ลิสซิ่ง กับ เช่าซื้อ มีความเหมือนและแตกต่างกัน ดังนี้ .-
ลักษณะ |
ลิสซิ่ง (สัญญาเช่าระยะยาว) |
การเช่าซื้อ |
1. ผู้ขอกู้
|
นิติบุคคล ( ทป . 34/2534 ผู้เช่าต้องเป็นนิติบุคคล ถึงจะได้รับการยกเว้น ภาษี หัก ณ ที่จ่าย 5% ของรายได้ค่าเช่า ) |
บุคคลธรรมดา / นิติบุคคล |
2. วงเงินสินเชื่อ ( คิดเป็นร้อยละ ของมูลค่าทรัพย์สิน ) |
สูงสุด ได้ถึง 100%
|
โดยทั่วไป 70 - 80%
|
3. ระยะเวลาเช่า
|
ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ( ทป . 34/2534 อายุสัญญาเช่าต้องตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ถึงจะได้รับการยกเว้น ภาษี หัก ณ ที่จ่าย 5% ของรายได้ค่าเช่า ) |
โดยทั่วไป 1 - 5 ปี
|
4. วัตถุประสงค์ของการเช่า |
ใช้ทรัพย์สินระยะยาว |
เป็นเจ้าของทรัพย์สิน |
5. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เมื่อสิ้นสุดอายุสัญญา |
เมื่อผ่อนชำระครบตามกำหนด จะระบุเงื่อนไขในสัญญาให้ผู้เช่าเลือกว่าจะซื้อ / เช่าต่อ / หรือส่งคืนทรัพย์สิน |
เมื่อผ่อนชำระครบตามกำหนด ผู้ให้เช่าจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้เช่าซื้อ( โดยอัตโนมัติ ) |
6. การยกเลิกสัญญา |
ผู้เช่าจะเลิกสัญญา ฝ่ายเดียวไม่ได้ |
ผู้เช่าซื้อบอกเลิก โดยส่งมอบทรัพย์สินคืนให้กับผู้ให้เช่า |
7. การบันทึกทรัพย์สิน /ผู้ตัดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน |
ผู้ให้เช่า |
ผู้เช่าซื้อ |
8. ค่าใช้จ่ายของผู้เช่าที่บันทึกได้ |
ค่าเช่าทั้งจำนวน |
ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน |
9. รายได้ของผู้ให้เช่าที่บันทึกได้ |
รายได้ค่าเช่าทั้งจำนวน |
ดอกเบี้ยรับ( รายได้ดอกเบี้ยรอตัดบัญชีทยอยรับรู้รายได้ตามค่างวด ) |
อย่างไรก็ตาม สัญญาเช่าลิสซิ่ง นั้นมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ (1) สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) และ (2) สัญญาเช่าทางการเงิน (Financial Lease) สัญญาเช่าดำเนินงานบริษัทผู้เช่าจะถือว่าเงินที่จ่ายออกไปทุกเดือนนั้นเป็น ค่าเช่า และกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นไม่ได้เป็นของผู้เช่า แม้จนหมดอายุในสัญญาบริษัทผู้เช่าก็ไม่ได้มีเจตนาจะซื้อหรือโอนสินทรัพย์นั้นมาเป็นสมบัติของตน ส่วนสัญญาเช่าทางการเงินผู้เช่าจะบันทึกสินทรัพย์ที่เช่าเป็น สินทรัพย์ ของบริษัท และนำมาคำนวณค่าเสื่อมราคา ตั้งแต่เริ่มต้นตามสัญญา
ในการพิจารณาว่าสัญญาเช่าลิสซิ่งใด เป็น สัญญาเช่าดำเนินงาน หรือ เป็น สัญญาเช่าทางการเงินนั้น พิจารณาเนื้อหาที่แท้จริงในสัญญา โดยปกติหากสัญญาเช่า มีเงื่อนไขว่า ผู้เช่าซื้อสามารถซื้อสินทรัพย์นั้นได้ในราคาต่ำ (โดยเฉพาะต่ำกว่าราคาตลาด หรือ ราคาที่สามารถซื้อหามาได้จริงแล้ว) ก็ตีความหมายได้ว่า เจตนาของสัญญานั้นต้องการให้ผู้เช่านั้น ซื้อสินทรัพย์ไปภายหลังจากชำระค่างวดครบตามสัญญาแล้ว (เช่น 36 เดือน หรือ 48 เดือน เป็นต้น) ดังนั้น กรณีเช่นนี้ ถือว่าบริษัทต้องบันทึกสินทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้น เป็นสินทรัพย์ของบริษัทตั้งแต่ต้น และนำมาคำนวณค่าเสื่อมราคา เป็นค่าใช้จ่าย
การบันทึกบัญชีโดยสรุป
ทางด้านผู้ให้เช่าซื้อ
ก. ณ วันทำสัญญา และได้รับเงินวางเริ่มแรก
เดบิต เงินสด
เดบิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
เครดิต ขาย
เครดิต ดอกผลเช่าซื้อรอการตัดบัญชี
เครดิต ภาษีขาย(7%ของจำนวนเงินวางเริ่มแรก)
ข. การรับรู้รายได้ในแต่ละงวด
เดบิต ดอกผลเช่าซื้อรอตัดบัญชี
เครดิต ดอกผลเช่าซื้อ
ค. เมื่อได้รับเงินในแต่ละงวด
เดบิต เงินสด
เครดิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
เครดิต ภาษีขาย
ง. เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระเงิน และผู้ให้เช่าซื้อได้ยึดทรัพย์สินคึน
เดบิต ทรัพย์สินรอการขาย
เดบิต ดอกผลเช่าซื้อรอการตัดบัญชี
เครดิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
ทางด้านผู้เช่าซื้อ
ก. ณ วันทำสัญญาและวางเงินเริ่มแรก
เดบิต รถยนต์ (ราคาเงินสด)
เดบิต ภาษีซื้อ (เงินดาวน์)
เดบิต ภาษีซื้อที่ยังไม่ครบกำหนด
เดบิต ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี
เครดิต เงินสด/ธนาคาร (เงินดาวน์)
เครดิต เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
ข. เมื่อผ่อนชำระค่างวด
เดบิต เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
เดบิต ภาษีซื้อ
เครดิต เงินสด/ธนาคาร
เครดิต ภาษีซื้อที่ยังไม่ครบกำหนด
ค. เมื่อรับรู้ดอกเบี้ยจ่าย
เดบิต ดอกเบี้ยจ่าย
เครดิต ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี
ง. ณ. วันสิ้นปี คิดค่าเสื่อมราคารถยนต์ โดยคำนวณจากราคาเงินสด
เดบิต ค่าเสื่อมราคา
เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม
http://www.jarataccountingandlaw.com/