ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี ภาษีค่าสิทธิ - จากสรรพากรสาส์น
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใช้ 1 มกราคม 2554 - 31 ธันวาคม 2566)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม)
bulletคำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ภาษีค่าสิทธิ - จากสรรพากรสาส์น

จากสรรพากรสาส์น ชัยสิทธิ์-ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม

ภาษีค่าสิทธิ (1)

      ค่าสิทธิ (Royalty) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย
     
ค่าสิทธิที่จะต้องเสียภาษีเงินได้นั้น ผู้จ่ายค่าสิทธิมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายค่าสิทธิ ส่วนจะต้องหักในอัตราเท่าใดนั้น ย่อมแล้วแต่ว่าผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล
     
หากผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นผู้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้จ่ายค่าสิทธิจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (5% 10% 20% 30% 37% แล้วแต่ยอดเงินค่าสิทธิที่จ่าย) เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้หักในอัตรา 15% ของยอดเงินค่าสิทธิที่จ่าย (ประมวล-รัษฎากร มาตรา 50(2))
 
แต่ถ้าผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายค่าสิทธิซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นจะต้องหักภาษี    ที่จ่าย ในอัตรา 3% เว้นแต่เป็นการจ่ายค่าสิทธิให้แก่มูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่องค์การสาธารณ-กุศลตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้หักในอัตรา 10% (คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ข้อ 3/2 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.
101/2544)
     
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ภาษีสุดท้าย (Final Tax) แต่ถือเป็นภาษีล่วงหน้า (Advance Tax) ผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิจึงมีหน้าที่นำเงินค่าสิทธิที่ได้รับไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้วแต่กรณี เป็นเงินภาษีเท่าใด ให้นำภาษีค่าสิทธิหัก ณ ที่จ่าย มาเครดิต ผลต่างก็คือภาษีที่ต้องเสียเพิ่มหรือมีสิทธิได้รับคืน แล้วแต่กรณี

     
มีการหักภาษีค่าสิทธิ ณ ที่จ่ายอยู่กรณีหนึ่งที่ภาษีค่าสิทธิหัก ณ ที่จ่าย นั้น ถือเป็นภาษีสุดท้าย คือกรณีที่ผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย กรณีนี้ผู้จ่ายค่าสิทธิไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70
     
อย่างไรก็ดี ถ้าผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็น  ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อน (Double Taxation Agreement) กับประเทศไทย ก็อาจได้รับการลดอัตราภาษี กล่าวคือ หากผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ 1. เดนมาร์ก 2. เยอรมนี 3. ฝรั่งเศส 4. เนเธอร์แลนด์ 5. เบลเยี่ยม 6.อิตาลี 7. สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ 8. โปแลนด์ 9. สาธารณรัฐเชค 10. สวิตเซอร์แลนด์ 11. อิสราเอล 12. สหรัฐอเมริกา 13. มอริเชียส 14. สเปน 15. ไซปรัส 16.บัลแกเรีย และ17. ฮ่องกง และเงินค่าสิทธินั้นเป็นค่าตอบแทนการใช้สิทธิ ในงานวรรณกรรม ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ ให้ลดอัตราภาษีจาก 15% เหลือเพียง
5%
     
นอกจากนี้ อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศแคนาดาได้ลดอัตรา  ภาษีค่าสิทธิเหลือ 5% ถ้าเป็นการจ่ายค่าสิทธิ  การผลิต ออกแบบ วรรณกรรม ละคร ดนตรี งานศิลปะและอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศปากีสถานและอินโดนีเซีย ให้ลดอัตราภาษีค่าสิทธิเหลือ 10% ถ้าเป็นการจ่ายค่าสิทธิในงานวรรณกรรม ศิลปกรรมหรือวิทยาศาสตร์

     
อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐเชคและฮ่องกงก็ลดอัตราภาษีเหลือ 10% หากเป็นการจ่ายค่าสิทธิประเภทสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หุ่นจำลอง แผนผังหรือกรรมวิธีลับใดๆ และอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็เช่นเดียวกัน ค่าสิทธิประเภทเครื่องหมายการค้า แบบ หรือหุ่นจำลอง แผนผัง สูตรลับ หรือกรรมวิธีลับใดๆ ลดอัตราภาษีเหลือ 10%
     
อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศนิวซีแลนด์ ค่าลิขสิทธิ์และค่าสิทธิในการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมหรือวิทยาศาสตร์ และฟิล์ม เทป วิทยุ โทรทัศน์การส่งหรือรับสัญญาณภาพหรือเสียงสาธารณะ ก็ลดอัตราภาษีเหลือ 10% เช่นเดียวกัน

 
อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศไซปรัส ค่าสิทธิในการใช้อุปกรณ์หรือ ข้อสนเทศเกี่ยวกับอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมหรือวิทยาศาสตร์ ลดอัตราภาษีเหลือ 10% ส่วนอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกาและสเปน ค่าสิทธิในการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมหรือวิทยาศาสตร์ ลดอัตราภาษีเหลือ 8% 
     
ค่าสิทธินอกจากจะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้แล้ว ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือ ผู้รับค่าสิทธิที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้จ่ายค่าสิทธิพร้อมออกใบกำกับภาษีให้ด้วย แต่ถ้าผู้รับค่าสิทธิมิได้เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่า-เพิ่มในประเทศไทย และได้รับเงินค่าสิทธิจากผู้จ่ายในประเทศไทย ผู้จ่ายก็มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ของค่าสิทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6

      ความหมายของค่าสิทธิ
      ประมวลรัษฎากรมิได้ให้ความหมายของ ค่าสิทธิไว้ แต่ ค่าสิทธิตามที่ปรากฏในอนุสัญญาภาษีซ้อนโดยทั่วไป หมายถึงค่าตอบ แทนในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 3 กรณีดังต่อไปนี้
     1.
ค่าตอบแทนเพื่อการใช้หรือสิทธิ ในการใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ (รวมทั้งฟิล์มภาพยนตร์ หรือเทปสำหรับการเผยแพร่ทางวิทยุหรือโทรทัศน์ด้วย) สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แบบหรือหุ่น
 
ค่าสิทธิในกรณีนี้คือค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา1 ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing Agreement) อนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยทำไว้กับประเทศต่างๆ จะถือว่าค่าตอบแทนในกรณีนี้เป็นค่าสิทธิ
      2.
ค่าตอบแทนเพื่อการใช้หรือสิทธิในการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ 
     
ค่าตอบแทนในกรณีนี้ในความเป็นจริงเป็นค่าเช่าอุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมหรือวิทยาศาสตร์ เช่น ค่าเช่าเครื่องจักร ตามปกติถือเป็นเงินได้ประเภทกำไรจากธุรกิจ (Business Profit) ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน ฉะนั้น หากผู้ให้เช่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยและมิได้มีสถานประกอบการถาวร (Permanent Establishment) ในประเทศไทยแล้ว ประเทศไทยก็เก็บภาษีไม่ได้ เงินค่าเช่าดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษี ผู้จ่ายค่าเช่าจึงไม่ต้องหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อย่างไรก็ดี อนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับประเทศส่วนใหญ่ รวม  35 ประเทศ ได้แก่ ปากีสถาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ แคนาดา ออสเตรเลีย สวีเดน เวียดนาม ฮังการี ศรีลังกา สาธารณรัฐ-เชค สวิตเซอร์แลนด์ อิสราเอล แอฟริกาใต้ โรมาเนีย สหรัฐอเมริกา ลาว ลักเซมเบอร์ก เนปาล สเปน สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไซปรัส บัลแกเรีย อาร์เมเนีย บาห์เรน โอมาน สโลเวเนีย ยูเครน และฮ่องกง ถือว่าค่าเช่า ดังกล่าวเป็นค่าสิทธิ ไม่ถือเป็นกำไรจากธุรกิจ ฉะนั้น แม้ผู้ให้เช่าจะไม่มีสถานประกอบการอยู่ ในประเทศไทย ประเทศไทยก็เก็บภาษีได้ ผู้จ่ายค่าเช่าจึงต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับการลดอัตราภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อนดังกล่าวมาแล้ว

     
อย่างไรก็ดี อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่นไม่ถือว่าค่าตอบแทนเพื่อการใช้หรือสิทธิในการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมหรือวิทยาศาสตร์เป็นค่าสิทธิ  ขณะเดียวกันก็ไม่ถือเป็นกำไรจากธุรกิจ เพราะข้อ 7 วรรค 8 ของอนุสัญญาฯ ไม่ให้ถือค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นกำไรจากธุรกิจ แต่ให้ถือเป็นเงินได้ที่มิได้เกี่ยวข้องกับเงินได้ในข้อก่อนๆ ของอนุสัญญาฯ ประเทศแหล่งเงินได้จึงมีสิทธิเก็บภาษีได้ตามข้อ 20 วรรค 3 ของอนุสัญญาฯ
 
ตัวอย่าง
      บริษัท ก. ซึ่งอยู่ในประเทศไทยทำสัญญาเช่าเครื่องจักรจากบริษัท J ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแหล่งเงินได้ย่อมมีสิทธิเก็บภาษีได้ บริษัท ก. จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งในอัตราร้อยละ 15 ของค่าเช่าที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70
 3.
ค่าตอบแทนเพื่อข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรืออาจเรียกว่า ค่าวิทยาการ (Know-how)” ก็ได้

ค่าวิทยาการหมายถึงค่าตอบแทนที่จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศเกี่ยวกับความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์พิเศษทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งยังมิได้เปิดเผยต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ผู้ให้วิทยาการไม่ต้องลง มือดำเนินการใดๆ และไม่ต้องรับประกันว่าความรู้ความชำนาญหรือประสบการณ์พิเศษของตนจะให้ผลสำเร็จตามความประสงค์ของผู้จ่ายเงิน
     
ตัวอย่าง
     
บริษัท ก. ประกอบกิจการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันอันเป็นกิจการที่ต้องใช้เทคนิคและความรู้ในเชิงวิทยาการชั้นสูงโดยเฉพาะ แต่บริษัท ก. มีขีดความสามารถในวิทยาการด้านนี้น้อย จึงทำสัญญากับบริษัท ข. ซึ่งเป็นศูนย์กลางข้อมูลในทางวิทยาศาสตร์ด้านขุดเจาะน้ำมัน เพื่อให้ข้อมูลและคำแนะนำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจขุดเจาะน้ำมันแก่บริษัท ก. โดยบริษัท ก. ต้องจ่ายค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ แต่ไม่มีสิทธินำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวไปเปิดเผย อันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งเรียกขานกันในปัจจุบันว่า สัญญาให้ใช้สิทธิสิ่งที่บริษัท ก. ได้มานั้น จึงเป็นข้อสนเทศเกี่ยวกับความรู้ความชำนาญ หรือประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสิทธิในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ค่าตอบแทนที่บริษัท ก. จ่ายให้บริษัท ข. จึงเป็นค่าสิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อน บริษัท ก. จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 (คำพิพากษาฎีกาที่ 4043/2535 (บริษัทไทยเซลล์เอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น จำกัด โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย))
 
ค่าตอบแทนในกรณีที่ 3 นี้ อนุสัญญาภาษี-ซ้อนที่ประเทศไทยทำไว้กับประเทศต่างๆ จะถือเป็นค่าสิทธิ
 
ข้อพิจารณา
     
การจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาอนุญาต ให้ใช้สิทธิหรือสัญญาให้ใช้สิทธิ (Licensing Agreement) นั้น อนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยทำไว้กับประเทศต่างๆ ถือเป็นค่าสิทธิ แต่การจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสัญญาซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญานั้น อนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยทำไว้กับบางประเทศ ไม่ถือเป็นค่าสิทธิ เช่น อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก ฯลฯ จะถือเป็นเงินได้ประเภทผลได้จากทุน (Capital Gain) ประเทศ ผู้ซื้อจะเก็บภาษีได้หรือไม่ย่อมแล้วแต่ข้อตกลงในอนุสัญญา เช่น อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับเนเธอร์แลนด์ ประเทศผู้ซื้อเก็บภาษีไม่ได้ ประเทศผู้ขายเท่านั้นที่เก็บภาษีได้ (ข้อ 14 วรรค 4) แต่ถ้าเป็นอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศผู้ซื้อเก็บภาษีได้ (ข้อ 13 วรรค 4)
     
อย่างไรก็ดี มีอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยทำไว้กับบางประเทศ ถือว่าค่าตอบแทนการขายหรือการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นค่าสิทธิ เช่น อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ปากีสถาน ฟินแลนด์ แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก มอริเชียส แอฟริกาใต้ ประเทศผู้ซื้อจึงเก็บภาษีได้ กรณีผู้ซื้อเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย จึงต้องหักภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่จ่าย เว้นแต่อนุสัญญาบางฉบับกำหนดให้เสียภาษีในอัตราต่ำกว่านี้ ก็ให้หักภาษีในอัตรานั้น เช่น อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับปากีสถาน กำหนดให้เสียเพียงร้อยละ 10 หากเป็นค่าตอบแทนเพื่อการจำหน่ายงานวรรณกรรม ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ ก็ให้หักภาษีในอัตรา ดังกล่าว หรืออนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับเยอรมนี กำหนดให้เสียเพียงร้อยละ 5 ถ้าเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดลิขสิทธิ์ ก็ให้หักภาษีในอัตราดังกล่าว

     
ตามที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าความหมายของค่าสิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับประเทศต่างๆ เหมือนกันเฉพาะความหมายที่ 1 และที่ 3 ส่วนความหมายที่ 2 นั้น  ยังมีบางอนุสัญญาไม่ถือเป็นค่าสิทธิ และกรณีการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญานั้น อนุสัญญาภาษีซ้อนบางฉบับก็ถือเป็นค่าสิทธิ แต่บางฉบับก็ไม่ถือเป็นค่าสิทธิ แต่ถือเป็นผลได้จากทุน


ภาษีค่าสิทธิ (2)

การนำความหมายของค่าสิทธิตามอนุสัญญาภาษี-ซ้อนมาใช้บังคับ
 
ความหมายของค่าสิทธิตามอนุสัญญา ภาษีซ้อนจะนำมาใช้บังคับได้หรือไม่? ย่อมแล้วแต่ว่าแหล่งเงินได้จากค่าสิทธิเกิดขึ้นในประเทศ  คู่สัญญาตามอนุสัญญาภาษีซ้อนหรือไม่ และผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศคู่สัญญาหรือไม่ หากแหล่งเงินได้จากค่าสิทธิเกิดขึ้นในประเทศคู่สัญญา และผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศคู่สัญญาแล้ว ก็ต้องใช้ความหมายของค่าสิทธิตามที่ปรากฏในอนุสัญญาภาษีซ้อน
 
ตัวอย่าง
 
บริษัท ก. ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทย ได้ทำสัญญาเช่าเครื่องจักรจากบริษัท S ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ และทำสัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์จากบริษัท A ซึ่งมีถิ่นที่อยู่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย บริษัทผู้ให้เช่าทั้งสองต่างมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย กรณีนี้แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งเป็นคู่สัญญาในอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์และออสเตรเลีย ดังนั้น บริษัท  ผู้ให้เช่าทั้งสองจะต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทยหรือไม่ จึงต้องนำความหมายของค่าสิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์และออสเตรเลียมาพิจารณาตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์ไม่ถือว่าค่าตอบแทนเพื่อการใช้หรือสิทธิในการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์
 
เป็นค่าสิทธิ แต่ถือเป็นกำไรจากธุรกิจ เมื่อบริษัท S ผู้ให้เช่าไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย ประเทศไทยก็เก็บภาษีไม่ได้ บริษัท S จึงไม่ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย บริษัท ก. ผู้จ่ายค่าเช่าจึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 แต่อย่างใด แต่กรณีอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลีย ถือว่าค่าตอบแทนเพื่อการใช้หรือสิทธิในการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม    พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ เป็นค่าสิทธิ ประเทศไทยจึงมีสิทธิเก็บภาษีได้แม้บริษัท A ผู้ ให้เช่าจะไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยก็ตาม บริษัท A จึงต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย บริษัท ก. ผู้จ่ายค่าเช่า จึงต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งในอัตราร้อยละ 15 ของค่าเช่าตามประมวลรัษฎากร มาตรา
70
 
แต่ถ้าแหล่งเงินได้จากค่าสิทธิมิได้เกิดขึ้นในประเทศคู่สัญญาอนุสัญญาภาษีซ้อน เช่น เกิดขึ้นในประเทศบราซิลเนื่องจากผู้มีเงินได้ในประเทศไทยเป็นผู้อนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา หรือแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทยเนื่องจากผู้ขออนุญาตใช้ทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ในประเทศไทย แต่ผู้อนุญาตเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศบราซิล ผู้เขียนก็มีความเห็นว่าน่าจะนำความหมายของค่าสิทธิในความหมายที่ 1 และที่ 3 มาใช้ได้เท่านั้น เพราะเป็นความหมายสากลของคำว่า ค่าสิทธิส่วนความหมายที่ 2 น่าจะนำมาใช้ไม่ได้ ฉะนั้น ความหมายที่ 1 และที่ 3 จึงนำมาเป็นความหมายของค่าสิทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) ได้

 
ปัญหามีว่า ถ้าเป็นกรณีซื้อทรัพย์สินทางปัญญาจากผู้ขายซึ่งมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย เช่น  ก. ซึ่งอยู่ในประเทศไทย ได้ซื้อสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่งจากมิสเตอร์ เอ ผู้ทรงสิทธิบัตรในประเทศบราซิล หรือถ้าเป็นกรณีที่มีการโอนขายทรัพย์สินทางปัญญากันในประเทศไทย เช่น ก. ซึ่งอยู่ในประเทศไทยได้โอนขายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่งให้แก่ ข. ผู้ซื้อในประเทศไทย1 ดังนี้ เงินได้จากการโอนขายทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสองกรณีจะถือเป็นเงินได้ประเภทใด? ก. ผู้ซื้อจะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่
 
ผู้เขียนเห็นว่า การได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาต้องมีการลงทุนทั้งด้านสติปัญญา ความคิด เครื่องไม้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และทรัพย์สินทางปัญญาบางอย่าง เช่น การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก กว่าที่จะสร้างสรรค์สำเร็จ หากไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเมื่อมีการโอนขายทรัพย์สินทางปัญญาย่อมจะไม่เป็นธรรมแก่ผู้โอนขาย ทำให้ผู้โอนขายต้องเสียภาษีมาก เป็นเหตุให้ลดแรงจูงใจที่จะสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา เงินได้จากการโอนขายทรัพย์สินทางปัญญา จึงควรจะหักค่าใช้จ่ายได้  เมื่อเงินได้ประเภทที่ 3 หรือเงินได้ตามมาตรา 40(3) ประมวลรัษฎากร มาตรา 42 ตรี ไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่าย เว้นแต่เงินได้ที่เป็นค่าลิขสิทธิ์ จะยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ก็ไม่ควรถือว่าเงินได้จากการโอนขายทรัพย์สินทางปัญญา เป็นเงินได้ประเภทที่ 3 ควรจะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือเงินได้ตามมาตรา 40(8) มากกว่า ซึ่งจะหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนด  ค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ตามปัญหาการจ่ายเงินค่าโอนขายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ทั้งสอง กรณี ผู้ซื้อไม่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด เพราะกรณีที่จะต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ตามบทกฎหมายดังกล่าว เงินได้เท่าที่จ่ายนั้น จะต้องเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(3) เมื่อเงินได้จากการโอนขายทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ผู้ซื้อจึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) และไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา    ร้อยละ 3 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ข้อ 12/1 เพราะเป็นการขายสินค้าไม่มี รูปร่าง มิใช่การให้บริการ ทั้งนี้ แม้ ข. ผู้ซื้อจะเป็นนิติบุคคลก็ตาม
 
ปัญหามีว่า การขายหนังสือก็ดี การขายแผ่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ดี การขายแผ่น ซีดีก็ดี การขายแผ่นวีซีดีก็ดี การขายแผ่นดีวีดีก็ดี เงินได้จากการขายถือเป็นเงินค่าสิทธิ ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่
 
การขายสินค้าดังกล่าวเป็นการขายสินค้ามีรูปร่าง ผู้ซื้อยังคงมีสิทธิที่จะใช้สอยและจำหน่ายสินค้าชิ้นดังกล่าวและติดตามเอาคืนซึ่งสินค้าชิ้นดังกล่าวจากบุคคลซึ่งไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้องกับสินค้าชิ้นดังกล่าวตามหลักกรรมสิทธิ์ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวไม่ได้ลิขสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว ไม่มีสิทธิจะนำสินค้าดังกล่าวไปทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 15 หรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้อื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติ ดังกล่าว เพราะสิทธิดังกล่าวเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น หากฝ่าฝืนกระทำไปโดยไม่ได้   รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว ถือว่าเป็น    การละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ มีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา เมื่อผู้ซื้อสินค้า ดังกล่าวไม่ได้ลิขสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าวที่ซื้อมา หากผู้ซื้อสินค้าขายสินค้าชิ้นดังกล่าวไป เงินได้จากการขายสินค้า จึงไม่ถือเป็นเงินค่าสิทธิตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร การขายสินค้าดังกล่าว ผู้ขายซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมิได้เป็นผู้ผลิต จึงหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตราร้อยละ 80 หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักได้จากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) และวรรคท้าย แต่ถ้า    ผู้ขายเป็นผู้ผลิตก็หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตามมาตรา 8 ทวิ ของพระราช-กฤษฎีกาดังกล่าว และไม่ว่าผู้ขายจะเป็นผู้ผลิตหรือมิใช่ผู้ผลิต ผู้ซื้อไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ข้อ 12/1 เพราะเป็นการขายสินค้ามิใช่การให้บริการ
 
ปัญหาต่อไปมีว่า หากเป็นการขายสินค้าดิจิตอล เช่น การดาวน์โหลดโปรแกรม  คอมพิวเตอร์เกมส์ วีดิโอ ภาพยนตร์ เพลง มิวสิควิดีโอ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่มี การจัดส่งสินค่าเป็นหีบห่อให้แก่ผู้ซื้อ เงินค่าตอบแทนที่ได้รับจะถือเป็นเงินค่าสิทธิตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่?
 
หากการดาวน์โหลดข้อมูลดังกล่าวเป็นการดาวน์โหลดเพื่อใช้สอยส่วนตัวหรือความบันเทิง ไม่มีสิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือทำมาหาได้แล้ว เงินค่าตอบแทนที่ผู้ให้บริการดาวน์โหลดได้รับ ไม่ถือเป็นค่าลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นค่าบริการอันเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ให้บริการดาวน์โหลดในต่างประเทศจึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้แก่ประเทศไทย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด ส่วนผู้ให้บริการดาวน์โหลดที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทยและถ้า ผู้จ่ายเงินค่าบริการเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ก็ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ตามคำสั่งกรม-สรรพากรที่ ท.ป.4/2528 ข้อ 12/1 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.
1404/2544
 
การจ่ายเงินดังกล่าวไม่ถือเป็นการจ่ายเงินค่าสินค้า เพราะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในข้อมูลที่มีการดาวน์โหลดนั้น ต่างกับการขายหนังสือเป็นเล่มที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในหนังสือเล่มที่ซื้อนั้น ผู้ซื้อจะใช้สอยส่วนตัวอย่างไรหรือจะฉีกหรือทำลายหรือมอบให้ผู้อื่นก็ได้ เพียงแต่ไม่มีสิทธิที่จะพิมพ์ซ้ำหรือดัดแปลงหรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์ของหนังสือดังกล่าวเท่านั้น เพราะสิทธิดังกล่าวเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ในหนังสือเล่มนั้น

 
อนึ่ง Technical Advisory Group (TGA) on Treaty Characterization ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development หรือ OCED) ก็มีความเห็นว่า เงินได้จากการย้ายข้อมูลซึ่งเป็นสินค้าดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเจ้าของข้อมูล ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้บริโภคเพื่อการใช้สอยส่วนตัวหรือความบันเทิง ควรจัดเป็นเงินได้จากธุรกิจมากกว่าเงินได้จากค่าสิทธิ2
 National Tax Administration
ของประเทศญี่ปุ่นก็เห็นว่าการย้ายข้อมูลซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้บริโภคเพียงชุดเดียว โดยปราศจากสิทธิ    ในการทำซ้ำหรือทำมาหาได้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ถือว่าเป็นธุรกรรมการซื้อขาย แต่ถ้าผู้บริโภคได้รับสิทธิในการทำซ้ำซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นได้ในจำนวนหนึ่งเพื่อการใช้ภายใน (Internal Use) ก็จะถือว่าเป็นธุรกรรมให้ใช้สิทธิ เงินค่าตอบแทนที่ได้รับจึงเป็นเงินได้จากค่าสิทธิซึ่งอยู่ในบังคับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
3
ปัญหาต่อไปมีว่า กรณีการรับจ้างสร้าง -สรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น การรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เงินค่าตอบแทนที่ ได้รับ จะถือเป็นเงินค่าสิทธิ ตามมาตรา 40(3) หรือไม่
?
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในกรณีที่งานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายได้ถูกทำขึ้นโดยการว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์หาได้มีลิขสิทธิ์ไม่ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น หากไม่มีข้อตกลงให้ผู้รับจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่สร้างสรรค์ขึ้น เงินค่าตอบแทนที่ผู้รับจ้างได้รับ ก็ไม่ถือเป็นค่าสิทธิ ตามมาตรา 40(3)  แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นการจ้างทำของ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 12466/2547) แต่ถ้ามีข้อตกลงให้งานที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นลิขสิทธิ์ของ   ผู้สร้างสรรค์แต่อนุญาตให้ผู้ว่าจ้างได้ใช้ประโยชน์ เงินค่าตอบแทนที่ผู้สร้างสรรค์ได้รับ ก็ถือเป็น     ค่าสิทธิตามมาตรา
40(3)
 
สรุป

 
ประมวลรัษฎากรมิได้ให้ความหมายของค่าสิทธิไว้ หากแหล่งเงินได้จากค่าสิทธิเกิดขึ้น ในประเทศคู่สัญญาอนุสัญญาภาษีซ้อนและผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศคู่สัญญาแล้ว ก็ต้องใช้ความหมายของค่าสิทธิตามที่ปรากฏในอนุสัญญาภาษีซ้อน แต่ถ้าแหล่งเงินได้จากค่าสิทธิมิได้เกิดขึ้นในประเทศคู่สัญญา หรือเกิดขึ้นในประเทศไทยแต่ผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศคู่สัญญา ก็ต้องใช้ความหมายของค่าสิทธิตามความหมายที่ 1 และที่ 3 ของอนุสัญญาภาษีซ้อน คือหมายถึงค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ไม่รวมถึงค่าตอบแทนเพื่อการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ และไม่รวมถึงค่าตอบแทนการโอนขายทรัพย์สินทางปัญญาด้วย




ความรู้เกี่ยวกับภาษี

SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร ? article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 โดยอาจารย์ อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ article
การชดเชยค่าภาษีอากร-บัตรภาษี article
มนุษย์เงินเดือนเฮครม.อนุมัติลดหย่อนภาษีหักค่าใช้จ่าย60% (มีผลบังคับใช้ในปี 2550) article
การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย article
ภาษีป้าย article
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
ใบลดหนี้ (Credit Note)
ภาระภาษีในการประนอมหนี้ ค่าบริการ
เงื่อนไขในการคำนวณส่วนของ หนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจาก ภาษีขาย
การทำบัญชี ของบุคคลธรรมดา ที่ไม่จด VAT
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือ Consortium
Income Tax Guide for foreign Company
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี
ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่าย
การเสีย VAT กรณีนำเข้าสินค้ามาขายแบบ 3 เส้า
คลังสินค้าทัณฑ์บน (BONDED WAREHOUSE ) คืออะไร?
เขตปลอดอากร เขตยกเว้นภาษี
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่น่าสนใจ
บัญชีอากรแสตมป์ อัตราอากรแสตมป์
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ตาม มาตรา 56 ทวิ)
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
การเฉลี่ยภาษีซื้อ
Withholding Tax Rates for Royalties under Thailand's DTAs
Withholding Tax Rates for Interest under Thailand's DTAs
เงินได้พึงประเมินที่ผู้เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสิทธิแยกคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) article
คณะบุคคล... อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม
ภาษีบ้านเช่าครึ่งปี
ภาษีเลี้ยงรับรองปีใหม่
ภาษีค่าน้ำมันรถ
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจาก 50,000 เป็น 100,000
มาตรการสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ + ห้องชุด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สารพัน ปัญหาภาษีสรรพากร - สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ค่าชดเชยการเลิกจ้าง กับภาระภาษีอากร
ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนประกันชีวิตได้รับถือเป็นเงินได้ประเภทใด
ขายสินค้าเกษตรเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับรู้รายได้เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลเสียหายจากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรายได้จากการให้บริการป้ายโฆษณา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าซ่อมเครื่องจักรและ ค่าที่ปรึกษาไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์และค่าบริการอื่นให้แก่บริษัทต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของนิติบุคคลอาคารชุด
ปัญหา ของขวัญกับการเสียภาษี
ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
ปัญหา ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF
เงินสนับสนุนการศึกษาและเงินบริจาค
สารพันปัญหา "ค่าลดหย่อน"
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ.2564)
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
การคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
พระราชกฤษฎีกา ลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ปี 2555
การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ
คำชี้แจงกรมสรรพากร กรณีการยื่นแบบเสียภาษีของสามีและภรรยา ปี 2555
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ป็นทางค้าหรือหากำไร
สรุปอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2555-2558
มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs
สรุปคำชี้แจงการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
บัญชี IFRS for SMEs กับภาษี ตอน รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาของ SMEs
ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า!!!
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ เมื่อมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
ฎีกาภาษี : การขีดฆ่าอากรแสตมป์
ภาษีการรับมรดก
เครื่องมือช่วยคำนวณรายการทางบัญชีเป็นรายการทางภาษี
วิธีการประมาณการกําไรสทธิ ภงด.51 article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กับกิจการขายของ Online article
เงินได้พึงประเมินของผู้ประกอบโรคศิลปะ-แพทย์(หมอ) article
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง article
คำสั่งกรมสรรพากร. ที่ป.161/2566. เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง article
การประกอบกิจการโรงพยาบาลสัตว์ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี