ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการงบการเงิน สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,รับทำบัญชี,รับตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนธุรกิจ,ว่าความ,ผู้สอบบัญชี,สมุทรปราการ,ภาษี,กฏหมาย,แนวการสอบบัญชี,ธุรกิจเอสเอ็มอี
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใช้ 1 มกราคม 2554 - 31 ธันวาคม 2566)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม)
bulletคำชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2566
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการงบการเงิน

 

1.

ตามที่กรมทะเบียนการค้าได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน  .. 2544 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.. 2544  ออกตามความในมาตรา 11  วรรคสอง  ของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.. 2543  กำหนดให้งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องมีรายการย่อ  อะไรบ้าง

 

แนวคำตอบ

            งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดไว้  ดังต่อไปนี้

  1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน  ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 1
  2. บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 2
  3. บริษัทมหาชนจำกัด  ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ
  4. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ  ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 4
  5. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร  ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 5

2.

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2  (..2519) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 (ปว. 285) กำหนดการแสดงรายการและการเปิดเผยรายการเป็นจำนวนร้อยละของยอดรวม  ซึ่งแตกต่างกับประกาศ  เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินซึ่งไม่ได้กำหนดจำนวนร้อยละของยอดรวม ดังนั้นปัจจุบันกิจการจำเป็นต้องแสดงรายการที่สำคัญไว้เป็นจำนวนร้อยละของยอดรวมหรือไม่อย่างไร

 

แนวคำตอบ

            กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (..2519) ตาม ปว. 285 เดิม กำหนดสาระสำคัญของการเปิดเผยแต่ละรายการเป็นจำนวนร้อยละของยอดรวม  แต่ประกาศ เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินไม่ได้กำหนดสาระสำคัญของการแสดงเป็นจำนวนร้อยละของยอดรวมไว้  เพียงแต่แสดงรายการตามที่กำหนดไว้ในรายการย่อเท่านั้น  อย่างไรก็ตามหากกิจการจะประสงค์จะแสดงเพิ่มเติม  ก็กระทำได้โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและความเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน

 

3.

เงินลงทุนในบริษัทอื่น 99.90%  ต้องทำงบการเงินรวม  หรือไม่  ถ้าไม่ทำจะมีความผิดหรือไม่  (กรณีบริษัทไม่ได้คิดจะขายหุ้นหรือจูงใจให้ใครมาร่วมลงทุนด้วย)

 

แนวคำตอบ

            ตามประกาศ เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.. 2544  พระราชบัญญัติการบัญชี พ.. 2543  และจากที่สมาคมนักบัญชีฯ มีประกาศ เรื่อง มาตรฐานการบัญชีที่ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด  ดังนั้น ในกรณีของบริษัทมหาชนจำกัดที่มีเงินลงทุนในบริษัทอื่นซึ่งเข้าตามเงื่อนไข  ต้องจัดทำงบการเงินรวมตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 เรื่องงบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยจะต้องจัดทำงบการเงินรวม  มิฉะนั้นจะมีความผิด ตาม พ... การบัญชี  ..2543

4.

กรณีบริษัทไม่ได้ดำเนินการ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกกิจการ จะต้องจัดทำงบการเงินเปรียบเทียบหรือไม่

 

แนวคำตอบ

            ต้องทำงบการเงินเปรียบเทียบ  ถึงแม้ว่าจะเป็นบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินการแล้วก็ตาม ทั้งนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ผ่อนผันให้จัดทำงบการเงินเปรียบเทียบ  สำหรับงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2546  เป็นต้นไป

5.

ถ้าทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นแล้ว  ไม่ต้องทำงบกำไรสะสมแล้วใช่หรือไม่  งบกำไรสะสมไม่มีอยู่ในมาตรฐานการบัญชีแล้วใช่ไหม  และใช้งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นแทนแล้วใช่หรือไม่

 

แนวคำตอบ

            ประกาศ  เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.. 2544 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35  เรื่อง การนำเสนองบการเงินไม่ได้กำหนดให้ธุรกิจต้องจัดทำงบกำไรสะสม

6.

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นใช่งบกำไรสะสมหรือไม่ 

 

แนวคำตอบ

            งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่ใช่งบกำไร

7.

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ต้องจัดทำในรูปแบบที่กำหนดมาให้หรือไม่  หากบรรทัดใดไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่มีรายการนั้น จะไม่แสดงบรรทัด นั้นได้หรือไม่

 

แนวคำตอบ

            ต้องจัดทำตามรูปแบบที่กำหนดโดยอาจเลือกจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นหรืองบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จก็ได้  หากไม่มีรายการใดก็ไม่ต้องแสดงรายการนั้นได้

8.

การจัดทำงบการเงินของบริษัทตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสำหรับงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จกับงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น มีความแตกต่างกันอย่างไรและเวลาที่จะเลือกว่าจะแสดงงบการเงินใดในรายงานประจำปีจะใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินงบการเงินทั้งสอง  ให้ประโยชน์กับผู้ใช้งบการเงินแตกต่างกันอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            ตามประกาศ  เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน  .. 2544  ลงวันที่ 14 กันยายน 2544 "การแสดงงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของสำนักงานใหญ่ หรือ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ร่วมค้า อาจเลือกแสดงแบบงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแทนก็ได้"  ซึ่งงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแตกต่างจากงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นในส่วนของวิธีการที่นำเสนอ กล่าวคือ รายการที่จะแสดงในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จประกอบด้วย

1.      กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวดบัญชี

2.      รายได้ ค่าใช้จ่าย และรายการกำไรขาดทุนแต่ละรายการที่กำหนดให้รับรู้

                        โดยตรงในส่วนของเจ้าของ

3.      ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด

      ในกรณีที่กิจการเลือกแสดงงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ต้องเปิดเผยรายการดังต่อไปนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย

1)      รายการเกี่ยวกับเงินทุนที่ได้จากเจ้าของ และการแบ่งปันส่วนทุนให้เจ้าของ

2)   ยอดคงเหลือของกำไรหรือขาดทุนสะสม ณ วันต้นงวดและ ณ วันที่ในงบดุลรวมถึงรายการเปลี่ยนแปลงระหว่างงวด

3)   รายการกระทบยอดในส่วนทุนแต่ละประเภท ส่วนเกินมูลค่าหุ้น และสำรองแต่ละชนิดระหว่างต้นงวดกับปลายงวด โดยให้แยกแสดงการเปลี่ยนแปลงของแต่ละรายการ ส่วนงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น จะแสดง  ข้อมูลเกี่ยวกับรายการที่กระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ทั้งในด้านเพิ่มและด้านลด ซึ่งได้แก่ ทุนเรือนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้ว ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ส่วนเกินทุน ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน กำไรสะสม  และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย       ทั้งนี้หากต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากคำชี้แจง เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน สามารถศึกษารายละเอียดได้ใน website  www. dbd.go.th และมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 เรื่อง  การนำเสนองบการเงิน สำหรับการที่จะเลือกว่าจะใช้งบใดในการรายงานประจำปีนั้นก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหารแต่ละกิจการ และหากเลือกแบบใดแล้วก็ควรใช้แบบนั้นอย่างสม่ำเสมอ

9.

ตามประกาศกรม ฯ เรื่อง รายการย่อในงบการเงินฉบับใหม่ เวลายื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตอนสิ้นปี  ไม่ต้องแนบรายละเอียดต้นทุนขายรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารรายละเอียดการคำนวณค่าเสื่อมราคาใช่

 

แนวคำตอบ

            รายละเอียดประกอบงบการเงินดังกล่าวไม่จำเป็นต้องนำส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยแต่หากแสดงรายละเอียดไว้เป็นส่วนหนึ่งของหมายเหตุประกอบงบการเงินก็จะต้องนำส่งด้วย  เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน

10.

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ  สามารถแสดงรวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนได้หรือไม่โดยแสดงต่อ

จากรายการกำไรสุทธิ  เพราะงบการเงินบริษัทเล็กส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  ในส่วนของผู้ถือหุ้น  นอกจากกำไรสุทธิเท่านั้น

 

แนวคำตอบ

           จะต้องจัดทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หรืองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นงบใดงบหนึ่งแยกต่างหาก  จะแสดงต่อในงบกำไรขาดทุนไม่ได้

การแสดงรายการในงบการเงิน

1.

จะแสดงรายการต่อไปนี้ในงบการเงินอย่างไร

- เงินฝากประจำ

- ถ้ารายการสินทรัพย์อื่นมี 2 รายการ  ซึ่งแต่ละรายการมีมูลค่ามากต้องแยกแสดงต่างหากจากกัน หรือแสดงเป็นสินทรัพย์อื่นเป็นรายการเดียว แล้วเปิดเผยรายละเอียดในหมายเหตุ

 

แนวคำตอบ

           - เงินฝากธนาคารประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา (เงินฝากประจำ) กำหนดให้แสดงไว้ในรายการเงินลงทุนชั่วคราวและเงินลงทุนระยะยาว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการฝาก

           - ไม่จำเป็นต้องแยกแสดงต่างหากจากกัน ให้ทำเป็นยอดรวมแล้วไปให้รายละเอียด  ในหมายเหตุประกอบงบการเงินก็ได้

2.

รายการย่อตามแบบ 3 เงินลงทุนระยะยาวในกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่มิได้ใช้วิธีส่วนได้เสียจะแสดงรายการดังกล่าวในส่วนใด

 

แนวคำตอบ

           รายการดังกล่าวสามารถแสดงเพิ่มเติมได้  โดยอาจแสดงระหว่างรายการเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย และเงินลงทุนระยะยาวอื่น  ทั้งนี้เป็นไปตามคำชี้แจง ข้อ 10 ว่าบริษัทสามารถแสดงรายการเพิ่มเติมจากที่กำหนดได้ตามความจำเป็น และเหมาะสมแก่กรณี  แต่ต้องแสดงรายการให้ถูกต้องตามประเภทและลักษณะ  ของสินทรัพย์  หนี้สิน  ส่วนของเจ้าของ  รายได้  หรือค่าใช้จ่าย

3.

ช่วยจัดกลุ่มบัญชีต่อไปนี้ให้ด้วยในงบการเงินของบริษัท

-  ลูกหนี้-กรมสรรพากร  (ภาษีมูลค่าเพิ่ม - เครดิตภาษี)

-  ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายปีปัจจุบัน (เหลือใช้) รอขอคืน

 

แนวคำตอบ

           สามารถจัดอยู่ในหัวข้อสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น  และไปจำแนกรายละเอียดในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพิ่มเติมได้

4.

ดอกเบี้ยรับและเงินทดรองจ่าย  จะแสดงไว้ในงบการเงินอย่างไร

 

แนวคำตอบ

           ดอกเบี้ยรับ สามารถจัดอยู่ในหัวข้อรายได้อื่น และเงินทดรองจ่ายสามารถจัดอยู่ในหัวข้อสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นและไปจำแนกรายละเอียดในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพิ่มเติมได้

5.

เงินฝากประจำที่นำไปค้ำประกันเพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันไฟฟ้าหรือประมูลงานต้องแสดงรายการดังกล่าวไว้ส่วนใด

 

แนวคำตอบ

           เงินฝากประจำ กำหนดให้แสดงไว้ในรายการเงินลงทุนชั่วคราวและเงินลงทุนระยะยาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการฝาก  ส่วนการนำบัญชีเงินฝากดังกล่าวไปค้ำประกันให้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

6.

ในกรณีที่บริษัทจำกัดให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันการใช้ไฟฟ้า  100,000  บาท  ต้องแสดงไว้ในรายการ 4.3 ประมาณการหนี้สิน หรือเพียงแต่เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน  และช่วยยกตัวอย่างรายการที่ต้องแสดงใน 4.3 ประมาณการหนี้สิน

 

แนวคำตอบ

         การให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันการใช้ไฟฟ้า 100,000  บาท นั้น  ยังไม่ถือเป็น ภาระผูกพันในปัจจุบันที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าบริษัทจะต้องจ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว  จึงเป็นเพียงรายการหนี้สิน  ที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหน้าไม่ใช่ประมาณการหนี้สิน ดังนั้น รายการนี้ให้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

           ตัวอย่างของประมาณการหนี้สิน ได้แก่

1.      ภาระผูกพันจากการรับประกันสินค้า (Guarantee  and Warranty Costs)

2.   ภาระผูกพันจากกลยุทธ์ทางการตลาดที่บริษัทเสนอแก่ลูกค้าเช่น การให้นำชิ้นส่วนของสินค้ามาแลกของรางวัล รับส่วนลดต่าง ๆหรือรับเงินคืนบางส่วน

3.   ภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้นจากการฟ้องร้องซึ่งดำเนินการอยู่และมีความเป็นไปได้ว่ากิจการจะต้องจ่ายชำระค่าเสียหาย

7.

ในรายการย่องบการเงินแบบ 4 ยอดคงเหลือระหว่างสาขาในไทยกับสำนักงานใหญ่  หรือสาขาอื่นในต่างประเทศ (บัญชีเดินสะพัด) จะแสดงอยู่ที่ใด

 

แนวคำตอบ

           บัญชีเดินสะพัดระหว่างสาขากับสำนักงานใหญ่ หรือสาขาอื่นในต่างประเทศสามารถแสดงเป็นรายการเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันหรือรายการเงินกู้ยืมระยะสั้น  จากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันแล้วแต่กรณี  โดยอาจแยกแสดงเป็นรายการต่างหากเพิ่มเติมจากหัวข้อดังกล่าวได้

8.

ในกรณีที่เจ้าหนี้การค้า และลูกหนี้การค้าในชื่อที่เป็นรายเดียวกัน  สามารถนำมาหักลบกันเพื่อแสดงรายการสุทธิ หรือไม่

 

แนวคำตอบ

           ไม่ได้  ต้องแยกเป็นรายการเจ้าหนี้การค้า  และลูกหนี้การค้าตามรายการที่เกิดขึ้น

9.

รายการต่อไปนี้ สามารถนำมาหักกลบกันได้หรือไม่

1.     ลูกหนี้กรรมการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกันกับเจ้าหนี้กรรมการ

2.     ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียกับส่วนแบ่งขาดทุน

3.     กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนกับขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

 

แนวคำตอบ

1.   ไม่ได้  ต้องแยกแสดงในงบดุลเป็นลูกหนี้กรรมการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกันตามแบบ2 โดยแสดงไว้ในหัวข้อเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันหรือเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันและเจ้าหนี้กรรมการแสดงไว้ในหัวข้อเงินกู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันหรือเงินกู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการกู้ยืม

2.   เป็นรายการที่แสดงในงบกำไรขาดทุน  หากกิจการเลือกแสดงกำไรขาดทุนแบบขั้นเดียวจะหักกลบลบกันไม่ได้ต้องแสดงเป็นแต่ละรายการ  แต่ถ้าเลือกแบบแสดงหลายขั้นก็สามารถหักกลบลบกันได้

3.   เป็นรายการที่แสดงในงบกำไรขาดทุน  สามารถหักกลบลบกันเป็นยอดสุทธิได้โดยแสดงในหัวข้อรายได้อื่นหรือค่าใช้จ่ายอื่น  ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่าเป็นกำไรหรือขาดทุน

10.

ตามประกาศ เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินถ้าหากหัวข้อใดไม่มี เช่น ไม่มีเงินลงทุนชั่วคราว สามารถตัดหัวข้อดังกล่าวออกได้หรือไม่

 

แนวคำตอบ

            ได้   หากไม่มีรายการใดก็ไม่ต้องแสดงรายการนั้น

11.

ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย ของปีก่อนที่บริษัมยังไม่ได้ขอคืนและอาจจะไม่ขอคืนซึ่งยกมาจากงบการเงินปีก่อนจะแสดงไว้ในส่วนใดของงบการเงิน

 

แนวคำตอบ

            รายการภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย ของปีก่อนที่บริษัทจะไม่ขอคืนให้บริษัทตัดเป็นค่าใช้จ่ายโดยปรับปรุงกับกำไร(ขาดทุน)สะสมต้นงวด 

12.

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน  ผ่อนผันใช้บังคับเฉพาะบริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้น  ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดก็ไม่จำเป็นใช้ชื่อรายการย่อที่มีคำว่า "บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน" ใช่หรือไม่ หรือต้องแสดงรายการอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            รายการที่เกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดต้องแสดงรายการตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน การยกเว้นสำหรับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47 จะเป็นการยกเว้นในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน   แต่แสดงรายการในงบการเงินยังคงต้องแสดงไว้

13.

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47 รายการบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน  ถ้าบริษัทไม่บังคับต้องให้ทำตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47 ในรายการย่อของบริษัท จะจัดทำอย่างไร

 

แนวคำตอบ

           มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันนั้น  เป็นการผ่อนปรนข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น  แต่การบันทึกรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันคือรายการเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รายการเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลหรือกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน  รายการเงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน  และรายการเงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันนั้น กิจการยังคงต้องบันทึกรายการและแสดงในงบการเงินตามแบบรายการย่อ

14.

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่  51 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน  และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 53

ประมาณการหนี้สิน  มาตรฐานการบัญชียังไม่บังคับให้ถือปฏิบัติในปี 2545  แต่ในรายการย่อบังคับในปี 2545  จะใช้ถือวันเริ่มปฏิบัติอย่างไร

 

แนวคำตอบ

           แม้ว่ามาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน  และฉบับที่ 53 ประมาณการหนี้สิน  ของสมาคมนักบัญชีฯ ก.บช. จะยังไม่มีมติให้ประกาศใช้ ให้เป็นมาตรฐานการบัญชีตาม พ... การบัญชี พ..2543 ก็ตาม  แต่หากกิจการมีรายการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน  หรือประมาณการหนี้สินกิจการก็ต้องรับรู้และบันทึกรายการดังกล่าวตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปทั้งนี้ กิจการอาจปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 และ 53 หรือปฏิบัติตามหลักการบัญชี  และวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไปโดยเปิดเผยอ้างอิงหลักการบัญชีที่ใช้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย

ปัญหาอื่นๆ

1.

รายการประมาณการหนี้สิน  หมายถึงอะไร

 

แนวคำตอบ

           หมายถึง  หนี้สินที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชำระ  ซึ่งธุรกิจสามารถประมาณมูลค่าหนี้สินนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือและเป็นภาระผูกพันในปัจจุบัน  ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะทำให้ธุรกิจสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ  เมื่อจ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว

2.

งบการเงินของสาขาต่างประเทศ แสดงรายการเป็นเงินตราต่างประเทศได้หรือไม่  โดยไม่แสดงเป็นเงินบาท

 

แนวคำตอบ

           การแสดงรายการในงบการเงินนั้น ให้แสดงเป็นหน่วยจำนวนเงินบาท  ตามที่กำหนดไว้ในคำชี้แจง  เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน  ทั้งนี้  อาจแสดงหน่วยเป็นหลักพัน  หลักหมื่น  หลักแสนหรือหลักล้านก็ได้โดยต้องระบุหน่วยของหลักที่ใช้ไว้ในงบการเงินด้วย

3.

ประกาศ เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.. 2544 ข้อ 3  ถ้าเลือกแสดงงบแบบใดแบบหนึ่งแล้ว หากมีการเปลี่ยนแสดงอีกแบบหนึ่งจะได้หรือไม่ ถ้าเปลี่ยนไม่ได้เพราะเหตุใด และถ้าเปลี่ยนได้ จะต้องทำอย่างไร

 

แนวคำตอบ

           หากกิจการเลือกแสดงงบแบบใดแล้วควรถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนไปแสดงอีกแบบหนึ่งก็ควรเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย

4.

กิจการที่เป็นนิติบุคคลอื่น เช่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจัดทำงบการเงินตาม พ... ของรัฐวิสาหกิจโดยตรงหรือไม่และหากมีการแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนจำกัด  การจัดทำงบการเงินจะไม่สอดคล้องกับปีก่อนๆ เนื่องจากต้องปรับเปลี่ยนเกณฑ์การรับรู้ต่างๆ  จะมีผลต่องบการเงินเปรียบเทียบจะต้องปฏิบัติอย่างไร

 

แนวคำตอบ

           หากเป็นรัฐวิสาหกิจและอยู่ในฐานะบริษัทมหาชนจำกัด ให้จัดทำงบการเงินตามประกาศ  เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ..2544และหากมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การรับรู้ต่างๆ  ซึ่งมีผลต่องบการเงินเปรียบเทียบให้เปิดเผยหลักเกณฑ์ที่กิจการใช้ปฏิบัติในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

5.

มาตรฐานการบัญชีที่จะผ่อนผันใช้บังคับเฉพาะบริษัทมหาชนเท่านั้น มีฉบับไหนบ้าง

 

 

แนวคำตอบ

           มาตรฐานการบัญชีที่ยกเว้นใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด มีทั้งหมด 7 ฉบับ ดังนี้

1.      ฉบับที่ 24  เรื่อง  การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน

2.      ฉบับที่ 25  เรื่อง  งบกระแสเงินสด

3.      ฉบับที่ 36  เรื่อง  การด้อยค่าของสินทรัพย์

4.      ฉบับที่ 44  เรื่อง  งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย

5.      ฉบับที่ 45  เรื่อง  การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม

6.      ฉบับที่ 47 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

7.       ฉบับที่ 48  เรื่อง  การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทาง  การเงิน

            อย่างไรก็ตาม  ธุรกิจที่เป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์  การค้าหลักทรัพย์การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์  การจัดการกองทุนรวม  การจัดการกองทุนส่วนบุคคลและการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์  ที่มิได้เป็นบริษัทมหาชนและมิได้เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น ได้รับยกเว้นการบังคับใช้มาตรฐาน 2 ฉบับ คือ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 และ 47

6.

กรณีที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน  รายได้รวมเกิน 30 ล้านบาท  แต่ในปีถัดมามีรายได้ไม่ถึง 30 ล้านบาท  งบการเงินของกิจการต้องมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบอีกหรือไม่

 

แนวคำตอบ

           ไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรองการสอบบัญชีในปีถัดมาได้

ที่มาของข้อมูล : สภาวิชาชีพบัญชี







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี