ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี คลีนิกกฏหมาย จากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


คลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)

 

ห้ามโอนทรัพย์ในพินัยกรรม  (26 มิถุนายน 2549) 

เจ้าของทรัพย์สินที่ทำหนังสือยกพินัยกรรมให้ใคร คงไม่ต้องการให้ผู้ได้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรมไปขายหรือโอนต่อไปให้บุคคลอื่น  อาจจะเพราะเป็นสมบัติดั้งเดิมของตระกูล หรือเพราะห่วงว่าผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมจะนำทรัพย์ไปใช้ในทางที่ไร้ประโยชน์  ผู้ทำพินัยกรรมจึงสามารถจะทำข้อกำหนดห้ามโอนทรัพย์สินนั้นเอาไว้ควบคู่กันไปกับการยกทรัพย์ให้  อย่างไรก็ตามในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าการห้ามโอนทรัพย์ตามพินัยกรรมย่อมทำให้ทรัพย์สินไม่ได้หมุนเวียนเปลี่ยนมือ เป็นการขัดขวางต่อความเจริญในทางเศรษฐกิจของชาติ  กฎหมายจึงต้องบัญญัติไว้ว่า
 
“ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในหมวดนี้ บุคคลจะจำหน่ายทรัพย์สินใด ๆ โดยนิติกรรมที่มีผลในระหว่างชีวิตหรือเมื่อตายแล้ว  โดยมีข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นก็ได้ แต่ต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งนอกจากผู้รับประโยชน์กำหนดไว้สำหรับเป็นผู้ได้รับทรัพย์สินนั้นเป็นสิทธิเด็ดขาดเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอน
 
ผู้ซึ่งกำหนดดังกล่าวนั้นต้องเป็นผู้สามารถจะมีสิทธิต่าง ๆ ได้อยู่ในขณะที่การจำหน่ายทรัพย์สินนั้นมีผลบังคับ
 
ถ้ามิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอน ให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนนั้นเป็นอันไม่มีเลย”
 
เราจะเห็นว่าในตอนท้ายของบทบัญญัติมาตรานี้สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ได้ระบุไว้ว่า หากมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอน ทรัพย์จะตกเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ใครไว้ด้วย ต้องถือว่าพินัยกรรมนั้นไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนไว้ เช่น ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ ก. และห้าม ก.โอนทรัพย์ไว้  จะต้องมีข้อกำหนดไว้ด้วยว่า ถ้า ก. ละเมิดข้อกำหนดห้ามโอน ให้ทรัพย์ตกได้แก่ ข. เป็นสิทธิเด็ดขาดไว้ เป็นต้น ดังนั้นถ้า ก.ละเมิดโอนทรัพย์ จะทำให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ ข.  จึงจะทำให้ข้อกำหนดห้ามโอนมีผลใช้ได้
  
และในกรณีที่พินัยกรรมมีข้อกำหนดห้ามโอนไว้เรียบร้อยแล้ว  ต่อมาปรากฏว่า ข. เกิดตายเสียก่อน เราจะถือว่าเป็นการที่ได้มีการทำตามแบบที่กฎหมายพินัยกรรมกำหนดคือมีผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์โดยเด็ดขาดไว้ด้วยแล้ว ดังนั้นการที่ผู้ได้รับทรัพย์ตกเป็นสิทธิเด็ดขาดตายก่อน  จะไม่มีผลทำให้ทายาทของผู้มีสิทธิเด็ดขาดเข้ามาสวมสิทธิแทนผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมเพื่อรับสิทธิเด็ดขาดต่อได้ แต่ต้องถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนที่มีอยู่ตามพินัยกรรมนั้น จะไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนอีกต่อไปแล้ว 
 
ข้อสังเกต การห้ามผู้รับประโยชน์โอนทรัพย์สินนั้น ต้องหมายถึงการโอนที่สมัครใจโอน เช่น การขาย แลกเปลี่ยน ให้โดยเสน่หา  แต่ถ้าเป็นการถูกบังคับโอนเช่น โดยผลของกฎหมาย ได้แก่ การเวนคืน การครอบครองปรปักษ์ การถูกบังคับขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ฯลฯ จะไม่ใช่ความหมายของการห้ามโอนตามบทบัญญัติมาตรานี้
 
ระยะเวลาในการห้ามโอน อาจจะกำหนดไว้ตลอดชีวิตของผู้รับพินัยกรรมคือเท่าที่ผู้รับพินัยกรรมจะมีอายุยืนยาวเท่าไรก็ได้  หรือจะกำหนดระยะเวลาในการห้ามโอนไว้ก็ได้  ซึ่งการกำหนดเวลาไว้จะกำหนดเท่าไรก็ได้ 10 ปี 15 ปี 20 ปี  แต่ต้องไม่เกิน 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับทรัพย์สิน ดังนั้นถ้ากำหนดไว้เกิน 30 ปี เช่น 40 ปี ก็ต้องลดลงมาเป็น 30 ปี อย่างไรก็ตามในกรณีที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้  ถ้าผู้รับประโยชน์เป็นบุคคลธรรมดาให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนมีระยะเวลาตลอดชีวิตของผู้รับประโยชน์  และถ้าผู้รับประโยชน์เป็นนิติบุคคลก็ให้มีระยะเวลา 30 ปี ดังนั้นเมื่อครบกำหนดเวลาห้ามโอนแล้ว  ข้อกำหนดห้ามโอนนั้นก็เป็นอันสิ้นสุด ไม่มีผลเป็นการห้ามโอนอีก   
 
สรุปได้ว่า การห้ามโอนอาจห้ามโอนตลอดชีวิตของผู้รับพินัยกรรม  และหากกำหนดเวลาห้ามโอนไว้/หรือไม่ได้กำหนดเวลาห้ามโอนไว้ จะห้ามโอนได้ไม่เกิน 30 ปี
 
นอกจากนี้หากทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน อาคารชุด หรือเป็นทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้  ข้อกำหนดห้ามโอนไว้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการห้ามโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย  ถ้าไม่ทำในข้อกฎหมายจะถือว่าไม่บริบูรณ์ คือจะนำไปใช้ยันต่อบุคคลภายนอกไม่ได้  ซึ่งความมุ่งหมายที่บังคับให้มีการจดทะเบียนข้อกำหนดห้ามโอนทรัพย์ดังกล่าว  เพราะจะทำให้ผู้ที่เข้ามารับโอนทรัพย์จากผู้รับพินัยกรรมได้ทราบถึงความมีอยู่ของข้อกำหนดห้ามโอนได้ในบันทึกไว้ในสารบัญจดทะเบียน ส่วนทรัพย์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ตามพินัยกรรม เช่น แก้ว แหวน  เงินทอง จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการห้ามโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่.


ทรัพย์สินก่อนจดทะเบียนสมรส  ( 6 มิถุนายน 2549) 

เดิมน้องแต่งงานกับสามีตามประเพณี แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ต่อมาน้องซื้อที่ดินไว้แปลงหนึ่งโดยใส่ชื่อของน้องคนเดียว แต่เงินค่าซื้อที่ดินใช้ทั้งเงินของน้องและสามี ประมาณ 3 ปีหลังจากซื้อที่ดิน เราได้มาจดทะเบียนสมรสด้วยกัน
 
ปัญหาคือว่า ต่อมาน้องได้ไปทำสัญญาขายที่ดินแปลงนี้ให้ผู้อื่น โดยมิได้มีหนังสือให้ความยินยอมของสามีด้วยนั้น แต่ตอนนี้สามีกับน้องทะเลาะกันโดยแยกกันอยู่ และสามีไม่ยอมไปโอนขายที่ดินให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ ซึ่งได้ติดต่อให้ไปจดทะเบียนโอนหลายครั้งแล้ว และผู้ซื้อได้ยื่นเงื่อนไขว่าจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายเพียงครึ่งเดียวก็ได้ ถ้าหากน้องไม่โอนขายที่ดินผูกพันจะทำให้น้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา
 
น้องจึงอยากจะถามว่า ถ้าน้องจะหาทางออกว่าสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงนี้ใช้ไม่ได้ เพราะไม่ได้รับความยินยอมของสามี เพื่อจะได้ไม่ต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ต้องโอนขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อนั้น จะทำได้หรือไม่ และถ้าผู้ซื้อไม่ยอม โดยฟ้องให้น้องโอนขายที่ดินให้ทั้ง ๆ ที่สามีไม่ตกลงด้วย รูปการณ์ในตอนท้ายจะจบลงอย่างไร
    
พัชรีพร

ที่ดินแปลงนี้ได้มาก่อนมีการจดทะเบียนสมรส ที่ดินที่ได้มาจึงไม่ใช่สินสมรส เพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส แต่เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวม และกฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนการสมรสกลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสกันแต่อย่างใด ดังนั้นสัญญาซื้อขายที่ดินที่ทำกับบุคคลอื่นจึงมิใช่การจำหน่ายสินสมรสที่จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด
 
แต่การทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทของเจ้าของรวมคนหนึ่งกับผู้อื่นไว้ ถ้าเจ้าของรวมอีกคนไม่ยินยอมด้วย สัญญาซื้อขายนั้นยังคงใช้ได้ เพียงแต่จะไม่ผูกพันในกรรมสิทธิ์ทั้งแปลง คือไม่ผูกพันในกรรมสิทธิ์ส่วนของเจ้าของรวมที่ไม่ยินยอมขายส่วนของเขา
 
ดังนั้นถ้าหากว่าผู้ขายเปลี่ยนใจไม่อยากจะขายที่ดินแปลงนี้ตามข้อตกลงที่ทำไว้ในสัญญา ก็คงจะต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา ซึ่งผู้ซื้อสามารถฟ้องคดีให้ผู้ขายโอนให้เฉพาะในส่วนกรรมสิทธิ์ของผู้ขายได้ เพราะสัญญาซื้อขายที่ดินนี้แม้ไม่อาจจะบังคับได้ในที่ดินทั้งแปลง แต่ยังคงผูกพันตามสัญญาในสัดส่วนครึ่งหนึ่งที่ผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้
 
และถ้าผู้ขายเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิที่ฟ้องคดีโดยขอให้ผู้ขายรับผิดชำระค่าปรับที่ไม่มีการปฏิบัติตามสัญญา หรือโดยขอให้ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาโดยให้ผู้ขายโอนที่ดินแปลงนี้ให้ก็ได้ และในกรณีที่ผู้ซื้อฟ้องบังคับให้จดทะเบียนโอนขายที่ดินตามสัญญา โดยที่สามีของผู้ขายไม่ตกลงด้วยนั้น ก็คงเป็นเรื่องการบังคับคดีกับทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวม เมื่อกรณียังไม่อาจทราบถึงตำแหน่ง ที่ดินของเจ้าของรวมแต่ละคนได้ว่าที่ดินบริเวณใดส่วนไหนเป็นของสามีหรือส่วนไหนเป็นของภริยา
 
ดังนั้นในส่วนของการบังคับคดีให้ผู้ขายจดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงนี้ในส่วนกรรมสิทธิ์ของภริยาให้แก่ผู้ซื้อนั้น รูปการณ์ในตอนท้ายสุดคือผู้ขายก็จะต้องรับเงินค่าที่ดินจากผู้ซื้อ ส่วนการโอนที่ดินเมื่อโอนไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีการขายทอดตลาดที่ดินทั้งแปลงเอาเงินที่ได้จากการขายมาแบ่งปันกันคนละครึ่งระหว่างผู้ซื้อกับสามีที่ไม่ยินยอมขายด้วย.


อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า  ( 30 พ.ค. 2549) 

ในระหว่างที่ดิฉันกับสามีเตรียมเอกสารเพื่อส่งให้ทนายความยื่นฟ้องหย่า เพราะปัญหาหลายประการรวมทั้งทรัพย์สินและลูกเพราะจะขอลูกไว้และขอเป็นผู้ปกครอง เมื่อได้มีการยื่นฟ้องต่อศาลได้ 3 วัน เราก็ทะเลาะกันมากจนดิฉันทนไม่ไหว จึงได้ชวนสามีไปจดทะเบียนหย่ากันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัญหาคือเรายังตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร  เพราะสามีก็ต้องการได้ลูกไป  ในขณะที่ดิฉันก็ไม่ไว้ใจเพราะสามีมีผู้หญิงอื่นรออยู่แล้ว  เกรงว่าไม่นานลูกจะต้องมีแม่เลี้ยงใหม่แน่นอน สิ่งที่ดิฉันกังวลคือสามีบอกว่าถ้าหากดิฉันเป็นผู้ปกครองบุตรเอง เมื่อเราหย่ากันแล้วดิฉันก็ไม่มีสิทธิที่จะให้สามีรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของลูกอีก 
 
ในการที่มีคดีฟ้องหย่าในศาล และเราได้หย่ากันแล้ว  โดยตกลงกันไม่ได้เรื่องใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร จึงไม่ได้มีการระบุไว้ในทะเบียนหย่า นั้น  จึงอยากจะถามว่า
 
1. การที่สามีฟ้องคดีหย่าและขอเป็นผู้ปกครองบุตรต่อศาล  และหลังจากนั้น ถ้ายังไม่ทันได้ไปศาล  สามีภริยาได้ไปจดทะเบียนหย่ากันในระหว่างนี้ จะพอมีทางที่ศาลตัดสินให้มารดาเป็นผู้ปกครองบุตรได้หรือไม่
 
2. ถ้ามารดาได้เป็นผู้ปกครองบุตร จะยังมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากสามีหรือไม่
    
สินีนาถ
 
ศัพท์ตามกฎหมายครอบครัวที่ใช้เรียกผู้ที่ปกครองบุตรนั้น แยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่มีบิดามารดา จะเรียกว่าบิดามารดานั้นว่าเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร แต่ถ้าเป็นบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาได้เป็นผู้ปกครองบุตร จะเรียกบุคคลอื่นนั้นว่า ผู้ปกครองบุตร
 
คดีที่อยู่ในศาลนั้นสามีได้ฟ้องหย่าและสามีขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรนั้น ถ้าคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล  การที่สามีภริยาได้ไปจดทะเบียนหย่ากันเองโดยมิได้ระบุว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรไว้ในทะเบียนหย่าด้วย  ตามกฎหมายครอบครัว (มาตรา 1520) ได้บัญญัติให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดว่าอำนาจปกครองบุตรจะอยู่กับบิดาหรือมารดา  
 
ดังนั้นแม้สามีจะเป็นผู้ยื่นฟ้องหย่าและขอใช้อำนาจปกครองบุตรไว้ก็ตาม แต่ถ้ามีข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่าบุตรเหมาะที่จะอยู่กับมารดามากกว่า ศาลก็สามารถจะ     พิพากษาให้บุตรอยู่กับมารดาได้ โดยให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว  โดยการที่พิพากษาให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรโดยในคดีมารดาไม่ได้ยื่นขอให้ศาลพิพากษาให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรไว้ แต่ถ้าข้อเท็จจริงที่นำสืบเพียงพอที่จะให้ศาลพิพากษาให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแล้ว  ศาลก็สามารถจะพิพากษาให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรได้ และไม่ถือว่าเป็นการที่ศาลพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
 
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บัญญัติว่า บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์  ไม่ว่าบิดาหรือมารดาจะหย่ากันแล้วหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าบุตรจะอยู่กับบิดาหรือมารดาก็ตาม    บิดาและมารดายังคงมีหน้าที่ที่จะต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรในระหว่างที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์  ดังนั้นถึงแม้ว่าบิดาและมารดาของเด็กจะได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และแม้ต่อมาศาลจะได้พิพากษาให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม  บิดาก็ยังคงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้อง อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามสมควรในระหว่างที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ต่อไปจนกว่าบุตรจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์.


จดทะเบียนรับรองบุตร (16 พ.ค. 2549 , 23 พ.ค. 2549)

น้องอยู่กินกับสามีโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  ต่อมาสามีไปติดพันผู้หญิงอื่นและให้ผู้ใหญ่ไปติดต่อเพื่อสู่ขอ น้องจึงได้เลิกกับสามีในขณะที่ท้องได้เพียง 3 เดือน หลังจากนั้นสามีก็มาอ้อนวอนขอให้น้องกลับไปอยู่กินกับสามีอีก แต่ปัญหามันคงไม่จบ เพราะตอนนี้เขามีภริยาอีกคน น้องจึงกลับไปอยู่บ้านนอกกับเพื่อนจนกระทั่งคลอดลูก  และกลับมาทำงานที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง 
 
ตอนนี้ลูกอายุได้ 2 ขวบ  และสามีก็ติดต่อมาว่าอยากจะไถ่บาปที่ทำกับน้องและลูกโดยจะแบ่งเบาช่วยเหลือรับผิดชอบเรื่องลูก เพียงแต่ให้โอกาสเขาได้ติดต่อกับลูกบ้าง  (สามียังไม่มีลูกกับภริยาใหม่) น้องจึงขอให้สามีจดทะเบียนรับรองบุตรเพื่อไม่ให้เป็นปมด้อยกับลูก สามีก็เต็มใจจะทำให้ แต่ที่อำเภอเขาแนะนำว่าต้องรอให้ลูกโตก่อนเพราะจะต้องให้เด็กยินยอมด้วย ตอนนี้เด็กยังเล็กมากไม่อาจจะให้ความยินยอมได้ 
 
น้องจึงอยากจะปรึกษาว่า ถ้าให้น้องรอต่อไป  น้องคิดว่าถ้าสามีมีลูกอื่นหรือเหตุการณ์เปลี่ยนไปสามีอาจจะไม่เต็มใจที่จะจดทะเบียนรับรองบุตรอย่างในตอนนี้ก็ได้ จะมีคำแนะนำบ้างว่าพอจะมีทางที่จะจดทะเบียนรับรองบุตรในขณะนี้ได้อย่างไรบ้าง

เนตรดาว
 
ตามกฎหมายนั้น บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว โดยจะเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรนอกสมรสของบิดา 
 
ดังนั้นการจดทะเบียนรับรองบุตรจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนั้นกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโดยบิดามารดาไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกัน  
 
หลักเกณฑ์ทางกฎหมายคือบิดาจะต้องเต็มใจที่จะจดทะเบียนรับรองบุตรโดยมารดาและบุตรให้ความยินยอม ปัญหาที่เกิดขึ้นคือกรณีที่ไม่มีความยินยอมของมารดาและเด็ก  เช่น ขณะที่บิดาจะจดทะเบียนรับรองบุตร มารดาอาจจะเสียชีวิตหรือวิกลจริตไม่อาจให้ความยินยอมได้ และกรณีเด็กยังเล็กมาก จนไม่อาจจะถือว่าเป็นกรณีที่เด็กให้ความยินยอม  
 
แต่เดิมเจ้าหน้าที่อำเภอซึ่งจดทะเบียนรับรองบุตรมักจะถือเกณฑ์ว่า เด็กจะต้องเขียนชื่อของเด็กด้วยตัวเองได้ลงในเอกสารการให้ความยินยอม ทำให้ต้องร้องเพลงรอกันต่อไป  ซึ่งหมายถึงว่าทั้งบิดาและมารดาหากเต็มใจจะจดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องรอจนกว่าลูกจะเข้าโรงเรียนและเขียนชื่อนามสกุลเองได้
 
ถ้าไม่ต้องการร้องเพลงรอก็ต้องไปยื่นคำร้องขอต่อศาล  ซึ่งต้องหาทนายความ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลในการที่บิดาจะจดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งพบว่ามีคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรที่ศาลน้อยมากเพราะมาตรการเดิมๆ ที่มีอยู่ไม่เอื้ออำนวยต่อการที่บิดาจะจดทะเบียนรับรองบุตร  ทำให้มารดาและบุตรเสียโอกาสที่บิดากำลังเต็มใจจะจดทะเบียนรับรองบุตรในขณะนั้น. 
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาด้านบริการในการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทางกฎหมายซึ่งจะช่วยลดขั้นตอน ลดระยะเวลา ลดค่าใช้จ่าย  ฯลฯ ซึ่งเป็นบริการของศาลเยาวชนและครอบครัว กรณีที่บิดาจะจดทะเบียนรับรองบุตรหากมารดาหรือบุตรไม่อาจให้ความยินยอมได้ โดยสามารถยื่นความจำนงได้ที่ศาล  เพราะศาลจะจัดเจ้าหน้าที่ในการให้บริการรับเรื่องและดำเนินการให้
 
โดยเพียงแต่บิดาที่ประสงค์จะจดทะเบียนรับรองบุตรไปเขียนคำร้องขอความช่วยเหลือในการรับรองบุตรและให้มารดาเขียนหนังสือให้ความยินยอมตามแบบฟอร์ม ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ศาลคอยรับเรื่อง ให้คำแนะนำ สอบข้อเท็จจริง จัดเตรียมเอกสาร พิมพ์คำร้อง บัญชีระบุพยาน ฯลฯ  เพื่อยื่นคำร้องต่อศาล ซึ่งจะใช้เวลาไม่นานในการไต่สวนข้อเท็จจริงก็จะได้คำสั่งศาลไปดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตร
 
หลักฐานที่ใช้ในการยื่นคำร้องขอต่อศาลได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้อง สำเนาทะเบียนบ้านของมารดา สำเนาทะเบียนบ้านของบุตร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา-มารดา หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ สำเนาสูติบัตรของบุตร หลักฐานสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (กรณีมีการเปลี่ยน) ทะเบียนหย่า (กรณีมารดาใช้นาง) หรือใบมรณบัตรของมารดาเด็กกรณีมารดาเด็กเสียชีวิต
 
ขอย้ำว่าในการบริการให้ความช่วยเหลือแทบทุกขั้นตอนดังกล่าวของศาลเยาวชนฯ ในการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ที่บุตรไม่อาจให้ความยินยอมได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่บิดาต้องเต็มใจจดทะเบียนรับรองบุตร
 
ไม่ใช่กรณีที่ยังมีการพิพาทกันว่าบิดาไม่ยอมรับว่าเด็กเป็นบุตรของตนซึ่งต้องต่อสู้คดีกันในศาล
 
อย่างไรก็ตามบริการดังกล่าวได้ช่วยเหลือหญิงมารดาและบุตรเป็นอย่างยิ่ง เพราะถึงแม้บิดามารดาจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่สิทธิของเด็กที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร นอกจากทำให้บุตรมีบิดา    ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วมีฐานะเป็นทายาทตามกฎหมายแล้ว ยังมีสิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากบิดาจนกว่าบุตรจะบรรลุนิติ    ภาวะด้วย. 


สัญญาระหว่างสมรส  ( 9 พ.ค.2549) 

ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาที่แยกกันอยู่ ปรากฏว่าข้อตกลงให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสินสมรสให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสามี การที่คู่สมรสตามกฎหมายซึ่งยังไม่มีการหย่า ถ้าได้มีบันทึกข้อตกลงให้สามีมีชื่อเป็นเจ้าของจะเป็นข้อผูกมัดให้สามีนำไปขายหรือจำนองได้นั้น จะยกเลิกได้อย่างไร และจะมีหนทางให้ทรัพย์สินตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวกลับคืนมาเป็นสินสมรสที่สามารถนำมาแบ่งเมื่อมีการหย่าได้หรือไม่

ประภาพรรณ
 
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากันนั้นเรียกว่าเป็น “สัญญาระหว่างสมรส” และเนื่องจากการที่สามีภริยาทำสัญญาระหว่างสมรสกันนี้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจตกอยู่ในอิทธิพลของอีกฝ่ายเพราะความรัก ความเสน่หา จนทำให้ตนเองต้องเสียประโยชน์หรือต้องเสียหายได้ กฎหมายจึงอนุญาตให้สามีหรือภริยาบอกล้างสัญญานั้นได้ แต่การบอกล้างนั้นจะบอกล้างได้แต่เฉพาะสัญญาระหว่างสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น
 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 บัญญัติว่า “สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต”
 
สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินนี้คือ สัญญาที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นทรัพย์สิน ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่สัญญายกทรัพย์สินให้แก่กัน สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือเช่าทรัพย์สิน สัญญาที่สามีและภริยาทำการแบ่งสินสมรสกัน โดยอาจจะแบ่งสินสมรสทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนก็ได้ และสัญญาดังกล่าวนี้แม้จะทำกันมาเกิน 10 ปีแล้ว สามีหรือภริยาก็ยังมีสิทธิบอกล้างสัญญานี้ได้ แต่ถ้ามีการหย่ากันแล้วจะต้องเพิกถอนสัญญาระหว่างสมรสนี้ภายใน 1 ปี นับแต่มีการหย่า ซึ่งถ้าไม่มีการบอกล้างภายในกำหนดดังกล่าว สัญญาระหว่างสมรสนี้ย่อมสมบูรณ์มีผลบังคับตลอดไปจะบอกล้างอีกไม่ได้
 
วิธีการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสนั้น สามีหรือภริยาอาจบอกล้างด้วยวาจาหรือโดยทำเป็นหนังสือก็ได้ มีคดี ที่เคยตัดสินไว้พอเป็นแนวทางตัวอย่าง เรื่องนี้ภริยาเป็นโจทก์ฟ้องสามีเป็นจำเลยที่ 1 ธนาคารเป็นจำเลยที่ 2
 
คำพิพากษาฎีกาที่ 978/2542 สามีนำทรัพย์สินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนองแก่ธนาคาร โดยปราศจากความยินยอมของภริยา ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ.ม.1476(1) แต่ธนาคารกลับรับจำนองไว้ โดยอ้างว่ามีนาง อ. ซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสได้ให้ความยินยอมแล้ว ย่อมถือได้ว่าสามีและธนาคารร่วมกันทำนิติกรรมจำนองโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นการโต้แย้งสิทธิภริยา ภริยาจึงมีอำนาจฟ้องขอเพิกถอนนิติ กรรมจำนองดังกล่าวได้ตาม ม.1480 วรรค 1
 
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินที่ให้สามีมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทนั้น เป็นสัญญาระหว่างสมรส (ตาม ป.พ.พ. 1469) เมื่อภริยาและสามียังไม่ได้จดทะเบียนหย่า ภริยาย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่สามีได้ (ตาม ม.1469) ซึ่งการที่ภริยายื่นฟ้องสามีต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอหย่าและขอแบ่งสินสมรส และศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าภริยาได้ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว อันเป็นการใช้สิทธิบอกล้างในขณะที่ภริยาและสามียังเป็นสามีภริยากัน ดังนั้นเมื่อโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ย่อมทำให้สัญญาดังกล่าวสิ้นความผูกพัน ทำให้ทรัพย์สินพิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม และเมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพาทใหม่ ภายในกำหนดระยะเวลา (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง) จึงต้องถือว่าขณะฟ้องคดีนี้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างสมรสระหว่างสามีและภริยาได้สิ้นผลแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสอยู่ในขณะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
 
แถมท้ายคำพิพากษานี้มาด้วยว่า การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. ม.1480 คู่สมรสต้องขอเพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่
 
คดีนี้อาจจะไม่ได้บอกล้างกันก่อน แต่บังเอิญฟ้องครั้งแรกเป็นการฟ้องผิดศาล จึงถือว่าได้มีการบอกล้างในครั้งนั้นแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลายมาเป็นสินสมรส ดังนั้นถ้ายังไม่มีการนำทรัพย์สินนี้ไปทำนิติกรรมใด ๆ เมื่อมีการบอกล้างเรียบร้อยแล้วจะทำให้ทรัพย์สินนี้กลายเป็นสินสมรส ถ้ามีการหย่าก็ต้องนำสินสมรสมาแบ่งกันคนละครึ่ง หรือถ้าคู่สมรสเสียชีวิตก็ต้องแบ่งสินสมรสกันคนละครึ่งตามกฎหมายครอบครัวก่อน อีกครึ่งหนึ่งของผู้ตายจะตกเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทตามกฎหมาย.


คู่สมรสสาบสูญ  (25 เมษายน 2549 , 2 พ.ค.2549)

 

ดิฉันแต่งงานและจดทะเบียนสมรสกับสามี หลังจากแต่งงานไม่นาน สามีอ้างว่ามีธุรกิจหลายอย่างอยู่ทางภาคใต้ จึงเดินทางไป ๆ มา ๆ หลายครั้ง  ดิฉันเคยสอบถามหรือขอตามไปด้วย แต่เขาแสดงอาการไม่ค่อยพอใจ ดิฉันจึงไม่มีรายละเอียดอะไรมากมายเกี่ยวกับธุรกิจหรือถิ่นฐานที่ตั้งธุรกิจของเขา
ต่อมาเขาหายหน้าไปเกือบเดือน มีโทรศัพท์มาหาประมาณอาทิตย์ละครั้งว่ากำลังจะกลับ ครั้งสุดท้ายโอนเงินมาให้ดิฉันจากต้นทางที่ภูเก็ต หลังจากนั้นก็เงียบหายไปไม่ติดต่อมาอีกเลย เป็นเวลาเกือบสามปีแล้ว ในทางกฎหมายจะถือว่าการหายไปนาน ๆ เป็นเหตุให้หย่าได้หรือไม่  
 สำหรับกรณีของดิฉัน คิดว่าเขาอาจจะยังมีชีวิตอยู่และมี   ผู้หญิงคนใหม่ อย่างไรก็ตาม ถึงเขาจะมีชีวิตอยู่แต่การที่เขาทิ้ง   ไปนานเช่นนี้ ดิฉันไม่ปรารถนาจะอยู่กินกับเขาอีกต่อไป ทำอย่างไรจึงจะหย่ากันได้ และถ้าวันข้างหน้าเกิดสามีย้อนกลับมาจะมีผล  อย่างไรบ้าง
                            ปทุมมาศ 
 กรณีที่คู่สมรสหายตัวไปโดยไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร หรือหายไปนานจนไม่ทราบสาเหตุ กรณีเช่นนี้จึงยังไม่ใช่กรณีคู่สมรสถึงแก่ความตาย การสมรสจึงยังไม่สิ้นสุดลง คู่สมรสฝ่ายที่ยังอยู่จึงต้องมีการร้องขอต่อศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสที่หายไปเป็นคนสาบสูญ แล้วแต่ว่าจะหายไป 5 ปี หรือ 2 ปี  เมื่อศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสเป็นคนสาบสูญแล้ว  คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งที่ยังอยู่จะต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้หย่าเสียก่อน 
 
ดังนั้นถ้าตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาให้หย่า คู่สมรสที่สาบสูญกับคู่สมรสที่ยังอยู่ก็ถือว่ายังคงเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายตลอดเวลา
 
ระยะเวลาในการที่จะร้องขอให้คู่สมรสที่หายไปเป็นคนสาบสูญ มี 2 กรณี คือการหายไปในกรณีปกติ คือ บุคคลที่จะถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้ บุคคลนั้นต้องได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 5 ปี 
 
แต่การหายไปในกรณีไม่ปกติมีระยะเวลา 2 ปี ได้ ถ้าไปอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามนั้นเป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง หรือเดินทางโดยยานพาหนะและยานพาหนะนั้นอับปาง ถูกทำลายหรือสูญหายไปเป็นเวลาสองปี หรือไปตกอยู่ในอันตรายแก่ชีวิตแล้วไม่มีใครรู้แน่ ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา สองปีนับแต่วันที่เหตุอันตรายแห่งชีวิตได้ผ่านพ้นไป ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งให้คู่สมรสอีกฝ่ายเป็นคนสาบสูญแล้ว ยังคงถือว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างนี้ยังคงเป็นสินสมรส
 ดังนั้นหากประสงค์จะเป็นอิสระก็ต้องฟ้องหย่าต่อศาลโดยอ้างเหตุหย่าว่าคู่สมรสสาบสูญ และเอกสารหลักฐานที่สำคัญในคดีหย่าเช่นนี้คือคำสั่งศาลที่สั่งแสดงสาบสูญ ซึ่งได้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อศาลพิพากษาให้หย่า ต้องถือว่าการหย่ามีผลนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้หย่า  และถ้าหากคู่สมรสสาบสูญกลับมาก็สามารถฟ้องเพิกถอนกรณีสาบสูญแล้ว แต่การเพิกถอนการสาบสูญไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลายที่ได้กระทำไปโดยสุจริตในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญจนถึงวันเพิกถอนการสาบสูญ นั่นคือถ้ามีการฟ้องหย่าและศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้หย่าแล้ว แม้จะมีการเพิกถอนการสาบสูญในภายหลังก็ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาให้หย่า ต้องถือว่าสามีภริยาคู่นี้ได้หย่าขาดจากกันโดยชอบแล้ว อย่างไรก็ตาม ในปี 2533 ได้มีการแก้ไขกฎหมายในเรื่องเหตุหย่า โดยให้การสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่าสามปี  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องหย่าได้  
 ดังนั้นหากสามารถหาตัวสามีพบโดยสามีไม่ยอมกลับบ้าน ก็ไปให้ตำรวจลงบันทึกประจำวันไว้ เพื่อง่ายในการจะนับระยะเวลาสามปีในการฟ้องหย่าในเหตุนี้ได้ 

แต่อยากจะแนะนำว่า ควรจะไปตรวจดูข้อมูลบุคคลที่สำนักงานทะเบียนราษฎรด้วย เพราะเคยมีกรณีหนึ่งที่สามีซึ่งเจ้าชู้มากได้หายไปไม่ติดต่อกลับมา ผู้หญิงจึงหอบหลักฐานมาให้ทนายความฟ้องหย่า แต่พอไปคัดสำเนาทะเบียนราษฎรจากเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ปรากฏข้อมูลว่าสามีที่หายตัวไปนั้นมีข้อมูลบุคคลการแจ้งมรณะไว้ว่าถูกรถบรรทุกชนตายที่จังหวัดหนึ่ง

คดีนั้นจึงไม่ต้องฟ้องหย่าเพราะการสมรสสิ้นสุดด้วยความตายของคู่สมรส.


ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกสมรส  ( 11 เมษายน 2549)

 

การที่ผู้หญิงและผู้ชายสู่ขอแต่งงานกันตามประเพณี มีการฉลองแต่งงานกินเลี้ยงในหมู่ญาติมิตรเพื่อนฝูง แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หลังจากนั้นประมาณ 1 ปีผัวเมียคู่นี้จะทะเลาะกันเป็นประจำ จนกระทั่งฝ่ายหญิงตั้งท้อง แต่ปรากฏเมียของฝ่ายชายโผล่มาแสดงตัวว่าฝ่ายชายได้เขาเป็นเมียอีกคน เมื่อทะเลาะกันแตกหัก ฝ่ายชายก็ไปอยู่กินกับเมียใหม่ไม่กลับมาดูแลลูกที่คลอดออกมาอีกเลย 
 
จึงอยากถามว่าการที่ผู้หญิงต้องการจะเรียกร้องสิทธิในการให้บิดาอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่เกิดมาจากชายผู้นี้นั้นจะต้องทำ อย่างไร  

 รัชนีกร 
 
การแต่งงานกันตามประเพณีแต่ไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันนั้น ยังไม่ถือว่าชายหญิงคู่นี้เป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นบุตรที่เกิดมาจึงถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาฝ่ายเดียว และเป็นบุตรนอกสมรสหรือบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา 
 
การที่จะให้บิดารับผิดชอบช่วยเหลือค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ก็จะต้องทำให้บิดามีหน้าที่ตามกฎหมายต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรด้วย นั่นคือต้องให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดากลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเสียก่อน

วิธีการที่บุตรนอกสมรสหรือบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายจะกลายมาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้นั้น สามารถทำได้ 3 วิธี คือ บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง หรือบิดาจดทะเบียนรับรองบุตร โดยต้องได้รับความยินยอมจากมารดาและเด็ก หรือให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา 
 
ในกรณีที่ฝ่ายชายไม่ยอมรับว่าเด็กเป็นบุตร ก็จะต้องร้องขอต่อศาลขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา โดยฝ่ายหญิงต้องนำพยานหลักฐานต่าง ๆ เข้าสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าเด็กคนนี้เป็นบุตรสืบสายโลหิตที่แท้จริงของบิดา และบิดาได้แสดงออกซึ่งพฤติการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าในขณะที่เด็กคนนี้ยังอยู่ในท้องหรือเด็กคลอดออกมาเป็นทารกแล้วว่าเด็กคนนี้เป็นบุตรของตน เช่น รูปถ่ายที่ฝ่ายชายแสดงออกต่อญาติมิตรเพื่อนฝูงว่าเด็กในท้องเป็นลูกของตน 
 
พฤติการณ์ที่ฝ่ายชายพาฝ่ายหญิงไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลและยอมรับว่าตนเป็นสามีของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ การที่ฝ่ายชายไปแจ้งเกิดที่อำเภอว่าเด็กเป็นบุตรของตน การที่ฝ่ายชายไปโรงเรียนและแสดงตัวเป็นผู้ปกครองของเด็กที่โรงเรียน ฯลฯดังนั้นหากมีกรณีที่ทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็จะทำให้เกิดสิทธิของบุตรในการได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ

 ในคดีที่มารดาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากบิดา หากบิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันแล้ว หรือบิดาจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว ก็จะมีการฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้เลย แต่ถ้าหากยังเป็นบุตรนอกสมรสกันก็สามารถฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไปในคดีเดียวกันได้ 
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร มักจะเรียกเป็นรายเดือนเป็นงวดเดือนไป หรืออาจจะฟ้องเรียกเป็นเงินก้อนเดียวคำนวณเสร็จสรรพไปทีเดียว ส่วนใหญ่ในกรณีที่ฝ่ายชายไม่มีทรัพย์สินหรือฐานะร่ำรวย แต่มีรายได้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ในการฟ้องคดีก็จะฟ้องเรียกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นรายเดือน แต่ความเสี่ยงจะค่อนข้างมากหากว่าบิดาไม่รับผิดชอบในการส่งเสียค่าเลี้ยงดูบุตร เพราะมักจะมีการผิดนัดไม่จ่าย ทำให้ตกเป็นภาระแก่หญิงมารดาต้องไปติดตามบังคับคดีค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทุกครั้งที่มีการผิดนัด

แต่ถ้าหากเรียกเงินก้อนมา และฝ่ายชายมีฐานะดีมีทรัพย์สิน หากไม่จ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามคำพิพากษาก็สามารถจะยึดทรัพย์สินดังกล่าวมาบังคับชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ แต่ฝ่ายหญิงจะต้องไปติดตามนำสืบว่ามีทรัพย์สินอยู่ที่ไหนบ้าง เพื่อนำชี้ให้ทำการยึดทรัพย์ ถ้าฝ่ายชายไม่อยากถูกยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดก็ต้องนำเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ศาลพิพากษาให้จ่ายมาชำระเพื่อจะได้มีการเพิกถอนหรืองดการบังคับคดีไว้ก่อน
คดีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นคดี ที่ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้คือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูงวดในอนาคตอีก 100 บาท รวมเป็น 300 บาท อย่างไรก็ตามหากมีการฟ้องแบ่งสินสมรสหรือเรียกเงินที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงกันไว้ว่าจะชำระแล้วค้างชำระแล้วฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรรวมมาด้วยนั้นก็อาจจะทำให้คดีเหล่านั้นกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2.5


บุคคลที่ต้องห้ามสมรส ( 4 เมษายน 2549)

 

กฎหมายห้ามไม่ให้บุคคลใดสมรสกันบ้าง และกรณีที่บิดาบุญธรรมจะจดทะเบียนสมรสกับลูกสาวบุญธรรมทำได้หรือไม่ ลูกที่เกิดมาถือว่าเป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

วรรณิสา

กฎหมาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1450) ได้วางหลักไว้ว่า ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการสมรสไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิต โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

นั่นคือ กฎหมายห้ามไม่ให้บุคคลที่เป็นญาติทางสายโลหิตสมรสกันเอง มี 4 ประเภทคือ

1. ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และทวด

2. ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา เช่น ลูก หลาน เหลน และลื้อ เช่น ปู่จะสมรสกับหลานสาวไม่ได้

3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เช่น พี่ชายจะสมรสกับน้องสาวไม่ได้

4. พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา เช่น พี่ชายสมรสกับน้องสาวต่างมารดาไม่ได้

ข้อสังเกตคือ กฎหมายไม่ห้ามระหว่าง ลุง ป้า น้า อา หลาน เหลน ดังนั้นในทางกฎหมายอาจึงจดทะเบียนสมรสแต่งงานกับหลานสาวได้ ผลในทางกฎหมายกรณีที่ญาติสืบสายโลหิตเดียวกันสมรสกัน คือ ตกเป็นโมฆะ ทำให้ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น คู่สมรส บิดามารดาหรือทายาทผู้สืบสันดานของคู่สมรสมีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสนั้นตกเป็นโมฆะได้

ญาติสืบสายโลหิตนี้ถือตามความเป็นจริง เช่นพ่อกับแม่แต่งงานกันมีลูกหญิงและลูกชายอย่างละคน ต่อมาได้ยกลูกชายให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแม้พี่ชายจะเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงเด็กทั้งสองคนยังเป็นพี่น้องกัน ดังนั้นพี่ชายซึ่งกลายเป็นลูกบุญธรรมของผู้อื่นจึงไม่อาจจะแต่งงานกับน้องสาวที่เกิดจากพ่อแม่ที่แท้จริงของตนได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีผู้รับบุตรบุญ ธรรมกับบุตรบุญธรรมนั้น ในทางกฎหมายจะแต่งงานจดทะเบียนสมรสกันไม่ได้ เพราะการรับบุตรบุญธรรมในทางกฎหมายนั้น การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์มีผลตามกฎหมายเมื่อได้มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม จึงเป็นกรณีที่กฎหมายได้กำหนดให้ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมเป็นบิดา มารดาและบุตรต่อกัน หากให้มีการสมรสคู่นี้กันได้อีกเสียงส่วนใหญ่จะเห็นกันว่า การสมรสระหว่างบุตรบุญธรรมกับบิดาบุญธรรมย่อมเป็นการกระทบกระเทือนความรู้สึกของสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณี

แต่ปัญหาที่ถามมากรณีที่บิดาบุญธรรมจะแต่งงานและจดทะเบียนสมรสกับบุตรบุญธรรมจะทำได้หรือไม่นั้น เราจะเห็นได้ว่าผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะไม่มีความสัมพันธ์ในทางญาติสืบสายโลหิตกันเลย เหตุผลในทางการแพทย์ที่ว่าสายโลหิตเดียวกันสมรสกันจะทำให้บุตรที่เกิดมาปัญญาอ่อนจึงไม่มี

ดังนั้นกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย คือบิดาบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมจึงทำได้ สำหรับประเทศไทย ผลคือการสมรสระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นอันสมบูรณ์ เพียงแต่จะมีผลต่อการรับบุตรบุญธรรม คือ กรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรม มีผลเพียงว่า การรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิกไปโดยบทบัญญัติของกฎหมาย

สรุปคือ บิดาบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรมได้ผลคือชายและหญิงคู่นี้เป็นสามีภริยาตามกฎหมาย แต่จะเป็นการยกเลิกการรับบุตรบุญธรรมไปโดยผลของกฎหมาย

ดังนั้นถ้าชายหญิงคู่นี้มีลูกในภายหลังก็ต้องถือว่าลูกของชายหญิงคู่นี้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงและชายเช่นกัน เพราะการสมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมมีผลในทางกฎหมายคือเป็นการสมรสตามกฎหมาย.


ยึดที่ดิน ส.ป.ก ได้หรือไม่  (28 มีนาคม 2549)

 

ผมได้ให้คนยืมเงินไปมีสัญญากู้เรียบร้อย แต่เขาไม่ยอมชำระ ซึ่งถ้าผมจะฟ้องร้องและชนะคดีตามคำพิพากษา แต่ผู้กู้ก็ยังไม่ยอมจ่ายหนี้คืน ผมก็ต้องยึดทรัพย์ลูกหนี้เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา

ผมสืบทราบมาว่า ผู้กู้มีเพียงทรัพย์สินคือที่ดินที่ต่างจังหวัด ซึ่งปัจจุบันทางราชการได้ประกาศให้ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คือเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ซึ่งมี ผู้แนะนำผมว่าถ้าศาลพิพากษาให้ชนะคดีแล้ว หากเขาไม่ชำระผมก็สามารถยึดทรัพย์สินชำระหนี้ได้ และถ้าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับคดีได้ ผมก็สามารถจะยึดที่ดิน ส.ป.ก. ของลูกหนี้ได้ เพราะที่ดิน ส.ป.ก. กฎหมายกำหนดเวลาห้ามจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อให้เกิดภาระติดพันภายในเวลา 3 ปีเท่านั้น กฎหมายไม่ได้ต้องห้ามจำหน่ายจ่ายโอนโดยเด็ดขาด เจ้าหนี้จึงยึดทรัพย์บังคับคดีกับที่ดิน ส.ป.ก. ได้ ผมจึงอยากจะทราบว่าจริงตามนี้หรือไม่ ยงยุทธ

ปัญหาที่ถามมามีประเด็นว่า ผู้ที่ชนะคดีตามคำพิพากษาจะมีสิทธิร้องขอให้ยึดที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ลูกหนี้เป็นผู้ถือครองเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้หรือไม่

ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่ง กำหนดให้บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาตาม พ.ร.บ.นี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นั่นคือ ที่ดินใดที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ที่ครอบครองไม่สามารถจะแสดงสิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย เพราะที่ดินเหล่านี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถือครองอีกต่อไป หากผู้ถือครองที่ดิน ส.ป.ก. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาที่เรียกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่อาจนำยึดที่ดิน ส.ป.ก.ได้

แม้ว่า ที่ดิน ส.ป.ก. จะมิได้ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อให้เกิดภาระติดพันโดยเด็ดขาด เพราะกฎหมายกำหนดห้ามกระทำการดังกล่าวภายในเวลา 3 ปี เท่านั้นก็ตาม แต่จะเห็นได้ว่า กำหนดเวลาดังกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อความสะดวกแก่ ส.ป.ก. ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น แต่ไม่ใช่ว่าถ้าพ้น 3 ปี ไปแล้วที่ดินในเขตปฏิรูปที่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. จะกลับคืนไปเป็นกรรม สิทธิ์ของบุคคลผู้ถือครองคนเดิม เพราะตามกฎหมายและระเบียบของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้กำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปไว้

กล่าวโดยสรุปคือ ผู้ที่จะมีสิทธิได้ที่ดินในเขตปฏิรูปต้องเป็นเกษตรกรเท่านั้น ซึ่งถ้าหากปล่อยให้มีการยึดทรัพย์บังคับคดีกับที่ดิน ส.ป.ก. ได้แล้ว ผู้ซื้อทรัพย์ได้ทำการขายทอดตลาดอาจจะมิใช่เกษตรกรตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินฯ เมื่อที่ดินแปลงนี้ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการปฏิรูป แม้ว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะเป็นผู้ถือครองที่ดินนี้ ก็มิได้หมายความว่าผู้ถือครองที่ดิน ส.ป.ก. ไว้จะมีสิทธิในที่ดินเพราะเป็นเรื่องในอนาคต เจ้าหนี้จึงไม่อาจจะยึดที่ดิน ส.ป.ก.ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถือครองได้.
 


ดอกผลของสินส่วนตัว ( 21 มีนาคม 2549)

 

ดิฉันกำลังจะแต่งงานกับแฟนซึ่งเป็นพ่อม่าย คือสามีเคยมีภริยามาก่อน และได้หย่ากันเรียบร้อยแล้วสามีเป็นนักธุรกิจมีทรัพย์สินหลายอย่าง รวมทั้งมีเงินสดฝากธนาคารไว้เป็นจำนวนมาก มีคนใกล้ชิดบอกดิฉันว่าขณะนี้สามีได้โอนทรัพย์สินหลายอย่างให้กับลูกที่เกิดจากอดีตภริยาเกือบหมด ดิฉันไม่กล้าจะถามเขาเกรงว่าเขาจะเข้าใจว่าดิฉันแต่งงานกับเขาเพราะทรัพย์สินเงินทอง

แต่ดิฉันก็อยากจะมีความมั่นคงในชีวิตเพราะแฟนอายุเกือบ 60 ปีแล้ว ในขณะที่ดิฉันอายุยังไม่ถึง 30 ปี ดิฉันจึงไม่ทราบว่าจะถามใครดีว่า ทรัพย์สินของสามีทั้งหมดนี้เป็นทรัพย์สินที่ภริยาใหม่ไม่มีสิทธิเลยใช่หรือไม่ และมีกรณีใดบ้างที่ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนแต่งงานใหม่ของสามีจะกลายเป็นสินสมรสของคู่สมรสคนใหม่บ้าง

ชมพู่

หลักทั่วไป ทรัพย์สินของคู่สมรสคนใดที่มีมาก่อนสมรสจะเป็นของคู่สมรสคนนั้นฝ่ายเดียว ซึ่งจะเรียกว่าสินส่วนตัว ทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างสมรสจะเรียกว่าสินสมรส และดอกผลของสินส่วนตัวจะเป็นสินสมรส

กล่าวคือ ในส่วนของทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้น ถ้าหากเกิดดอกผลของสินส่วนตัวขึ้นในระหว่างสมรส ดอกผลที่เกิดมาใหม่นั้นเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ดอกผลของสินส่วนตัวจึงถือว่าเป็นสินสมรส เช่น มีเงินสดส่วนตัวฝากธนาคารไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมามีดอกเบี้ยเงินฝากเกิดขึ้นหลังแต่งงาน ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้มาจะเป็นสินสมรส หรือคู่สมรสฝ่ายหนึ่งมีอพาร์ตเมนต์หรือบ้านให้เช่า ค่าเช่าที่ได้มาหลังจากแต่งงานเป็นสินสมรสของทั้งสองฝ่าย หรือก่อนแต่งงานมีอาชีพเพาะพันธุ์สัตว์ขาย เช่น ม้า สุนัข ต่อมาแต่งงาน ลูกของม้าหรือสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลังจากสมรสจะถือว่าเป็นสินสมรสที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

คู่สมรสบางคนที่เอาเงินส่วนตัวของตนไปซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ปรากฏว่าโชคดีถูกรางวัลที่ 1 เงินรางวัลดังกล่าวเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส แม้ว่าจะใช้เงินส่วนตัวซื้อสลากก็ตาม

กรณีที่ได้รับมรดกในระหว่างสมรส ทรัพย์ที่ได้รับมาจะเป็นสินส่วนตัวของผู้รับมรดก เว้นแต่จะมีการระบุไว้ว่าทรัพย์ที่ยกให้นั้น ผู้ให้ต้องการจะยกให้กับคู่สมรสทั้งสองฝ่ายจึงจะเป็นสินสมรส

คู่สมรสหลายรายที่สมรสใหม่อาจจะให้ความเป็นธรรมกับคู่สมรสคนหลังหลายวิธี เช่น การนำทรัพย์สินส่วนตัวมายกให้ภริยาที่เป็นคู่สมรสคนใหม่ ซึ่งจะทำให้ทรัพย์ที่นำมายกให้คู่สมรสอีกฝ่ายจะกลายเป็นสินส่วนตัวของผู้ที่ได้รับ

สินส่วนตัวของฝ่ายใดฝ่ายนั้นก็เป็นเจ้าของ แต่สินสมรสนั้นคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และหากการสมรสสิ้นสุดลง เช่น หย่า ตาย หรือศาลพิพากษาให้การสมรสสิ้นสุด จะทำให้สินสมรสต้องแบ่งกรรมสิทธิ์กันคนละครึ่ง.


ดอกเบี้ยไถ่ถอนจำนอง  (7 , 14 มีนาคม 2549)

กระผมมีเรื่องการเอาเปรียบของธนาคารจะแจ้งให้ทราบ คือกระผมเป็นข้าราชการ ได้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินโดยจำนองธนาคารไว้ ผ่อนชำระทุกสิ้นเดือน ๆ ละ 26,000 บาท ขณะนี้ดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นว่ากระผมส่งเงินค่างวดบ้านรายเดือน คิดเป็นเงินต้นเพียง 10,000 บาทเศษ ที่เหลือคิดเป็นดอกเบี้ยรายเดือน ๆ ละ 15,000 บาทเศษ กระผมก็กัดฟันผ่อนมาได้ 3 ปี เพราะช่วง 3 ปีแรกของการจำนองหากกระผมจะรีไฟแนนซ์ไปจำนองกับธนาคารอื่น ธนาคารจะคิดเบี้ยปรับกับลูกหนี้

เมื่อรอจนเลย 3 ปี กระผมใช้สิทธิความเป็นข้าราชการเข้าโครงการ กบข.ได้สิทธิกู้จำนองในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารเดิม กระผมจึงเดินเรื่องจนธนาคารในโครงการ กบข.อนุมัติให้กระผมกู้จำนองได้ หลังจากทราบผลว่ากระผมได้รับอนุมัติจากธนาคารใหม่ให้กู้จำนองได้แล้ว กระผมจึงได้ติดต่อกับธนาคารเดิมแจ้งรีไฟแนนซ์ เนื่องจากประการแรกเพื่อไถ่ถอนจำนองกับธนาคารเดิมเพื่อไปจดจำนองกับธนาคารใหม่ที่ได้รับอนุมัติ เพื่อธนาคารเดิมจะได้กำหนดวันไถ่ถอนจำนองเพื่อจดจำนองกับธนาคารใหม่ในโครงการ กบข. ประการที่สองเพื่อกระผมจะได้ทราบยอดหนี้สุทธิที่ธนาคารใหม่จะได้เขียนแคชเชียร์เช็คตามวงเงินที่กระผมจะต้องชำระหนี้ให้ธนาคารเดิมเพื่อไถ่ถอนจำนองด้วย

ปรากฏว่าหลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ ธนาคารเดิมแจ้งกระผมว่ากำหนดไถ่ถอนจำนองในวันพฤหัสบดีที่ 16 โดยยอดหนี้ไถ่ถอนจำนองคือยอดหนี้เงินต้นที่ค้างชำระบวกกับดอกเบี้ยอีก 10,000 กว่าบาท กระผมสงสัยว่าทำไมดอกเบี้ยเงินกู้จึงต้องชำระ 10,000 กว่าบาท เพราะนัดไถ่ถอนจำนองในวันที่ 16 เพิ่งผ่านมาเพียงครึ่งเดือน ดอกเบี้ยควรจะตกประมาณ 8,000 กว่าบาท เจ้าหน้าที่ธนาคารตอบว่าวันไถ่ถอนจำนองเป็นวันพฤหัสบดี กว่าธนาคารเดิมจะทราบว่าเงินตามแคชเชียร์เช็คที่ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองจะเป็นวันจันทร์ เพราะฉะนั้นลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในดอกเบี้ยเงินกู้จนถึงวันจันทร์ที่ 20

กระผมเถียงกับธนาคารเดิมว่าแคชเชียรเช็คชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองลงวันที่ 16 ซึ่งธนาคารเดิมสามารถดำเนินการเอาแคชเชียร์เช็คของธนาคารใหม่ชำระหนี้ในวันนั้นได้อยู่แล้ว เจ้าหน้าที่ธนาคารก็อ้างว่าระเบียบเป็นอย่างนี้ และลูกค้ารายอื่น ๆ ก็ต้องชำระดอกเบี้ยถึงวันจันทร์ทั้งนั้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธนาคารเดิมที่ไปรับเช็คมาจะนำเช็คมาเรียกเก็บเงินในวันรุ่งขึ้นคือวันศุกร์ ดังนั้นกว่าจะทราบว่าเช็คเรียกเก็บเงินได้ก็เป็นวันจันทร์ กระผมเถียงว่าระเบียบอะไรที่ให้เจ้าหน้าที่ธนาคารเดิมจึงเอาแคชเชียร์เช็คเข้าวันศุกร์ที่ 17 เพราะได้รับเช็คกันวันพฤหัสบดีที่ 16 และวันพฤหัสบดีที่ 16 ก็เป็นวันที่ธนาคารมีสิทธิได้รับชำระหนี้ และถึงแม้จะอ้างว่าเอาเช็คไปขึ้นเงินไม่ทันในวันพฤหัสบดี จึงต้องนำเช็คมาเรียกเก็บเงินในวันศุกร์ ทราบผลวันจันทร์ว่าเช็คผ่านก็ต้องถือว่าธนาคารได้รับเงินตามเช็คในวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์แล้ว

เจ้าหน้าที่ธนาคารคนนั้นก็อ้าง ถ้าไม่ยอมก็ต้องเลื่อนวันนัดไถ่ถอนจำนองในวันจันทร์จะได้คิดดอกเบี้ยชำระดอกเบี้ยถึงวันรุ่งขึ้น แต่จะเลื่อนวันไถ่ถอนจำนองเข้ามาจากกำหนดเดิมไม่ได้ และถ้านัดกันใหม่ก็ต้องนัดปลายเดือน กระผมจึงไม่ยอมเพราะไม่มีความจำเป็นอะไรที่กระผมจะต้องยืดเวลาไถ่ถอนแล้วต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้รายวันกับธนาคารเดิมอีก

เมื่อกระผมไม่ยอมเลื่อนวัน ธนาคารเดิมจึงให้กระผมชำระดอกเบี้ยเงินกู้ให้ธนาคารเดิมเพิ่ม 4 วัน คือคิดดอกเบี้ยรายวันในวันศุกร์ วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันจันทร์ คิดเป็นดอกเบี้ยรายวันแบบเอาเปรียบอีกเกือบ 3 พันบาท แม้บางรายอาจจะคิดว่าเงินเพียง 3 พันบาท ไม่มาก แต่กระผมเห็นว่าเป็นการที่ธนาคารเอาเปรียบลูกค้าแบบหน้าด้าน ผมเป็นมนุษย์เงินเดือนชำระหนี้ให้ธนาคารโดยวิธีตัดจากบัญชีเงินเดือน ธนาคารได้รับชำระหนี้จากผมรวมทั้งดอกเบี้ยทุกเดือน ไม่น่าจะมากินเศษกินเลยด้วยวิธีการเช่นนี้ จึงอยากจะเล่าพฤติกรรมเช่นนี้ให้ได้ทราบ

วราวุฒิ

ธนาคารนัดไถ่ถอนจำนองในวันพฤหัสบดี แต่ลูกหนี้จะต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้เป็นรายวัน จนถึงวันจันทร์ซึ่งเป็นวันที่ธนาคารทราบว่าธนาคารได้รับเงินตามเช็คแล้ว ทำให้ดิฉันต้องชำระดอกเบี้ยเลยจากวันที่ทำการไถ่ถอนจำนอง และธนาคารได้รับเงินในวันไถ่ถอนจำนองไปอีก 4 วัน แต่ดิฉันไม่ยอม โดยเหตุผลดังนี้

ประการแรก ทำไมธนาคารจึงปล่อยให้เจ้าหน้าที่ธนาคารที่รับมอบอำนาจมาทำการไถ่ถอนจำนอง นำเช็คค่าไถ่ถอนจำนองที่รับมาในวันพฤหัสบดีที่ทำการไถ่ถอนนั้น ซึ่งเป็นจำนวนเงินหลายล้านมาเรียกเก็บเงินตามเช็คในวันรุ่งขึ้น คือวันศุกร์ ถ้ามีระเบียบเช่นนั้น หรือหากยืนยันว่าระเบียบนี้ใช้ได้ ธนาคารใช้ระเบียบเช่นนี้มาเรียกเก็บดอกเบี้ยรายวันกับลูกหนี้ไม่ได้ เพราะทำให้ลูกหนี้ได้รับความเสียหาย

ประการที่สอง หลังจากที่ลูกค้าแจ้งขอไถ่ถอนจำนอง ทำไมธนาคารไม่นัดไถ่ถอนจำนองในวันจันทร์หรืออังคาร ทำไมจึงกำหนดวันนัดไถ่ถอนกับลูกหนี้ในวันพฤหัสบดี แล้วนำมาใช้เป็น ข้ออ้างว่า การไถ่ถอนจำนองในวันพฤหัสบดีจะติดวันเสาร์อาทิตย์ กว่าจะรู้ว่าเช็คขึ้นเงินได้จะเป็นวันจันทร์ เพื่อจะได้คิดดอกเบี้ยเงินกู้รายวันกับลูกหนี้ถึงวันจันทร์ ทั้ง ๆ ที่ลูกหนี้ได้ชำระเช็คลงวันที่ตั้งแต่วันพฤหัสบดีและเมื่อลูกหนี้จะขอกำหนดวันไถ่ถอนจำนองใหม่ไม่ให้จะติดเสาร์อาทิตย์ ธนาคารก็อ้างว่าต้องนัดใหม่ในวันหลังจากนี้ ซึ่งหมายถึงว่าให้ลูกหนี้จะต้องรับผิดดอกเบี้ยเงินกู้รายวันต่อไปทั้ง ๆ ที่เขาจะไถ่ถอนแล้ว

ประการที่สาม การชำระเงินตามเช็ค แม้ว่าตามระเบียบวิธีการของธนาคารเมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินตามเช็คแล้ว ธนาคาร ผู้รับเช็คจะได้รับเงินตามเช็คในวันรุ่งขึ้น ผลในทางกฎหมายแม้จะทราบในวันรุ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงนั้นธนาคารผู้ทรงเช็คได้รับเงินตามเช็คนับตั้งแต่วันที่มีการนำเช็คมาเรียกเก็บแล้ว ธนาคารไม่มีสิทธิจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้รายวันลูกหนี้ออกไปจนถึงวันที่ธนาคารได้ทราบว่าเช็คผ่านเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตอนแรกเจ้าหน้าที่ธนาคารไม่ยอม โดยยืนยันว่าไถ่ถอนวันพฤหัสบดี แต่จะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ถึงวันจันทร์ อ้างแต่ระเบียบธนาคารว่าลูกค้ารายไหนก็เป็นอย่างนี้ เหตุผลเช่นเดียวกัน

จนกระทั่งดิฉันได้บอกกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเดิมว่า ดิฉันจะยอมชำระดอกเบี้ยเงินกู้เอาเปรียบ 4 วันนี้ แต่ดิฉันจะนำหลักฐานและเรื่องนี้ไปร้องเรียนที่ สคบ. ให้ตรวจสอบ เพราะถึงเงินจำนวนนี้จะเล็กน้อย แต่ดิฉันเห็นว่ามันไม่เป็นธรรมและเอาเปรียบในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ กับประชาชน แต่ถ้าเป็นอย่างนี้ทุกรายก็อาจจะเป็นผลประโยชน์เป็นกอบเป็นกำเข้ากระเป๋าใครโดยไม่ชอบ

สักพักหนึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารผู้นั้นก็ขอเวลาปรึกษาผู้จัดการ หลังจากนั้นจึงติดต่อกลับมา โดยแจ้งว่าธนาคารได้หักดอกเบี้ย จำนวน 2,000 บาทเศษออกให้ ดิฉันถามว่าทำไมตอนนี้ธนาคารจึงยอมหักดอกเบี้ย 4 วันออก เขาให้เหตุผลว่า ก็เพราะดิฉันไม่ยอมให้คิด

ดิฉันจึงสงสัยว่าการคิดดอกเบี้ยเกินเลยโดยไม่ชอบเช่นนี้ ธนาคารคิดเองไม่เป็นหรือ ทำไมจะต้องให้ลูกหนี้บอกว่าคิดไม่ได้ แล้วถ้าลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองรายอื่นเขาไม่ทราบ หรือไม่สงสัยในรายละเอียดตัวเลขดอกเบี้ยเงินกู้เกินเช่นนี้ ธนาคารมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยเอาเปรียบได้หรือ แล้วเงินเศษเกินเหล่านี้ไปเข้ากระเป๋าของใคร หรือถ้าไม่เข้ากระเป๋าเจ้าหน้าที่ธนาคารคนใด แต่เข้ากระเป๋า ของธนาคารก็ตาม เราควรจะนำหลักฐานไปร้องเรียน สคบ. ให้ทำการตรวจสอบธนาคารของรัฐที่อ้างระเบียบเพื่อคิดดอกเบี้ยเกินอันเป็นการเอาเปรียบประชาชน.


คู่สมรสเป็นคนต่างด้าว  (21 , 28 ก.พ.2549)

ดิฉันแต่งงานกับสามีชาวต่างชาติและจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายของทั้งสองประเทศ โดยดิฉันได้ใช้นามสกุลของสามีชาวต่างชาติ ขณะนี้สามีชอบสภาพอากาศและวัฒนธรรมในเมืองไทยมาก อยากจะอยู่ที่เมืองไทย ทำให้ดิฉันกังวลว่าดิฉันจะสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยได้หรือไม่ เพราะมีหลายคนบอกดิฉันว่ามีกฎหมายห้ามชาวต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทย ซึ่งจะรวมถึงคนไทยที่มีสามีเป็นคนต่างชาติด้วย เพราะถือว่าเป็นสินสมรสที่สามีชาวต่างชาติมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย

ดิฉันจึงอยากจะปรึกษาว่าการที่ดิฉันซึ่งมีสามีและจดทะเบียน สมรสถูกต้องตามกฎหมายเช่นนี้ จะทำให้ดิฉันสามารถซื้อทรัพย์สินในชื่อของดิฉันได้หรือไม่ กรุณาอย่าแนะนำให้ดิฉันใช้ญาติพี่น้องเป็นเจ้าของในนาม เพราะดิฉันไม่อยากจะให้เกิดปัญหาทวงคืนกันในวันข้างหน้า

มิสซิสแมรี่

ปัญหาของการให้สิทธิแก่หญิงไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติ ไม่อาจจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ เหตุผลของฝ่ายที่ไม่ให้อ้างเพื่อความมั่นคงของประเทศ แต่อีกฝ่ายหนึ่งมองในเรื่องความเป็นปึกแผ่นในครอบครัวในการคุ้มครองหญิงไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติว่า ควรจะมีกลไกทางกฎหมายในการที่จะได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับชายไทยที่มีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ

อย่างไรก็ตาม รศ.วิมลศิริ ชำนาญเวช คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ได้กรุณาให้คำตอบเกี่ยวกับปัญหานี้ว่า ถ้าในขณะที่หญิงไทยซึ่งมีสามีเป็นคนต่างชาติจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องนำคู่สมรสชาวต่างชาติไปบันทึกกับเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งหากคู่สมรสชาวต่างชาติยืนยันว่าเงินที่ซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของหญิงไทย ก็สามารถซื้อขายกันได้ เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือด่วนที่สุดที่ มท.0710/ว 732 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2542 กำหนดให้เป็นแนวทางปฏิบัติไว้ ดิฉันจึงถือโอกาสนำหนังสือฉบับดังกล่าวมาเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

“เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 30 ได้บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ และมาตรา 48 วรรคแรก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติว่า สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านั้นย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยให้ยกเลิกหนังสือที่อ้างถึงทั้งหมด และบรรดาระเบียบ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับหนังสือฉบับนี้ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดิน ในกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกันในระหว่างสมรส หากสอบสวนแล้ว ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวได้รับการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่าเงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นสินส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรส ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้

แต่ถ้าหากคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นสินสมรส เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน”

ฉบับหน้าดิฉันจะนำหนังสือฉบับนี้มาต่อว่า ในกรณีที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวที่อยู่กินกันฉันสามีภริยาหรือที่มิชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่ได้รับการให้ที่ดินในระหว่างสมรสหรืออยู่กินกันระหว่างสามีภริยา กรณีที่มีการหย่าหรือเลิกร้างกันแล้ว รวมทั้งกรณีบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าวที่มีสัญชาติไทยด้วย.

 ครั้งที่แล้วเรากำลังพูดถึงปัญหาของหญิงไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวที่ชอบด้วยกฎหมายที่ต้องการจะซื้อที่ดินในประเทศไทย ครั้งนี้จะต่อกรณีหญิงไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวที่มิชอบด้วยกฎหมาย การขอรับที่ดินในระหว่างสมรส หรือระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา(กรณีที่มิได้สมรสตามกฎหมาย) หรือหญิงไทยหย่าขาดจากสามีคนต่างด้าวแล้ว รวมทั้งกรณีที่บุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าวขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน ซึ่งจะต่อจากข้อ 1 ของครั้งที่แล้ว

2. กรณีที่บุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดินในกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยากับคนต่างด้าว หากสอบสวนแล้ว ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้ายได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้

แต่ถ้าหากคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรี ตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

3. กรณีบุคคลสัญชาติไทย ที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมาย ขอรับให้ที่ดินในระหว่างสมรส หรือระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากัน หากสอบสวนแล้วเป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้ทำให้คนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินร่วมด้วย ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้ แต่ถ้าหากเป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินสมรส หรือมีผลทำให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จ ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อเสนอขอคำสั่งรัฐมนตรี ตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

4. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว แต่ได้หย่าขาดจากกัน หรือเลิกร้างกันแล้ว ขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน หากสอบสวนแล้วไม่ปรากฏพฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมาย ก็ให้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้

5. กรณีบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าวที่มีสัญชาติไทยขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน หากสอบสวนแล้วไม่ปรากฏพฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมาย ก็ให้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้.


อำนาจปกครองบุตร  (วันที่ 7,14 ก.พ. 2549)

เพื่อนของดิฉันมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องลูก ซึ่งอาจจะต้องหย่ากันและเพื่อนอาจจะต้องออกมาจากบ้านของสามี แต่ขณะนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องลูก เพราะญาติทางฝ่ายสามีซึ่งไม่ยอมให้เด็กมาอยู่กับเพื่อนซี่งเป็นแม่ที่แท้จริง
ดิฉันจึงอยากจะให้คุณสุกัญญาช่วยอธิบายผ่านหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ เพื่อดิฉันจะนำไปให้เพื่อนอ่าน เพราะขณะนี้เพื่อนกลุ้มใจว่า ถ้าออกจากบ้านสามีแล้วเขาจะไม่ยอมให้ลูกมาด้วย ถ้าหากมีการสู้คดีกันในศาลโอกาสที่พ่อหรือแม่เด็กจะได้ดูแลลูกจะต้องพิจารณาเรื่องใดบ้าง

เปรมปรีด์

อำนาจปกครองบุตรควรอยู่กับฝ่ายใด บิดาหรือมารดา ไม่มีหลักการตายตัวแน่นอน ขึ้นอยู่กับเหตุผลของแต่ละคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป

อย่างไรก็ตามหนังสือกฎหมายครอบครัวของท่านอาจารย์ประสพสุข บุญเดช ซึ่งได้เขียนไว้ จึงได้คัดลอกมาบางส่วนเพื่อจะได้เป็นแนวทางกว้าง ๆ ในการหาความรู้เกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตร ซึ่งถ้าต้องสู้คดีกันจริง ๆ แล้ว ทนายความจะให้คำแนะนำจากข้อเท็จจริงของแต่ละครอบครัวได้ชัดเจนขึ้น

กรณีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หากสามีภริยานำคดีฟ้องหย่ามาสู่ศาล ศาลที่พิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นเอง ในการชี้ขาดว่าจะให้ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรนี้ศาลจะต้องคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ โดยศาลจะต้องคำนึงถึงข้อความจริงที่ว่า บุตรเป็นบุคคลที่ควรได้รับความรักใคร่และเอาใจใส่ มิใช่เป็นเพียงทรัพย์สินของบิดามารดา ควรจะได้อยู่ในบ้านซึ่งมีสภาพแวดล้อมอันมีหลักประกันได้ว่าจะเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีความรับผิดชอบได้ ควรได้รับการศึกษา อบรมบ่มนิสัยและดูแลอย่างใกล้ชิด และมีสิทธิที่จะรู้จักติดต่อสัมพันธ์กับบิดามารดาของตน

นอกจากนี้ถ้าบุตรนั้นมีอายุมากพอที่จะมีความรู้สึกรับผิดชอบได้แล้ว หากบุตรมีความปรารถนาที่จะอยู่กับฝ่ายใดก็จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย ความผาสุกและประโยชน์ของบุตรมีความหมายกว้าง มิได้หมายความแต่เฉพาะความผาสุกทางร่างกายหรือประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของบุตรเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงประโยชน์ในทางศีลธรรม ศาสนา ปัญญา อนามัย และความผาสุกทางจิตใจ รวมทั้งความรักความผูกพันระหว่างกันด้วย

ในการพิจารณาถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนี้จะต้องพิจารณาในระยะยาว แม้ในระยะสั้นอาจจะเกิดความขัดข้องหรือความลำบากแก่บุตร แต่ในระยะยาวบุตรจะได้รับความผาสุกและประโยชน์มากกว่าแล้วก็ต้องเลือกความผาสุกและประโยชน์ในระยะยาวนี้

สำหรับความประพฤติปฏิบัติของสามีภริยาในอดีต ที่ทำให้เกิดเหตุฟ้องหย่า จะไม่นำมาพิจารณาประกอบ

เว้นแต่ความประพฤติปฏิบัติเช่นว่านั้นจะมีผลกระทบกระเทือนถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตร เช่น ภริยาที่เป็นคนสำส่อนทางประเวณีและถูกสามีฟ้องหย่าเพราะมีชู้ ก็อาจจะได้รับการชี้ขาดให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ได้ หรือสามีทำร้ายร่างกายภริยาบาดเจ็บสาหัส ภริยาจึงฟ้องหย่า ศาลก็อาจชี้ขาดให้สามีเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรหลังการหย่าได้

ทั้งนี้เพราะแม้ภริยาเป็นคนเจ้าชู้หรือสามีที่เป็นคนดุร้ายก็ยังมีความรักและความห่วงใยต่อบุตรของตน และสามารถใช้อำนาจปกครองบุตรได้โดยไม่มีข้อขัดข้องแต่อย่างใด.

หลักการที่ศาลจะต้องนำมาพิจารณาประกอบเพื่อพิเคราะห์ถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์เป็นสำคัญ มีดังนี้

1. บุตรที่อ่อนอายุต้องการมารดา ในทางปฏิบัติมารดามีโอกาสดีกว่าบิดาในอันที่จะได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรที่ยังอ่อนอายุและยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเข้าโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมารดาที่มิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน

นอกจากนี้บุตรสาววัยรุ่นก็สมควรให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ส่วนบุตรชายที่อายุมากแล้วมักมีแนวโน้มที่จะให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ตัวอย่างแนวบรรทัดฐานที่ศาลพิพากษา ฎีกา 303/2588 ผู้สมควรเป็นผู้ปกครองบุตรได้ดีนั้น อาจเป็นผู้มีฐานะไม่ดีก็ได้ และผู้มีฐานะดีอาจไม่สมควรเป็นผู้ปกครองบุตรก็ได้ บุตรซึ่งเป็นผู้ไม่รู้เดียงสานั้นควรได้มารดาเป็นผู้ปกครองดีกว่าสามีซึ่งมีภริยาใหม่

2. บุตรซึ่งอยู่ในความดูแลของฝ่ายใดอยู่แล้ว ควรให้ฝ่ายนั้นดูแลต่อไปตามเดิม ทั้งนี้เพราะศาลจะไม่โยกย้ายบุตรจากบ้านที่บุตรนั้นพำนักอาศัยอยู่ในปัจจุบันไปอยู่ที่อื่น เว้นแต่จะมีเหตุผลที่จำเป็นอย่างยิ่ง เช่น มารดาเป็นคนที่รักร่วมเพศ หรือบิดาที่เป็นอาชญากรหรือติดสุรายาเมาไม่สมควรให้ดูแลบุตรอีกต่อไป เพราะอาจทำให้บุตรได้รับความอับอายจากสังคมได้

หรือเปลี่ยนให้บุตรไปอยู่ในความดูแลของฝ่ายใหม่จะเกิดการกระทบกระเทือนต่อบุตรเพียงเล็กน้อยเช่น บุตรเป็นเด็กมีเหตุผลและร่าเริงสามารถอยู่กับบิดาหรือมารดาก็ได้ หรือแม้จะเปลี่ยนให้บุตรไปอยู่กับฝ่ายใหม่บุตรก็ยังสามารถอยู่โรงเรียนเดิมและมีเพื่อนเดิมได้ เช่นนี้ ก็อาจเปลี่ยนให้บุตรไปอยู่ในความดูแลของฝ่ายใหม่ได้

3. บุตรทั้งหลายควรจะได้อยู่รวมครอบครัวเดียวกัน ซึ่งโดยปกติศาลจะไม่แยกพี่ให้ไปอยู่กับบิดาหรือแยกน้องให้อยู่กับมารดา เว้นแต่จะมีพฤติการณ์พิเศษ เช่น พี่น้องอายุห่างกันมากและปรารถนาที่จะแยกกันไปอยู่กับบิดาหรือมารดาก็อาจให้แยกกันไปได้ แต่ถ้าพี่สาวและน้องชายมีอายุไม่ห่างกันมากและรักใคร่กันดี ศาลมักจะให้อยู่กับมารดาทั้งสองคนโดยไม่แยกกัน

4. ความประสงค์และความรู้สึกของบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรที่โตพอที่จะมีความรู้สึกรับผิดชอบได้แล้ว ซึ่งในการ สอบถามความประสงค์และความรู้สึกของบุตรว่าจะอยู่กับบิดาหรือมารดานี้ ศาลอาจจะสอบถามบุตรลับหลังบิดามารดาก็ได้ โดยบุตรเช่นว่านี้น่าจะมีอายุตั้งแต่ 8 ขวบขึ้นไป สำหรับบุตรที่มีอายุต่ำกว่า 8 ขวบนั้น ยิ่งอายุน้อยเพียงใด ความประสงค์ของบุตรยิ่งมีน้ำหนักน้อยลงเพียงนั้น

5. ความสามารถในการจัดการศึกษาอบรมด้านวิชาการ วิชาชีพ ศาสนา ศีลธรรม และการพัฒนาทางสติปัญญา ให้แก่บุตรทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน

6. ความสามารถในการจัดหาที่พักอาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และการรักษาพยาบาลให้แก่บุตร เช่น บุตรไม่แข็งแรง ต้องการความเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ หากบิดาหรือมารดาฝ่ายใดสามารถจะให้การรักษาพยาบาลบุตรได้ดีกว่าก็ควรจะให้บุตรอยู่กับฝ่ายนั้น หรือบิดาสามารถจัดหาที่พักอาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่มให้บุตรได้ดีกว่ามารดาที่ปล่อยให้บุตรหิวโหยแต่งตัวสกปรกไม่ดูแลเอาใจใส่เลย ก็ควรให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร เป็นต้น

7. ระยะเวลาที่บุตรได้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นอยู่ และผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมนั้น ซึ่งรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ศึกษา เพื่อนนักเรียน เพื่อนบ้าน และการเยี่ยมเยียนของญาติพี่น้อง

8. ความรักใคร่เอ็นดู และความรู้สึกผูกพันทางจิตใจ ระหว่างบุตรกับบิดาหรือมารดา เช่น เท่าที่ผ่านมามารดาทารุณ ทุบตีบุตรสาวอยู่เสมอ หรือบุตรสาวให้อยู่กับคนรับใช้แล้วตนเองออกไปเที่ยวเตร่นอกบ้านเป็นประจำ ส่วนบิดามีความรักใคร่เอ็นดูบุตรสาวมากกว่า ก็ควรจะให้บุตรสาวอยู่ในความปกครองของบิดา

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าศาลได้มีคำสั่งให้บิดาหรือมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าฝ่ายที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรตามคำสั่งศาลได้ประพฤติตนไม่สมควร หรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นได้ ทั้งนี้เป็นไปเพื่อความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ.

สุกัญญา รัตนาคินทร์


 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี