ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี การโอนกิจการ และ การควบกิจการ
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใช้ 1 มกราคม 2554 - 31 ธันวาคม 2566)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม)
bulletคำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


การโอนกิจการ และ การควบกิจการ

การโอนกิจการต่างจากการควบกิจการอย่างไร

 

1. การโอนกิจการ นั้น ถ้าโอนกิจการทั้งหมด ผู้โอนกิจการทั้งหมดต้องเลิกกิจการ ส่วนบริษัทผู้รับโอนกิจการยังคงดำเนินกิจการต่อไป หรือ ถ้าโอนกิจการบางส่วน สภาพการเป็นนิติบุคคลทั้งผู้โอนและผู้รับโอนยังคงตั้งอยู่เช่นเดิม แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนของผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหารของกิจการแล้วแต่กรณี เช่น บริษัท ก เข้าไปซื้อกิจการของบริษัท ข และซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ข บริษัท ก ก็สามารถเข้าไปดำเนินการออกเสียงเลือกคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อบริหารบริษัท ข ต่อไปได้ การดำเนินการดังกล่าว ผู้ถือหุ้นสามารถดำเนินการได้เองโดยจัดทำสัญญาการโอนหุ้นระหว่างผู้โอนและผู้รับโอน และจัดทำสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) เพื่อนำส่งนายทะเบียนต่อไปเท่านั้น หรือหากมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการก็สามารถดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการใน

ภายหลังได้เช่นกัน


2. การควบกิจการ นั้นแตกต่างจากการโอนกิจการ เนื่องจากเมื่อได้มีการควบรวมกิจการแล้ว สถานภาพของบริษัททั้ง 2 แห่งจะต้องควบรวมกัน บริษัทเดิมสิ้นสภาพเป็นนิติบุคคล และเป็นบริษัทใหม่เพียงบริษัทเดียว และการควบรวมดังกล่าวต้องมีมติพิเศษจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยต้องนำมติพิเศษให้ควบบริษัทนั้นมาจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันลงมติ (ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนไว้ก่อน) รวมทั้งต้องประกาศหนังสือพิมพ์ท้องที่ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย การส่งคำบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ เพื่อให้มีการคัดค้านภายใน 60 วัน ซึ่งหากไม่มีผู้ใดคัดค้านบริษัทจึงจะสามารถนำความไปจดทะเบียนควบบริษัทได้

          ผลของการควบบริษัทจำกัด

 

  1. บริษัทเดิม สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคลไป โดยมิใช่เป็นการเลิกกิจการตามปกติ จึงไม่ต้องจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชี มีสภาพเป็นบริษัทใหม่
  2. ผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัทที่ควบเข้าด้วยกัน เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทใหม่
  3. ทุนของบริษัทเดิมรวมเป็นทุนของบริษัทใหม่
  4. สิทธิและความรับผิดชอบของแต่ละบริษัท รวมกันเป็นสิทธิและความรับผิดชอบของบริษัทใหม่

 

 

ต่อไปนี้เป็นปัญหาทางด้านภาษีอากรเกี่ยวกับการควบโอนกิจการ โดยนำบทความมาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เขียนโดยอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์

 

การควบโอนกิจการ (1)

30 สิงหาคม 2549 07:35 น.
ไขปัญหาภาษีสัปดาห์นี้ ขอนำประเด็นการควบโอนกิจการมาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

ปุจฉา การเลิกกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แตกต่างไปจากการควบโอนกิจการอย่างไร มีผลในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร

วิสัชนา ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล มีประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเลิกและการควบโอนกิจการดังนี้

1. การเลิกกิจการ เป็นไปตามมาตรา 72 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกิจการย่อมไม่เกี่ยวพันกับนิติบุคคลอื่น เว้นแต่ในกรณีเป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลิกกิจการ (1) ให้ผู้ชำระภาษีและผู้จัดการมีหน้าที่ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมิน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ท้องที่ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เลิกกิจการตั้งอยู่ ทราบการเลิกของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้ารับจดทะเบียนเลิก กรณีไม่ปฏิบัติตาม บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นอาจต้องเสียเงินภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย (2) เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี ให้ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการมีหน้าที่และความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (3) ในกรณีกิจการร่วมค้าที่เลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ให้ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่และความรับผิดเช่นเดียวกับผู้ชำระบัญชี ร่วมกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการตามที่กล่าวข้างต้น

2.กรณีควบหรือโอนกิจการ เป็นไปตามมาตรา 73 แห่งประมวลรัษฎากร แบ่งเป็น

กรณีที่ 1 การควบกิจการ

หมายถึง การที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองกิจการขึ้นไป มาตกลงควบเข้ากัน โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ควบกิจการเข้าด้วยกันต้องเลิกกิจการไปทั้งหมด แล้วโอนกิจการให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อดำเนินกิจการต่อไป

(1) เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี ให้ถือว่าแต่ละบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งควบเข้ากันนั้น ได้เลิกกัน และให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใหม่อันได้ควบเข้ากัน มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีแทนแต่ละบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งให้ถือว่าเลิกกันนั้น

(2) กรณีบริษัทจำกัดควบกิจการ ให้กรรมการของบริษัทนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นใหม่ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ชำระบัญชีในกรณีเลิกกิจการตามมาตรา 72 แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ มีหน้าที่แจ้งให้เจ้าพนักงานประเมิน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เลิกกิจการตั้งอยู่ ทราบการเลิกของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้ารับจดทะเบียนเลิก มิฉะนั้นอาจต้องเสียเงินภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย

กรณีที่ 2 การโอนกิจการ

หมายถึง การที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองกิจการขึ้นไป มาตกลงควบโอนกิจการให้แก่กัน โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้โอนกิจการทั้งหมดต้องเลิกกิจการ ส่วนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับโอนกิจการยังคงดำเนินกิจการต่อไป

(1) เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้โอนกิจการนั้นได้เลิกกัน และให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอันได้รับโอนกิจการ มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีแทนแต่ละบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้โอนกิจการนั้น

(2) กรณีบริษัทจำกัดโอนกิจการ ให้กรรมการของบริษัทที่รับโอน มีหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ชำระบัญชีในกรณีเลิกกิจการตามมาตรา 72 แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ มีหน้าที่แจ้งให้เจ้าพนักงานประเมิน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เลิกกิจการตั้งอยู่ ทราบการเลิกของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้ารับจดทะเบียนเลิก มิฉะนั้นอาจต้องเสียเงินภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย

ปุจฉา การโอนกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียน มีผลในทางภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร

วิสัชนา ในทางภาษีมูลค่าเพิ่ม มีประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการโอนกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนดังนี้

1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้โอนและผู้รับโอนกิจการ ต้องแจ้งการโอนต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งอยู่ให้ทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันโอนกิจการ ตามมาตรา 85/13 แห่งประมวลรัษฎากร

2. สินค้าที่มีอยู่ ณ วันโอนกิจการ ถือเป็นการขาย เว้นแต่กรณีโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร

การควบโอนกิจการ (2)

6 กันยายน 2549 07:11 น.
ไขปัญหาภาษีสัปดาห์นี้ขอนำประเด็นการควบโอนกิจการมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

ปุจฉา การเลิกกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีผลในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเกี่ยวกับการตีราคาทรัพย์สินอย่างไร

วิสัชนา ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกิจการ ให้ตีราคาทรัพย์สินที่มีอยู่ ณ วันเลิกกิจการให้เป็นตามราคาตลาดในวันเลิกกิจการนั้น ก่อให้เกิดผลในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้

1. กรณีทรัพย์สิน ณ วันเลิกกิจการมีราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี ก่อให้เกิดผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน ให้นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่เลิกกิจการนั้น

2. กรณีทรัพย์สิน ณ วันเลิกกิจการมีราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าตามบัญชี ก่อให้เกิดผลกำไรจากการตีราคาทรัพย์สิน ให้นำไปถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่เลิกกิจการนั้น เหตุผลที่กฎหมายกำหนดให้มีการดำเนินการดังเช่นที่กล่าวข้างต้น ก็เพื่อที่จะให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นมีส่วนได้ส่วนเสีย (Equity) ในกิจการตามจำนวนที่ควรจะเป็นอย่างแท้จริง เพราะในท้ายที่สุดหลังจากที่ได้เลิกกิจการและมีการชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว กิจการต้องคืนทุนและจ่ายส่วนเกินทุน (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา การควบกิจการหรือการโอนกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีผลในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเกี่ยวกับการตีราคาทรัพย์สินต่อผู้โอนและผู้รับโอนทรัพย์สินอย่างไร

วิสัชนา ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกิจการ ให้ตีราคาทรัพย์สินที่มีอยู่ ณ วันเลิกกิจการให้เป็นตามราคาตลาดในวันเลิกกิจการนั้น ก่อให้เกิดผลในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

1. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจดทะเบียนเลิกกิจการเพราะการควบกิจการหรือโอนกิจการ ให้ตีตามราคาตลาดในวันที่ควบเข้ากัน แต่ไม่ให้ถือว่าราคาดังกล่าวเป็นรายได้หรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมอันได้ควบกิจการหรือโอนกิจการนั้น ซึ่งมีเหตุผลในทางภาษีอากรและธุรกิจเช่นเดียวกับกรณีเลิกกิจการทั่วไป ที่จำเป็นต้องคำนวณหาส่วนได้ส่วนเสีย (Equity) ของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ในอันที่จะเข้าร่วมในกิจการที่ได้ตั้งขึ้นใหม่จากการควบกิจการ หรือในกิจการที่ได้รับโอนกิจการ

2. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใหม่อันเกิดแต่การที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบกิจการเข้าด้วยกัน หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้รับโอนกิจการ

(1) ให้ถือราคาของทรัพย์สินนั้นตามราคาที่ปรากฏในบัญชีของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมในวันที่ควบเข้ากันเพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ จนกว่าจะได้มีการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไป ทรัพย์สินรายการใดมีสิทธิหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาก็ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมใช้อยู่เพียงเท่าที่ระยะเวลาและมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากในทางกฎหมายให้ถือเสมือนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้เลิกกิจการเพราะเหตุของการควบกิจการหรือโอนกิจการนั้นยังคงประกอบกิจการต่อเนื่องไป (Going Concern Assumption)

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติการในทางบัญชีให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใหม่อันเกิดแต่การที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบกิจการเข้าด้วยกัน หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้รับโอนกิจการ ผู้ซึ่งรับโอนทรัพย์สินยังคงบันทึกรายการทางบัญชีเกี่ยวกับทรัพย์สินที่รับโอนตามราคาตลาดที่ได้ตกลงรับโอนมา และคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดที่ได้ตกลงรับโอนกันนั้นในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี แล้วทำการปรับปรุงรายการที่แตกต่างจากหลักเกณฑ์ทางภาษีอากรตามมาตรา 74(1)(ข) และ (ค) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ต่อไป (ก) กรณีทรัพย์สินที่รับโอนมีราคาตลาดต่ำกว่าราคาทางบัญชี ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของมูลค่าต้นทุนในส่วนเกินกว่าราคาตลาดที่ได้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ต้องถูกปรับปรุงกลับมาเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินนั้น (ข) กรณีทรัพย์สินที่รับโอนมีราคาตลาดสูงกว่าราคาทางบัญชี ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของมูลค่าต้นทุนในส่วนเกินกว่าราคาทางบัญชีที่ได้ปรับปรุงบวกกลับ โดยไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ต้องถูกปรับปรุงกลับมาเป็นรายจ่ายหรือต้นทุนของทรัพย์สินในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินนั้น

(2) ห้ามมิให้นำผลขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ

 

ตารางสรุปภาระภาษีการควบหรือโอนกิจการ

 

 

ภาระภาษี

ควบหรือโอนกิจการ

โอนกิจการบางส่วน

สถาบันการเงิน(ทั้งหมดหรือบางส่วน)

บริษัททั่วไป(ทั้งหมด)

โอนหุ้น

โอนทรัพย์สิน

1.     1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.     1.1 ภาษีขาย

 

1.2  ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร

 

ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ม.77/1 (8) (ฉ)

ไม่เป็นภาษีต้องห้าม ตาม ปก. 84 แก้ไขเพิ่มเติม ปก.42 ข้อ 4 (ง)

 

ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตาม ม.77/1 (8) (ฉ)

ไม่เป็นภาษีต้องห้าม

 

 

เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

เป็นภาษีต้องห้าม ตาม ปก. 42 ข้อ 2 (4)

 

2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ยกเว้น ตาม พรบ. ธ.พาณิชย์

ยกเว้น ตาม พรฏ. ฉบับที่ 10

ไม่เสีย

เสีย

3. อากรแสตมป์

ยกเว้น ตาม พรบ.ธ.พาณิชย์

ยกเว้น ตาม พรฏ. ฉบับที่ 10

เสียอากร 1 บาท ทุกจำนวน 1,000 บาท (ไม่รวมถึงการโอนหุ้นในตลาดฯ)

เสียอากร 1 บาท ทุกจำนวน 200 บาท

4. ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน

เสียค่าธรรมเนียมการโอน ในอัตรา 2% ของราคาประเมิน (ลดเหลือ 0.1 % กรณีควบตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน)

เสียค่าธรรมเนียมการโอน ในอัตรา 2% ของราคาประเมิน

-

เสียค่าธรรมเนียมการโอน ในอัตรา 2% ของราคาประเมิน

5. ภาษีเงินได้ของผู้ถือหุ้น

5.1 บุคคลธรรมดา

- ในประเทศ

- ต่างประเทศ

 

 

 

5.2 นิติบุคคลในประเทศ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.3 นิติบุคคลต่างประเทศ

 

ผลประโยชน์ที่ได้รับตาม ม.40(4)(ฉ)

ได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 207 (พ.ศ.2540)

 

ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ สำหรับมูลค่าทรัพย์สินที่ตีราคาเพิ่มขึ้น ตาม ม. 65 ทวิ (3)  ตราบใดที่ยังถือหุ้นจำนวนเท่าเดิมและในราคาที่ตราไว้เดิม แต่ถ้าหุ้นเพิ่มมากขึ้น จะต้องถือเป็นรายได้เสียภาษี

 

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากัน หรือ โอนกิจการ ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 341 พ.ศ. 2541

 

ยกเว้นให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้รับ ตาม ม. 40(4)(ฉ) ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 215 พ.ศ. 2541)

 

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากัน หรือ โอนกิจการ ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 341 พ.ศ. 2541

 

 

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากัน หรือ โอนกิจการ ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 341 พ.ศ. 2541

 

 

6. ภาษีเงินได้ของบริษัท

1. บริษัทที่มาควบกัน ( ก+ข = ค) ต้องจดทะเบียนเลิกกิจการและต้องชำระบัญชีภายในรอบบัญชีที่มีการควบโอนกิจการ หากเป็นกรณีโอนบางส่วน ไม่ต้องจดทะเบียนเลิกกิจการ

2. การโอนทรัพย์สินให้บริษัทผู้รับโอน ไม่ถือเป็นรายได้ หรือรายจ่ายของบริษัทเดิม จนกว่าบริษัทใหม่จะขายทรัพย์สินนั้นไป

3. การคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ให้บริษัทใหม่ถืออัตราเดิมและหักค่าเสื่อมราคาเท่าที่ระยะเวลาและมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่

4. บริษัทผู้รับโอน ห้ามนำมาเป็นผลขาดทุน ของบริษัทผู้โอนมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร(ขาดทุน)ทางภาษี

1. บริษัทที่มาควบกัน ( ก+ข = ค) ต้องจดทะเบียนเลิกกิจการและต้องชำระบัญชีภายในรอบบัญชีที่มีการควบโอนกิจการ ตาม ม.74

2. การโอนทรัพย์สินให้บริษัทผู้รับโอน ไม่ถือเป็นรายได้ หรือรายจ่ายของบริษัทเดิม จนกว่าบริษัทใหม่จะขายทรัพย์สินนั้นไป

3. การคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ให้บริษัทใหม่ถืออัตราเดิมและหักค่าเสื่อมราคาเท่าที่ระยะเวลาและมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่

4. บริษัทผู้รับโอน ห้ามนำมาเป็นผลขาดทุน ของบริษัทผู้โอนมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร(ขาดทุน)ทางภาษี

เงินได้จากการขายหุ้น ต้องเสียภาษีเงินได้

เงินได้จากการขายทรัพย์สิน ต้องเสียภาษีเงินได้

 




ความรู้เกี่ยวกับบัญชี

ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินปี พ.ศ. 2566 article
คำชี้แจงประกาศกรมกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) article
สมาคมการค้า article
สรุปความแตกต่าง ที่สำคัญของหลักการทางบัญชีกับกฎหมายภาษี สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ-ลูกหนี้
หลักเกณฑ์ และวิธีการนำส่งงบการเงิน และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น อัตราค่าปรับยื่นงบล่าช้าปี 2563 เป็นต้นไป article
ประกาศกรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2549 article
อัตราค่าปรับ กรณีไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้า ถึงปี 2555 article
การยื่นแบบคำขอใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล(BOI) article
สิทธิในการได้รับ ค่าชดเชย เมื่อถูกเลิกจ้าง article
สรุปมาตรฐานการบัญชี และการจัดเลขระบุฉบับมาตรฐานการบัญชีของไทยให้ตรงตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ article
รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินและความหมาย article
นิติบุคล มีหน้าที่ที่จะต้องปฎิบัติตามกฎหมายและพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ดังต่อไปนี้ article
ประกันสังคม การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 article
บัญชีสำหรับกิจการอุตสาหกรรม
Foreign Business Act B.E. 2542 (1999)
Accounting Act, B.E. 2543 (2000)
เงินปันผล และ เงินส่วนแบ่งกำไร พร้อม หลักการบัญชี
ตารางสรุป ภาระภาษี การควบหรือโอนกิจการ
งบกระแสเงินสด การจัดทำงบกระแสเงินสด
การปรับปรุงรายการทางบัญชี และ การแก้ไขข้อผิดพลาด
การวิเคราะห์งบการเงิน
ความแตกต่างระหว่าง บัญชีการเงิน กับ บัญชีบริหาร ความแตกต่างระหว่างบัญชีบริหาร กับ บัญชีต้นทุน
ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
พระราชบัญญัติการบัญชี 2543 , พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี 2547 - ภาษาไทย
ACCOUNTING PROFESSIONS ACT, B.E. 2547 (2004)
ปัญหาเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีและปัญหาเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี