การบัญชีสำหรับกิจการอุตสาหกรรม
ในการดำเนินธุรกิจ จะมีลักษณะการดำเนินการ 3 ประเภท คือ
1. ธุรกิจให้บริการ
2. ธุรกิจซื้อขายสินค้า
3. ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย(กิจการอุตสาหกรรม)
กิจการอุตสาหกรรม คือ กิจการที่ซื้อวัตถุดิบแล้วนำมาผลิตตามกรรมวิธีหรือกระบวนการผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป เพื่อจัดจำหน่าย
กิจการที่ผลิตเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิต จำเป็นต้องมีการจัดทำบัญชีที่สามารถคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ ซึ่งวิธีการบัญชีที่จะนำข้อมูลที่บันทึกไว้จากบัญชีการเงินมาคำนวณหาต้นทุนผลิตภัณฑ์ จะต้องสัมพันธ์กับการคำนวณหาต้นทุนของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตสำเร็จในแต่ละงวด
สินค้าคงเหลือ ของกิจการอุตสาหกรรม ประกอบด้วย
1. วัตถุดิบ (RAW MATERIAL) หมายถึง วัตถุซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของสินค้า
สำเร็จรูปขั้นต้นที่ได้ถูกแปลงสภาพ โดยกรรมวิธีการผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบนี้จะเป็นสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดบัญชี และจะปรากฏในงบดุล ด้านสินทรัพย์หมุนเวียน
2. งานระหว่างทำ (WORK IN PROCESS) หมายถึง วัตถุดิบที่อยู่ในระหว่าง
กระบวนการผลิตซึ่งยังผ่านกระบวนการผลิตไม่ครบถ้วน เป็นงานที่อยู่ระหว่างการผลิต หรือสินค้าระหว่างผลิต ซึ่งงานที่อยู่ระหว่างการผลิต ยังไม่ถือเป็นสินค้าสำเร็จรูป แต่จะถือเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวดของกิจการ จะปรากฏในงบดุลด้านสินทรัพย์หมุนเวียน
3. สินค้าสำเร็จรูป (FINISHED GOODS) หมายถึง วัตถุดิบที่ได้ผ่านกรรมวิธีการ
ผลิตครบถ้วนตามกระบวนการผลิตและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขายได้ ณ วันสิ้นงวดบัญชี จะเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวด จะปรากฏในงบดุล ด้านสินทรัพย์หมุนเวียน
4. วัสดุโรงงาน (FACTORY SUPPLIES) วัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการแปรรูป
วัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น ด้ายที่ใช้เย็บเสื้อ ตะปูที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ กาวที่ใช้ทำกล่องกระดาษเป็นต้น
ตัวอย่าง การแสดง บัญชีสินค้าคงเหลือ ในงบดุล
บริษัท........จำกัด
งบดุล(บางส่วน)
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสด xx
เงินฝากสถาบันการเงิน xx
ลูกหนี้การค้า xx
สินค้าคงเหลือ :-
- วัตถุดิบ xx
- งานระหว่างทำ (สินค้าระหว่างผลิต) xx
- สินค้าสำเร็จรูป xx
- วัสดุโรงงาน xx xx
ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (COST OF GOODS MANUFACTURED) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. วัตถุดิบทางตรง (DIRECT MATERIALS) DM
2. แรงงานทางตรง (DIRECT LABOR) DL
3. ค่าใช้จ่ายในการผลิต/โสหุ้ยการผลิต (OVERHEAD) OH
วัตถุดิบทางตรง (DIRECT MATERIALS) หมายถึง สิ่งที่กิจการอุตสาหกรรม นำมาประกอบหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือวิธีการให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จรูป เพื่อนำออกจำหน่าย เช่นผ้า ผลิตเสื้อหรือกางเกง น้ำตาลและแป้ง ผลิตขนมเค้ก วัตถุดิบทางตรง จึงถือเป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญในการผลิตสินค้านั้นๆและสามารถตีราคาได้ จับต้องได้ มีการนำออกมาใช้ในการผลิตด้วยจำนวนที่แน่นอน มีราคาในอัตราส่วนที่สูงต่อต้นทุนในการผลิต
แรงงานทางตรง (DIRECT LABOR) หมายถึง ค่าจ้างแรงงานที่จ่ายให้คนงานหรือพนักงานที่ทำหน้าที่ในการประกอบหรือเปลี่ยนสภาพจากวัตถุดิบมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยตรง เป็นต้นทุนค่าแรงงานที่เป็นส่วนสำคัญต่อกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูปนั้นๆ
ค่าใช้จ่ายในการผลิต/โสหุ้ยการผลิต (OVERHEAD) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายไปในกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป นอกเหนือจาก ค่าวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง เช่น วัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม วัสดุโรงงานใช้ไป ค่าไฟฟ้าโรงงาน ค่าเช่าโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าสิทธิบัตรตัดบัญชี
ในกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ต้นทุนผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิดนั้น ในกรณีของ ค่าแรงงานทางตรง และ ค่าใช้จ่ายในการผลิต จะถือว่าเป็น ต้นทุนแปลงสภาพ (Conversion Cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เพื่อเปลี่ยนสภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป
ระบบบัญชีของกิจการอุตสาหกรรม
กิจการที่นำวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป จะแบ่งการบันทึกบัญชีเป็น 2 ระบบ คือ
1. ระบบต้นทุนงานสั่งทำ (JOP ORDER COSTING SYSTEM)
2. ระบบต้นทุนผลิตช่วง (PROCESS COSTING SYSTEM)
ระบบต้นทุนงานสั่งทำ (JOP ORDER COSTING SYSTEM)
เป็นระบบบัญชีที่แยกต้นทุนการผลิตออกเป็นงาน เป็น Lot ซึ่งมีข้อแตกต่างในการผลิตแต่ละงานไม่ว่าจะเป็น จำนวนที่ผลิต รูปแบบ ขนาดที่ต้องการ หรือ วัตถุดิบที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต การคำนวณต้นทุนในระบบนี้ จะแยกการบันทึกต้นทุนออกเป็นงานๆ จนกว่างานนั้นจะผลิตเสร็จสมบูรณ์
เอกสารที่ใช้กับระบบต้นทุนงานสั่งทำ
1. ใบต้นทุนงานสั่งทำ (JOB ORDER COST SHEET) เป็นเอกสารที่ทำขึ้นในแต่ละงาน
เพื่อทำการรวบรวมต้นทุนในการผลิต คือ ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรงงาน ต้นทุนโสหุ้ย
การผลิต
2. ใบเบิกวัตถุดิบ เป็นเอกสารเพื่อควบคุมการเบิกวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแต่ละครั้ง
3. บัตรลงเวลาค่าแรงงาน เป็นเอกสารระบุระยะเวลาในการทำงาน อัตราค่าแรงงาน ของ
พนักงานที่ทำหน้าที่ผลิตสินค้า
ระบบต้นทุนผลิตช่วง (PROCESS COSTING SYSTEM)
เป็นระบบต้นทุนการผลิต ที่ช่วงการผลิตในแต่ละช่วงจะต้องมีการผลิตติดต่อไปเรื่อยๆ จากแผนกหนึ่งจะต้องโอนไปผลิตอีกแผนกหนึ่ง จนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ปกติแล้วกิจการที่มีการผลิตเป็นต้นทุนช่วงนั้น มักจะมีการผลิตสินค้าที่มีลักษณะแบบเดียวกันและมีจำนวนมาก การผลิตจะเป็นการผลิตตลอดทั้งปี เช่น โรงงานผลิตคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานผลิตรองเท้า โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ฯลฯ
หลักการบันทึกบัญชี ในสมุดรายวันทั่วไป
กิจการอุตสาหกรรม โดยทั่วไป มีวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าได้ 2 วิธี เช่นเดียวกับกิจการซื้อขายสินค้า คือ
1. วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวด
2. วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง
วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวด
1. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ วัตถุดิบ
- เมื่อซื้อวัตถุดิบ
Dr. ซื้อวัตถุดิบ xx
Cr. เงินสด/เจ้าหนี้การค้า xx
- เมื่อส่งคืนวัตถุดิบ
Dr. เงินสด/เจ้าหนี้การค้า xx
Cr. ส่งคืนวัตถุดิบ xx
- เมื่อเบิกวัตถุดิบทางตรง ไปใช้ในการผลิต
ไม่มีการบันทึกบัญชี (เก็บข้อมูลไว้ในบัญชีย่อย)
- เมื่อมีการซื้อวัสดุโรงงาน
Dr. วัสดุโรงงาน xx
Cr. เงินสด/เจ้าหนี้ xx
- เมื่อเบิก วัตถุดิบทางอ้อม หรือ วัสดุโรงงานไปใช้ในการผลิต
ไม่มีการบันทึกบัญชี (เก็บข้อมูลไว้ในบัญชีย่อย)
- เมื่อมีการจ่ายค่าขนส่งวัตถุดิบที่ซื้อมา
Dr. ค่าขนส่งวัตถุดิบ xx
Cr. เงินสด xx
- เมื่อมีการจ่ายชำระหนี้และได้รับส่วนลด
Dr. เจ้าหนี้การค้า xx
Cr. เงินสด xx
ส่วนลดรับ xx
2. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน
- เมื่อมีการคิดค่าแรงงาน
Dr. ค่าแรงงาน xx
Cr. ค่าแรงงานค้างจ่าย xx
- เมื่อจำแนกค่าแรงงาน
Dr. ค่าแรงงานทางตรง xx
ค่าแรงงานทางอ้อม xx
Cr. ค่าแรงงาน xx
- เมื่อจ่ายค่าแรงงาน
Dr. ค่าแรงงานค้างจ่าย xx
Cr. เงินสด xx
3. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายในการผลิต
- เมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายในการผลิต
Dr. ค่าเช่าโรงงาน xx
ค่าบำรุงรักษา xx
ค่าเบี้ยประกันภัยโงงาน xx
Cr. เงินสด/เงินฝากสถาบันการเงิน xx
บัญชีปรับปรุงต่างๆ(ถ้ามี) xx
- เมื่อคิดค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร
Dr. ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร xx
Cr. ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องจักร xx
4. เมื่อโอนปิดบัญชีต่างๆเข้าบัญชีต้นทุนการผลิต
Dr. ต้นทุนการผลิต xx
Cr. วัตถุดิบ(ต้นงวด) xx
งานระหว่างทำ(ต้นงวด) xx
ซื้อวัตถุดิบ(ระหว่างงวดทั้งหมด) xx
ค่าแรงงานทางตรง xx
ค่าแรงงานทางอ้อม xx
ค่าใช้จ่ายต่างๆในโรงงาน xx
5. เมื่อตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด
Dr. วัตถุดิบทางตรง (ปลายงวด) xx
งานระหว่างทำ (ปลายงวด) xx
Cr. ต้นทุนการผลิต xx
วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง
1. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ วัตถุดิบ
- เมื่อซื้อวัตถุดิบ
Dr. วัตถุดิบ xx
Cr. เงินสด/เจ้าหนี้การค้า xx
- เมื่อส่งคืนวัตถุดิบ
Dr. เงินสด/เจ้าหนี้การค้า xx
Cr. วัตถุดิบ xx
- เมื่อเบิกวัตถุดิบทางตรง และวัตถุดิบทางอ้อม ไปใช้ในการผลิต
Dr. งานระหว่างทำ xx
ค่าใช้จ่ายในการผลิต xx
Cr. วัตถุดิบ xx
- เมื่อมีการซื้อวัสดุโรงงาน
Dr. วัสดุโรงงาน xx
Cr. เงินสด/เจ้าหนี้ xx
- เมื่อเบิก วัสดุโรงงานไปใช้ในการผลิต
Dr. ค่าใช้จ่ายในการผลิต xx
Cr. วัสดุโรงงาน xx
- เมื่อมีการจ่ายค่าขนส่งวัตถุดิบที่ซื้อมา
Dr. วัตถุดิบ xx
Cr. เงินสด xx
- เมื่อมีการจ่ายชำระหนี้และได้รับส่วนลด
Dr. เจ้าหนี้การค้า xx
Cr. เงินสด xx
ส่วนลดรับ xx
2. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน
- เมื่อมีการคิดค่าแรงงาน
Dr. ค่าแรงงาน xx
Cr. ค่าแรงงานค้างจ่าย xx
- เมื่อจำแนกค่าแรงงาน
Dr. งานระหว่างทำ xx
ค่าใช้จ่ายในการผลิต xx
Cr. ค่าแรงงาน xx
- เมื่อจ่ายค่าแรงงาน
Dr. ค่าแรงงานค้างจ่าย xx
Cr. เงินสด xx
3. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายในการผลิต
- เมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายในการผลิต เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าไฟฟ้าโรงงาน ค่าเบี้ยประกันภัย
โรงงาน ค่าบำรุงรักษา ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร
Dr. ค่าใช้จ่ายในการผลิต xx
Cr. เงินสด/เงินฝากสถาบันการเงิน xx
- เมื่อคิดค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร
Dr. ค่าใช้จ่ายในการผลิต xx
Cr. ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องจักร xx
4. เมื่อโอนค่าใช้จ่ายในการผลิต เข้า บัญชีงานระหว่างทำ
Dr. งานระหว่างทำ xx
Cr. ค่าใช้จ่ายในการผลิต xx
5. โอนงานระหว่างทำที่ผลิตเสร็จ เข้า บัญชีสินค้าสำเร็จรูป
Dr. สินค้าสำเร็จรูป xx
Cr. งานระหว่างทำ xx
งบการเงิน ของกิจการอุตสาหกรรม ที่สำคัญ มีดังนี้
1. งบต้นทุนการผลิต (STATEMENT OF COST OF GOODS MANUFACTURED)
2. งบกำไรขาดทุน (INCOME STATEMENT)
3. งบดุล (BALANCE SHEET)
ตัวอย่าง งบการเงิน
บริษัท…….จำกัด
งบต้นทุนการผลิต
สำหรับระยะเวลา… สิ้นสุดวันที่ ……………..
วัตถุดิบทางตรงใช้ไป :-
วัตถุดิบคงเหลือ ต้นงวด xx
บวก ซื้อวัตถุดิบสุทธิ:-
ซื้อวัตถุดิบ xx
บวก ค่าขนส่งเข้าวัตถุดิบ xx
….. xx
หัก ส่งคืนวัตถุดิบ xx xx
วัตถุดิบที่มีไว้ใช้เพื่อการผลิต xx
หัก วัตถุดิบคงเหลือ ปลายงวด xx xxx
ค่าแรงงานทางตรง xxx
ค่าใช้จ่ายในการผลิต / โสหุ้ยการผลิต :-
ค่าแรงงานทางอ้อม xx
เงินเดือนผู้ควบคุมงาน xx
วัสดุโรงงานใช้ไป xx
ค่าไฟฟ้าโรงงาน xx
ค่าเบี้ยประกันภัยโรงงาน xx
ค่าเสื่อมราคาอาคารโรงงาน xx
ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร xx
ค่าน้ำประปาโรงงาน xx
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดโรงงาน xx xxx
ต้นทุนการผลิตระหว่างงวด xxx
บวก สินค้าระหว่างผลิต ต้นงวด xxx
……. xxx
หัก สินค้าระหว่างผลิต ปลายงวด xxx
ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป xxx
บริษัท…….จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับระยะเวลา… สิ้นสุดวันที่ ……………..
ขายสุทธิ :-
ขาย xx
หัก รับคืนและส่วนลด xx xx
หัก ต้นทุนขาย :-
สินค้าสำเร็จรูป ต้นงวด xx
บวก ต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป xx
สินค้าที่มีไว้เพื่อขาย xx
หัก สินค้าสำเร็จรูป ปลายงวด xx xx
กำไรขั้นต้น xx
หัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน :-
ค่าใช้จ่ายในการขาย
เงินเดือนแผนกขาย xx
ค่าโฆษณา xx
ค่าขนส่งออก xx
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดแผนกขาย xx xx
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร xx
เงินเดือนสำนักงาน xx
วัสดุสำนักงานใช้ไป xx
หนี้สงสัยจะสูญ xx
ค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงาน xx
ค่าสาธารณูปโภค xx
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดสำนักงาน xx xx xx
กำไร(ขาดทุน)จากการดำเนินงาน xx
หัก ภาษีเงินได้นิติบุคคล xx
กำไรสุทธิ xx
บริษัท…….จำกัด
งบดุล
ณ วันที่…………………..
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน :-
เงินสด xx
เงินฝากสาบันการเงิน xx
ลูกหนี้การค้า xx
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xx xx
สินค้าคงเหลือ :-
สินค้าสำเร็จรูป xx
สินค้าระหว่างผลิต xx
วัตถุดิบ xx
วัสดุโรงงาน xx xx
วัสดุสำนักงาน xx
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า xx xxx
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน :-
ที่ดิน xx
อาคาร xx
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม xx xx
เครื่องจักร xx
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม xx xx
เครื่องใช้สำนักงาน xx
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม xx xx
รถยนต์ xx
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม xx xx
รวมสินทรัพย์ xxx
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน :-
เจ้าหนี้การค้า xx
ภาษีเงินได้ค้างจ่าย xx
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย xx xx
หนี้สินไม่หมุนเวียน :-
เงินกู้ระยะยาว xx xx
ส่วนของผู้ถือหุ้น :-
หุ้นสามัญ xx
ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ xx xx
กำไรสะสม :-
กำไรสะสม จัดสรรแล้ว xx
กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร xx xx
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น xxx
รายการปิดบัญชี (CLOSING ENTRIES) กรณีกิจการใช้ระบบสินค้า ณ วันสิ้นงวด
สมุดรายวันทั่วไป
2550
ธ.ค. 31 เดบิต ต้นทุนการผลิต xx
ส่งคืนวัตถุดิบ xx
เครดิต วัตถุดิบ ต้นงวด xx
งานระหว่างทำ ต้นงวด xx
ซื้อวัตถุดิบ xx
ค่าขนส่งวัตถุดิบ xx
ค่าแรงงานทางตรง xx
ค่าแรงงานทางอ้อม xx
เงินเดือนผู้ควบคุมโรงงาน xx
วัสดุโรงงานใช้ไป xx
ค่าไฟฟ้าโรงงาน xx
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดโรงงาน xx
ค่าเบี้ยประกันภัยโรงงาน xx
ค่าเสื่อมราคาอาคารโรงงาน xx
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร xx
ค่าน้ำประปาโรงงาน xx
(โอนปิดบัญชีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตสินค้า
เข้า บัญชี ต้นทุนการผลิต)
เดบิต งานระหว่างทำ (ปลายงวด) xx
วัตถุดิบ ปลายงวด xx
เครดิต ต้นทุนการผลิต xx
(บันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวด)
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต ต้นทุนการผลิต xx
(โอนปิดต้นทุนการผลิต เข้า บัญชีกำไรขาดทุน)
เดบิต ขาย xx
สินค้าสำเร็จรูป ปลายงวด xx
เครดิต กำไรขาดทุน xx
(โอนปิดบัญชีขายและบันทึกสินค้าสำเร็จรูปปลายงวด)
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต สินค้าสำเร็จรูป ต้นงวด xx
รับคืนสินค้า xx
เงินเดือนแผนกขาย xx
ค่าโฆษณา xx
ค่าขนส่งออก xx
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดแผนกขาย xx
เงินเดือนสำนักงาน xx
วัสดุสำนักงานใช้ไป xx
หนี้สงสัยจะสูญ xx
ค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงาน xx
(โอนปิดบัญชีค่าใช้จ่ายต่างๆเข้าบัญชีกำไรขาดทุน)
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต กำไรสะสม xx
(โอนปิดบัญชีกำไรขาดทุน เข้า บัญชีกำไรสะสม)
รวบรวมโดย จรัส อินทร์คง