ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้สอบบัญชี
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้สอบบัญชี

 

กฎหมายใหม่

 

ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๙) เรื่อง จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๓

 

 etic-2553.pdf 

 

 

 กฎหมายเก่า ซึ่งไม่ได้ใช้แล้วแต่ลงไว้เพื่อเป็นความรู้ครับ

 

 

มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้สอบบัญชี

 

กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ได้กำหนดมรรยาทผู้สอบบัญชีไว้ 5 หมวด

 

ในการกำหนด มรรยาทผู้สอบบัญชี ตามหลักสากลนิยม มีโครงสร้างดังต่อไปนี้

 

1. หลักการพื้นฐาน  เป็นแนวคิดหรือหลักการสำคัญอันเป็นที่มาของข้อกำหนดมรรยาท

2. ข้อกำหนด  เป็นบทบัญญัติที่กำหนดมรรยาทของผู้สอบบัญชีเป็นข้อๆ ตามหลักการพื้นฐาน

3. คำชี้แจง  เป็นคำอธิบายหลักการพื้นฐานและข้อกำหนดแต่ละข้อให้ชัดเจนในรายละเอียด รวมทั้งการยกตัวอย่างประกอบในบางกรณี

4. คำวินิจฉัย  เฉพาะกรณี เป็นผลของการพิจารณที่เกิดขึ้นแล้ว

 

ได้กำหนดหลักการพื้นฐาน มรรยาทของผู้สอบบัญชี ไว้ 5 หมวด คือ

 

1. ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต

2. ความรู้ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

3. มรรยาทต่อลูกค้า

4. มรรยาทต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ

5. มรรยาททั่วไป

 

รายละเอียดข้อกำหนดและคำชี้แจง แต่ละหมวด มีดังต่อไปนี้

 

1. ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต

คำชี้แจงหลักการพื้นฐาน

ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต

 

  ในการตรวจสอบและเสนอรายงานการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องรักษาไว้ซึ่งความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อให้ผลงานของผู้สอบบัญชีเป็นที่เชื่อถือได้

 

 ความเป็นอิสระ

หมายถึง  การที่ผู้สอบบัญชีสามารถวางแผนการตรวจสอบและใช้วิธีการตรวจสอบต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานที่เพียงพอตลอดจนแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชี โดยไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลใดๆ ความเป็นอิสระนี้จะต้องเป็นที่ประจักษ์ต่อบุคคลทั่วไปด้วยว่า ผู้สอบบัญชีไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่ตนสอบบัญชี เพื่อให้ผลงานของผู้สอบบัญชี เป็นที่เชื่อถือได้และเป็นประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร เจ้าหนี้ นักลงทุน และผู้อื่นที่ใช้งบการเงิน

 

 ความเที่ยงธรรม

หมายถึง การใช้ดุลยพินิจโดยปราศจากความลำเอียง และการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างยุติธรรมและเป็นกลาง

 

 ความซื่อสัตย์สุจริต

หมายถึง การประพฤติตรงจริงใจ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงิน ไม่แสดงตนว่าได้ตรวจสอบบัญชี ตามมาตรฐานและกฎเกณฑ์การสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ถ้าตนไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานและจัดให้มีกระดาษทำการและหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อปลดเปลื้องหน้าที่ ของตนตามมาตรฐานการสอบบัญชี  

 คำชี้แจงข้อกำหนด

 

(ก) ไม่รับสอบบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นอิสระ

 

  ความเป็นอิสระ หมายถึง การที่ผู้สอบบัญชีสามารถวางแผนการตรวจสอบและใช้วิธีการตรวจสอบต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานที่เพียงพอ ตลอดจนแสดงความเห็น ในรายงานการสอบบัญชีโดยไม่ขึ้นกับผู้ใด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้สอบบัญชีจะไม่มีผลประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าเกี่ยวด้วยทรัพย์สินหรือตำแหน่งหน้าที่ ผู้สอบบัญชี ก็อาจจะขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานหรือในการรายงานการสอบบัญชีก็ได้หากมีบุคคลใดที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานและการรายงานหรือมีสถานการณ์ใด มาบีบบังคับให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติงานและเสนอรายงานตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปได้ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีเห็นว่ามีอิทธิพล หรือมีสถานการณ์ใด ทีจะกระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานหรือการรายงานการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีควรใช้วิจารณญาณในการรับงาน การปฏิบัติงาน และหรือการเสนอรายงาน การสอบบัญชีนั้น

 

กรณีตัวอย่าง ที่ถือว่า ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานโดยขาดความเป็นอิสระ เช่น ผู้สอบบัญชีตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรรมการบริษัท ผู้บริหาร หรือเจ้าหน้าที่ของกิจการ ทั้งนี้ไม่ว่าด้วยความคุ้นเคยหรือความเกรงใจ หรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม และผู้สอบบัญชียอมโอนอ่อนผ่อนตามความต้องการของบุคคลเหล่านั้น จนมีผลให้ผู้สอบบัญชี

 

 (1) ละเว้นการตรวจสอบรายการบัญชี หรือยอดคงเหลือในบัญชี หรือในบางเรื่องที่ควรตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี

 (2) ยอมรับหลักฐานเพื่อการสอบบัญชีโดยไม่ตรวจสอบทั้ง ๆ ที่ควรตรวจสอบ

 (3) แสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชีโดยไม่มีเงื่อนไขทั้งๆ ที่ควรแสดงความคิดเห็นเป็นแบบมีเงื่อนไข แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง หรือไม่แสดงความเห็นต่อการเงิน

 (4) ถูกจำกัดขอบเขตในการปฏิบัติงานสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีไม่ได้รายงานไว้ในรายงานการสอบบัญชี เช่น ผู้สอบบัญชีไม่ได้ตรวจนับเงินสด ไม่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือในจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ และไม่ได้ยืนยันยอดลูกหนี้ เนื่องจากกรรมการไม่ยอมให้กระทำเช่นนั้น

 

(ข) ไม่รับสอบบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นกลางโดยมีผลประโยชน์หรือตำแหน่งเกี่ยวข้องกับกิจการนั้น หรือโดยมีเหตุอื่นที่อาจจะอื่น ให้เกิดความลำเอียง ยกเว้นค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีหรือหน้าที่ในการประกอบวิชาชีพอิสระอื่นที่เกี่ยวกับกิจการนั้น

 

        การที่ผู้สอบบัญชีมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านการเงิน ทางด้านการเงิน ทางด้านการงาน หรือตำแหน่งหน้าที่ในกิจการของลูกค้า ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ถือว่าผู้สอบบัญชีขาดความเป็นกลาง ผู้สอบบัญชีจะต้องมีความเป็นกลางในส่วนที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ตลอดจนละเว้นความสัมพันธ์ ในลักษณะที่จะทำให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าผู้สอบบัญชีไม่อาจปฏิบัติงานได้โดยมีความเป็นกลาง

 

        สอบบัญชีต้องปฏิบัติงานสอบบัญชีและเสนอรายงานสอบบัญชีอย่างตรงไปตรงมาตามคงวามเป็นจริงโดยปราศจากความลำเอียงและอคติ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ของบุคคลเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ถ้าหากผู้สอบบัญชี เห็นว่ามีสถานการณ์ใดที่ทำให้บุคคลภายนอกสรุปได้ว่าผู้สอบบัญชีขาดความเป็นกลาง ผู้สอบควรถอนตัวจากเป็นผู้สอบบัญชีโดยการลาออก หรือ หยุดการสอบบัญชีชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์ที่กระทบความเป็นกลางได้ยุติแล้วเช่นการได้รับมรดกเป็นหุ้นของบริษัทในระหว่างการเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทนั้น และได้จำหน่ายหุ้นเหล่านั้นโดยไม่ล่าช้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีขาดความเป็นกลางและขอถอนตัวจากการเป็นผู้สอบบัญชี แต่ไม่สามารถกระทำได้ ผู้สอบบัญชีต้องรายงานแบบไม่แสดงความเห็น

        การที่ผู้สอบบัญชีให้บริการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า โดยที่การให้คำปรึกษานั้นเป็นงานที่ผู้สอบบัญชีให้บริการเป็นอิสระไม่ขึ้นกับผู้ใด และไม่มีส่วนในการตัดสินใจทางด้านการบริหาร ถือได้ว่าไม่กระทบความเป็นกลาง อย่างไรก็ดี ผู้สอบบัญชีต้องระมัดระวังว่า ไม่ปฏิบัติหน้าที่ เกินกว่าการให้คำปรึกษาหรือก้าวล่วงเข้าไปถึงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหาร

        การที่ผู้สอบบัญชีได้รับค่าธรรมเนียมวิชาชีพจากการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีไม่ถือว่าเป็นการได้ประโยชน์โดยขาดความเป็นกลาง ทั้งนี้ให้รวมถึงค่าธรรมเนียม ที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่ในการประกอบวิชาชีพอิสระอื่นที่เกี่ยวกับกิจการนั้น เช่น ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีให้คำปรึกษาทางด้านบริหาร ด้านภาษีอากร และวางรูปบัญชีให้ธุรกิจ เป็นต้น โดยมีหลักเกณฑ์ว่าผู้สอบบัญชีจะต้องปฏิบัติงานเป็นอิสระจริงๆ และไม่มีตำแหน่งประจำ รวมทั้งไม่มีส่วนในการตัดสินใจ ด้านการบริหารงานของกิจการ

 

กรณีต่อไปนี้อาจถือว่าผู้สอบบัญชีขาดความเป็นกลาง เช่น 

 

 1. ผู้สอบบัญชี คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจในการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี หุ้นส่วนในสำนักงานสอบบัญชี หรือสำนักงานของผู้สอบบัญชีเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนในกิจการที่ตนเป็นผู้สอบบัญชี

 2. ผู้สอบบัญชี คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือหุ้นส่วนในสำนักงานสอบบัญชีมีการลงทุนในกิจการอื่นร่วมกันกับลูกค้า หรือกับเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร กรรมการ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของลูกค้าหรือการมาผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญในกิจการอื่นร่วมกันกับลูกค้า 

 3. ผู้สอบบัญชี คู่สมรส บุตร ผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจในการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี หรือหุ้นส่วนในสำนักงานสอบบัญชี รวมทั้งคู่สมรส และบุตรของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจในการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีหรือของหุ้นส่วนในสำนักงานสอบบัญชีเป็นเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร กรรมการ ที่ปรึกษาประจำหรือตำแหน่งอื่นที่มีสิทธิและอำนาจในด้านการบริหาร ด้านการเงิน และด้านการบัญชีของกิจการที่ตนเป็นผู้สอบบัญชี

 4. การที่ผู้สอบบัญชีมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านการเงินกับลูกค้า เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร กรรมการ หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของลูกค้า เช่น กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน หรือรับการค้ำประกันการกู้ยืมเงิน เว้นแต่เป็นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินที่ทำขึ้นตามระเบียบ วิธีการ ข้อกำหนด หรือที่มีเงื่อนไขตามปกติ

 5. ผู้สอบบัญชีให้เช่าหรือ เช่าทรัพย์สินกับลูกค้า โดยมีค่าเช่าหรือเงื่อนไขที่ผิดปกติซึ่งเห็นได้อย่างชัดแจ้ง

 6. ผู้สอบบัญชีประกอบธุรกิจหรือประกอบอาชีพอื่นใดที่ทำไปพร้อมกับการเป็นผู้สอบบัญชี อันอาจก่อให้เกิดการขัดผลประโยชน์หรือขัดแย้งกับการรักษาความเป็นกลางของผู้สอบบัญชีในการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี เช่น อาชีพนายหน้า หรือหน่วยงานรับทำบัญชีแยกออกไป ไม่ว่าในรูปแบบใด และตั้งอยู่สถานที่เดียวกันหรือไม่ก็ตาม โดยสำนักงานสอบบัญชีและสำนักงานรับทำบัญชีนั้นมี ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน เจ้าของ ผู้บริหารหรือพนักงานร่วมกัน หรือมีชื่อหรือเครื่องหมายการค้าเหมือนกัน

 

(ค) ปฏิบัติงานสอบบัญชีด้วยความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต เป็นคุณสมบัติประการสำคัญที่ผู้สอบบัญชีทุกคนพึงมี ทั้งนี้เพื่อให้งานสอบบัญชี และการรายงานการสอบบัญชีเป็นไปด้วยความเป็นธรรม จริงใจ และตรงไปตรงมา

 

กรณีต่อไปนี้อาจถือว่าผู้สอบบัญชีไม่ปฏิบัติงานด้วยความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต เช่น

 

 1. ผู้สอบบัญชี คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจในการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี หุ้นส่วนในสำนักงานสอบบัญชี หรือสำนักงานของผู้สอบบัญชีเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนในกิจการที่ตนเป็นผู้สอบบัญชี

 

- กิจการลงบัญชีไม่ตรงกับเอกสารประกอบการลงบัญชี และไม่ปรับปรุงรายการบัญชีให้ถูกต้องตามความเป็นจริงของฐานะการเงิน และผลการดำเนินงาน

- ผลการตรวจสอบแน่ชัดว่ากิจการละเลยไม่ยันทึกรายการบัญชีรายได้ หรือค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ

 (2) ผู้สอบบัญชีกระทำการหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการโดยทุจริต เพื่อให้มีหรือไม่มีรายการในบัญชี เช่น ซ่อนเร้น ปลอมแปลง แก้ไข หรือทำลายหลักฐานทางบัญชี ให้ผิดจากความเป็นจริง

  

(ง) ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงินที่ตนลงลายมือชื่อรับรองในรายงาน โดยการแสดงความเห็น ซึ่งอาจทำให้เกิดการหลงผิด และอาจเสียหายแก่กิจการที่สอบบัญชีนั้นหรือแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง

 

      ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ผู้สอบบัญชีมีความรับผิดชอบที่จะต้องตรวจสอบความถูกต้อง และเพียงพอของการเปิดเผยข้อมูลและรายการต่างๆ อย่างเพียงพอ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้เกิดการหลงผิดหรือเสียหายแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือผู้ใช้ประโยชน์จากงบการเงินในการตัดสินใจทางธุรกิจหรือการเงิน แม้ว่าการเปิดเผยข้อความและรายการในงบการเงินดังกล่าวเป็นหน้าที่ของลูกค้า แต่ถ้าผู้สอบบัญชีพบว่าการเปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพอ หรือมีการปกปิดเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีจำเป็นต้องเปิดเผยไว้ในรายงานการสอบบัญชี พร้อมทั้งแสดงความเห็นต่องบการเงินอย่างมีเงื่อนไข หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้องแล้วแต่กรณี

 

กรณีต่อไปนี้อาจถือว่าผู้สอบบัญชีปกปิดหรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการการเงินที่ตนลงลายมือชื่อแสดงความเห็น เช่น

 

 (1) งบการเงินของกิจการแสดงรายการรับชำระเงินทุนไม่ตรงกับทุนที่เรียกชำระ หรือแสดงเงินทุนจดทะเบียนไม่ตรงกับหลักฐานการจดทะเบียน ถือว่างบการเงินแสดงบิดเบือนความจริง ถ้าหากผู้สอบบัญชีเสนอรายงานการสอบบัญชีโดยมิได้ทักท้วงให้ลูกค้าแก้ไขปรับปรุงรายการ หรือเปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้อง หรือผู้สอบบัญชีไม่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในรายงานการสอบบัญชี ถือว่าผู้สอบบัญชีปกปิดข้อเท็จจริงของงบการเงินที่ตนลงลายมือชื่อแสดงความเห็น

 (2) ผลการดำเนินงานของกิจการโดยแท้จริงขาดทุนเพราะมีลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้เป็นจำนวนมาก แต่บริษัทได้แสดงผลกำไรสุทธิ และผู้สอบบัญชีได้ลงลายมือชื่อในรายงานการสอบบัญชี โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งๆ ที่ ผู้สอบบัญชีทราบความจริงดังกล่าว เป็นเหตุให้ผู้ใช้งบการเงินหลงผิด และอาจได้รับความเสียหาย

 (3) ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นต่องบการเงินโดยไม่มีเงื่อนไข และในกรณีที่กิจการไม่เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เช่น การไม่เปิดเผยการค้ำประกันหนี้สิน ให้บุคคลที่สาม การไม่เปิดเผยการนำหลักทรัพย์ไปค้ำประกันหนี้สิน เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน ทำให้ผู้ใช้งบการเงินหลงผิด และอาจได้รับความเสียหาย

 (4) ในงบดุลของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งแสดงว่ามีเงินสดในมือหนึ่งล้านบาททั้งที่ผู้สอบบัญชีทราบความจริงแล้วว่าบริษัทจำกัดนั้นมีเงินสด ในมือเพียงหนึ่งแสนบาท

 

2. ความรู้ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

คำชี้แจงหลักการพื้นฐาน

 

ความรู้ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

 

      ในการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องใช้ความรู้ความสามารถและความชำนาญงานในวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ผลงานของผู้สอบบัญชีเป็นที่เชื่อถือได้

 

    การที่จะสามารถปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง และรอบคอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ผู้สอบบัญชีต้องวางแผนและควบคุมงานสอบบัญชี จนสามารถรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบให้เป็นที่เพียงพอแก่การแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชี โดยปราศจากการคาดคะเนรายการใดๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นของกิจการที่ตนรับสอบบัญชี เว้นแต่เป็นการประมาณการทางบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ตลอดจนจะต้องจัดทำรายงานการสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็น ว่างบการเงินถูกต้องตามที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่เพียงใดจากหลักฐานที่ได้จากการตรวจสอบ

 

    การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้สอบบัญชี นอกจากการตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินตามปกติดังกล่าวแล้ว ยังรวมถึงการตรวจสอบในกรณี อื่นๆ อีกเช่น การตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ การสอบทางงบการเงินระหว่างกาล และการสอบทานประมาณการงบการเงิน เป็นต้น ในการปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ ผู้สอบบัญชีต้องใช้ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เช่นกัน

 

    นอกจากนี้ผู้สอบบัญชีจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพสอบบัญชีอยู่ทั้งนี้เพื่อให้มีความรู้ความสามารถทันต่อเหตุการณ์

 

 คำชี้แจงข้อกำหนด

  

(ก) ไม่สอบบัญชีในกิจการที่เกิดความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานได้

 

       ในการพิจารณารับงานสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีจะต้องมีความรู้ในธุรกิจประเภทนั้นโดยพิจารณาถึงลักษณะพิเศษและประสบการณ์ ในการตรวจสอบธุรกิจประเภทนั้นๆ รวมตลอดถึงมีความสามารถเพียงพอที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพหรือไม่

 

กรณีต่อไปนี้อาจถือว่าผู้สอบบัญชีขาดความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ เช่น 

 

 (1) ผู้สอบบัญชีรับสอบบัญชีธุรกิจที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์โปรแกรม และระบบการประมวลผลข้อมูลที่กิจการใช้อย่างเพียงพอ ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีใช้บุคคลอื่นช่วยตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างเพียงพอที่จะมอบหมายงานควบคุมดูแลและสอบทานงานที่มอบหมายให้บุคคลอื่นด้วย

 (2) ผู้สอบบัญชีรับสอบบัญชีให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจลักษณะพิเศษซึ่งไม่ใช่ธุรกิจซื้อขายสินค้าทั่วไป เป็นต้นว่า กิจการโรงแรม โรงพยาบาล การเดินเรือ เงินทุนหลักทรัพย์ ทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้ความชำนาญพอที่จะสอบบัญชีและแสดงความเห็นต่องบการเงินของกิจการเหล่านั้น

 (3) ผู้สอบบัญชีรับงานสอบบัญชีในปริมาณมากจนไม่สามารถควบคุมการปฏิบัติงานสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีได้

 

(ข) ปฏิบัติงานสอบบัญชีด้วยความระมัดระวังและรอบคอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

       ผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติงานสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และใช้ความระมัดระวังรอบคอบในการตรวจสอบตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระทั้งหลายพึงมีสำหรับในสภาวะการณ์นั้นๆ การปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังรอบคอบยังหมายความรวมถึงการจัดทำรายงานการสอบบัญชีให้ตรงตามความเป็นจริง และแสดงความเห็นว่างบการเงินถูกต้องตามที่ควรหรือไม่เพียงใดจากหลักฐานที่ได้จากการตรวจสอบ

 

กรณีดังต่อไปนี้ อาจถือว่าผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานสอบบัญชีโดยขาดความระมัดระวัง และรอบคอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เช่น

 

 (1) ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขต่องบการเงินซึ่งแสดงรายการไม่ถูกต้อง เช่น แสดงรายการชำระหนี้ไว้ในงบกำไรขาดทุนในหมวดค่าใช้จ่ายในการขาย และการบริหาร

 (2) กรณีที่ผู้สอบบัญชียืนยันยอดลูกหนี้ และมีผลแตกต่าง แต่ผู้สอบบัญชีไม่ได้ติดตามจนถึงที่สุด

 (3) ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขต่องบการเงินที่แสดงรายการไม่ตรงกับในสมุดบัญชีและหรือในรายละเอียดที่แนบประกอบงบการเงิน

 (4) ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขต่องบการเงินที่แสดงรายการไม่สัมพันธ์กัน เช่น มีรายการหนี้เงินกู้ยืมจากธนาคารในงบการเงิน แต่ไม่ปรากฏรายการดอกเบี้ยจ่ายในงบการเงิน หรือมีรายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์สินถาวร เช่น ค่าเบี้ยประกันภัยทั้งๆ ที่ไม่มีรายการทรัพย์สินถาวรนั้น

 (5) ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขต่องบการเงินโดยไม่ได้ติดตามดูว่ากิจการได้ปรับปรุงงบการเงินตามที่ผู้สอบบัญชีตรวจพบ และแจ้งให้ปรับปรุงแล้วหรือไม่

 

ค) ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานโดยการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการคาดคะเนรายการใดๆ ของกิจการที่ตนรับสอบบัญชี เว้นแต่เป็นการสอบบัญชีหรือสอบทานตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

       การคาดคะเนเป็นเรื่องของอนาคตซึ่งยังไม่มีความแน่นอน แต่ตามมาตรฐานการสอบบัญชีให้ได้หลักฐานที่เพียงพอ ก่อนที่จะแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชี ดังนั้น ผู้สอบบัญชีจะต้องไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับการคาดคะเนรายการใดๆ ซึ่งเป็นการประมาณการสำหรับเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น และอาจจะถูกกระทบและเปลี่ยนแปลงไปด้วยเหตุการณ์ ที่ไม่อาจทราบล่วงหน้า ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่การคาดคะเนกำไรเท่านั้น รวมไปถึงการประมาณการใด ๆ ในอนาคต เช่น ดัชนีต่างๆ ในอนาคต เงินปันผลที่คาดว่าจะจ่ายในอนาคต เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ผู้สอบบัญชีสามารถลงลายมือชื่อในการสอบทานประมาณการงบการเงินว่า ได้จัดทำขึ้นโดยใช้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งใช้อยู่โดยสม่ำเสมอ และการคำนวณในประมาณการงบการเงินเป็นไปตามข้อสมมติฐาน ที่ฝ่ายบริหารกำหนดไว้หรือไม่โดยไม่ให้ความเห็นต่อตัวเลขใดๆ ตามที่ได้ประมาณการไว้ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร และผู้สอบบัญชีจะต้องไม่แสดงความเห็นต่อความเป็นไปได้ของประมาณการและข้อสมมติฐานที่ใช้ในการทำประมาณการงบการเงินนั้น

 

(ง) ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงาน โดยการแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการใดที่ตนมิได้ปฏิบัติงานสอบบัญชี หรือควบคุมการสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

      การลงลายมือชื่อแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชีของกิจการใด ผู้สอบบัญชีจำเป็นต้องปฏิบัติงานตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานที่เพียงพอและเชื่อถือได้เพื่อประกอบการแสดงความเห็นต่องบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป นอกจากนี้ในการปฏิบัติงานสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ช่วย

 

กรณีดังต่อไปนี้อาจถือว่าผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นต่องบการเงินของกิจการโดยที่ตนมิได้ปฏิบัติงานสอบบัญชีหรือควบคุมการสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เช่น

 

 (1) ผู้สอบบัญชีไม่ได้ควบคุมและสอบทานการปฏิบัติงานของผู้ช่วย รวมทั้งไม่ไอธิบายให้ผู้ช่วยเข้าใจแผนการตรวจสอบ อันเป็นผลให้ตรวจไม่พบข้อบกพร่องที่มีสาระสำคัญ เช่น ตรวจไม่พบว่ากิจการบันทึกรายการเงินฝากธนาคารรวมกับบัญชีเงินสด หรืองบการเงินมีข้อบกพร่อง และผู้สอบบัญชีไม่สามารถชี้แจงข้อบกพร่องนั้นได้ เป็นต้น

 (2) ผู้สอบบัญชีไม่ได้ว่างแผนการตรวจสอบเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่มีกระดาษทำการแสดงหลักฐานการตรวจสอบที่เชื่อถือได้

 (3) ผู้สอบบัญชีกำหนดแผนการตรวจสอบและใช้วิธีการทดสอบรายการบัญชีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ โดยไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพการ

ควบคุมภายในของแต่ละกิจการที่ตนตรวจสอบ

 (4) ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นต่องบการเงินโดยไม่ได้ตรวจสอบบัญชี หลักฐานและเอกสารประกอบการลงบัญชี เพียงแต่เชื่อถือตามงบการเงินที่ผู้จัดทำบัญชี จัดทำขึ้นหรือสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ทำบัญชี หรือเชื่อตามคำชี้แจงของกรรมการ หรือตรวจสอบเฉพาะยอดคงเหลือยกไปและยกมาในบัญชี และทดสอบการบวกเลขเท่านั้น

 (5) ผู้สอบบัญชีไม่ได้ใช้วิธีการตรวจสอบอย่างเหมาะสม เป็นผลให้ไม่พบข้อบกพร่องในการบันทึกบัญชีที่ไม่ถูกต้อง เช่น

- งบการเงินแสดงรายการบัญชีเหมือนกับรอบปีบัญชีก่อน ทั้งที่ข้อเท็จจริงกิจการได้มีการประกอบการค้า

- กิจการบันทึกบัญชีโดยไม่มีหรือบันทึกไม่ครบถ้วนตามเอกสารประกอบการลงบัญชี

- กิจการบันทึกรายการบัญชีโดยไม่มีเอกสารที่เชื่อถือได้ หรือมีการแก้ไขเอกสารประกอบการลงทุนบัญชีที่เห็นได้ชัดเจน

 (6) ผู้สอบบัญชีไม่ได้ใช้วิธีการตรวจสอบอันเหมาะสมแก่กรณี เช่น

- ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนทั้งที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเงินทุนจดทะเบียนที่บันทึกในบัญชีน่าจะไม่ถูกต้อง

- ไม่ได้ตรวจนับเงินสดคงเหลือในมือ ณ วันสิ้นงวดตามรายการและยอดในบัญชีที่กิจการบันทึกไว้

- ไม่ได้ตรวจสอบเอกสารใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคาร และเอกสาร หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ได้ขอข้อมูลจากธนาคารเพื่อประโยชน์ในการสอบบัญชี กรณีที่ตรวจพบว่าเอกสารใบสำคัญจ่ายบางรายการระบุว่าจ่ายเป็นเช็คผ่านธนาคารหรือธนาคารแจ้งหักบัญชีเงินฝากธนาคารในนามกิจการ

- ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการกู้ยืมเงินและไม่ได้ขอหนังสือยืนยันยอดจากธนาคาร เป็นผลให้การแสดงรายการเจ้าหนี้เงินยืมธนาคารต้นปี และปลายปีในบัญชีแยกประเภทและงบการเงินไม่สอดคล้องกับหนังสือแจ้งยอดจากธนาคาร

- ไม่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ และมิได้ใช้วิธีการตรวจสอบอื่นเพื่อพิสูจน์ความเชื่อถือได้ของยอดสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นปี แต่ถือตามยอดรายละเอียดสินค้าที่กรรมการผู้จัดการรับรองหรือจัดส่งมาให้

   

(จ) ไม่ยินยอมให้ผู้อื่นอ้างว่าตนเป็นผู้ทำการสอบบัญชีในกิจการใดโดยตนมิได้ปฏิบัติงานสอบบัญชีหรือควบคุมการสอบบัญชีในกิจการนั้น

 

      ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่ได้ทำการสอบบัญชีหรือควบคุมการสอบบัญชีของกิจการใด ผู้สอบบัญชีต้องไม่ยอมให้บุคคลอื่นอ้างชื่อว่าตนเป็นผู้สอบบัญชีหรือทำการสอบบัญชีของกิจการนั้น เช่น นาย ก ผู้สอบบัญชียินยอมให้นาย ข อ้างว่านาย ก เป็นผู้ทำการสอบบัญชีในกิจการแห่งหนึ่ง โดยที่นาย ก มิได้เป็นผู้ควบคุมหรือทำการสอบบัญชี ของกิจการนั้นกรณีดังกล่าวถือว่าผู้สอบบัญชียินยอมให้ผู้อื่นอ้างว่าตนเป็นผู้สอบบัญชีทั้งๆ ที่ตนไม่ได้เป็นผู้ควบคุมหรือทำการสอบบัญชี

ต่อไปนี้เป็นกรณีที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นต่องบการเงิน โดยมิได้บันทึกความเห็นไว้ในรายงานการสอบบัญชี

 

เมื่อปรากฏว่ากิจการที่ตนรับสอบบัญชีนั้นมีการปฏิบัติที่ขัดหรือแย้งกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เช่น

 (1) กิจการบันทึกบัญชีขายตามเกณฑ์เงินสด

 (2) กิจการไม่คิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรส่วนที่ใช้งาน

 (3) กิจการบันทึกรายการปรับปรุงบัญชีทรัพย์สินที่ถูกไฟไหม้ตั้งเป็นทรัพย์สินรอตัดจ่ายภายใน 5 ปี

 (4) กิจการบันทึกบัญชีรายจ่ายฝ่ายทุนเป็นค่าใช้จ่าย

 (5) กิจการบันทึกรายการทางบัญชีผิดงวดบัญชีที่เกิดขึ้น

 (6) กิจการมีหนี้สงสัยจะสูญแต่ไม่บันทึกบัญชี

 

(ช) การลงลายมือชื่อรับรองโดยการแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชีโดยมีเงื่อนไข หรือโดยไม่แสดงความเห็น หรือโดยแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้องต้องแสดงเหตุผลไว้ในรายงานนั้นด้วย

 

      การแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชีโดยมีเงื่อนไข โดยไม่แสดงความเห็น หรือโดยแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง ผู้สอบบัญชีต้องระบุถึงเหตุผลที่ผู้สอบบัญชีต้องแสดงความเห็นดังกล่าวไว้ในรายงานการสอบบัญชี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถทราบหรือวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ทำให้ผู้สอบบัญชี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถทราบหรือวิเคราะห์ระมัดระวังในการใช้งบการเงินในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

 

กรณีต่อไปนี้ถือว่าผู้สอบบัญชีไม่แสดงเหตุผลไว้ในรายงานการสอบบัญชีเมื่อผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชีโดยมีเงื่อนไข อย่างหนึ่งอย่างใด ไม่แสดงความเห็น หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้องเช่น

 (1) รายงานการสอบบัญชีระบุเงื่อนไขว่า การตรวจสอบถูกจำกัดขอบเขตเฉพาะหลักฐานและรายการบัญชีที่บันทึกไว้ในสมุดบัญชี โดยมิได้ระบุเหตุผลว่าเพราะเหตุใดจึงถูกจำกัดขอบเขต

 (2) รายงานการสอบบัญชีระบุเงื่อนไขว่าไม่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ หรือไม่ได้ตรวจนับเงินสดในมือ

 

3. มรรยาทต่อลูกค้า

 

คำชี้แจงหลักการพื้นฐาน

 

มรรยาทต่อลูกค้า

 

     ผู้สอบบัญชีพึงให้บริการแก่ลูกค้า โดยสำนึกในหลักการและมรรยาทแห่งวิชาชีพในการนี้ผู้สอบบัญชีจะต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้ ความสามารถ และตามมาตรฐานการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และจะต้องไม่ละทิ้งงานที่รับตรวจสอบโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

ในการปฏิบัติงานสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีอาจล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลใดๆ ที่พึงถือเป็นความลับของกิจการที่ตนตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีจะต้องไม่นำข้อมูลนั้นไปเปิดเผย ทั้งนี้รวมถึงการที่ผู้สอบบัญชีผู้ร่วมสำนักงาน หรือผู้ช่วยผู้สอบบัญชีจะต้องไม่นำข้อมูลที่ได้มาในระหว่างการปฏิบัติงานสอบบัญชีไปใช้ หรือเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าได้ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เว้นแต่กรณีที่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า หรือกรณีที่ต้องให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามกฎหมาย รวมทั้งกรณีที่เป็นการเรียกตรวจสอบโดยหน่วยราชการ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและส่งเสริมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีจึงจะเปิดเผยได้

 

 คำชี้แจงข้อกำหนด

 

(ก) ไม่เปิดเผยความลับของกิจการที่ตนได้รู้มาในหน้าที่จากการสอนบัญชีเว้นแต่กรณีที่ต้องให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามกฏหมาย

 

      ในการปฏิบัติงานสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีอาจล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลใดๆที่พึงถือเป็นความลับของกิจการที่ตนตรวจสอบผู้สอบบัญชี จะต้องไม่นำข้อมูลนั้นไปเปิดเผยทั้งนี้รวมถึงการที่ผู้สอบบัญชี ผู้ร่วมสำนักงาน หรือผู้ช่วยผู้สอบบัญชีจะต้องไม่นำข้อมูลที่ได้มา ในระหว่างการปฏิบัติงานสอบบัญชีไปใช้ หรือเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าได้ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เว้นแต่กรณีที่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า หรือกรณีที่ต้องให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามกฎมาย รวมทั้งกรณีที่เป็นการเรียกตรวจสอบโดยหน่วยราชการ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและส่งเสริมการประกอบอาชีพสอบบัญชีจึงจะเปิดเผยได้

ข้อมูลที่พึงถือว่าเป็นความลับ หมายถึง ข้อมูลใด ๆ ที่โดยปกติกิจการไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน

 

กรณีดังต่อไปนี้ถือว่าผู้สอบบัญชีเปิดเผยความลับของกิจการที่ตนได้รู้มา ในหน้าที่จากการสอบบัญชี เช่น

 

 (1) นาย ก ผู้สอบบัญชี เปิดเผยสูตรการผลิต ชื่อลูกค้า หรือเจ้าหนี้ของบริษัท ข ซึ่งตนได้รู้มาจากการสอบบัญชีของบริษัท ข ให้บุคคลภายนอกทราบ

 (2) ผู้สอบบัญชีให้ผู้สอบบัญชีอื่นดูกระดาษทำการที่ตนตรวจสอบบัญชีของลูกค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากลูกค้า

 

(ข) ไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานสอบบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุอันสมควร

 

       ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีได้ตกลงรับงานสอบบัญชีไว้แล้ว ต่อมาไม่ปฏิบัติงานให้สำเร็จตามที่ตกลงไว้ และได้ละทิ้งงานสอบบัญชีไปโดยไม่มีเหตุผลสมควร และไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถือว่าผู้สอบบัญชีขาดความรับผิดชอบต่อลูกค้า เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้า

 

4. มรรยาทต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ

 

คำชี้แจงหลักการพื้นฐาน

 

มรรยาทต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ

 

    ผู้สอบบัญชีควรให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ในการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพสอบบัญชี และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน

ในกรณีที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานโดยผู้สอบบัญชีอื่น ผู้สอบบัญชีจะต้องไม่ทำงานเกินขอบเขตที่ตนได้รับมอบหมาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากผู้สอบบัญชีที่มอบหมายนั้นก่อน และจะต้องไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการแย่งงานหรือแย่งผู้ช่วยผู้สอบบัญชีจากผู้สอบบัญชีอื่น

 

 คำชี้แจงข้อกำหนด

 

(ก) ไม่แย่งงานสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอื่น

 

      ผู้สอบบัญชีจะต้องไม่เสนอตนเองเข้ารับงานสอบบัญชีของกิจการใดที่ผู้สอบบัญชีอื่นทำการสอบบัญชีอยู่แล้วไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ และในทางปฏิบัติเมื่อผู้สอบบัญชีได้รับการทาบทามจากกิจการให้ทำการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีจะต้องทำหนังสือติดต่อกับผู้สอบบัญชีเดิม เพื่อสอบถามผู้สอบผู้สอบบัญชีเดิมว่ามีเหตุผลทางมรรยาทวิชาชีพประการใดหรือไม่ที่ควรนำมาพิจารณาในการรับงานสอบบัญชี และผู้สอบบัญชีเดิมพึงให้ความร่วมมือแก่ผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณารับงานใหม่ โดยแจ้งให้ทราบว่าเหตุผลทางมรรยาทวิชาชีพที่ควรนำมาพิจารณาในการรับงานหรือไม่

 

กรณีต่อไปนี้ถือว่าผู้สอบบัญชีแย่งงานการสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชีอื่น เช่น 

 

 (1) นาย ก ผู้สอบบัญชีส่งหนังสือเวียนและให้ข่าวสารเกี่ยวกับวิชาชีพสอบบัญชีแก่ลูกค้าของผู้สอบบัญชีอื่นโดยมิได้รับการร้องขอ โดยหนังสือเวียนนั้นมีชื่อ ที่อยู่ ของนาย ก และ สำนักงานของนาย ก ด้วย

 (2) นาย ก ผู้สอบบัญชีออกหนังสือถึงกิจการที่ไม่ใช่ลูกค้าของตน เพื่อเสนอบริการรับสอบบัญชี ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับการทาบทามจากกิจการนั้นมาก่อน

 (3) ผู้สอบบัญชีเสนอรับงานสอบบัญชีโดยไม่ได้รับการทาบทามจากิจการมาก่อน และเสนอค่าสอบบัญชีที่ต่ำกว่า

 

(ข) ไม่ทำการสอบบัญชีเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอื่นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้มอบหมายนั้น

 

       ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีได้รับมอบหมายจากผู้สอบบัญชีอื่นให้ปฏิบัติงานสอบบัญชีผู้สอบบัญชีนั้นจะต้องไม่ปฏิบัติงานตรวจสอบเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอบบัญชีอื่น ในกรณีที่ลูกค้าขอร้องให้ทำงานเกิดขอบเขตที่รับมอบหมายจากผู้สอบบัญชีอื่น ผู้สอบบัญชีจะต้องแจ้งให้ผู้สอบบัญชีที่มอบหมายนั้นทราบเสียก่อน และจะต้องไม่พยายามหาลู่ทางที่จะให้ลูกค้าว่าจ้างให้ตนทำงานใดๆ เพิ่มเติม เช่น นาย ข ผู้สอบบัญชีของบริษัท ก มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลา 3 เดือน จึงได้มอบหมายให้ นาย ค ผู้สอบบัญชีทำการสอบบัญชีลูกหนี้ของบริษัท ก ด้วย เกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากนาย ข ดังนี้ถือว่านาย ค ทำการสอบบัญชีเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอบบัญชีอื่น

 

5. มรรยาททั่วไป

 

คำชี้แจงหลักการพื้นฐาน

 

มรรยาททั่วไป

 

          วิชาชีพสอบบัญชีเป็นวิชาชีพอิสระที่มีเกียรติ ผลงานของผู้สอบบัญชีเป็นที่เชื่อถือ ของบุคคลหลายฝ่ายรวมทั้งสาธารณชน ผู้สอบบัญชีจึงต้องปฏิบัติตนเพื่อรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาและส่งเสริมเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และพึงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

 

 คำชี้แจงข้อกำหนด

 

(ก) ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

 

    ผู้สอบบัญชีพึงละเว้นจากการประพฤติใดๆ อันอาจนำความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพสอบบัญชี

 

กรณีดังต่อไปนี้ถือว่าผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานสอบบัญชีโดยนำความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพสอบบัญชี เช่น

 

 (1) ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นต่องบการเงินโดยมิได้มีการปฏิบัติงาตรวจสอบใดๆ 

 (2) ผู้สอบบัญชีแนะนำให้ลูกค้าหนีภาษีอากร หรือจัดทำบัญชี 2 ชุด

 (3) ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นต่องบการเงินที่นำมาส่งหน่วยราชการหลายแห่ง โดยงบการเงินแต่ละชุดแสดงข้อมูลไม่ตรงกัน

 (4) ผู้สอบบัญชีแจ้งข้อความหรือจัดทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อทางราชการ เช่น

- รับรองการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีให้แก่ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชี โดยที่ผู้นั้นมิได้ฝึกหัดงานจริง

- แสดงข้อความหรือพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการควบคุมการประกอบอาชีพสอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการชี้แจงการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชี

 (5) ผู้สอบบัญชีถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย หรือตัดสินให้มีความผิดทางอาญาอย่างร้ายแรง ซึ่งมีโทษจำคุก

 

(ข) ไม่โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใดๆ ซึ่งการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี เว้นแต่การแสดงอื่น คุณวุฒิ ทีอยู่ หรือชื่อและที่ตั้งสำนักงานของตน

 

       ผู้สอบบัญชีควรจะได้ลูกค้าจากความเชื่อถือในผลงานของผู้สอบบัญชี ไม่ควรจะได้ลูกค้าด้วยวิธีการโฆษณาเยี่ยงการประกอบธุรกิจทั่วไป เพราะการเสนอตนเองต่อสารณชน โดยการประกาศหรือโฆษณา อาจทำให้ภาพพจน์ของงานสอบบัญชีเสียไป

 

      การโฆษณาในที่นี้หมายถึง การเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน การป่าวร้องหรือป่าวประกาศไม่ว่าใช้สื่อใด ๆ และให้หมายความรวมถึงการสื่อข้อมูลในเชิงโฆษณาโดยตรงต่อกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจูงใจให้มาเป็นลูกค้าของผู้สอบบัญชี

 

      จุดมุ่งหมายของมรรยาทในข้อนี้ ประสงค์จะให้ผู้สอบบัญชีแสดงชื่อ คุณวุฒิ ที่อยู่ หรือชื่อและที่ตั้งสำนักงานของตนเท่านั้น แต่ไม่ประสงค์ให้ผู้สอบบัญชีเสนอตนเองต่อสาธารณชน โดยประกาศ หรือโฆษณาถึงคุณสมบัติของตนเอง หรือเกียรติคุณของสำนักงานตลอดจนผลงานต่างๆ ของตนหรือของสำนักงาน

 

       ผู้สอบบัญชีจะต้องไม่หาลูกค้าด้วยวิธีการโฆษณา หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้านวิชาชีพที่ผู้สอบบัญชีให้บริการ ซึ่งได้แก่ วิชาชีพสอบบัญชี การบัญชีบริหาร คอมพิวเตอร์ การภาษีอากร และการให้คำปรึกษาธุรกิจด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี และสอบบัญชี รวมทั้งการชักจูงหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลอื่นเห็นคล้อยตามในลักษณะที่เป็นการกระทำอันเป็นเท็จ ทำให้เข้าใจผิด หรือหลอกลวงให้หลงเชื่อไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ

 

       ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีได้รับการทาบทามเพื่อให้บริการวิชาชีพกับลูกค้า โดยการแนะนำจากบุคคลที่สาม ผู้สอบบัญชียังต้องมีความรับผิดชอบในการพิจารณาให้แน่ใจว่าการได้มาซึ่งลูกค้าจากการแนะนำของบุคคลที่สามนั้นอยู่ในเขตตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ไม่ยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใดๆ

  

ขอบเขตของการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี จะต้องพิจารณาทั้งในส่วนของเนื้อหาสาระที่แสดงและสื่อการแสดง ดังนี้ 

 

 (1) ขอบเขตของเนื้อหาสาระที่อนุญาตให้ผู้สอบบัญชีทำได้ คือ การบอกกล่าวให้ทราบเกี่ยวกับ

  - ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และหมายเลขโทรสารของผู้สอบบัญชีหรือชื่อ สถานที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ และหมายเลขโทรสารของสำนักงานของผู้สอบบัญชี

  - คุณวุฒิทางด้านการศึกษาและวิชาชีพ ปริญญาจากสถาบันการศึกษา และคุณวุฒิที่ได้รับ

 (2) ขอบเขตของสื่อที่อนุญาตให้ผู้สอบบัญชีแสดง ชื่อ คุณวุฒิ ที่อยู่ หรือชื่อ และที่ตั้งสำนักงานของผู้สอบบัญชีได้ คือ

  - เครื่องเขียนแบบพิมพ์ของสำนักงานสอบบัญชี เช่น กระดาษหัวจดหมายซองจดหมายและซองเอกสาร โดยมีขนาดและรูปแบบที่เหมาะสม เพียงเพื่อใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารเท่านั้น

  - ป้ายชื่อสำนักงานที่ติดไว้หน้าสำนักงาน มีไว้เพื่อให้ผู้มาติดต่อได้ทราบถึงสถานที่ตั้งของสำนักงานเท่านั้น ป้ายดังกล่าวควรมีขนาด และลักษณะที่เหมาะสม ไม่ควรมีข้อความอื่นอันจะเป็นการโฆษณา เช่น การรับสอบบัญชี การรับวางรูปบัญชี เป็นต้น

  - สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ในกรณีที่เป็นสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ชื่อของสำนักงานสอบบัญชี หมายเลขโทรศัพท์และหมายเลขโทรสาร จะต้องอยู่ภายใต้หัวข้อการสอบบัญชี และต้องไม่อยู่ภายในกรอบหรือรูปแบบใดซึ่งทำให้มีลักษณะเด่นชัดจากรายอื่นๆ 

  - นามบัตรควรจะจำกัดให้มีเฉพาะชื่อเจ้าของนามบัตร ชื่อสำนักงาน สอบบัญชี ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์และหมายเลขโทรสาร และข้อความที่ระบุว่าเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและตำแหน่งในสำนักงาน

  - รายงานหรือผลการศึกษาวิจัยทางด้านวิชาการ เอกสารประกอบการบรรยาย

  - เป็นวิทยากรหรือผู้บรรยาย หรือผู้ดำเนินการอภิปรายในการสัมนาทางวิชาการ

 

กรณีต่อไปนี้อาจถือว่าเป็นการโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี เช่น

 

 (1) ผู้สอบบัญชีโฆษณารับสอบบัญชีโดยออกหนังสือเวียนในนามสำนักงานบัญชีและทนายความเสนอบริการจัดทำบัญชีและสอบบัญชีไปยังธุรกิจต่างๆ 

 (2) การลงรายการในสมุดโทรศัพท์ ใช้ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ พร้อมทั้งประเภทของบริการของผู้สอบบัญชี หรือของสำนักงานที่ผู้สอบบัญชีสังกัดอยู่ ในลักษณะที่เด่นชัดกว่ารายชื่อผู้เช่าโทรศัพท์รายอื่นเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือให้ตีกรอบชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และประเภทของบริการของผู้สอบบัญชีหรือของสำนักงานที่ผู้สอบบัญชีสังกัดอยู่

 (3) ผู้สอบบัญชีหรือสำนักงานที่ตนสังกัดอยู่ลงโฆษณาหาพนักงาน โดยกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีหรือสำนักงานที่ผู้สอบบัญชีสังกัดอยู่ในเชิงโอ้อวด

 (4) ผู้สอบบัญชีวิจารณ์หรือโฆษณาเปรียบเทียบตนเองหรือสำนักงานที่ตนเองสังกัดอยู่กับผู้สอบบัญชีอื่นหรือสำนักงานที่ผู้สอบบัญชีอื่นสังกัดอยู่

 (5) ผู้สอบบัญชีลงแจ้งความในสื่อมวลชนต่างๆ ออกหนังสือเวียน หรือบทความ อันประกอบด้วยข้อความที่ยกยอตนเอง หรือสำนักงานที่ตนสังกัดอยู่

 (6) ป้ายของสำนักงานที่ผู้สอบบัญชีสังกัดอยู่เป็นรูปแบบที่เป็นการโฆษณาชวนเชื่อและระบุถึงบริการที่ให้

 (7) ผู้สอบบัญชีหรือสำนักงานสอบบัญชี ติดป้ายขนาดใหญ่ในที่สาธารณะโดยบอกแต่ชื่อ คุณวุฒิ หรือสำนักงานของตน

 (8) ผู้สอบบัญชีหรือสำนักงานสอบบัญชีโฆษณาโดยทางวิทยุ และโทรทัศน์ โดยบอกแต่ชื่อ คุณวุฒิ ที่อยู่ หรือชื่อและที่ตั้งสำนักงานของตน

 (9) ผู้สอบบัญชีหรือสำนักงานสอบบัญชีออกหนังสือเวียนเกี่ยวกับข่าวสาร หรือการจัดฝึกอบรมทางกฎหมายหรือระเบียบใหม่ ด้านการบัญชี ภาษีอากร หรือธุรกิจทั่วไปแจกต่อลูกค้าของผู้สอบบัญชีอื่นและประชาชนทั่วไปโดยมิได้รับการร้องขอ

 (10) แจกจ่ายนามบัตรต่อสาธารณชนทั่วไป

 

(ค) ไม่ให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้บุคคลอื่นแนะนำหรือจัดหางานการสอบบัญชีมาให้ตนทำ

 

      ผู้สอบบัญชีต้องไม่ให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ เช่น ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรางวัลใด ๆให้แก่บุคคลอื่นเพื่อเป็นการตอบแทน สำหรับการแนะนำลูกค้าหรือจัดหางานการสอบบัญชีมาให้ตนทำ

 

กรณีต่อไปนี้อาจถือว่าผู้สอบบัญชีให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้บุคคลอื่นแนะนำหรือจัดหางานการสอบบัญชีมาให้ตนทำ เช่น

 

 (1) ผู้สอบบัญชีรับว่าจะให้ค่านายหน้าแก่บุคคลที่จัดหางานการสอบบัญชีมาให้ตน

 (2) ผู้สอบบัญชีรับว่าจะช่วยแนะนำลูกค้าให้กับบริษัท ธนาคาร หรือสำนักงานวิชาชีพ หากบุคคลเหล่านั้นจะจัดหางานการสอบบัญชีมาให้ตน

 

(ง) ไม่เรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์จากบุคคลใดในเมื่อบุคคลนั้นได้รับงานเพราะการแนะนำหรือการจัดหางานของตน ในฐานะที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของกิจการนั้น

 

      ผู้สอบบัญชีต้องไม่เรียกทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ เช่น ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรางวัลใด ๆ จากบุคคลอื่นเพื่อเป็นการตอบแทนจากการที่บุคคลอื่นนั้นได้รับงานจากกิจการที่ตนเป็นผู้สอบบัญชีและการได้รับงานของบุคคลอื่นนั้นเป็นเพราะการแนะนำของตน

 

กรณีต่อไปนี้อาจถือว่าผู้สอบบัญชีเรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์จากบุคคลใดในเมื่อบุคคลนั้นได้รับงานเพราะการแนะนำ

หรือการจัดหางานของตนในฐานะที่เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการนั้น เช่น

 

 (1) นาย ก ผู้สอบบัญชีของบริษัท ข แนะนำให้บริษัท ข ทำการประกันวินาศภัยกับบริษัท ค ประกันภัย และนาย ก ได้รับค่านายหน้าจากบริษัท ค ประกันภัย จำนวนหนึ่ง เพราะการแนะนำงานให้

 (2) การได้รับรายได้ค่านายหน้า หรือรายได้ทำนองเดียวกันจากการแนะนำลูกค้าของผู้สอบบัญชีหรือสำนักงานที่ตนสังกัดอยู่ให้กับสำนักงานกฎหมายหรือธุรกิจอื่น

 (3) ผู้สอบบัญชีแนะนำงานให้นาย ง ได้ทำงานกับบริษัท ข ซึ่งตนเป็นผู้สอบบัญชีอยู่ โดยตนเองเรียกค่าตอบแทนจากการแนะนำงานนั้นจากนาย ง ด้วย

 

(จ) ไม่กำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนโดยถือเอาอัตราสูงต่ำของยอดเงินหรือของมูลค่าทรัพย์สินใดที่ตนสอบบัญชีหรือมีส่วนร่วมในการสอบบัญชีเป็นเกณฑ์

 

       ผู้สอบบัญชีต้องไม่กำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีหรือค่าตอบแทนโดยใช้อัตราสูงต่ำของยอดเงินหรือของมูลค่าทรัพย์สินที่สอบบัญชี หรือมีส่วนร่วมในการสอบบัญชีเป็นเกณฑ์ในการกำหนด เพราะการกำหนดเช่นนั้นทำให้ผู้สอบบัญชีเข้าไปมีส่วนได้เสียในยอดเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่ตนสอบบัญชี ซึ่งทำให้ขาดความเป็นกลาง

       การกำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนซึ่งประกอบด้วยค่าสอบบัญชีและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการสอบบัญชีที่จะเรียกเก็บ ควรคำนวณจากเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการสอบบัญชีอื่นๆ ที่เกิดขึ้น

       กรณีที่ผู้สอบบัญชีกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีเป็นอันตรายร้อยละของกำไร หรือรายได้ หรือสินทรัพย์ หรือรายการอื่นใด ของกิจการที่ตนรับสอบบัญชี ถือว่าผู้สอบบัญชีกำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนโดยถือเอาอัตราสูงต่ำของยอดเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินใดที่ตนสอบบัญชีหรือมีส่วนร่วมในการสอบบัญชีเป็นเกณฑ์

       อนึ่ง ในทางปฏิบัติ อาจมีบางกรณีที่นอกเหนือจากคำชี้แจงที่ให้ไว้ และอาจจำเป็นต้องพิจารณาเพิ่มเติมโดยไม่จำกัดขอบเขต เพียงคำชี้แจงหรือตัวอย่างที่ให้ไว้ในที่นี้เท่านั้น

 

สำนักงาน ก.บ.ช.

กองบัญชีธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า

27 พฤษภาคม 2537

 

กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2534)
ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้


ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505

ข้อ 2 ให้กำหนดมรรยาทของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ดังนี้

(1) ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต

(ก) ไม่รับสอบบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นอิสระ
(
ข) ไม่รับสอบบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นกลางโดยมีผลประโยชน์หรือตำแหน่งเกี่ยวข้องกับ กิจการนั้น หรือโดยมีเหตุอื่นที่อาจจะก่อให้เกิดความลำเอียง ยกเว้นค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการ ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี หรือหน้าที่ในการประกอบวิชาชีพอิสระอื่นที่เกี่ยวกับกิจการนั้น
(
ค) ปฏิบัติงานสอบบัญชีด้วยความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต
(
ง) ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงินที่ตนลงลายมือชื่อ รับรองในรายงาน โดยการแสดงความเห็น ซึ่งอาจทำให้เกิดการหลงผิดและอาจเสียหาย แก่กิจการที่สอบบัญชีนั้น หรือแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง

(2) ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

(ก) ไม่สอบบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานได้
(
ข) ปฏิบัติงานสอบบัญชีด้วยความระมัดระวังและรอบคอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
(
ค) ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานโดยการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการคาดคะเนรายการใด ๆ ของกิจการที่ตนรับสอบบัญชี เว้นแต่เป็นการสอบบัญชีหรือสอบทานตามมาตรฐานการสอบ บัญชีที่รับรองทั่วไป
(
ง) ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานโดยการแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการใด ที่ตนมิได้ปฏิบัติงานสอบบัญชีหรือควบคุมการสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรอง ทั่วไป
(
จ) ไม่ยินยอมให้ผู้อื่นอ้างว่าตนเป็นผู้ทำการสอบบัญชีในกิจการใดโดยตนมิได้ปฏิบัติงานสอบ บัญชีหรือ ควบคุมการสอบบัญชีในกิจการนั้น
(
ฉ) ให้บันทึกความเห็นไว้ในรายงานการสอบบัญชีเมื่อปรากฏว่ากิจการที่ตนรับสอบบัญชีนั้นมีการ ปฏิบัติที่ขัดหรือแย้งกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และมีผลกระทบที่สำคัญต่องบการเงิน
(
ช) การลงลายมือชื่อรับรองโดยการแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชีโดยมีเงื่อนไขหรือโดย ไม่ แสดงความเห็น หรือโดยแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง ต้องแสดงเหตุผลไว้ใน รายงานนั้นด้วย

(3) มรรยาทต่อลูกค้า

(ก) ไม่เปิดเผยความลับของกิจการที่ตนได้รู้มาในหน้าที่จากการสอบบัญชีเว้นแต่กรณีที่ต้องให้ถ้อย คำใน ฐานะพยานตามกฎหมาย
(
ข) ไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานสอบบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(4) มรรยาทต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ

(ก) ไม่แย่งงานสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอื่น
(
ข) ไม่ทำการสอบบัญชีเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอื่น เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากผู้มอบหมายนั้น

(5) มรรยาททั่วไป

(ก) ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(
ข) ไม่โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใด ๆ ซึ่งการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี
เว้นแต่การ แสดงชื่อ คุณวุฒิ ที่อยู่ หรือชื่อและที่ตั้ง สำนักงานของตน
(
ค) ไม่ให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้บุคคลอื่นแนะนำ หรือจัดหางานการสอบบัญชีมาให้ตนทำ
(
ง) ไม่เรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์จากบุคคลใดในเมื่อบุคคลนั้นได้รับงานเพราะการ แนะนำหรือการจัดหางานของตนในฐานะที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของกิจการนั้น
(
จ) ไม่กำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนโดยถือเอาอัตราสูงต่ำของยอดเงินหรือของมูลค่า ทรัพย์สินใดที่ตนสอบบัญชี หรือมีส่วนร่วมในการสอบบัญชีเป็นเกณฑ์

ให้ไว้ ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2534

(ลงชื่อ) อมเรศ ศิลาอ่อน
(
นายอมเรศ ศิลาอ่อน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์


(
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 108 ตอนที่ 122 วันที่ 11 กรกฎาคม 2534


หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511)
ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมและสอดคล้อง
กับภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมประกอบกับหลักสากลในการสอบบัญชีและการประกอบวิชาชีพของผู้สอบ
บัญชีในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวเสียใหม่ เพื่อควบคุมมรรยาทของผู้
ประกอบวิชาชีพสอบบัญชีให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันจึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

 

 




ความรู้เกี่ยวกับการสอบบัญชี

ใครรับรองความถูกต้องของงบการเงิน ? โดยอาจารย์นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ article
บทนิยามอาชีพ ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี article
ตัวอย่างแนวการสอบบัญชีโดยสรุป article
มาตรฐานการสอบบัญชี article
เส้นทางการเป็น CPA เส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
เทคนิค / วิธีการตรวจสอบบัญชี
ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ?



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี