งบกระแสเงินสด
งบกระแสเงินสด เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งจะเน้นเฉพาะในส่วนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเงินสดและรายการที่เทียบเท่าเงินสด เช่น เงินฝากธนาคารหรือเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงเท่ากับเงินสด โดยงบกระแสเงินสดจะช่วยให้ผู้บริหาร หรือบุคคลภายนอก ตลอดจนนักลงุทนได้ทราบว่าในรอบปีที่ผ่านมาแท้ที่จริงแล้วกิจการได้รับเงินสดและใช้จ่ายเงินสดในกิจกรรมใดบ้าง ด้วยเหตุนี้ งบกระแสเงินสดจึงถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นถึงนโยบายในการบริหารเงินสดของกิจการ การตัดสินใจทางด้านการเงิน และการวางแผนในอนาคตเพื่อความมั่งคั่งของกิจการ
การจัดทำงบกระแสเงินสด ได้แบ่งการวิเคราะห์กระแสเงินสดของกิจการที่เปลี่ยนแปลงไปในงวดบัญชีที่ผ่านมาออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ( Cash from operating activity)
2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (Cash from investing activity)
3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน ( Cash from financing activity)
การจำแนกกระแสเงินสดในลักษณะนี้ จะช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นต่อผู้ใช้งบ
การเงิน ในการประเมินผลการดำเนินงานของกิจการต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน หมายถึง การแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ เช่น จากการขายสินค้า จากการจ่ายภาษีเงินได้ จากการจ่ายดอกเบี้ย จากการซื้อสินค้า การจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ รวมถึงรายได้อื่น ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานของกิจการ เป็นต้น
2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการซื้อและจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรและเงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวต่าง ๆ นอกจากนี้ยังอาจจะรวมถึงดอกเบี้ยรับ และเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์ลงทุนต่าง ๆ
3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการจัดหาเงินทุนในหนี้สินระยะยาว และส่วนของเจ้าของ เช่น การกู้ยืมและการชำระหนี้คืน การออกหุ้นทุนเพิ่มและการเงินปันผล เป็นต้น
รูปแบบการจัดทำงบกระแสเงินสด
การจัดทำงบกระแสเงินสด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามวิธีการในการวิเคราะห์และ
แสดงกระแสเงินสด จากกิจกรรมดำเนินงานคือ
1. วิธีทางตรง ( Direct Method)
เป็นวิธีที่จะแสดงเงินสดรับและเงินสดจ่ายจากกิจกรรมดำเนินงานต่าง ๆ เช่น เงินสดรับจาก
การขายสินค้า เงินสดจ่ายค่าซื้อสินค้า เงินสดจ่ายในค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน ดอกเบี้ยจ่ายและค่าภาษีเงินได้ เป็นต้น
2. วิธีทางอ้อม (Indirect Method)
เป็นวิธรการแสดงการแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน โดยใช้กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิที่
ทำได้ในปีนั้น แล้วปรับด้วยผลกระทบของรายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสด หรือไม่กระทบต่อเงินสด เช่น ค่าเสื่อมราคา กำไรขาดทุนจากการขายสินทรัพย์และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดำเนินงานของกิจการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น จึงขอแสดงรูปแบบของการจัดทำงบกระแสเงินสดในลักษณะทั่ว ๆ ไป ทั้ง 2 วิธีดังต่อไปนี้
วิธีทางตรง ( Direct Method)
บริษัท…………………………………….จำกัด
งบกระแสเงินสด
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ ……………………………………
หน่วย:พันบาท
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน:
เงินสดรับจากการขายสินค้า xxx
เงินสดรับจากรายได้อื่น ๆ xxx
เงินสดจ่ายค่าซื้อสินค้า (xxx)
เงินสดจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ (xxx)
เงินสดจ่ายค่าดอกเบี้ย (xxx)
เงินสดจ่ายค่าภาษีเงินได้ (xxx)
กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน xxx
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน:
เงินสดรับจากการขายสินทรัพย์ถาวร xxx
เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนต่าง ๆ xxx
เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร (xxx)
เงินสดจ่ายซื้อเงินลงทุนต่าง ๆ (xxx)
กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการลงทุน xxx
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน:
เงินสดรับจากกรออกหุ้นทุน xxx
เงินสดรับจากการกู้ยืมระยะยาว xxx
เงินสดจ่ายปันผล (xxx)
เงินสดจ่ายชำระหนี้ (xxx)
กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน xxx
เงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น (ลดลง) xxx
บวก เงินสดต้นงวด xxx
เงินสดคงเหลือปลายงวด xxx
วิธีทางอ้อม (Indirect Method)
บริษัท………………………………..จำกัด
งบกระแสเงินสด
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่………………………………………………….
หน่วย : บาท
กระแสดเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน:
กำไรสุทธิ xxx
ปรับปรุงด้วยรายการที่มีผลกระทบกำไรสุทธิ:
สินทรัพย์หมุนเวียนลดลง xxx
สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น (xxx)
หนี้สินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น xxx
หนี้สินหมุนเวียนลดลง (xxx)
ค่าเสื่อมราคา xxx
รายการตัดจ่าย xxx
กำไรจากการขายสินทรัพย์ระยะยาว xxx
ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ระยะยาว (xxx)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน xxx
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน:
เงินสดรับจากการขายสินทรัพย์ถาวร xxx
เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนต่าง ๆ xxx
เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร (xxx)
เงินสดจ่ายซื้อเงินลงทุนต่าง ๆ (xxx)
กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการลงทุน xxx
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน:
เงินสดรับจากการออกหุ้น xxx
เงินสดรับจากการกู้ยืมระยะยาว xxx
เงินสดจ่ายเงินปันผล (xxx)
เงินสดจ่ายชำระหนี้ (xxx)
กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน xxx
เงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น (ลดลง) xxx
บวก เงินสดต้นงวด xxx
เงินสดคงเหลือปลายงวด xxx
การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม:
เงินสดจ่ายค่าดอกเบี้ย xxx
เงินสดจ่ายค่าภาษีเงินได้ xxx
ตัวอย่างการจัดทำงบกระแสเงินสด
ขั้นตอนแรกของการจัดทำงบกระแสเงินสด ก็คือการคำนวณหาผลต่างของเงินสดในงวดก่อนกับ
งวดปัจจุบันว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงสุทธิเป็นจำนวนเท่าใด ต่อจากนั้นให้พิจารณารายการสินทรัพย์อื่น ๆ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร จากนั้นให้ทำการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในงบการเงินที่มีผลกระทบต่อยอดเงินสดโดยจำแนกผลกระทบออกเป็น 3 ส่วน ตามที่กล่าวมาแล้ว คือ เงินสดที่มีผลกระทบจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมการลงทุน และกิจกรรมการจัดหาเงินทุน เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นจึงขออธิบายวิธีการวิเคราะห์และจัดทำงบกระแสเงินสดจากตัวอย่างดังต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1
ต่อไปนี้เป็นงบการเงินเปรียบเทียบของบริษัท.................จำกัด
สำหรับปี 25x2 และ 25x3
บริษัท..............................จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x2 -25x3
หน่วย : พันบาท
25x2 25x3
ขาย 98 105
ต้นทุนขาย 54 62
กำไรขั้นต้น 44 43
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน:
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 14 15
ค่าเสื่อมราคา 2 2
ดอกเบี้ยจ่าย 4 4
รวมค่าใช้จ่าย 20 21
กำไรจากการดำเนินงาน 24 22
กำไรจากการขายอุปกรณ์ - 3
กำไรก่อนหักภาษี 24 25
ภาษีเงินได้ 9 10
กำไรสุทธิ 15 15
บริษัท...................................จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x2 - 25x3
หน่วย : พันบาท
25x2 25x3
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน:
เงินสด 40 35
เงินลงทุนระยะสั้น 15 18
ลูกหนี้ 22 20
สินค้าคงคลัง 70 75
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 7 4
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 154 152
สินทรัพย์ถาวร:
ที่ดิน 100 125
อาคารและอุปกรณ์ (สุทธิ) 238 220
รวมสินทรัพย์ถาวร 338 345
รวมสินทรัพย์ 492 497
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน:
ตั๋วเงินจ่าย 15 14
เจ้าหนี้ 53 50
ดอกเบี้ยค้างจ่าย 12 10
รวมหนี้สินหมุนเวียน 80 74
หนี้สินระยะยาว 108 90
รวมหนี้สิน 188 164
ส่วนของผู้ถือหุ้น:
หุ้นสามัญ 240 258
กำไรสะสม 64 75
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 304 333
รวมหนี้สิน 492 497
ข้อมูลเพิ่มเติม: ในระหว่างปีกิจการไม่มีการซื้ออาคารและอุปกรณ์ใด ๆ เพิ่มเติม คงมีแต่การขายอุปกรณ์ส่วนหนึ่งซึ่งมีราคาตามบัญชีเท่ากับ 16,000
จากข้อมูลในงบการเงินเปรียบเทียบของบริษัท ......................จำกัด เราสามารถนำมาจัดทำงบกระแสเงินสดในแต่ละวิธีได้ดังนี้
วิธีทางตรง (Direct Method)
บริษัท..............................จำกัด
งบกระแสเงินสด
สำหรับปี สิ้นสุดวันที 31 ธันวาคม 25x3
หน่วย : พันบาท
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน:
เงินสดรับจากการขายสินค้า 107
เงินสดจ่ายจากการซื้อสินค้า (71)
เงินสดจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ (12)
เงินสดจ่ายค่าดอกเบี้ย (6)
เงินสดจ่ายค่าภาษีเงินได้ (10)
กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 8
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน:
เงินสดรับจากการขายอุปกรณ์ 19
เงินสดจ่ายซื้อที่ดิน (25)
เงินสดจ่ายซื้อเงินลงทุนระยะสั้น (3)
กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการลงทุน (9)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน:
เงินสดรับจากการออกหุ้นทุนเพิ่ม (หุ้นสามัญ) 18
เงินสดจ่ายชำระหนี้สินระยะยาว (18)
เงินสดจ่ายปันผล (4)
กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน (4)
เงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น (ลดลง) (5)
บวก เงินสดต้นงวด (40)
เงินสดคงเหลือปลายงวด 35
วิธีทางอ้อม (Indirect Method)
บริษัท………………………………..จำกัด
งบกระแสเงินสด
สำหรับปี สิ้นสุดวันที 31 ธันวาคม 25x3
หน่วย : บาท
กระแสดเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน:
กำไรสุทธิ 15
ปรับปรุงด้วยรายการที่มีผลกระทบกำไรสุทธิ:
ลูกหนี้การค้าลดลง 2
สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น (5)
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าลดลง 3
ตั๋วเงินจ่ายลดลง (1)
เจ้าหนี้ลดลง (3)
ค่าเสื่อมราคา 2
ดอกเบี้ยค้างจ่ายลดลง (2)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (4)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน:
เงินสดรับจากการขายอุปกรณ์ 16
เงินสดจ่ายซื้อเงินลงทุนระยะสั้น (3)
เงินสดจ่ายซื้อที่ดิน (25)
กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการลงทุน (12)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน:
เงินสดรับจากการออกหุ้นสามัญ 18
เงินสดจ่ายชำระหนี้สินระยะยาว (18)
เงินสดจ่ายเงินปันผล (4)
กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน (4)
เงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น (ลดลง) (5)
บวก เงินสดต้นงวด 40
เงินสดคงเหลือปลายงวด 35