ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี คลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


คลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)


การฟ้อง-ต่อสู้คดีที่เกี่ยวกับสินสมรส

การที่สามีภริยาแยกกันอยู่โดยยังไม่ได้หย่ากัน ถ้าหากจำเป็นก็ไม่อยากจะไปรบกวนเวลาของเขา จึงอยากจะถามว่าถ้าหากมีกรณีที่เราจะต้องฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีใดที่จะสามารถฟ้องคดีได้เองหรือกรณีใดที่ต้องให้สามียินยอมด้วย
    
จารุณี สมุทรปราการ
    
มาตรา 1477 สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรส หรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส หนี้อันเกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
    
ในการฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส ถือหลักเรื่องกรรมสิทธิ์รวม เนื่องจากสินสมรสเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างสามีภริยา จึงต้องนำหลักเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มาตรา 1358วรรคสอง) ที่กำหนดให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีอำนาจทำการเพื่อรักษาทรัพย์สินได้เสมอกฎหมาย (มาตรา 1477) จึงให้อำนาจสามีหรือภริยาคนใดคนหนึ่งที่สามารถจะฟ้องหรือต่อสู้คดีได้ เพราะถือว่าเป็นการสงวนบำรุงรักษาสินสมรส อย่างหนึ่ง ยกตัวอย่าง มีคนบุกรุกเข้ามาครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสินสมรส ภริยาซึ่งอยู่ในที่ดินแปลงนี้สามารถฟ้องขับไล่คน ๆ นั้นได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี เป็นต้น
    
อย่างไรก็ตาม การฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรสนั้น แม้สามีหรือภริยาจะดำเนินการไปเพียงลำพังคนเดียว แต่หากเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของภริยาหรือสามีอีกฝ่ายหนึ่งด้วย กฎหมาย (มาตรา 1477) จึงได้กำหนดไว้ด้วยว่าหนี้อันเกิดจากการฟ้องหรือต่อสู้คดี หรือการดำเนินคดีตามลำพังของคู่สมรสฝ่ายใด ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน และจะได้สอดคล้องกับกฎหมาย (มาตรา 1499 (2)) ที่กำหนดให้หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาด้วย เช่น ภริยาตกลงจ่ายค่าจ้างว่าความจำนวน 50,000 บาท ให้แก่ทนายความในคดีฟ้องผู้บุกรุกมาครอบครองที่ดินสินสมรส หนี้ค่าทนายความดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นหนี้ร่วมที่สามีจะต้องรับผิดชอบร่วมด้วย เป็นต้น
    
ส่วนขั้นตอนกระบวนการพิจารณาในศาลนั้น การที่ภริยาหรือสามีซึ่งอาจจะเป็นโจทก์หรือจำเลยก็ตาม ย่อมมีอำนาจดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับคดีได้อย่างเต็มที่โดยลำพัง ซึ่งอาจเป็นการถอนฟ้อง ถอนคำให้การ หรือถอนทนายความ แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการตกลงประนีประนอมยอมความนั้น แม้จะมีการดำเนินคดีมาโดยลำพังของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งก็ตาม
    
แต่ถ้าศาลไกล่เกลี่ยจนคู่ความในคดีตกลงที่จะประนีประนอมยอมความ หรือคู่ความตกลงกันเองแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความมาเสนอศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เนื่องจากการประนีประนอมยอมความคือการที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงจะระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งที่มีอยู่ หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจทำให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้

ฉะนั้นการที่สามีหรือภริยาจะไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสินสมรสจึงควรให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมด้วย กฎหมาย (มาตรา 1476(6)) จึงได้กำหนดให้การจัดการสินสมรสโดยการประนีประนอมยอมความนั้นสามีและภริยาจะต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งด้วย  เช่น  การที่ภริยาฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกเข้ามาครอบครองในที่ดินที่เป็นสินสมรส  และในชั้นศาล  ศาลได้ทำการไกล่เกลี่ยจนผู้บุกรุกยอมออกไปจากที่ดินที่เป็นสินสมรสภายใน 3 เดือน แต่ขอค่ารื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินเป็นเงิน 20,000 บาท   และภริยาที่เป็นโจทก์ตกลงจ่ายค่ารื้อถอนและขนย้ายตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อให้ผู้บุกรุกออกไปภายในกำหนด  การทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลเช่นนี้จึงต้องให้สามีให้ความยินยอมด้วย  เป็นต้น
    
และถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความยินยอมในการจัดการสินสมรสที่สำคัญ อีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลสั่งอนุญาตแทนความยินยอมได้ คือในการจัดการสินสมรสซึ่งกฎหมายกำหนดให้สามีและภริยาจะต้องจัดการร่วมกัน หรือจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้น หากคู่สมรสฝ่ายที่จะต้องให้ความยินยอมหรือลงชื่อกับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความยินยอมหรือไม่ยอมลงชื่อโดยปราศจากเหตุผล  หรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอมได้คู่สินสมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้น อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตให้ตนจัดการสินสมรสไปโดยลำพังได้
    
ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเป็นการจัดการเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ครอบครัว  เช่น  ภริยาต้องการจะขายที่ดินอันเป็นสินสมรสเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายของลูก  แต่สามีไม่ยินยอม  ภริยาอาจร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ไต่สวนและพิจารณามีคำสั่งอนุญาตให้จำหน่ายที่ดินได้  ถ้าศาลไต่สวนคำร้องหรือสามีร้องคัดค้านและมีการสืบพยานจนกระทั่งมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้จัดการตามลำพังได้กรณีก็ไม่ต้องขอความยินยอมจากสามีอีก
    
กรณีดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดจะเป็นคนละกรณีกับการฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินส่วนตัว  ที่สามีหรือภริยามีอำนาจที่จะดำเนินการได้โดยลำพัง  และหนี้ใด ๆ ที่เกิดจากการฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินส่วนตัวก็ถือว่าเป็นหนี้ส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้น และกรณีที่ไม่ใช่เป็นการฟ้อง/ต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรส  เช่น เรื่องสิทธิเฉพาะตัว
 
ตัวอย่างกรณีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด  เพราะการที่ภริยาหรือสามีถูกผู้ใดทำละเมิด   การละเมิดถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ถูกทำละเมิด   ไม่ใช่เป็นคดีฟ้องเกี่ยวกับสินสมรส  สามีหรือภริยาที่ถูกทำละเมิดมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้โดยลำพัง  หรือกรณีสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เป็นลูกจ้าง  ไม่เป็นสินสมรส  การฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส  ภริยาผู้เป็นลูกจ้างจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี  เป็นต้น.


คู่สมรสเป็นคนต่างด้าว

ในขณะนี้ถึงแม้ผู้หญิงไทยแต่งงานกับชาวต่างประเทศ ไม่ว่าจะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่  ก็สามารถที่จะซื้อทรัพย์สินในประเทศไทยได้แล้ว    จริงหรือไม่ ประการใด
    
ศรีสว่าง

    
หญิงไทยซึ่งมีสามีเป็นคนต่างชาติจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้  จะต้องนำคู่สมรสชาวต่างชาติไปบันทึกกับเจ้าพนักงานที่ดิน โดยถ้าคู่สมรสชาวต่างชาติยืนยันว่า เงินที่ซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของหญิงไทย ก็สามารถซื้อขายกันได้ เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือด่วนที่สุดที่ มท.0710/ว 732 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2542  กำหนดให้เป็นแนวทางปฏิบัติไว้
    
เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 30 ได้บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม  ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้  และมาตรา 48 วรรคแรก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติว่า สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครองขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านั้น ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
    
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยให้ยกเลิกหนังสือที่อ้างถึงทั้งหมด  และบรรดาระเบียบ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับหนังสือฉบับนี้ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
    
1. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดินในกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกันในระหว่างสมรส  หากสอบสวนแล้ว  ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวได้รับการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่า  เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมด  เป็นสินส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว  มิใช่สินสมรส  ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้
    
แต่ถ้าหากคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว  หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่า  เงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นสินสมรส  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว  ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมาย.

2. กรณีที่บุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดินในกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยากับคนต่างด้าว  หากสอบสวนแล้ว  ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์ อักษรร่วมกันว่า  เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว  มิใช่ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน  ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้ 
   
แต่ถ้าหากคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว  หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่า  เงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรี ตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
   
3. กรณีบุคคลสัญชาติไทย ที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมาย  ขอรับให้ที่ดินในระหว่างสมรสหรือระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากัน หากสอบสวนแล้วเป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว  หรือทรัพย์ส่วนตัวของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้ทำให้คนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินร่วมด้วย  ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้ 
   
แต่ถ้าหากเป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินสมรส หรือมีผลทำให้คู่สมรสที่เป็น คนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วย  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จ  ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อเสนอขอคำสั่งรัฐมนตรี ตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
   
4. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว แต่ได้หย่าขาดจากกันหรือเลิกร้างกันแล้ว ขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน หากสอบสวนแล้วไม่ปรากฏพฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมาย ก็ให้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้
   
5. กรณีบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าวที่มีสัญชาติไทย ขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน  หากสอบสวนแล้วไม่ปรากฏพฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมาย  ก็ให้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้.


สินส่วนตัว

ดิฉันมีแฟนอยู่กินกันโดยเพิ่ง จดทะเบียนสมรส โดยดิฉันทำธุรกิจการค้า ตอนนี้แฟนจะให้ยืมที่ดินไปทำธุรกิจ โดยจะยกที่ดินแปลงนี้ใส่ชื่อให้ดิฉันมีเครดิตทางการค้าด้วย  แต่เขายังหวงไม่ไว้ใจดิฉัน
      
แฟนอยากทราบว่าถ้าวันข้างหน้าเขาประสงค์เอาคืนในภายหลัง จะทำได้หรือไม่  หรือถ้าดิฉันต้องเลิกกับเขาหรือเขาตายไปก่อน  เขาจะให้ลูกของเขาที่เกิดจากอดีตภริยาใช้สิทธิเรียกคืนจากดิฉันได้หรือไม่
         
สิริพร พิษณุโลก

     
การที่สามียกที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวให้แก่ภริยาในระหว่างสมรส  ในทางกฎหมายถือว่าเป็นนิติกรรมการให้ จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยา เป็นสัญญาระหว่างสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 
     
ปัญหาคือในภายภาคหน้าผู้ที่ได้รับการยกให้ไม่คืนให้ตามสัญญาที่รับปากกันไว้ จะมีผลประการใด กรณีหากเป็นสัญญาให้โดยเสน่หาตามแบบนิติกรรมสัญญาโดยทั่วไปนั้น การจะเพิกถอนการยกให้ จะต้องมีเหตุตามกฎหมาย เช่น มีการประพฤติเนรคุณ หรือไม่ส่งเสียเลี้ยงดูโดยต้องถึงขนาดผู้ให้ยากจนไม่มีรายได้ ไม่เช่นนั้นจะเปลี่ยนใจเอาทรัพย์คืนไม่ได้
       
แต่กรณีนี้เป็นการยกสินส่วนตัวให้คู่สมรสในระหว่างสมรส สัญญาให้เช่นนี้เป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อ กันในระหว่างเป็นสามีภริยากันไว้โดยเฉพาะ เมื่อผู้เป็นเจ้าของสินสมรสไม่ประสงค์จะยกให้อีกต่อไป สามารถจะใช้สิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469      “สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยานั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะ บอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต” 
       
ดังนั้นแม้สัญญายกสินส่วนตัวให้ภริยาจะทำกันมาเกิน 10 ปี สามีหรือภริยาก็ยังมีสิทธิบอกเลิกล้างสัญญานี้ได้ โดยกำหนดเวลาบอกล้างนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างในเวลาใดที่ยังเป็นสามีภริยาก็ได้ หรือจะบอกล้างภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยาก็ได้ วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยามี 3 กรณี คือ ความตาย การหย่า และคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนการสมรส ถ้าไม่มีการบอกล้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาระหว่างสมรสย่อมสมบูรณ์ตลอดไปจะบอกล้างอีกไม่ได้ และกรณีที่มีการโอนที่ดินแปลงนี้ต่อไปให้บุคคลอื่น  ถ้าผู้รับโอนสุจริตก็คงจะติดตามเอาตัวที่ดินคืนจากบุคคลภายนอกไม่ได้ 
       
กฎหมายในเรื่องนี้ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผลคือถ้าคู่สมรสผู้ยกให้ไปทำสัญญาไว้ว่า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ตนจะไม่ใช้สิทธิบอกล้าง ข้อสัญญาเช่นว่านี้เป็นโมฆะ คือ ผู้ให้ยังมีสิทธิบอกล้างได้
       
ในส่วนของทายาทจะติดตามเอาคืนนั้น กรณีที่ขาดจากการสมรสเพราะความตายนั้นทายาทอาจจะบอกล้างไม่ได้ เนื่องจากบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสได้มีแต่เฉพาะสามีภริยานั้นเอง และเป็นสิทธิเฉพาะตัว บุคคลอื่นจะบอกล้างแทนไม่ได้
      
ดังนั้นถ้าหากผู้ยกให้ได้ตายไปเสียก่อนจะยกเลิกการให้  สิทธิบอกล้างย่อมระงับ ไม่ตกทอดไปยังทายาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกของผู้ตาย ทายาทจึงไม่มีสิทธิบอกล้างได้ เว้นเสียแต่ว่าผู้ยกให้ได้ฟ้องคดีบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสไว้แล้วต่อมาได้ถึงแก่ความตาย  กรณีนี้เท่ากับว่าผู้มีสิทธิได้ใช้สิทธิบอกล้างไว้แล้ว  เมื่อตนตายในระหว่างฟ้องคดี ทายาทหรือผู้จัดการมรดกย่อมขอเข้ารับมรดกความดำเนินคดีแทนผู้ยกให้ที่ถึงแก่ความตายนั้นต่อไปได้.


คุ้มครองชั่วคราวในคดีฟ้องหย่า

ดิฉันมีอาชีพเป็นแม่บ้าน เมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมามีปัญหากับสามีเรื่องสามีมีผู้หญิงอื่น จึงหอบลูกออกจากบ้าน มาอาศัยอยู่กับญาติพี่น้องและออกไปค้าขายหาเลี้ยงตัวเองและลูกซึ่งยังเล็กไปวัน ๆ ซึ่งตอนนี้ดิฉันยังตกลงกับสามีเรื่องทรัพย์สินไม่ได้ และสามี บอกว่าทุกบาททุกสตางค์ในการซื้อทรัพย์สินเป็นเงินของเขาทั้งนั้น สามีท้าให้ไปฟ้องศาล ดิฉันจึงอยากจะ   ถามว่า
     
1.ถ้าก่อนแต่งงานสามีและดิฉันไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย ต่อมาเมื่อได้แต่งงานและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน สามีทำงานนอกบ้าน ส่วนดิฉันไม่ได้ทำงานมีรายได้  โดยสามีให้ทำหน้าที่แม่บ้านดูแลลูกและสามี ทำให้ทรัพย์สินที่สามีสร้างขึ้นมาระหว่างเราสองคน เป็นเงินที่มาจากรายได้ของสามีฝ่ายเดียว ดิฉันจะมีส่วนแบ่งในทรัพย์สินเหล่านี้หรือไม่ 
     
2.ถ้าดิฉันมีสิทธิในทรัพย์สินตามข้อ 1. ด้วย ในระหว่างการฟ้องร้องอาจต้องใช้เวลา จะมีวิธีป้องกันมิให้สามีนำทรัพย์สินไปขายได้หรือไม่
     
3.ในระหว่างนี้ถ้าจะขอให้เขานำเงินเดือนมาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายดิฉันและลูกไปพลางก่อนจะได้   หรือไม่
             
ศศิธร : กรุงเทพฯ

     
ทรัพย์สินที่สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต่างทำมาหาได้ในระหว่างการสมรส (ซึ่งมิใช่เป็นทรัพย์   ที่มีผู้อื่นยกให้หรือได้รับมรดกเป็นการส่วนตัวแล้ว)     จะเป็นสินสมรสทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายใด      ได้มี/หรือไม่มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้นั้นหรือไม่ บางคนได้เปรียบเทียบการสมรสว่าเสมือนการเข้าเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ สินสมรสจึงถือเป็นกำไรที่หุ้นส่วนหามาได้ จึงควรเป็นของเจ้าของร่วมกันในที่นี้คือทั้งสามีและภริยา แม้ต่อมาสามีภริยาจะแยกกันอยู่ หรือบวชเป็นพระภิกษุ ตราบใดที่ยังไม่ได้หย่ากัน แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นพ่อบ้านหรือแม่บ้านที่ไม่มีรายได้ ก็ต้องถือว่าทรัพย์สินที่หามาได้ในระหว่างการสมรสนั้นเป็นสินสมรส 
     
ดังนั้นถ้าหากว่าการสมรสได้สิ้นสุดลง จะเป็นด้วยคู่สมรสฝ่ายใดตาย หรือมีการหย่า หรือศาลมีคำพิพากษาให้การสมรสสิ้นสุดลงก็ตาม ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสทั้งหมดจะต้องมีการแบ่งกรรมสิทธิ์กันคน   ละครึ่ง
     
ในกรณีที่มีการฟ้องหย่า มีการขอแบ่งสินสมรส และขอค่าเลี้ยงชีพสำหรับคู่สมรสที่หากมีการหย่า และขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ไว้ด้วยแล้ว หากคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งคำพิพากษายังไม่ถึงที่สุดนั้น  ถ้าระหว่างนี้กรณีอาจจะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น ได้สืบทราบมาว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ตกลงจะขายสินสมรสที่อยู่ในความครอบครองของเขาให้ผู้อื่น ซึ่งอาจจะมีผลต่อรูปคดีได้ว่าหากต่อมาศาลพิพากษาให้แบ่งสินสมรสคนละครึ่ง คดีก็ไม่อาจจะบังคับคดีได้เพราะไม่มีทรัพย์สินอยู่ในขณะที่มีการบังคับคดีแล้ว หรือเปลี่ยนไปใส่ชื่อญาติพี่น้องของตนเองไว้แทนเพื่อมิให้มีการบังคับคดีได้ ดังนั้นจึงสามารถยื่นต่อศาลขอให้มีการอายัดอสังหาริมทรัพย์หรือยึดสังหาริมทรัพย์ไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันมิให้นำทรัพย์สินไปจำหน่าย หรือยักย้ายถ่ายเท ในระหว่างที่มีการดำเนินคดีได้
     
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1530 บัญญัติว่า ขณะคดีฟ้องหย่าอยู่ในระหว่างการพิจารณา ถ้าฝ่ายใดร้องขอ ศาลอาจสั่งชั่วคราวให้จัดการตามที่เห็นสมควร เช่น ในเรื่องสินสมรส ที่พักอาศัย การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยา และการพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร
     
และตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาให้หย่า หรือได้จดทะเบียนหย่ากัน ต้องถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยายังมีอยู่ ซึ่งมีผลให้ยังต้องมีการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ดังนั้นการที่คู่สมรสฝ่ายใดไม่มีรายได้เพียงพอที่จะมีเงินใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงดูตนเองและลูกก็ย่อมมีสิทธิที่จะขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสที่มีรายได้เป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างคดีได้  และถึงแม้ว่าฝ่ายที่เดือดร้อนจะมีญาติพี่น้องที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ แต่บุคคลเหล่านั้นถือว่าเป็นบุคคลภายนอกไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน แม้ศาลจะยังไม่มีคำพิพากษาให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร  
     
ในระหว่างคดีคู่สมรส อีกฝ่ายซึ่งเดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและลูก ย่อมจะใช้วิธีร้องขอต่อศาลขอให้คู่สมรสที่มีรายได้ช่วยเหลือค่าอุปการะเลี้ยงดู โดยขอให้นำเงินมาวางที่ศาลเพื่อจะได้นำมาเป็นค่าจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ตนและบุตรก่อนศาลมีคำพิพากษาได้.


หมิ่นประมาท/ดูหมิ่น


ผมอยากจะถามเกี่ยวกับเรื่องคดีดูหมิ่น หมิ่นประมาทในทางอาญาและหมิ่นประมาทในทางแพ่งว่าแตกต่างกันอย่างไร เพราะบางครั้งผมเห็นข่าวการแจ้งความฟ้องศาลให้ลงโทษจำคุกได้ แต่บางครั้งฟ้องเรียกแต่ค่าเสียหายกันอย่างเดียว
            
ดุษฎี
    
การฟ้องให้ลงโทษจำคุกจะเป็นเรื่องของความรับผิดทางอาญา ส่วนการฟ้องเรียกค่าเสียหายจะเป็นเรื่องของความรับผิดในทางแพ่ง ซึ่งการหมิ่นประมาทนั้นอาจเป็นทั้งความรับผิดในทางอาญาและทางแพ่ง หรืออาจเป็นเพียงความผิดฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้อย่างเดียว หรืออาจจะเป็นความรับผิดในทางอาญาอย่างเดียว  ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทในทางอาญาและทางแพ่งนั้นมีมากมายในที่นี้จึงขออธิบายเพียงกว้าง ๆ ว่าการหมิ่นประมาทในทางแพ่งและหมิ่นประมาทในทางอาญานั้นโดยทั่วไปมีความคล้ายกัน ซึ่งพอจะแยกความแตกต่างได้บ้างคือ
    
1.ดูจากเจตนา กล่าวคือ ในทางอาญา การหมิ่นประมาทนั้นต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น ดังนั้นถ้าเป็นการกระทำโดยไม่เจตนาหรือเป็นการกระทำโดยประมาทในความรับผิดทางอาญาจะไม่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท แต่หมิ่นประมาทในทางแพ่งนั้นนอกจากจะกระทำโดยเจตนาคือ จงใจกระทำแล้ว ในบางกรณีแม้เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในการกล่าวหรือไขข่าว ก็อาจมีความผิดในทางแพ่งเรื่องละเมิดได้ แม้ว่าผู้กล่าวหรือไขข่าวจะไม่มีเจตนาให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ และทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของผู้อื่น
    
2.ดูจากความที่กล่าวหรือไขข่าว กล่าวคือ การหมิ่นประมาทในทางแพ่งนั่นถ้าเป็นการพูดเรื่องจริง กล่าวหรือไขข่าวในข้อความที่เป็นจริงจะไม่ถือว่าเป็นการละเมิด เพราะว่าหากเป็นเรื่องจริงผู้ถูกกล่าวถึงนั้นย่อมไม่ได้รับความเสียหาย แต่สำหรับความรับผิดทางอาญานั้น  แม้ข้อความที่กล่าวนั้นจะเป็นเรื่องจริงก็อาจเป็นความรับผิดทางอาญาได้ โดยจะเห็นได้จากในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330 ที่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่จริง ถ้าหากคำกล่าวหรือข้อความที่กล่าวใส่ความนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวและการพิสูจน์นั้นไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน
    
3.ดูเรื่องความเสียหายที่ได้รับ ในทางอาญาผลของการใส่ความจะเป็นการเสียหายต่อชื่อเสียง ทำให้ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง แต่การหมิ่นประมาทในทางแพ่งนั้น กฎหมายจะกำหนดความเสียหายไว้กว้างกว่าคือ นอกจากจะเป็นการเสียหายต่อชื่อเสียงแล้ว ยังรวมถึงความเสียหายต่อทางทำมาหาได้ เกียรติคุณหรือทางเจริญด้วย
    
นอกจากนี้ในความรับผิดทางอาญานั้น บางครั้งการพูดดูถูกผู้อื่นอาจเป็นเพียงการดูหมิ่นอันเป็นเพียงความผิดที่มีโทษเพียงเล็กน้อยซึ่งเรียกว่า ความผิดลหุโทษ คือ ความผิดฐานดูหมิ่นนั้นจะมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โดยการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเหยียดหยามบุคคลอื่น แต่ไม่ถึงกับทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณเพราะคำดูหมิ่นนั้นไม่อาจจะเป็นความจริงได้ ได้แก่คำด่าต่าง ๆ เช่น คำว่า ไอ้สัตว์เดรัจฉาน ไอ้เหี้ย  ไอ้ผีปอบ ฯลฯ หรืออาจเป็นอาการดูหมิ่นต่าง ๆ เช่น การแลบลิ้นใส่ การยกเท้าแสดงอาการไม่สุภาพ ฯลฯโดยไม่ต้องเป็นการกล่าวต่อบุคคลที่สาม
    
แต่ถ้าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญาแล้วจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญเข้ามาอีกประการหนึ่งคือ ต้องเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมากล่าวอ้างต่อบุคคลที่สามด้วย ซึ่งจะทำให้บุคคลที่สามได้เห็นพฤติกรรมการกระทำของบุคคลนั้น และความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญานั้นโทษจะหนักกว่าคือ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ.


บอกล้างสัญญาระหว่างสมรส

ผมเคยแต่งงาน แต่เลิกกับภริยา เรามีลูกด้วยกัน 2 คน ตอนนี้ผมกำลังจะแต่งงานใหม่ จึงอยากจะถามปัญหาข้อสงสัยว่า  
1. ถ้าผมยกทรัพย์สินของผมเองให้ภริยาคนใหม่หลังจากเราแต่งงานกันแล้ว ถ้าในภายหลังเธอเปลี่ยนไป ผมจะเปลี่ยนใจเอาทรัพย์สมบัติของผมคืนได้หรือไม่
2.  แตกต่างกับการยกให้ญาติพี่น้องอย่างไร
3.  มีระยะเวลาการจะยกเลิกได้นานแค่ไหน
4.  ถ้าผมเสียชีวิตไปก่อน ลูกหลานจะยกเลิกเองในภายหลังได้หรือไม่

   รังสิต
การยกทรัพย์สินให้แก่บุคคลทั่วไป อาจจะเป็นลูกหลาน ญาติพี่น้อง หรือแม้ว่าจะเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติอย่างใดก็สามารถทำได้ ซึ่งในทางกฎหมายจะเรียกว่า การยกให้โดยเสน่หา แต่ว่าการจะเพิกถอนการยกให้ในภายหลังนั้น จะต้องมีเหตุตามกฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะบอกล้างได้ เช่น มีการประพฤติเนรคุณ หรือไม่ส่งเสียเลี้ยงดูโดยต้องถึงขนาดผู้ให้ยากจนไม่มีรายได้ ซึ่งถ้าไม่ใช่กรณีเหตุเพิกถอนการให้ตามกฎหมายบัญญัติเป็นข้อ ๆ ไว้แล้ว ในภายหลังเกิดเปลี่ยนใจต้องการเอาทรัพย์สินของตนคืน ผู้ยกให้ก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนใจเพื่อเอาทรัพย์คืนได้
      แต่การที่คู่สมรสยกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินส่วนตัวให้แก่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในระหว่างสมรส แม้จะเป็นการให้โดยเสน่หาอย่างหนึ่งก็ตาม แต่ถ้าเป็นการให้คู่สมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 1469) เรียกว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรส โดยการยกสินส่วนตัวให้คู่สมรสในระหว่างสมรส เมื่อผู้เป็นเจ้าของสินสมรสไม่ประสงค์จะยกให้อีกต่อไป สามารถจะใช้สิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องมีเหตุผลแห่งเพิกถอนการให้ตามกฎหมายแต่ประการใด เพียงแต่ต้องเป็นการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสตามกฎหมาย 
      โดยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติไว้ว่า “สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่  สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยานั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะ บอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากัน   อยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็น    สามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือน    ถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดย   สุจริต”
      ดังนั้นแม้สัญญายกสินส่วนตัวให้ภริยาจะทำกันมาเกิน 10 ปี สามีหรือภริยาก็ยังมีสิทธิบอกเลิกล้างสัญญานี้ได้ โดยกำหนดเวลาบอกล้างนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างในเวลาใดที่ยังเป็นสามีภริยาก็ได้ หรือจะบอกล้างภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยาก็ได้ วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยามี 3 กรณี คือ ความตาย การหย่า และคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนการสมรส ถ้าไม่มีการบอกล้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาระหว่างสมรสย่อมสมบูรณ์ตลอดไปจะบอกล้างอีกไม่ได้ และกรณีที่มีการโอนที่ดินแปลงนี้ต่อไปให้บุคคลอื่น ถ้าผู้รับโอนสุจริตก็คงจะติดตามเอาตัวที่ดินคืนจากบุคคลภายนอกไม่ได้
      และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสจะถือว่าเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คือคู่สัญญาจะทำความตกลงเพื่อยกเว้นบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการบอกล้างไม่ได้ ดังนั้นถ้าคู่สมรสผู้ยกให้ไปทำสัญญาไว้ว่า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ตนจะไม่ใช้สิทธิบอกล้าง ข้อสัญญาเช่นว่านี้เป็นโมฆะ คือ แม้จะมีสัญญาตกลงว่าห้ามบอกล้าง แต่ผู้ยกให้ยังมีสิทธิบอกล้างได้


ในส่วนของทายาทจะติดตามเอาคืนนั้น กรณีที่ขาดจากการสมรสเพราะความตายนั้นทายาทอาจจะบอกล้างไม่ได้ เนื่องจากบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสได้มีแต่เฉพาะสามีภริยานั้นเอง และเป็นสิทธิเฉพาะตัว บุคคลอื่นจะบอกล้างแทนไม่ได้ ดังนั้นถ้าหากผู้ยกให้ได้ตายไปเสียก่อนจะยกเลิกการให้ สิทธิบอกล้างย่อมระงับ ไม่ตกทอดไปยังทายาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกของผู้ตาย ทายาทจึงไม่มีสิทธิบอกล้างได้ เว้นเสียแต่ว่าผู้ยกให้ได้ฟ้องคดีบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสไว้แล้วต่อมาได้ถึงแก่ความตาย


กรณีนี้จะถือว่าเป็นการที่ผู้มีสิทธิได้ใช้สิทธิบอกล้างไว้แล้ว เมื่อตนตายในระหว่างฟ้องคดี ทายาทหรือผู้จัดการมรดกย่อมขอเข้ารับมรดกความดำเนินคดีแทนผู้ยกให้ที่ถึงแก่ความตายนั้นต่อไปได้.


การจัดการสินสมรส 

ในกรณีที่สามีนำทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสไปยกให้ผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา อยากจะทราบว่าในทางกฎหมายจะสามารถยกเลิกได้อย่างไรบ้าง
                     
ศิริพร
     
ในทางกฎหมายนั้น สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรสได้โดยลำพัง เว้นแต่การจัดการที่สำคัญจึงจะจัดการร่วมกัน ซึ่งในเรื่องของการให้โดยเสน่หานั้น เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้สามีภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
     
ในเรื่องการนำสินสมรสไปยกให้ผู้อื่นโดยให้โดยเสน่หานั้น มีผลทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียกรรมสิทธิ์ในสินสมรสนั้นไป จึงเป็นกรณีจำเป็นที่กฎหมายได้ให้สามีและภริยาทั้งสองคนตกลงยินยอมด้วยกัน ข้อยกเว้นที่กฎหมายยอมให้ทำได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งคือ ต้องเป็นการให้ที่พอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ดังนั้นถ้าเป็นการให้เพื่อการกุศล สังคม หรือหน้าที่ตามธรรมจรรยา แต่เกินฐานุรูปของครอบครัวแล้วก็จะไปยกให้โดยลำพังไม่ได้ เช่น มีที่ดินอยู่แปลงเดียว แต่สามียกให้บุตรหมดทั้งแปลงโดยภริยาไม่ได้ยินยอมด้วย เช่นนี้จะเป็นการให้เกินฐานานุรูปได้
    
และในการเพิกถอนนั้นได้มีกฎหมายกำหนดไว้ว่า
     
มาตรา 1480 การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
     
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้หรือเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น
     
จะเห็นได้ว่า กฎหมายมิได้บัญญัติว่า นิติกรรมในการจัดการสินสมรส ที่คู่สมรสทำไปโดยลำพังนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ดังนั้นนิติกรรมที่ยังไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสจึงเป็นเพียงไม่สมบูรณ์ คู่สมรสที่ไม่ได้ให้ความยินยอมนั้นอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ และถ้าเป็นการให้โดยเสน่หาแล้ว คู่สมรสฝ่ายที่มิได้ให้ความยินยอมด้วยมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาให้โดยเสน่หานี้ได้เสมอ แม้ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะกระทำโดยสุจริต คือกฎหมายจะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอก ผู้กระทำการโดยสุจริตเฉพาะที่ต้องเสียค่าตอบแทน
     
ในเมื่อสัญญาให้โดยเสน่หาเป็นนิติกรรมที่ไม่ต้องเสียค่าตอบแทน บุคคลภายนอกผู้รับการให้แม้จะสุจริตคือไม่รู้ว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ยินยอมด้วยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะไม่ได้เสียเงินเสียค่าตอบแทนในการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นแต่อย่างใด
     
นอกจากนี้สินสมรสนั้นแม้คู่สมรสจะมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งก็ตาม แต่กรรมสิทธิ์คนละครึ่งนี้หมายถึงเมื่อการสมรสสิ้นสุด เช่น ตาย หย่า หรือศาลพิพากษาให้การสมรสสิ้นสุด ดังนั้นการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมยกให้โดยเสน่หาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์นี้จึงสามารถเพิกถอนได้ทั้งหมด เช่น สามียกที่ดินอันเป็นสินสมรส จำนวน 200 ตารางวาให้แก่ญาติของตนโดยลำพัง ถ้าภริยาจะฟ้องเพิกถอนก็เพิกถอนการยกให้ที่ดินได้ทั้งแปลงคือ 200 ตารางวา ไม่ใช่ฟ้องเพิกถอนเพียง 100 ตารางวา เป็นต้น
     
และการจัดการสินสมรสสำหรับกรณีที่กฎหมายห้ามจัดการโดยลำพังนั้น ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว ดังนั้น ถ้าผู้ทรงสิทธิเช่นภริยาไม่ได้ให้ความยินยอมไว้ถึงแก่ความตาย สิทธิในการเพิกถอนนี้เป็นมรดก ทายาทจึงสามารถฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่บิดายกทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยเสน่หาโดยลำพังโดยรับโอนสิทธิของมารดาผู้ทรงสิทธิได้.


จงใจทิ้งร้าง

ผู้หญิงที่แต่งงานมีสามีแล้ว แต่ต่อมาที่บ้านมีปัญหาเรื่องเงิน สามีจึงไปบวชเป็นพระอยู่ที่วัดป่าที่จังหวัดอื่น ทิ้งให้ผู้หญิงอยู่คนเดียวตามลำพังมาหลายปี  และเมื่อไปตามหาที่วัดก็ได้รับการบอกเล่าว่าสึกนานแล้ว  และขาดการติดต่อไปเกือบ 2 ปี 
 
ในระหว่างนี้ได้มีผู้ชายคนใหม่มารักใคร่ชอบพอผู้หญิง จนกระทั่งผู้หญิงคนนี้ได้เสียกับผู้ชายคนใหม่ ซึ่งคนทั้งอำเภอต่างทราบดีว่าผู้หญิงคนนั้นและผู้ชายคนใหม่เป็นสามีภริยากันแล้ว  จู่ ๆ สามีคนแรกก็กลับมาและจะขอคืนดีด้วย ทั้ง ๆ ที่ผู้หญิงกำลังท้องกับผู้ชายคนใหม่ 
 
กรณีนี้จะถือว่าความผิดเกิดจากการกระทำของสามีคนแรกที่ทิ้งไป หรือเป็นความผิดของผู้หญิงที่มีผู้ชายคนใหม่ และจะมีทางฟ้องหย่ากับสามีคนแรกเพื่อมาแต่งงานใหม่ได้หรือไม่
                           
ภาวินี
 
การที่คู่สมรสฝ่ายใดทิ้งร้างไปนั้น จะต้องดูเรื่องเจตนาว่า การจากไปนั้นมีเจตนาที่จะแยกกันหรือไม่ และการแยกกันอยู่ต่างหากนั้นจะต้องเป็นการอยู่กันคนละบ้านที่ห่างไกลกันต่างหากจากกันโดยไม่มีการติดต่อเกี่ยวข้องกันเลย เคยมีการฟ้องร้องกันในเหตุหย่าเรื่องละทิ้งร้างเกิน 1 ปี โดยคดีนั้นสามีภริยาอยู่กันคนละบ้านแต่อยู่ในบริเวณเดียวกันและไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน ศาลเคยวินิจฉัยว่าไม่เป็นการทิ้งร้างกัน เหตุหย่าดังกล่าวจึงยังไม่เพียงพอที่ศาลจะให้หย่าได้
 
สำหรับการไปบวชเป็นพระนั้นถ้ามีข้อเท็จจริงว่าภริยาให้ความยินยอมแล้วก็จะไม่เป็นการทิ้งร้าง  แต่ปัญหาที่ถามมาคือข้อเท็จจริงภายหลังจากนั้นคือเมื่อสึกจากการเป็นพระแล้วไม่ติดต่อกลับมาหรือกลับมาอยู่กินกับภริยาตามเดิม ซึ่งมีคดีที่พอเป็นแนวทางที่จะเทียบเคียงได้ คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2548  คดีนี้โจทก์กับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาเพียงสองเดือน หลังจากนั้นจำเลยไปรับราชการทหารและปลดเป็นกองหนุนเมื่อปี 2531 
 
คดีนั้นศาลเห็นว่าหลังจากที่จำเลยปลดประจำการทหารแล้ว จำเลยควรจะมาอยู่กินกับโจทก์ในฐานะสามีภริยา ควรหาที่อยู่อาศัยเพื่อใช้ชีวิตร่วมกัน  แต่จำเลยกลับย้ายออกจากบ้านน้าสาว โดยไม่ขวนขวายเพื่อติดต่อกับโจทก์ เป็นการส่อเจตนาว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้โจทก์ไปอยู่ร่วมกันมากกว่า 
 
การเป็นสามีภริยากันนั้นเมื่อจดทะเบียนสมรสกันแล้วตามกฎหมาย สามีภริยาต้องอยู่ด้วยกันฉันสามีภริยา และสามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติเช่นนั้น กลับหนีหายไป พฤติการณ์ของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยไม่เอาใจใส่ดูแลโจทก์ในฐานะสามีที่จะพึงปฏิบัติต่อภริยา แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์  อีกแล้ว 
 
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหลังจากจำเลยปลดประจำการทหารแล้ว จำเลยมิได้กลับไปอยู่กินด้วยกันกับโจทก์ฉันสามีภริยา จนกระทั่งปี 2533 โจทก์จึงไปอยู่กินกันฉันสามีภริยากับสามีใหม่จนมีบุตรด้วยกัน  พฤติการณ์ของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินหนึ่งปีตั้งแต่จำเลยปลดประจำการทหารในปี 2531 โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้. 


การรับมรดก  

ผมอยู่ต่างจังหวัดซื้อหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์” อ่านเป็นประจำ และชอบอ่านปัญหากฎหมายเพราะทำให้ได้ความรู้และเข้าใจแนวทางในการแก้ปัญหาดีขึ้น โดยเฉพาะปัญหากฎหมายครอบครัว  ผมชอบที่ผู้เขียนพยายามสื่อความหมายให้คนที่ไม่ได้เรียนกฎหมายพอเข้าใจได้บ้าง
 
ผมยังไม่มีปัญหาครอบครัวมากเพราะยังไม่ได้แต่งงาน แต่เป็นปัญหาเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินคือ คุณพ่อของผมหย่ากับคุณแม่แล้ว ผมอยู่กับคุณแม่ ส่วนคุณพ่อไปมีภริยาใหม่และแต่งงานจดทะเบียนสมรสและมีลูกอีก 2 คน  ตอนนี้คุณพ่อสุขภาพไม่ค่อยดี  แต่นาน ๆ ผมจึงจะได้ไปเยี่ยมท่านสักครั้ง
ล่าสุดนี้ท่านบอกผมว่าทำพินัยกรรมเรียบร้อยแล้ว และในพินัยกรรมได้ยกทรัพย์สินให้ผมด้วย  แต่ท่านก็ไม่ได้บอกว่ายกอะไรให้ ปัญหาคือถ้าท่านเป็นอะไรไปกะทันหัน ในทางกฎหมายมีกระบวนการอย่างไรจึงจะได้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรมได้ และถ้ามีการปกปิดรายละเอียดในพินัยกรรมจะแก้ปัญหาอย่างไร
พรศักดิ์

การทำพินัยกรรมมีหลายรูปแบบ แต่ถ้าเจ้าของพินัยกรรมทำพินัยกรรมแบบเขียนด้วยลายมือตนเอง  และไม่ได้บอกให้ใครทราบว่าเก็บไว้ที่ไหน อย่างไร  ความยุ่งยากจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของพินัยกรรมเสียชีวิต  คืออาจจะไม่มีใครหาพบ  หรืออาจจะมีผู้ปลอมพินัยกรรมฉบับหลังขึ้นมาหักล้างพินัยกรรมฉบับเดิม  รวมทั้งกรณีที่เจ้ามรดกเขียนพินัยกรรมไว้หลายฉบับ  ซึ่งมีลักษณะขัดแย้งกัน
 
อย่างไรก็ตามกรณีที่มีพินัยกรรมหลายฉบับ ส่วนที่ไม่ขัดแย้งกันก็แบ่งไปตามนั้น  แต่ถ้าการยกทรัพย์สินรายการใดในพินัยกรรมฉบับก่อนที่ขัดแย้งกันกับพินัยกรรมฉบับหลังแล้ว ในทางกฎหมายจะให้ถือเจตนาตามพินัยกรรมฉบับหลังสุดเพราะเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายของเจ้าของทรัพย์สินก่อนตาย

ปัจจุบันนี้เงินฝากในธนาคารของผู้ตาย หรืออสังหา ริมทรัพย์ต่าง ๆ ของผู้ตายการจะเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในเรื่องกรรมสิทธิ์จากผู้ตาย ไปเป็นของทายาทที่มีสิทธิรับมรดกหรือรับทรัพย์สินตามพินัยกรรมได้  จะต้องเป็นผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งมาดำเนินการให้กับทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ซึ่งพินัยกรรมบางฉบับก็มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้เรียบร้อย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม การจะเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมได้ก็ต้องมีการร้องขอต่อศาล เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อศาลจะได้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบให้กับทายาทของผู้ตาย และถ้าพินัยกรรมฉบับใดไม่มีผู้จัดการมรดกแต่งตั้งไว้   ทายาททั้งหลายที่มีสิทธิรับมรดกก็ต้องไปร้องต่อศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาทำหน้าที่แบ่งทรัพย์สินให้กับทายาท

เมื่อได้ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลมาแล้ว ผู้จัดการมรดกก็ทำหน้าที่แบ่งทรัพย์สินให้กับทายาทของผู้ตายตาม             ที่ผู้ตายระบุยกให้ไว้ในพินัยกรรม ถ้าผู้จัดการมรดกไม่ทำหน้าที่ หรือทำหน้าที่แล้วเกิดปัญหา เช่น ผู้จัดการมรดกไปจัดแบ่งทรัพย์สินให้แก่ตัวเอง หรือปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สิน  ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียก็สามารถร้องขอให้มีการเพิกถอนผู้จัดการมรดกได้  ดังนั้นทายาทของผู้ตายที่ได้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรม ก็อาจจะทราบได้ในวันที่มีการอ่านพินัยกรรม  หรือขณะที่มีการไปร้องขอต่อศาลขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก  เพราะจะต้องมีการแสดงพินัยกรรมของผู้ตายต่อศาล
 
หรือแม้ว่าผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายไปเรียบร้อยแล้ว  แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏในภายหลังว่าการแบ่งไม่เป็นไปตามคำสั่งในพินัยกรรม  ถ้าทายาทที่ต้องเสียสิทธิในการที่ตนจะได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม  ก็สามารถจะร้องขอต่อศาลเรียกร้องสิทธิของตนได้ ทรัพย์ที่แบ่งกันไปแล้วก็ต้องคืนหรือนำมาแบ่งใหม่ ถ้าคืนไม่ได้ก็ต้องชดใช้ ส่วนผู้ที่เจตนาตั้งใจปิดบังทรัพย์สินในพินัยกรรม  ยักย้ายถ่ายเททรัพย์ หรือจัดการมาเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่เป็นไปตามพินัยกรรม ก็มีความผิดทางอาญา ซึ่งแล้วแต่ลักษณะของการกระทำว่า จะเป็นความผิดอาญาฐานยักยอก ฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์  ปลอมเอกสาร ฯลฯ  แล้วแต่กรณี.


เจ้าของรวม 2 

คุณพ่อมีลูก 4 คน ยกที่ดินแปลงหนึ่งให้ผมเป็นที่ดินแปลงเล็ก ส่วนที่ดินแปลงใหญ่ เนื้อที่ 5 ไร่เศษ ทำพินัยกรรมยกให้ลูก 3 คน และหลาน 1 คน ซึ่งหลานคือลูกของผมเอง อายุลูกตอนนี้เพียง 10 ขวบ  คือขณะนี้เจ้าของที่ดินแปลงนี้ทุกคนตกลงจะแบ่งที่ดินกัน โดยน้องชายของผมซึ่งมีสิทธิได้รับที่ดินแปลงใหญ่ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก และศาลอนุญาตแล้ว
 
ปัญหาคือ ขณะนี้ทายาทได้ตกลงแบ่งที่ดินแปลงนี้ โดยน้องชายของผมต้องการที่ดินติดถนนใหญ่มากพอสมควร ทำให้คนอื่น ๆ อีก 3 คนอาจจะเดือดร้อนเพราะทางเข้าที่ดินจะแคบมาก ผมจึงอยากจะทราบว่ากรณีตกลงแบ่งที่ดินกันแล้วทำให้ลูกของผมเสียเปรียบ ถ้าผมและลูกจะไม่ยอมรับข้อตกลงที่ได้ลงชื่อยินยอมไว้แล้วจะพอมีหนทางหรือไม่
  
มนตรี
 
ถ้าเป็นกรณีที่ผู้เยาว์เป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกที่มีผู้รับร่วมกันหลายคน แล้วไปตกลงประนีประนอมยอมแบ่งกรรมสิทธิ์รวมนั้น ในทางกฎหมายการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์นั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ดังนั้นในกรณีที่ไปตกลงกันเองไว้โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินนี้จึงไม่ผูกพันทายาทที่เป็นผู้เยาว์ เท่ากับว่ากรรมสิทธิ์รวมของทายาทผู้เป็นผู้เยาว์ ยังคงครอบไปเหนือที่ดินพิพาททั้งหมดตามส่วนของตนจนกว่าจะมีการแบ่งแยก
 
เคยมีตัวอย่างแนวบรรทัดฐานคำพิพากษา ของศาลฎีกา ในคดีหมายเลขแดง (ประชุมใหญ่) ที่ 2548/4860 คือ ในคดีนั้นผู้ฟ้องคดีและทายาทคนอื่น ๆ เป็นเจ้าของรวมที่ดินแปลงหนึ่ง ต่อมาเจ้าของรวมทั้งหมดได้ไปตกลงทำยอมแบ่งที่ดินกัน โดยมีข้อตกลงให้ทายาทคนหนึ่งได้มากที่สุดและมีตำแหน่งที่ดินที่แน่นอน ที่ดินส่วนที่เหลือจึงให้ทายาทคนอื่น ๆ ก็นำมาแบ่งกันในระหว่างเจ้าของรวม ปรากฏเจ้าของรวมคนหนึ่งเป็นผู้เยาว์ ตกลงโดยไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาล ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ว่า
 
โจทก์และจำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท 2 แปลง ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง โดยให้โจทก์ได้ที่ดินแปลงละ 1 ไร่ และระบุตำแหน่งที่ดินส่วนของโจทก์ไว้ด้วย อันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอม ยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา (12)1574 ในขณะที่จำเลยที่ 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 เท่ากับว่ากรรมสิทธิ์รวมของจำเลยที่ 12 ยังคงครอบไปเหนือที่ดินพิพาททั้งหมดตามส่วนของตนจนกว่าจะมีการแบ่งแยก ซึ่งมีผลไม่เพียงแต่เฉพาะในเรื่องการกำหนดตำแหน่งของที่ดินเท่านั้น แต่ยังมีผลรวมตลอดไปถึงจำนวนเนื้อที่ดินด้วย เพราะหากแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แปลงละ 1 ไร่ ตามข้อตกลงแล้ว ที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือย่อมจะมีจำนวนลดน้อยลง และไม่อาจนำมาแบ่งให้จำเลยทั้งสิบสองได้ในจำนวนเท่า ๆ กัน โดยไม่กระทบถึงสิทธิในจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยที่ 12 จะพึงได้รับ
 
เมื่อข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมีผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยกเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรม ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วมกระทำ โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามฟ้อง
 
ผลของคดีที่มีการตกลงกันในระหว่างทายาทซึ่งมีผู้เยาว์เป็นเจ้าของรวมและตกลงด้วยโดยยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ทำให้ทายาทอื่นที่ไม่ใช่ผู้เยาว์และไปตกลงไว้พลอยได้ประโยชน์ไปด้วย คือต้องยกเลิกข้อตกลงเดิมทั้งหมด แล้วไปว่ากันใหม่ โดยจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ผู้เยาว์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามข้อตกลง จุดประสงค์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้เช่นนี้เพื่อให้ศาลช่วยในการตรวจสอบว่าการที่จะตกลงกันนั้นได้ทำให้ผู้เยาว์เสียเปรียบหรือไม่อย่างไร.


เจ้าของรวม 

การที่พ่อตาย ทิ้งทรัพย์สินเป็นที่ดินชื่อของพ่อคนเดียวทั้งแปลงประมาณ 1 ไร่ พ่อมีลูกสามคน เนื่องจากที่ดินแปลงนี้ยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดเป็น 3 แปลง ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกโฉนดกันแต่อย่างใด และต่างไม่รู้ว่าของตนเองอยู่ตรงไหน ขณะนี้พี่ชายได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกจากศาลแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการแบ่งกันเพราะน้องสาวซึ่งเป็นผู้รับมรดกอีกคนหนึ่งอยู่ที่ต่างประเทศ ตอนนี้ที่ดินซึ่งเป็นมรดกยังไม่มีการแบ่งแยกเป็นส่วนสัดว่าของใครอยู่ตรงไหน ผู้ที่ได้รับมรดกทั้งสามคนต่างต้องการให้ที่ดินมรดกที่แบ่งแยกออกมาเป็น 3 โฉนด โดยให้แต่ละแปลงติดด้านหน้าถนนให้มากที่สุด แต่ปัญหาคือหน้ากว้างของที่ดินแปลงใหญ่มีลักษณะหน้าแคบมากเพราะลักษณะที่ดินจะยาวเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว ถ้าตกลงกันไม่ได้ที่ดินแปลงนี้จะแบ่งตามกฎหมายกันอย่างไร 

พรรณี

กรณีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับมรดกและเจ้าของรวม เมื่อผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนไหนให้ใครไว้ ที่ดินแปลงนี้ก็ต้องตกเป็นมรดกของทายาทตามกฎหมาย ซึ่งในที่นี้คือลูกทั้งสามคน และมรดกที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกเป็นสัดส่วน การที่มีทายาทซึ่งมีสิทธิรับมรดกคนหนึ่งได้เป็นผู้จัดการมรดกครอบครองทั้งหมดไว้ต้องถือว่าเป็นการครอบครองไว้แทนทายาทคนอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดก เมื่อยังไม่ได้มีการแบ่งแยกที่ดิน การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้จึงต้องถือว่าทายาททั้งสามคนเป็นเจ้าของร่วมกัน
 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 1360) บัญญัติไว้ว่า “เจ้าของรวมคน หนึ่ง ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น” ดังนั้นเมื่อที่ดินกรรมสิทธิ์รวมระหว่างพี่น้องทั้งหมดยังไม่มีการแบ่งแยกครอบครองออกเป็นส่วนสัด การใช้ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมของทายาทคนหนึ่งคนใดจึงต้องเป็นการใช้ที่ไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ เช่น การที่ทายาทคนใดไปก่อสร้างโดยเลือกที่ดินติดหน้าถนนเพียงคนเดียว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น ไม่มีสิทธิที่จะทำได้ เจ้าของรวมคนอื่น ๆ จึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ขัดต่อสิทธิของเขาออก จากที่ดินพิพาทได้ (แนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1669/2548) ดังนั้นถ้าหากชัดเจนว่าที่ดินแปลงนี้ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกการครอบครองมีตำแหน่งเป็นส่วนสัด จึงต้องถือว่าทุกคนเป็นเจ้าของรวม จึงคงต้องเปิดการเจรจาตกลงแบ่งกันเองระหว่างพี่น้องที่ได้รับมรดกกันก่อน เช่น ถ้าติดถนนใหญ่ทั้ง 3 แปลง จะทำให้แต่ละแปลงมีหน้ากว้างที่แคบมาก ก็อาจจะตกลงขยายด้านที่ติดถนนให้กว้างขึ้น คือติดถนน 2 แปลง ส่วนอีกแปลงอยู่ทางด้านหลัง แต่ต้องเปิดทางให้ที่ดินแปลงหลังออกสู่ถนนสาธารณะได้ด้วย
 
แต่ถ้าเจรจากันแล้วตกลงกันไม่ได้ รูปคดีในการตั้งเรื่องฟ้องขอแบ่งที่ดินเนื้อที่คนละ  เท่า ๆ กัน โดยให้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดพิพาทให้แก่ทายาทคน อื่น ๆ ที่มีสิทธิรับมรดกด้วย ในทางปฏิบัติในกรณีที่ไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินกันได้ในชั้นศาล ว่าของใครจะอยู่ติดถนน ที่ดินแต่ละแปลงจะมีรูปร่างที่ดินอย่างไร ก็คงต้องใช้วิธีนำที่ดินออกขายในระหว่างเจ้าของรวม หากขายในระหว่างเจ้าของรวมไม่ได้ ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนของแต่ละคน.


การสมรสของผู้เยาว์ 

ดิฉันมีลูกสาวกับสามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส 1 คน ต่อมาดิฉันต้องมาทำงานในกรุงเทพฯ  จึงจดทะเบียนยกลูกสาวให้เป็นบุตรบุญธรรมของ    พี่ชายและพี่สะใภ้ ขณะนี้ลูกสาวอายุได้ 18 ปี และ  มีคนรักอายุ 25 ปี ทั้งคู่ต้องการแต่งงาน แต่พี่ชายและพี่สะใภ้ไม่ชอบ จึงพยายามกีดกัน เด็กทั้งสองคนได้เสียกันแล้ว และต้องการแต่งงาน แต่เจ้าหน้าที่ ๆ รับจดทะเบียนไม่ยอมจดทะเบียนให้ โดยให้เด็กทั้งสอง ไปตามพ่อแม่มาให้ความยินยอมก่อน
         
ลูกสาวจึงเดินทางมาหา ขอให้ดิฉันไปให้ความยินยอมในการที่ทั้งสองจดทะเบียนสมรสกัน จึงอยากถามว่า ในกรณีดังกล่าวนี้ดิฉันจะยังมีอำนาจเซ็นให้ความยินยอมลูกสาวของดิฉันอยู่ด้วยหรือไม่ หากเซ็นไป ต่อมาพ่อแม่บุญธรรมของเขาทราบ เขาจะฟ้องเพิกถอนได้หรือไม่
           
สมพร

         
ผู้เยาว์หรือบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์ กฎหมายได้กำหนดให้ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ก่อน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
 
- ผู้เยาว์ที่มีทั้งบิดาและมารดา จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาทั้งสองคน
 
- ผู้เยาว์ที่มีบิดาหรือมารดาเพียงคนเดียว โดยมารดาหรือบิดาอาจถึงแก่ความตาย ถูกถอนอำนาจปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ที่ทำให้ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมได้ ผู้เยาว์จึงต้องได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวได้
 
 - ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม เนื่องจากบิดามารดาโดยกำเนิดได้หมดอำนาจปกครองผู้เยาว์ไปตั้งแต่ที่ได้มีการจดทะเบียนรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์จะทำการสมรสจึงต้องได้รับความยินยอมของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่เพียงผู้เดียว แม้ว่าในความเป็นจริงผู้เยาว์จะยังมีบิดามารดาที่แท้จริงอยู่ก็ตาม
 
- ผู้เยาว์มีผู้ปกครอง หากผู้เยาว์ไม่มีบิดาและมารดา หรือมีแต่บิดาและมารดาถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้ว จะต้องมีการตั้งผู้ปกครองให้แก่ผู้เยาว์โดยคำสั่งศาล การที่ผู้เยาว์จะทำการสมรสจึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ส่วนบิดามารดาที่ถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้ว ไม่มีสิทธิมาให้ความยินยอมอีก
 
 - บิดาและมารดาของผู้เยาว์มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ถือว่าผู้เยาว์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว การสมรสของ   ผู้เยาว์จึงต้องได้รับความยินยอมเฉพาะจากมารดาเพียงคนเดียว
 
สำหรับกรณีที่ผู้เยาว์ถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และมีการแต่งตั้งผู้พิทักษ์ให้แก่ผู้เยาว์ หากผู้พิทักษ์เป็นบุคคลอื่นที่มิใช่บิดามารดาของผู้เยาว์ ผู้พิทักษ์ที่ศาลแต่งตั้งไม่มีอำนาจให้ความยินยอมในการที่ผู้เยาว์จะทำการสมรส เพราะการที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้พิทักษ์ไม่ถือว่าเป็นการถอนผู้ใช้อำนาจปกครอง
 
หากผู้เยาว์จะทำการสมรสผู้ที่จะให้ความยินยอมคือ บิดาและมารดาที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้พิทักษ์ไม่มีอำนาจให้ความยินยอมในการที่ผู้เยาว์   จะทำการสมรส แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ถูกศาล    สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ เพราะเหตุจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบที่ถึงขั้นเป็นคนวิกลจริตแล้ว ผู้เยาว์ก็ไม่อาจกระทำการสมรสได้เพราะขัดต่อเงื่อนไขของการสมรส ความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองที่ให้ผู้เยาว์ทำการสมรสนั้น เมื่อให้ความยินยอมถูกต้องตามวิธีการแล้วจะถอนความยินยอมไม่ได้
         
ในกรณีที่ผู้เยาว์ฝ่าฝืนเงื่อนไขทำการสมรสโดยไม่มีความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแล้ว เฉพาะผู้ที่มีสิทธิให้ความยินยอมเท่านั้นที่จะมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสที่ตกเป็นโมฆียะนี้ได้ ตัวชายหรือหญิงผู้เยาว์ที่เป็นคู่สมรสเองไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน
         
ดังนั้นการสมรสของผู้เยาว์ที่ให้มารดา  ผู้ให้กำเนิดเป็นผู้ให้ความยินยอม ทั้ง ๆ ที่ผู้เยาว์ถูกยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นที่มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายแล้ว บิดาบุญธรรมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสดังกล่าวต่อศาลได้ และการฟ้องขอเพิกถอนการสมรสในกรณีที่ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมนี้มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันทราบการสมรส อย่างไรก็ตามสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อชายหญิงคู่สมรสนั้นมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงตั้งท้องแล้ว.


บอกเลิกสัญญาระหว่างสมรส 

การที่แฟนคนปัจจุบันซึ่งผมกำลังจะแต่งงานด้วยอีกสองเดือนข้างหน้านี้ มีความประสงค์ที่จะให้ผมปฏิบัติตามเงื่อนไขของเธอ 2 ข้อ คือ ข้อแรกยกทรัพย์สินซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัวของผมให้กับเธอถ้าเธอและผมจดทะเบียนสมรสกันแล้ว (เป็นที่ดินแปลงหนึ่ง) กับอีกข้อหนึ่งคือใส่ชื่อเธอร่วมกับผมในสมุดบัญชีธนาคารในเงินที่ได้จากการขายมรดกของผมนั้น   
 
ผมสงสัยว่าถ้าผมทำเช่นนั้น หากในวันข้างหน้าชีวิตสมรสของผมแปรเปลี่ยนไป  ผมจะสามารถยกเลิกหรือแก้ไขกรณีทั้งสองได้บ้างหรือไม่
         
นฤเบศร์
 
ทั้งสองข้อที่เขียนถามมาจะคล้ายกับแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว คือคดีตามพิพากษาฎีกาที่ 3714/2548 คดีนี้ปรากฏว่าโจทก์ (สามี) และจำเลย (ภรรยา) จดทะเบียนสมรสกัน โดยก่อนจดทะเบียนสมรสโจทก์ได้รับมรดกที่ดินจากบิดา-มารดา ต่อมาโจทก์ได้ขายที่ดินมรดกแล้วนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากประจำธนาคารหนึ่ง โดยได้เปิดบัญชีร่วมกันระหว่างโจทก์และจำเลย เงินฝากในบัญชีดังกล่าวมียอดต้นเงินฝากสุทธิ 15 ล้านบาท ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ 
 
ศาลฎีกาฯ เห็นว่า การที่โจทก์ยอมให้จำเลยมีชื่อร่วมในบัญชีเงินฝากประจำ ซึ่งยื่นคำขอเปิดระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นคู่สมรสกันอยู่ โดยโจทก์แถลงรับว่า โจทก์ตกลงยกเงินฝากที่เป็นสินส่วนตัวของโจทก์ในบัญชีดังกล่าวจำนวน 7.5 ล้านบาท ให้แก่จำเลย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 บัญญัติให้สิทธิสามีหรือภรรยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถใช้สิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวได้ภายในเวลาใดที่เป็นสามีภรรยากันอยู่ หรือภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภรรยากันก็ได้ (แต่การบอกล้างดังกล่าวต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต)     
 
ดังนั้นเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามที่โจทก์และจำเลยแถลงรับกันต่อมาว่า โจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมการให้เงินจำนวน 7.5 ล้านบาทต่อจำเลยแล้ว ซึ่งการบอกล้างนี้เป็นการกระทำในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายกันอยู่ การบอกล้างนี้จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว อันเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินกันไว้ในระหว่างสมรส โดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่ชอบธรรม 
 
โดยเหตุแห่งการบอกล้างนั้นจึงขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ให้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ไม่พอใจจำเลย  โจทก์ย่อมใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมการให้เงินดังกล่าวแก่จำเลยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
 
ในทางปฏิบัติคือ ภรรยาก็ต้องคืนสมุดบัญชีเงินฝากแก่สามีและลงชื่อถอนเงินให้แก่สามีตามระเบียบของธนาคาร โดยในคำขอท้ายฟ้องส่วนใหญ่ฝ่ายโจทก์มักจะขอเอาไว้ว่า หากจำเลยไม่ไป ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ขอออกสมุดเล่มใหม่และแสดงเจตนาถอนเงินแทนจำเลย 
 
ดังนั้นทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ยกให้ในระหว่างสมรสก็ใช้วิธีการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสและฟ้องบังคับในทำนองเดียวกันกับคดีนี้.


สิทธิในการเลือกคู่ 

ผมมีภริยาแล้ว ปัญหาของผมแปลกจากคนอื่นที่ไม่ค่อยมีใครเขียนถาม คือผมได้มาพบผู้หญิงคนอื่นที่ถูกใจกว่าในภายหลัง และเธอยื่นเงื่อนไขให้ผมหย่ากับภริยาเรียบร้อยก่อนจึงจะมาพูดถึงเรื่องอยากได้เธอเป็นภริยา ซึ่งตัวภริยาผมนั้น ผมไม่สามารถที่จะหาความผิดใดจากภริยาคนนี้ได้เลย ตัวผมเป็นคนผิดเสียด้วยซ้ำที่เปลี่ยนใจมาชอบคนที่เจอทีหลัง  
     
ผมได้เจรจาขอหย่าภริยาโดยดีแต่เธอไม่ตกลง  ภริยาได้บอกผมว่าถ้าอยากได้มากก็ให้ไปฟ้องหย่าเอาเอง ผมจึงได้พยายามศึกษาติดตามจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจากนักกฎหมาย รวมทั้งปัญหาที่พบในอินเทอร์เน็ตและวารสารต่าง ๆ ซึ่งก็ไม่ตรงกับปัญหาของผม  เพราะส่วนใหญ่จะออกมาในรูปที่ว่ากรณีของผมยังไม่อาจหาเหตุตามกฎหมายที่จะฟ้องหย่าภริยาได้เลย 
       
ผมจึงอยากจะทราบว่าเคยมีผู้ฟ้องร้องที่ศาลและศาลให้หย่าโดยอ้างสิทธิในการเลือกคู่ครองของแต่ละคนโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตามกฎหมายบ้างหรือไม่ 
                               
ศุภวุฒิ
       
คดีในศาลมีมากมายที่มีการฟ้องหย่าโดยอ้างเหตุหย่าตามกฎหมาย  แต่ถ้าเหตุในการหย่านั้นไม่เป็นความจริงหรือพิสูจน์ไม่ได้  ศาลก็ได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีนั้น ๆ  
       
การที่จะใช้สิทธิฟ้องหย่าตามกฎหมายโดยที่ไม่ใช่ความผิดของคู่สมรสฝ่ายใด ก็อาจจะ ใช้เหตุฟ้องหย่าที่ว่า มีการสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปี ซึ่งบางรายก็ใช้บันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจมาแสดงว่าได้ไปบันทึกไว้แล้วว่าจะสมัคร ใจแยกกันอยู่ หรือใช้พยานบุคคลมานำสืบว่ามี  การแยกกันอยู่อย่างสมัครใจของทั้งสองฝ่ายอย่างไรบ้าง และเมื่อครบกำหนดเวลาผ่านไป 3 ปี ถ้าอีกฝ่ายยังไม่ยอมหย่าก็สามารถใช้เหตุหย่าที่ว่ามีการแยกกันอยู่โดยสมัครใจเกินกว่า 3 ปี มาฟ้องหย่าที่ศาลได้ 
       
เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีคดีหนึ่งที่ฟ้องหย่าโดยอ้างสิทธิในการเลือกคู่ครองของตนเองคือ คดีนั้น สามีและภริยามีบุตรด้วยกัน 2 คนแล้ว ต่อมาสามีได้เป็นโจทก์ฟ้องหย่าภริยาโดยให้เหตุผลในการหย่าแต่เพียงว่าไม่อาจทนอยู่ร่วมกินฉันสามีภริยากับจำเลยได้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คือยกฟ้องเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น  สามีโจทก์จึงฎีกาต่อ 
       
ดิฉันจึงอนุญาตคัดคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคำพิพากษาฎีกาที่ 4983/2548 มาให้ลองพิจารณาดูดังนี้ 

ศาลได้ยกเหตุผลของสามีที่ว่า “โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกคู่ครองของตนเองได้ ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ หากโจทก์เห็นว่า หญิงนั้นไม่เหมาะสมกับตน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลิกร้างกับหญิงดังกล่าวได้

การที่โจทก์มีข้อโต้แย้งกับจำเลยในเรื่องการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่ร่วมกับจำเลยและเลือกใช้วิธีการทางกฎหมายโดยการฟ้องหย่า ย่อมเป็นการแก้ปัญหาให้แก่ครอบครัวและสังคมโดยสันติ เพื่อมิให้เกิดปัญหารุนแรงถึงขั้นฆ่ากันตายดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งทำให้เกิดปัญหากับลูก ๆ ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเหมือนเป็นการไม่แก้ปัญหา แต่กลับกลายเป็นการก่อปัญหาให้เกิดขึ้นกับครอบครัวของโจทก์มากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงจิตใจของโจทก์ที่จะได้รับทุกข์ทรมานจากการกระทำของจำเลยนั้น”

และศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีนี้ว่า “เห็น ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 28 กำหนดว่าบุคคลย่อมใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น แม้ว่าการเลือกคู่ครองตามที่โจทก์ฎีกาจะเป็นสิทธิของโจทก์ก็ตาม แต่การใช้สิทธิเช่นนั้นจะต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งต้องมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติรองรับถึงการใช้สิทธิเช่นนั้นได้

การที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยและได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์ไม่พอใจ ต้องการแยกทางกับจำเลยจึงฟ้องหย่าโดยอ้างว่าเป็นสิทธิที่โจทก์จะเลือกคู่ครองได้ตามความพอใจของตนนั้นคงไม่ถูกต้อง เพราะการใช้สิทธิดังกล่าวของโจทก์ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อจำเลยซึ่งเป็นภริยาและบุตรทั้งสอง

ดังนี้ หากโจทก์ประสงค์จะหย่าขาดจากจำเลยจะต้องมีเหตุหย่าที่อ้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 บัญญัติไว้ ซึ่งการใช้สิทธิหย่าของโจทก์ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว มิฉะนั้นสถาบันครอบครัวในสังคมจะเกิดการเอารัดเอาเปรียบและมีแต่ความสับสนวุ่นวายได้ ส่วนการที่ศาลจะพิพากษาให้หย่าขาดจากกันได้หรือไม่นั้น ก็จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่าจะมีเหตุให้หย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 หรือไม่ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น”

 ศาลฎีกาพิพากษายืน คือยกฟ้องตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์.


ถอนการสมรส

ถ้าจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ต่อมาภายหลังจึงได้ทราบว่าสามีไม่ทำตามสัญญาที่รับปากไว้ก่อนจดทะเบียนสมรสว่าจะดูแลเป็นอย่างดี  ถ้าฟ้องศาลขอให้เพิกถอนทะเบียนสมรส หรือทำให้การสมรสเป็นโมฆะแทนการฟ้องหย่า จะถือว่าได้หรือไม่ว่าผู้หญิงคนนี้ไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน
แววลดา
 
มาตรา 1448  การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน และต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย
 
กรณีนี้เป็นเรื่องที่ขอเพิกถอนการสมรสได้หรือไม่ ลองดูแนวคำวินิจฉัยจากผลของคำพิพากษาคดีหนึ่ง คือคดีนั้นภริยาเป็นโจทก์ฟ้องหย่าสามี   หลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ หย่ากัน สามีสู้คดีต่อโดยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์  ระหว่างที่คดียังอยู่ในการพิจารณาของศาลฎีกานั้น  ได้พากันไปหย่า แล้วต่อมาภายหลังเปลี่ยนใจมาคืน ดีกัน
 
สามีและภริยาคู่นั้นจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาว่าไม่ติดใจดำเนินคดีต่อกันและประสงค์จะคืนดีกัน ขอให้ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะเป็นสามีภริยาอย่างเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ก่อนยื่นคำร้อง โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยสมบูรณ์แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นอันสิ้นสุดนับแต่วันที่มีการจดทะเบียนหย่าเป็นต้นมา 
 
ดังนั้น การพิจารณาฎีกาของจำเลยในเรื่องการหย่าย่อมเป็นอันไร้ประโยชน์ต่อการวินิจฉัยของศาลฎีกาต่อไป และการที่โจทก์จำเลยจะให้ศาลฎีกาพิพากษาตามยอมเพื่อนำเอาคำพิพากษาของศาลฎีกาไปแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อเพิกถอนการจดทะเบียนหย่า แล้วมีการจดทะเบียนสมรสกันใหม่ เห็นว่า การสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัวโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้อำนาจ  ศาลที่จะบังคับให้มีการสมรสได้ จึงไม่อาจพิพากษา   ตามข้อตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความอัน  ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ได้ (คำพิพากษาฎีกา 3057/ 2525)  
 
เนื่องจากเหตุที่จะทำให้การสมรสเป็นโมฆะนั้นตามกฎหมายมี 4 กรณี คือ การที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลวิกลจริตหรือศาลสั่งให้ เป็นคนไร้ความสามารถ, ชายหรือหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงต่อกันหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา, การสมรสซ้อน และการที่ชายหญิงไม่ยินยอมเป็นสามีภริยากัน 
 
ดังนั้นกรณีที่สมรสกันโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายสำคัญผิด ไม่เข้าใจในธรรมชาติของการกระทำว่าสิ่งที่ตนทำลงไปนั้นเป็นการสมรส เช่น การที่ไม่รู้ภาษาที่เขียนเป็นต่างประเทศว่าเป็นการให้เซ็นชื่อเป็นการจดทะเบียนสมรส  เข้าใจว่าเป็นการเซ็นให้ทำนิติกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต เป็นต้น

 การสมรสเป็นการทำสัญญาที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายหญิงโดยสมัครใจ โดยได้รับความยินยอมจากชาย และหญิงนั้น กรณีที่ชายหลอกลวงหญิงมาจดทะเบียนสมรสเป็นภริยาโดยรับรองว่าจะเลี้ยงดูให้สุขสบาย แต่ในภายหลังกลับทิ้งขว้าง จะถือว่าหญิงมิได้ยินยอมไม่ได้ การสมรสนี้สมบูรณ์ทุกประการ จะมาขอให้ศาลบังคับเพิกถอนไม่ได้
      
ยกตัวอย่างในคดีหนึ่ง โจทก์จำเลยได้เสียกัน ต่อมาได้ไปจดทะเบียนสมรสซึ่งกระทำต่อหน้าเจ้าพนักงานนายทะเบียน โจทก์จะอ้างภายหลังว่ามีเงื่อนไขอื่นที่จำเลยรับปาก อาทิ ห้ามเปิดเผยว่าโจทก์เป็นสามี ห้ามยุ่งเกี่ยวกับเงินเดือน และงาน ฯลฯ ซึ่งรับฟังไม่ได้มาเป็นเหตุให้การสมรสเป็นโมฆะหาได้ไม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ 3471/2526)
      
อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นนักกฎหมายคนหนึ่งและเป็นนักศึกษา feminist ผู้เขียนยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาฉบับหนึ่งมาตั้งแต่ผู้เขียนเป็นนักกฎหมายใหม่ ๆ ที่ให้เพิกถอนทะเบียนสมรสเพราะตกเป็นโมฆะแต่กลับไม่ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม
      
คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2527 ที่ตัดสินให้ “หญิงที่ถูกทะเบียนสมรสซ้อนต้องใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” ตลอดไปแม้ว่าการสมรสจะตกเป็นโมฆะแล้วก็ตาม โดยเนื้อหาของคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ศาลให้เหตุผลว่า เพราะการสมรสที่เป็นโมฆะแม้จะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในทางทรัพย์สินขึ้นก็ตาม แต่ในด้านความสัมพันธ์ในทางส่วนตัวได้เกิดมีขึ้นแล้ว ผลของการที่หญิงจดทะเบียนสมรสซ้อนอันเป็นโมฆะดังกล่าวทำให้หญิงเปลี่ยนฐานะบุคคลของตนไปเป็นหญิงมีสามีโดยผลของกฎหมายแล้ว หากต่อมาศาลได้พิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะหรือพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆะ หญิงนั้นจะต้องใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” ตลอดไปจะกลับมาใช้ “นางสาว” ไม่ได้” ...ซึ่งในทางกฎหมายแล้วการที่ตกเป็นโมฆะนั้น จะมีผลทำให้คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
      
ดังนั้นแนวคำพิพากษาศาลฎีกานี้ในความเห็นของนักสตรีนิยม (feminism) จะวิพากษ์ได้ว่าเกิดจากแนวคิดที่ฝังรากมาจากระบบปิตาธิปไตย (แปลว่าระบบชายเป็นใหญ่) ที่ยังมีความอคติในทางเพศ.


หนี้ร่วมระหว่างสามีภรรยา

ดิฉันและสามีแต่งงานและจดทะเบียน สมรสถูกต้องตามกฎหมาย เราเปิดโรงงานผลิตเครื่องประดับผู้หญิงออกวางขายในตลาด ในการสั่งซื้อวัสดุอุปกรณ์การผลิตเครื่องประดับหรือสินค้า เราใช้เช็คชำระค่าสินค้า  และบางครั้งดิฉันก็เซ็นชื่อหลัง เช็คด้วย 
     
ต่อมากิจการโรงงานไม่ค่อยดี สามีได้เขียนเช็คนำมาแลกเงินสดของนายทุนหลายรายเพื่อเอาไปใช้หมุนเวียนในกิจการของโรงงาน และเมื่อปีที่แล้วสามีเสียชีวิตด้วยโรคประจำตัวการที่มีเช็คที่เจ้าหนี้ค่าสั่งซื้อวัสดุการผลิตและนายทุนที่เราเอาเช็คไปแลกเงินสดไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ซึ่งได้นำมาฟ้องดิฉันและสามีเป็นจำเลยให้ชำระเงินตามเช็คจนศาลได้คำพิพากษาแล้ว   
     
ดิฉันจึงอยากจะทราบว่าถ้าดิฉันไม่มีเงินไปชำระหนี้ตามคำสั่งของศาล  ทรัพย์สินในขณะนี้ของดิฉันแทบทั้งหมดซื้อมาหลังจากแต่งงานกัน  ซึ่งมีบางส่วนที่ใส่ชื่อของดิฉัน ปัญหาของดิฉันคือบ้านหลังใหญ่ชื่อของสามีและยังไม่ได้โอนเป็นชื่อของดิฉัน เพราะอยู่ในระหว่างร้องขอจัดการมรดกหลังจากสามีเสียชีวิต   ถ้าจะมีการยึดบ้านหลังนี้ดิฉันจะอ้างต่อเจ้าหนี้ได้หรือไม่ว่าบ้านหลังนี้เป็นสินสมรส  เพื่อจะได้แบ่งส่วนที่ดิฉันมีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยออกมาจากการยึดชำระหนี้ตามคำพิพากษา
           
มยุรา
     
หลักทั่วไปในการที่ทายาทจะต้องรับผิดชำระหนี้ของผู้ตายนั้น  ทายาทซึ่งได้รับมรดกของผู้ตายต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของผู้ตายเพียงไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ทายาทผู้นั้นได้รับมา
     
ในกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องของทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่ตน แต่เป็นเรื่องที่ภริยาจะขอกันส่วนของภริยาในสินสมรสออกจากการบังคับคดี การที่ภริยาจะขอกันส่วนในทรัพย์สินของภริยาออกจากการบังคับคดีชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้นั้น  หนี้ตามคำพิพากษานั้นจะต้องเป็นหนี้ส่วนตัวของสามี ปัญหาจึงต้องพิจารณาว่าหนี้สินที่เป็นมูลหนี้ที่มีการฟ้องร้องจนศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้นั้น  เป็นหนี้ส่วนตัวของสามีที่ตายหรือว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา 
     
ตามข้อเท็จจริงที่ให้มานั้น  สามีขณะยังมีชีวิตได้สั่งจ่ายเช็คค่าซื้อวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งมีการนำเช็คมาแลกเงินสดไปใช้ในกิจการค้า  และภริยาเคยสลักหลังเช็คด้วยนั้น  ดังนั้นมูลหนี้ตามเช็คที่เจ้าหนี้ทั้งหลายฟ้องมานั้นน่าจะฟังได้ว่าเป็นหนี้ที่สามีกับภริยาได้ร่วมกันประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 1490) นอกจากนี้เจ้าหนี้ยังได้ฟ้องภริยาเป็นจำเลยร่วมมาด้วย  เท่ากับได้เป็นคู่ความในคดีที่หากแพ้คดี ผู้ที่ถูกฟ้องเข้ามาเป็นจำเลยจึงอาจถูกบังคับคดีได้ เมื่อไม่มีการชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนต้องไปถึงขั้นการบังคับคดีตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถยึดบรรดาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อขายทอดตลาดได้ เจ้าหนี้จึงสามารถนำยึดได้ทั้งทรัพย์สินส่วนตัวสามีและภริยาหรือสินสมรส    
     
ในการที่เจ้าหนี้ได้นำยึดจากทรัพย์สินซึ่งได้  ซื้อหรือสร้างมาหลังจากแต่งงานกันแล้ว แม้ทรัพย์สินจะใส่ชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทรัพย์สินนั้นก็ยังเป็นสินสมรส แต่การที่ภริยาจะต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสที่สามีและภริยาเป็นกรรมสิทธิ์คนละครึ่งนั้น  เพื่อภริยาจะใช้สิทธิขอกันส่วนของภริยาออกมาจากการยึดขายทอดตลาด เพื่อไม่ให้บังคับคดีนั้น  ย่อมไม่ได้  เพราะหนี้ตามคำพิพากษาที่บังคับคดีนี้ไม่ใช่หนี้ส่วนตัวของสามี  แต่เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา สามีภริยาต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ร่วมกัน.


การยอมความในคดีอาญา   

ผมมีญาติที่ถูกแจ้งความบุกรุกและลักทรัพย์ไว้ที่สถานีตำรวจ ซึ่งญาติบอกว่า คดีนี้สามารถตกลงกันได้ จะขอเงินจากผมเพื่อจะนำ ไปชดใช้ให้ผู้เสียหาย เพื่อจะได้ไม่ถูกดำเนินคดี  ผมจึงอยากทราบว่า ผมจะตรวจสอบได้อย่างไรว่า คดีที่ถูกแจ้งความไว้สามารถยอมความกันได้  และจริงหรือไม่ถ้าผู้เสียหายจะยอมรับเงินแทนของที่เขาเอาไป จะทำให้ญาติของผมรอดพ้นจากการถูกดำเนินคดีอาญา 
     
มนตรี
       
คดีอาญาจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คดีความผิดอาญาแผ่นดิน และคดีความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งสำหรับคดีความผิดต่อแผ่นดินนั้น เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ เป็นส่วนได้เสียของประชาชนจะยอมความกันไม่ได้ ส่วนความผิดต่อส่วนตัวนั้นคู่กรณีสามารถตกลงยอมความกันได้ตัวอย่างเช่น คดีบุกรุกธรรมดากฎหมายได้บัญญัติให้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อมีการแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดไว้ ถ้าต่อมาภายหลังผู้แจ้งความจะไม่เอาเรื่องหรือไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ก็สามารถตกลงยอมความหรือถอนคำร้องทุกข์ทำให้คดีอาญาระงับลงได้ 
       
แต่ถ้าเป็นคดีบุกรุกในเวลากลางคืน หรือบุกรุกโดยมีอาวุธมาขู่เข็ญซึ่งเป็นเหตุฉกรรจ์  กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวไว้  การบุกรุกในเวลากลางคืนหรือมีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน  เมื่อแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้วก็ไม่อาจจะยอมความหรือถอนคำร้องทุกข์ได้ ต้องดำเนินคดีต่อไป 
       
ในการจะดูว่าความผิดอาญาใดยอมความได้หรือไม่นั้นจะต้องดูพฤติการณ์ลักษณะของการกระทำความผิดว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏน่าจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายมาตราใด ซึ่งส่วนใหญ่จะดูจากข้อหาที่จะดำเนินคดี โดยพนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบว่า การกระทำดังกล่าวพนักงานสอบสวนปรับให้เป็นความผิดตามบทมาตราใด 
       
แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะบางกรณี   หากพนักงานอัยการมีความเห็นว่ายังมีข้อเท็จจริงบางประการที่ยังไม่ได้สอบสวนไว้ ก็อาจจะขอให้พนักงานสอบสวนสอบเพิ่มเติม สอบสวนเพิ่มเติมแล้วอาจจะมีข้อเท็จจริงบางอย่างที่การกระทำผิดเข้าเหตุลักษณะฉกรรจ์ ก็จะมีการแจ้งให้ผู้ต้องหารับทราบข้อหาเพิ่ม  ซึ่งการแจ้งข้อหาเบื้องต้นอาจเป็นเพียงความผิดต่อส่วนตัว แต่ข้อหาที่แจ้งเพิ่มเติมในชั้นพนักงานอัยการอาจเป็นข้อหาที่เป็นความผิด ต่อแผ่นดินแล้วแต่กรณี ซึ่งในการดำเนินคดีที่มีหลายข้อหาซึ่งล้วนเป็นความผิดต่อส่วนตัวนั้นคู่ความอาจจะตกลงยอมความเฉพาะบางข้อหาหรือทั้งหมดก็ได้
       
การยอมความในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ  คู่กรณีจึงอาจตกลงกันด้วยวาจาโดยแสดงเจตนาเลิกคดีต่อกันโดยบริสุทธิ์ แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่น ตกลงถอนเรื่องไม่ติดใจให้สอบสวนต่อไป ตกลงตามรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันของตำรวจว่ายอมเลิกคดีบุกรุกกัน ฯลฯ แต่การที่ตกลง ด้วยวาจาซึ่งขาดพยานหลักฐานยืนยันก็ต้องอาศัยพฤติการณ์มาพิจารณาว่าได้มีการตกลงกันจริง เช่น  การที่จำเลยรื้อรั้วไปทำขึ้นตามแนวเขตใหม่ตามข้อตกลง การที่ผู้เสียหายรับว่าได้ตกลงยอมความกับจำเลยแล้ว หรือตกลงให้โจทก์ถอนคดีที่แจ้งความไว้ โดยจำเลยชำระให้เป็นเงินสดและออกเช็คแก่โจทก์  หรือการที่ผู้เสียหายแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ทำสัญญาประนีประนอมโดยได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยเป็นที่พอใจแล้ว ฯลฯ.

 

นอกจากนี้ถ้ากรณีที่การกระทำเป็นทั้งความผิดทางแพ่งและทางอาญานั้น จะต้องพิจารณาให้ดี ต้องดูว่าได้มีความมุ่งหมายที่จะให้คดีอาญาระงับไปด้วยหรือไม่ เพราะการยอมความในคดีแพ่งที่จะทำให้คดีอาญาระงับไปนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ผู้เสียหายสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาด้วย หากไม่ปรากฏว่าได้ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต้องถือว่าเป็นการยอมความในคดีแพ่งเท่านั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องยังไม่ระงับ
      
ตัวอย่างแนวคำพิพากษาของศาล ที่ไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญาด้วย เช่น การที่บิดามารดายอมรับขมา 2,000 บาท เพื่อให้ได้ตัวผู้เสียหายกลับคืนมา และเพื่อล้างอายโดยเข้าใจว่าบุตรสาวตามเขาไป เป็นเรื่องตกลงกันในทางแพ่งไม่เกี่ยวกับทางอาญา, การที่มีการยอมความในคดีแพ่งที่มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องผ่อนชำระเงินให้แก่โจทก์จนครบถ้วนเสียก่อน โจทก์จึงจะถอนฟ้องคดีอาญา ไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาทันที, การทำบันทึกตกลงกันไว้ว่าถ้าจำเลยนำเงินมาคืนผู้เสียหายภายในกำหนด ผู้เสียหายจะไม่เอาเรื่องทั้งทางแพ่งและทางอาญานั้น ไม่เป็นการยอมความโดยสิ้นเชิง แต่เป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไข การยอมความโดยมีเงื่อนไขดังกล่าวจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปก็ต่อเมื่อจำเลยชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายแล้ว
      
หรือในความผิดฐานยักยอก เพียงแต่ได้ส่งเงินไปใช้ให้โดยไม่ปรากฏว่ามีการทำความตกลงระงับข้อพิพาทต่อกัน ศาลฎีกายังเคยตัดสินว่ามิใช่การยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
      
อย่างไรก็ตามในแต่ละข้อหาที่ถูกแจ้งให้ทราบว่าจะดำเนินคดีนั้น การที่เราจะทราบได้ว่าข้อหาดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้หรือไม่นั้น ในเบื้องต้นประมวลกฎหมายอาญาจะระบุไว้ชัดเจนว่าการกระทำความผิดตามมาตรานั้นๆ เป็นความผิดอันยอมความได้ โดยจะระบุไว้วรรคท้ายของมาตรานั้น ๆ หรือในตอนท้ายของหมวดความผิดนั้น ๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ คดีฉ้อโกงลักษณะธรรมดาจะเขียนไว้ ว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ถ้าเป็นคดีฉ้อโกงประชาชน (คนหมู่มาก) จะไม่มีการเขียนไว้
      
ดังนั้นคดีฉ้อโกงประชาชนจึงเป็นความผิดต่อแผ่นดินคือยอมความไม่ได้ หรือคดีลักทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นการลักทรัพย์ในลักษณะธรรมดาหรือการลักทรัพย์ลักษณะฉกรรจ์จะไม่มีการเขียนระบุไว้ว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ ทำให้คดีลักทรัพย์แม้จะเป็นการลักทรัพย์ในลักษณะธรรมดาเป็นคดีที่เป็นความผิดต่อแผ่นดิน จึงยอมความกันไม่ได้ เป็นต้น
      
ดังนั้นถ้าเป็นการแจ้งความบุกรุกธรรมดาก็อาจตกลงยอมความกันได้ แต่ถ้าแจ้งความบุกรุกในเวลากลางคืนหรือมีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญและมีการแจ้งข้อหาลักทรัพย์มาด้วย คดีก็ไม่อาจตกลงยอมความกันได้
      
การกระทำผิดอาญาแผ่นดินที่มีการพูดคุยกันนอกรอบว่าคดีนี้สามารถตกลงกันให้คดีเลิกกันได้ เป็นการเสี่ยงต่อการถูกหลอกให้เสียเงินเสียทอง และเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายอาญาด้วย.


หย่าแล้วยังอยู่ด้วยกัน 

สามีเป็นคนเจ้าชู้มาตั้งแต่หนุ่ม ๆ เมื่อแต่งงานกันแล้วก็ยังมีเรื่องผู้หญิงให้ดิฉันปวดหัวอยู่เป็นประจำ  
 
ต่อมา สามีได้มาขอให้ดิฉันจดทะเบียนหย่ากันก่อน โดยอ้างว่าต้องประกอบธุรกิจหลายอย่าง หากวันหน้ามีหนี้สิน เจ้าหนี้อาจจะมายึดทรัพย์สินทำให้ครอบครัวเดือดร้อนได้ แต่ถึงจะหย่ากันเราก็จะอยู่กินกันเหมือนเดิมทุกอย่าง ทรัพย์สินที่จะหาได้ในวันข้างหน้าก็จะใส่ชื่อดิฉันเป็นเจ้าของคนเดียว 
 
แต่ดิฉันไม่ค่อยเชื่อในเหตุผลของสามีเพราะทุกวันนี้สามีก็ยังคงมีผู้หญิงมาติดพัน และมีรายหนึ่งซึ่งสามีหลงใหลมาก และเธอเป็นคนมีหน้า มีตาในสังคม การที่เธอคบกับผู้ชายที่จดทะเบียนสมรสมีภริยาตามกฎหมาย อาจทำให้เธอถูกสังคมครหาได้ 
 
ดิฉันจึงต้องการคำชี้แนะในทางกฎหมายว่า การจดทะเบียนหย่าแล้วยังอยู่กินด้วยกันนั้นเจ้าหนี้ไม่สามารถติดตามหนี้สินจากภริยาที่หย่ากันแล้วได้จริงหรือ?
ปรานี
 
สำหรับสังคมที่ยึดถือทะเบียนสมรสเป็นสิ่งสำคัญในการสมรสนั้น จะพบกับปัญหาความสำคัญของการเป็นคู่สมรสตามกฎหมายในอีกด้านหนึ่ง  เช่น กรณีของการที่คู่สมรสตกลงจดทะเบียนหย่ากันแบบหลอก ๆ ไม่ว่าจะใช้เหตุผลว่าเพื่อครอบครัวจะได้ไม่ต้องเดือดร้อนจากการทำธุรกิจ หรือกล่าวง่าย ๆว่าเพื่อจะได้หลบเลี่ยงจากการต้องถูกบังคับชำระหนี้สินต่าง ๆ หรือจะเพื่อหมกเม็ดการได้มาซึ่งอิสระกับการจะได้มีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นโดยไม่ถูกร้องเรียนหรือรอดพ้นจากการถูกดำเนินคดี
 
การที่คู่สมรสตกลงหย่ากันแล้วยังคงอยู่กินกันฉันสามีภริยาหลังการหย่าในทางกฎหมายนั้น  อาจจะไม่มีผลทำให้การสมรสสิ้นสุดตามที่ได้จดทะเบียนหย่ากันแต่อย่างใด ซึ่งจะยกตัวอย่างคำพิพากษาของศาลฎีกาเก่า ๆ มาให้ดูเป็นแนวทางประกอบการตัดสิน
 
ตัวอย่างที่ 1 กรณีที่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก เจ้าหนี้เป็นบุคคลภายนอกเป็นโจทก์ที่นำคดีมาฟ้องทั้งสามีและภริยาเป็นจำเลยร่วมกันให้ชำระหนี้ โดยสามีภริยาอาจจะตกลงจดทะเบียนหย่ากันแล้ว แต่ยังอยู่กินกันฉันสามีภริยา การที่ต่อมาศาลได้พิพากษาให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ชนะคดี มีการบังคับให้ลูกหนี้ผู้เป็นจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งการบังคับคดีนั้นอาจจะมีการยึดทรัพย์สินหลาย ชิ้นทั้งของลูกหนี้และไม่ใช่ของลูกหนี้ ถ้าทรัพย์สินรายการใดที่เจ้าหนี้นำยึดไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าของที่แท้จริงก็สามารถร้องต่อศาลขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดออกจากการบังคับคดีได้
 
ดังนั้นถ้าสามีภริยาได้จดทะเบียนหย่ากันถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป ถ้าเจ้าหนี้ฟ้องบังคับหนี้สามี  แต่ไปยึดทรัพย์สินบางรายการที่เป็นของภริยาที่หย่ากันไปแล้ว อดีตภริยาก็สามารถร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่จะนำยึดมาบังคับคดีได้.

กลับกันถ้าเป็นการฟ้องและบังคับคดีกับสินสมรส ที่สามีภริยาเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง ถ้าเป็นการตกลงจดทะเบียนหย่ากันหลอก ๆ เพื่อสะดวกแก่การจะถ่ายเททรัพย์สินไม่ให้ถูกเจ้าหนี้บังคับชำระหนี้ได้ โดยยักย้ายไปไว้ที่ภริยา การที่ในความเป็นจริงทั้งคู่ยังอยู่กินกันฉันสามีภริยาเหมือนเดิม ผลในทางกฎหมายจะเป็นไปในทางตรงกันข้ามเพราะถือว่าการจดทะเบียนหย่าหลอก ๆ กันนี้ไม่อาจจะมีผลผูกพันกับบุคคลภายนอกได้ ทำให้ทรัพย์สินที่นำยึดบังคับคดีถ้าหากเป็นสินสมรส ที่คู่สมรสมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สิน ภริยาที่หย่ากับสามีเพื่อหลอกบุคคลภายนอก
     
ในกรณีเช่นนี้ จะนำมาใช้ในการอ้างต่อศาล เพื่อขอให้ปล่อยทรัพย์ที่เจ้าหนี้นำยึด ว่าทรัพย์สินที่นำยึดเป็นของตนไม่ใช่ของสามีนั้นไม่ได้
   
ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2524 ซึ่งศาลฎีกาได้เคยพิพากษาไว้ว่า “หนังสือข้อตกลงหย่าและการจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับจำเลยแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างกันกระทำขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอม จึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดจึงเป็นสินสมรสซึ่งผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ผู้ร้องไม่มีอำนาจมาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด”
     
ตัวอย่างที่ 2 กรณีที่ไม่มีผลผูกพันกันเอง สามีจดทะเบียนหย่ากับภริยาแต่ยังอยู่กินกันฉันสามีภริยา ต่อมาภายหลังสามีไม่ต้องการจะอยู่กินกับภริยาอีก โดยต้องการให้ภริยาออกจากบ้านเพื่อจะเอาผู้หญิงคนใหม่เข้ามาอยู่ในบ้าน ภริยาไม่ยอม ออก สามีจึงมาฟ้องขับไล่ภริยาออกจากบ้าน เช่นนี้ขับไล่ไม่ได้
     
ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา 2898/2525 ศาลพิพากษาว่า โจทก์จดทะเบียนหย่า แต่ยังคงอยู่ร่วมเรือนเดียวกัน และร่วมสร้างเรือนพิพาทอยู่ด้วยกันอีก 1 หลัง ปรับปรุงที่พิพาทเป็นนา ขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกต้นผลอาสินเยี่ยงสามีภริยา ต่างฝ่ายต่างไม่มีคู่ครองใหม่ พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าการจดทะเบียนหย่าก็โดยเจตนาไม่ประสงค์ให้มีผลผูกพันกัน จึงใช้บังคับกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งคู่ยังคงเป็นสามีภริยากันตลอดมา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและเรือนพิพาทไม่ได้
       
ปัจจุบันมีผู้หญิงเป็นจำนวนมากที่ยอมจดทะเบียนหย่าให้สามี แต่ยังอยู่กินกันเหมือนเดิม ต้องขมขื่นใจกับการช่วยเหลือสามีโดยการจดทะเบียนหย่าให้สามีได้มีอิสระ เนื่องจากสามีไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่น ให้สามีได้นำทะเบียนหย่าไปแสดงต่อผู้หญิงอื่นที่สามีไปมีความสัมพันธ์ จะได้จดทะเบียนสมรสใหม่เพื่อแลกกับการที่สามีจะได้ไม่ถูกร้องเรียนหรือดำเนินคดี เพราะสามารถแสดงความรับผิดชอบกู้ศักดิ์ศรีให้แก่ผู้หญิงที่ตนไปล่วงละเมิดได้.


สิทธิยึดหน่วง 

เมื่อตอนที่ผมประสบกับปัญหาเดือดร้อน มีเพื่อนของผมซึ่งผมเคยช่วยไว้เห็นใจ จึงได้แบ่งขายที่ดินของเขาให้แก่ผม ในราคา 2 แสนบาท ตอนนั้นผมยังไม่มีเงินพอ เขาจึงให้ผมทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันไว้ และผมได้มอบเงินมัดจำให้เขาเพียง 2 หมื่นบาทก่อน และอนุญาตให้ผมพาลูกเมียเข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินแปลงนี้ได้ 
     
ต่อมาเมื่อผมมีฐานะดีขึ้น ก็ได้ติดตามให้เขาโอนที่ดินให้ผมพร้อมจัดเตรียมเงินไว้พร้อม แต่จนถึงบัดนี้เจ้าของก็ยังไม่ได้โอนที่ดินให้แก่ผม ปัญหาอีกอย่างที่ตามมาคือว่า ผมได้ทราบว่าเพื่อนได้ฝากคนบอกขายที่ดินทั้งหมดรวมทั้งแปลงที่ได้ขายให้ผมแล้ว
     
กรณีเช่นนี้ผมควรจะทำประการใด เพราะผมบอกให้เพื่อนไปจัดการโอนที่ดินให้ผม เขาก็เฉย ผมเกรงว่าเขาอาจจะเปลี่ยนใจไม่ยอมขายที่ดินแปลงนี้ให้ผมแล้ว  ถ้าต้องฟ้องคดีที่ศาล สัญญาที่ทำไว้นานแล้วยังจะฟ้องคดีได้หรือไม่และผมพอจะมีทางชนะคดีได้หรือไม่
           
สุชาติ
     
การที่เพื่อนได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทไว้  กรณีนี้มีข้อเท็จจริงที่สำคัญคือ ได้มีการมอบเงินมัดจำไว้แล้ว และ ผู้ขายได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองตลอดมา เมื่อผู้ซื้อเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญามัดจำ ผู้ซื้อจึงมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทไว้จนกว่าจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241)
     
ดังนั้นการที่แม้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายรายนี้จะได้ทำสัญญากันไว้นานมากว่า 10 ปีแล้วก็ตาม แต่คดีก็ยังไม่ขาดอายุความแต่อย่างใด
     
หากมีการฟ้องร้องคดี ข้อเท็จจริงที่ได้มีการเข้าอยู่ในที่ดินและมีการชำระเงินมัดจำไว้ทำให้รูปคดีของผู้จะซื้อค่อนข้างจะได้เปรียบ
     
สิ่งต้องรีบทำในตอนนี้คือ มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ผู้จะขายไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ก่อน หากได้ทวงถามให้ผู้จะขายไปจดทะเบียนโอนแล้ว แต่ผู้จะขายไม่ยอมไป ผู้จะซื้อจะต้องใช้สิทธิในทางศาล ฟ้องขอต่อศาลให้ผู้จะขายจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้จะซื้อต่อไป.


คุ้มครองชั่วคราวในคดีฟ้องหย่า

ดิฉันมีอาชีพเป็นแม่บ้าน เมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมามีปัญหากับสามีเรื่องสามีมีผู้หญิงอื่น จึงได้หอบลูกออกจากบ้านมาอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง และออกไปค้าขายหาเลี้ยงตัวเองและลูก ซึ่งยังเล็กไปวัน ๆ 
 
ตอนนี้ดิฉันยังตกลงกับสามีเรื่องทรัพย์สินไม่ได้และสามีบอกว่าทุกบาททุกสตางค์ในการซื้อทรัพย์สินเป็นเงินของเขาทั้งนั้น  สามีท้าให้ไปฟ้องศาล ดิฉันจึงอยากจะถามว่า
 
1. ถ้าก่อนแต่งงานสามีและดิฉันไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย ต่อมาเมื่อได้แต่งงานและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน สามีทำงานนอกบ้าน  ส่วนดิฉันไม่ได้ทำงานมีรายได้ โดยสามีให้ทำหน้าที่แม่บ้านดูแลลูกและสามี ทำให้ทรัพย์สินที่สมสร้างขึ้นมาระหว่างเราสองคนเป็นเงินที่มาจากรายได้ของสามีฝ่ายเดียว ดิฉันจะมีส่วนแบ่งในทรัพย์สินเหล่านี้หรือไม่ 
 
2. ถ้าดิฉันมีสิทธิในทรัพย์สินตามข้อ 1 ด้วย ในระหว่าง การฟ้องร้องอาจต้องใช้เวลา จะมีวิธีป้องกันมิให้สามีนำทรัพย์สินไปขายได้หรือไม่
 
3. ในระหว่างนี้ถ้าจะขอให้เขานำเงินเดือนมาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายดิฉันและลูกไปพลางก่อนจะได้หรือไม่
กนกพร
 
ทรัพย์สินที่สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต่างทำมาหาได้ในระหว่างการสมรส (ซึ่งมิใช่เป็นทรัพย์ที่มีผู้อื่นยกให้หรือได้รับมรดกเป็นการส่วนตัวแล้ว) จะเป็นสินสมรสทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายใดได้มี/หรือไม่มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้นั้นหรือไม่ 

บางคนได้เปรียบเทียบการสมรสว่าเสมือนการเข้าเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ สินสมรสจึงถือเป็นกำไรที่หุ้นส่วนหามาได้ จึงควรเป็นเจ้าของร่วมกันในที่นี้คือทั้งสามีและภริยา แม้ต่อมาสามีภริยาจะแยกกันอยู่ หรือบวชเป็นพระภิกษุ ตราบใดที่ยังไม่ได้หย่ากัน  แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นพ่อบ้านหรือแม่บ้านที่ไม่มีรายได้ ก็ต้องถือว่าทรัพย์สินที่หามาได้ในระหว่างการสมรสนั้นเป็นสินสมรส 
 
ดังนั้นถ้าหากว่าการสมรสได้สิ้นสุดลง จะเป็นด้วยคู่สมรสฝ่ายใดตายหรือมีการหย่าหรือศาลมีคำพิพากษาให้การสมรสสิ้นสุดลง  ก็ตามทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสทั้งหมดจะต้องมีการแบ่งกรรมสิทธิกันคนละครึ่ง

ในกรณีที่มีการฟ้องหย่า มีการขอแบ่งสินสมรส และขอค่าเลี้ยงชีพสำหรับคู่สมรสที่หากมีการหย่า และขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยแล้ว หากคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณา  ซึ่งคำพิพากษายังไม่ถึงที่สุดนั้น ถ้าระหว่างนี้กรณีอาจจะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น ได้สืบทราบมาว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ตกลงจะขายสินสมรสที่อยู่ในความครอบครองของเขาให้ผู้อื่น ซึ่งอาจจะมีผลต่อรูปคดีได้ว่าหากต่อมาศาลพิพากษาให้แบ่งสินสมรสคนละครึ่ง  คดีก็ไม่อาจจะบังคับคดีได้ เพราะไม่มีทรัพย์สินอยู่ในขณะที่มีการบังคับคดีแล้ว หรือเปลี่ยนไปใส่ชื่อญาติพี่น้องของตนเองไว้แทนเพื่อมิให้มีการบังคับคดีได้ 
 
ดังนั้นจึงสามารถยื่นต่อศาลขอให้มีการอายัดอสังหาริมทรัพย์หรือยึดสังหาริมทรัพย์ไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันมิให้นำทรัพย์สินไปจำหน่าย หรือยักย้ายถ่ายเท ในระหว่างที่มีการดำเนินคดีได้
 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1530 บัญญัติว่า ขณะคดีฟ้องหย่าอยู่ในระหว่างการพิจารณา ถ้าฝ่ายใดร้องขอ ศาลอาจสั่งชั่วคราวให้จัดการตามที่เห็นสมควร เช่น ในเรื่องสินสมรส ที่พักอาศัย การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยา และการพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร
 
ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาให้หย่า หรือได้จดทะเบียนหย่ากัน  ต้องถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยายังมีอยู่  ซึ่งมีผลให้ยังต้องมีการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน  ดังนั้นการที่คู่สมรสฝ่ายใดไม่มีรายได้เพียงพอที่จะมีเงินใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงดูตนเองและลูก ก็ย่อมมีสิทธิ ที่จะขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสที่มีรายได้เป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างคดีได้ 
 
และถึงแม้ว่าฝ่ายที่เดือดร้อนจะมีญาติพี่น้องที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้  แต่บุคคลเหล่านั้นถือว่าเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน 
 
แม้ศาลจะยังไม่มีคำพิพากษาให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร  ในระหว่างคดีคู่สมรสอีกฝ่ายซึ่งเดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและลูก  ย่อมจะใช้วิธีร้องขอต่อศาล ขอให้คู่สมรสที่มีรายได้ช่วยเหลือค่าอุปการะเลี้ยงดู โดยขอให้นำเงินมาวางที่ศาลเพื่อจะได้นำมาเป็นค่าจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ตนและบุตรก่อนศาลมีคำพิพากษาได้.


ใช้บัตรเครดิตเติมน้ำมัน

แม้ว่าจะได้มีการดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหารายนี้ไปแล้ว แต่มีผู้อ่านท่านหนึ่งได้นำมาเล่าฝากเตือนท่านผู้อ่านทั้งหลายที่นิยมใช้บัตรเครดิตในการเติมน้ำมัน ยิ่งในยุคนี้ที่น้ำมันแพงลิตรละเกือบสามสิบบาทด้วยแล้ว คือผู้ที่ขับรถทั้งหลายเมื่อเติมน้ำมันแล้วมักจะส่งบัตรเครดิตให้พนักงานบริการนำไปเข้าเครื่องรูดคิดเงินแล้วนำมาให้เจ้าของบัตรเซ็นชื่อที่รถ แล้วเจ้าของรถก็ขับรถออกไปโดยสะดวก
 
ผู้อ่านรายนี้ได้เติมน้ำมันเต็มถังที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งคิดเงินจำนวน 1,200 บาท หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ ได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จากพนักงานให้บริการเกี่ยวกับบัตรเครดิตของธนาคารผู้ใช้บัตรเครดิตสอบถามว่าเจ้าของบัตรใช้รถยนต์ยี่ห้ออะไร ทำไมในวันเดียวกันและปั๊มเดียวกันจึงเติมน้ำมันถึง 3 ครั้ง เป็นเงินรวมเกือบ 4,000 บาท 
 
ผู้ใช้บัตรเครดิตจึงได้ติดต่อประสานไปที่พนักงานผู้นั้นจึงได้พบสลิปการใช้บัตรเครดิตรูดเติมน้ำมัน ซึ่งสลิปใบแรกจำได้ว่าเป็นลายเซ็นของตน แต่สลิปใบที่สองและสามไม่น่าจะใช่ลายเซ็นของเจ้าของบัตร การหาข้อเท็จจริงในทางลับจึงได้ย้อนกลับไปที่ปั๊มดังกล่าวอีกครั้ง 
 
จึงได้ทราบว่าหลังจากมอบบัตรเครดิตให้แล้ว เด็กปั๊มได้รูดบัตรเครดิตไว้ 3 ครั้ง และเอามาให้เจ้าของบัตรเซ็นชื่อ หลังจากนั้นเมื่อมีผู้เติมน้ำมันรายอื่นเติมน้ำมันโดยใช้เงินสดจำนวน 1,000 บาท เด็กปั๊มคนนี้ก็เอาบัตรที่รูดไว้มาดูรูปลายเซ็นของเจ้าของบัตรเครดิตแล้วเซ็นชื่อในสลิปเก็บไว้ให้ปั๊มน้ำมันว่าลูกค้ารายที่เติมน้ำมัน 1,000 บาท ชำระเป็นบัตรเครดิต ส่วนเงินสด 1,000 บาท ก็เอาเข้ากระเป๋าตามระเบียบ และผู้เติมน้ำมันเงินสดรายต่อมาอีก 1,500 บาท ก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่พนักงานบัตรเครดิตซึ่งมีหน้าที่แจ้งยอดการใช้เงิน เกิดความสงสัยว่า ทำไมเจ้าของบัตรเครดิตจึงเติมน้ำมันในวันเดียวกันและปั๊มเดียวกันเป็นจำนวนเงินเกือบ 4,000 บาท 
 
แม้จะเอาผิดกับเด็กปั๊มในการดำเนินการตามกฎหมายได้แต่ยังมีเหยื่ออีกเป็นจำนวนมากที่อาจจะเอาเพียงเล็กน้อยเช่น วันละไม่กี่ร้อยบาท ซึ่งผู้ใช้บัตรเครดิตก็ไม่ได้สนใจรายการใช้บัตรเครดิตในแต่ละครั้งว่ามีความผิดปกติหรือไม่ 
 
ดังนั้นทางที่ดีในการส่งบัตรเครดิตเพื่อรูดใช้น้ำมันแต่ละครั้งจึงควรให้เครื่องรูดการ์ดอยู่ในสายตาของเจ้าของบัตร หากต้องนำไปรูดที่ไกล ๆ ก็ควรตามไปดู หรือใช้เงินสดจะปลอดภัยและสบายใจกว่า.

 


การกู้ยืมเงินของคู่สมรส

การที่ภริยาของผมกู้ยืมเงินก้อนหนึ่งจากเพื่อน โดยปลอมลายมือชื่อผมในหนังสือสัญญากู้เงิน ที่สำคัญคือเธอเอาโฉนดที่ดินบ้านที่เป็นสินสมรสไปเป็นหลักประกันโดยเขียนระบุไว้ในสัญญาว่าให้ผู้ให้กู้ยึดถือโฉนดที่ดินแปลงนี้ไว้เป็นประกันหนี้ ผมในฐานะสามีจะได้รับความเสียหายหากภริยาไม่ชำระหนี้ด้วยหรือไม่ และสามารถฟ้องเพิกถอนสัญญากู้นี้ได้หรือไม่
               
ภาคภูมิ
   
การที่กฎหมายกำหนดว่าในการจัดการสินสมรสของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งด้วยนั้น ปัญหาก็คือว่าการที่ภริยาไปกู้เงินเจ้าหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามีนั้น จะทำให้สามีเสียหายหรือไม่เพราะเป็นการนำโฉนดที่ดินที่เป็นสินสมรสไปเป็นประกันการกู้ยืมเงินนี้ด้วย จะเห็นได้ว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างภริยากับเจ้าหนี้ที่มีการปลอมลายมือชื่อสามีนั้นเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่าภริยากู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ซึ่งเท่ากับว่าสัญญากู้ยืมเงินนี้ไม่สมบูรณ์ซึ่งก็เป็นเรื่องระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ มิได้เกี่ยวข้องกับสินสมรสของสามีแต่อย่างใด
   
เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(4) บัญญัติไว้ในเรื่องของ “การให้กู้ยืมเงิน” ว่าสามีภริยาจะต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง พูดง่าย ๆ คือ กฎหมายกำหนดให้คู่สมรสที่จะให้ผู้อื่นยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในการจัดการสินสมรส ส่วนการที่คู่สมรสเป็นผู้กู้ยืมเงินจากผู้อื่นเอง ศาลได้วางแนววินิจฉัยมาตราดังกล่าวไว้ว่าเป็นเรื่องการกู้ยืมมิใช่เรื่องการให้กู้ยืม จึงไม่ต้องห้ามในการที่จะต้องขอความยินยอมจากสามีแต่อย่างใด
   
ส่วนการที่ภริยานำโฉนดที่ดินที่เป็นสินสมรสไปเป็นประกันหนี้นั้น ถึงแม้ว่าเจ้าหนี้จะฟ้องหนี้ในสัญญากู้และศาลมีคำสั่งให้นำโฉนดที่ดิน   ฉบับนี้ส่งในชั้นศาลเพื่อการบังคับคดี ถ้าหากว่า   หนี้ที่เจ้าหนี้ฟ้องภริยานั้นสามีมิได้เป็นหนี้ร่วม    กับภริยาแล้วจะยังไม่ถือว่าเป็นกรณีที่สามีได้รับความเสียหายหรือเป็นการโต้แย้งสิทธิของสามี    การบังคับคดีเพื่อชำระหนี้จึงไม่กระทบกระเทือนสิทธิของสามีแต่อย่างใด เพราะเจ้าหนี้จะบังคับคดีหนี้ส่วนตัวของภริยาจากสินสมรสได้เพียงในส่วนของภริยาเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับสินสมรสในส่วนที่เป็นของสามี
   
การทำนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินโดยเอาโฉนดที่ดินที่เป็นสินสมรสไปเป็นประกันหนี้ดังกล่าวจึง   ไม่การกระทบสิทธิของสามีแต่อย่างใดและไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของสามี ถ้าสามีจะฟ้องต่อศาล   เพื่อขอเพิกถอนสัญญากู้ยืมเงิน ศาลอาจจะยก   ฟ้องได้เพราะสามียังไม่มีอำนาจฟ้องด้วยเหตุผลข้างต้น (อ่านรายละเอียดในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2551).


 หนังสือหย่า

ผมกับภริยาได้แยกกันอยู่และเมื่อเดือนที่แล้วได้ทำหนังสือหย่าถือกันไว้คนละฉบับ ซึ่งนัดกันไว้ว่าจะไปจดทะเบียนหย่ากันในเดือนนี้ ขณะนี้เธอโทรฯ มาบอกว่าเธอไม่ไปอำเภอเว้นแต่ว่าผมจะจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูเธอก้อนหนึ่งก่อน และเป็นเงินที่มากพอสมควร ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะผมไม่มี และทุกวันนี้เพื่อเห็นแก่ลูกผมก็ต้องใช้หนี้ที่เธอไปก่อไว้หลายราย ผมอยากทราบว่าหนังสือหย่าที่เรามีอยู่จะมีผลในทางกฎหมายแล้วหรือไม่ ผมนำหนังสือหย่าไปจดทะเบียนหย่าเองที่อำเภอได้หรือไม่เพราะผมกลัวว่าเธอจะไปสร้างหนี้มาให้ผมรับผิดชอบอีก
             
พิสุทธิ์
   
หลังจากที่มีการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายคือ การจดทะเบียนสมรสแล้ว ดังนั้นเมื่อการสมรสต้องกระทำโดยทางทะเบียน การหย่ามีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการลบล้างทางทะเบียน เช่นกัน มิฉะนั้นการหย่าย่อมไม่สมบูรณ์ นั่นคือชายหญิงแม้ทำหนังสือหย่ากันไว้แต่ถือว่ายังมีฐานะเป็นสามีภริยาตามกฎหมาย การทำหนังสือหย่ายังไม่มีผลทำให้การสมรสสิ้นสุดลง เหตุผลสำคัญที่กฎหมายยังไม่ให้หนังสือหย่ามีผลให้การสมรสสิ้นสุดเพราะเพื่อให้สามีภริยาได้มีโอกาสยับยั้งชั่งใจ ก่อนการจดทะเบียนหย่าอาจยังมีสิทธิเปลี่ยนใจหรือทบทวนหลาย ๆ ด้านซึ่งอาจมีสิทธิคืนดีกันได้ 
   
อย่างไรก็ตาม การที่จะนำหนังสือหย่าไปอำเภอหรือสำนักงานเขตเพื่อจดทะเบียนหย่าเองโดยตรงนั้น ถ้าพูดกันในภาษากฎหมายจะใช้คำว่า สภาพแห่งหนี้ยังไม่เปิดช่องให้บังคับได้ ทางแก้คือถ้าฝ่ายหนึ่งไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าให้ อีกฝ่ายหนึ่งหากประสงค์หย่าต้องฟ้องศาลเพื่อให้บังคับตามหนังสือหย่าให้ ซึ่งศาลจะตัดสินโดยใช้ถ้อยคำเช่น “ให้จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์” หลังจากนั้นจึงสามารถดำเนินการจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนได้ เมื่อนายทะเบียนได้จด ทะเบียนการหย่าให้แล้ว การหย่าจะมีผลสมบูรณ์นับแต่วันจดทะเบียนหย่าเป็นต้นไป.


บันทึกท้ายทะเบียนหย่า

สามีและดิฉันจดทะเบียนหย่าได้ 8 ปีแล้ว โดยมีทรัพย์สินในระหว่างเป็นสามีภริยา คือ ที่ดิน 2 แปลง สามีได้ตกลงไว้ท้ายทะเบียนหย่าในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินว่า ที่ดินแปลงแรกยกให้ดิฉัน แปลงที่ 2 ยกให้ลูก ซึ่งตอนหย่ากันลูกอายุเพียง 8 ขวบ แต่สามีก็มิได้ปฏิบัติตามสัญญาจดทะเบียนโอนตามที่ได้ตกลงกันไว้ขณะหย่า กลับเอาภริยาใหม่เข้ามาอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินที่ยกให้ดิฉัน ถ้าตอนที่ทำสัญญามิได้ให้ลูกเป็นคู่สัญญารับรู้ด้วย จะต้อง  มีการฟ้องร้องเพื่อให้สามีปฏิบัติตามข้อตกลง  ในทะเบียนหย่าได้หรือไม่
               
วรรณดี
   
กำหนดเวลาการฟ้องร้องคดีที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “อายุความ” นั้น กฎหมายจะเขียนไว้ในแต่ละเรื่องว่ามีอายุความฟ้องคดีภายในกำหนดเวลากี่ปี และถ้ากรณีที่สัญญาใดไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องคดีไว้ ก็ต้องใช้อายุความฟ้องร้องคดีทั่วไป คือต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา
   
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างหนึ่ง เมื่อ
ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดอายุความการฟ้องร้องคดีไว้ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความที่ต้องมีการฟ้องร้องคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา ดังนั้นกรณีที่สามีได้ทำบันทึกท้ายทะเบียนหย่ายกทรัพย์ให้ภริยา คู่สัญญาในที่นี้คือ สามีฝ่ายหนึ่ง กับภริยาอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นภริยาในฐานะคู่สัญญาจะต้องฟ้องคดีให้สามีโอนที่ดินให้ตามข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าภายใน 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา
   
แต่สำหรับข้อตกลงในท้ายทะเบียนหย่าที่จะยกทรัพย์สินให้ลูกนั้น จะเห็นได้ว่าลูกจะ   มิได้เป็นคู่สัญญาด้วย แต่เมื่อได้มีข้อตกลงข้อหนึ่งที่ให้ลูกเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญาด้วย ในทางกฎหมายจะถือว่าลูกเป็นบุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญา จึงเรียกสัญญาประเภทนี้ว่า “สัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก” อีกสัญญา
หนึ่งด้วย
   
โดยสิทธิของบุคคลภายนอกที่มิได้เข้ามาเป็นคู่สัญญาตั้งแต่แรกจะยังไม่เกิด จนกว่าบุคคลภายนอกผู้นั้นจะได้แสดงสิทธิว่าตนจะเข้ารับประโยชน์จากสัญญา ดังนั้นอายุความ 10 ปีของบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่สามผู้เข้ารับประโยชน์จากสัญญาจึงเริ่มนับ 1 ตั้งแต่เมื่อ
ได้แสดงให้เห็นว่าตนจะเข้ารับประโยชน์จากสัญญา เช่น ถ้าได้ทวงถามให้บิดาโอนที่ดินให้ลูกตามที่ตกลงกันไว้ ตั้งแต่เดือนมกราคา 2553 คดีก็จะขาดอายุความฟ้องร้องสำหรับการจะฟ้องศาลเพื่อให้บังคับคดีให้บิดาโอนที่ดินให้ลูกภายในเดือนมกราคม 2563 เป็นต้น ดูตัวอย่างคดี
ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2551.


ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

สามีอยู่กินกับผู้หญิงคนหนึ่งมาก่อนและปัจจุบันก็ยังอยู่ด้วยกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและไม่มีลูกด้วยกัน ส่วนดิฉันกำพร้าพ่อแม่และสามีรับเป็นผู้อุปการะส่งเสียให้เรียน และรับดิฉันมาจากต่างจังหวัดจนดิฉันเรียนจบปริญญาตรี ต่อมาดิฉันสอบบรรจุข้าราชการได้ สามีจึงได้จดทะเบียนสมรสกับดิฉันเพราะดิฉันตั้งครรภ์ หลังจากคลอดลูกได้ประมาณ 2 เดือน จึงได้ทราบว่าผู้อุปการะของดิฉันมีภริยาอยู่แล้ว
   
สามียื่นเงื่อนไขว่าจะยอมหย่าถ้าดิฉันยกลูกให้สามีและผู้หญิงคนนั้น ซึ่งเขาทั้งคู่ร่ำรวยมากและไม่มีทายาท ดิฉันทราบเต็มอกว่าฝ่ายหญิงไม่ได้ต้องการลูกดิฉันเธออยากได้แต่ทะเบียนหย่า ดิฉันจึงได้ทำเรื่องขอย้ายกลับจังหวัดภูมิลำเนาเดิมโดยผู้ใหญ่ช่วยเหลือและแนะนำว่าต้องฟ้องหย่า สิ่งที่ดิฉันสงสัยคือถ้าฟ้องโดยไม่พูดถึงค่าอุปการะ  เลี้ยงดูกัน วันข้างหน้าหากดิฉันลำบากจะขอค่าเล่าเรียนลูกจากเขาได้อีกหรือไม่
               
จิตราวดี
   

แม้การสมรสของสามีภริยาจะสิ้นสุดลง แต่ไม่ทำให้หน้าที่บิดามารดาจะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์สิ้นสุดลงด้วย ดังนั้นแม้ศาลจะตัดสินให้ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร แต่ผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรก็ยังมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ด้วย โดยศาลจะให้ฝ่ายใดจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือทั้งสองฝ่ายต้อง ช่วยกันจ่ายค่าเลี้ยงดู ศาลจะดูจากความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบกัน และถึงแม้ศาลจะไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรด้วย แต่ต่อมาถ้าฝ่ายนั้นมีพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะเปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ โดยอาจเพิ่ม ลด หรือกลับให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้
   
บางครั้งคดีที่ศาลตัดสินแล้วไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จ่ายค่าอุปการะ เลี้ยงดูไว้ แต่บิดามารดายังมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์เท่า ๆ กัน อธิบายตัวอย่างง่าย ๆ เช่น บิดามารดาหย่ากันโดยมิได้กล่าวถึงค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ถ้ามารดาเป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียวจนเด็กบรรลุนิติภาวะ มารดาจะฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ได้ออกไปก่อนนับแต่วันหย่าจนบุตรบรรลุนิติภาวะได้ ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับศาลจะใช้ดุลพินิจ แต่การฟ้องเรียกค่าอุปการะย้อนหลังนั้น มีอายุความการฟ้องร้องด้วย คือเรียกคืนได้ภายในอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่ชำระไปแล้ว.








Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี