ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี การหย่าร้าง เหตุหย่า
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


การหย่าร้าง เหตุหย่า

การหย่า

 

คำว่า “หย่า” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ร้าง, เลิกเป็นผัวเป็นเมียกัน, เลิก จาก ซึ่งความหมายที่ว่า “เลิกเป็นผัวเป็นเมียกัน” ดูจะตรงกับความหมายตามกฎหมายที่สุด คือเมื่อสามีภรรยาที่สมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย จะมีการจดทะเบียนสมรสไว้ที่อำเภอหรือเขต เวลาเลิกร้างห่างเหสิเนหา หมดความเป็นสามีภรรยากันต่อไป ต้องการตัดขาดจากกันอย่างแน่นอน ก็ต้องทำพิธีกรรมที่เรียกว่า “หย่า” เสียให้ถูกต้องตามกฎหมาย

เพราะฉะนั้นคำว่า “หย่า” ตามกฎหมายจึงหมายถึงการขาดจากการเป็นสามีภรรยา ตามวิธีการที่กฎหมายได้บัญญัติไว้

แต่ถ้าเป็นสามีภรรยาชนิดที่ไม่ได้ตีทะเบียน คือจูงมือร่วมหอลงโรงกันเองโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถึงจะจัดพิธีแต่งงานใหญ่โตหรูหราสักเพียงใด กฎหมายหมายก็หายอมรับว่าเป็นสามีภรรยากันไม่ แม้ว่าฝ่ายหญิงจะสูญเสียความเป็นสาวแก่ฝ่ายชายไปแล้ว เธอก็ยังคงมีคำว่า “นางสาว” นำหน้าชื่ออยู่นั่นเอง และก็ไม่อาจที่จะยื้อแย่งนามสกุลของฝ่ายชายมาใช้ได้ แม้ว่าฝ่ายชายจะยินยอมและยัดเยียดให้ก็ตาม

เมื่อสิ้นรสหมดสวาทต้องการจะขาดกัน สามีภริยาประเภทนี้หาจำเป็นที่จะต้องทำพิธีกรรมการหย่าอะไรให้มันเอิกเกริกไม่ เพียงแต่เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋าลากันไป เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

ยังมีสามีภริยาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นจำนวนมากที่เข้าใจผิด คิดว่าเวลาเลิกจากกันจะต้องไปสถานีตำรวจให้ตำรวจลงบันทึกประจำไว้ว่าทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินกันต่อไปจึงจะถือว่าถูกต้อง ความจริงแล้วไม่จำเป็นเลย อย่างไรก็ตาม การที่ให้ตำรวจได้รับรู้ไว้ถึงจะไม่มีผลทางกฎหมาย ก็มีผลในทางปฏิบัติกล่าวคือ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหึงสาพยาบาทตอแยกันอีกไม่ได้ ถ้ามาตอแยอีกก็บอกให้ตำรวจเล่นงานได้เลย

ทั้งนี้ การหย่ากันตามกฎหมายได้กำหนดไว้สองอย่างคือ หย่าโดยความยินยอมและหย่าโดยความดื้อรั้นดันทุรังของทั้งสองฝ่าย ซึ่งต้องพึ่งอำนาจศาลให้ช่วยจัดการให้

หย่าโดยความยินยอม กฎหมายให้ทำเป็นหนังสือและมีพยานลงชื่ออย่างน้อยสองคน และต้องไปทำการจดทะเบียนหย่าที่เขตหรืออำเภอ ซึ่งการหย่าจะมีผลนับแต่ได้มีการจดทะเบียนหย่าเป็นต้นไป แต่ถ้าไม่มีการจดทะเบียนหย่า การหย่านั้นก็ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย

นั่นเป็นกรณีที่สามีภริยาตกลงกันได้ เรื่องก็ยุติลงอย่างง่ายๆ ไม่มีข้อยุ่งยาก แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ซึ่งก็เนื่องมาจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายถือทิฐิดันทุรัง ก็ต้อง "ฟ้องหย่า" คือต้องหาเหตุ หาเรื่องฟ้องหย่า ยกเว้น ข้อ 6 เพียงข้อเดียวที่ฟ้องหย่าได้ โดยไม่ต้องหาเรื่อง เพราะเป็นการหย่าโดยทั้งสองฝ่ายไม่มีความผิด เรียกว่าเป็นการหย่าเพราะสมัครใจแยกกันอยู่

 

เหตุหย่าตามกฎหมายว่าไว้ 12 ข้อ ดังนี้

1. สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้

2.  สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

(ก)    ได้รับความอับอายขายอย่างร้ายแรง

(ข)    ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาหรือฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป

(ค)    ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

3.  สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหรือหมิ่นประมาท หรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรงอีกฝ่ายหนึ่งนั้นก็ฟ้องหย่าได้

4.  สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินกว่าหนึ่งปีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

5.   สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสีย หรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

6.  สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

7.  สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

8.  สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

9.  สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

10. สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

11.  อีกฝ่ายหนึ่งเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง อันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

12. สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

การฟ้องหย่า ฝ่ายที่เสียหายมีสิทธิได้รับค่าทดแทนด้วย

 

กรณีแรก ฟ้องหย่าเนื่องจากสามีไปอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่องหญิง

อื่นฉันภริยา หรือภริยามีชู้ ฝ่ายภริยาหรือสามีก็มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยา ทั้งจากหญิงอื่นหรือชู้ แล้วแต่กรณี

          แม้ในกรณีที่ยังไม่ถึงขนาดภริยามีชู้ หรือถึงขนาดสามีไปยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เพียงแค่มีผู้มาล่วงเกินภริยาทำนองชู้สาว เช่น มีคนมากอดจูบภริยาของตน โดยภริยาสมัครใจหรือไม่สมัครใจก็ตาม  หรือเพียงแค่มีหญิงอื่นมาแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีสัมพันธ์สวาทกับสามี อย่างนี้สามีหรือภริยา แล้วแต่กรณี ก็สามารถเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่มากอดจูบลูบคลำภริยาตน หรือเรียก จากหญิงที่มาเปิดเผยตัวได้

          แต่ถ้าปรากฎว่าสามียินยอมพร้อมใจให้ภริยามีชู้ หรือยินยอมพร้อมใจให้พรรคพวกมาล่วงเกินภริยาตนในทำนองชู้สาว สามีก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน ภริยาที่อนุญาตให้สามียกย่องหญิงอื่นฉันภริยา หรือยอมให้หญิงแสดงตัวว่าเป็นภริยาอีกคนหนึ่ง อย่างนี้ภริยาเรียกค่าทดแทนไม่ได้เช่นกัน

          กรณีที่สอง ก็คือกรณีสามีภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ กับกรณีสามีภริยาจงใจจะทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งกรณีสามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง สามอย่างที่ว่านี้ ถ้ามีสาเหตุมาจากฝ่ายหนึ่งกลั่นแกล้งอีกฝ่ายหนึ่ง หรือมุ่งที่จะให้เกิดขึ้นเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทนไม่ได้ ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าก็หมดสิทธิได้รับค่าทดแทนจากฝ่ายที่ต้องรับผิดได้อีกด้วย

          ค่าทดแทนทั้งสองกรณี กฎหมายบอกว่าให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ โดยศาลจะสั่งให้ครั้งเดียว หรือแบ่งชำระเป็นงวดๆ ทั้งนี้มีกำหนดเวลาตามที่ศาลจะเห็นควร นอกจากนี้ ศาลก็จะดูจำนวนทรัพย์สินที่ฝ่ายซึ่งจะต้องได้รับไปจากการแบ่งสินสมรสเพราะการหย่าด้วยว่าได้รับไปมากน้อยแค่ไหน

 

          ค่าเลี้ยงชีพ

          ในกรณีหย่าที่เกิดจากความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว และการหย่าทำให้อีกฝ่ายยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากงานที่ทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นก็ขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ เช่น สามีทุบตีภริยาทุกวัน ก็เรียกได้ว่าสามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งภริยาฟ้องหย่าได้และปรากฎว่าการหย่าทำให้ภริยาเลี้ยงตัวเองไม่รอด เพราะภริยาไม่ได้ทำงาน หรือทำงานได้เงินเดือนน้อย ต้องพึ่งสามีมาตลอด ทางศาลจะกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้ และฐานะของผู้รับ ถ้าปรากฎว่าหย่ากันแล้วสามีเป็นฝ่ายจนลง เพราะต้องพึ่งเงินทองของภริยาซึ่งมีฐานะดีกว่ามาตลอด อย่างนี้ศาลไม่กำหนดค่าเลี้ยงชีพให้

          อันว่าสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพนั้นเป็นอันหมดสิ้น ถ้าไม่ได้ฟ้องขอไว้ในคดีหย่า เพราะฉะนั้นถ้ามีสิทธิ เรียกร้องสิทธิด้วยมิฉะนั้นจะหมดสิทธิ

          สมมติว่าศาลกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แล้ว ต่อมาปรากฎว่าฝ่ายที่ได้รับค่าเลี้ยงชีพแต่งงานใหม่ สิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพก็จะหมดไปทันที

          ส่วนเรื่องอายุความสิทธิฟ้องร้องในเหตุหย่าตาม (1) (2) (3) หรือ (6) ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้กล่าวอ้างรู้หรือรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง เช่น สามีรู้ว่าภริยามีชู้แล้วไม่ฟ้อง หย่าจนพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่รู้ความจริง สิทธิฟ้องด้วยเหตุนี้ย่อมหมดสิ้นไปทันที แต่อาจนำมาเป็นข้อสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่งอาศัยเหตุอื่นเช่น อ้างว่าภริยาประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ถ้าเหตุหย่าข้อนี้ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี)

          สุดท้ายก็คือ การแบ่งสินสมรส กฎหมายบอกว่าให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่าๆ กัน ถ้าฝ่ายหนึ่งเอาสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งไปจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว หรือทำให้อีกฝ่ายเสียหาย หรือไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง จงใจทำลายให้สูญไป ฝ่ายที่ได้จำหน่ายของเขาไป ต้องเอาส่วนของตนชดเชยใช้ให้จนครบ

 

 

*** ข้อมูลจาก กฎหมายกับความรัก โดย ศาสตร์ตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ




ความรู้เกี่ยวกับกฏหมาย

ความผิดอาญา ที่ยอมความได้ article
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง article
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก article
คำแนะนำผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา article
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย article
ถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ article
แพ้คดีมา 10 ปีแล้วเจ้าหนี้ยังตามยึดทรัพย์ได้ article
นิติกรรมสัญญาในชีวิตประจำวัน article
หนี้ขาดอายุความก็สามารถฟ้องร้องได้ article
รู้ก่อนจดทะเบียนสมรส ไม่ปวดหัวในวันไม่สมรัก
สิทธิของผู้ถือหุ้น ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
รถหายในห้างใครรับผิดชอบ
อุบัติเหตุทางจราจร ต้องรับผิดอย่างไรบ้าง
มรดก
วิธีการและขั้นตอน การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด
ขับรถ 'ชนคนตาย' แบบไหนถึง 'รอดคุก'
แก้เกมการทวงหนี้ บัตรเครดิต - บัตรเงินผ่อน
ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่ง
ระวังการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด อาจขัดต่อกฎหมาย
สรุปสาระสำคัญการแก้ไขป.พ.พ.ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2551
สรุปสาระสำคัญการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท เริ่มใช้ 1 กรกฎาคม 2551
การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง ผู้จัดการมรดก ของหน่วยงานคุ้มครองสิทธิ
การออกใบหุ้นและการโอนหุ้น
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด
พระราชบัญญัติ กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ
ยึดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้
สัญญาเปล่ากับลายเซ็นต์
ทำไม่ได้...อย่าสัญญา
การเลิกบริษัท เอกสารที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนเลิกบริษัท
5 เรื่องสำคัญ ประชุมใหญ่ประจำปีที่ห้ามพลาด สำหรับนิติบุคคลอาคารชุด
ถูกเลิกจ้างต้องได้ เงินชดเชย จากนายจ้างเท่าไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี