ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร ?
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร ? article

ท่ามกลางกระแสของสังคมที่เรียกร้องต้องการแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงในปัจจุบัน การประกอบกิจการในรูปแบบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ Small and Medium Enterprises (SMEs) นับว่าเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการทั่วไป หากย้อนกลับไปดูจะพบว่า SMEs เป็นกลุ่มพลังที่ใหญ่ที่สุดของภาคธุรกิจที่มีประมาณกว่าร้อยละ 85 ของรายที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบัน นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยเพราะเป็นกิจการที่สร้างมูลค่าแก่ระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ทั้งในแง่ของการสร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ในบทบาทที่หลากหลาย เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ให้บริการ เรื่องจากปกในสรรพากรสาส์นฉบับนี้ จึงนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร รวมทั้งสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรที่ SMEs ได้รับตามประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญต่อการประกอบกิจการในรูปแบบของ SMEs ในประเทศไทย

     ลักษณะของ SMEs
กิจการที่จะเข้าลักษณะเป็น SMEs นั้น ความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปอาจอนุมานมาจากความหมายที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการสนับสนุน SMEs โดยเฉพาะ ในการนี้ สสว. ได้กำหนดลักษณะของ SMEs ที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยแสดงเป็นตารางดังนี้

จำนวน
 
ขนาดย่อม
 
ขนาดกลาง
 

 จำนวน
(คน)

 สินทรัพย์ถาวร
(ล้านบาท)

 จำนวน
(คน)

 สินทรัพย์ถาวร
(ล้านบาท)

 กิจการการผลิต  ไม่เกิน 50  ไม่เกิน 50  51-200  เกินกว่า 50 - 200
 กิจการบริการ  ไม่เกิน 50  ไม่เกิน 50  51-200  เกินกว่า 50 - 200
 กิจการค้าส่ง  ไม่เกิน 25  ไม่เกิน 50  26-50  เกินกว่า 50 - 100
 กิจการค้าปลีก  ไม่เกิน 15  ไม่เกิน 30  16-30  เกินกว่า 30-60

(ที่มา : กฎกระทรวง กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2545)

     ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า กิจการที่จะเข้าลักษณะเป็น SMEs สสว. พิจารณาจากมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรในการประกอบกิจการ และจำนวน แรงงานที่ใช้ประกอบกัน โดยแยกตามประเภทการประกอบกิจการสูงสุดจะมีมูลค่าขั้นสูงของสินทรัพย์ถาวรสำหรับการประกอบกิจกรรมด้านการผลิตหรือการให้บริการไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
     สำหรับ SMEs ในด้านภาษีอากรนั้น กรมสรรพากรมิได้ให้คำนิยามไว้ หากแต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ให้สิทธิและประโยชน์แก่ผู้ประกอบการกลางและขนาดย่อม จะพบว่าในประมวลรัษฎากรได้กล่าวถึงผู้ประกอบการที่จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร อันถือว่าเป็นการประกอบกิจการในลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไว้ดังนี้

  1. พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 431) พ.ศ. 2548 บัญญัติให้ลดอัตราภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท
  2. พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่งได้

     ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า SMEs ในทางภาษีอากรหมายถึงบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือจะมีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คนก็ได้

     ภาระภาษี ตามประมวลรัษฎากร
     การประกอบกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs พบว่าจะมีทั้งในรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ภาระภาษีของการประกอบกิจการจึงต้องเกี่ยวข้องกับประเภทภาษีต่างๆ ดังนี้

      ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
     ประมวลรัษฎากรได้กำหนดหน่วยภาษีที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้จำนวน 4 หน่วย อันได้แก่ บุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ดังนั้น กรณี SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากรที่ได้บัญญัติว่า “ให้บุคคลทุกคน เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วพร้อมทั้งข้อความอื่นๆ ภายในเดือนมีนาคมทุกๆ ปี...” โดยในการคำนวณภาษี ผู้ประกอบการ SMEs จะต้องคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ กรณีการประกอบกิจการให้บริการ ผลิต ค้าปลีก หรือค้าส่ง ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร SMEs จะต้องนำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับไป หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือจะขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถหักค่าลดหย่อนต่างๆ ที่มีได้ตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากรอีกด้วย
     เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว SMEs ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องนำเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) ดังนี้
 

เงินได้สุทธิ
 
เงินได้แต่ละขั้นสุทธิ
อัตราภาษีร้อยละ
ภาษีแต่ละขั้นเงินได้
ภาษีเงินสะสม
0 - 100,000  100,000 ยกเว้น

 -

 -
100,001 - 500,000  400,000 10  40,000  40,000
500,001 - 1,000,000  500,000 20  100,000  140,000
1,000,001 - 4,000,000  3,000,000  30  900,000  1,040,000 
4,000,001 บาทขึ้นไป

 -

37  -  -

     อย่างไรก็ดี นอกจากการคำนวณภาษีเงินได้ ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว SMEs ที่มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีเงินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นที่ไม่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(2) โดยไม่คำนึงว่าในการประกอบกิจการในปีภาษีนั้นๆ จะมีผลกำไรหรือขาดทุนอย่างไร

     ภาษีเงินได้นิติบุคคล
     สำหรับ SMEs ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ โดยคำนวณหากำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประมวลรัษฎากร กล่าวคือให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ในการคำนวณกำไรสุทธิ โดยนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และนำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แล้วคำนวณกำไรสุทธิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
     เมื่อคำนวณหากำไรสุทธิได้แล้ว SMEs ที่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 พร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นตั้งอยู่ในท้องที่ด้วย

     ภาษีมูลค่าเพิ่ม
     เนื่องจากการประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยผู้ประกอบการ และการนำเข้าสินค้าโดยผู้นำเข้า อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อ SMEs ประกอบกิจการให้บริการ ผลิต ค้าปลีก หรือค้าส่ง จึงมีหน้าที่ จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบการ SMEs ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการตามประเภทที่บัญญัติไว้ในมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร ก็จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทนั้นๆ สำหรับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม กล่าวคือ มีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร

สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร
     ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดา การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันยังมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกับบุคคลทั่วไป โดยมิได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรที่พิเศษหรือแตกต่างไปแต่ประการใด แต่เฉพาะสำหรับ SMEs ที่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีดังนี้

     1.ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดย่อม  ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิ ไม่เกิน 1 ล้านบาท และ ร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิ 1-3 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกินกว่า 3 ล้านบาทยังคงเสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 โดยผู้ประกอบการขนาดย่อม เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

กำไรสุทธิ (บาท)
อัตราภาษี (%)
1-1,000,000 15
1,000,001-3,000,000 25
3,000,0001 30

     หมายเหตุ : สำหรับกรณีมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 5 ล้านบาท ขึ้นไป ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ตามปกติ

     2. บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ อาคาร และเครื่องจักรในอัตราพิเศษ สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาภายในหรือหลัง วันที่ 31 ม.ค. 45 ดังนี้
       2.1 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ไม่รวมโปรแกรมคอมพิวเตอร์) ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 40 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สามารถหักค่าเสื่อมได้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชี
       2.2 อาคาร โรงงาน ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 25 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ อาคาร โรงงาน สามารถหักค่าเสื่อมได้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 20 รอบระยะเวลาบัญชี
       2.3 เครื่องจักร และอุปกรณ์เครื่องจักร ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 40 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ เครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักร สามารถหักค่าเสื่อมได้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 5 รอบระยะเวลาบัญชี

     3. ยกเว้นเงินปันผล หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นที่นิติบุคคลร่วมลงทุน (Venture Capital: VC)  ได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: SMEs (สินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาทและจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน) โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
       (1) นิติบุคคลร่วมลงทุน (VC) ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยตามประกาศกระทรวงการคลังที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน โดยมีทุนจดทะเบียน ไม่น้อยกว่า  200  ล้านบาท  และมีการชำระค่าหุ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียน และชำระค่าหุ้นที่เหลือทั้งหมดภายใน  3  ปีนับแต่วันจดทะเบียน (โดย VC สามารถลดทุนจดทะเบียนได้หากถือหุ้นใน SMEs ติดต่อกันนานกว่า 7 ปี)
       (2) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ภายในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551
       (3) VC ต้องมีสัดส่วนหุ้นใน SMEs ต่อทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ดังนี้
         - 20% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 1 เว้นแต่มีเหตุอันสมควรและได้รับอนุญาตจากอธิบดี จะมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 20 ก็ได้
         - 40% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 2
         - 60% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 3
         - 80% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 4
       (4) ต้องถือหุ้นใน SMEs อย่างน้อย   5 ปีติดต่อกัน เว้นแต่ SMEs นั้นจะสามารถเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน หรือ SMEs ที่ VC ถือหุ้นมีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน จึงจะอนุโลมให้ถือหุ้นใน SMEs น้อยกว่า 5 ปี ก็ได้
       (5) ต้องมอบหมายให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนเป็นผู้จัดการ VC ใน SMEs

     4. ยกเว้นเงินปันผลและผลประโยชน์จากการโอนหุ้นที่ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจาก VC ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามข้อ 3.

สรุปสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

สิทธิประโยชน์
หลักเกณฑ์/เงื่อนไข
1. ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ  ผู้ประกอบการขนาดย่อม จากร้อยละ 30 เหลือ
  • ร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาท
  • ร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิที่เกิน 1 ล้าน บาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกินกว่า 3 ล้านบาทให้เสียภาษี ในอัตราร้อยละ 30
1. ต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท
2. ต้องเป็นกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป

2. ให้ผู้ประกอบการการขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ อาคาร และเครื่องจักรในอัตราพิเศษ ดังนี้

  • คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ไม่รวม โปรแกรม คอมพิวเตอร์) ให้หักค่าเสื่อมราคา เบื้องต้นร้อยละ 40 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถหักค่าเสื่อมภายในเวลา ไม่น้อยกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชี
  • อาคาร โรงงาน ให้หักค่าเสื่อมราคา เบื้องต้นร้อยละ 25 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถหักค่าเสื่อมภายในเวลา ไม่น้อยกว่า 20 รอบระยะเวลาบัญชี
  • เครื่องจักร และอุปกรณ์เครื่องจักร ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 40 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถหักค่าเสื่อมภายในเวลาไม่น้อยกว่า 5 รอบระยะเวลาบัญชี
1. ต้องเป็นนิติบุคคลไทย ที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน
2. ใช้สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาภายในหรือหลังวันที่ 31 ม.ค. 45
3. ยกเว้นเงินปันผล หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นที่นิติบุคคลร่วมลงทุน (VC) ได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

1. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ VC เข้าไปลงทุน หมายถึง นิติบุคคลไทย ที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน
2. บริษัทที่เป็น VC จะต้องเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลร่วมลงทุนตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกำหนดกิจการจัดการเงินร่วมลงทุนให้เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท โดยต้องมีการชำระค่าหุ้นครั้งแรกเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียน และชำระค่าหุ้นที่เหลือทั้งหมดภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันจดทะเบียน สำหรับการลดทุนจดทะเบียนให้กระทำได้ เมื่อได้ถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 7 ปีติดต่อกัน
3. ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ภายในวันที่ 31 มกราคม 2551
4. VC ต้องมีสัดส่วนหุ้นใน SMEs ต่อทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ดังนี้

  • 20% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 1 เว้นแต่มีเหตุอันสมควรและได้รับอนุญาตจากอธิบดี จะมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 20 ก็ได้
  • 40% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 2
  • 60% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 3
  • 80% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 4

5. ต้องถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ จะมีระยะเวลาการถือหุ้นน้อยกว่า 5 ปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกันก็ได้
(ก) เป็นการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี ในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน หรือ
(ข) เป็นการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตลอดระยะเวลาที่วิสาหกิจนั้นมีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
6. ต้องมอบหมายให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนเป็น ผู้จัดการ VC ใน SMEs

4. ยกเว้นเงินปันผลและผลประโยชน์จากการโอนหุ้นที่ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจาก VC ที่ได้รับจากการยกเว้นภาษีตาม ข้อ 3. ผู้ถือหุ้นใน VC หากได้รับเงินปันผลหรือผลประโยชน์จากการโอนหุ้น จะได้รับการยกเว้นภาษีโดยไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาในการถือครองหุ้นใน VC ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 3

บทสรุป
     จากภาพรวมภาระภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการ SMEs รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการ SMEs ที่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร จะได้รับการสนับสนุน และส่งเสริมการประกอบกิจการด้านอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และยังได้รับสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราพิเศษ เป็นผลให้สามารถบันทึกรายจ่ายได้มากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ทั่วไป ทั้งนี้ ด้วยความมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ดี นอกจาก ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้ว ยังพบว่ามีผู้ประกอบการ SMEs ในรูปแบบบุคคลธรรมดาอยู่จำนวนไม่น้อย แต่ก็ยังมิได้มีมาตรการทางภาษีที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนเฉพาะเจาะจงแต่ประการใด ดังนั้น หากรัฐจะกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ก็น่าจะเป็นการพัฒนาธุรกิจรากหญ้าของประเทศไทยให้แข็งแรงมากขึ้น อันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กลุ่ม รากแก้วเข้มแข็งตามไปด้วยได้ แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ SMEs ในรูปแบบใด การศึกษาข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะกฎหมายภาษีอากร ก็จะช่วยให้การประกอบกิจการราบรื่นและเติบโตไปได้ตามเป้าหมาย ซึ่งนอกเหนือจากหลักการสำคัญ ที่นำเสนอผ่านทางบทความนี้แล้ว ก็ขอให้ศึกษาแนวคำวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องท้ายบทสำหรับประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจควบคู่กันไปด้วย

ที่มาของข้อมูล : http://www.sanpakornsarn.com/page_article_detail.php?aID=6

 




ความรู้เกี่ยวกับภาษี

ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 โดยอาจารย์ อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ article
การชดเชยค่าภาษีอากร-บัตรภาษี article
มนุษย์เงินเดือนเฮครม.อนุมัติลดหย่อนภาษีหักค่าใช้จ่าย60% (มีผลบังคับใช้ในปี 2550) article
การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย article
ภาษีป้าย article
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
ใบลดหนี้ (Credit Note)
ภาระภาษีในการประนอมหนี้ ค่าบริการ
เงื่อนไขในการคำนวณส่วนของ หนี้สูญ เพื่อนำมาหักออกจาก ภาษีขาย
การทำบัญชี ของบุคคลธรรมดา ที่ไม่จด VAT
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือ Consortium
Income Tax Guide for foreign Company
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี
ภาษีค่าสิทธิ - จากสรรพากรสาส์น
ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่าย
การเสีย VAT กรณีนำเข้าสินค้ามาขายแบบ 3 เส้า
คลังสินค้าทัณฑ์บน (BONDED WAREHOUSE ) คืออะไร?
เขตปลอดอากร เขตยกเว้นภาษี
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่น่าสนใจ
บัญชีอากรแสตมป์ อัตราอากรแสตมป์
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ตาม มาตรา 56 ทวิ)
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
การเฉลี่ยภาษีซื้อ
Withholding Tax Rates for Royalties under Thailand's DTAs
Withholding Tax Rates for Interest under Thailand's DTAs
เงินได้พึงประเมินที่ผู้เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสิทธิแยกคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) article
คณะบุคคล... อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม
ภาษีบ้านเช่าครึ่งปี
ภาษีเลี้ยงรับรองปีใหม่
ภาษีค่าน้ำมันรถ
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจาก 50,000 เป็น 100,000
มาตรการสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ + ห้องชุด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สารพัน ปัญหาภาษีสรรพากร - สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ค่าชดเชยการเลิกจ้าง กับภาระภาษีอากร
ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนประกันชีวิตได้รับถือเป็นเงินได้ประเภทใด
ขายสินค้าเกษตรเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับรู้รายได้เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลเสียหายจากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรายได้จากการให้บริการป้ายโฆษณา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าซ่อมเครื่องจักรและ ค่าที่ปรึกษาไปต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์และค่าบริการอื่นให้แก่บริษัทต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของนิติบุคคลอาคารชุด
ปัญหา ของขวัญกับการเสียภาษี
ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
ปัญหา ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF
เงินสนับสนุนการศึกษาและเงินบริจาค
สารพันปัญหา "ค่าลดหย่อน"
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ.2564)
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
การคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
พระราชกฤษฎีกา ลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ปี 2555
การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ
คำชี้แจงกรมสรรพากร กรณีการยื่นแบบเสียภาษีของสามีและภรรยา ปี 2555
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ป็นทางค้าหรือหากำไร
สรุปอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2555-2558
มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs
สรุปคำชี้แจงการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
บัญชี IFRS for SMEs กับภาษี ตอน รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาของ SMEs
ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า!!!
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ เมื่อมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
ฎีกาภาษี : การขีดฆ่าอากรแสตมป์
ภาษีการรับมรดก
เครื่องมือช่วยคำนวณรายการทางบัญชีเป็นรายการทางภาษี
วิธีการประมาณการกําไรสทธิ ภงด.51 article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กับกิจการขายของ Online article
เงินได้พึงประเมินของผู้ประกอบโรคศิลปะ-แพทย์(หมอ) article
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง article
คำสั่งกรมสรรพากร. ที่ป.161/2566. เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี