ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใช้ 1 มกราคม 2554 - 31 ธันวาคม 2566)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม)
bulletคำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี 2556

การแบ่งขนาดธุรกิจเพื่อการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น สืบเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้มีตราพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 เพื่อลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งไม่เคยมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเกินกว่า 5 ล้านบาท และหรือมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการเกินกว่า 30 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการประกอบวิสาหกิจขนาดย่อมและกระตุ้นให้มีการลง ทุนในวิสาหกิจดังกล่าวอันจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 เป็นต้นไป ต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 564) พ.ศ. 2556 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าว เป็นผลให้กิจการเอสเอ็มอี ได้สิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2556 รวมทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีด้วยดังนี้

1. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน  300,000 บาท
2. กำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท ให้เสียในอัตรา 15%
3. กำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งล้านบาท ให้เสียในอัตรา 20%    

ในการหักจำนวนเงินกำไรสุทธิที่ได้    รับยกเว้น  300,000 บาทแรก เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการประมาณการกำไรสุทธินั้น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทำการประมาณกำไรสุทธิของทั้งรอบระยะเวลาบัญชีเสียก่อน แล้วนำมาหารสองคงเหลือเท่าใดเป็นประมาณการกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จากนั้นให้นำกำไร     สุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 300,000 บาทมาหักออก คงเหลือกำไรสุทธิเท่าใดให้คำนวณตามอัตราที่ระบุข้างต้น เช่น

บริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2556 ได้เป็นเงิน 5 ล้านบาท จำนวนประมาณการกำไรสุทธิกึ่งหนึ่งเท่ากับ 2.5 ล้านบาท เช่นนี้ แบ่งจำนวนประมาณการกำไรสุทธิออกเป็นส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ออกมาหักด้วยจำนวนเงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้น 300,000 บาท คงเหลือ 700,000 บาท ให้คำนวณ  ภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 15% ได้เป็นเงิน 105,000 บาท สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท คงเหลืออยู่จำนวน 1.5 ล้านบาท นำไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% ได้เป็นเงิน 300,000 บาท รวมเป็นจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องเสียตามแบบ ภ.ง.ด.51 ทั้งสิ้นเป็นเงิน 405,000 บาท หากในช่วง 6 เดือนแรก กิจการได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ก็ให้นำมาเครดิตหักออกจากจำนวนภาษีที่ต้องเสียได้ หากยังขาดให้ชำระเพิ่ม แต่ถ้าเกินให้นำไปถือเป็นเครดิตในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ต่อไป

อนึ่ง สำหรับกิจการร่วมค้า ซึ่งโดยสถานภาพทั่วไป มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ตามประมวลรัษฎากร กำหนดให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อให้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น แม้กิจการร่วมค้าจะมีเงินทุนไม่เกิน 2 ล้านบาท ก็ไม่ได้สิทธิประโยชน์ในประเด็นนี้แต่อย่างใด.

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

 ที่มาของข้อมูล : www.rd.go.th/spt3/fileadmin/user_upload/article_CIT/PND51.DOC

 

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิถูกกำหนดให้ต้องยื่นแบบแสดงรายการ 2 ครั้งต่อรอบระยะเวลาบัญชี คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีตามแบบ ภ...51 ภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี และภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ...50 ที่ต้องยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคลครึ่งปี (...51) ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2523 เป็นต้นมา โดยในช่วงต้นกำหนดให้เสียจากประมาณการกำไรสุทธิแต่เพียงอย่างเดียว ต่อมาได้มีการกำหนดให้เสียจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงในครึ่งแรกของรอบระยะเวลาบัญชี จึงขอนำประเด็นหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนาดังนี้

ปุจฉา ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ...51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

วิสัชนา ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ...51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิเท่านั้น ประกอบด้วย

     1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

     2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว หรือเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในรูปของสาขา โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ

     3.  กิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว หรือเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในรูปของสาขา โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ

     4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ  หรือกิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ

     5. กิจการร่วมค้า ได้แก่ กิจการที่ดำเนินร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับ บุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น

     อนึ่ง สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลาตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด ในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ตามปกติ เช่นเดียวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เพราะการได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน  เป็นแต่เพียงการได้รับสิทธิประโยชน์ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น สำหรับหน้าที่ต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดทำโดยทั่วไป ก็ยังคงต้องดำเนินการ อาทิ การยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล

สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทีมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานอื่น เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบกิจการสายการบินหรือสายการเดินเรือ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ... 51

ปุจฉา รอบระยะเวลาบัญชีในกรณีใดบ้างที่ต้องยื่นแบบ ภ...51  

วิสัชนา รอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องยื่นแบบ ภ...51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ได้แก่

     1. รอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน ประกอบด้วย รอบระยะเวลาบัญชีแรกเฉพาะกรณีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีที่ดำเนินกิจการมาเป็นปกติ และรอบระยะเวลาสุดท้ายเฉพาะกรณีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน    

     2. รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งมีกำหนดเวลาเกินกว่า 6 เดือน 

ปุจฉา รอบระยะเวลาบัญชีในกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51   

วิสัชนา กรณีดังต่อไปนี้ ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

      1. กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกที่มีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน

      2. กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปีสุดท้ายมีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน

      3. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยน แปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมีกำหนดเวลาไม่เกิน 6 เดือน

ปุจฉา การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีมีกี่วิธีอะไรบ้าง  

วิสัชนา ในปัจจุบันการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

     1. การเสียจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำและจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป

     2. การเสียจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการในช่วงเวลา 6 เดือน แรกของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีผู้สอบทานงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี  ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 เป็นต้นมา

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (2)

 

เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีตามแบบ ภ...51 ซึ่งได้นำมาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนาต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

ปุจฉา กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51

วิสัชนา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล (ถ้ามี) ภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

     สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับปีปฏิทินซึ่งกำหนดเวลาหกเดือนแรกจะสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน จึงต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภายในเดือนสิงหาคม แต่เนื่องจากในปีนี้ วันสุดท้ายของกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ได้แก่วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2546 ตรงกับวันอาทิตย์ วันสุดท้ายของกำหนดเวลาจึงต้องเลื่อนไปเป็นวันจันทร์ที่ 1 กันยายน 2546 ตามนัยมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ปุจฉา ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด.51 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ต้องแนบหลักฐานหรือไม่

วิสัชนา ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด.51 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ต้องแนบหลักฐานใดๆ ทั้งนี้ เว้นแต่ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อธิบดีกรมสรรพากร ให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีที่ทำหน้าที่ สอบทานงบการเงิน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 43) ซึ่งได้สิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิที่ได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการในรอบระยะเวลาหกเดือนแรก  ให้แนบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่มีผู้สอบทานงบการเงินไปพร้อมกับแบบ ภ.ง.ด.51 ด้วย

ปุจฉา ภาษีเงินได้ที่ชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51 มีผลอย่างไร และถ้ามีภาษีหัก ณ ที่จ่ายในรอบ 6 เดือนแรกจะนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

วิสัชนา จำนวนภาษีเงินได้ที่ชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51 ให้ถือเป็นเครดิตภาษีในการยื่นรายการเงินได้ประจำรอบระยะเวลาบัญชี และในการชำระภาษีดังกล่าว หากมีภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในระยะเวลาหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีก็ให้นำมาถือเป็นเครดิตได้

     ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี และมีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในระยะเวลาหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี หากจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ ก็ให้ชำระเพิ่มเติมตามส่วนแตกต่างนั้น  แต่ถ้าจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมีจำนวนมากกว่า ก็ให้ยกยอดภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้งหมด ไปถือเป็นเครดิตในการยื่นแบบรายการ ภ.ง.ด.50 ประจำรอบระยะเวลาบัญชีนั้นต่อไป

     อนึ่ง หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดมียอดภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมากกว่าภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51 โดยเฉพาะกรณีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากประมาณการกำไรสุทธิ ไม่ควรทิ้งไปเสียเปล่าเพราะยังไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีจำนวนที่เกินไปดังกล่าว จึงควรเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิ และให้จำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องเสียเท่ากับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายพอดีถือเป็นประเด็นการวางแผนภาษีอีกประการหนึ่ง

ปุจฉา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ได้แก่บุคคลใดบ้าง

วิสัชนา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ได้แก่

      1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยทุกกิจการ แต่มิใช่บริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากรให้มีผู้สอบทานงบการเงิน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 43)

      2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยที่มิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ เว้นแต่กิจการธนาคารพาณิชย์

      3. กิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรในประเทศไทยโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยที่มิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ

      4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ หรือกิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรในประเทศไทยโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่ประกอบกิจการในประเทศไทยที่มิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ โดยผ่านลูกจ้างผู้ ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อ ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย โดยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ

      5. กิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

ปุจฉา ช่วงเวลาใดที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ

วิสัชนา กำหนดเวลาในการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ได้แก่ ช่วงเวลาภายในสองเดือนนับแต่การดำเนินกิจการมาเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี โดยต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ สำหรับทั้งรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งประมาณการจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการทั้งในส่วนที่ได้กระทำมาแล้วในรอบระยะเวลา 6 เดือนแรก  และที่จะได้กระทำในรอบระยะเวลา 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชี

     กำหนดเวลาดังกล่าว ให้ใช้กับทั้งกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมีกำหนดเวลาเกินกว่า 6 เดือน

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (3)

 

เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีตามแบบ ภ...51 ซึ่งได้นำมาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนาต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

ปุจฉา มีวีการประมาณการกำไรสุทธิเพื่อการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 อย่างไร

วิสัชนา เพื่อมิให้เกิดปัญหาการประมาณการคลาดเคลื่อนไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงควรจัดทำประมาณการกำไรสุทธิจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี ดังนี้

      1. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

         (1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีผลการดำเนินงานปรากฏเป็นกำไรสุทธิ 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ ควรประมาณการกำไรสุทธิไว้ไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้าย

         (2) กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีผลการดำเนินงานสำหรับ 3 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ โดยบางรอบฯ มีกำไรสุทธิและบางรอบฯมีขาดทุนสุทธิ ควรประมาณการกำไรสุทธิไว้ไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิก่อนหักขาดทุนสุทธิออกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี ของระยะเวลาบัญชีที่มีกำไรสุทธิใกล้ที่สุด

      2. กรณีอื่นนอกจากที่กล่าวข้างต้น รวมทั้งกิจการที่เริ่มประกอบกิจการ

         (1) ในการประมาณการรายได้ ให้พิจารณาถึงแนวโน้มทางการเพิ่มหรือลดของรายได้ในช่วง 6 เดือนแรก และ 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชีที่ล่วงมาแล้ว (ถ้ามี) ว่ามีอัตราเพิ่มหรือลดร้อยละเท่าใด แล้วใช้รายได้ที่เกิดขึ้นจริงในรอบระยะเวลา 6 เดือน หรือ 8 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีเป็นฐานในการประมาณการรายได้ โดยใช้อัตราเพิ่มหรือลดดังกล่าวเป็นตัวปรับ เว้นแต่มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น จะต้องประมาณการรายได้ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ด้วย เช่น มีโครงการผลิตสินค้าใหม่ หรือโครงการส่งเสริมการขายใหม่อันอาจทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นก็ให้นำมาพิจารณาประกอบด้วย

             อนึ่ง ไม่ควรใช้รายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีคูณด้วย  2  เป็น  ประมาณการรายได้ หากแต่ควรพิจารณาปัจจัยอื่น รวมทั้งฤดูกาลของสินค้าประกอบด้วย

         (2) ในการประมาณการรายจ่าย ให้พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และรายจ่าย    และให้เทียบเคียงกับความสัมพันธ์ของรายได้ และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีล่วงมาแล้วประกอบด้วย (ถ้ามี)

