ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าวิทยากร
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าวิทยากร article
อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

เราต้องยอมรับกันอย่างหนึ่งว่า การศึกษาหาความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องมี ความรู้ในการประกอบอาชีพ ความรู้ที่ต้องมีประดับไว้เพื่อให้รู้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน การขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมเป็นสิ่งที่ควรกระทำไม่ต่างอะไรกับการเติมน้ำในแก้วที่ไม่มีวันเต็ม ยิ่งมีความรู้มากเท่าใดก็ยิ่งทำให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น


การหาความรู้ที่ลงทุนน้อยที่สุดก็คือการติดตามข้อมูลข่าวสารทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อาจจะหาความรู้โดยการลงทุนซื้อหนังสือ ตำราวิชาการต่าง ๆ ที่ลงทุนไม่มากนักมาอ่านเพิ่มเติม หรือเข้ารับการอบรมสัมมนาจากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่าย การจ่ายค่าใช้จ่ายในการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบธุรกิจที่มีพนักงานในองค์กรค่อนข้างมากยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างความรู้ให้แก่พนักงานให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันในท้องตลาดได้ การให้ความรู้แก่พนักงานในองค์กรสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาตำรา หนังสือที่ให้ความรู้ในแต่ละด้านตามความจำเป็นของพนักงานแต่ละฝ่าย อาจจะใช้วิธีส่งพนักงานไปอบรมตามสถาบันของรัฐหรือเอกชนที่มีการจัดอบรมสัมมนากันอยู่เป็นประจำ หรืออาจจะเลือกให้พนักงานคนใดคนหนึ่งของกิจการที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถมาอบรมให้ความรู้แก่พนักงานของตนเอง ซึ่งวิธีนี้ประหยัดค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก

วิธีหนึ่งที่จะให้ได้ผลดีแต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงก็คือ การจ้างวิทยากรภายนอกเข้ามาอบรมความรู้ให้แก่พนักงานที่เราเรียกว่า In-house Training การว่าจ้างวิทยากรจากภายนอกเข้ามาอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่พนักงานนั้นอาจจะเป็นการว่าจ้างตัววิทยากรโดยตรงหรือบุคคลธรรมดา หรืออาจจะว่าจ้างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าจัดการอบรมภายในของกิจการก็ได้

ในกรณีที่มีการว่าจ้างวิทยากรโดยตรงซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเข้ามาเป็นวิทยากรที่ให้ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาต่าง ๆ ที่พนักงานต้องการสะสมประสบการณ์ในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้ว่าจ้างที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเมื่อมีการจ่ายเงินค่าจ้างวิทยากรจะต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ปัญหาที่มักจะพบความผิดพลาดอยู่บ่อย ๆ ก็คือจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราใด จะสังเกตได้ว่าส่วนมากแล้วผู้จ่ายเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมักจะหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ของจำนวนเงินที่จ่าย ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายหักอย่างไรจึงจะถูกต้อง จะต้องพิจารณาจากประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายค่าจ้างวิทยากรว่าเป็นเงินได้ประเภทใด เงินได้พึงประเมินที่จ่ายเป็นค่าวิทยากรให้กับบุคคลธรรมดาถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ที่กฎหมายกำหนดไว้ดังต่อไปนี้

"มาตรา 40 (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว"

การจ่ายค่าจ้างให้กับวิทยากรที่นำความรู้ประสบการณ์มาถ่ายทอดให้กับพนักงานของกิจการถือเป็นการ "รับจ้างทำงานให้" เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ผู้จ่ายเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเมื่อจ่ายเงินให้กับผู้รับเงินจะต้องนำเงินได้ที่จ่ายไปคำนวณภาษีที่ต้องหักเสมือนหนึ่งได้จ่ายทั้งปี หักด้วยค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

และหักด้วยค่าลดหย่อนตามกฎหมาย เงินได้พึงประเมินส่วนที่เหลือจะต้องนำไปคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งหากเงินได้พึงประเมินส่วนที่เหลือไม่เกิน 100,000 บาทแรก ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเนื่องจากกฎหมายยกเว้นภาษีให้ ส่วนที่เกิน 100,000 บาทจะต้องนำไปคำนวณหักภาษีในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 10 -37% ในแต่ละขั้นของเงินได้พึงประเมิน ตัวอย่างเช่น จ่ายเงินค่าจ้างวิทยากรให้กับนายอนันต์เป็นครั้งแรกในปี 2548 เป็นเงิน 80,000 บาท จะคำนวณภาษีดังนี้

เงินได้ค่าวิทยากร - มาตรา 40(2) 80,000 บาท
หัก: ค่าใช้จ่ายเหมา 40% 32,000 บาท
คงเหลือ 48,000 บาท
หัก: ค่าลดหย่อน-คนโสด 30,000 บาท
เงินได้พึงประเมินสุทธิ 18,000 บาท

ดังนั้นเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินค่าวิทยากรให้กับนายอนันต์ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากเมื่อคำนวณภาษีแล้วเงินได้พึงประเมินสุทธิของนายอนันต์คงเหลืออยู่ 18,000 บาทไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งกฎหมายยกเว้นภาษีเงินได้ให้ในส่วนของ 100,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี

แต่หากได้มีการว่าจ้างนายอนันต์มาเป็นวิทยากรอีกก็ให้นำเงินได้ที่จ่ายครั้งแรกรวมกับครั้งที่สอง แล้วนำมาคำนวณภาษีอีกหากนำมาคำนวณตามตัวอย่างข้างต้นนี้แล้วปรากฏว่า เงินได้พึงประเมินสุทธิยังคงไม่เกิน 100,000 บาทแรกก็ยังไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และหากมีการว่าจ้างเป็นครั้งที่สามก็ให้เอาเงินได้ที่จ่ายตั้งแต่ครั้งแรก ครั้งที่สอง และครั้งที่สามมารวมกันนำไปคำนวณเหมือนกับวิธีดังกล่าวข้างต้น หากคำนวณแล้วไม่ต้องหักภาษีก็ยังไม่ต้องหักภาษีหากมีการจ้างครั้งต่อไปก็จะคำนวณลักษณะเดียวกันจนกว่าจะถึงเกณฑ์หักภาษี ณ ที่จ่ายในปีภาษีนั้น

หากการจัดอบรมสัมมนาได้มีการว่าจ้างให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับจ้างจัดอบรมสัมมนา In-house Training หากผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายค่าจ้างอบรมสัมมนาให้กับผู้รับเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถือเป็นการจ่ายเงินค่าบริการตามเงินได้พึงประเมินมาตรา 40(8) ผู้จ่ายเงินจะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไป จะเห็นได้ว่าการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายค่าจ้างวิทยากรจะหักภาษีไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ผู้จ่ายเงินจะต้องระมัดระวังและหักภาษีให้ถูกต้อง




บทความเพิ่มเติม 1

รายจ่ายต้องห้าม โดยผลของกฏหมาย article
รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ article
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหักค่ารับรอง article
ภาษีซื้อต้องห้าม article
ภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ article
กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ article
แบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน article
หลักเกณฑ์การขอเปลี่ยนวิธีการและหรืออัตราการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน article
สารพัดโหรฟันธงดวงเมืองปี'50 article
สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม article
การเก็บรักษาเอกสาร และรายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ตาม พรบ.การบัญชี article
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้กรณีไม่นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย article
เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา? article
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF) article
ซื้อ LTF ยังได้สิทธิหักภาษี ถึงปี 59 article
ระวังผู้ทำบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชี article
ภาษีเงินแป๊ะเจี๊ยะ article
การรับรู้รายได้ทางภาษีอากร "การฝากขาย" และ "การให้เช่าทรัพย์สิน" article
หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย article
แนวโน้มเศรษฐกิจโลก ปี 2551
ผ่าดวงเมือง เศรษฐกิจปี 2551



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี