ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี แบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


แบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน article

แบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน

ตามแบบของสำนักงาน ก.ล.ต

แบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินประจำปี ……..

 

ชื่อบริษัท  :  ……………………………………………..      งบการเงินสำหรับงวดสิ้นสุดวันที่  :  ………………….

 

แบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดในการเปิดเผยข้อมูลของ
มาตรฐานการบัญชีทุกฉบับที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน และประกาศของสำนักงาน ก...โดยไม่ได้ครอบคลุมถึง
ข้อกำหนดตามกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นโดยหน่วยงานทางการอื่น

 

วัตถุประสงค์ของแบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน คือ การตรวจสอบความครบถ้วนโดยทั่วไป
ของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด  ดังนั้น แบบตรวจสอบนี้ไม่สามารถใช้ทดแทนการอ่าน
มาตรฐานการบัญชีได้  และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละกิจการ กิจการอาจต้องเปิดเผยข้อมูลเกินกว่าที่กำหนดใน
แบบตรวจสอบนี้ เพื่อให้งบการเงินเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วนและช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงเหตุการณ์และ
รายการบัญชีต่าง ๆ ของกิจการมากยิ่งขึ้น 

 

รูปแบบของแบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน

แบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามรูปแบบการเปิดเผยข้อมูลที่กำหนดใน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน โดยได้จัดกลุ่มแต่ละบัญชีที่ต้องเปิดเผยตามแต่ละประเภท
ของงบการเงิน

 

คำอธิบายแบบตรวจสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน

1.       หัวตารางชื่อ ‘TAS’ คือ มาตรฐานการบัญชีและย่อหน้าของมาตรฐานดังกล่าวที่กำหนดให้เปิดเผยข้อมูล (เช่น ‘35p16’
หมายถึง มาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับที่ 35 ย่อหน้า 16   ‘IAS12p10’ หมายถึง มาตรฐานการบัญชีสากล ฉบับที่ 12
ย่อหน้า 10  และ ’กลต..() 21/2541’ หมายถึง หนังสือเวียนที่ออกโดยสำนักงานที่ กลต..() 21/2541 เป็นต้น)

2.       หัวตารางชื่อ ‘ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย’ คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้กิจการต้องเปิดเผย

3.       หัวตารางชื่อ ‘Y-NA-NM-N’ คือ ช่องที่กิจการต้องกรอกอักษร Y NA NM หรือ N เพื่อประกอบการประเมิน
ในเบื้องต้นว่า การเปิดเผยข้อมูลของกิจการครบถ้วนเพียงพอหรือไม่ โดย

Ø     Y (‘yes’)  หมายความว่า กิจการได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้เปิดเผยแล้ว

Ø     NA (‘not applicable’) หมายความว่า รายการที่กำหนดให้เปิดเผยไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ จึงไม่ต้องเปิดเผยเรื่องดังกล่าว

Ø     NM (‘not material’) หมายความว่า รายการที่กำหนดให้เปิดเผยไม่มีสาระสำคัญต่องบการเงิน

Ø     N (‘no’) หมายความว่า กิจการไม่ได้เปิดเผยรายการที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้เปิดเผย

4.       หัวตารางชื่อ ‘REF’ คือ ช่องที่กิจการใช้กรอกหมายเลขข้อของหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ใช้เปิดเผยรายการที่
มาตรฐานการบัญชีกำหนด เพื่อใช้ประกอบการอ้างอิง


 

สารบัญ

 

 

หน้า

องค์ประกอบของงบการเงิน

4

 

 

ส่วนประกอบของแต่ละงบการเงิน

 

Ø     งบดุล

5

Ø     งบกำไรขาดทุน

5

Ø     งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ

6

Ø     งบกระแสเงินสด

7

 

 

การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

1. ข้อมูลทั่วไป

8

2. นโยบายการบัญชี

8

3. การเปิดเผยข้อมูลสำหรับรายการในงบดุล

 

   (1) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

13

   (2) ลูกหนี้การค้า

13

   (3) ลูกหนี้กรณีการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา

13

   (4) สินค้าคงเหลือ

14

   (5) เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย (เงินลงทุนในบริษัทร่วม)

14

   (6) เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

14

   (7) ค่าวิจัยและพัฒนา

15

   (8) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

15

   (9) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

16

   (10) ต้นทุนการกู้ยืม

18

   (11) สินทรัพย์ที่ด้อยค่า

18

   (12) คุณภาพสินทรัพย์

19

   (13) เจ้าหนี้กรณีปรับโครงสร้างหนี้

20

   (14) หนี้สินหรือสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

20

   (15) เครื่องมือทางการเงิน

22

   (16) ทุนเรือนหุ้น

24

4. การเปิดเผยข้อมูลสำหรับรายการในงบกำไรขาดทุน

25

 

 


 

 

หน้า

การรวมธุรกิจ เงินลงทุนในบริษัทร่วม บริษัทร่วม และกิจการร่วมค้า

 

Ø     การรวมธุรกิจ

 

        -  การรวมธุรกิจที่เป็นการซื้อธุรกิจ

26

        -  การรวมธุรกิจที่เป็นการรวมส่วนได้เสีย

28

Ø     งบการเงินรวมและการลงทุนในบริษัทย่อย

28

Ø     การร่วมค้า

29

Ø     รายการระหว่างบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

29

 

 

รายการอื่นที่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

Ø     เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า และเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน

31

Ø     กำไรต่อหุ้น

31

Ø     ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน

32

Ø     รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

33

Ø     การปรับรายการย้อนหลัง (เช่น การแก้ไขข้อผิดพลาดที่สำคัญ หรือการใช้นโยบายการบัญชีใหม่)

33

Ø     การเปลี่ยนรายการทันทีเป็นต้นไป (เช่น การเปลี่ยนประมาณการค่าเสื่อมราคา)

34

Ø     การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี

34

Ø     สัญญาเช่าซื้อ

34

Ø     สัญญาเช่าระยะยาว

34

Ø     การเปิดเผยเรื่องอื่น ๆ

35

 

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพิ่มเติมสำหรับสถาบันการเงิน

 

Ø     งบดุล

37

Ø     งบกำไรขาดทุน

38

Ø     การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

        (1) หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า และภาระผูกพัน รวมทั้งรายการนอกงบดุล

38

        (2) วันที่ครบกำหนดของสินทรัพย์และหนี้สิน

39

        (3) การกระจุกตัวของสินทรัพย์ หนี้สิน และรายการนอกงบดุล

39

        (4) ผลเสียหายจากการกู้ยืม

39

        (5) ความเสี่ยงโดยทั่วไปของสถาบันการเงิน

40

        (6) ทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน

40

        (7) คุณภาพสินทรัพย์

40

 


 

องค์ประกอบของงบการเงิน

 

TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

งบการเงินประกอบด้วย 

 

 

35p7.1

 

1. งบดุล

 

 

35p7.2

 

2. งบกำไรขาดทุน

 

 

35p7.3

 

3. งบใดงบหนึ่งดังต่อไปนี้

 

 

 

 

    (ก) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ

 

 

 

 

    (ข) งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

 

 

35p7.4

 

4. งบกระแสเงินสด

 

 

35p7.5

 

5. นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

 

35p8

 

6. รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลในงบการเงินของฝ่ายจัดการ (MD&A)

 

 

 

 


ส่วนประกอบของแต่ละงบการเงิน

 

1. งบดุล

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

ข้อมูลที่ต้องแสดงในงบดุล

 

 

35p66

 

1. งบดุลต้องแสดงรายการแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงิน ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย

 

 

 

 

    (ก) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

 

 

 

 

    (ข) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

 

 

 

 

    (ค) สินค้าคงเหลือ

 

 

 

 

    (ง) เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย

 

 

 

 

    (จ) สินทรัพย์ทางการเงินอื่น

 

 

 

 

    (ฉ) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

 

 

 

 

    (ช) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

 

 

 

 

    (ซ) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

 

 

 

 

    (ฌ) หนี้สินหรือสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

 

 

29p57

 

    (ญ) จำนวนรวมของหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าการเงิน โดยแสดงยอดรวมของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายตามสัญญา หักดอกเบี้ยจ่ายในอนาคต

 

 

35p66

 

    (ฎ) ประมาณการหนี้สิน  (ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยกำหนด)

 

 

 

 

    (ฏ) หนี้สินไม่หมุนเวียนที่มีภาระดอกเบี้ย

 

 

 

 

    (ฐ) ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย  (เฉพาะกรณีของงบการเงินรวม)

 

 

 

 

    (ฑ) ทุนที่ออก ซึ่งรวมจำนวนหุ้นที่จดทะเบียน  จำนวนหุ้นที่ออกและรับชำระเต็มมูลค่า  จำนวนหุ้นที่ออกและรับชำระบางส่วน  และมูลค่าที่ตราไว้

 

 

 

 

    (ฒ) สำรองต่าง ๆ และคำอธิบายถึงลักษณะและวัตถุประสงค์ของสำรองแต่ละชนิด (เช่น สำรองตามกฎหมาย และสำรองการสร้างโรงงาน เป็นต้น)

 

 

 

 

2. งบกำไรขาดทุน

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

ข้อมูลที่ต้องแสดงในงบกำไรขาดทุน

 

 

35p75

 

งบกำไรขาดทุนต้องแสดงรายการแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงิน ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย

 

 

 

 

(ก) รายได้

 

 

 

 

(ข) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

 

 

 

 

(ค) ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนในบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า ซึ่งคำนวณโดยวิธีส่วนได้เสีย

 

 

 

 

(ง) ค่าใช้จ่ายทางการเงิน

 

 

 

 

(จ) ค่าใช้จ่ายทางภาษี

 

 

40p42

 

(ฉ) ข้อมูลเกี่ยวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ซึ่งประกอบด้วย

-          รายได้ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผลที่เกิดจากเงินลงทุนชั่วคราวและเงินลงทุนระยะยาว

-          กำไรหรือขาดทุนสุทธิจากการจำหน่ายเงินลงทุนชั่วคราวและเงินลงทุนระยะยาว

-          กำไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนชั่วคราว

-          กำไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนประเภทเงินลงทุน

-          ขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน

 

 

35p75

 

(ช) กำไรหรือขาดทุนจากกิจกรรมตามปกติ

 

 

 

 

(ซ) ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย  (เฉพาะกรณีของงบการเงินรวม)

 

 

 

 

(ฌ) รายการพิเศษ

 

 

 

 

(ญ) กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด

 

 

35p85

 

(ฎ) จำนวนเงินปันผลต่อหุ้น (อาจเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ก็ได้)

 

 

38p44

 

(ฏ) กำไรหรือขาดทุนต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (basic EPS) และกำไรหรือขาดทุนต่อหุ้นปรับลด (diluted EPS) สำหรับหุ้นสามัญแต่ละประเภทที่มีสิทธิในกำไรหรือขาดทุนสุทธิ สำหรับงวดที่แตกต่างกัน โดยต้องแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดและเท่าเทียมกัน สำหรับทุกงวดที่แสดงในงบการเงิน

 

 

 

 

3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

ข้อมูลที่ต้องแสดงในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ

 

 

35p86

 

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของสามารถเลือกแสดงในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้

 

 

 

 

1. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ซึ่งแสดงรายการต่อไปนี้

 

 

 

 

    (ก) กำไรหรือขาดทุนสำหรับงวดบัญชี

 

 

 

 

    (ข) รายได้ ค่าใช้จ่าย รายการกำไรขาดทุนแต่ละรายการที่กำหนดให้รับรู้โดยตรงในส่วนของเจ้าของ

 

 

 

 

    (ค) ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีและของการแก้ไขข้อผิดพลาด

 

 

 

 

    (ง) รายการเกี่ยวกับเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ และการแบ่งปันส่วนทุนให้เจ้าของ

 

 

 

 

    (จ) ยอดคงเหลือของกำไรหรือขาดทุนสะสม ณ วันต้นงวด และ ณ วันที่ในงบดุล
รวมถึงรายการเปลี่ยนแปลงระหว่างงวด

 

 

 

 

    (ฉ) รายการกระทบยอดในส่วนทุนแต่ละประเภท ส่วนเกินมูลค่าหุ้น และสำรองแต่ละชนิดระหว่างต้นงวดกับปลายงวด โดยให้แยกแสดงการเปลี่ยนแปลงของแต่ละรายการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ซึ่งแสดงรายการ ดังต่อไปนี้

 

 

 

 

    (ก) กำไรหรือขาดทุนสำหรับงวดบัญชี

 

 

 

 

    (ข) รายได้ ค่าใช้จ่าย รายการกำไรขาดทุนแต่ละรายการที่กำหนดให้รับรู้โดยตรงในส่วนของเจ้าของ

 

 

 

 

    (ค) ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีและของการแก้ไขข้อผิดพลาด

(รายการ (ก) (ข) และ (ค) แสดงในหน้างบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ)

 

 

 

 

    (ง) รายการเกี่ยวกับเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ และการแบ่งปันส่วนทุนให้เจ้าของ

 

 

 

 

    (จ) ยอดคงเหลือของกำไรหรือขาดทุนสะสม ณ วันต้นงวด และ ณ วันที่ในงบดุล
รวมถึงรายการเปลี่ยนแปลงระหว่างงวด

 

 

 

 

    (ฉ) รายการกระทบยอดในส่วนทุนแต่ละประเภท ส่วนเกินมูลค่าหุ้น และสำรองแต่ละชนิดระหว่างต้นงวดกับปลายงวด โดยให้แยกแสดงการเปลี่ยนแปลงของแต่ละรายการ (รายการ (ง) (จ) และ (ฉ) แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน)

 

 

 

 

4. งบกระแสเงินสด

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยในงบกระแสเงินสด

 

 

 

 

กิจการควรแสดงกระแสเงินสด ดังต่อไปนี้

 

 

25p19

 

1. เงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน โดย

 

 

 

 

    (ก) วิธีทางตรง หรือ

 

 

 

 

    (ข) วิธีทางอ้อม

 

 

 

 

 

 

 

25p22

 

2. เงินสดจากกิจกรรมลงทุน

 

 

 

 

 

 

 

25p23

 

3. เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 

 

 

 


การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

1. ข้อมูลทั่วไป

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

การเปิดเผยข้อมูลทั่วไป

 

 

35p94.1

 

1. ข้อมูลทั่วไปที่ระบุว่า งบการเงินได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

35p19

 

2. ข้อเท็จจริงและเหตุผลประกอบในกรณีที่กิจการเลือกที่จะปฏิบัติตาม
มาตรฐานการบัญชีก่อนวันถือปฏิบัติ

 

 

 

 

 

 

 

44p6

 

3. เหตุผลที่แสดงความไม่จำเป็นในการแสดงงบการเงินรวม กรณีที่บริษัทใหญ่มีฐานะเป็นบริษัทย่อย ซึ่งถูกกิจการอื่นควบคุมอยู่

 

 

 

 

2. นโยบายการบัญชี

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

35p99

 

การเปิดเผยนโยบายการบัญชีสำหรับแต่ละบัญชี

 

 

37p34

 

1.  การรับรู้รายได้ และวิธีกำหนดขั้นความสำเร็จของรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ
การให้บริการ โดยระบุจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการรับรู้รายได้  (เช่น รับรู้รายได้
เมื่อส่งของ หรือรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างตามขั้นตอนความสำเร็จของงานระหว่างก่อสร้าง เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.  เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม ซึ่งรวมถึงบริษัทย่อยและบริษัทร่วม 
(เช่น ใช้วิธีส่วนได้เสียในการนำเสนองบการเงินรวม หรือใช้วิธีราคาทุนสำหรับ
เงินลงทุนในบริษัทร่วม เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. การรวมกิจการ

 

 

43p86

 

    (1) วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจ  (เช่น การซื้อธุรกิจ  หรือการรวม
ส่วนได้เสีย เป็นต้น)

 

 

 

 

    (2) ถ้ามีค่าความนิยม ต้องเปิดเผย

 

 

43p88.1

 

                (ก) ระยะเวลาที่ใช้ในการตัดจำหน่าย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                (ข) เหตุผลและปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการกำหนดอายุการใช้ประโยชน์ของ
ค่าความนิยม  (ในกรณีทั่วไป มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้ตัดจำหน่ายค่าความนิยม

ไม่เกิน 20 ปี)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับการร่วมค้า  (เช่น ใช้วิธีรวมตามสัดส่วน หรือใช้วิธีรวม
ส่วนได้เสีย)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์  -  สำหรับสินทรัพย์แต่ละชนิด

 

 

32p59.1

 

    (ก) เกณฑ์การวัดมูลค่า  (เช่น ราคาทุนสุทธิจากค่าเสื่อมราคาสะสม ปรับปรุงด้วย
มูลค่าจากการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น เป็นต้น)

 

 

32p59.2

 

    (ข) วิธีคิดค่าเสื่อมราคา (เช่น วิธีเส้นตรง เป็นต้น)

 

 

32p59.3

 

    (ค) อายุการใช้งานหรืออัตราค่าเสื่อมราคา

 

 

32p60.2

 

    (ง) วิธีการประมาณรายจ่ายในการบูรณะสถานที่หลังเลิกใช้ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. ต้นทุนการกู้ยืม (เช่น บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายหรือรวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

26p35.1

 

7. สัญญาก่อสร้าง

 

 

 

 

    (ก) วิธีการรับรู้รายได้  (เช่น รับรู้รายได้ตามวิธีอัตราส่วนของงานที่สำเร็จ และหยุดรับรู้รายได้เมื่อมีความไม่แน่นอนในการรับชำระโดยกำหนดเกณฑ์ว่า หากผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 งวด จะถือว่ามีความไม่แน่นอน เป็นต้น)

 

 

 

 

    (ข) วิธีที่ใช้ในการกำหนดขั้นความสำเร็จของงานระหว่างก่อสร้าง  (เช่น อัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ คำนวณโดยการเปรียบเทียบต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้วกับต้นทุนทั้งหมดที่คาดว่าจะใช้ในการก่อสร้าง หรือถือตามอัตราส่วนที่ประเมิน โดยผู้ควบคุมโครงการ เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8.  เครื่องมือทางการเงิน  -  สำหรับแต่ละประเภท

 

 

48p55.1

 

    (ก) เกณฑ์ที่ใช้กำหนดว่า เมื่อใดจะรับรู้เครื่องมือทางการเงินในงบดุล และเมื่อใดจะ
ตัดบัญชีเครื่องมือทางการเงินออกจากงบดุล  (เช่น หยุดรับรู้เมื่อสูญเสียการควบคุม
สิทธิของสัญญา  เมื่อหมดอายุสิทธิ  หรือละทิ้งสิทธิ เป็นต้น)

 

 

 

 

    (ข) เกณฑ์ที่ใช้วัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงินที่รับรู้เมื่อเริ่มแรก (เช่น ราคาทุน เป็นต้น)  และเกณฑ์ที่ใช้ในภายหลัง  (เช่น มูลค่ายุติธรรมสำหรับสินทรัพย์ และ

ราคาทุนตัดจำหน่ายสำหรับหนี้สิน เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

48p55.3

 

    (ค) เกณฑ์ในการรับรู้และวัดมูลค่าของรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือ
ทางการเงิน  (เช่น รับรู้เมื่อโอนสิทธิให้กิจการอื่น เป็นต้น)

 

 

48p58

 

    (ง) เกณฑ์ในการรับรู้รายการกำไรและขาดทุนที่เกิดขึ้น

 

 

48p58

 

    (จ) เกณฑ์ในการรับรู้รายการกำไรและขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น  (เช่น รวมอยู่ในกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวดที่เกิดขึ้น หรือรับรู้ตรงเข้าสู่ส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นต้น)

 

 

48p58

 

    (ฉ) เกณฑ์ในการรับรู้ดอกเบี้ย รายได้และค่าใช้จ่ายอื่น  (เช่น ผลตอบแทนที่จ่ายให้
ผู้ถือเครื่องมือทางการเงินนำไปหักจากส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นต้น)

 

 

48p58

 

    (ช) เกณฑ์ในการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือทางการเงินที่ถือไว้
เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่กิจการนำรายได้และค่าใช้จ่ายมาหักกลบลบกันใน
งบกำไรขาดทุน

 

 

48p46

 

    (ซ) วัตถุประสงค์และนโยบายการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ซึ่งรวมถึงนโยบายในการป้องกันความเสี่ยงของรายการบัญชีที่สำคัญซึ่งกิจการคาดว่าจะเกิดขึ้นและได้นำ
วิธีการบัญชีเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงมาใช้

 

 

 

 

 

 

 

40p45.1

 

9.  เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

 

 

 

 

      (ก) การกำหนดมูลค่าของเงินลงทุน (เช่น ราคาทุน  มูลค่ายุติธรรม เป็นต้น)

 

 

 

 

      (ข) วิธีการกำหนดต้นทุนของตราสารที่จำหน่าย (เช่น วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก เป็นต้น)

 

 

 

 

      (ค) การบันทึกบัญชีการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนชั่วคราว 
(เช่น บันทึกการเปลี่ยนแปลงเป็นรายการกำไรหรือขาดทุนสุทธิในงบกำไรขาดทุน
ทันทีในงวดที่เกิดรายการ เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

29p61

 

10. สัญญาเช่า  -  สำหรับผู้ให้เช่า

 

 

 

 

      (ก) เกณฑ์ที่ใช้ในการปันส่วนรายได้  (เช่น ค่าเช่าบันทึกตามวิธีสัญญาเช่าดำเนินงาน และรับรู้รายได้ตามจำนวนงวดผ่อนชำระ โดยวิธีผลรวมจำนวนงวด เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

14p24

 

11. ต้นทุนการวิจัยและพัฒนา 

 

 

 

 

      (ก) เกณฑ์ในการตัดบัญชีรายจ่ายและพัฒนารอการตัดบัญชี  (เช่น บันทึกเป็น
รายจ่ายเมื่อเกิดรายการ หรือตัดจำหน่ายภายในระยะเวลา 5-10 ปี เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

31p34.1

 

12. สินค้าคงเหลือ

 

 

 

 

      (ก) วิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือ  (เช่น ราคาทุน  ราคาทุนถัวเฉลี่ย หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า เป็นต้น)

 

 

 

 

      (ข) วิธีที่ใช้คำนวณราคาทุน  (เช่น วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก  หรือ

วิธีเข้าหลัง-ออกก่อน เป็นต้น)

 

 

30p62

 

13. การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศและการป้องกันความเสี่ยง

 

 

 

 

    (ก) วิธีการบัญชีที่เลือกใช้ในการแปลงค่าความนิยม และการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมที่เกิดจากการซื้อหน่วยงานต่างประเทศ  (เช่น แปลงค่าด้วยอัตราปิด ณ วันที่ในงบการเงิน เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

14. ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน

 

 

 

 

      (ก) คำจำกัดความของการจำแนกข้อมูลตามส่วนงานทางธุรกิจและทางภูมิศาสตร์  (เช่น แสดงแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และแสดงลักษณะของแต่ละ
ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เป็นต้น)

 

 

 

 

      (ข) เกณฑ์การปันส่วนค่าใช้จ่ายระหว่างส่วนงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

25p46

 

15. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

      () คำจำกัดความของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด  (เช่น เงินสดรวมถึง
เงินสดในมือ  เงินฝากธนาคาร และเงินลงทุนระยะยาว เป็นต้น)

      () นโยบายที่ใช้พิจารณาส่วนประกอบของรายการเงินสดและรายการเทียบเท่า
เงินสด  (เช่น วิธีปฏิบัติในการบริหารการเงิน เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

16. สัญญาเช่าซื้อ

 

 

 

 

7p8

 

7p9

 

      (ก) เกณฑ์การรับรู้รายได้จากดอกผลเช่าซื้อ  (เช่น วิธีผลรวมจำนวนงวดตาม
ระยะเวลาของสัญญาเช่าซื้อ เป็นต้น)

      (ข) วิธีการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับการผิดนัดชำระค่างวดและการทำผิดสัญญาเช่าซื้อ  (เช่น หยุดรับรู้รายได้เมื่อลูกหนี้มียอดค้างชำระเกิน 120 วัน เป็นต้น)

      (ค) การตีราคาสินทรัพย์รอการขาย  (เช่น ใช้ราคาตลาดหรือราคาตามบัญชี
แล้วแต่อย่างไรจะต่ำกว่า เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

43p86

 

17. วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจ (เช่น การรวมส่วนได้เสีย หรือการซื้อธุรกิจ เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

IAS20p12

 

18. วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล  (เช่น รับเป็นรายได้ตามจำนวนของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการที่รัฐบาลให้เงินอุดหนุน เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

IAS38
p107

 

19. สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน  -  สำหรับแต่ละประเภท (ต้องแยกสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน
ที่เกิดขึ้นภายในจากสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนประเภทอื่น) 

      (ก) อายุการให้ประโยชน์หรืออัตราการตัดจำหน่าย

      (ข) วิธีการตัดจำหน่าย

      (ค) เหตุผลและปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการกำหนดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์
ที่ไม่มีตัวตน (ในกรณีทั่วไป มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้ตัดจำหน่ายสินทรัพย์
ที่ไม่มีตัวตนได้ไม่เกิน 20 ปี)

 

 

 


 

3.  การเปิดเผยข้อมูลสำหรับรายการในงบดุล

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

35p66

 

การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับรายการในงบดุล

 

 

 

 

(1) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

 

 

 

 

1. จำนวนเงินของเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ถืออยู่ในมือของกิจการแต่ไม่อาจนำมาใช้โดยบริษัทในกลุ่ม รวมถึงคำชี้แจงของฝ่ายบริหารถึงเหตุผลดังกล่าว

 

 

 

 

 

 

 

25p49.1

 

2. จำนวนเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้ของวงเงินสินเชื่อที่อาจจะนำมาใช้เพื่อกิจกรรมดำเนินงานในอนาคต และเพื่อใช้คืนภาระผูกพันของทุน และข้อจำกัดที่มีต่อการใช้วงเงินดังกล่าว

 

 

 

 

 

 

 

25p49.3

 

3. จำนวนเงินรวมของกระแสเงินสดที่แสดงถึงความสามารถจากการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต้องแสดงแยกจากกระแสเงินสดที่ต้องมีเพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการดำเนินงานตามปกติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(2) ลูกหนี้การค้า

 

 

11p24

 

1. จำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในกรณีที่แสดงลูกหนี้ในงบดุลด้วยมูลค่าสุทธิ โดยใช้
ข้อมูลตามบัญชีก่อนการปรับโครงสร้างหนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(3) ลูกหนี้กรณีการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา

 

 

34p41.1

 

1. อัตราคิดลดที่เป็นเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้

 

 

 

 

 

 

 

34p41.2

 

2. จำนวนรายและยอดรวมของเงินลงทุนในลูกหนี้ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา
แสดงเปรียบเทียบกับจำนวนรายและยอดรวมของเงินลงทุนในลูกหนี้ที่มีอยู่ทั้งสิ้น

 

 

 

 

 

 

 

34p41.3

 

3. จำนวนรายและยอดรวมของเงินลงทุนในลูกหนี้ก่อนการปรับโครงสร้าง

 

 

 

 

    (ก) เปิดเผยถึงประเภทและมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และส่วนได้เสียในส่วนของ
เจ้าของที่ได้รับโอนมา หากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นการรับโอนสินทรัพย์หรือส่วนได้เสีย
ในส่วนของเจ้าของ

 

 

 

 

    (ข) เปิดเผยโดยเปรียบเทียบยอดรวมของเงินลงทุนในลูกหนี้ที่มีอยู่ตามบัญชีก่อนและ
หลังการปรับโครงสร้างหนี้ หากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
การชำระหนี้

 

 

 

 

 

 

 

34p41.4

 

4. ยอดเงินของเงินลงทุนในลูกหนี้ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหลืออยู่ ณ วันสิ้นงวด
พร้อมกับรายการกำไรขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้นในระหว่างงวด

 

 

34p41.5

 

5. ยอดรวมของภาระผูกพันคงเหลือที่เจ้าหนี้ตกลงให้ลูกหนี้กู้เพิ่มภายหลังการปรับ
โครงสร้างหนี้

 

 

 

 

 

 

 

34p42

 

6. ในกรณีที่การปรับโครงหนี้ที่มีปัญหาเป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้
เจ้าหนี้ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับยอดรวมของรายได้ดอกเบี้ยสำหรับงวดของลูกหนี้
ภายหลังที่มีการปรับโครงสร้างที่รวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนในทุกงวดบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(4) สินค้าคงเหลือ

 

 

31p34

 

1. ข้อมูลทั่วไป

 

 

 

 

    (ก) ราคาตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือแต่ละประเภทจำแนกตามความเหมาะสมของกิจการและราคาตามบัญชีรวม

 

 

 

 

    (ข) ราคาตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือที่แสดงในราคามูลค่าสุทธิที่จะได้รับ

 

 

 

 

    (ค) มูลค่าสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาที่เคยลดลง

 

 

 

 

    (ง) เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทำให้ราคาสินค้าคงเหลือกลับเพิ่มขึ้น

 

 

 

 

    (จ) ราคาตามบัญชีของสินค้าคงเหลือที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สิน

 

 

 

 

 

 

 

31p36

 

2. กรณีที่กิจการใช้วิธีเข้าหลังออกก่อน กิจการได้เปิดเผยถึงผลต่างระหว่างมูลค่าสินค้า
คงเหลือตามที่ปรากฏในงบดุลกับ

 

 

 

 

    (ก) มูลค่าตามราคาทุนที่คำนวณโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อนหรือวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า หรือ

 

 

 

 

    (ข) มูลค่าตามราคาต้นทุนปัจจุบัน ณ วันที่ในงบดุลหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ
แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(5) เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย (เงินลงทุนในบริษัทร่วม)

 

 

45p26.1

 

1. รายชื่อและข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทร่วมที่สำคัญ  สัดส่วนของความเป็นเจ้าของ
และสัดส่วนของสิทธิออกเสียงในกรณีที่แตกต่างจากสัดส่วนของความเป็นเจ้าของ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(6) เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

 

 

40p45.3

 

1. การเปลี่ยนแปลงในระหว่างงวดของส่วนเกินทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุนและลักษณะของการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

 

 

 

 

40p45.4

 

2. หลักทรัพย์เผื่อขายและตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด โดยแสดงแยกเป็น
แต่ละรายการ ดังต่อไปนี้

 

 

 

 

    (ก) มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน

 

 

 

 

    (ข) กำไรและขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุน

 

 

 

 

    (ค) ราคาทุนตัดจำหน่ายของตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด

 

 

 

 

    (ง) การจัดกลุ่มตราสารหนี้ตามระยะเวลาที่จะถึงกำหนด  (เช่น ภายใน 1 ปี เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

40p46

 

3. ข้อมูลสำหรับการขายหรือโอนเปลี่ยนประเภทตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด ดังนี้

 

 

 

 

    (ก) ต้นทุนตัดจำหน่ายของหลักทรัพย์ที่มีการขายหรือการโอนเปลี่ยน

 

 

 

 

    (ข) กำไรหรือขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้น

 

 

 

 

    (ค) กำไรหรือขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้น

 

 

 

 

    (ง) สถานการณ์ที่ทำให้กิจการขายหรือโอนเปลี่ยนตราสาร

 

 

 

 

 

 

 

40p47

 

4. ข้อมูลที่อาจเปิดเผยเพิ่มเติม

 

 

 

 

    (ก) การวิเคราะห์เงินลงทุนระยะยาวตามประเภทของเงินลงทุน

 

 

 

 

    (ข) การประมาณมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด
โดยผู้บริหาร

 

 

 

 

    (ค) วิธีที่ใช้ประมาณมูลค่าของเงินลงทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดที่นำมาเปรียบเทียบกับราคาทุน

 

 

 

 

    (ง) รายละเอียดเกี่ยวกับเงินลงทุนที่มีสัดส่วนอย่างเป็นสาระสำคัญต่อสินทรัพย์ของ
กิจการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(7) ค่าวิจัยและพัฒนา

 

 

14p23

 

1. จำนวนเงินค่าวิจัยและพัฒนาทั้งหมดที่เกิดขึ้นและที่ตัดเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

14p24

 

2. จำนวนเงินที่แสดงการเปลี่ยนแปลงและยอดคงเหลือในบัญชีรายจ่ายและพัฒนา
รอการตัดบัญชีและหลักเกณฑ์ในการตัดบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(8) สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน

 

 

IAS38

 

1. ข้อมูลทั่วไป

 

 

P111

 

    (ก) เหตุผลและปัจจัยสำคัญ ที่ใช้ในการกำหนดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์
หากกิจการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเกินกว่า 20 ปี

 

 

 

 

    (ข) คำอธิบาย ราคาตามบัญชี และระยะเวลาที่เหลืออยู่ของการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

 

 

 

 

    (ค) หากกิจการได้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจากการอุกหนุนของรัฐบาลและรับรู้เมื่อเริ่มแรกด้วยราคายุติธรรม

 

 

 

 

                (1) มูลค่ายุติธรรมที่รับรู้เมื่อเริ่มแรก

 

 

 

 

                (2) ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์

 

 

 

 

    (ง) ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้ หรือที่ไปวางเป็นประกันหนี้สิน

 

 

 

 

    (จ) จำนวนเงินที่กิจการผูกมัดว่าจะซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

 

 

 

 

 

 

 

IAS38p107

 

2. เปิดเผยสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่ละประเภท โดยแยกสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนประเภทอื่น ดังนี้

 

 

 

 

    (ก) อายุการให้ประโยชน์หรืออัตราการตัดจำหน่าย

 

 

 

 

    (ข) วิธีการตัดจำหน่าย

 

 

 

 

    (ค) ราคาตามบัญชีก่อนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ ณ วันต้นงวดและสิ้นงวด

 

 

 

 

    (ง) รายการแต่ละบรรทัดที่แสดงในงบกำไรขาดทุนซึ่งได้รวมค่าตัดจำหน่ายของ
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

 

 

 

 

    (จ) การกระทบยอดระหว่างราคาตามบัญชี ณ วันต้นงวดกับราคาตามบัญชี
ณ วันสิ้นงวด ที่แสดงถึงรายการต่อไปนี้

 

 

 

 

                (1) จำนวนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เพิ่มขึ้น

 

 

 

 

                (2) จำนวนสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ยกเลิกหรือจำหน่าย

 

 

 

 

                (3) จำนวนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงระหว่างงวดที่เกิดจาก
การด้อยค่าของสินทรัพย์

 

 

 

 

                (4) ค่าตัดจำหน่ายที่รับรู้ในระหว่างงวด

 

 

 

 

                (5) การเปลี่ยนแปลงในราคาตามบัญชีอื่นที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(9) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

 

 

32p59.4

 

1. ราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม  ค่าเสื่อมราคาสะสม  และ
ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ ณ วันต้นงวดและสิ้นงวด

 

 

 

 

 

 

 

32p59.5

 

2. รายการกระทบยอดของราคาตามบัญชีระหว่างวันต้นงวดถึงวันสิ้นงวดที่แสดงถึง

 

 

 

 

    (ก) จำนวนของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น

 

 

 

 

    (ข) จำนวนของสินทรัพย์ที่จำหน่าย

 

 

 

 

    (ค) จำนวนของสินทรัพย์ที่ได้มาจากการควบกิจการ

 

 

 

 

    (ง) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงระหว่างงวด (ซึ่งเป็นผลมาจากการตีราคาใหม่  การรับรู้หรือกลับรายการขาดทุนจากการด้อยค่าโดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ)

 

 

 

 

    (จ) รายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่รับรู้ หรือกลับบัญชีใน
งบกำไรขาดทุนระหว่างงวด

 

 

 

 

    (ฉ) ค่าเสื่อมราคา

 

 

 

 

    (ช) ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิที่เกิดจากการแปลงค่างบการเงินของหน่วยงานในต่างประเทศ (เฉพาะกรณีที่มีการรวมงบการเงินของกิจการในต่างประเทศเข้ามา)

 

 

 

 

    (ซ) การเปลี่ยนแปลงอื่น

 

 

 

 

(หมายเหตุ:  การเปิดเผยรายการกระทบยอดไม่ต้องแสดงข้อมูลเปรียบเทียบ)

 

 

 

 

 

 

 

32p60.1

 

3. จำนวนและข้อจำกัดในกรรมสิทธิ์ของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ใช้เป็นหลักประกัน
หนี้สิน

 

 

 

 

 

 

 

32p60.3

 

4. จำนวนรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นในการสร้าง อาคารและอุปกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

32p60.4

 

5. จำนวนภาระผูกพันที่ตกลงไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

32p62

 

6. ลักษณะและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีที่มีผลกระทบ
อย่างมีนัยสำคัญในงวดปัจจุบันหรือที่คาดว่าจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
ในงวดต่อ ๆ ไป ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการในเรื่องต่อไปนี้

 

 

 

 

    (ก) ราคาซาก

 

 

 

 

    (ข) ประมาณการรายจ่ายในการรื้อ การขนย้าย หรือการบูรณะสถานที่ภายหลัง
การเลิกใช้สินทรัพย์

 

 

 

 

    (ค) อายุการใช้งาน

 

 

 

 

    (ง) วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา

 

 

 

 

 

 

 

32p63

 

7. หากที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ กิจการต้องเปิดเผย

 

 

 

 

    (ก) เกณฑ์ที่ใช้ในการตีราคาสินทรัพย์

 

 

 

 

    (ข) วันที่มีการตีราคาสินทรัพย์ใหม่

 

 

 

 

    (ค) การตีราคาใหม่ทำโดยผู้ประเมินอิสระหรือไม่

 

 

 

 

    (ง) ลักษณะของดัชนีที่ใช้กำหนดราคาเปลี่ยนแทน

 

 

 

 

    (จ) ราคาตามบัญชีของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แต่ละประเภท ซึ่งควรแสดงใน
งบการเงิน หากกิจการเลิกแสดงสินทรัพย์ด้วยราคาทุน

 

 

 

 

    (ฉ) ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ซึ่งกิจการต้องแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของส่วนเกินทุนดังกล่าวในระหว่างงวดและข้อจำกัดในการแบ่งส่วนเกินทุนนั้นให้กับ
เจ้าของ

 

 

 

 

 

 

 

32p65

 

8. ข้อมูลอื่นที่ต้องเปิดเผยหากเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน เช่น

 

 

 

 

    (ก) ราคาตามบัญชีของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่กิจการไม่ได้ใช้ประโยชน์
เป็นการชั่วคราว

 

 

 

 

    (ข) ราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งหัก
ค่าเสื่อมราคาทั้งจำนวนแล้วแต่ยังคงใช้งานอยู่

 

 

 

 

    (ค) ราคาตามบัญชีของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ซึ่งเลิกใช้งานและถือไว้เพื่อรอจำหน่าย

 

 

 

 

    (ง) มูลค่ายุติธรรมของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หากมูลค่ายุติธรรมดังกล่าวแตกต่างจากราคาตามบัญชีอย่างมีนัยสำคัญ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(10) ต้นทุนการกู้ยืม

 

 

33p29

 

1. กิจการต้องเปิดเผยต้นทุนการกู้ยืม ดังต่อไปนี้

 

 

 

 

      (ก) จำนวนต้นทุนการกู้ยืมที่รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ในระหว่างงวด

 

 

 

 

      (ข) อัตราการตั้งขึ้นเป็นทุนที่ใช้คำนวณต้นทุนการกู้ยืมที่อนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(11) สินทรัพย์ที่ด้อยค่า

 

 

36p113.1

+ 113.2

 

1. จำนวนรายการขาดทุนจากการด้อยค่าที่รับรู้ (หรือที่กลับบัญชีและรับรู้) ใน
งบกำไรขาดทุนระหว่างงวด และรายการแต่ละบรรทัดที่แสดงในงบกำไรขาดทุน
ซึ่งมีรายการขาดทุนจากการด้อยค่า (หรือรายการขาดทุนจากการด้อยค่าที่กลับบัญชี)

 

 

 

 

 

 

 

36p113.3

+ 113.4

 

2. จำนวนรายการขาดทุนจากการด้อยค่าที่รับรู้ (หรือที่กลับบัญชีและรับรู้) โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของในระหว่างงวด

 

 

 

 

 

 

 

36p117

 

3. หากกิจการรับรู้หรือกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์
ซึ่งมีนัยสำคัญต่องบการเงินโดยรวมของกิจการ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้

 

 

 

 

    (ก) เหตุการณ์และสถานการณ์ที่ทำให้กิจการต้องรับรู้หรือกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่า

 

 

 

 

    (ข) จำนวนรายการขาดทุนจากการด้อยค่าที่กิจการรับรู้หรือกลับบัญชี

 

 

 

 

    (ค) ลักษณะสินทรัพย์แต่ละรายการและหน่วยงานที่เสนอรายงานซึ่งสินทรัพย์นั้น
รวมอยู่

 

 

 

 

    (ง) หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดเกี่ยวกับ

 

 

 

 

                -  ลักษณะของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด (เช่น สายการผลิต
หน่วยงานทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น)

 

 

 

 

                - จำนวนรายการขาดทุนจากการด้อยค่าที่กิจการรับรู้ หรือกลับบัญชีโดยแสดงแยกตามสินทรัพย์แต่ละประเภทหรือตามหน่วยงานที่เสนอรายงาน

 

 

 

 

                - สินทรัพย์ที่รวมอยู่ในหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดหากมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่กิจการได้ประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเป็นหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดนั้น กิจการต้องอธิบายถึงลักษณะการรวมสินทรัพย์เป็นหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิด

เงินสดในปัจจุบันและอดีต และเหตุผลที่กิจการเปลี่ยนแปลงลักษณะการรวมสินทรัพย์เป็นหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดนั้น

 

 

 

 

 

 

 

36p117.5

 

4. มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดว่าเป็นราคาขายสุทธิ หรือมูลค่าจากการใช้

 

 

 

 

 

 

 

36p117.6

 

5. เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดราคาขายสุทธิหากมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเป็น
ราคาขายสุทธิ (เช่น ราคาขายสุทธิกำหนดขึ้นโดยใช้ราคาอ้างอิงจากตลาดซื้อขายคล่อง เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

36p117.7

 

6. อัตราคิดลดที่ใช้ในการประมาณมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ทั้งจำนวนทั้งในปัจจุบัน
และอดีต หากมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคือเป็นมูลค่าจากการใช้

 

 

 

 

 

 

 

กลต.จ.(ว)

 

(12) คุณภาพสินทรัพย์

 

 

21/2541

 

1. ในกรณีที่บริษัทมีการลงทุนหรือทำธุรกรรมกับบริษัทที่มีปัญหาเกี่ยวกับฐานะ
การดำเนินงาน ต้องเปิดเผย

 

 

 

 

    (ก) ประเภทของบริษัทที่มีปัญหาที่กิจการลงทุนหรือทำธุรกรรมด้วย

 

 

 

 

    (ข) ประเภทและมูลค่าสินทรัพย์ที่เกิดจากการลงทุนหรือการทำธุรกรรม

 

 

 

 

    (ค) ค่าเผื่อการลดค่าของสินทรัพย์ที่กิจการสำรองไว้สำหรับสินทรัพย์ในแต่ละประเภท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ในกรณีที่บริษัทมีลูกหนี้การค้า ให้แสดงมูลค่าแยกตามอายุลูกหนี้ (aging)
โดยแยกแสดงเป็นลูกหนี้ค้างชำระเกิน 3  6  และ 12 เดือนขึ้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(13) เจ้าหนี้กรณีปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา

 

 

34p27.1

 

1. รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือลักษณะสำคัญของข้อตกลงในการชำระหนี้สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้แต่ละประเภท

 

 

 

 

 

 

 

34p27.2

 

2. ยอดรวมของรายการกำไรที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้ และผลกระทบของ.
ภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

34p27.3

 

3. จำนวนต่อหุ้นของรายการกำไรรวมที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้ทุกรายการ
สุทธิจากภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

34p27.4

 

4. ยอดรวมของรายการกำไรและขาดทุนที่รับรู้ในระหว่างงวด ซึ่งเกิดจากการโอนสินทรัพย์

 

 

 

 

 

 

 

34p28

 

5. ภายหลังจากการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา ให้เปิดเผย

 

 

 

 

    (ก) จำนวนหนี้ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ซึ่งรวมอยู่ในราคาตามบัญชีของหนี้ที่มี
การปรับโครงสร้าง

 

 

 

 

    (ข) จำนวนหนี้ทั้งสิ้นที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการปรับโครงสร้างหนี้ และเงื่อนไข
ที่อาจทำให้จำนวนหนี้ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าล้มเลิกไปหรือต้องรับรู้เป็นหนี้สิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(14) หนี้สินหรือสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 

 

 

IAS12p79

 

1. เปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้แยกจากกัน 

 

 

 + p81

 

    (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้  (เช่น ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
ในปัจจุบัน เป็นต้น)

 

 

 

 

    (ข) ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของรายได้ภาษีเงินได้  (เช่น รายได้ภาษีเงินได้ 
รายได้ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับผลแตกต่างชั่วคราว  และเครดิตภาษี
ที่ยังไม่ได้รับรู้ เป็นต้น)

 

 

 

 

    (ค) จำนวนรวมของภาษีเงินได้ในปัจจุบันกับภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับรายการที่บันทึกโดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ

 

 

 

 

    (ง) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้หรือรายได้ภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับรายการพิเศษที่รับรู้ในระหว่างงวด

 

 

 

 

    (จ) คำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้หรือรายได้ภาษีเงินได้กับกำไรทางบัญชีในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือทั้งสองลักษณะ ดังนี้

 

 

 

 

                (1) การกระทบยอดจำนวนเงินระหว่างค่าใช่จ่ายภาษีเงินได้หรือรายได้
ภาษีเงินได้กับผลคูณของกำไรทางบัญชีกับอัตราภาษีที่ใช้ และเปิดเผยเกณฑ์การคำนวณอัตราภาษีที่ใช้

 

 

 

 

                (2) การกระทบยอดระหว่างอัตราภาษีที่แท้จริงถัวเฉลี่ยกับอัตราภาษีที่ใช้ และเปิดเผยเกณฑ์การคำนวณอัตราภาษีที่ใช้

 

 

 

 

    (ฉ)  คำอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีที่ใช้เปรียบเทียบกับงวดก่อน

 

 

 

 

    (ช)  จำนวนผลต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้และเครดิตภาษี
ที่ยังไม่ได้ใช้สำหรับสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ไม่ได้รับรู้ในงบดุลและ
วันถึงกำหนดของจำนวนดังกล่าว

 

 

 

 

    (ญ) จำนวนรวมของผลต่างชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อย สาขา
บริษัทร่วม และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ซึ่งไม่ได้รับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีไว้ในงบดุล

 

 

 

 

 

 

 

IAS12
p81(g)

 

2. ข้อมูลเกี่ยวกับผลแตกต่างชั่วคราวแต่ละประเภท ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้
แต่ละประเภท และเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้แต่ละประเภท ดังนี้

 

 

 

 

    (ก) จำนวนสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
ที่กิจการรับรู้ในงบดุลสำหรับแต่ละงวดที่นำเสนอ

 

 

 

 

    (ข) จำนวนรายได้ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
ที่กิจการรับรู้ในงบกำไรขาดทุน หากจำนวนดังกล่าวไม่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
จากการเปลี่ยนแปลงของจำนวนที่รับรู้ในงบดุล

 

 

 

 

 

 

 

IAS12

 

3.  ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับรายการต่อไปนี้ สำหรับกิจการที่ยกเลิก

 

 

p81(h)

 

    (ก) รายการกำไรหรือรายการขาดทุนจากการยกเลิก

 

 

 

 

    (ข) กำไรหรือขาดทุนจากกิจกรรมตามปกติของการดำเนินงานที่ยกเลิกสำหรับงวด
และข้อมูลเปรียบเทียบสำหรับทุกงวดที่นำเสนอ

 

 

 

 

 

 

 

IAS12p82

 

4. จำนวนสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหลักฐานที่ใช้สนับสนุนการรับรู้
สินทรัพย์นั้นเมื่อเป็นไปตามข้อกำหนดทุกข้อต่อไปนี้

 

 

 

 

    (ก) การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีขึ้นอยู่กับจำนวนกำไร
ทางภาษีในอนาคตที่สูงกว่ากำไรจากการกลับรายการผลแตกต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีที่มีอยู่ในขณะนั้น

 

 

 

 

    (ข) กิจการประสบผลขาดทุนในงวดปัจจุบันหรืองวดก่อนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์
ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(15) เครื่องมือทางการเงิน

 

 

 

 

1. เงื่อนไขและข้อตกลง

 

 

48p50.1

 

    (ก) ลักษณะ เนื้อหา เงื่อนไข และข้อตกลงที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องมือทางการเงิน รวมถึงความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดในอนาคต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(หมายเหตุ :

 

 

48p52

 

1. หากเครื่องมือทางการเงินที่ถือหรือออกโดยกิจการทำให้กิจการประสบกับความเสี่ยง
ที่เป็นสาระสำคัญ (เช่น ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงจากตลาด) กิจการต้องเปิดเผยเงื่อนไขและข้อตกลงดังต่อไปนี้สำหรับเครื่องมือทางการเงินแต่ละรายการหรือแต่ละประเภท

 

 

 

 

-  เงินต้น มูลค่าที่ตราไว้ หรือจำนวนที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจเป็นจำนวนฐานที่ใช้เป็น
เกณฑ์การจ่ายชำระในอนาคต (จำนวนฐาน คือ จำนวนที่ระบุในสัญญาซึ่งใช้เป็นฐาน
ในการคำนวณจำนวนเงินที่จะได้รับหรือต้องจ่ายชำระสำหรับเครื่องมือทางการเงินนั้น)

 

 

 

 

-  วันที่ครบกำหนด วันหมดอายุ หรือวันที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา

 

 

 

 

-  สิทธิเลือกที่จะชำระเครื่องมือทางการเงินก่อนกำหนด และราคาหรือช่วงราคาตามสิทธิ

 

 

 

 

-  สิทธิเลือกที่จะแปลงสภาพหรือแลกเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงินหนึ่งกับ
เครื่องมือทางการเงินอื่น หรือกับสินทรัพย์หรือหนี้สินอื่น รวมทั้งช่วงเวลาหรือ
วันที่สามารถใช้สิทธิและอัตราแปลงสภาพหรืออัตราแลกเปลี่ยน

 

 

 

 

-  จำนวนเงินและจังหวะเวลาของตารางการรับหรือจ่ายเงินต้นในอนาคตของ
เครื่องมือทางการเงินอื่น หรือกับสินทรัพย์หรือหนี้สินอื่น รวมทั้งช่วงเวลาหรือ
วันที่สามารถใช้สิทธิ และอัตราแปลงสภาพหรืออัตราแปลงสภาพหรืออัตราแลกเปลี่ยน

 

 

 

 

-  จำนวนเงินและจังหวะเวลาของตารางรับหรือจ่ายเงินต้นในอนาคตของ
เครื่องมือทางการเงิน รวมทั้งการจ่ายแบบผ่อนชำระ และข้อกำหนดในการกันสินทรัพย์เพื่อชำระเครื่องมือทางการเงิน

 

 

 

 

-  อัตราหรือจำนวนที่กำหนดไว้ของดอกเบี้ย เงินปันผล หรือผลตอบแทนอื่นจากเงินต้นที่กำหนดจ่ายเป็นงวด ๆ รวมถึงกำหนดการจ่ายชำระและจังหวะเวลาของการจ่ายชำระนั้น

 

 

 

 

-  หลักประกันที่จะได้รับในกรณีของสินทรัพย์ทางการเงินหรือหลักประกันที่นำไปวาง
ในกรณีของหนี้สินทางการเงิน

 

 

 

 

-  สกุลเงินของกระแสเงินสดที่จะได้รับหรือต้องจ่ายซึ่งเกิดจากเครื่องมือทางการเงิน
หากแตกต่างไปจากสกุลเงินที่เสนอรายงาน

 

 

 

 

-  เงื่อนไขหรือข้อผูกมัดสำคัญของเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งสามารถล้มล้างหรือ
เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขอื่น

 

 

 

 

2. อธิบายลักษณะของเครื่องมือทางการเงิน หากการแสดงเครื่องมือทางการเงินในงบดุลแตกต่างไปจากรูปแบบทางกฎหมาย )

 

 

 

 

 

 

 

48p59

 

2. ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย

 

 

 

 

    (ก) วันที่มีการกำหนดอัตราใหม่ตามสัญญาหรือวันที่ครบกำหนด แล้วแต่วันใด
จะถึงก่อน

 

 

 

 

    (ข) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง หากสามารถคำนวณได้

 

 

 

 

 

 

 

48p69

 

3. ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ

 

 

 

 

    (ก) จำนวนเงินสูงสุด ณ วันที่ในงบดุลที่กิจการอาจต้องสูญเสียจากการให้สินเชื่อ

 

 

 

 

    (ข) การกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อที่เป็นสาระสำคัญ

 

 

 

 

 

 

 

48p80

 

4. มูลค่ายุติธรรม

 

 

 

 

    (ก) มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินแต่ละประเภท
ทั้งที่รับรู้และไม่ได้รับรู้ในงบดุล

 

 

 

 

    (ข) ในกรณีที่กิจการไม่สามารถเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมได้ในทางปฏิบัติ กิจการได้
เปิดเผยข้อเท็จจริงและข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของเครื่องมือทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมูลค่ายุติธรรม

 

 

 

 

 

 

 

48p91

 

5. หากกิจการแสดงสินทรัพย์ทางการเงินด้วยจำนวนที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม กิจการ
ต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้

 

 

 

 

    (ก) ราคาตามบัญชีและมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์แต่ละรายการหรือแต่ละกลุ่ม

 

 

 

 

    (ข) เหตุผลที่ไม่ปรับลดราคาตามบัญชี และหลักฐานที่ทำให้ฝ่ายบริหารเชื่อว่า
จะได้รับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์หรือกลุ่มสินทรัพย์นั้นคืน

 

 

 

 

 

 

 

48p94

 

6. ข้อมูลต่อไปนี้ เมื่อกิจการบันทึกเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยง
ของรายการบัญชีในอนาคตที่คาดว่าจะเกิด  

 

 

 

 

    (ก) คำอธิบายเกี่ยวกับรายการบัญชีที่คาดว่าจะเกิด และช่วงเวลาที่คาดว่า
รายการบัญชีนั้นจะเกิดขึ้น

 

 

 

 

    (ข) คำอธิบายถึงเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง

 

 

 

 

    (ค) จำนวนเงินของรายการกำไรหรือขาดทุนที่รอการตัดบัญชีหรือที่ยังไม่ได้รับรู้และกำหนดเวลาที่คาดว่ารายการดังกล่าวจะรับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน

 

 

 

 

 

 

 

48p97

 

7. ข้อมูลที่มาตรฐานการบัญชีสนับสนุนให้เปิดเผยเพิ่มเติม

 

 

 

 

    (ก) จำนวนรวมของมูลค่ายุติธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของสินทรัพย์ทางการเงิน
และหนี้สินทางการเงินที่รับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในระหว่างงวด

 

 

 

 

    (ข) จำนวนรวมของรายการกำไรหรือรายการขาดทุนที่รอการตัดบัญชีหรือที่ยังไม่ได้
รับรู้ของเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่ไม่ได้ใช้ในการป้องกันความเสี่ยงของรายการ
ในอนาคตที่คาดว่าจะเกิด

 

 

 

 

    (ค) ยอดรวมถัวเฉลี่ยระหว่างปีของราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่ได้รับรู้ในงบดุล ยอดรวมถัวเฉลี่ยระหว่างปีของเงินต้น มูลค่าที่ตราไว้ จำนวนฐานหรือจำนวนอื่นที่คล้ายคลึงกันของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่ไม่มีการรับรู้ในงบดุล และยอดรวมถัวเฉลี่ยระหว่างปีของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน โดยเฉพาะเมื่อจำนวนที่แสดงอยู่ ณ วันที่ในงบดุล
ไม่เป็นตัวแทนที่ดีพอของจำนวนในระหว่างปี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(16) ทุนเรือนหุ้น

 

 

 

 

1. สิทธิ สิทธิพิเศษ และข้อจำกัดของทุนเรือนหุ้นแต่ละประเภท รวมทั้งข้อจำกัด
ในการจ่ายเงินปันผล และการจ่ายคืนทุน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. หุ้นของกิจการที่ถือโดยบริษัทร่วม หรือบริษัทย่อย หรือที่ถือโดยกิจการเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. หุ้นที่สำรองไว้เพื่อออกให้ตามสิทธิในการซื้อหุ้น และเพื่อออกให้ตามสัญญาซื้อขาย 
ทั้งนี้ ให้เปิดเผยเงื่อนไขและจำนวนที่เกี่ยวข้องด้วย

 

 

 

 


 

4.  การเปิดเผยข้อมูลสำหรับรายการในงบกำไรขาดทุน

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

37p34.2

 

1. จำนวนรายได้ที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งรับรู้ระหว่างงวดตามประเภทต่อไปนี้

(ก)    การขายสินค้า

(ข)     ดอกเบี้ย

(ค)    ค่าสิทธิ

 

 

 

 

    (ง)   เงินปันผล

 

 

 

 

 

 

 

37p34.3

 

2. จำนวนรายได้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ

 

 

 


การรวมธุรกิจ เงินลงทุนในบริษัทร่วม บริษัทร่วม และกิจการร่วมค้า

 

การรวมธุรกิจ

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

43p86

 

1. ข้อมูลทั่วไปที่ต้องเปิดเผย (สำหรับการรวมธุรกิจทุกประเภท)

(ก)    รายชื่อและคำอธิบายของแต่ละธุรกิจที่มารวมกัน

(ข)     วันที่การรวมธุรกิจมีผลต่อการปฏิบัติทางบัญชี

(ค)    การดำเนินงานบางส่วนที่ตัดสินใจจะยกเลิกเนื่องจากการรวมธุรกิจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การรวมธุรกิจที่เป็นการซื้อธุรกิจ

 

 

 

 

2. ในการรวมธุรกิจที่เป็นการซื้อธุรกิจ กิจการ (ผู้ซื้อ) ต้องเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
งวดที่เกิดการซื้อธุรกิจขึ้นเพิ่มเติม ดังนี้

 

 

43p87.1

 

    (ก) สัดส่วนของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงที่ได้มา

 

 

43p87.2

 

    (ข) ต้นทุนการซื้อธุรกิจและคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งตอบแทนในการซื้อธุรกิจที่ได้จ่ายไปหรือที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหน้า

 

 

43p92

 

    (ค) ประมาณการหนี้สินที่เกิดจากการยกเลิกหรือลดกิจกรรมของธุรกิจที่ซื้อมา โดยแยกเปิดเผยประมาณการหนี้สินดังกล่าวจากประมาณการหนี้สินอื่น  และราคาตามบัญชีรวมของประมาณการหนี้สินสำหรับการรวมธุรกิจแต่ละครั้ง

 

 

43p93

 

    (ง) หากผู้ซื้อยังไม่สามารถกำหนดมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนในการซื้อธุรกิจหรือของสินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้ ทำให้ผู้ซื้อต้องใช้ประมาณการ ผู้ซื้อต้องเปิดเผย
ข้อเท็จจริงดังกล่าวและเหตุผลที่เกี่ยวข้อง  หากในเวลาต่อมา ผู้ซื้อปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมที่ประมาณไว้ ผู้ซื้อต้องเปิดเผยและอธิบายถึงการปรับปรุงดังกล่าวในงบการเงินของ
งวดที่เกี่ยวข้อง

 

 

43p88

 

    (จ) รายละเอียดเกี่ยวกับค่าความนิยม ดังต่อไปนี้

 

 

 

 

         (1) รายการแต่ละบรรทัดทุกรายการในงบกำไรขาดทุนที่รวมค่าตัดจำหน่ายของ
ค่าความนิยม

 

 

 

 

         (2) รายการกระทบยอดของราคาตามบัญชีของค่าความนิยมระหว่างต้นงวดกับปลายงวดที่แสดงถึงรายการต่อไปนี้

 

 

 

 

                (2.1) จำนวนของค่าความนิยมก่อนหักค่าตัดจำหน่ายสะสม และ
ค่าตัดจำหน่ายสะสม (ซึ่งรวมถึงค่าเผื่อการด้อยค่า) ณ วันต้นงวด

 

 

 

 

                (2.2) ค่าความนิยมที่รับรู้ในระหว่างงวด

 

 

 

 

                (2.3) การปรับปรุงซึ่งเกิดจากสินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้ ซึ่งสามารถแยกรับรู้ได้ในภายหลังหรือการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                (2.4) ค่าความนิยมที่ตัดบัญชีในระหว่างงวดซึ่งเกิดจากการยกเลิกธุรกิจทั้งหมดหรือบางส่วน

 

 

 

 

                (2.5) ค่าตัดจำหน่ายที่รับรู้ในระหว่างงวด

 

 

 

 

                (2.6) รายการขาดทุนจากการด้อยค่าที่รับรู้ในระหว่างงวด

 

 

 

 

                (2.7) รายการขาดทุนจากการด้อยค่าที่กลับบัญชีในระหว่างงวด

 

 

 

 

                (2.8) การเปลี่ยนแปลงของราคาตามบัญชีที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด

 

 

 

 

                (2.9) จำนวนของค่าความนิยมก่อนหักค่าตัดจำหน่ายสะสม และ
ค่าตัดจำหน่ายสะสม (ซึ่งรวมถึงค่าเผื่อการด้อยค่า) ณ วันสิ้นงวด

 

 

 

 

     (หมายเหตุ : ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องแสดงข้อมูลการเปรียบเทียบ)

 

 

43p91

 

    (ฉ) ข้อมูลเกี่ยวกับค่าความนิยมติดลบ ดังต่อไปนี้

 

 

 

 

         (1) คำอธิบายเกี่ยวกับผลขาดทุนและค่าใช้จ่ายในอนาคตรวมทั้งจำนวน
และจังหวะเวลาของผลขาดทุนและค่าใช้จ่ายดังกล่าวเฉพาะส่วนที่สัมพันธ์กับ
ค่าความนิยมติดลบ

 

 

 

 

         (2) ระยะเวลาตัดจำหน่ายค่าความนิยมติดลบเป็นรายได้

 

 

 

 

         (3) รายการแต่ละบรรทัดทุกรายการในงบกำไรขาดทุนซึ่งรวมรายได้ที่รับรู้จาก
การตัดจำหน่ายค่าความนิยมติดลบ

 

 

 

 

         (4) รายการกระทบยอดของราคาตามบัญชีของค่าความนิยมติดลบระหว่างต้นงวดกับปลายงวดที่แสดงถึงรายการต่อไปนี้

 

 

 

 

                (4.1) จำนวนของค่าความนิยมติดลบก่อนหักค่าตัดจำหน่ายสะสม และ
ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันต้นงวด

 

 

 

 

                (4.2) ค่าความนิยมติดลบที่รับรู้เพิ่มในระหว่างงวด

 

 

 

 

                (4.3) การปรับปรุงที่เกิดจากสินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้ ซึ่งสามารถแยกรับรู้ได้ในภายหลัง หรือการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้

 

 

 

 

                (4.4) ค่าความนิยมติดลบที่ตัดบัญชีในระหว่างงวด ซึ่งเกิดจากการยกเลิกธุรกิจทั้งหมดหรือบางส่วน

 

 

 

 

                (4.5) ค่าความนิยมติดลบที่รับรู้เป็นรายได้ในระหว่างงวด โดยต้องแยกแสดงส่วนของค่าความนิยมติดลบที่รับรู้เป็นรายได้

 

 

 

 

                (4.6) การเปลี่ยนแปลงของราคาตามบัญชีที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด

 

 

 

 

                (4.7) จำนวนของค่าความนิยมติดลบก่อนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและ
ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันสิ้นงวด

 

 

 

 

     (หมายเหตุ : ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องแสดงข้อมูลเปรียบเทียบ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การรวมธุรกิจที่เป็นการรวมส่วนได้เสีย

 

 

43p94

 

1. ในการรวมธุรกิจที่เป็นการรวมส่วนได้เสีย กิจการที่รวมแล้วต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ในงบการเงินสำหรับงวดที่มีการรวมส่วนได้เสีย

 

 

 

 

    (ก) คำอธิบายเกี่ยวกับการรวมส่วนได้เสีย จำนวนหุ้นที่ออก และสัดส่วนของหุ้นที่มี
สิทธิออกเสียง ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างกิจการที่มารวมกัน

 

 

 

 

    (ข) จำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของแต่ละกิจการที่มารวมกัน

 

 

 

 

    (ค) รายได้จากการขาย รายได้จากการดำเนินงานอื่น รายการพิเศษ และกำไรหรือ
ขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการที่มารวมกันก่อนวันรวมธุรกิจ ซึ่งรวมอยู่ในกำไรหรือ
ขาดทุนสุทธิที่แสดงในงบการเงินของแต่ละกิจการที่มารวมกัน

 

 

 

 

 

 

 

43p96

 

2. สำหรับการรวมธุรกิจที่มีผลภายหลังวันที่ในงบดุล กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่ระบุข้างต้น หากไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงที่ว่า กิจการไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้

 

 

 

 

งบการเงินรวมและการลงทุนในบริษัทย่อย

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

ข้อมูลทั่วไปที่ต้องเปิดเผย

 

 

44p28.1

 

1. รายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทย่อยที่สำคัญ

 

 

 

 

    (ก) รายชื่อของบริษัทย่อย

 

 

 

 

    (ข) ประเทศที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท หรือสถานที่ประกอบการ

 

 

 

 

    (ค) สัดส่วนของความเป็นเจ้าของ

 

 

 

 

    (ง) สัดส่วนของสิทธิออกเสียงที่ต่างจากสัดส่วนของความเป็นเจ้าของ

 

 

 

 

 

 

 

44p28.5

 

2. ผลกระทบจากการได้มาหรือจำหน่ายบริษัทย่อยในงวดบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องเปิดเผย

 

 

44p28.2

 

1. เหตุผล กรณีที่บริษัทใหญ่ไม่นำบริษัทย่อยมาจัดทำงบการเงินรวม

 

 

 

 

 

 

 

44p28.3

 

2. ลักษณะความสัมพันธ์กับบริษัทย่อย กรณีที่บริษัทใหญ่ไม่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทย่อยเกินกว่ากึ่งหนึ่ง (ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม)

 

 

 

 

 

 

 

44p28.4

 

3. ชื่อของบริษัทที่ไม่ถือเป็นบริษัทย่อย กรณีที่บริษัทใหญ่มีสิทธิออกเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง แต่ไม่สามารถควบคุมบริษัทนั้นได้

 

 

 

 

 

 

 

44p19

 

4. ข้อเท็จจริงที่ว่า บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยไม่สามารถใช้นโยบายเดียวกันสำหรับ
รายการบัญชีที่เหมือนกัน หรือเหตุการณ์ทางบัญชีที่คล้ายคลึงกัน และสัดส่วนของ
รายการที่ใช้นโยบายการบัญชีที่ต่างกันในงบการเงินรวม

 

 

 

 

การร่วมค้า

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

46p45

 

1. ภาระผูกพันของตนที่เกิดจากการมีส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าแยกต่างหากจาก
ภาระผูกพันอื่น

 

 

 

 

    (ก) ภาระผูกพันด้านเงินทุนของผู้ร่วมค้าที่เกิดจากการมีส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าและภาระผูกพันด้านเงินทุนที่เกิดขึ้นร่วมกับผู้ร่วมค้าอื่นเฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ร่วมค้า

 

 

 

 

    (ข) ภาระผูกพันด้านเงินทุนในกิจการร่วมค้าเฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ร่วมค้า

 

 

 

 

 

 

 

46p46

 

2. รายการและคำอธิบายเกี่ยวกับส่วนได้เสียในการร่วมค้าที่เป็นสาระสำคัญและสัดส่วนของส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของที่มีในกิจการร่วมค้า ในกรณีที่ผู้ร่วมค้าเลือกที่จะนำ
รายการต่าง ๆ ของกิจการร่วมค้ามารวมกับรายการที่คล้ายคลึงกันในงบการเงินของตนตามเกณฑ์แต่ละบรรทัด ผู้ร่วมค้าต้องเปิดเผยจำนวนรวมของส่วนได้เสียแต่ละรายการ
ที่ตนมีในกิจการร่วมค้าโดยแยกเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินระยะยาว รายได้และค่าใช้จ่าย

 

 

 

รายการระหว่างบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

 

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

35p102.3

 

1. ชื่อของบริษัทใหญ่ และชื่อของบริษัทใหญ่ของกลุ่มบริษัท

 

 

 

 

 

 

 

กลต.จ.(ว)
21/2541

 

2. นโยบายการกำหนดราคาระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่ชัดเจน (เช่น ราคายุติธรรม หรือราคาตลาด เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

47p18

 

3. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันในทุกกรณีที่มีการควบคุมเกิดขึ้นไม่ว่ารายการบัญชีระหว่างกันจะเกิดขึ้นหรือไม่

 

 

 

 

 

 

 

47p20

 

4. ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
รวมถึงประเภทและองค์ประกอบของรายการบัญชี หากการเปิดเผยข้อมูลจำเป็นต่อ
ความเข้าใจในงบการเงินที่นำเสนอ ดังนี้

 

 

 

 

(ก)    ความสัมพันธ์

(ข)     รายการบัญชี

(ค)  ปริมาณรายการค้า

(ง)   ยอดคงค้างของรายการค้า

    (จ)   นโยบายการกำหนดราคาระหว่างกัน

 

 

 

 

 

 

 

47p17

 

5. ตัวอย่างรายการบัญชีที่ต้องเปิดเผย เช่น

 

 

 

 

    (ก) การซื้อขายหรือขายสินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้าระหว่างผลิต

 

 

 

 

    (ข) การซื้อขายหรือขายอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์อื่น

 

 

 

 

    (ค) การให้หรือรับบริการ

 

 

 

 

    (ง) การเป็นตัวแทน

 

 

 

 

    (จ) การมีสัญญาเช่าระยะยาว

 

 

 

 

    (ฉ) การให้หรือรับข้อมูลจากการวิจัยและพัฒนา

 

 

 

 

    (ช) การให้สิทธิหรือรับข้อมูลจากการวิจัยและพัฒนา

 

 

 

 

    (ซ) การให้สิทธิในการใช้สินทรัพย์

 

 

 

 

    (ฌ) การจัดหาเงินทุน (รวมถึงเงินกู้และส่วนทุนที่จ่ายในรูปของเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น)

 

 

 

 

    (ญ) การค้ำประกันหรือการให้หลักประกัน

 

 

 

 

    (ฎ) การมีสัญญาจัดการ

 

 

 


รายการอื่นที่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า และเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

กรณีมีเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ต้องเปิดเผย

 

 

21p32.1

 

1. ลักษณะของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าที่มีผลกระทบต่องบการเงิน

 

 

 

 

 

 

 

21p32.2

 

2. ปัจจัยของความไม่แน่นอนต่าง ๆ ซึ่งอาจกระทบผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

 

 

 

 

 

 

21p32.3

 

3. ประมาณการผลกระทบที่มีต่องบการเงิน หรือคำอธิบายว่า ไม่สามารถประมาณ
ผลกระทบทางการเงินได้ ซึ่งรวมถึง

 

 

21p33

45p25

 

(ก)    หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากกิจการร่วมค้า

(ข)     สำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม

Ø     ส่วนร่วมในหนี้สินของบริษัทร่วมที่อาจเกิดขึ้น

Ø     ภาระผูกพันเกี่ยวกับรายจ่ายฝ่ายทุนของบริษัทร่วมที่ผู้ลงทุนอาจต้อง
ร่วมรับภาระ

Ø     หนี้สินทั้งหมดของบริษัทร่วม ซึ่งผู้ลงทุนมีภาระผูกพันที่อาจต้องจ่าย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีมีเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นภายหลังวันที่ในงบการเงิน ต้องเปิดเผย

 

 

21p32.1

 

1. ลักษณะของเหตุการณ์ (เช่น โรงงานถูกไฟไหม้ เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

21p32.2

 

2. ประมาณผลกระทบทางการเงิน หรือคำอธิบายว่าไม่สามารถประมาณผลกระทบ
ทางการเงินได้

 

 

 

 

กำไรต่อหุ้น

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

38p46.1

 

1. จำนวนกำไรที่ใช้เป็นตัวตั้งในการคำนวณกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด และการกระทบยอดจำนวนกำไรดังกล่าวให้เป็นกำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด

 

 

 

 

 

 

 

38p46.2

 

2. จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ใช้เป็นตัวหารในการคำนวณกำไรต่อหุ้น
ขั้นพื้นฐาน และกำไรต่อหุ้นปรับลด และการกระทบยอดของจำนวนหุ้นสามัญดังกล่าว

 

 

38p47

 

3. เงื่อนไขและข้อกำหนดของเครื่องมือทางการเงินและสัญญาอื่นที่ก่อให้เกิดหุ้นสามัญเทียบเท่า

 

 

 

 

ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

24p20

 

1. เสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานทางธุรกิจและส่วนงานทางภูมิศาสตร์
ที่ถือว่าเป็นส่วนงานที่มีนัยสำคัญของกิจการ

 

 

 

 

 

 

 

24p21

 

2. ระบุกิจกรรมของแต่ละส่วนงานทางธุรกิจ และแสดงส่วนประกอบของแต่ละพื้นที่
ทางภูมิศาสตร์ของส่วนงานที่นำเสนอ

 

 

 

 

 

 

 

24p22

 

3. ข้อมูลทางการเงินสำหรับแต่ละส่วนงานทางธุรกิจและส่วนงานทางภูมิศาสตร์ ดังนี้ 

 

 

 

 

    (ก) ยอดขายหรือรายได้จากการดำเนินงานอื่น โดยแสดงรายการแยกกันระหว่างรายได้ที่เกิดจากลูกค้าภายนอกกิจการ และรายได้ที่ได้รับจากส่วนงานอื่นของกิจการเดียวกัน

 

 

 

 

    (ข) ผลการดำเนินงานของส่วนงาน ซึ่งรวมถึง ยอดขายสุทธิ  กำไรจากการดำเนินงาน  ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง  ดอกเบี้ยจ่าย  ภาษีเงินได้ และกำไรสุทธิ

 

 

 

 

    (ค) สินทรัพย์ถาวรของส่วนงาน (โดยแสดงเป็นจำนวนเงินหรือแสดงเป็นอัตราร้อยละต่อยอดสินทรัพย์รวมของงบการเงินรวม) และ

 

 

36p116

 

    (จ) จำนวนรายการขาดทุนจากการด้อยค่าที่รับรู้ หรือกลับบัญชีในระหว่างงวด

 

 

 

 

    (ง) เกณฑ์การตั้งราคาโอนระหว่างส่วนงาน

 

 

 

 

 

 

 

24p23

 

4. แสดงรายการกระทบยอดระหว่างผลรวมของข้อมูลแต่ละส่วนงานที่นำมารวม
เข้าด้วยกันกับข้อมูลทั้งหมดในงบการเงิน

 

 

 

 

 

 

 

24p24

 

5. ระบุลักษณะและอธิบายเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงส่วนงานที่นำเสนอและ
วิธีการบัญชีที่ใช้ปฏิบัติ  และแสดงจำนวนเงินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง
หากสามารถกำหนดได้อย่างสมเหตุสมผล

 

 

 

 


รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

30p59

 

1. รายการทั่วไป

 

 

 

 

    (ก) ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่รวมอยู่ในกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวดบัญชีนั้น

 

 

 

 

    (ข) ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิที่จัดเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของผู้ถือหุ้น และการกระทบยอดของจำนวนเงินของผลต่างดังกล่าว ณ วันต้นงวดบัญชีและ
วันสิ้นงวดบัญชี

 

 

 

 

    (ค) ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีที่รวมอยู่ในราคาตามบัญชีของสินทรัพย์

 

 

 

 

 

 

 

30p60

 

2. เหตุผลของการรายงานโดยใช้สกุลเงินที่ต่างไปจากเงินของประเทศที่ตั้งสถานที่ประกอบกิจการของกิจการที่เสนองบการเงิน และเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงสกุลเงิน
ที่ใช้รายงาน

 

 

 

 

 

 

 

30p61

 

3. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในการจัดประเภทกิจการในต่างประเทศที่มีสาระสำคัญใหม่
กิจการได้เปิดเผย

 

 

 

 

    (ก) ลักษณะของการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

 

    (ข) เหตุผลของการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

 

    (ค) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และ

 

 

 

 

    (ง) ผลกระทบต่อกำไรหรือขาดทุนสุทธิในทุกงวดบัญชีที่นำเสนอ (โดยถือเสมือนว่า
การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้น ณ วันต้นงวดของงวดแรกสุดที่นำเสนอ)

 

 

 

 

การปรับรายการย้อนหลัง  (เช่น การแก้ไขข้อผิดพลาดที่สำคัญ หรือการใช้นโยบายการบัญชีใหม่)

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

39p47.1

 

1. ลักษณะและเหตุผลของเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกิดขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

39p47.2

 

2. จำนวนเงินที่ต้องนำมาปรับปรุงงบการเงินของทุกงวดที่นำเสนอ

 

 

 

 

 

 

 

39p47.3

 

3. จำนวนผลสะสมของงวดก่อน ๆ ที่ต้องนำมาปรับปรุงกำไรสะสมต้นงวดของงบการเงินทุกงวดที่นำเสนอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

39p47.4

 

4. ข้อเท็จจริงที่ว่า ข้อมูลเปรียบเทียบได้มีการปรับให้ถูกต้อง หรือข้อเท็จจริงที่กิจการ
ไม่สามารถปรับข้อมูลเปรียบเทียบให้ถูกต้องได้ในทางปฏิบัติ

 

 

 

 

การเปลี่ยนรายการทันทีเป็นต้นไป (เช่น การเปลี่ยนประมาณการค่าเสื่อมราคา)

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

39p49.1

 

1. ลักษณะและจำนวนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

39p49.2

 

2. ในกรณีที่กิจการต้องใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปแทนวิธีปรับย้อนหลังเนื่องจาก
ไม่สามารถใช้วิธีปรับย้อนหลังได้ในทางปฏิบัติ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงที่ว่า กิจการไม่สามารถใช้วิธีปรับย้อนหลังได้ในทางปฏิบัติจึงจำเป็นต้องใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป

 

 

 

 

การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

39p29

 

1. ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและจำนวนของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในงวดปัจจุบันหรือในงวดต่อ ๆ ไป หรือข้อเท็จจริงว่า
ไม่สามารถระบุจำนวนของการเปลี่ยนแปลงได้

 

 

 

 

สัญญาเช่าซื้อ

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

7 (ภาคผนวก)

 

1. แสดงการคำนวณยอดสุทธิของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ (ลูกหนี้ตามสัญญา
เช่าซื้อ - ดอกผลเช่าซื้อรอการตัดบัญชี)

 

 

 

 

สัญญาเช่าระยะยาว

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

สำหรับผู้เช่า

 

 

29p57

 

1. จำนวนเงินของสินทรัพย์และหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน (อาจแสดงในงบดุล)

 

 

29p58

 

2. ภาระผูกพันสำหรับจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงานที่บอกเลิกไม่ได้ ซึ่งมีอายุเกิดกว่าหนึ่งปี โดยการสรุปจำนวนเงินและงวดต่าง ๆ ที่ถึงกำหนดจ่ายชำระ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สำหรับผู้ให้เช่า

 

 

29p60

 

1. เงินลงทุนขั้นต่ำตามสัญญาเช่าการเงิน (อาจแสดงในงบดุล)

 

 

 

 

 

 

 

29p60

 

2. รายได้ทางการเงินที่ยังไม่เกิดขึ้น (อาจแสดงในงบดุล)

 

 

 

 

 

 

 

29p62

 

3. จำนวนเงินของสินทรัพย์ที่ให้เช่าโดยแสดงจำแนกตามแต่ละประเภทหลักของสินทรัพย์และค่าเสื่อมราคาสะสมที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ธุรกิจของผู้ให้เช่าส่วนใหญ่เป็นการให้เช่าลักษณะสัญญาเช่าดำเนินงาน

 

 

 

 

 

 

 

29p60

 

4. มูลค่าคงเหลือที่ได้รับการประกันของสินทรัพย์ที่ให้เช่า

 

 

 

 

การเปิดเผยเรื่องอื่น ๆ

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

35p102

 

1. กิจการต้องเปิดเผยเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติม หากเรื่องนั้นไม่ได้เปิดเผยในข้อมูลที่เผยแพร่พร้อมกับงบการเงิน ดังต่อไปนี้

 

 

 

 

    (ก) ภูมิลำเนา

 

 

 

 

    (ข) สถานะทางกฎหมายของกิจการ

 

 

 

 

    (ค) ประเทศที่กิจการจัดตั้งขึ้น

 

 

 

 

    (ง) ที่อยู่จดทะเบียน (หรือสถานที่หลักในการประกอบธุรกิจหากแตกต่างไปจาก
ที่อยู่จดทะเบียน)

 

 

 

 

    (จ) คำอธิบายลักษณะการดำเนินงานและกิจกรรมหลักของกิจการ

 

 

 

 

    (ฉ) จำนวนพนักงาน ณ วันสิ้นงวดบัญชี หรือจำนวนพนักงานเฉลี่ยสำหรับงวดบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

35p94.4

 

2. ข้อมูลอื่น ๆ รวมถึง

 

 

 

 

    (ก) ข้อจำกัดต่าง ๆ ในสิทธิที่มีอยู่เหนือสินทรัพย์

 

 

 

 

    (ข) หลักประกันหนี้สิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    (ค) วิธีการที่ใช้ปฏิบัติสำหรับโครงการเงินบำเหน็จ บำนาญ และเงินกองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ

 

 

 

 

    (ง) จำนวนเงินที่ผูกพันไว้แล้วสำหรับรายจ่ายประเภททุนในอนาคต

 

 

 

 

    (จ) ภาระผูกพันและข้อมูลทางการเงินอื่น

 

 

 

 

    (ฉ) ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน (หากจำเป็น)

 

 

 


ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพิ่มเติมสำหรับสถาบันการเงิน

 

นอกเหนือจากข้อกำหนดต่าง ๆ ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น ๆ การแสดงและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินควรรวมถึง
รายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 

งบดุล

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

ข้อมูลที่ต้องแสดงในงบดุล

 

 

27p51

 

1. สินทรัพย์

 

 

 

 

    (ก) เงินสดและเงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

 

 

    (ข) ตั๋วเงินคลังและพันธบัตรอื่น ซึ่งสามารถนำไปขายลดกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้

 

 

 

 

    (ค) หลักทรัพย์รัฐบาลและหลักทรัพย์อื่นที่มีไว้เพื่อขาย

 

 

 

 

    (ง) เงินฝากและเงินให้กู้ยืมแก่ธนาคารอื่น

 

 

 

 

    (จ) เงินฝากและเงินให้กู้ยืมแก่ตลาดเงินอื่น

 

 

 

 

    (ฉ) เงินให้กู้ยืมและเงินจ่ายล่วงหน้าเพื่อลูกค้า

 

 

 

 

    (ช) หลักทรัพย์เพื่อการลงทุน

 

 

 

 

 

 

 

27p51

 

2. หนี้สิน

 

 

 

 

    (ก) เงินรับฝากและเงินกู้ยืมจากธนาคารอื่น

 

 

 

 

    (ข) เงินรับฝากและเงินกู้ยืมจากตลาดเงินอื่น

 

 

 

 

    (ค) เงินรับฝากจากผู้ฝากอื่น

 

 

 

 

    (ง) บัตรเงินฝาก

 

 

 

 

    (จ) ตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้สินอื่นจากการออกตราสาร

 

 

 

 

    (ฉ) เงินกู้ยืมอื่น

 

 

 

 

 

 

 

27p52

 

(หมายเหตุ : สินทรัพย์หรือหนี้สินต้องไม่แสดงหักกลบลบกันกับหนี้สินหรือสินทรัพย์อีกรายการหนึ่ง เว้นแต่ กฎหมายให้สิทธิในการหักกลบลบกันได้)

 

 

 

 


งบกำไรขาดทุน

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

ข้อมูลที่ต้องแสดงในงบกำไรขาดทุน

 

 

27p48

 

1. รายได้ดอกเบี้ยและที่คล้ายคลึงดอกเบี้ย

 

 

 

 

2. ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและที่คล้ายคลึงดอกเบี้ย

 

 

 

 

3. รายได้เงินปันผล

 

 

 

 

4. รายได้ค่าธรรมเนียมและค่านายหน้า

 

 

 

 

5. ค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่านายหน้า

 

 

 

 

6. กำไร (ขาดทุน) สุทธิจากหลักทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขาย

 

 

 

 

7. กำไร (ขาดทุน) สุทธิจากหลักทรัพย์ที่มีไว้เพื่อการลงทุน

 

 

 

 

8. กำไร (ขาดทุน) สุทธิจากการปริวรรต

 

 

 

 

9. รายได้อื่น

 

 

 

 

10. หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ

 

 

 

 

11. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

 

 

 

 

12. ค่าใช้จ่ายอื่น

 

 

 

 

 

 

 

27p49

 

(หมายเหตุ : รายได้และค่าใช้จ่ายต้องไม่หักกลบลบกัน ยกเว้นรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการประกันความเสี่ยง หรือเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินที่กฎหมายให้สิทธิในการหักกลบลบกันได้)

 

 

 

 

การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

 


TAS

 

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย

Y-NA-NM-N

REF

 

 

(1) หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า และภาระผูกพันรวมทั้งรายการนอกงบดุล

 

 

27p54.1

 

1. ลักษณะและจำนวนเงินของภาระผูกพันเกี่ยวกับการขยายการให้กู้ยืมที่เพิกถอนไม่ได้ หรือหากเพิกถอนก็เสี่ยงต่อการถูกปรับหรือเกิดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินสูง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ลักษณะและจำนวนเงินของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าและภาระผูกพันที่เกิดจากรายการนอกงบดุล ซึ่งรวมรายการเกี่ยวกับ

 

 

 

 

    (ก) การทดแทนการให้กู้ยืมทางตรง (เช่น การค้ำประกันการกู้ยืมเงิน การรับรองตั๋วเงิน และการออกเลตเตอร์ออฟเครพิตเพื่อการค้ำประกัน เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    (ข) หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลังจากการค้ำประกัน (เช่น สัญญาค้ำประกัน
การปฏิบัติตามสัญญา สัญญาค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา การรับประกัน และเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการค้ำประกันรายการเป็นการเฉพาะ เป็นต้น)

 

 

 

 

    (ค) หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าระยะสั้นที่เกี่ยวกับการค้า ซึ่งภาระดังกล่าว
จะสิ้นสุดไปเองเมือมีการส่งมอบสินค้า (เช่น เครดิตที่มีเอกสารการค้าประกอบโดยใช้
สินค้าตามเอกสารการค้านั้นเป็นหลักประกัน เป็นต้น)

 

 

 

 

    (ง) สัญญาการขายโดยมีข้อตกลงที่จะซื้อคืนที่มิได้รับรู้ไว้ในงบดุล

 

 

 

 

    (จ) รายการที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(เช่น สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาให้สิทธิในการเลือกซื้อหรือเลือกขาย และ
สัญญาล่วงหน้า เป็นต้น)

 

 

 

 

(ฉ) ภาระผูกพันอื่น (เช่น วงเงินในการออกตั๋วเงิน และวงเงินหมุนเวียนเพื่อประกัน
การจำหน่ายตราสารทางการเงิน เป็นต้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(2) วันที่ครบกำหนดของสินทรัพย์และหนี้สิน

 

 

27p55

 

1. การวิเคราะห์สินทรัพย์และหนี้สินโดยการจัดกลุ่มตามวันที่ครบกำหนดตามระยะเวลา
ที่เหลืออยู่ ณ วันที่ในงบดุล ถึงวันที่ครบกำหนดตามสัญญา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(3) การกระจุกตัวของสินทรัพย์ หนี้สิน และรายการนอกงบดุล

 

 

27p56

 

1. รายการสินทรัพย์ หนี้สิน และรายการนอกงบดุลตามลักษณะของการกระจุกตัว
ที่มีนัยสำคัญ โดยจำแนกกลุ่มตาม

 

 

 

 

    (ก) ภูมิศาสตร์ กลุ่มลูกค้า หรือกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ

 

 

 

 

    (ข) ตามการกระจุกตัวของความเสี่ยง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(4) ผลเสียหายจากการให้กู้ยืม

 

 

27p57.1

 

1. นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับเกณฑ์การรับรู้เงินให้กู้ยืมและเงินจ่ายล่วงหน้าเพื่อลูกค้า
ที่เรียกเก็บไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายและตัดออกจากบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

27p57.2

 

2. รายละเอียดการเคลื่อนไหวของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

27p57.2

 

3. เปิดเผยรายการต่อไปนี้แยกต่างหากจากกัน

 

 

 

 

    (ก) หนี้สงสัยจะสูญ

 

 

 

 

    (ข) หนี้สูญ

 

 

 

 

    (ค) หนี้สูญรับคืนภายในรอบระยะเวลาบัญชี

 

 

 

 

 

 

 

27p57.3

 

4. จำนวนเงินค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งสิ้น ณ วันที่ในงบดุล

 

 

 

 

 

 

 

27p57.4

 

5. จำนวนเงินให้กู้ยืมและเงินจ่ายล่วงหน้าเพื่อลูกค้าทั้งสิ้น ซึ่งไม่ได้ตั้งดอกเบี้ยค้างรับ
ณ วันที่ในงบดุล และเปิดเผยเกณฑ์การพิจารณาจำนวนเงินตามบัญชีของเงินให้กู้ยืม
และเงินจ่ายล่วงหน้าเพื่อลูกค้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(5) ความเสี่ยงโดยทั่วไปของสถาบันการเงิน

 

 

27p59

 

1. จำนวนเงินที่กันไว้สำหรับความเสี่ยงโดยทั่วไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(6) ทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน

 

 

27p60

 

1. จำนวนหนี้สินทั้งหมดที่มีประกัน ลักษณะ ประเภท และราคาตามบัญชีของ
สินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(7) คุณภาพสินทรัพย์

 

 

กลต.จ.(ว)
21/2541

 

1. สำหรับเงินให้กู้ยืม ต้องแสดงรายการ ดังนี้ 

(‏א)    มูลค่าเงินให้กู้ยืมรวมดอกเบี้ยค้างรับที่ต้องจัดชั้น

(‏ב)    ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย)

 

 

 




บทความเพิ่มเติม 1

รายจ่ายต้องห้าม โดยผลของกฏหมาย article
รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ article
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหักค่ารับรอง article
ภาษีซื้อต้องห้าม article
ภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ article
กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ article
หลักเกณฑ์การขอเปลี่ยนวิธีการและหรืออัตราการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน article
สารพัดโหรฟันธงดวงเมืองปี'50 article
สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม article
การเก็บรักษาเอกสาร และรายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ตาม พรบ.การบัญชี article
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้กรณีไม่นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย article
เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา? article
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าวิทยากร article
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF) article
ซื้อ LTF ยังได้สิทธิหักภาษี ถึงปี 59 article
ระวังผู้ทำบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชี article
ภาษีเงินแป๊ะเจี๊ยะ article
การรับรู้รายได้ทางภาษีอากร "การฝากขาย" และ "การให้เช่าทรัพย์สิน" article
หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย article
แนวโน้มเศรษฐกิจโลก ปี 2551
ผ่าดวงเมือง เศรษฐกิจปี 2551



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี