มาตรฐานฉบับนี้เป็นไปตาม IAS No. 25 "Accounting for Investments" ในเรื่องที่เกี่ยวกับเงินลงทุนใน ตราสารทุนที่ไม่อยู่ ในความต้องการของตลาด และ SFAS No. 115 "Accounting for Certain Investments in Debt and Equity Securities" ในเรื่องที่เกี่ยวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้ ทุกชนิดและตราสารทุนในความต้องการ ของตลาด
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึงการบัญชีสำหรับเงินลงทุนประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน เช่น เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้เพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับการด้อยค่าของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยใช้เกณฑ์ที่ กำหนดขึ้นโดย IAS No. 39
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเพียงวิธีเดียวในการคำนวนต้นทุนของเงินลงทุน ชนิดเดียวกันที่กิจการจำหน่ายเพียงบางส่วน
ขอบเขต
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้กำหนดวิธีปฎิบัติเกี่ยวกับการบัญทึกบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเงินลงทุนที่ เป็นตราสารหนี้และ ตราสารทุน
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึง
-เกณฑ์การรับรู้รายได้ ดอกเบี้ย ค่าสิทธิและเงินปันผลที่ได้รับจากเงินลงทุน (ดูมาตรฐาน การบัญชี เรื่อง การรับรู้รายได้ และ เรื่องการบัญชีสำหรับสัญญาเช่าระยะยาว)
การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่อง งบการเงินรวม และการบัญชี สำหรับเงินลงทุนใน บริษัทย่อย)
การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุน ในบริษัทร่วม)
การบัญชีสำหรับกิจการร่วมค้า (ดูมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 31 เรื่อง รายงานทางการเงิน เกี่ยวกับส่วนได้ เสียในกิจการร่วมค้า หากยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีของไทยกำหนดไว้)
การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน เช่น กองทุนรวม หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การบัญชีเกี่ยวกับค่าความนิยม สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือ สินทรัพย์อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน (ดูมาตรฐานการ บัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หากยังไม่มีมาตรฐานการบัญชี ของไทยกำหนดไว้)
การบัญชีสำหรับสัญญาเช่าการเงินตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การบัญชีสำหรับ สัญญาเช่าระยะยาว
การบัญชีสำหรับกิจการประกันชีวิตหรือเงินลงทุนของโครงการเงินบำเหน็จบำนาญซึ่งเป็นหน่วยงาน ที่เสนอรายงานแยก จากกิจการที่เป็นนายจ้าง
การจัดการประเภทเงินลงทุน
ณ วันที่กิจการได้มาซึ่งเงินลงทุน กิจการต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
จัดประเภทตราสารหนี้ทุกชนิดและตราสารทุนในความต้องการของตลาดดังต่อไปนี้
1.1 หลักทรัพย์เพื่อค้า
1.2 หลักทรัพย์เผื่อขาย
1.3 ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด
จัดประเภทตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดเป็นเงินลงทุนทั่วไป
ณ วันที่ในงบดุล กิจการต้องทบทวนความเหมาะสมในการจัดประเภทเงินลงทุนที่แสดงไว้แต่เดิม
เงินลงทุนประเภทหลักทรัพย์เพื่อการค้าถือเป็นเงินลงทุนชั่วคราว ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด ถือเป็นเงินลงทุนระยะยาว เงิน ลงทุนประเภทหลักทรัพย์เผื่อขายหรือเงินลงทุนทั่วไปสามารถจัดประเภท เป็นได้ทั้งเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนเวลาที่กิจการตั้งใจจะถือเงินลงทุน ไว้หรืออายุตามสัญญาของเงินลงทุนเองตามปกติ กิจการต้องจัดประเภทตราสารทุน ที่ไม่อยู่ในความต้องการ ของตลาดเป็นเงินทุนทั่วไประยะยาว
ราคาตามบัญชีของเงินลงทุนชั่วคราว
กิจการต้องแสดงเงินลงทุนที่จัดประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราวในงบดุลดังต่อไปนี้
หลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายต้องแสดงในงบดุลด้วยมูลค่ายุติธรรม(ตามปกติกิจการจะวัดมูลค่า เงินลงทุนในตรา สารที่ถืออยู่ด้วยราคาเสนอซื้อปัจจุบัน)
เงินลงทุนทั่วไปต้องแสดงในงบดุลด้วยราคาทุน
ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดซึ่งจะครบกำหนดภายใน 1 ปี ต้องแสดงในงบดุลด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย
กิจการต้องบันทึกการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์เพื่อค้าเป็นรายการกำไรหรือรายการขาดทุนสุทธิใน งบกำไรขาดทุนทันทีใน งวดนั้น และต้องบันทึกการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์เผื่อขายเป็นรายการแยก ต่างหากในส่วนของเจ้าของจนกระทั่งกิจการ จำหน่ายหลักทรัพย์จึงบันทึกการเปลี่ยนแปลงมูลค่านั้นในงบกำไร ขาดทุน การเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนคือส่วนต่าง ระหว่าง ราคาตามบัญชีของเงินลงทุนกับมูลค่ายุติธรรม ของเงินลงทุนนั้น
ราคาตามบัญชีของเงินลงทุนระยะยาว
กิจการต้องแสดงเงินลงทุนที่จัดประเภทเป็นเงินลงทุนระยะยาวในงบดุลและรับรู้มูลค่าที่เปลี่ยนแปลงไป ดังต่อไปนี้
1. เงินลงทุนในตราสารหนี้
หลักทรัพย์เผื่อขายต้องแสดงในงบดุลด้วยมูลค่ายุติธรรมและรับรู้มูลค่าที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นรายการแยก ต่างหากในส่วน ของเจ้าของจนกระทั่งกิจการจำหน่ายเงินลงทุนนั้นไป จึงบันทึกมูลค่าที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในงบกำไรขาดทุน ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดต้องแสดงในงบดุลด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย
2. เงินลงทุนในตราสารทุนในความต้องการของตลาดซึ่งถือเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายต้องปฏิบัติตามข้อข้างต้น
3. เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดถือเป็นเงินลงทุนทั่วไปต้องแสดงในงบดุลด้วย ราคาทุน
การด้อยค่าของตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด
ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดจะด้อยค่าเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะไม่สามารถเรียกเก็บ เงินต้นหรือดอกเบี้ยทั้ง หมดหรือบางส่วนตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ รายการขาดทุนจากการด้อยค่าของ ตราสารหนี้ดังกล่าว คือผลต่างระหว่างราคาตาม บัญชีกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับ จากตราสารหนี้นั้นซึ่งคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามสัญญาเดิม
กิจการต้องบันทึกรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดในงบกำไรขาดทุน ทันทีที่เงินลงทุนเกิดการ ด้อยค่าและต้องรับรู้รายได้ดอกเบี้ยในเวลาต่อมาด้วยอัตราคิดลดที่ใช้ในการคำนวณ มูลค่าปัจจุบันของตราสารหนี้นั้น
การด้อยค่าของหลักทรัพย์เผื่อขาย
กิจการต้องบันทึกการด้อยค่าของหลักทรัพย์เผื่อขายทันทีที่มีหลักฐานสนับสนุนว่าหลักทรัพย์นั้นด้อยค่า โดยการกลับบัญชีส่วนต่ำกว่า ทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์เผื่อขายที่แสดงในส่วน ของเจ้าของเป็นรายการขาดทุนจากการด้อยค่าทันทีที่เกิด เว้นแต่ กิจการเคยบันทึกส่วนเกินทุน จากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าไว้ในส่วนของเจ้าของ กิจการต้องกลับบัญชีส่วนเกินทุนดังกล่าว ในการบันทึก ลดมูลค่าเงินลงทุนก่อนจะบันทึกรายการขาดทุนจากการด้อยค่าในงบกำไรขาดทุน
การด้อยค่าของเงินลงทุนทั่วไป
กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์เพื่อบันทึกการด้อยค่า ของเงินลงทุนทั่วไป
การจำหน่ายเงินลงทุน
ในการจำหน่ายเงินลงทุน กิจการต้องบันทึกผลต่างระหว่างสิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับกับราคาตามบัญชี ของเงินลงทุนป็นรายได้หรือ ค่าใช้จ่ายทันทีที่เกิด กิจการต้องบันทึกกลับรายการบัญชีทุกบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ เงินลงทุนที่จำหน่ายเพื่อรับรู้ในงบกำไรขาดทุน เช่น ส่วนเกินทุนจากการตีราคาเงินลงทุน ในกรณีที่กิจการ จำหน่ายเงินลงทุนเพียงบางส่วน ราคาตามบัญชีต่อหน่วยที่ใช้ในการบันทึกราย ได้หรือค่าใช้จ่ายของเงินลงทุน ชนิดเดียวกันต้องคำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
การโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุน
กิจการต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการโอนเปลี่ยนเงินลงทุนจากประเภทหนึ่งไปเป็นอีกประเภทหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. การโอนเปลี่ยนเงินลงทุนในตราสารทุนในความต้องการของตลาดและตราสารหนี้
สำหรับการโอนเปลี่ยนหลักทรัพย์เพื่อค้าไปเป็นเงินลงทุนประเภทอื่น กิจการต้องใช้มูลค่า ยุติธรรม ณ วันที่โอนในการบันทึก บัญชีและรับรู้ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีกับมูลค่า ยุติธรรม ณ วันนั้นในงบ กำไรขาดทุนทันที
สำหรับการโอนเปลี่ยนเงินลงทุนประเภทอื่นไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า กิจการต้องใช้มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่โอนในการบันทึก บัญชีและรับรู้ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรม ณ วันนั้น พร้อมทั้งกลับรายการบัญชีทุกบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ เงินลงทุนที่โอนเปลี่ยนในงบกำไรขาดทุนทันที
สำหรับตราสารหนี้ที่โอนเปลี่ยนจากหลักทรัพย์เผื่อขายไปเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดกิจการต้องใช้มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่โอนในการบันทึกบัญชีและปรับปรุงส่วนเกินทุนหรือ ส่วนต่ำกว่าทุนที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุน ด้วยผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่โอน ส่วนที่เกินทุนหรือส่วนต่ำกว่าทุนดังกล่าวยังคงแสดงเป็น รายการแยกต่างหากในส่วนของเจ้าของและต้อง ตัดจำหน่ายตลอดอายุที่เหลืออยู่ของตราสารหนี้ ในลักษณะเดียวกับการตัด จำหน่ายส่วนเกินหรือส่วนลด ของตราสารหนี้โดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือวิธีอื่นที่ให้ผลไม่แตกต่างกัน
สำหรับการโอนเปลี่ยนตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดไปเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย กิจการต้องใช้ มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่โอน ในการบันทึกบัญชีและรับรู้ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่โอนเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของ เจ้าของ
สำหรับตราสารที่โอนเปลี่ยนจากหลักทรัพย์เผื่อขายไปเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือบริษัทย่อย กิจการต้องใช้มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่โอนในการบันทึกบัญชีพร้อมทั้งกลับรายการบัญชีทุกบัญชีที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์เผื่อขาย กิจการต้อง ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีเรื่องกำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด ข้อผิดพลาดที่สำคัญและการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี เมื่อกิจการต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่ใช้ (วิธีปรับย้อนหลัง)
สำหรับตราสารทุนที่โอนเปลี่ยนจากเงินลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมไปเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย กิจการต้องใช้มูลค่า ยุติธรรม ณ วันที่โอนในการบันทึกบัญชีและรับรู้ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชี กับมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่โอน เป็นรายการ แยกต่างหากในส่วนของเจ้าของ
2. การโอนเปลี่ยนเงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด
สำหรับการโอนเปลี่ยนเงินลงทุนทั่วไปที่จัดประเภทเป็นเงินลงทุนระยะยาวไปเป็นเงินลงทุนใน บริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม กิจการต้องใช้ราคาตามบัญชี ณ วันที่โอนในการบันทึกบัญชี และเมื่อกิจการ ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่ใช้ กิจการ ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน การบัญชี เรื่อง กำไรขาดทุน สุทธิสำหรับงวดข้อผิดพลาดที่สำคัญและการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี (วิธีปรับย้อนหลัง)
สำหรับการโอนเปลี่ยนเงินลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมไปเป็นเงินลงทุนทั่วไปที่จัดประเภท เป็นเงินลงทุนระยะยาว กิจการต้องใช้ราคาตามบัญชีที่เหลืออยู่เป็นราคาโอนเปลี่ยน หากเงินลงทุน ส่วนที่จำหน่ายไปมีราคาขายต่ำกว่าราคาตาม บัญชี กิจการต้องพิจารณา ว่าเงินลงทุนส่วนที่เหลืออยู่ ด้อยค่าหรือไม่เพื่อรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่า เมื่อกิจการต้อง เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่ใช้ กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีเรื่อง กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด ข้อผิด พลาดที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี (วิธีเปลี่ยนทันที)
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย
นโยบายการบัญชีสำหรับ
การกำหนดมูลค่าของเงินลงทุน
ข้อเท็จจริงที่ว่ากิจการใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการกำหนดต้นทุนของตราสารที่จำหน่าย
การบันทึกบัญชีการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนชั่วคราว
รายการที่มีนัยสำคัญที่รวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนดังต่อไปนี้
รายได้ดอกเบี้ย ค่าสิทธิและเงินปันผลที่เกิดจากเงินลงทุนชั่วคราวและเงินลงทุนระยะยาว จำนวนรวมของสิ่งตอบแทนจากการขายเงินลงทุนแต่ละประเภท จำนวนรวมของรายการกำไรและจำนวนรวมของรายการขาดทุนที่เกิดจากการโอนเปลี่ยน หลักทรัพย์เผื่อขายไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า จำนวนรวมของรายการกำไรและจำนวนรวมของรายการขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุนแต่ละประเภท จำนวนรวมของรายการกำไรและจำนวนรวมของรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นของหลักทรัพย์ เพื่อค้าและเงินลงทุนทั่วไป การเปลี่ยนแปลงในระหว่างงวดของส่วนเกินทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าและลักษณะของการเปลี่ยนแปลงนั้น
กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์เผื่อขายและตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด โดยแสดงแยกตราสารหนี้ที่จะถือจนครบ กำหนดเป็นแต่ละรายการ ดังต่อไปนี้
มูลค่ายุติธรรม
จำนวนรวมของรายการกำไรและจำนวนรวมของรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการ เปลี่ยนแปลงมูลค่า จำนวนรวมของราคาทุนตัดจำหน่ายของตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด - ตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดตามสัญญาโดยจัด กลุ่มตามระยะเวลาที่จะถึงกำหนด เช่น ภายใน 1 ปี ภายใน 2 -5 ปี หรือภายใน 6 - 10 ปี กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลสำหรับการขายหรือการโอนเปลี่ยนประเภทตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด ในหมายเหตุประกอบงบการ เงิน ดังต่อไปนี้
จำนวนต้นทุนตัดจำหน่ายของหลักทรัพย์ที่มีการขายหรือการโอนเปลี่ยน
จำนวนรวมของรายการกำไรหรือขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้น
จำนวนรวมของรายการกำไรหรือขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้น
สถานการณ์ที่ทำให้กิจการขายหรือโอนเปลี่ยนตราสารนั้น
กิจการอาจเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจงบการเงินได้ดียิ่งขึ้น
การวิเคราะห์เงินลงทุนระยะยาวตามประเภทของเงินลงทุน
การประมาณมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดโดยผู้บริหาร
วิธีที่ใช้ประมาณมูลค่าของเงินลงทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดที่นำมาเปรียบเทียบกับราคาทุน รายละเอียดเกี่ยวกับเงินลงทุนที่มีสัดส่วนอย่างเป็นสาระสำคัญต่อสินทรัพย์ของกิจการ