ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี มรดก
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


มรดก

ทรัพย์มรดกตกทอดอย่างไร

การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติไว้สรุปได้ดังนี้

1.เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท และเมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ความหมายของคำว่า "ตาย" ในที่นี้ จะต้องเป็นกรณีที่บุคคลใดตายโดยธรรมชาติหรือตายโดยกฎหมายสมมติที่เราเรียกว่า "การสาบสูญ"

2.กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ซึ่งจะขออธิบายว่าสิ่งใดเป็นทรัพย์มรดก และสิ่งใดไม่เป็นทรัพย์มรดก คือ

2.1 มรดกหรือกองมรดก ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า หุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน สิทธิเรียกร้องที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินได้ หน้าที่และความรับผิดของเจ้ามรดก และรวมถึงสิทธิต่างๆ บางประการ เช่น สิทธิเหนือพื้นดินซึ่งอาจโอนและรับมรดกกันได้ สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ขายฝาก สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า (ที่เราเข้าใจกันว่า ค่าเซ้งหรือค่าแป๊ะเจี๊ยะ) สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างถือว่าสิทธินี้เป็นมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทของลูกจ้างที่ตายได้ สิทธิเหล่านี้ไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ตาย จึงถือว่าเป็นมรดก

2.2 กรณีไม่เป็นมรดก ได้แก่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ซึ่งตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เช่น สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกินซึ่งสิ้นไปเมื่อผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า เมื่อผู้เช่าตายไปสัญญาเช่าเป็นอันสิ้นสุดลง ไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท เหล่านี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้ตายเท่านั้น

3. ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน หากว่ากองมรดกมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์มรดก เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องเอาจากกองมรดกได้เพียงเท่าที่ทรัพย์มรดกมีอยู่ ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่านั้น

4. กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ซึ่งทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม" และทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม"

คำว่า "ทายาท" หมายถึง ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามที่กฎหมายมรดกกำหนดไว้ มี 2 ประเภท คือ ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม บุคคลที่จะรับมรดกได้ในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นมีได้แต่เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ผู้รับพินัยกรรมอาจมีได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

ดังนั้น จึงสรุปหลักได้ว่า การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก โดยหลักแล้ว เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมลง สิทธิในทางทรัพย์สินของผู้ตายย่อมตกทอดไปยังทายาททันที แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนชื่อโอนกรรมสิทธิก็ตาม ทั้งสิทธิและหน้าที่และความรับผิดต่างๆ แต่กฎหมายได้จำกัดความรับผิดของทายาทไว้เพียง "ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน" ฉะนั้น ทายาทจะปฏิเสธหน้าที่และความรับผิดในกรณีที่ทรัพย์สินที่จะตกทอดมาเป็นมรดกมีน้อยกว่าหนี้สินไม่ได้ และเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องทายาทนั้นได้ แม้ทายาทจะไม่ได้รับมรดกก็ตาม

อายุความฟ้องคดีมรดก

"คดีมรดก" หมายถึง คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วยกันตามกฎหมายหรือตามพินัยกรรม หรือคดีที่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกถูกฟ้องในฐานะทายาท ให้รับผิดชอบหนี้ที่ผู้ตายเป็นหนี้อยู่

เราสามารถแยกกำหนดอายุความมรดกได้ดังนี้ คือ

1.อายุความฟ้องคดีมรดก ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม คือ พ่อแม่, คู่สมรส,บุตรของผู้ตาย ต้องฟ้องคดีมรดกภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย

2.อายุความสิทธิเรียกร้องตามข้อกำหนดพินัยกรรม ผู้ฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นบุคคลใดๆ ก็ได้ที่ผู้ตายยกมรดกให้ต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย

อายุความฟ้องคดีเรียกร้องมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ให้เริ่มนับตั้งแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิที่ผู้รับพินัยกรรมมีอยู่ตามพินัยกรรม เพราะกฎหมายบัญญัติว่า " สิทธิและหน้าที่ใดๆ อันเกิดขึ้นตามพินัยกรรมให้มีผลบังคับเรียกร้องกันได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไป" ถ้าเขายังไม่ตายทรัพย์สินของเขาก็ยังมิใช่ทรัพย์มรดกที่จะตกทอดให้ใครๆได้

แต่มีกรณียกเว้น คือ ถ้าผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย หรือตามข้อกำหนดพินัยกรรม หากเป็นกรณีที่ผู้นั้นครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่ง แล้วฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ก็สามารถฟ้องได้แม้จะเกิน 1 ปีแล้วก็ตาม ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องภายใน 1 ปี อายุความมรดก 1 ปี อยู่ภายใต้บังคับว่า "ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปี แล้วก็ดี " ดังนั้น สำหรับทายาทคนที่ครองครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันนั้น แม้ฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อกำหนดอายุความมรดกกี่สิบปีก็ตามก็ฟ้องขอแบ่งได้ ไม่ขาดอายุความมรดก 1 ปี

เมื่อทายาทคนใดฟ้องเรียกร้องส่วนแบ่งมรดกเกินหนึ่งปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก และทายาทผู้นั้นไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้น เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปีไม่ได้ และถ้าทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในทรัพย์นั้นยกอายุความตาม 1 ปี ขึ้นต่อสู้ คดีย่อมขาดอายุความ ศาลจะพิพากษายกฟ้อง ส่วนทายาทที่ครองครองมรดกเกินกำหนดอายุความ ถือว่ามีสิทธิในทรัพย์มรดกที่ตนครอบครอง มีอำนาจในฐานนะเจ้าของกรรมสิทธิ์

3.อายุความสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้กองมรดก เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องฟ้องเรียกร้องสิทธิภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ไม่ให้เกิน 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย

สำหรับเจ้าหนี้ผู้ตายนั้น นอกจากเจ้าหนี้โดยทั่วไปแล้ว ยังมีเจ้าหนี้ประเภทที่ผู้ตายนำทรัพย์ไปเป็นประกัน เช่น เจ้าหนี้จำนอง เจ้าหนี้จำนำ เจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง กฎหมายบัญญัติว่า "ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงสิทธิบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม ฯลฯ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก" ดังนั้น แม้เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ซึ่งอาจมีอายุความในการบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นยาวกว่า 1 ปี ก็ต้องฟ้องภายใน 1 ปี มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ

4.อายุความ 10 ปี อย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่าข้างต้นนั้น มิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย กล่าวคือ ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในกองมรดกที่ไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกก็ดี ผู้รับพินัยกรรมที่ไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ดี หรือเจ้าหนี้กองมรดกไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกก็ดี ซึ่งอาจฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่มารู้ถึงความตายของเจ้ามรดกหรือสิทธิตามพินัยกรรมในภายหลังได้ แต่จะอ้างความไม่รู้ดังกล่าวมาเป็นเหตุฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่เจ้ามรดกตายไม่ได้ เพราะไม่เช่นนั้น ก็จะต้องมีการฟ้องร้องกันไม่สิ้นสุด

5.สิทธิยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้ ใครบ้างที่มีสิทธิยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ กฎหมายกำหนดบุคคล 3 ประเภทซึ่งมีสิทธิยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ไว้ชัดเจนว่าต้องเป็นทายาท (ทายาทโดยธรรม , ผู้รับพินัยกรรม) หรือคนที่มีสิทธิที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก ดังนั้น บุคคลอื่นที่มิใช่ทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะยกเอาอายุความมรดก 1 ปีนี้เป็นข้อต่อสู้ไม่ได้

คำว่า "บุคคลอื่น" หมายถึงใครบ้าง ขอยกตัวอย่างผู้ที่ไม่มีสิทธิยกอายุความ 1 ปีขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เช่น

  • คนตายทำพินัยกรรมยกมรดกทั้งหมดให้คนอื่นแต่ผู้เดียว ทายาทโดยธรรมจึงถูกตัดมิให้รับมรดกแล้ว ดังนั้น ทายาทโดยธรรมจึงไม่อยู่ในฐานะที่เป็นทายาท จะอ้างอายุความ 1 ปีมาใช้ต่อสู้ผู้รับพินัยกรรมไม่ได้
  • ทายาทฟ้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและเรียกทรัพย์มรดกคืน ผู้จัดการมรดกจะยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ไม่ได้
  • ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากทายาทที่ปิดบังมรดกไว้ ทายาทที่ปิดบังจะยกอายุความ 1 ปีมาใช้ไม่ได้ เพราะเป็นฝ่ายผิดและตนย่อมถูกตัดสิทธิมิให้รับมรดกแล้ว จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิทายาทคนอื่นๆ
  • ทายาทลำดับหลังไม่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะยังมีตัวทายาทลำดับเหนือกว่าอยู่ เช่น น้องของผู้ตายจะยกอายุความมรดกมาต่อสู้บุตรของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกและเป็นทายาทลำดับเหนือกว่าไม่ได้
  • ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้เป็นทายาทโดยธรรม ไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้



ความรู้เกี่ยวกับกฏหมาย

ความผิดอาญา ที่ยอมความได้ article
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง article
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก article
คำแนะนำผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา article
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย article
ถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ article
แพ้คดีมา 10 ปีแล้วเจ้าหนี้ยังตามยึดทรัพย์ได้ article
นิติกรรมสัญญาในชีวิตประจำวัน article
หนี้ขาดอายุความก็สามารถฟ้องร้องได้ article
รู้ก่อนจดทะเบียนสมรส ไม่ปวดหัวในวันไม่สมรัก
สิทธิของผู้ถือหุ้น ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
รถหายในห้างใครรับผิดชอบ
อุบัติเหตุทางจราจร ต้องรับผิดอย่างไรบ้าง
การหย่าร้าง เหตุหย่า
วิธีการและขั้นตอน การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด
ขับรถ 'ชนคนตาย' แบบไหนถึง 'รอดคุก'
แก้เกมการทวงหนี้ บัตรเครดิต - บัตรเงินผ่อน
ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่ง
ระวังการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด อาจขัดต่อกฎหมาย
สรุปสาระสำคัญการแก้ไขป.พ.พ.ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2551
สรุปสาระสำคัญการแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท เริ่มใช้ 1 กรกฎาคม 2551
การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง ผู้จัดการมรดก ของหน่วยงานคุ้มครองสิทธิ
การออกใบหุ้นและการโอนหุ้น
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด
พระราชบัญญัติ กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ
ยึดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้
สัญญาเปล่ากับลายเซ็นต์
ทำไม่ได้...อย่าสัญญา
การเลิกบริษัท เอกสารที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนเลิกบริษัท
5 เรื่องสำคัญ ประชุมใหญ่ประจำปีที่ห้ามพลาด สำหรับนิติบุคคลอาคารชุด
ถูกเลิกจ้างต้องได้ เงินชดเชย จากนายจ้างเท่าไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี