ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี ปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,รับทำบัญชี,รับตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนธุรกิจ,ว่าความ,ผู้สอบบัญชี,สมุทรปราการ,ภาษี,กฏหมาย,แนวการสอบบัญชี,ธุรกิจเอสเอ็มอี
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
ปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี

 

กรณีถูกจำกัดขอบเขต
 

1.

หากจะรายงานว่าไม่แสดงความเห็นต่อสินค้าคงเหลือเนื่องจากไม่ได้ตรวจนับทำให้ไม่สามารถแสดงความเห็นต่อทั้งงบได้  ไม่ทราบบัญชีอื่นที่ไม่ใช่สินค้าคงเหลือ  จำเป็นต้องตรวจอีกหรือไม่

 

แนวคำตอบ

            การรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  กรณีที่ไม่แสดงความเห็น  จะเพิ่ม วรรคอธิบายการถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ  ปัญหาต่อการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ  หรือมีความไม่แน่นอนอื่น  ต่อท้ายวรรคขอบเขต  และการไม่แสดงความเห็นจะอ้างอิงถึงวรรคอธิบายนั้น ๆ  โดยถ้าสินค้าคงเหลือมีสาระสำคัญก็รายงานมีเงื่อนไขเฉพาะสินค้าคงเหลือแต่ถ้ามีสาระสำคัญมาก  ผู้สอบบัญชีควรไม่แสดงความเห็นต่อรายการทั้งหมดในงบการเงิน  อย่างไรก็ตามบัญชีอื่นที่ไม่ใช่สินค้าคงเหลือผู้สอบบัญชีจำเป็นต้องตรวจสอบด้วย

 

2.

กรณีไม่มีบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ตรวจสอบหรือมีแต่ไม่ครบถ้วน  ทำให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตัดสินใจไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้  (ดูหมายเหตุ)

(วรรคนำ)

            ข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เข้าทำการตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 และงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท  กขค จำกัด  ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้

 

(วรรคขอบเขต-ไม่ต้องเขียน)

หมายเหตุ

            แนวการเขียนรายงานการสอบบัญชีที่ให้ไว้ในที่นี้ ตั้งแต่ข้อ 2 กรณีถูกจำกัดขอบเขต จนถึงข้อ 3 กรณีถูกจำกัดขอบเขตและไม่ปฏิบัติตามหลักการบัญชี  คัดลอกมาจากตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งจัดทำโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

 

(วรรคอธิบาย)

            ผู้บริหารของบริษัทได้ชี้แจงว่า  เอกสารประกอบการลงบัญชีของบริษัทส่วนใหญ่ได้สูญหาย ในสถานการณ์เช่นนี้  ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถ  ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปได้  ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544

 

3.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่สามารถตรวจนับเงินสดต้นปีและสิ้นปี  และเงินสดมีสาระสำคัญต่องบการเงิน แต่ตรวจรายการอื่น ๆ ได้จนเป็นที่พอใจ จะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

 (วรรคนำ)

            ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 และงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด  ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลใน  งบการเงินเหล่านี้  ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่อ งบการเงินดังกล่าว จากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า

 

(วรรคขอบเขต)

            ยกเว้นที่กล่าวในวรรคที่สาม ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐาน…(ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

 (วรรคอธิบาย)

            ข้าพเจ้าไม่ได้ตรวจนับเงินสดยกมาต้นปี 2544  จำนวน X บาท และเงินสดคงเหลือสิ้นปีตามที่แสดงในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544  จำนวน Y  บาท เนื่องจาก ณ วันนั้นข้าพเจ้ายังมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท  โดยข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2545 และข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการ ตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับยอดเงินสดดังกล่าว

 

(วรรคความเห็น)

            ข้าพเจ้าเห็นว่ายกเว้นผลของการปรับปรุงงบการเงิน  ซึ่งอาจจำเป็นถ้าข้าพเจ้าสามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจในจำนวนเงินสดคงเหลือตามที่อธิบายในวรรคที่สาม  งบการเงินข้างต้นแสดงฐานะการเงิน  ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544  และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

4.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่สามารถเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือทั้งต้นงวดและปลายงวด  ซึ่งมีสาระสำคัญ   แต่ตรวจรายการอื่น ๆ  ได้จนเป็นที่พอใจ  จะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            วรรคนำ-เขียนแบบปกติ

 

(วรรคขอบเขต)

            ยกเว้นที่กล่าวในวรรคที่สาม  ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐาน… (ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

(วรรคอธิบาย)

            ข้าพเจ้าไม่ได้เข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือต้นงวดตามที่แสดงในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543  จำนวน X  บาท และสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544  จำนวน Y บาท เนื่องจาก ณ วันนั้นข้าพเจ้ายังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการ  โดยข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2545 และข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจในปริมาณของสินค้าคงเหลือดังกล่าวได้  ซึ่งมูลค่าของสินค้าคงเหลือทั้งต้นงวด  และสิ้นงวดนั้นมีสาระสำคัญต่องบการเงิน

 

(วรรคความเห็น)

            ข้าพเจ้าเห็นว่า  ยกเว้นผลของการปรับปรุงงบการเงินที่อาจจำเป็น ถ้าข้าพเจ้าสามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือต้นงวดและปลายงวดได้ ตามที่อธิบายในวรรคที่สาม งบการเงินข้างต้นแสดง

 (ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

5.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่สามารถเข้าสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือทั้งต้นงวด และปลายงวด  แต่สินค้าคงเหลือมีสาระสำคัญมาก  จึงไม่แสดงความเห็น จะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

(วรรคนำ)

            ข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เข้าทำการตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 และงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัดซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้

 

(วรรคขอบเขต-ไม่ต้องเขียน)

 

(วรรคอธิบาย)

            ข้าพเจ้าไม่ได้เข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือต้นงวดตามที่แสดงในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน X บาท และสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 จำนวน Y  บาท เนื่องจาก ณ วันนั้นข้าพเจ้ายังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการ โดยข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2545 และข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจในปริมาณของสินค้าคงเหลือดังกล่าวได้ซึ่งมูลค่าสินค้าคงเหลือทั้งต้นงวดและสิ้นงวดนั้น มีสาระสำคัญอย่างมากต่อฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท

 

(วรรคความเห็น)

            เนื่องจากข้าพเจ้าไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือต้นงวดและปลายงวด ซึ่งมีสาระสำคัญมากตามที่อธิบายในวรรคที่สอง ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท กขค จำกัด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544

 

 

6.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่สามารถเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือต้นงวดและปลายงวด แต่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้พอใจเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ  ปลายงวด สินค้าคงเหลือต้นงวดมีสาระสำคัญมาก  จึงตัดสินใจไม่แสดงความเห็นต่องบกำไรขาดทุนแต่สามารถแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขต่องบดุลได้  จะเขียน  รายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

(วรรคนำ)

            ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 และได้รับแต่งตั้งให้ตรวจสอบงบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค  จำกัด ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าว จากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า

 

(วรรคขอบเขต)

            นอกจากที่กล่าวในวรรคที่สาม  ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตาม(ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

(วรรคอธิบาย)

            ข้าพเจ้าไม่ได้เข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 ซึ่งเป็นสินค้าต้นงวดของงบการเงิน ปี 2544  ทั้งนี้เนื่องจาก ณ วันนั้นข้าพเจ้ายังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีของ

 

7.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่สามารถยืนยันยอดลูกหนี้หรือเจ้าหนี้คงเหลือสิ้นปี ซึ่งมีสาระสำคัญต่องบการเงิน จึงตัดสินใจแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข จะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            วรรคนำ-ข้อความปกติ

(วรรคขอบเขต)

            ยกเว้นที่กล่าวในวรรคที่สามข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตาม(ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

(วรรคอธิบาย)

            ข้าพเจ้าไม่สามารถขอคำยืนยันยอดลูกหนี้การค้า จำนวน……………..บาท ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม จำนวน……………..บาท และเจ้าหนี้เงินกู้ จำนวน………..บาท  ที่แสดงในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544  เนื่องจากหลักฐานทางบัญชีมีรายละเอียดไม่เพียงพอว่าลูกหนี้และเจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นใคร และเป็นหนี้จำนวนเท่าใด และข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่  พอใจเกี่ยวกับยอดลูกหนี้ และเจ้าหนี้ดังกล่าวได้

 

(วรรคความเห็น)

กิจการและข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นใด เพื่อให้ได้หลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับปริมาณของสินค้าคงเหลือดังกล่าวได้  ซึ่งมูลค่าของสินค้าคงเหลือต้นงวดนั้น  มีสาระสำคัญมากต่อการวัดผลการดำเนินงานของปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544

 

(วรรคความเห็น)

            เนื่องจากข้าพเจ้าไม่สามารถตรวจสอบให้ได้หลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือต้นงวดซึ่งมีสาระสำคัญมาก ตามที่อธิบายในวรรคที่สาม ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าเห็นว่างบดุลที่กล่าวในวรรคแรกแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 ของบริษัท กขค จำกัด โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

            ข้าพเจ้าเห็นว่ายกเว้นผลของรายการปรับปรุงงบการเงินที่อาจจำเป็น ถ้าข้าพเจ้าสามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับกับยอดลูกหนี้การค้าและลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและเจ้าหนี้เงินกู้  ตามที่อธิบายในวรรคที่สามงบการเงินข้างต้นแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

8.

กิจการบันทึกรายการเงินสดและรายการบัญชีเงินฝากธนาคารกระแสรายวันปนกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้  ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบให้แน่ใจในประเด็นต่าง ๆ(ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตัดสินใจรายงานอย่างมีเงื่อนไขหรือไม่แสดงความเห็นขึ้นอยู่กับสาระสำคัญของรายการที่ไม่สามารถตรวจสอบให้พอใจ โดย วรรคอธิบายอาจพิจารณาเขียนดังนี้  บริษัทได้บันทึกรายการบัญชีที่เกี่ยวกับการรับเงินและจ่ายเงินที่เป็นเงินสดและที่ผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวันปนกันโดยไม่แยกว่ารายการใดเป็นเงินสดรายการใด้ผ่านบัญชีกระแสรายวัน  ในสถานการณ์เช่นนี้ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจว่า (อธิบายถึงรายการและประเด็นที่ไม่สามารถตรวจสอบให้พอใจ)

 

9.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่สามารถหาหลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับยอดขาย กรณีนี้จะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขหรือไม่แสดงความเห็นขึ้นอยู่กับสาระสำคัญของรายการที่ไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจ  โดย วรรคอธิบายอาจพิจารณาเขียนดังนี้

          ข้าพเจ้าไม่สามารถตรวจสอบให้ได้มาซึ่งหลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับยอดขายที่แสดงในกำไรขาดทุน สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ทั้งนี้ เนื่องจากได้พบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการขายสินค้าจำนวนหนึ่งของปี 2544 ซึ่งบริษัทมิได้บันทึกบัญชีไว้ และมีหลักฐานอื่น ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า บริษัทบันทึกรายการขายไว้ไม่ครบถ้วน แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถตรวจสอบให้พอใจได้ว่ารายการขายทั้งหมดที่ไม่ได้บันทึกบัญชีมีจำนวนเงินเท่าใด

 

10.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับยอดขายและต้นทุนขาย เนื่องจากผลการวิเคราะห์อัตรากำไรขั้นต้นแสดงอัตราที่ผิดปกติอย่างมากโดยไม่อาจอธิบายได้  กรณีนี้จะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขหรือไม่แสดงความเห็นขึ้นอยู่กับสาระสำคัญ ของรายการที่ไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจ โดย วรรคอธิบายอาจพิจารณาเขียน ดังนี้

            ข้าพเจ้าไม่สามารถตรวจสอบให้ได้หลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับยอดขาย และต้นทุนขายที่แสดงในงบกำไรขาดทุน จำนวน…บาท และ…บาทตามลำดับ เนื่องจากผลการวิเคราะห์อัตรากำไรขั้นต้นชี้ให้เห็นว่า อัตรากำไรขั้นต้นที่คำนวณจากงบการเงินเท่ากับ 2% ในขณะที่   กิจการกำหนดราคาขายสินค้าโดยเฉลี่ยให้มีกำไรขั้นต้น ระหว่าง 20-30%  ดังนั้น  ยอดขาย/หรือต้นทุนขายอาจขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างเป็นสาระสำคัญ  อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารของกิจการไม่อาจให้คำอธิบายถึงสาเหตุที่อัตรากำไรขั้นต้นมีความแตกต่าง

 

11.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตขอบเขตถูกจำกัดใน 2 เรื่อง  คือ ไม่ได้ตรวจนับเงินสดยกมา  ต้นปี และปลายปี และไม่สามารถยืนยันยอดลูกหนี้และเจ้าหนี้คงเหลือสิ้นปี ทำให้  ไม่สามารถแสดงความเห็นต่องบการเงิน จะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

(วรรคนำ)

            ข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เข้าทำการตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544              และงบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้

 

(วรรคขอบเขต-ไม่ต้องเขียน)

(วรรคอธิบาย)

            ข้าพเจ้าไม่ได้ตรวจนับเงินสดยกมาต้นปี 2544 จำนวน …………บาท และเงินสดคงเหลือสิ้นปีตามที่แสดงในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 จำนวน…………บาท เนื่องจาก ณ วันนั้นข้าพเจ้ายังมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท โดยข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2545 และข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับยอดเงินสดดังกล่าว

 

(วรรคอธิบาย)

            ข้าพเจ้าไม่สามารถขอคำยืนยันยอดลูกหนี้การค้า จำนวน …………..บาท ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม จำนวน …………..บาทและเจ้าหนี้เงินกู้ จำนวน ………..บาท ที่แสดงในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 เนื่องจากหลักฐานทางบัญชีมีรายละเอียดไม่เพียงพอว่าลูกหนี้และเจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นใครและเป็นหนี้จำนวนเท่าใด  และข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับยอดลูกหนี้ และเจ้าหนี้ดังกล่าวได้

 

(วรรคความเห็น)

            เนื่องจากข้าพเจ้าไม่สามารถตรวจสอบให้ได้หลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับรายการต่างๆตามที่อธิบายในวรรคที่สองและสาม  ขอบเขตการตรวจสอบของข้าพเจ้าจึงไม่เพียงพอเพื่อให้

            ข้าพเจ้าสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงิน  ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ของบริษัท กขค จำกัด

 

กรณีไม่ปฏิบัติตามหลักการบัญชี

 

1.

ไม่บันทึกที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการและสินทรัพย์อื่นๆบางรายการ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

          รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            วรรคนำและวรรคขอบเขตข้อความปกติ

 

(วรรคอธิบาย)

            บริษัทมิได้บันทึกที่ดินแปลงหนึ่ง  ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการตลอดจนสินทรัพย์อื่นได้แก่(ระบุประเภท)และ…(ซึ่งมีอยู่ที่บริษัทและผู้บริหารชี้แจงว่าเป็นสินทรัพย์ของบริษัท)ไว้ในบัญชีเป็นผลให้งบการเงินของกิจการแสดงสินทรัพย์และรายการอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์เหล่านั้นไม่ถูกต้องและครบถ้วน  ที่ดินดังกล่าวมีราคาทุน….บาทตามหลักฐานสัญญาการซื้อขาย  ส่วนสินทรัพย์อื่นดังกล่าวไม่ปรากฏหลักฐานการซื้อแต่อาจมีมูลค่าที่เป็นสาระสำคัญต่องบการเงิน ซึ่งถ้าบริษัทไม่ปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องและครบถ้วน  งบการเงินอาจแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ต่างไปจากที่แสดงอยู่อย่างเป็น(สาระสำคัญ/สาระสำคัญมาก)

 

(วรรคความเห็น-กรณีผลกระทบมีสาระสำคัญ)

            ข้าพเจ้าเห็นว่ายกเว้นผลกระทบต่องบการเงินของการบันทึกสินทรัพย์และรายการอื่นที่เกี่ยวข้องไว้ไม่ครบถ้วนตามที่อธิบายในวรรคที่สาม  งบการเงินดังกล่าวข้างต้นแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25xx และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

(วรรคความเห็น-กรณีผลกระทบมีสาระสำคัญมาก)

            ข้าพเจ้าเห็นว่าเนื่องจากรายการสินทรัพย์ต่างๆที่บริษัทมิได้บันทึกบัญชีไว้ดังกล่าวในวรรคที่สามมีสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงิน  งบการเงินดังกล่าวข้างต้นมิได้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25xx และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

2.

บริษัทไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการบัญชี  ซึ่งข้อมูลที่ไม่เปิดเผยนั้น ทำให้งบการเงินเปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพออย่างเป็นสาระสำคัญ  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            วรรคนำ/วรรคขอบเขต-ข้อความปกติ

 

            บริษัทมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นซึ่งเกิดจากการค้ำประกันหนี้สินต่างๆของบริษัทที่เกี่ยวข้องกันหลายแห่งรวมเป็นเงินทั้งสิ้น X ล้านบาท  แต่บริษัทมิได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าวไว้ในงบการเงินให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

(วรรคความเห็น)

ข้าพเจ้าเห็นว่ายกเว้นการไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวรรคก่อนงบการเงินข้างต้นแสดง(ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

3.

บริษัทไม่จัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

          วรรคนำ/วรรคขอบเขต-ข้อความปกติ

 

(วรรคอธิบาย)

            บริษัทมิได้จัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขายให้เป็นไปตามข้อกำหนดชอง…ซึ่งอาจมีผลทำให้บริษัทต้อง..เป็นจำนวนเงินประมาณ…บาท  อย่างไรก็ตาม  บริษัทมิได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นไว้ในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป  ซึ่งมีผลให้กำไรสุทธิแสดงสูงไป…บาท หนี้สินต่ำไป…บาท

 

(วรรคความเห็น – กรณีผลกระทบมีสาระสำคัญ)

            ข้าพเจ้าเห็นว่ายกเว้นผลต่องบการเงินของเรื่องที่กล่าวในวรรคที่สามงบการเงินข้างต้นแสดง(ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

4.

กรณีชำระค่าหุ้นไม่สอดคล้องกับหลักฐานทางทะเบียน  แต่ผลกระทบต่องบการเงินไม่มีสาระสำคัญ  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            วรรคนำ/วรรคขอบเขต-ข้อความปกติ

 

(วรรคอธิบาย)

            ทุนจดทะเบียนออกจำหน่ายและชำระแล้วที่แสดงในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 มีรายละเอียดไม่ตรงกับ….(อธิบายให้เห็นว่าแตกต่างกันอย่างไร)  อย่างไรก็ตามความ  แตกต่างดังกล่าวไม่มีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญต่องบการเงิน

 

(วรรคความเห็น – ไม่มีเงื่อนไข)

            ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินดังกล่าวข้างต้นแสดง ..(ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

5.

กรณีชำระค่าหุ้นไม่สอดคล้องกับหลักฐานทางทะเบียน  แต่ผลกระทบต่องบการเงินมีสาระสำคัญ  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            วรรคนำ/วรรคขอบเขต-ข้อความปกติ

 

(วรรคอธิบาย)

            ทุนจดทะเบียนออกจำหน่ายและชำระแล้วที่แสดงในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 มีรายละเอียดไม่ตรงกับ….ถ้าหากกิจการได้ ปรับปรุงให้ถูกต้อง(อธิบายผลกระทบต่อบุคคล)(วรรคความเห็น )

            ข้าพเจ้าเห็นว่า  ยกเว้นผลกระทบของเรื่องที่กล่าวในวรรคก่อนงบการเงินดังกล่าวข้างต้นแสดง(ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

6.

บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่ำไป  และไม่ได้บันทึกบัญชีหนี้สินภาษีที่ถูกประเมินย้อนหลัง  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            วรรคนำ/วรรคขอบเขต-ข้อความปกติ

 

(วรรคอธิบาย)

            ลูกหนี้การค้าที่แสดงในงบดุลจำนวน ……. บาท รวมลูกหนี้ที่ค้างชำระนานซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าบริษัทควรตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน210,000 บาท แต่ผู้บริหารของกิจการเห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องตั้งค่าเผื่อ  นอกจากนี้ตามที่อธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ…  เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 ศาลฎีกาได้ตัดสินให้บริษัทแพ้คดีต่อกรมสรรพากรเกี่ยวกับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของปีก่อนๆเพิ่มเติม เป็นเงิน 400,000 บาท  อย่างไรก็ตามบริษัทมิได้บันทึกหนี้สินไว้ในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ถ้าบริษัทได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยสูญและบันทึกหนี้สินภาษีเงินได้ดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป  กำไรสุทธิและกำไรสะสมจะลดลง 610,000 บาท ลูกหนี้การค้า  และยอดรวมสินทรัพย์จะลดลง 210,000 บาท และยอดรวมหนี้สินจะสูงขึ้น 400,000 บาท

 

(วรรคความเห็น – กรณีผลกระทบมีสาระสำคัญ)

            ข้าพเจ้าเห็นว่ายกเว้นผลกระทบต่องบการเงินของเรื่องดังกล่าวในวรรคที่สาม  งบการเงินข้างต้นแสดง(ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

(วรรคความเห็น – กรณีผลกระทบมีสาระสำคัญมาก)

            ข้าพเจ้าเห็นว่า  เนื่องจากเรื่องดังกล่าวในวรรคที่สามมีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงิน  งบการเงินที่กล่าวในวรรคแรกมิได้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด โดยถูกต้องตามที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

กรณีถูกจำกัดขอบเขตและไม่ปฏิบัติตามหลักการบัญชี

 

1.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่สามารถตรวจนับเงินสดต้นปีและสิ้นปี  ซึ่งมีสาระสำคัญ และบริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่ำไป  รวมทั้งไม่ได้บันทึกบัญชีหนี้สินภาษีที่ถูกประเมินย้อนหลัง  ซึ่งมีสาระสำคัญ  จะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            เขียนวรรคนำโดยใช้ข้อความปกติ

 

(วรรคขอบเขต)

            นอกจากที่กล่าวในวรรคที่สาม  ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบ(ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

(วรรคอธิบาย)

            ข้าพเจ้าไม่ได้ตรวจนับเงินสดยกมาต้นปี 2544  จำนวน x บาท และเงินสดคงเหลือสิ้นปีตามที่แสดงในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 จำนวน y บาท เนื่องจากวันนั้นข้าพเจ้ายังมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท  โดย ข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 และข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับยอดเงินสดดังกล่าว

 

(วรรคอธิบาย)

            ลูกหนี้การค้าที่แสดงในงบดุลจำนวน ……. บาท   รวมลูกหนี้ที่  ค้างชำระนานซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าบริษัทควรตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จำนวน 210,000 บาท แต่ผู้บริหารของกิจการเห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องตั้งค่าเผื่อ  นอกจากนี้ตามที่อธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ…. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 ศาลฎีกาได้ตัดสินให้บริษัทแพ้คดีต่อกรมสรรพากรเกี่ยวกับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของปีก่อนๆเพิ่มเติม เป็นเงิน  400,000 บาท  อย่างไรก็ตามบริษัทมิได้บันทึกหนี้สินไว้ในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ถ้าบริษัทได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยสูญและบันทึกหนี้สินภาษีเงินได้ดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป  กำไรสุทธิและกำไรสะสมจะลดลง 610,000 บาท ลูกหนี้การค้า และยอดรวมสินทรัพย์จะลดลง 210,000 บาท และยอดรวมหนี้สินจะสูงขึ้น 400,000 บาท

 

(วรรคความเห็น)

            ข้าพเจ้าเห็นว่ายกเว้นผลของการปรับปรุงงบการเงิน ซึ่งอาจจำเป็นถ้าข้าพเจ้าสามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจในจำนวนเงินสดคงเหลือตามที่อธิบายในวรรคที่สาม และยกเว้นผลกระทบต่องบการเงินของเรื่องการปฏิบัติผิดหลักการบัญชีตามที่อธิบายในวรรคที่สี่งบการเงินข้างต้นแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

2.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่สามารถเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือทั้งต้นปีและสิ้นปี  ซึ่งมีสาระสำคัญมาก และบริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่ำไป รวมทั้งไม่ได้บันทึกบัญชีหนี้สินภาษีที่ถูกประเมินย้อนหลัง  ซึ่งมีสาระสำคัญกรณีนี้จะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้ 

            วรรคนำใช้ข้อความ ดังนี้

            ข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เข้าทำการตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 แลงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด  ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้

 

(วรรคขอบเขตไม่ต้องเขียน)

(วรรคอธิบาย)

            ข้าพเจ้าไม่ได้เข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือต้นงวดที่แสดงในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน x บาท และสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 จำนวน y บาท เนื่องจาก ณ วันนั้น  ข้าพเจ้ายังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการ  โดยข้าพเจ้า   ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2545  และข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจในปริมาณสินค้าคงเหลือดังกล่าวได้  ซึ่งมูลค่าสินค้าทั้งต้นงวดและสิ้นงวดนั้นมีสาระสำคัญอย่างมากต่อฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัทนอกจากนี้ตามที่อธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ … เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 ศาลฎีกาได้ตัดสินให้บริษัทแพ้คดีต่อกรมสรรพากรเกี่ยวกับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของปีก่อนๆ เพิ่มเติม เป็นเงิน 400,000 บาท  อย่างไรก็ตามบริษัทมิได้บันทึกหนี้สินไว้ในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ถ้าบริษัทได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยสูญและบันทึกหนี้สินภาษีเงินได้ดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป  กำไรสุทธิและกำไรสะสมจะลดลง  610,000  บาท  ลูกหนี้การค้า  และยอดรวมสินทรัพย์จะลดลง 210,000 บาท  และยอดรวมหนี้ สินจะสูงขึ้น 400,000 บาท

 

(วรรคความเห็น)

            เนื่องจากข้าพเจ้าไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือต้นงวดและปลายงวด  ซึ่งมีสาระสำคัญมากตามที่อธิบายในวรรคที่สอง  ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท กขค จำกัด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544

 

3.

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่สามารถยืนยันยอดลูกหนี้เจ้าหนี้คงเหลือสิ้นปี  ซึ่งมีสาระสำคัญ และบริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่ำไป  รวมทั้งไม่ได้บันทึกบัญชีหนี้สินภาษีที่ถูกประเมินย้อนหลังซึ่งมีสาระสำคัญมาก กรณีนี้จะเขียนรายงานการสอบบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายงานการสอบบัญชี ดังนี้

            เขียนวรรคนำโดยใช้ข้อความปกติ

 

(วรรคขอบเขต)

            นอกจากที่กล่าวในวรรคที่สาม  ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบ..(ข้อความปกติจนจบวรรค)

 

            ข้าพเจ้าไม่สามารถขอคำยืนยันยอดลูกหนี้การค้าจำนวน … บาท  ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมจำนวน … บาท และเจ้าหนี้เงินกู้จำนวน…. บาท ที่แสดงในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544    เนื่องจากหลักฐานทางบัญชีมีรายละเอียดไม่เพียงพอว่าลูกหนี้และเจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นใครและ เป็นหนี้จำนวนเท่าใด  และข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับยอด ลูกหนี้และเจ้าหนี้ดังกล่าวได้

 

(วรรคอธิบาย)

            ลูกหนี้การค้าที่แสดงในงบดุลจำนวน ……. บาท รวมลูกหนี้ที่ค้างชำระนานซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าบริษัทควรตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จำนวน 210,000 บาทแต่ผู้บริหารของกิจการเห็นว่ายังไม่เป็นต้องตั้งค่าเผื่อ  นอกจากนี้ตามที่อธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ … เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 ศาลฎีกาได้ตัดสินให้บริษัทแพ้คดีต่อกรมสรรพากรเกี่ยวกับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของปีก่อนๆเพิ่มเติม เป็นเงิน400,000 บาท  อย่างไรก็ตามบริษัทมิได้บันทึกหนี้สินไว้ในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ถ้าบริษัทได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยสูญและบันทึกหนี้สินภาษีเงินได้ดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปกำไรสุทธิและกำไรสะสมจะลดลง 610,000 บาท ลูกหนี้การค้า  และ  ยอดรวมสินทรัพย์จะลดลง 210,000 บาท และยอดรวมหนี้สินจะสูงขึ้น 400,000 บาท

 

(วรรคความเห็น)

            ข้าพเจ้าเห็นว่า  เนื่องจากเรื่องดังกล่าวในวรรคที่สี่ มีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงิน  งบการเงินที่กล่าวในวรรคแรกมิได้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด โดยถูกต้องตามที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

 

ปัญหาอื่นๆ

 

1.

กรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่ตรวจนับเงินสดซึ่งมีสาระสำคัญ  ผู้สอบบัญชีจะรายการการสอบบัญชีแบบไม่แสดงความเห็น  อยากทราบว่าการที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นนั้นเป็นการไม่แสดงความเห็นเฉพาะเงินสดอย่างเดียวหรือไม่แสดงความเห็นต่อรายการทั้งหมดของงบการเงิน

 

แนวคำตอบ

            การที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจในความถูกต้องของรายการเงินสดได้  ไม่ว่าจะโดยสถานการณ์ เช่น ผู้สอบบัญชีได้รับแต่งตั้งภายหลังวันที่ในงบดุล หรือโดยลูกค้าเช่นลูกค้าไม่อนุญาตให้เข้าทำการตรวจนับเงินสดถือได้ว่างานของผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขต  ผู้สอบบัญชีอาจแสดงความเห็นต่องบการเงินอย่างมีเงื่อนไขหรือไม่แสดงความเห็นก็ได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความมีสาระสำคัญของรายการดังกล่าวที่มีผลกระทบต่องบการเงิน

 

2.

อยากทราบว่าหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ตรวจสอบกิจการประเภทห้างหุ้นส่วน ฯ ในรอบบัญชีปี 2545 นี้จะต้องออกเหมือนกับหน้ารายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร หรือไม่เพราะสอบถามไปหลายที่แล้วก็ไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน บ้างก็บอกว่าต้องออกหน้ารายงานเหมือนกับผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากรบ้างก็บอกว่าถ้าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบกิจการประเภทห้างหุ้นส่วนก็ให้ออกหน้ารายงานเป็นของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่เกี่ยวกับผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร

 

แนวคำตอบ

            เรื่องการรับรองงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้าน บาท และสินทรัพย์รวม 30ล้านบาทและ รายได้รวม 30ล้านบาทที่ส่งกระทรวงพาณิชย์ไม่ต้องมีหน้ารายงาน(ยื่นเฉพาะงบการเงินเท่านั้น) แต่ที่ยื่นที่กรมสรรพากรต้องมีหน้ารายงานซึ่งต้องมีผู้สอบบัญชีภาษีอากรหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้แต่ต้องปฏิบัติการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามแนวทางที่กรมสรรพากรกำหนดกล่าวคือต้องออกรายงานตามแบบประกาศของกรมสรรพากร

 

3.

การรับงานสอบบัญชีเป็นปีแรกโดยเฉพาะการรับงานสอบบัญชีธุรกิจที่เคยใช้ผู้สอบบัญชีที่รับจ้างลงลายมือชื่อ (มือปืนรับจ้าง) ในปีก่อน  ควรแสดงความเห็นต่องบการเงินอย่างใด

 

แนวคำตอบ

            การรับงานสอบบัญชีธุรกิจที่เคยใช้ผู้สอบบัญชีที่รับจ้างลงลายมือชื่อ(มือปืนรับจ้าง) ในปีก่อน  ผู้สอบบัญชีต้องตรวจสอบความถูกต้องของยอดยกมาต้นงวดเกี่ยวกับความมีตัวตน มูลค่า และความถูกต้องของสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของ  ตามมาตรฐานการสอบบัญชีและแสดงความเห็นต่องบการเงินว่าถูกต้องเพียงใดหรือไม่แล้วแต่กรณี  หากผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับความถูกต้องของรายการที่ยกมาจากปีก่อน  หรือธุรกิจไม่ยอมปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องตามข้อเสนอแนะของผู้สอบบัญชีผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็น โดยมีเงื่อนไขหรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง  หรือรายงานว่าไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความมีสาระสำคัญของเรื่องที่ไม่ถูกต้อง  หรือเรื่องที่ไม่สามารถตรวจสอบได้แล้วแต่กรณี

 

4.

หน้ารายงานของผู้สอบบัญชี  สำหรับงบการเงินของห้างหุ้นส่วนที่จะเลิกต้องใช้หน้ารายงานแบบใดระหว่างแบบของผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่เป็นแบบ 5 ข้อ  หรือแบบของผู้สอบเดิมที่เป็นแบบ 3 วรรค

 

แนวคำตอบ

            ใช้หน้ารายงานแบบรายงานผู้สอบบัญชี 3 วรรค  ตามรูปแบบท้ายประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 41(พ.. 2541 )  โดยอาจพิจารณาปรับปรุงถ้อยคำให้สอดคล้องกัน

 

5.

ยากทราบเรื่องการลงวันที่ในรายงานผู้สอบบัญชี  ผู้สอบบัญชีสามารถลงวันที่ย้อนหลังในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีได้หรือไม่

 

แนวคำตอบ

            ผู้สอบบัญชีควรใช้วันสิ้นสุดการตรวจสอบเป็นวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นการแจ้งให้ผู้ใช้งบการเงินทราบว่าผู้สอบบัญชีได้พิจารณาผลกระทบต่องบการเงินและรายงานถึงเหตุการณ์หรือรายการที่ได้เกิดขึ้นจนถึงวันที่สิ้นสุดการตรวจสอบแล้ว  ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัสที่ 700รายงานของผู้สอบบัญชีต่องบการเงิน

 

6.

หน้ารายงานของผู้สอบบัญชีต้องกล่าวถึง การดำรงอยู่ของกิจการหรือไม่

 

แนวคำตอบ

            ในการปฏิบัติงานตรวจสอบผู้สอบบัญชีควรพิจารณาความเหมาะสมของการใช้ข้อสมมติ เรื่อง การดำเนินงานต่อเนื่อง ( Going Concern) ของกิจการซึ่งผู้บริหารใช้ในการจัดทำงบการเงินเพื่อพิจารณาในเรื่องความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญ  ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินการต่อเนื่องของกิจการ  ทั้งนี้ ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานผู้สอบบัญชีจะดำเนินการ  ดังนี้   

            1) หากไม่พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอน  ซึ่งอาจมีผลกระทบต่องบ การเงินอย่างมีสาระสำคัญ  ผู้สอบบัญชีไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเรื่องความ สามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการไว้ในรายงานของผู้สอบบัญชี และสามารถแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขต่องบการเงินสำหรับกรณีดังกล่าวได้

            2) หากพบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอนซึ่งอาจมีผลกระทบต่องบการ

เงินอย่างมีสาระสำคัญถึงแม้ว่ากรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นสถานการณ์ที่กระทบต่อรูปแบบการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีแต่ผู้สอบบัญชีควรเปลี่ยนแปลงรายงานการสอบบัญชีโดยเพิ่มวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์  เพื่อเน้นเรื่องความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งระบุไว้ในหน้ารายงานโดยให้สังเกตหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เปิดเผยเรื่องดังกล่าวด้วย

           3) หากเหตุการณ์ตาม 2) มีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ อย่างร้ายแรง ผู้สอบบัญชีควรเสนอรายงานการสอบบัญชีแบบไม่แสดงความเห็น

ที่มาของข้อมูล : สภาวิชาชีพบัญชี







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี