ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนฝึกหัดงาน
มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. แจ้งการฝึกหัดงานสอบบัญชี
แจ้งต่อสภาวิชาชีพบัญชี ก่อนเริ่ม ฝึกหัดงาน โดยใช้ แบบ ผส.1
หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ
1. สำเนาปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร พร้อมต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่
2. สำเนาพร้อมต้นฉบับใบรับรอง ผลการศึกษา ตลอดหลักสูตร (Transcript)
กรณีฝึกหัดงาน ระหว่างการศึกษา ให้ใช้ให้หนังสือรับรองของสถาบัน การศึกษา ที่แสดงว่าได้สอบผ่านวิชาการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชี กำหนดไม่น้อยกว่า 4 รายวิชา และวิชาสอบบัญชี ไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งรวมทุกวิชาแล้วไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
3. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสืออื่นใดของทางราชการซึ่งใช้ในการแสดงตนได้
4. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. รายงานการฝึกหัดงาน
รายงาน ปีละหนึ่งครั้ง นับแต่วัน แจ้งการฝึกหัดงานโดยใช้ แบบ ผส.2
หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ
เลขที่ คำขอแจ้งการฝึกหัดงาน หนังสือยืนยัน จากนิติบุคคลตามที่ได้ รายงานไว้ ในแบบรายงาน การฝึกหัดงาน สอบบัญชี ในแต่ละปีเพื่อยืนยันว่า ได้เข้าตรวจสอบบัญชี ของนิติบุคคล รอบปีบัญชีใด เป็นระยะเวลาเท่าใด
3. เมื่อสิ้นสุดการฝึกหัดงาน
ได้ฝึกหัดงาน เป็นเวลาต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า สามปีบริบูรณ์ และมีเวลาฝึกหัดงาน ไม่น้อยกว่า สามพันชั่วโมง โดยใช้ แบบ ผส.3
หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ
เลขที่คำขอ แจ้งการฝึกหัดงาน หนังสือยืนยัน จากนิติบุคคลตามที่ได้ รายงานไว้ ในแบบรายงาน การฝึกหัดงาน สอบบัญชีในแต่ละปี เพื่อยืนยันว่า ได้เข้าตรวจสอบบัญชี ของนิติบุคคล รอบปีบัญชีใด เป็นระยะเวลาเท่าใด (ในกรณีไม่ได้ยื่นในขั้นตอนการรายงานการฝึกหัดงาน)
4. เมื่อเปลี่ยนผู้ให้การฝึกหัดงาน
แจ้งต่อสภาวิชาชีพบัญชี ภายใน 1 เดือนนับแต่วัน เปลี่ยนผู้ให้การ ฝึกหัดงาน โดยใช้ แบบ ผส.2 และ ผส.3 สำหรับผู้ให้การฝึกหัดงานคนเดิม และใช้ แบบ ผส.4 สำหรับผู้ให้การฝึกหัดงานคนใหม่
หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ
เลขที่ คำขอแจ้งการฝึกหัดงาน หนังสือยืนยัน จากนิติบุคคลตามที่ได้ รายงานไว้ ในแบบรายงาน การฝึกหัดงาน สอบบัญชี ของผู้ให้การฝึกหัดงานคนเดิมเพื่อยืนยันว่า ได้เข้าตรวจสอบบัญชี ของนิติบุคคล รอบปีบัญชีใด เป็นระยะเวลาเท่าใด
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการทดสอบความรู้
ต้องผ่านการทดสอบความรู้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับการทดสอบจะต้องสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญา และอยู่ระหว่างการฝึกหัดงานสอบบัญชี หรือฝึกหัดงานครบถ้วนแล้ว
วิชาที่ทดสอบ แบ่งเป็นหกวิชา คือ วิชาการบัญชี ๑ วิชาการบัญชี ๒ วิชาการสอบบัญชี ๑ วิชา การสอบบัญชี ๒ วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี และวิชาการสอบบัญชีที่ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ขอบเขต รายละเอียดเนื้อหาและเค้าโครงของวิชาที่ต้องทดสอบดูรายละเอียดได้ข้างล่าง
ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องสอบผ่านทุกวิชา และได้คะแนนในแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบจึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ โดยผู้เข้ารับการสามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านได้ไม่เกินสามปี นับแต่วันที่ผ่านการทดสอบแต่ละวิชา
ขั้นตอนการสมัครสอบ
1. ยื่นคำขอเข้าทดสอบ โดยใช้ แบบ ก.บช.9 (ใช้แทนแบบฟอร์มของสภาฯ ชั่วคราว)
2. ชำระ ค่าธรรมเนียม วิชาละ 500 บาท
หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ
1.กรณีเข้าทดสอบครั้งแรก
- เลขที่รับคำขอแจ้งการฝึกหัดงาน
- รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)
- สำเนาปริญญา (ในกรณีที่ยังไม่ได้รับปริญญาบัตรอนุโลมให้ใช้หนังสือรับรองที่สภามหาวิทยาลัยอนุมติ) และ ใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ตลอดหลักสูตร พร้อมต้นฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
2. กรณีเคยเข้ารับการทดสอบ
- บัตรประจำตัว ผู้เข้าทดสอบ หรือหลักฐานการสูญหาย/เสียหาย
- รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)
- สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อทดสอบผ่านทุกวิชาแล้ว(ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน
1. เมื่อได้รับหนังสือแจ้งสอบผ่าน 5 รายวิชาจากสภาวิชาชีพบัญชี ให้ยื่นคำขอ ขึ้นทะเบียนเป็น ผู้สอบบัญชีฯ โดยใช้ แบบ ก.บช.1 (ใช้แทนเบบฟอร์มของสภาฯ ชั่วคราว)
2. สภาวิชาชีพบัญชี พิจารณารับขึ้นทะเบียน
3. สภาวิชาชีพบัญชีมีหนังสือแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท และในกรณีที่ผู้สอบบัญชีประสงค์ที่จะให้จัดส่งใบอนุญาตทางไปรษณีย์จะเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 30 บาท
4. สภาวิชาชีพบัญชี ส่งหนังสือแจ้งให้มารับใบอนุญาต (กรณีแสดงความจำนง ที่จะมารับด้วยตนเอง)
5. สภาวิชาชีพบัญชีจัดส่งใบอนุญาตทางไปรษณีย์ (กรณีแสดงความจำนงแจ้งจัดส่งใบอนุญาต)
หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ
1. รูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 3 รูป
2. หนังสือรับรองความประพฤติจากสถานที่ทำงานปัจจุบัน
3. บัตรประจำตัวสอบ
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
วิชาที่สอบและขอบเขตเนื้อหาแต่ละวิชา
1. วิชาการบัญชี 1 ให้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและงบการเงิน ที่เกี่ยวกับ
- แม่บทการบัญชี
- สินทรัพย์หมุนเวียน
- เงินลงทุน
- ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
- สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
- การด้อยค่าของสินทรัพย์
- ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
- การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา
- การเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและการตีความมาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชีที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน
2. วิชาการบัญชี 2 ให้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ
- การจัดทำบัญชีและงบการเงิน ที่เกี่ยวกับรายได้ของธุรกิจประเภทต่างๆ
- การนำเสนองบการเงิน
- งบการเงินระหว่างกาล
- การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินตลอดจนเรื่องอื่นๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและการตีความมาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชีที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน
- รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนที่เกี่ยวกับต้นทุนและวัตถุประสงค์ของการบันทึกบัญชีต้นทุน การคำนวณต้นทุนและการบันทึกบัญชี การปันส่วนค่าใช้จ่ายในการผลิต การปันส่วนต้นทุนร่วมและการบัญชีสำหรับผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้
3. วิชาการสอบบัญชี 1 ให้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ
- แนวคิดทั่วไปและแม่บทของมาตรฐานการสอบบัญชี
- การทุจริตและข้อผิดพลาด
- การควบคุมภายในและความเสี่ยงจากการควบคุม
- กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี
- การเลือกตัวอย่างในงานสอบบัญชี
- หลักฐานการสอบบัญชี
- วิธีการรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีและวิธีการตรวจสอบในสาระสำคัญของรายการต่างๆ ในงบการเงิน
- การตรวจสอบรายได้
- การตรวจสอบต้นทุนและค่าใช้จ่าย
- การตรวจสอบเงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือ รวมถึง
- การตรวจสอบเงินลงทุน สินทรัพย์ถาวร เจ้าหนี้การค้า หนี้สินอื่น ส่วนของผู้ถือหุ้นและกำไรสะสม
4. วิชาการสอบบัญชี 2 ให้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ
- มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
- ข้อตกลงในการรับงานสอบบัญชี
- การวางแผนงานสอบบัญชี
- ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและความมีสาระสำคัญ
- การควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี
- การใช้บริการหรือผลงานของบุคคลอื่น
- การเขียนรายงานการสอบบัญชี การเขียนรายงานต่องบการเงินเปรียบเทียบ การตรวจสอบและการเขียนรายงานสำหรับการให้บริการเกี่ยวเนื่อง
5. วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ให้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการบัญชี กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท)กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ประมวลรัษฎากร และกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลและการออกหลักทรัพย์ การเสนอขายหลักทรัพย์ การซื้อขายหลักทรัพย์ และการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์
6. วิชาการสอบบัญชีที่ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ ให้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ
- ความรู้ทั่วไปในระบบสารสนเทศ
- การตรวจสอบในสภาพแวดล้อมของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
- ประมวลผลข้อมูล
- การประเมินความเสี่ยง และ
- การประเมินประสิทธิผลของการควบคุมในระบบสารสนเทศ
- เทคนิคการตรวจสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอบบัญชี
ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูรายละเอียดได้ใน เว็บไซด์ของสภาวิชาชีพบัญชี