์ทั้งสิ้น จากงบข้างต้น ในปี 2541 สินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งประกอบด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือมีอยู่ 61.49% ในขณะที่หนี้สินหมุนเวียนซึ่งก็คือ หนี้สินระยะสั้นมีเพียง 30.80% จากการเปรียบเทียบดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า สินทรัพย์หมุนเวียนมีมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน การวิเคราะห์เพียงคร่าว ๆ ก็พอจะทราบว่าบริษัทนี้มีความคล่องตัว แต่หากจะวิเคราะห์ทำให้ลึกซึ้งมากกว่านี้นั้น เราจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์จากอัตราส่วนทางการเงิน ให้ทราบรายละเอียดเพิ่มขึ้น
จากการวิเคราะห์ข้างต้น การที่เราใช้ข้อมูลเพียงปีเดียวก็จะทราบผลเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น ถ้าต้องการวิเคราะห์ให้ลึกซึ้ง ควรวิเคราะห์ข้อมูลหลาย ๆ ปีต่อเนื่องกัน จะทำให้เราเปรียบเทียบเห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นแต่ละระยะเวลา 1 ปี และสามารถดูแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย
การวิเคราะห์ย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common-Size) แบ่งออกได้เป็น
Common-Size Statement
วิธีนี้ เป็นการจัดตัวเลขของแต่ละรายการที่ปรากฎในงบดุล ให้เป็นอัตราร้อยละของสินทรัพย์ทั้งหมด หรือเป็นอัตราร้อยละของหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น การวิเคราะห์โดยวิธีนี้ จะเน้นให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในอัตราส่วนของรายการต่าง ๆ ในงบดุล เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด และยังชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ต่อไป วิธีการจัดทำ Common-Size Balance Sheet มีลักษณะดังนี้
ตัวอย่าง
บริษัท กขค. จำกัด
Common-Size Balance Sheet
31 ธันวาคม 2540 และ 2541
(หน่วย : ร้อยละ)
|
2540
|
2541
|
สินทรัพย์
|
|
|
เงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
|
13.10
|
9.79
|
ลูกหนี้
|
18.52
|
26.40
|
สินค้าคงเหลือ
|
26.78
|
25.30
|
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
|
58.40
|
61.49
|
ที่ดิน
|
5.70
|
4.18
|
โรงงานและอุปกรณ์ (สุทธิ)
|
22.80
|
20.02
|
สินทรัพย์อื่น ๆ
|
13.10
|
14.31
|
รวมสินทรัพย์ทั้งหมด
|
100.00
|
100.00
|
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สิน
|
|
|
หนี้สินระยะสั้น
|
28.49
|
30.80
|
หนี้สินระยะยาว
|
22.79
|
23.32
|
ส่วนของผู้ถือหุ้น
|
48.72
|
45.88
|
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
|
100.00
|
100.00
|
จากตัวอย่างงบดุลเปรียบเทียบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 และ 31 ธันวาคม 2541 โดยวิธี Common-Size เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า
-
รายการลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นจาก 18.52% ในปี 2540 มาเป็น 26.40% ในปี 2541 การที่ลูกหนี้เพิ่มขึ้นเช่นนี้อาจเนื่องมาจาก การที่บริษัทได้ผ่อนคลายนโยบายการให้สินเชื่อ หรือภาวะการแข่งขันสูง บริษัทจึงขยายเวลาการให้สินเชื่อเพื่อให้ยอดลูกหนี้เพิ่มขึ้น หรือเพราะความสามารถในการเก็บหนี้ลดลง ผู้ลงทุนจะต้องวิเคราะห์หาข้อเท็จจริงว่าเหตุที่ลูกหนี้เพิ่มขึ้นเป็นเพราะอะไร
-
รายการสินค้าคงเหลือ ลดลงจาก 26.78% ในปี 2540 มาเป็น 25.30% ในปี 2541 การที่สินค้าคงเหลือลดลงเช่นนี้อาจเนื่องมาจาก สินค้าจำหน่ายได้เร็วขึ้น หรือบริษัทปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าให้รัดกุมยิ่งขึ้น
-
ทางด้านหนี้สิน ทั้งหนี้สินระยะสั้นและหนี้สินระยะยาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาจเนื่องมาจากบริษัทมีความจำเป็นในการดำเนินการโดยใช้หนี้สินเพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันรายการส่วนของผู้ถือหุ้นก็ลดลง
Current Asset Proportion
การวิเคราะห์ Current Asset Proportion เป็นการวิเคราะห์สินทรัพย์แต่ละรายการที่เป็นสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือ โดยจัดตัวเลขสินทรัพย์แต่ละรายการดังกล่าวเป็นอัตราร้อยละของสินทรัพย์หมุนเวียน การวิเคราะห์นี้จะช่วยเน้นให้เห็นว่าแนวทางการใช้ไปของเงินทุนของกิจการเป็นอย่างไร ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจัดการเกี่ยวกับสินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัท เนื่องจากสินทรัพย์เหล่านี้ จะเป็นส่วนที่ทำกำไรให้กับบริษัท และมีสภาพคล่องใกล้เคียงกับเงินสด จากตัวอย่างงบดุลจะคำนวณได้อัตราร้อยละของสินทรัพย์หมุนเวียนประเภทต่าง ๆ ดังนี้
ตัวอย่าง
บริษัท กขค. จำกัด
Current Asset Proportion
2540 และ 2541
(หน่วย : ร้อยละ)
|
2540
|
2541
|
เงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
|
22.44
|
15.92
|
ลูกหนี้การค้า
|
31.71
|
42.93
|
สินค้าคงเหลือ
|
45.89
|
41.15
|
|
100.00
|
100.00
|
จากงบข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ความคล่องตัวของบริษัทนี้ลดลง เนื่องจากลูกหนี้ในปี 2541 สูงกว่าในปี 2540 และเงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดกลับลดลง ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะเกิดปัญหาในการเก็บหนี้อย่างไรก็ตาม รายการสินค้าคงเหลือลดลง เราอาจจะวิเคราะห์อย่างคร่าว ๆ ได้ว่าการจำหน่ายสินค้าของบริษัทได้ผลดี การบริหารสินค้าคงเหลือมีประสิทธิภาพและสามารถจำหน่ายสินค้าได้เร็วขึ้น
Capital Structure Proportion
การวิเคราะห์ Captial Structure Proportion เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างของเงินทุน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) ของบริษัท และเพื่อให้เห็นถึงส่วนของผู้ถือหุ้นให้เด่นชัดขึ้น พร้อมกับคาดการณ์แนวทางของผู้บริหารที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนดังกล่าว การจัดทำงบแสดงสัดส่วนโครงสร้างของเงินทุน มีลักษณะดังนี้
ตัวอย่าง
บริษัท กขค. จำกัด
งบแสดงสัดส่วนโครงสร้างของเงินทุน 2540 และ 2541
(หน่วย : ร้อยละ)
|
2540
|
2541
|
หนี้สินระยะยาว
|
31.87
|
33.70
|
หุ้นสามัญ
|
17.93
|
17.49
|
กำไรสะสม
|
50.20
|
48.81
|
|
100.00
|
100.00
|
จากตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ส่วนประกอบโครงสร้างของเงินทุนของบริษัท กขค จำกัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 และ 2541 นั้น มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ทุนหุ้นสามัญลดลงเพียงเล็กน้อย หนี้สินระยะยาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับกำไรสะสมนั้นลดลง
3.1.2 การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน
งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นงบการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงาน เป็นการชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทนั้น
ผลการดำเนินงานของบริษัทในด้านกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิจะมีผลต่องบดุล กล่าวคือ กรณีที่รายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย (กำไรสุทธิ) จะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น ส่วนกรณีที่รายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย (ขาดทุนสุทธิ) ก็จะเกิดผลในทางกลับกัน งบกำไรขาดทุนจึงเป็นงบการเงินที่มีผลในการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งเกิดจากการดำเนินงานในงวดเวลาหนึ่ง และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์
ตัวอย่าง
บริษัท กขค. จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2540 และ 31 ธันวาคม 2541
(หน่วย : บาท)
|
2540
|
2541
|
ขาย
|
42,800,000
|
72,760,000
|
ต้นทุนขาย
|
14,980,000
|
25,500,000
|
กำไรขั้นต้น
|
27,820,000
|
47,260,000
|
ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริการ
|
19,000,000
|
30,400,000
|
กำไรจากการดำเนินงาน
|
8,820,000
|
16,860,000
|
ดอกเบี้ยจ่าย
|
250,000
|
1,800,000
|
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
|
500,000
|
1,750,000
|
กำไรก่อนหักภาษี
|
8,070,000
|
13,310,000
|
ภาษีเงินได้
|
2,421,000
|
3,993,000
|
กำไรสุทธิ
|
5,649,000
|
9,317,000
|
เงินปันผลจ่าย
|
2,259,600
|
5,590,200
|
เมื่อเทียบตัวเลขของรายการต่าง ๆ จากงบกำไรขาดทุนข้างต้น โดยประยุกต์ให้เป็นอัตราร้อยละของยอดขายตามวิธี Common-Size แล้ว จะได้ตัวเลขดังนี้
ตัวอย่าง
บริษัท กขค. จำกัด
งบกำไรขาดทุน (แสดงในลักษณะ Common-Size)
สำหรับปี 2540 และ 2541
(หน่วย : ร้อยละ)
|
2540
|
2541
|
ขาย
|
100.00
|
100.00
|
ต้นทุนขาย
|
35.00
|
35.05
|
กำไรขั้นต้น
|
65.00
|
64.95
|
ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริการ
|
44.39
|
41.78
|
กำไรจากการดำเนินงาน
|
20.61
|
23.17
|
ดอกเบี้ยจ่าย
|
0.58
|
2.47
|
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
|
1.17
|
2.41
|
กำไรก่อนหักภาษี
|
18.86
|
18.29
|
ภาษีเงินได้
|
5.66
|
5.49
|
กำไรสุทธิ
|
13.20
|
12.80
|
จากงบกำไรขาดทุนโดยเทียบเป็นอัตราร้อยละของยอดขายข้างต้นสามารถวิเคราะห์ออกมาได้ดังนี้
-
บริษัท กขค จำกัด มีต้นทุนขายประมาณร้อยละ 35 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ทั้งนี้อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุ ประสิทธิภาพในการผลิตสูง ต้นทุนการผลิตทางตรงต่ำ
-
เนื่องจากต้นทุนขายในปี 2540 และ 2541 อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน กำไรขั้นต้นของทั้งสองปีจึงอยู่ในระดับเดียวกัน คือ ประมาณ 65%
-
ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารของบริษัทนี้ในปี 2540 มีร้อยละ 44.39 และได้ลดลงเหลือร้อยละ 41.78 ในปี 2541 แสดงว่าประสิทธิภาพในการดำเนินงานเริ่มสูงขึ้น
-
ตัวเลขที่ปรากฎในรายการกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท จะให้ประโยชน์แก่ผู้ลงทุน เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัททั้งในด้านผลิตและจำหน่าย จากตัวเลขข้างต้น กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.16 ในปี 2540 มาเป็น 23.17 ในปี 2541 แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรสูงขึ้น
-
กำไรสุทธิในปี 2541 ลดลงจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องมาจากดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้นจากร้อยละ 0.58 ในปี 2540 มาเป็นร้อยละ 2.47
ดังนั้น อาจสรุปการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนของบริษัทได้ว่า ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจค่อนข้างสูง ซึ่งอาจเนื่องมาจากแผนการผลิต แผนการขายและแผนการตลาด ของบริษัทนี้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย เป็นการเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนแก่ผู้ลงทุน อย่างไรก็ตาม ผู้วิเคราะห์ควรจะนำสัดส่วนในแต่ละรายการของบริษัท ไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันด้วย
3.1.3 การวิเคราะห์งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน (Statement of Changes in Financial Position)
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน เป็นงบที่จัดทำขึ้น เพื่อแสดงที่มาและการใช้ไปของเงินสดและเงินทุนหมุนเวียนในระหว่างงวดบัญชี อันเนื่องมาจากการดำเนินงาน และจากการเปลี่ยนแปลงรายการสินทรัพย์ และหนี้สินอื่นที่มิใช่ทุนหมุนเวียนแต่มีผลต่อทุนหมุนเวียน
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน จะแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของเงินทุน (Sources of Funds) และการใช้ไปของเงินทุน (Uses of Funds) ในรอบปี เพื่อให้ทราบว่าในระหว่างปีนั้น เงินทุนของกิจการได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไร และประกอบด้วยรายการอะไรบ้าง
แหล่งที่มาของเงินทุน (Sources of Funds) ที่สำคัญ ได้แก่
-
กำไรสุทธิ กำไรสุทธิเป็นผลทำให้เงินทุนของกิจการเพิ่มขึ้น ในกรณีที่มีผลขาดทุนจะเกิดผลในทางทำให้เงินทุนลดลง
-
ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนที่ไม่ต้องใช้เงินทุน เช่น ค่าเสื่อมราคา เป็นผลทำให้เงินทุนของกิจการเพิ่มขึ้น นอกเหนือไปจากกำไรสุทธิ
-
สินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์อื่นที่ลดลง เช่น จำหน่ายที่ดินและอาคาร ขายหลักทรัพย์ ลูกหนี้ลดลง สินค้าคงเหลือลดลง
-
หนี้สินระยะยาว และหนี้สินอื่นที่เพิ่มขึ้น เช่น ออกหุ้นกู้ เจ้าหนี้เพิ่มขึ้น
-
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่ม เช่น การขายหุ้นเพิ่มทุน
ทางที่ใช้ไปของเงินทุน (Uses of Funds) ที่สำคัญ ได้แก่
-
สินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์อื่นที่เพิ่มขึ้น เช่น ซื้อที่ดิน อาคารและเครื่องจักร ซื้อหลักทรัพย์ ลูกหนี้เพิ่มขึ้น สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น
-
หนี้สินระยะยาว และหนี้สินอื่นที่ลดลง เช่น ไถ่ถอนหุ้นกู้ เจ้าหนี้ระยะสั้นลดลง
-
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง เช่น การลดทุน
-
การจ่ายเงินปันผล
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน ให้ประโยชน์ในแง่ที่จะสะท้อนให้เห็นถึง นโยบายทางการเงินของธุรกิจซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ
-
การจัดหาเงินทุนเพิ่มเติม
-
การจัดสรรเงินทุนที่มีอยู่
-
การใช้เงินทุน และผลทางการเงินที่จะตามมา
-
การแก้ไขสถานการณ์ทางการเงินเฉพาะหน้า
ตัวอย่าง
บริษัท กขค จำกัด
งบแดสงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541
(หน่วย : บาท)
ที่มาของทุนหมุนเวียน
|
|
|
จากการดำเนินงาน
|
3,293,000
|
|
บวก ค่าเสื่อมราคา
|
500,000
|
|
เงินทุนได้มาจากการดำเนินงาน
|
3,793,000
|
|
หนี้สินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
|
4,000,000
|
|
กู้ยืมธนาคารเพิ่ม
|
2,600,000
|
|
ขายหุ้นสามัญ
|
1,000,000
|
|
ขายที่ดิน
|
100,000
|
|
|
11,493,000
|
ทางใช้ทุนหมุนเวียน
|
|
|
ลูกหนี้เพิ่มขึ้น
|
5,500,000
|
|
สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น
|
2,100,000
|
|
|
2,600,000
|
|
|
1,100,000
|
|
จ่ายเงินปันผล
|
5,590,000
|
|
|
16,890,200
|
ทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น (ลดลง)
|
(5,397,200)
|
จากงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของบริษัท กขค. จำกัด จะเห็นว่า บริษัทมีทุนหมุนเวียนลดลง 5,397,200 บาท เนื่องจากการใช้ทุนหมุนเวียนมากกว่าที่มาของทุนหมุนเวียน ซึ่งทางใช้ทุนหมุนเวียนเป็นยอดลูกหนี้เพิ่มขึ้น และการจ่ายเงินปันผล เป็นสำคัญ สำหรับที่มาของทุนหมุนเวียน เกิดจากการก่อหนี้ทั้งที่เป็นหนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินระยะยาวเป็นสำคัญ
3.2 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratios Analysis)
จากการวิเคราะห์ย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common-Size) ที่แสดงข้างต้น เป็นการวิเคราะห์อย่างคร่าว ๆ หากผู้วิเคราะห์ต้องการทราบรายละเอียดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้วิเคราะห์อาจจะใช้การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratios Analysis) เข้ามาช่วยโดยการนำรายการต่าง ๆ มาเทียบอัตราส่วน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์สิน หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่ การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินนี้แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการใช้ได้เป็น 4 ลักษณะด้วยกัน คือ
3.2.1 การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน
3.2.2 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
3.2.3 การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรของเงินทุน
3.2.4 การวิเคราะห์นโยบายทางการเงินของบริษัท
ตารางแสดงอัตราส่วนและความหมายของการวิเคราะห์
อัตราส่วน
|
ความหมายของการวิเคราะห์
|
1. อัตราส่วนวิเคราะห์
สภาพคล่องทางการเงิน
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
(Current Ratio)
สินทรัพย์หมุนเวียน
หนี้สินหมุนเวียน
|
เป็นอัตราส่วนใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นอัตราส่วนนี้เป็นเครื่องชี้ฐานะทางการเงินระยะสั้นของธุรกิจ ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่ายิ่งสูง ยิ่งแสดงว่าบริษัทมีความคล่องตัวมาก เจ้าหนี้ระยะสั้นจะให้ความสำคัญต่ออัตราส่วนนี้มากเนื่องจากแสดงโอกาสที่จะได้รับชำระหนี้ว่ามีอยู่มาก หรือน้อยตามค่าอัตราส่วน โดยทั่วไปธุรกิจที่มีอัตราส่วนเงินทุนเวียนเท่ากับ 2:1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว แต่ในการที่จะตัดสินใจก็ควรจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ลักษณะ
และประเภทของธุรกิจ ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน เป็นต้น
|
อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว
(Quick Ratio)
สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ
หนี้สินหมุนเวียน
|
อัตราส่วนนี้ใช้สำหรับวัดความสามารถของธุรกิจในการชำระหนี้สินหมุนเวียนจากสินทรัพย์หมุนเวียนที่หักสินค้าคงเหลือออก ทั้งนี้ เพื่อพยายามตัดสิ่งซึ่งจะเป็นปัญหาในการเปลี่ยนแปลงเงินสดออก (สินค้าคงเหลือ) อัตราส่วนนี้ค่ายิ่งมาก ก็แสดงว่าธุรกิจนี้มีสภาพคล่องสูงโดย
ปกติอัตราส่วน 1:1 ก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว
|
อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้
(Receivable Turnover)
ขายเชื่อสุทธิ
ลูกหนี้เฉลี่ย
|
อัตราส่วนนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายเชื่อสุทธิกับยอดลูกหนี้เฉลี่ย ถ้าอัตราการหมุนเวียนอยู่ในอัตราสูงแสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการบริหารลูกหนี้และสามารถเปลี่ยนลูกหนี้เป็นเงินสดได้เร็ว
|
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยการเก็บหนี้
(Average Collection Period)
360 .
อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้
|
อัตราส่วนนี้แสดงถึงระยะเวลาการเรียกเก็บเงินว่ายาวนานแค่ไหน ผู้วิเคราะห์สามารถนำมาเปรียบเทียบกับเงื่อนไขการชำระเงิน (Term of sale) ของธุรกิจ ซึ่งจะทำให้เห็นถึงความสามารถในการเรียกเก็บหนี้ว่ามี
ประสิทธิภาพหรือไม่
|
อัตราส่วน
|
ความหมายของการวิเคราะห์
|
อัตราการหมุนเวียนของสินค้า
(Inventory Turnover)
ต้นทุนสินค้าขาย
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
|
อัตราส่วนนี้ใช้วัดอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือเพื่อให้ทราบถึงความคล่องตัวของสินค้าว่าสามารถ
จำหน่ายสินค้าได้เร็วเพียงใด ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่ายิ่งสูงยิ่งแสดงว่าสินค้าของบริษัทสามารถขายได้เร็ว แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานขายของบริษัท
|
2. อัตราส่วนวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายล่วงหน้าตัดบัญชี
(Earnings Before Interest, Taxation, Depreciation and Amortization : EBITDA)
|
อัตราส่วนนี้สะท้อนกำไรที่มาจากการดำเนินงาน ที่ยังไม่นำต้นทุนทางการเงินเข้ามาพิจารณา เช่น ภาระดอกเบี้ยจ่าย จากการก่อหนี้เพื่อมาดำเนินงาน และไม่นับรวมค่าใช้จ่ายทางบัญชีซึ่งยังมิได้จ่ายจริง อาทิ ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชีต่าง ๆ EBITDA จึงยังไม่รวมกำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน ภาระภาษี ฯลฯ
ทั้งนี้ EBITDA สามารถนำประยุกต์ในการวิเคราะห์ทางการเงินได้ในหลายแง่มุม เช่น Discounted Cash Flow หรือการประเมินมูลค่าบริษัทในอนาคต ซึ่งควรใช้พิจารณาร่วมกับอัตราส่วนอื่น ๆ เพื่อให้การวิเคราะห์
งบการเงินสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
|
ความสามารถหากำไร หรือกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์ทั้งหมด (Earning Power)
กำไรจากการดำเนินงาน
สินทรัพย์ทั้งหมดเฉลี่ย
|
อัตราส่วนนี้ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาผลตอบแทนที่ได้จากสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท โดยการพิจารณากำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (กำไรจากการดำเนินงาน)
เทียบกับการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท
|
อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ดำเนินงาน (Operating Asset Turnover)
ขายสุทธิ .
สินทรัพย์ทั้งหมดเฉลี่ย
|
อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท สามารถก่อให้เกิดยอดขายเทียบกับ
สินทรัพย์ทั้งหมด
|
อัตราส่วน
|
ความหมายของการวิเคราะห์
|
อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย(Operating Income Margin)
กำไรจากการดำเนินงาน
ขายสุทธิ
|
อัตราส่วนนี้เป็นการวัดความสามารถในการจัดการ แสดงให้เห็นถึงรายได้จากการขายคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นแล้ว
กรณีที่อัตราส่วนนี้ลดลง อาจจะมีสาเหตุมาจากกำไรขั้นต้นต่ำไป เนื่องจากต้นทุนสินค้าสูงหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ สูงขึ้นไม่สัมพันธ์กับยอดขาย ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุง
แก้ไขและควบคุมอย่างเข้มงวด ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว อาจเนื่องมาจากความต้องการของตลาดลดลงหรือ ภาวะการแข่งขันสูง หรือต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น เนื่องากประสิทธิภาพในการผลิตต่ำลง เป็นต้น
|
3. อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไร
ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return on Asset)
กำไรสุทธิ .
สินทรัพย์ทั้งหมด
ผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น
(Return on Equity)
กำไรสุทธิ .
ส่วนของผู้ถือหุ้น
|
เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถในการทำกำไรของเงินลงทุนที่มาจากสองส่วนด้วยกัน คือ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนนี้ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อวัดผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือเงินทุนที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารงานเพื่อให้เกิดผลตอบแทนแก่
ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของกิจการ
|
4. อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน
อัตราส่วนของหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม (Debt Ratio)
หนี้สินรวม
สินทรัพย์รวม
|
อัตราส่วนนี้แสดงสัดส่วนของหนี้สินรวมของบริษัทเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งใช้วัดว่าสินทรัพย์ของบริษัทสนับสนุนเงินทุนจากเงินกู้ยืมจากภายนอกเป็นสัดส่วนเท่าใด นอกจากนั้น ยังแสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท ถ้าอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่าบริษัทมีภาระหนี้สินสูง การบริหารกิจการมีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหนี้สินส่วนใหญ่เป็นหนี้สินระยะสั้นและกิจการมีกระแสเงินสดหมุนเวียนจากการขายต่ำ ซึ่งแม้ว่าจะมีความเสี่ยงสูงแต่ก็แสดงถึงความสามารถในการใช้สินทรัพย์สูงหากกิจการสามารถดำเนินการได้มีกำไร
|
อัตราส่วน
|
ความหมายของการวิเคราะห์
|
อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
(Debt to Equity Ratio)
หนี้สินรวม
ส่วนของผู้ถือหุ้น
|
อัตราส่วนนี้แสดงโครงสร้างของเงินทุน (Capital Structure) ของบริษัทว่ามีสัดส่วนของหนี้สินรวมของบริษัทเมื่อเทียบกับส่วนของทุนหรือส่วนของเจ้าของเป็น
กิจการมีกระแสเงินสดหมุนเวียนจากการขายต่ำ ซึ่งแม้ว่าจะมีความเสี่ยงสูงแต่ก็แสดงถึงความสามารถในการใช้สินทรัพย์สูงหากกิจการสามารถดำเนินการได้มีกำไร
|
อัตราส่วน
|
ความหมายของการวิเคราะห์
|
อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
(Debt to Equity Ratio)
หนี้สินรวม
ส่วนของผู้ถือหุ้น
|
อัตราส่วนนี้แสดงโครงสร้างของเงินทุน (Capital Structure) ของบริษัทว่ามีสัดส่วนของหนี้สินรวมของบริษัทเมื่อเทียบกับส่วนของทุนหรือส่วนของเจ้าของเป็นเท่าใด เป็นการวัดว่าธุรกิจใช้เงินทุนจากภายนอก (จาก
การกู้ยืม) เมื่อเทียบกับทุนภายในของธุรกิจเองว่ามีสัดส่วนเท่าใด ซึ่งหนี้สินเป็นแหล่งเงินทุนที่บริษัทมีภาระดอกเบี้ยจ่าย ไม่ว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจะเป็นอย่างไร ถ้าอัตราส่วนหนี้สูงก็แสดงว่าบริษัทก็มีความเสี่ยงสูงด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเงินกู้เป็นแหล่งเงินทุนที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย
|
ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย
(Interest Coverage)
กำไรจากการดำเนินงาน หรือ
ดอกเบี้ยจ่าย
กำไรสุทธิ-ภาษีเงินได้-ดอกเบี้ยจ่าย
ดอกเบี้ยจ่าย
|
อัตราส่วนนี้แสดงถึงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ของธุรกิจ โดยวิเคราะห์เพื่อหากำไรจากการดำเนินงาน (กำไรสุทธิ + ภาษีเงินได้ + ดอกเบี้ยจ่าย) ต่อ ดอกเบี้ยจ่าย อัตราส่วนนี้ยิ่งสูงก็ยิ่งเพิ่มความมั่นใจแก่เจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชำระดอกเบี้ย การที่อัตราส่วนนี้ลดลงอาจจะ เนื่องมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือหลายสาเหตุ เช่น
ดอกเบี้ยจ่ายสูงเกินไป หรือเงินกู้เพิ่มขึ้น หรือ กำไรลดลง
|
อัตราการจ่ายปันผล
(Dividend Payout)
เงินปันผล
กำไรสุทธิ
|
อัตราส่วนนี้ใช้ในการพิจารณาว่าธุรกิจมีนโยบายในการ จ่ายเงินปันผลอย่างไร ถ้าอัตราส่วนนี้สูงก็แสดงให้เห็นว่า กำไรส่วนใหญ่ของธุรกิจใช้ไปเพื่อตอบแทนผู้ลงทุนหรือ เจ้าของกิจการโดยการจ่ายเงินปันผลและคงเหลือกำไร เพียงบางส่วนไว้เพื่อการขยายกิจการของธุรกิจ
|
จากงบการเงินของบริษัท กขค. จำกัด เมื่อนำมาคำนวณหาอัตราส่วนทางการเงิน โดยใช้อัตราส่วนต่าง ๆ ที่แสดงในตารางข้างต้น จะได้ผลโดยสรุป ดังนี้
|
2540
|
2541
|
อัตราส่วนวิเคราะห์ความคล่องตัวทางการเงิน
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (เท่า)
|
2.05
|
2.00
|
อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว (เท่า)
|
1.11
|
1.18
|
อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (ครั้ง)
|
6.85
|
7.86
|
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยการเก็บหนี้ (วัน)
|
52.55
|
45.80
|
อัตราการหมุนเวียนของสินค้า (ครั้ง)
|
|
|
อัตราส่วนวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ความสามารถหากำไร (%)
|
27.96
|
41.86
|
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ดำเนินงาน (เท่า)
|
1.36
|
1.81
|
อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (%)
|
20.61
|
23.17
|
อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไร
ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด
|
15.67
|
19.34
|
ผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ
|
32.16
|
42.17
|
อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน
อัตราส่วนของหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม (เท่า)
|
0.51
|
0.54
|
อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)
|
1.05
|
1.18
|
ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (ครั้ง)
|
35.28
|
9.36
|
อัตราการจ่ายปันผล (%)
|
50.92
|
70.52
|
เมื่อพิจารณางบการเงินของบริษัท กขค. จำกัด โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินข้างต้น อาจสามารถวิเคราะห์ตีความได้ดังนี้
3.2.1 การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน
จากการวิเคราะห์สภาพคล่องของบริษัท ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของบริษัท ปรากฏว่า Current Ratio ของบริษัท กขค. จำกัด ในปี 2540 และปี 2541 มีอัตราใกล้เคียงกัน คือประมาณ 2.00 เท่า ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนต้องพิจารณาสินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัทส่วนใหญ่ ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ใกล้เคียงกับเงินสดมากน้อยเพียงใด โดยวิเคราะห์จากอัตราส่วน Quick Ratio ซึ่งได้ตัดสินค้าคงเหลือ ที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงสุดในบรรดาสินทรัพย์หมุนเวียน และมีความคล่องต่ำออกไป จะเห็นได้ว่า Quick ratio ของบริษัท กขค. จำกัด เท่ากับ 1.11 ในปี 2540 และเท่ากับ 1.18 ในปี 2541 ตามลำดับ แสดงว่าความคล่องตัวของบริษัท อยู่ในระดับสูงกว่ามาตรฐานเล็กน้อย และอัตราส่วนนี้ได้เพิ่มขึ้นภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี
สำหรับอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาถัวเฉลี่ยการเก็บหนี้ ซึ่งเท่ากับ 53 วัน ในปี 2540 และลดลงเป็น 46 วัน ในปี 2541 แสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถเก็บหนี้ได้เร็วขึ้น และการที่อัตราการหมุนเวียนของสินค้าเพิ่มขึ้นจาก 1.72 ครั้งในปี 2540 เป็น 2.44 ครั้งในปี 2541 แสดงว่าบริษัทนี้ได้มีการปรับปรุงเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ โดยการส่งเสริมการจำหน่าย เพื่อเพิ่มยอดขายด้วยการโฆษณา หรือการปรับปรุงช่องทางจำหน่ายให้สามารถระบายสินค้าได้เร็วขึ้น เป็นต้น
3.2.2 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
อัตราส่วน Earning Power ของบริษัทนี้เพิ่มขึ้นจาก 27.96% ในปี 2540 เป็น 41.86% ในปี 2541 แสดงความสามารถในการก่อให้เกิดผลตอบแทนของบริษัทนี้เพิ่มขึ้น หากแสดงรายละเอียดของอัตราส่วนนี้เพิ่มเติม จะเห็นได้ว่า เกิดจากผลคูณระหว่างอัตราการหมุนของสินทรัพย์ดำเนินงาน และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย ดังนี้
ความสามารถ = อัตราการหมุนของ X อัตราส่วนกำไรจาก
หากำไร สินทรัพย์ดำเนินงาน การดำเนินงานต่อยอดขาย
กำไรจากการดำเนินงาน = ขายสุทธิ X กำไรจากการดำเนินงาน
สินทรัพย์ทั้งหมดเฉลี่ย สินทรัพย์ทั้งหมดเฉลี่ย ขายสุทธิ
ปี 2540 Earning Power = 1.36 x 20.61
ปี 2541 Earning Power = 1.81 x 23.17
จากการแสดงรายละเอียดการวิเคราะห์ จะเห็นได้ว่าการที่ Earning Power ของบริษัทในปี 2541 เพิ่มขึ้นจากปี 2540 สาเหตุสำคัญ คือ การที่อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขายของบริษัท ได้เพิ่มขึ้นจาก 20.61% ในปี 2540 มาเป็น 23.17% ในปี 2541 และ อัตราการหมุนของสินทรัพย์ดำเนินงาน ก็ได้เพิ่มขึ้นจาก 1.36 เท่าในปี 2540 เป็น 1.81 เท่ากับในปี 2541 เช่นกัน
3.2.3 การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรของธุรกิจ
อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรของบริษัท เป็นอัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการใช้เงินทุนทั้งหมด หรือเงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับบริษัทนี้อัตราส่วน Return on Asset ได้เพิ่มขึ้นจาก 15.67% ในปี 2540 เป็น 19.34% ในปี 2541 นอกจากนั้น ผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ (Return on Equity) ก็ได้เพิ่มขึ้นจาก 32.16% ในปี 2540 เป็น 42.17% ในปี 2541 เช่นกัน
3.2.4 การวิเคราะห์นโยบายทางการเงินของบริษัท
อัตราส่วนของหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมเป็นอัตราส่วนวัดว่า แหล่งที่มาของเงินทุนในทรัพย์สินของกิจการ มาจากการกู้ยืมหรือเจ้าหนี้ในอัตราส่วนเท่าใด สำหรับบริษัทนี้ อัตราส่วน Debt Ratio ได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 0.51 เท่าในปี 2540 เป็น 0.54 เท่าในปี 2541 แสดงว่าอัตราส่วนของการกู้ยืมประมาณครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินรวม นอกจากนี้ อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการชำระหนี้สินระยะยาวของกิจการ สำหรับบริษัทนี้อัตราส่วน Debt to Equity Ratio ได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.05 เท่าในปี 2540 เป็น 1.18 เท่าในปี 2541 ซึ่งหมายถึง อัตราส่วนของหนี้สูงขึ้น แสดงว่าผู้ถือหุ้นมีโอกาสจะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น เพราะมีการใช้เงินทุนจากแหล่งเงินกู้อื่นสูงกว่าจากผู้ถือหุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ แต่บริษัทก็มีความเสี่ยงสูงด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเงินกู้เป็นแหล่งเงินทุนที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย
สำหรับอัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย จะแสดงให้เห็นความสามารถในการชำระดอกเบี้ยของบริษัท ว่าสามารถนำกำไรจากการดำเนินงานมาจ่ายดอกเบี้ยได้มากน้อยเพียงใด อัตราส่วนนี้ใช้วัดความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย และใช้วัดความเชื่อมั่นของเจ้าหน้าที่ ที่มีต่อบริษัทว่า จะได้รับชำระหนี้ทันกำหนดหรือไม่ จากอัตราส่วนนี้ของบริษัท กขค. จำกัด ซึ่งลดลงจาก 35.28 ครั้งในปี 2540 เป็น 9.36 ครั้งในปี 2541 แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง เนื่องจากมีภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นจากปี 2540 มาก
สำหรับอัตราการจ่ายปันผล (Dividend Payout Ratio) ซึ่งเป็นอัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลจากกำไรที่ได้ในแต่ละปีให้แก่ผู้ถือหุ้น บริษัทนี้จ่ายเงินปันผลในอัตรา 50.92% ในปี 2540 และ 70.52% ในปี 2541 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่สูงมาก การจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิของบริษัทในอัตราที่สูง สามารถดึงดูดใจผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล ณ สิ้นงวดบัญชีได้
รวบรวมโดย จรัส อินทร์คง