         (3) ในกรณีที่ไม่สามารถพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และรายจ่ายได้   ให้พิจารณาเทียบเคียงกำไรสุทธิต่อยอดขายหรือยอดรายรับแตกต่างจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหรือไม่เพียงใด หากอัตรากำไรสุทธิดังกล่าวของรอบระยะเวลาบัญชีที่จัดค่าประมาณกำไรสุทธิต่ำเกินไปให้ชี้แจงเหตุผล

         (4) เมื่อจัดทำประมาณการกำไรสุทธิโดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ใน (1) - (3) แล้ว หากประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ตาม ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชี นั้น ให้จัดทำคำชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงว่า มีเหตุการณ์เหนือความคาดหมาย   หรือนอกเหนืออำนาจควบคุมที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้ยื่น ภ.ง.ด.51 แล้วหรือไม่ และเหตุการณ์นั้นมีผลทำให้รายจ่ายลดลงหรือรายได้หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพียงใด เพื่อเตรียมไว้ชี้แจงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรต่อไป 

ปุจฉา การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี จากประมาณการกำไรสุทธิ  

วิสัชนา ในกรณีที่มีผลการประมาณการ ปรากฏเป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร มาหักออกได้ หากยังปรากฏเป็นกำไรสุทธิอยู่อีก ก็ให้คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล และเสียภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิดังกล่าว ในอัตราร้อยละ 30 ของกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิดังกล่าว เช่น บริษัทจำกัดแห่งหนึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีตามปีปฏิทิน บริษัทฯ ประมาณการกำไรสุทธิได้เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท   บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงิน 300,000 บาท   เช่นนี้ บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวมาหักออกจากประมาณการกำไรสุทธิ ทำให้คงเหลือประมาณการกำไรสุทธิเพียง 700,000 บาท

      ให้นำประมาณการกำไรสุทธิภายหลังหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนปีปัจจุบัน มาคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีเพียงกึ่งหนึ่ง    เช่น   บริษัทจำกัดแห่งหนึ่งมีผลการประมาณการกำไรสุทธิภายหลังหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน  5  ปี เป็นเงิน 700,000 บาท เช่นนี้  บริษัทฯ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีเป็นเงิน 700,000/2 x 30% = 105,000 บาท  

      อนึ่ง หากในระยะเวลาหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้  ก็ให้นำมาเครดิตหักออกจากจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องเสียดังกล่าวได้

ปุจฉา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 และชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกำหนดเวลา โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ จะได้สิทธิลดเงินเพิ่มหรือไม่อย่างไร และต้องเสียค่าปรับหรือไม่

วิสัชนา กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ล่าช้า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้อง ให้เสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

     1. ถ้าชำระภายใน 2 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินเพิ่มที่ต้องชำระ

     2. ถ้าชำระภายหลัง 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินเพิ่มที่ต้องชำระ

     3. กรณีอื่นนอกจากข้อ 1 และข้อ 2 ให้เสียร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระแต่ไม่เกินเงินเพิ่มที่กฎหมายกำหนด (ร้อยละ 20 ของจำนวนภาษีที่ชำระล่าช้าหรือชำระขาดไป)

     สำหรับความรับผิดทางอาญา เนื่องจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ล่าช้าเกินกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังนี้

     1. กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 7 วัน ต้องรับผิดเสียค่าปรับเป็นเงิน 1,000 บาท

     2.  กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 7 วัน ต้องรับผิดเสียค่าปรับเป็นเงิน 1,000 บาท

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (4)

 

แม้จะผ่านพ้นช่วงเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีตามแบบ ภ...51 แต่ยังมีประเด็นเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีที่น่าสนใจจึงนำมา ปุจฉา – วิสัชนาต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกรณีประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่า 25% ของกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีอย่างไร

วิสัชนา หลักเกณฑ์เกี่ยวกับกรณีประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่า 25% ของกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี พอสรุปได้ดังนี้

     ให้เปรียบเทียบกำไรสุทธิจากการดำเนินกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับประมาณการกำไรสุทธิ ตามแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อคำนวณหาอัตราร้อยละของจำนวนประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

     กำไรสุทธิจากการดำเนินกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 หมายถึง กำไรสุทธิทางภาษีอากร (Taxable Net Profit) ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ มาตรา 65 ตรี มาตรา 70 ตรี และมาตรา 74 แล้ว มิใช่กำไรสุทธิทางการเงินตามงบกำไรขาดทุนตามมาตรฐานการบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

     สมมุติบริษัทแห่งหนึ่งยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 แสดงประมาณการกำไรสุทธิไว้เป็นเงิน 700,000 บาท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้เป็นเงิน 105,000 บาท เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ปรากฏว่าบริษัทฯ มีกำไรสุทธิทางภาษีอากรตามแบบ ภ.ง.ด.50 เป็นเงิน 1,000,000 บาท หากบริษัทฯ ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป คิดเป็น (300,000 X 100 หาร 1,000,000) = 30.0% โดยไม่มีเหตุอันสมควร  บริษัทฯ ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตรา 20% ของเงินภาษีภาษีทีชำระไว้ขาด ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรดังนี้

     เนื่องจากบริษัทฯ ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่า 25% ของกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำ ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตรา 20% ของจำนวนภาษีเงินได้ที่ชำระไว้ขาดไป

                    จำนวนภาษีเงินได้ที่ชำระขาดไปคำนวณได้จาก นำกึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.50 คือ 150,000.00 บาท หัก ด้วยภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณได้ตามแบบ ภ.ง.ด.51                       105,000.00  บาท ได้เป็นเงิน 45,000.00  บาท  ดังนั้น เงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรคิดเป็นเงิน (45,000 x 20%) 9,000.00  บาท

     อย่างไรก็ตาม เงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจสั่งลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 โดยเสียในอัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่ไม่เกินเงินเพิ่มตามกฎหมาย (20% ของจำนวนภาษีที่ชำระขาดไป)

     อนึ่ง ในการคิดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่า 25% ของกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.51 มาหัก บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังคงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรต่อไป เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จ ซึ่งไม่คำนึงว่าผู้เสียภาษีได้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้วหรือไม่ประการใด นอกจากนี้กรณีประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 เกินไปกว่า 25% ของกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ไม่มีความผิดแต่อย่างใด

     กรณีมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร อาจต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 200,000 บาท ตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร อีกด้วย

ปุจฉา มีกรณีใดบ้างที่ถือเป็นเหตุอันสมควร แม้จะประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ

วิสัชนา กรมสรรพากรได้กำหนดแนวทางในการพิจารณาเกี่ยวกับ "เหตุอันสมควร" ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลอันเนื่องมาจากการประมาณการขาดไป ดังนี้

     1. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ให้ถือว่า เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.50/2537

      2. กรณีการประกอบกิจการมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาในเบื้องต้นว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมี "เหตุอันสมควรหรือไม่" ตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0814/3893 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2539

           (1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นสวนนิติบุคคล ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25   และปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มีการขายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชี ให้นำกำไรจากการขายทรัพย์สินดังกล่าวหักออกจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีของรอบระยะเวลาบัญชี หากปรากฏว่ากำไรสุทธิที่เหลือ   เป็นผลให้ประมาณการกำไรสุทธิที่ยื่นเสียภาษีไว้ขาดไปไม่เกิน 25% ถือว่าได้จัดทำประมาณการไว้โดยมีเหตุอันสมควร 

           (2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลา 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ (รายได้จากการประกอบกิจการไม่รวมถึงการนำเงินไปหาประโยชน์โดยฝากธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ที่ได้รับมาก่อน ไม่ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีนี้หรือรอบระยะเวลาบัญชีก่อน)

           (3) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดต่ำลง ทำให้ค่าใช้จ่ายค่าดอกเบี้ยลดต่ำลงด้วย 

           (4) การส่งสินค้าออกมีความไม่แน่นอน ทั้งปริมาณและราคาสินค้า หรือมีการยกเลิกการควบคุมราคาหรือปริมาณสินค้าส่งออก

           (5) การรับจ้างที่มีค่าจ้างไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างและความยากง่ายของงานที่ทำ

           (6) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ 

                พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

 

ปัญหาภาษีเงินได้ครึ่งปี  

 

วันนี้ย่างเข้าเดือนกันยายนแล้ว แต่ยังอยู่ในช่วงฤดูภาษีเงินได้ครึ่งปี เพราะเมื่อวาน (อังคารที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา) เป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับปีปฏิทิน ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ทุกบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนก็คงจะได้ดำเนินการเรียบร้อยกันไปหมดแล้ว แต่ปัญหาภาษีเงินได้ครึ่งปีก็ยังมีอยู่ทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา กรณียื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ล่าช้าจะมีผลอย่างไร

วิสัชนา กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ล่าช้า มีผลกระทบดังนี้

     1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับทางอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

         (1) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ต้องระวางโทษปรับ 1,000 บาท

         (2) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายหลัง 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ต้องระวางโทษปรับ 2,000 บาท

     2. กรณีที่มีจำนวนเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

         (1) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

         (2) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายหลัง 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

         (3) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายหลัง 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ จนกว่าเงินเพิ่มจะมีจำนวนครบ 20% ของเงินภาษี 

     3. การไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาอาจถือได้ว่าไม่ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการ ซึ่งอาจไม่ได้รับการพิจารณาลดหรืองดเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่มกรณีอื่น

     นอกจากนี้ ค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่มภาษีดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา กรณีประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่า 25% ของกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี มีผลอย่างไร

วิสัชนา ให้เปรียบเทียบจำนวนกำไรสุทธิจริงที่ได้จากการดำเนินกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 กับจำนวนประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51

     1. ถ้าผลต่างของจำนวนกำไรสุทธิจริงที่ได้จากการดำเนินกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 มีจำนวนมากกว่าประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 แต่ไม่เกิน 25% ถือว่าเป็นอันจบกระบวนการพิจารณา เพราะไม่มีผลทางภาษีอากรแต่อย่างใด

     2. แต่ถ้าจำนวนกำไรสุทธิจริงที่ได้จากการดำเนินกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 มีจำนวนมากกว่าประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 มีจำนวนเกินกว่า 25% ให้พิจารณาดังนี้

          (1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ   และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว      กรมสรรพากรให้ถือว่า เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.50/2537 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

         (2)  กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นสวนนิติบุคคล ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25   และปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มีการขายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชี ให้นำกำไรจากการขายทรัพย์สินดังกล่าว   หักออกจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีของรอบระยะเวลาบัญชี หากปรากฏว่ากำไรสุทธิที่เหลือ   เป็นผลให้ประมาณการกำไรสุทธิที่ยื่นเสียภาษีไว้ขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้จัดทำประมาณการไว้โดยมีเหตุอันสมควร 

         (3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลา 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ (รายได้จากการประกอบกิจการไม่รวมถึงการนำเงินไปหาประโยชน์โดยฝากธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ที่ได้รับมาก่อนไม่ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีนี้หรือรอบระยะเวลาบัญชีก่อน) หรือมีเหตุอื่นทำให้ประมาณการกำไรสุทธิคลาดเคลื่อนไป อาทิ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดต่ำลง ทำให้ค่าใช้จ่ายค่าดอกเบี้ยลดต่ำลงด้วย หรือการส่งสินค้าออกมีความไม่แน่นอน ทั้งปริมาณและราคาสินค้า หรือมีการยกเลิกการควบคุมราคาหรือปริมาณสินค้าส่งออก หรือการรับจ้างที่มีค่าจ้างไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างและความยากง่ายของงานที่ทำ หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ ก็ถือว่ามีเหตุอันสมควรเช่นเดียวกัน

     อนึ่ง จำนวนกำไรสุทธิจริงตาม แบบ ภ.ง.ด.50 ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับประมาณการกำไรสุทธิ ตามแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อคำนวณหาอัตราร้อยละของจำนวนประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ จำนวนกำไรสุทธิทางภาษีอากรที่ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ มาตรา 65 ตรี มาตรา 70 ตรี และมาตรา 74 แล้ว มิใช่กำไรสุทธิทางการเงินตามงบกำไรขาดทุนตามมาตรฐานการบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

     หากผลการพิจารณาเป็นว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่า 25% โดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรในอัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่คลาดเคลื่อน แต่เงินเพิ่มทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 20% ของจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คลาดเคลื่อนไปนั้น

 พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

 

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ประกอบด้วยวิธีหลักๆ 3 วิธี คือ (1) การเสียภาษีโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ มาตรา 69 ตรี และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร (2) การเสียภาษีโดยการยื่นรายการประเมินตนเอง ได้แก่ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ตามแบบ ภ.ง.ด.51 และภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 และ (3) การเสียภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ ซึ่งในขอนำมาเฉพาะการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคครึ่งปีมาประเด็น ปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้ 

ปุจฉา ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ...51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ได้แก่บุคคลใดบ้าง

วิสัชนา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีตามแบบ ภ...51 ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิเท่านั้น ประกอบด้วย

     1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

     2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว หรือเข้ามาประกอบกิจการ ในประเทศไทยในรูปของสาขา โดยประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ

     3.  กิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว หรือเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในรูปของสาขา โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ หรือเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ

     4. กิจการร่วมค้า ได้แก่ กิจการที่ดำเนินร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับ บุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น

     อนึ่ง สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลาตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด ในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ตามปกติ เช่นเดียวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เพราะการได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน  เป็นแต่เพียงการได้รับสิทธิประโยชน์ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น สำหรับหน้าที่ต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดทำโดยทั่วไป ก็ยังคงต้องดำเนินการ อาทิ การยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล  

ปุจฉา รอบระยะเวลาบัญชีในกรณีใดบ้างที่ต้องยื่นแบบ ภ...51  

วิสัชนา รอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องยื่นแบบ ภ...51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ได้แก่

     1. รอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน ประกอบด้วย รอบระยะเวลาบัญชีแรกเฉพาะกรณีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีที่ดำเนินกิจการมาเป็นปกติ และรอบระยะเวลาสุดท้ายเฉพาะกรณีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน    

     2. รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งมีกำหนดเวลาเกินกว่า 6 เดือน 

ปุจฉา รอบระยะเวลาบัญชีในกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51   

วิสัชนา กรณีดังต่อไปนี้ ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

      1. กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกที่มีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน

      2. กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปีสุดท้ายมีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน

      3. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมีกำหนดเวลาไม่เกิน 6 เดือน

ปุจฉา การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีมีกี่วิธีอะไรบ้าง  

วิสัชนา ในปัจจุบันการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

     1. การเสียจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำและจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป

     2. การเสียจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการในช่วงเวลา 6 เดือน แรกของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีผู้สอบทานงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี  ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 เป็นต้นมา

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ  

ปุจฉา วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกี่วิธีอะไรบ้าง

วิสัชนา การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมี วิธี ดังนี้

     1. การเสียภาษีโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย

     2. การเสียภาษีโดยการยื่นรายการประเมินตนเอง

     3. การเสียภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ

     4. การเสียภาษีเงินได้แทน โดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง

     5. การเลือกเสียภาษี

ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสียภาษีโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย อย่างไร

วิสัชนา การเสียภาษีโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย มี 2 กรณีคือ

      1. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยอาจต้องถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ มาตรา 69 ตรี และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร  สำหรับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายดังกล่าว ให้ถือเป็นเครดิตภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายไว้นั้น

                        (1) ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่ขายสินค้าหรือให้บริการใดๆ แก่ รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น อาทิ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารราชการส่วนจังหวัด หรือองค์การบริหารราชการส่วนตำบล ส่วนราชการดังกล่าวผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร จะคำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้ 

         (2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ ต้องถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 เงินได้ โดยนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิหริอนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน พร้อมกับการถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และค่าธรรมเนียมตามกฎหมายที่ดิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของราคาที่ดิน ตามแบบ ภ.ธ.40

                        (3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายสินค้าค้าหรือให้บริการแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งในบางกรณีรวมถึงการให้บริการแก่บุคคล ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล  ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ และหรือมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าว อาจต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์  เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528  อาทิ เงินได้ตามมาตรา 40(2)(3) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณหักภาษีเงินได้  ณ ที่จายในอัตราร้อยละ 3.0  เงินได้ตามมาตรา 40(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของหรือบริการอื่น ให้คำนวณหักภาษีเงินได้  ณ ที่จายในอัตราร้อยละ 3.0  เงินได้ตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณหักภาษีเงินได้  ณ ที่จายในอัตราร้อยละ 5.0 เงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนที่เป็นค่าขนส่งให้คำนวณหักภาษีเงินได้  ณ ที่จายในอัตราร้อยละ 1.0  เป็นต้น

     2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ ตลอดจนกิจการของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของตางประเทศที่มิได้กระทำกิจการในประเทศไทย  แต่ได้รับเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย โดยผู้จ่ายเงินได้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดๆ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวมทั้งกิจการของรัฐบาลหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศดังกล่าว อาจต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 หรือร้อยละ 10 ของเงินได้ 

ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยการเยื่นรายการประเมินตนเองอย่างไร 

วิสัชนา การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการยื่นรายการประเมินตนเอง

     1. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีรอบระยะเวลาบัญชีละ 2 ครั้ง คือ

         (1) ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี โดยเสียจาก

             (ก) ประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปทั้งที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกิจการร่วมค้า

             (ข) ผลการดำเนินกิจการสำหรับรอบระยะเวลา  6  เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ กิจการวิเทศธนกิจ (BIBF: Bangkok International Banking Facility) บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ รวมทั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้มีสอบทานงบการเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 43) (มาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)   

         (2) ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะเวลาบัญชี โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (มาตรา 68 มาตรา 68 ทวิ มาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร) 

 

เลขที่หนังสือ กค 0811/31969  วันที่ 16 สิงหาคม 2543 

เรื่อง                       ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ สำหรับรอบ

                                ระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนรอบฯ ซึ่งมีระยะเวลาเกินกว่าหกเดือน 

ข้อกฎหมาย         มาตรา 67 ทวิ 

ข้อหารือ :

                                บริษัท ก. จำกัด เปลี่ยนแปลงรอบระยะเวลาบัญชีโดยให้มีรอบระยะเวลาบัญชีแรกของการเปลี่ยนแปลงเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543 บริษัทฯ ได้หารือว่า บริษัทฯ ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ซึ่งเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรกของการเปลี่ยนแปลงและมีระยะเวลา เกินกว่า 6 เดือน หรือไม่

                                1. กรณีตามมาตรา 67 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แล้วให้คำนวณ และชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องจัดทำ ประมาณการดังกล่าว สำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

                                2. ตามมาตรา 67 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดว่า กรณีตามมาตรา 67 ทวิ วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีแรกหรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายน้อยกว่าสิบสองเดือน จากข้อกฎหมายดังกล่าว หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรอบระยะเวลาบัญชีแรกไม่ถึงสิบสองเดือน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นก็ไม่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ และคำว่า“รอบระยะเวลาบัญชีแรก” หมายความถึง รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้มีการจัดตั้งบริษัทเท่านั้น ประกอบกับมิได้มีกฎหมายกำหนดให้ขยายความไปถึงรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงด้วย จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนั้น กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเมื่อบริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรอบระยะเวลาบัญชี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543 ซึ่งมิใช่เป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก แม้จะไม่ถึงสิบสองเดือน บริษัทฯ ก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ

แนววินิจฉัย :

                                บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ และยื่นแบบ ภ.ง.ด.51

ชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ภายในสองเดือนนับแต่

วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว หรือภายในวันที่ 30

พฤศจิกายน 2543 ทั้งนี้ ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร 

เลขตู้ : 63/29665 

 

 

เลขที่หนังสือ : กค 0811/6762 

วันที่ : 9 กรกฎาคม 2544  

เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณี “เหตุอันสมควร” ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร 

ข้อกฎหมาย : มาตรา 67 ตรี 

ข้อหารือ :             บริษัทฯ มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดย

บริษัทฯ ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2540 และ2541 ดังนี้

รอบระยะ             ภ.ง.ด.50          ยื่นแบบฯ               ภ.ง.ด.51           ยื่นแบบ               ผลต่าง         คิดเป็น

เวลาบัญชี       กำไร(ขาดทุน)          วันที่               กำไร(ขาดทุน         วันที่                                      ร้อยละ

                                สุทธิ (1)                 (2)                    สุทธิ (3)               (4)                 (5)=(1)-(3)            

2540             42,572,376.58       29 พ.ค.2541    35,141,100.00     1 ก.ย.2540     7,431,276.58        17.46

2541             28,148,656.83       26 พ.ค.2542    19,196,160.00    31 ส.ค.2541    8,952,496.83       31.80

บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 และของดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

                                (1) บริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยเข้ามามากในเดือนธันวาคม 2541 เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2540

                                (2) การถือเป็นรายได้ของบริษัทฯ ในทางบัญชีตามกฎข้อบังคับของกรมการประกันภัยใช้สูตร 1 ส่วน ต่อ 24 แต่กรมสรรพากรให้ถือว่าร้อยละ 60 ของเบี้ยประกันภัยเป็นรายได้ที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงทำให้ไม่สามารถประมาณการภาษีได้อย่างถูกต้อง

                                สพท. เห็นว่า บริษัทฯ ไม่มีเหตุอันควรในการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 จึงไม่เห็นควรงดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้บริษัทฯ สำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541 สภ. เห็นว่า

                                (1) การประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 นั้น บริษัทฯ ชี้แจงว่า มีเบี้ยประกันภัยเข้ามามากในเดือนธันวาคม 2541 ซึ่งเมื่อเทียบกับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2540 โดยพิจารณาจากหลักฐานการยื่นแบบ ภ.ธ.40 สำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2540 ของบริษัทฯ ปรากฏว่า บริษัทฯ มีรายรับจากการประกันภัย จำนวน 29,139,227 บาท ส่วนในเดือนภาษีธันวาคม 2541 มีรายรับจากการประกันภัย จำนวน 31,172,412 บาท ซึ่งสูงกว่ารายรับของเดือนภาษีธันวาคม 2540 จำนวน 2,033,185 บาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 6.98

                                (2) กรณีที่บริษัทฯ ชี้แจงว่า การถือเป็นรายได้ของบริษัทฯ ในทางบัญชีตามกฎข้อบังคับของกรมการประกันภัยใช้สูตร 1 ส่วนต่อ 24 แต่กรมสรรพากรให้ถือว่าร้อยละ 60 ของเบี้ยประกันภัยเป็นรายได้ที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงทำให้ไม่สามารถประมาณการภาษีได้อย่างถูกต้อง กรณีนี้พิจารณาแล้วเห็นว่า ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (1)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ระบุว่ารายการต่อไปนี้ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ “เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไรเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับ ในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้ว และเงินสำรองที่กันไว้นี้จะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป” ซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ และบริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามด้วย กรณีข้างต้นจึงไม่เข้าเงื่อนไขข้อ 1 และ 2 ของหนังสือที่ กค 0814/3892 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2539 เรื่อง แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จึงถือว่าไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทฯ ต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541 แต่เนื่องจากบริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องของดเงินเพิ่ม ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งการพิจารณางดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่ง

ประมวลรัษฎากร เป็นอำนาจของอธิบดี จึงส่งเรื่องให้กรมสรรพากรพิจารณา 

แนววินิจฉัย :

                                บริษัทฯ ประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ไว้ จำนวน 19,196,160.00 บาท แต่กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 มีจำนวน 28,148,656.83 บาท บริษัทฯ จึงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปจำนวน 8,952,496.83 บาท คิดเป็นร้อยละ 31.80 ของกำไรสุทธิ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ได้ยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควรตามการพิจารณาของ สภ.3 และหนังสือที่ กค 0814/3892 เรื่อง แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2539 บริษัทฯ จึงต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรไม่อนุมัติงดเงินเพิ่มให้แก่บริษัทฯ 

เลขตู้ : 64/30669 

  

เลขที่หนังสือ กค 0811(กม.04)/1198 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 

เรื่อง                       ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพิ่มเติม 

ข้อกฎหมาย :       มาตรา 67 ทวิ (2), มาตรา 65 ทวิ (5) 

ข้อหารือ :

                                บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2542 โดยแสดงกำไรสุทธิจริงของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนแรกไว้ จำนวน 39,355,097.79 บาท คิดเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล 11,806,529.34 บาท หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 419,104.61 บาท เป็นเงินภาษีที่ต้องชำระ 11,387,424.73 บาท บริษัทฯ ใช้สิทธิขยายเวลาการชำระภาษีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลาการชำระภาษีอากรสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ต่อมาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงกำไรสุทธิจริงของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนแรกจากที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ในครั้งแรกไว้ จำนวน 39,355,097.79 บาท เป็นกำไรสุทธิเพียง 30,288,731.61 บาท คิดเป็นเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระ (หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแล้ว) 8,667,514.87 บาท เนื่องจากได้บริษัทฯ คำนวณมูลค่าหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย เพื่อบันทึกผลกำไรหรือผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับหนี้สินที่บริษัทฯ  มีอยู่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 รวมไว้ด้วย ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ ได้ชำระภาษีพร้อมการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่ 2 ไว้จำนวน 8,667,514.87 บาท ตามใบเสร็จรับเงิน ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า

                                1. บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในกำหนดเวลา และมีสิทธิขอขยายเวลาการชำระภาษีอากร ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินภาษีกลางปี ไม่เป็นเหตุให้บริษัทฯ หมดสิทธิชำระภาษีตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ฉบับดังกล่าว และการชำระเงินภาษีอากรเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นการชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับแรก ที่ได้ยื่นไว้ภายในกำหนดเวลา พร้อมกับแก้ไขเพิ่มเติมรายการโดยแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่ 2 บริษัทฯ จึงไม่มีกรณีต้องรับภาระตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร

                                2. กรณีของบริษัทฯ เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจยึดทรัพย์ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรได้เนื่องจากภาษีอากรค้างจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเป็น “ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง...” ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร แต่ภาษีอากร กลางปีนั้นเป็นการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลา ซึ่งตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้แต่เพียงว่า “...ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดพร้อมกับชำระภาษีต่ออำเภอ...”ไม่ได้กำหนดให้บริษัทฯ ต้องเสียภาษีตามจำนวนที่ชำระแต่ประการใด และตามมาตรา 67 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรได้บัญญัติว่า “ภาษีที่ชำระตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 68” แสดงว่าภาษีกลางปีที่ชำระพร้อมการยื่นรายการนั้นไม่ใช่ภาษีที่ต้องเสีย หากแต่เป็นการจัดเก็บก่อนถึงกำหนดเวลาและคืนให้ทั้งหมดด้วยวิธีเครดิตภาษีโดยไม่ต้องถูกตรวจสอบก่อน และถ้าคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ยังคงมีสิทธิยื่นคำร้องขอภาษีดังกล่าวคืนได้ ภาษีกลางปีจึงมิใช่ภาษีอากรที่ต้องเสีย อีกทั้งในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 บริษัทฯ ประกอบกิจการขาดทุน บริษัทฯ จึงไม่มีภาษีต้องเสียแต่อย่างใด แม้บริษัทฯ จะมิได้ชำระภาษีกลางปีหรือชำระไว้บางส่วน ภาษีดังกล่าวก็มิใช่ เป็นภาษีอากรค้าง เจ้าพนักงานจึงไม่มีอำนาจยึดทรัพย์ของบริษัทฯ ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรได้

                                3. เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 โดยแสดงการคำนวณกำไรสุทธิไว้ ดังนี้

                                กำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี                                                   25,754,634.84 บาท

                                ภาษีเงินได้ร้อยละ 30                                                           7,726,390.45 บาท

                                หัก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย                                                      85,982.31 บาท

                                หัก ภาษีที่ชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51                                  8,667,514.87 บาท

                                ชำระภาษีไว้เกิน                                                                1,798,106.73 บาท

                                การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชี 2542 ของบริษัทฯ ดังกล่าวถูกต้องแล้ว และบริษัทฯ ไม่มีภาระภาษีใด ๆ ตามกฎหมาย 

แนววินิจฉัย :

                                1. กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 ฉบับแรก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2542 แสดงกำไรสุทธิจริงที่ต้องคำนวณภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากรไว้จำนวน 39,355,097.79 บาท มีเงินภาษีต้องชำระจำนวน 11,387,424.73 บาท แต่ยังไม่ได้ชำระภาษี เนื่องจากบริษัทฯ ขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ซึ่งการขยายเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลงภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.51 ที่ยื่นไว้จำนวน 11,387,424.73 บาท ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดเวลาตามที่ได้รับสิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ฉบับดังกล่าว

                                2. กรณีบริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่ 2 เพื่อขอแก้ไขจำนวนกำไรสุทธิจริงที่ต้องคำนวณภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อปรับลดยอดภาษีให้ต่ำกว่ายอดภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับแรกโดยอ้างว่าได้คำนวณมูลค่าหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย เพื่อบันทึกผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร และได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 ไปแล้ว โดยมีเงินภาษีที่ชำระไว้เกินจำนวน 1,798,106.73 บาท ก็ไม่เป็นผลลบล้างจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51 ที่ได้ยื่นไว้เดิม เนื่องจากแบบดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายตั้งแต่แรก ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วน บริษัทฯ ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

                                3. กรณีบริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับแรกไว้ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2542 แต่ยังมิได้ชำระภาษี เนื่องจากขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ สำนักงานสรรพากรเขตในท้องที่ที่ สำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ ตั้งอยู่ ได้ตั้งหนี้ภาษีอากรค้างตามแบบ บ.ช.35 (แบบแจ้งการค้างชำระภาษีอากร) แล้ว เมื่อครบกำหนดขยายเวลาการชำระภาษีตามประกาศกระทรวงการคลังฯ บริษัทฯ ยังไม่ได้ชำระภาษีให้ครบถ้วน จำนวนภาษีอากรค้าง กรมสรรพากร จึงมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร

กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับแรก ภายในกำหนดเวลา ซึ่งถือว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่แรก บริษัทฯ จะต้องชำระภาษีตามแบบดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามที่ได้รับสิทธิ (หรือภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543) ซึ่งบริษัทฯ ได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาไว้แล้วตามแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่ 2 ถือว่าได้ชำระภาษีไว้เพียงบางส่วน สำหรับภาษีส่วนที่ยังไม่ได้ชำระจึงเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ มีสิทธิที่จะนำภาษีที่ชำระไว้ตามแบบ ภ...51 ดังกล่าว ไปถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีตามแบบ ภ...50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และหากคำนวณแล้วมีภาษีที่ชำระไว้เกิน บริษัทฯ มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีตามแบบ ค.10 

เลขตู้ : 63/29643 

 

 การคำนวณภาษี ภ.ง.ด.51 รอบระยะเวลาบัญชีปี 2551 ของกิจการ SMEs 

 สืบเนื่องจากกรมสรรพากรมีการลดอัตราภาษีเงินได้และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป  ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 471) พ.ศ. 2551จึงขอแสดงวิธีการคำนวณและชำระภาษีในแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2551 หัวข้อ “การคำนวณภาษี” ข้อ 2 กรณีลดอัตราภาษี และเลือก (2.6)  ซึ่งเป็นการคำนวณภาษีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่ เกิน 5 ล้านบาท

 

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี                           2,500,000 บาท

ภาษีที่คำนวณได้        502,500 บาท

 

วิธีการคำนวณ

 

 กำไรสุทธิ

 อัตราภาษีร้อยละ

 ภาษีที่คำนวณได้

              0   -     150,000 บาท

 ยกเว้น

       0 บาท

  150,001  -  1,000,000 บาท

 15

            127,500 บาท

1,000,001  -  2,500,000 บาท

 25

            375,000 บาท

           รวมภาษีที่คำนวณได้

 

         502,500 บาท

 

ที่มา : กรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/38637.0.html




ความรู้เกี่ยวกับภาษี

SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร ? article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 โดยอาจารย์ อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ article
การชดเชยค่าภาษีอากร-บัตรภาษี article
มนุษย์เงินเดือนเฮครม.อนุมัติลดหย่อนภาษีหักค่าใช้จ่าย60% (มีผลบังคับใช้ในปี 2550) article
การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย article
ภาษีป้าย article
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
ใบลดหนี้ (Credit Note)
ภาระภาษีในการประนอมหนี้ ค่าบริการ
เงื่อนไขในการคำนวณส่วนของ หนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจาก ภาษีขาย
การทำบัญชี ของบุคคลธรรมดา ที่ไม่จด VAT
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือ Consortium
Income Tax Guide for foreign Company
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี
ภาษีค่าสิทธิ - จากสรรพากรสาส์น
ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่าย
การเสีย VAT กรณีนำเข้าสินค้ามาขายแบบ 3 เส้า
คลังสินค้าทัณฑ์บน (BONDED WAREHOUSE ) คืออะไร?
เขตปลอดอากร เขตยกเว้นภาษี
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่น่าสนใจ
บัญชีอากรแสตมป์ อัตราอากรแสตมป์
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ตาม มาตรา 56 ทวิ)
การเฉลี่ยภาษีซื้อ
Withholding Tax Rates for Royalties under Thailand's DTAs
Withholding Tax Rates for Interest under Thailand's DTAs
เงินได้พึงประเมินที่ผู้เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสิทธิแยกคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) article
คณะบุคคล... อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม
ภาษีบ้านเช่าครึ่งปี
ภาษีเลี้ยงรับรองปีใหม่
ภาษีค่าน้ำมันรถ
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจาก 50,000 เป็น 100,000
มาตรการสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ + ห้องชุด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สารพัน ปัญหาภาษีสรรพากร - สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ค่าชดเชยการเลิกจ้าง กับภาระภาษีอากร
ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนประกันชีวิตได้รับถือเป็นเงินได้ประเภทใด
ขายสินค้าเกษตรเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับรู้รายได้เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลเสียหายจากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรายได้จากการให้บริการป้ายโฆษณา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าซ่อมเครื่องจักรและ ค่าที่ปรึกษาไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์และค่าบริการอื่นให้แก่บริษัทต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของนิติบุคคลอาคารชุด
ปัญหา ของขวัญกับการเสียภาษี
ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
ปัญหา ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF
เงินสนับสนุนการศึกษาและเงินบริจาค
สารพันปัญหา "ค่าลดหย่อน"
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ.2564)
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
การคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
พระราชกฤษฎีกา ลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ปี 2555
การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ
คำชี้แจงกรมสรรพากร กรณีการยื่นแบบเสียภาษีของสามีและภรรยา ปี 2555
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ป็นทางค้าหรือหากำไร
สรุปอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2555-2558
มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs
สรุปคำชี้แจงการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
บัญชี IFRS for SMEs กับภาษี ตอน รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาของ SMEs
ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า!!!
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ เมื่อมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
ฎีกาภาษี : การขีดฆ่าอากรแสตมป์
ภาษีการรับมรดก
เครื่องมือช่วยคำนวณรายการทางบัญชีเป็นรายการทางภาษี
วิธีการประมาณการกําไรสทธิ ภงด.51 article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กับกิจการขายของ Online article
เงินได้พึงประเมินของผู้ประกอบโรคศิลปะ-แพทย์(หมอ) article
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง article
คำสั่งกรมสรรพากร. ที่ป.161/2566. เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง article
การประกอบกิจการโรงพยาบาลสัตว์ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี