การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ตาม มาตรา 56 ทวิ)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี เป็นภาษีที่เสียก่อนถึงกำหนดเวลาเสียภาษีสิ้นปี ( เดือน มีนาคม ในปีถัดไป) และเสียเฉพาะกรณีที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ภาษีที่เสียนี้นำไปเป็น เครดิตภาษี หัก ออกจากภาษีสิ้นปีได้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ได้แก่ บุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคลที่มิใช่นิติบุคคล
เงินได้พึงประเมินที่กำหนดให้เสียภาษีเงินได้ครึ่งปี
เงินได้พึงประเมินที่กำหนดให้เสียภาษีเงินได้ครึ่งปี ได้แก่ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ถึง 8 แต่ไม่รวมถึงเงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง เงินค่าซ่อมแซม ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์
เงินได้จาการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา หรือการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ก็เป็นเงินได้ที่จะต้องนำมายื่นเสียภาษีครึ่งปีตามนี้ด้วย เพราะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เว้นแต่ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา หรือการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ผู้เงินได้จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีก็ได้ ซึ่งก็หมายถึง ไม่ต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีด้วย
แบบที่ใช้ในการยื่น และ ระยะเวลาในการยื่น
แบบที่ใช้ยื่นภาษีครึ่งปี คือ แบบ ภ.ง.ด. 94 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ใช้สำหรับผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา หรือเงินได้จากการประกอบธุรกิจ ฯลฯ ตามมาตรา 40(5) (6) (7) หรือ (8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง มิถุนายน ไม่ว่าจะมีเงินได้อื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ โดยจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 และชำระภาษีภายในเดือน กันยายน (ตั้งแต่ กรกฎาคม ถึง กันยายน) ของทุกปีภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้ครึ่งปี
วีการคำนวณ
ขั้นที่ 1 การคำนวณภาษีครึ่งปีตามวิธีที่ 1
เงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือน มิถุนายน XXX
..1
หัก ค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด XXX
..2
1-2 เหลือเงินได้หลังหัก ค่าใช้จ่าย XXX
..3
หัก ลดหย่อน (หักได้กึ่งหนึ่ง) ตามที่กฎหมายกำหนด XXX
..4
3-4 เงินได้สุทธิ XXX
..5
นำเงินได้ตาม 5 ไปคำนวณภาษีตาม
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา XXX
..6
ขั้นที่ 2 การคำนวณภาษีครึ่งปีตามวิธีที่ 2
เงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่เดือน มกราคม
ถึงเดือน มิถุนายน XXX
..7
คำนวณภาษี ภาษี = 5/1,000 * 7 (พันละ 5 บาท) XXX
..8
ภาษีครึ่งปีที่ต้องเสีย เทียบระหว่าง 6 และ 8
จำนวนใดมากกว่าให้ชำระด้วยยอดนั้น XXX
..9
หัก จำนวนภาษีเงินได้ ถูก หัก ณ ที่จ่าย
ในระหว่างเดือน มกราคม มิถุนายน XXX
..10
9 10 เหลือ ภาษีที่ต้องชำระ XXX
ภาษีเงินได้ครึ่งปี ที่ได้ชำระไปให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีตอนสิ้นปี
ข้อสังเกต
- การหักค่าใช้จ่าย กฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับการคำนวณภาษีตอนสิ้นปี
- การหักค่าลดหย่อน ให้หักได้เพียงกึ่งหนึ่งของอัตราที่ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักได้ทั้งปี ดังนี้
2.1 การหักลดหย่อนผู้มีเงินได้สามีภริยาและบุตร หักได้กึ่งหนึ่ง เช่น สามีภริยาหักลดหย่อนได้เพียงคนละ 15,000 บาท บุตรหักได้คนละ 7,500 หรือ 8,500 บาท
2.2 การหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และเงินบริจาค หักได้กึ่งหนึ่ง แต่จะต้องจ่ายไปจริงในระหว่างเดือน มกราคม ถึง มิถุนายน ของปีภาษี
3. จำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายระหว่าง เดือน มกราคม ถึง มิถุนายน ที่จะนำมาหักออกจากภาษีครึ่งปี จะต้องเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (8) เท่านั้น จะนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายเกี่ยวกับเงินได้ประเภทอื่น เช่น เงินเดือน ค่านายหน้า ฯลฯ มาหัก ไม่ได้