เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล
โดย ศาสตราจารยธวัช ภูษิตโภยไคย
ในการจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี ผู้บริหารของธุรกิจมักจะข้องใจว่าเมื่อมีเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลเกิดขึ้นกับกิจการแล้วทําไมจึงต้องนําเหตุการณ์นั้นมาเกี่ยวข้องกับงบการเงินที่จัดทําดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงรายการหรือเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินด้วย ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในรอบปีบัญชีใหม
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ควรแก่การสงสัยและต้องพูดคุยกันเพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจในกติกาทางบัญชีนี้ จะได้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามความรับผิดชอบของตน ในการจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
การปิดบัญชีเพื่อจัดทํางบการเงินนั้นต้องใช้เวลาและจะต้องรอคอยข้อมูล เอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับรายการบัญชีต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นของภายในกิจการเองและภายนอกกิจการ นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชีก็จะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ในการตรวจสอบงบการเงินเพื่อเสนอรายงานการสอบบัญชี ในช่วงเวลานี้ นับตั้งแต่วันสิ้นปีบัญชีซึ่งเป็นวันที่ในงบดุล จนถึงวันที่ที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบเสร็จซึ่งเป็นวันที่ในรายงานการสอบบัญชี จึงถือเป็นช่วงเวลาแรกที่เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล เกิดขึ้น
อย่างไรก็ดี ถ้าก่อนวันที่ที่งบการเงินได้รับการอนุมัติให้นําออกเผยแพร เกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบงบการเงินดังกล่าว ที่จะต้องปรับปรุงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม เหตุการณ์นั้น ก็จะถือเป็นเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลด้วย ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ในรายงานการสอบบัญชี จนถึงวันที่ที่งบการเงินได้รับอนุมัติให้เผยแพร จึงเป็นช่วงเวลาที่สองของการเกิดเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 52 ได้ให้ความหมายของเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ในงบดุลกับวันที่งบการเงินได้รับการอนุมัติให้เผยแพร่ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม มาตรฐานการบัญชีดังกล่าว ได้แบ่งเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลออกเป็น 2 ประเภท คือ เหตุการณ์ที่ต้องปรับปรุงงบการเงิน และ เหตุการณ์ที่ไม่ต้องปรับปรุงงบการเงิน
เหตุการณ์ที่ต้องปรับปรุงงบการเงิน ได้แกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นหลักฐานยืนยันว่าสถานการณ์ได้มีอยู ณ วันที่ในงบดุล แต่มามีข้อยุติหรือให้ผลกระทบงบการเงินที่ชัดแจ้งขึ้นภายหลังวันที่ในงบดุล ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงงบการเงินเพื่อสะท้อนให้เห็นฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานและการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของเหตุการณประเภทนี้เช่น คําพิพากษาของศาลภายหลังวันที่ในงบดุล ที่ยืนยันว่า ภาระผูกพันของกิจการได้เกิดขึ้นแล้วจากการแพ้คดี ดังนั้น กิจการจึงต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินที่จะต้องชดใช้ให้กับคู่ความไว้ในงบการเงิน
อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก ลูกหนี้ที่มีฐานะการเงินไม่ดี ไม่ชําระหนี้ แม้จะมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญบันทึกไว้บางส่วนในงบการเงินแล้วก็ตาม แต่ถ้าภายหลังวันที่ในงบดุล ลูกหนี้ล้มละลาย ไม่มีสินทรัพย์ใดๆชําระหนี้ได เหตุการณ์นี้ก็จะเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า ยอดลูกหนี้รายนี้ในงบการเงินหนี้สูญทั้งจํานวน ดังนั้น จึงต้องปรับปรุงบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติม ตามผลของเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลดังกล่าว เหตุการณ์ที่ไม่ต้องปรับปรุงงบการเงิน ได้แกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ได้เกิดขึ้นภายหลังวันที่ในงบดุล ดังนั้น จึงไม่จําเป็นต้องปรับปรุงงบการเงิน แต่กิจการอาจต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินไดทราบด้วย โดยเปิดเผยเกี่ยวกับลักษณะของเหตุการณดังกล่าว ตลอดจนประมาณการผลกระทบทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น หรือถ้าไม่สามารถประมาณผลกระทบได ก็ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงนี้ไว้ด้วย
ตัวอย่างของเหตุการณ์ข้างต้นได้แกการเกิดอัคคีภัยในโรงงานผลิตที่สําคัญภายหลังวันที่ในงบดุลการเปลี่ยนแปลงราคาสินทรัพย์หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ไม่ปกติภายหลังวันที่ในงบดุลหรือการเริ่มต้นของคดีความซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล เป็นต้น
จะเห็นว่าเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลไม่ว่าจะมีผลให้กิจการต้องปรับปรุงงบการเงิน หรือไม่ต้องปรับปรุงงบการเงินแต่จะต้องเปิดเผยเหตุการณ์นั้นในงบการเงินก็ตามล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลทางการเงินที่สําคัญ ซึ่งหากละเลยไม่นํามาเกี่ยวข้องในการจัดทํางบการเงิน ย่อมจะทําให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดหรือหลงผิดในฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานและกระแสเงินสดที่งบการเงินนั้นแสดงไดผู้บริหารธุรกิจซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีจึงจําเป็นต้องตระหนักถึงความสําคัญในเรื่องนี้ และจะต้องดําเนินการให้ถูกต้องด้วย