ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,รับทำบัญชี,รับตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนธุรกิจ,ว่าความ,ผู้สอบบัญชี,สมุทรปราการ,ภาษี,กฏหมาย,แนวการสอบบัญชี,ธุรกิจเอสเอ็มอี,ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์,ธุรกิจรับเหมาก่อสร้า
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี

ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี

ลูกหนี้การค้า

 

1.

อยากทราบว่าการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีกี่วิธี อะไรบ้าง

 

แนวคำตอบ 

            ในการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ วิธีที่นิยมใช้ มีดังนี้

1.      คำนวณเป็นร้อยละของยอดขาย

1.1.  คำนวณเป็นร้อยละของยอดขายรวมโดยถือว่าการขายเป็นรายการที่ก่อให้เกิดลูกหนี้และอัตราส่วนการขายสัมพันธ์กับจำนวนหนี้ที่เก็บไม่ได้

1.2.   คำนวณเป็นร้อยละของยอดขายเชื่อ โดยถือว่าการขายเชื่อสัมพันธ์โดยตรงกับ

ลูกหนี้  ส่วนการขายสดไม่ได้ก่อให้เกิดลูกหนี้แต่อย่างใด

2.   คำนวณเป็นร้อยละของลูกหนี้  โดยวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ผ่านมา  กิจการจะสามารถประมาณอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บไม่ได้ต่อยอดลูกหนี้ที่คงค้าง ดังนี้

2.1.  คำนวณเป็นร้อยละของลูกหนี้  โดยถืออัตราส่วนของจำนวนหนี้สงสัยจะสูญ  สำหรับลูกหนี้ทั้งหมดจะคงที่

2.2.  คำนวณโดยจัดกลุ่มลูกหนี้จำแนกตามอายุของหนี้ที่ค้างชำระ  ลูกหนี้กลุ่มที่ค้างชำระนานจะนำมาคำนวณหาจำนวนหนี้สงสัยจะสูญด้วยอัตราร้อยละที่สูงกว่าหนี้ที่เริ่มค้างชำระ

3.   คำนวณโดยพิจารณาจากลูกหนี้แต่ละราย  และจะรวมเฉพาะรายที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้เท่านั้นเป็นหนี้สงสัยจะสูญ

 

2.

การตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ มีการบังคับให้ทำหรือไม่  และมีเกณฑ์อย่างไรจึงจะ

 ตัดบัญชีเป็นหนี้สูญได้

 

แนวคำตอบ

            ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ทั้งนี้ในขณะนี้การบัญชีเรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดหนี้สูญไว้  ดังนี้

1.      เมื่อมีการทวงถามถึงที่สุดแล้ว  โดยดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายภาษีอากร

2.      คาดหมายได้แน่นอนว่าจะไม่ได้รับการรับชำระหนี้

 

3.

บริษัทมีการประมาณการหนี้สงสัยจะสูญจากยอดการขายเชื่อทุกปี  และในปีนี้บริษัทไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ได้จึงได้ตัดหนี้สูญจำนวน 15,000 บาท จะลงบันทึกบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            การบันทึกบัญชีตัดจำหน่ายหนี้สูญมี 2 กรณี คือ

1.      กรณีตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้ตามกฎหมายภาษีอากร บันทึกบัญชีโดย

            เดบิต  หนี้สูญ                              15,000

                        เครดิต ลูกหนี้                              15,000

            เดบิต  ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ            15,000

                        เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ                    15,000

2.      กรณีที่ตัดจำหน่ายหนี้สูญไม่เข้าข่ายการยอมรับของกฎหมายภาษีอากร  บันทึกบัญชีโดย 

            เดบิต  ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ            15,000

                        เครดิต  ลูกหนี้                             15,0000

 

สินค้าคงเหลือ

 

4.

กรณีชำระเจ้าหนี้ต่างประเทศเกินจริง  ตอนนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศได้บันทึกเจ้าหนี้ต่างประเทศ ในราคาหน่วยละ 500 U$  แต่พอตอนชำระเจ้าหนี้ต่างประเทศ  ได้ชำระไป หน่วยละ 800 U$ โดยเกิดจากทางต่างประเทศ แจ้งหนี้ราคามาผิด และทางฝ่ายบัญชีไม่ทราบจึ่งโอนเงินไปให้เกิน ควรแก้ปัญหาอย่างไร และบันทึกบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            ควรดำเนินการเรียกเงินคืนจากเจ้าหนี้ และบันทึกส่วนที่ชำระเกินตั้งเป็นลูกหนี้ไว้จนกว่าจะมีการคืนเงินหรือหักกลบหนี้กันต่อไป

 

5.

การบันทึกต้นทุนขาย ตอนปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด  อยากทราบขั้นตอนการบันทึกปิดบัญชีต้นทุนขายตอนปิด ณ วันสิ้นงวด  ว่าต้องบันทึกอย่างไร ถ้าเราปิดบัญชีด้วยมือ

 

แนวคำตอบ

            การปิดบัญชีสินค้ามี 2 วิธี

วิธีที่ 1 แบบ Perpetual    เป็นการปิดบัญชีต้นทุนขาย เข้าบัญชีกำไรขาดทุน  โดยบันทึกบัญชี

            Dr. กำไรขาดทุน                          xx

                        Cr. ต้นทุนขาย                             xx

วิธีที่ 2 แบบ Periodic  เป็นการปิดบัญชี สินค้าต้นงวด ซื้อ และสินค้าปลายงวดเข้าบัญชีกำไรขาดทุน โดยบันทึกบัญชี

            Dr. สินค้าปลายงวด                       xx

                  กำไรขาดทุน                         xx

                        Cr. สินค้าต้นงวด                          xx

                              ซื้อ                                      xx

 

 

6.

บริษัทถูกสรรพากรเข้ามาตรวจสภาพกิจการแล้วปรากฎว่าในการตรวจนับสินค้าคงเหลือมีสินค้าขาดไปจากรายงานจึงถูกประเมินภาษีขายเพิ่มขึ้นและให้รับรู้เป็นรายได้จากการขายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิไม่ทราบว่าจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร  DR.ค่าใช้จ่ายต้องห้ามฯ  CR.รายได้จากการขาย  จะถูกต้องหรือไม่

 

แนวคำตอบ

            การถูกประเมินภาษีขายเพิ่มขึ้น จะนำมาบันทึกเป็นรายได้จากการขายไม่ได้ เนื่องจาก   ไม่ได้เป็นรายได้ที่แท้จริงของบริษัทแต่ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย โดย

            Dr.  ค่าใช้จ่ายต้องห้าม

                        Cr.ภาษีขาย

แล้วนำภาษีขายส่วนนี้ไปแสดงในแบบ ภ...50   และในกรณีที่มีเบี้ยปรับเงินเพิ่มให้บันทึกบัญชี ดังนี้

            Dr. เบี้ยปรับเงินเพิ่ม

                        Cr.  เจ้าหนี้สรรพากร

 

7.

ประกอบกิจการสปา  ซึ่งมีทั้งให้บริการนวดตัวและขายอาหารภายในสปาแห่งนี้ด้วย อยากทราบเกี่ยวกับข้อมูลดังต่อไปนี้

  1. กรณีซื้ออาหารสด ผัก ผลไม้ มาเพื่อทำอาหารขายแก่ลูกค้าจะใช้ชื่อบัญชีว่าอย่างไร
  2. กรณีซื้อครีมมาเพื่อใช้ในการพอกตัวหรือสมุนไพรต่างๆในการให้บริการสปาจะลงบัญชีอย่างไร  ครีมพวกนี้บางครั้งก็ขายให้ลูกค้าด้วยเช่นเดียวกันจะใช้ชื่อในการลงบัญขีว่าอย่างไร
  3. กรณีมีการชื่ออุปกรณ์เครื่องครัวเพื่อใช้ในการประกอบอาหารจะใช้ชื่อบัญชีว่าอย่างไร

 

แนวคำตอบ

  1. กรณีซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบอาหารเพื่อขาย และซื้อครีมมาเพื่อใช้ในการบริการหรือขาย มีวิธีการบันทึกบัญชีได้ 2 วิธี

(1)  Periodic Inventory Method เมื่อมีการซื้อสินค้าจะลงบัญชีโดย เดบิต ซื้อ  เครดิต เงินสดหรือธนาคาร (กรณีซื้อสด ถ้าซื้อเป็นเงินเชื่อ เครดิต เจ้าหนี้) ตามวิธีนี้สินค้าคงเหลือที่แสดงในงบดุลและที่ใช้ในการคำนวณต้นทุนขายได้มาจากการตรวจนับสินค้า และการตีราคาสินค้าในตอนสิ้นงวด

(2)  Perpetual Inventory Method เมื่อมีการซื้อสินค้าจะลงบัญชีโดย  เดบิต สินค้าคงเหลือ เครดิต เงินสดหรือธนาคาร (กรณีซื้อสด ถ้าซื้อเป็นเงินเชื่อเครดิต เจ้าหนี้) ตามวิธีนี้จะบันทึกรายการสินค้าคงเหลืออยู่ตลอดเวลา

  1. กรณีซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวต่าง ๆ จะใช้ชื่ออุปกรณ์ ซึ่งแสดงรายการเป็นสินทรัพย์

 

8.

เนื่องจากทางบริษัทมีบัญชีเงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศ และมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ตอนปลายปีมีการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นปี แล้วทั้งยอดเงินฝาก และยอดหนี้ อยากทราบว่า พอปีใหม่ มีการเข้าออกของบัญชีเงินฝากจะต้องปรับปรุงกำไรขาดทุนจากอัตราฯ อีกหรือไม่ ถ้าเป็นยอดหนี้จะมีการปรับปรุงอยู่แล้ว ในกรณีเป็นบัญชีเงินฝากจะบันทึกบัญชีอย่างไร  เช่น วันที่ 12 .. 46 ซื้อสินค้า 500 US RATE = 39 ตอนปลายปี ปรับปรุง US = 40  ตอนจ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้เป็นบัญชีเงินฝากต่างประเทศ RATE เป็น 42 และกรณีส่งออก ถ้าใช้ RATE ตามตัวอย่างแต่กลับกันจะบันทึกอย่างไร 

 

แนวคำตอบ

            รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ในระหว่างปีหากเกิดรายการทางบัญชีขึ้น  (ฝาก-ถอน) ให้บันทึกบัญชีโดยใช้อัตรา ณ วันที่เกิดรายการ และเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี กิจการจะต้องปรับปรุงเงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่คงเหลืออยู่  ด้วยอัตราปิด โดยผลต่างที่เกิดขึ้นให้รับรู้เป็นรายการกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของรอบปีบัญชีนั้นๆ

            ตัวอย่าง สมมติอัตราซื้อ และอัตราขาย ต่อ 1 US 

                                    อัตรา ซื้อ :          1 US อัตรา ขาย : 1 US

                        12 ธันวาคม 2546           38                    39

                        31 ธันวาคม 2546           39                    40

                        10 มกราคม 2547           41                    42

 

  1. ตัวอย่าง การบัญชีทึกบัญชี

      ซื้อสินค้า  12 .. 2546

                  Dr. สินค้าคงเหลือ                         19,500

                              Cr. เจ้าหนี้                                  19,500

     

      ซื้อสินค้า 500 US x 39 = 19,500 บาท  31 .. 2546

                  Dr. ขาดทุนจาการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ 500

                              Cr.  เจ้าหนี้                                 500

     

      บันทึกผลขาดทุนจากการแปลงค่า ฯ ด้วยอัตราปิด  500 US x (40-39) = 1

     

      บันทึกการจ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้

                  Dr. เจ้าหนี้                                  20,000

                  ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ          1,000

                              Cr. เงินฝากธนาคาร                      21,000

            จ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ 500 US x 42 = 21,000 บาท

  1. การบันทึกบัญชีขายสินค้า

            12 ธันวาคม 2546

                        Dr. ลูกหนี้                                  19,000

                                    Cr. ขาย                                     19,000

           

            ขายสินค้า 500 US x 38 = 19,000 บาท  31 ธันวาคม 2546

                        Dr. ลูกหนี้                                  500

                                    Cr. กำไรจากการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ 500

           

            บันทึกผลกำไรจากการแปลงค่า ฯ ด้วยอัตราปิด  500 US x(39-38) = 1

           

            บันทึกการรับชำระหนี้ ของลูกหนี้

                        Dr. เงินฝากธนาคาร                     20,500

                                    Cr. ลูกหนี้                                  20,000

                                    กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน  500

            การรับชำระหนี้ 500 US x 41 = 20,500 บาท

 

  1. การบันทึกบัญชีการฝากและถอนเงินตราต่างประเทศ

            สมมติ มียอดเงินฝากธนาคารต่างประเทศ 50 US ราคาปิด ณ วันที่ 31 ธันวาคม2546 เป็นจำนวน 50 บาท  

            ระหว่างปีมีการฝากเงิน 5 US อัตราแลกเปลี่ยน 1 US = 45 บาท และถอนเงิน  10 US อัตราแลกเปลี่ยน 1 US = 42 บาท  ในวันที่ 31 ธันวาคม 2546 บัญชีธนาคาร (ต่างประเทศ) 50 US x 50 = 2,500 บาท

            ระหว่างปีมีการฝากเงิน

                        Dr. ธนาคาร (ต่างประเทศ)             225

                                    Cr. เงินสด                                  225

           

            นำเงินฝากธนาคาร 5 US x 45 = 225  ระหว่างปีมีการถอนเงิน

                        Dr. เงินสด                                  420

                                    Cr. ธนาคาร (ต่างประเทศ)             420

           

            ถอนเงินจากธนาคาร 10 US x 42 = 420  31 ธันวาคม 2547 (ราคาปิด 1 US = 55 บาท)

                        Dr. ธนาคาร                                170

                                    Cr. กำไรจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ         170

           

            บันทึกบัญชี ตอนสิ้นปี (50+5-10) = 45 x 55 บาท = 2,475 – 2,305 = 170  ปรับปรุงบัญชีธนาคารซึ่งเป็นเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ (31ธันวาคม 2547) มียอดคงเหลือ 45 US อัตราแลกเปลี่ยน 1 US=55 บาท

 

9.

ในกรณีที่บริษัทมียอดสินค้าคงเหลือตามบัญชีแต่ในความเป็นจริงไม่มีสินค้าคงเหลือแล้ว ซึ่งเกิดจากการทําบัญชีผิดพลาดของปีก่อน ควรจะมีการปรับปรุงอย่างไร จึงเป็นวิธีที่ถูกต้อง

 

แนวคำตอบ

            บริษัทไม่มีสินค้าคงเหลือตามที่ปรากฎในบัญชีเพราะการบันทึกบัญชีผิดพลาดของปีก่อน ในกรณีนี้ บริษัทต้องปรับปรุงรายการสินค้าให้ถูกต้องตามความเป็นจริง  โดยการปรับปรุงสินค้าและต้นทุนขาย ดังกล่าวกับบัญชีกําไรสะสมต้นป

 

เงินลงทุน

 

10.

บริษัทจะต้องรับรู้มูลค่าที่แท้จริงของเงินลงทุนที่นำไปซื้อหุ้นทุนในบริษัทอื่นอย่างไร หากภายหลังพบว่า

  1. กิจการที่บริษัทของเราไปลงทุน ไม่ได้ส่งงบการเงินเป็นเวลา 2-4 ปี ติดต่อกัน โดยสถานะของกิจการนั้นอยู่ในสภาพร้าง
  2. กิจการที่บริษัทของเราไปลงทุน มีผลขาดทุนสะสมเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โดยปรากฎว่า

2.1 ส่วนแบ่งขาดทุนมีมากกว่าจำนวนเงินที่นำไปลงทุน

2.2 ส่วนแบ่งขาดทุนมีน้อยกว่าจำนวนเงินที่นำไปลงทุน

  1. กิจการที่บริษัทของเราไปลงทุน ไม่ได้ประกอบกิจการเป็นเวลา 2-3 ปี ติดต่อกัน แต่ยังมีการส่งงบการเงินเป็นประจำทุกปีอยู่

 

แนวคำตอบ

            กรณีดังกล่าวอาจพิจารณาได้ว่ามีข้อบ่งชี้การด้อยค่าของ เงินลงทุน ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่องการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้  และตราสารทุน กิจการต้องบันทึกการด้อยค่าของเงินลงทุน โดยกลับบัญชีส่วนต่ำกว่าทุนหรือส่วนเกินทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่า แล้วบันทึกผลต่างเป็นรายการขาดทุนจากการด้อยค่าในงบกำไรขาดทุน

 

11.

บริษัทได้รับเงินลงทุนมาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น  บริษัทจะบันทึกบัญชีเงินลงทุน  ดังกล่าวอย่างไ

 

แนวคำตอบ

            กรณีนี้บริษัทควรบันทึกบัญชีเงินลงทุนที่ได้มาด้วยมูลค่ายุติธรรมพร้อมทั้งจัดประเภทเงินลงทุนดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ของบริษัทที่จะถือไว้ เช่น เก็บเงินลงทุนไว้จนครบกำหนด  เป็นต้น และควรรับรู้เงินลงทุนที่ได้มาเป็นรายได้อื่น  โดยบันทึกบัญชี ดังนี้

            เดบิต  เงินลงทุน (ตามประเภทวัตถุประสงค์)   ***

                        เครดิต  รายได้อื่น                                     ***

 

ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

 

12.

บันทึกซื้อที่ดินอย่างไร

  • บริษัทซื้อที่ดิน จ่ายครั้งแรก 75% เดือน มีนาคม จำนวน 75 บาท
  • จ่ายดอกเบี้ย  20 บาท เดือน มิถุนายน

 

แนวคำตอบ

            ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ กิจการจะต้องบันทึกบัญชี-ที่ดิน รับรู้เป็นสินทรัพย์โดยใช้ราคาทุน   สำหรับดอกเบี้ยซึ่งเป็นต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดขึ้นให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในงวดบัญชีนั้น

 

13.

อยากทราบว่าเวลาที่บริษัทซื้อของตามจำนวนที่ผู้ขายกำหนดไว้แล้วจะมีการแถมของให้เช่นซื้อแอร์ครบ 7 เครื่องแล้วแถมโทรทัศน์ 1 เครื่อง (ระบุในใบกำกับภาษีว่าแถมโทรทัศน์ 1 เครื่อง)ไม่ทราบว่าโทรทัศน์ที่ได้แถมจะต้องรับรู้เป็นรายได้หรือสินทรัพย์

 

แนวคำตอบ

            โทรทัศน์ที่ได้แถมมานั้นบริษัทจะต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ของบริษัท ซึ่งการตีราคาให้ใช้วิธีราคายุติธรรมในขณะนั้น โดยใช้มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยต้นทุนให้กับสินทรัพย์แต่ละชนิด

 

14.

กิจการมีการเช่าช่วงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเวลา 30 ปี กิจการแสดงในงบการเงินเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และมีการทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายทุกๆปี และควรบันทึก,ปรับปรุงบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            ตอนจ่ายเงินเพื่อเช่าช่วงทรัพย์สิน ให้บันทึกบัญชีโดย

                        เดบิต  สิทธิการเช่ารอตัดบัญชี (สินทรัพย์อื่น)

                                    เครดิต  เงินสดหรือธนาคาร

            ณ วันสิ้นปี ทยอยตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย ให้บันทึกบัญชีโดย

                        เดบิต  สิทธิการเช่าตัดบัญชี(ค่าใช้จ่าย)

                                    เครดิต  สิทธิการเช่ารอตัดบัญชี

 

15.

หากกิจการมีสินทรัพย์ที่อยู่นอกบัญชีและต้องการปรับปรุงบัญชี  เอกสารที่ซื้อสินทรัพย์เป็นของปีก่อนๆ เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่ยอมรับได้หรือไม่  และการตัดค่าเสื่อมราคาให้ตัดตั้งแต่วันที่ซื้อสินทรัพย์ตามเอกสารใช่หรือไม่

 

แนวคำตอบ

            บริษัทมีสินทรัพย์อยู่นอกบัญชีและต้องการบันทึกปรับปรุงให้ถูกต้องโดยใช้เอกสารประกอบรายการซื้อสินทรัพย์ในปีก่อน ๆ ถือเป็นหลักฐานที่ยอมรับไดสิ่งสําคัญคือ  รายการสินทรัพย์นอกบัญชีต้องอยู่ในกรรมสิทธิ์ของบริษัท ส่วนการคิดค่าเสื่อมให้เริ่มคิดตั้งแต่วันที่สินทรัพย์ถูกใช้งาน ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพยดังกล่าวตั้งแต่วันที่เริ่มใช้งานจนถึงวันสิ้นงวดรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนทางบัญชีจะปรับปรุงกับกําไรสะสมต้นปี ส่วนค่าเสื่อมราคาของปีปัจจุบันให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของปีปัจจุบัน  แต่ค่าเสื่อมราคาของปีก่อน ๆ ควรปรับปรุงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ของปีปัจจุบันให้ถูกต้องด้วย

 

16.

งบการเงินปีเก่ามีวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาไม่ถูกต้อง  การคิดค่าเสื่อมราคา ของธุรกิจรับเหมาถมที่ดิน หิน ทราย ผู้ทำบัญชีคนเก่าได้ใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบไม่รู้จบ   ดังนั้นถ้าจะปรับปรุงวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาใหม่ให้ถูกต้อง ควรจะใช้วิธีการปรับปรุงอย่างไรดี แล้วต้องแจ้งกรมสรรพกรหรือไม่

 

แนวคำตอบ

            ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 กล่าวถึงการทบทวนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาไว้ว่า"กิจการต้องทบทวนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ  หากกิจการพบว่าลักษณะรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีสาระสำคัญ กิจการต้องเปลี่ยนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา เมื่อกิจการจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา เพื่อสะท้อนถึงลักษณะรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป   กิจการต้องถือว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาใหม่สำหรับงวดบัญชีปัจจุบันและอนาคตโดยการเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป  ซึ่งต้องเปิดเผยรายการในงบการเงินถึงลักษณะและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในงวดปัจจุบันหรือที่คาดว่าจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในงวดต่อๆไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีเรื่อง  กำไรหรือขาดทุนสุทธิ   สำหรับงวด ข้อผิดพลาดที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี

 

17.

การบันทึกค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ตั้งแต่เริ่มตั้งกิจการจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว  กิจการคิดค่าเสื่อมโดยยอดคงเหลือลดลงและจะบันทึกบัญชีโดย เดบิต  ค่าเสื่อมราคา - ยานพาหนะ เครดิต ยานพาหนะสุทธิ ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่  ถ้าไม่ถูกต้องจะบันทึกบัญชีอย่างไร  และหากผิดจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            การบันทึกบัญชีของท่านไม่ถือว่าผิดหลักการบัญชี แต่อย่างไรก็ตามท่านควรบันทึกค่าเสื่อมราคา โดย

                        เดบิต  ค่าเสื่อมราคา

                                    เครดิต  ค่าเสื่อมราคาสะสม

            บัญชีค่าเสื่อมราคาเป็นบัญชีค่าใช้จ่ายปิดโอนเข้าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายหรือกำไรขาดทุนแล้วแต่กรณี ส่วนบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมเป็นบัญชีปรับมูลค่านำไปหักจากสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องในงบดุล ซึ่งวิธีดังกล่าวท่านสามารถนำไปใช้ในการควบคุมและบริหารงานได้ กล่าวคือ ณ วันที่ในงบการเงิน ท่านจะสามารถทราบถึงราคาทุนเริ่มแรกของสินทรัพย์ถาวรและทราบจำนวนค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์นั้นๆ

            ทั้งนี้  สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการคิดค่าเสื่อมราคาได้จากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

 

18.

บริษัทสร้างอาคารซึ่งมีพื้นที่บางส่วนได้สร้างเสร็จแล้วและให้บุคคลภายนอกเช่าแล้ว  ในขณะเดียวกันมีบางส่วนที่ยังสร้างไม่เสร็จซึ่งจะแล้วเสร็จอีก 2 ปี บริษัทจะคิดค่าเสื่อมราคาของพื้นที่ทั้งสองส่วนที่สร้างเสร็จไม่พร้อมกันอย่างไรแยกคิดตามพื้นที่หรือนำมาคิดรวมกันและ  ระยะเวลาการคิดค่าเสื่อมจะสิ้นสุดพร้อมกันหรือไม่ 

 

แนวคำตอบ

            บริษัทควรแยกคิดค่าเสื่อมราคาตามพื้นที่  อย่างไรก็ดี หากบริษัทพิจารณาอายุการใช้งานแล้วเห็นว่าอาคารทั้งหลังจะเสื่อมสภาพพร้อมกันก็ควรให้ระยะเวลาการคิดค่าเสื่อมราคาอาคารดังกล่าวสิ้นสุดลงพร้อมกัน

 

19.

วันที่ได้มาของสินทรัพย์ ในการคิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์ การซื้อสินทรัพย์จากต่างประเทศ โดยต้องจ่ายชำระค่าสินค้าก่อน ทางผู้ขายถึงจะส่งมอบสินทรัพย์ให้   ตัวอย่างได้จ่ายเงินชำระค่าทรัพย์สิน วันที่ 2 กันยายน 2545 และได้รับสินทรัพย์ วันที่  28 กันยายน 2545 B/L ลงวันที่ 5 กันยายน 2545 ดังนั้น จะต้องใช้วันที่ เท่าใดในการเริ่มคิดค่าเสื่อมราคา

 

แนวคำตอบ

            กิจการต้องเริ่มคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อเริ่มใช้สินทรัพย์นั้นปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์

 

20.

กรณีที่สินทรัพย์ของบริษัท เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์  เกิดการชำรุดหรือเสียหาย  บริษัทจะตัดบัญชีสินทรัพย์อย่างไร

 

แนวคำตอบ

            การตัดบัญชีสินทรัพย์กรณีที่สินทรัพย์นั้นชำรุดหรือเสียหายออกจากบัญชีต้องมีหลักฐานประกอบการลงบัญชีที่ชัดเจนที่แสดงข้อมูลยืนยันถึงการชำรุดหรือเสียหาย  ซึ่งหากมีหลักฐานยืนยันได้ว่าชำรุดหรือเสียหายให้บันทึกตัดบัญชีสินทรัพย์ตามราคาทุนที่บันทึกบัญชีไว้รวมทั้งโอนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่ชำรุดนั้นออกทั้งหมด เช่น กรณีมีการขายออกไป  โดยผลต่างที่เกิดขึ้นถือเป็นกำไร (ขาดทุน)  จากการตัดบัญชีสินทรัพย์

 

21.

บริษัทซื้อที่ดินไวเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีเอกสารหลักฐานในการซื้อครบถ้วน โดยซื้อในนามบริษัท  แต่เจ้าของบริษัทไม่ได้เอาลงบัญชี ในการจัดทำงบการเงินรอบป 2544 ไดจัดเอกสารดังกล่าวให้ผู้สอบบัญชีเพื่อบันทึกที่ดินนั้นในบัญชี แต่ผู้สอบไม่ยอมให้ลงบัญชี ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม (ที่ผ่านมา 5 ป บริษัทไม่มีรายรับ)

 

แนวคำตอบ

            บริษัทมีที่ดินพร้อมเอกสารยืนยันความเป็นเจ้าของในที่ดินผืนดังกล่าว บริษัทต้องการนําที่ดินดังกล่าวบันทึกในบัญชี  ส่วนสําคัญคือ ต้องติดตามและบันทึกที่ดินให้ถูกต้องว่าใช้เงินของใครซื้อ การจัดทําบัญชีให้ถูกต้องเป็นหน้าที่และอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ผู้สอบบัญชีไม่มีสิทธิห้ามบริษัทนําที่ดินดังกล่าวมาบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง แต่มีหน้าที่รายงานจากผลการตรวจสอบบัญชีของบริษัทเท่านั้น

 

22.

ในการทำสัญญาซื้อรถยนต์แบบ Leasing จะบันทึกบัญชีอย่างไรถือเป็นค่าเช่าได้ทั้งหมดได้หรือไม่  หากไม่ใช่ต้องบันทึกเป็นทรัพย์สินทั้งจำนวนแล้วจึงค่อยมาตัดค่าเสื่อมราคาใช่หรือไม่  อยากทราบว่าวิธีไหนถูกต้องที่สุด จะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

 

แนวคำตอบ

            สัญญาซื้อรถยนต์แบบ Leasing สวนใหญ่จะเป็นสัญญาเช่าทางการเงินเนื่องจากมีการโอนกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์ไปให้ผู้เช่า ณ วันสิ้นสุดสัญญา  ดังนั้นกิจการต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ทั้งจำนวนก่อนแล้วจึงทยอยปันส่วนเป็นค่าใช้จ่าย(ค่าเสื่อมราคา)ตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้นๆ

            ตัวอย่างการบันทึกบัญชีกรณีที่เป็นสัญญาเช่าทางการเงิน ทางด้านผู้เช่า

  1. วันทำสัญญาและรับมอบสินทรัพย์ ให้บันทึกบัญชีสินทรัพย์ตามสัญญาเช่าระยะยาวและบันทึกหนี้สินในบัญชีข้อผูกพันตามสัญญาเช่าระยะยาวด้วยมูลค่าปัจจุบันของค่าเช่าขั้นต่ำหรือด้วยราคายุติธรรมแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า

                        เดบิต  สินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงิน                       xxx

                                    เครดิต  เจ้าหนี้สัญญาเช่าระยะยาว                xxx

  1. ชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่าการเงิน

                        เดบิต  เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าระยะยาว             xxx

                                  ดอกเบี้ยจ่าย                                               xxx

                                    เครดิต  เงินสด/ธนาคาร                                         xxx

  1. บันทึกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ณ วันสิ้นรอบปีบัญชี

                        เดบิต  ค่าเสื่อมราคา-สินทรัพย์                                 xxx

                                    เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม-สินทรัพย์              xxx

 

23.

สินทรัพย์ถาวรที่หามูลค่าเริ่มแรก หรือวันที่ได้มาไม่ไดจะทําอย่างไร  หากต้องการจะบันทึกเป็นสินทรัพย์ของกิจการ

 

แนวคำตอบ

            หากกิจการต้องการบันทึกสินทรัพย์ถาวรที่หามูลค่าเริ่มแรกหรือวันที่ที่ซื้อสินทรัพยไมไดกิจการควรเทียบราคากับสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน หรือให้ผู้ประเมินราคาอิสระทําการประเมินราคาแบบต้นทุนทดแทน หรือบริษัททํ าการประเมินเองตามวิธีหามูลค่าที่จะได้รับคืนจากการใช้สินทรัพย์ถาวรตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์

 

24.

การบันทึกบัญชีการโอนสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้จากการปรับโครงสร้างหนี้ ของบริษัท

จะบันทึกอย่างไร และใช้มูลค่าใด

 

แนวคำตอบ

            การบันทึกบัญชีกรณีการโอนสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้ทั้งหมดนั้นบริษัทต้องบันทึกกำไรจากกการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยราคาตามบัญชีของหนี้ที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอนเพื่อชำระหนี้  โดยราคาตามบัญชีของหนี้ต้องรวมถึงดอกเบี้ยค้างจ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นด้วยและหากมีผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมกับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่โอนไปให้เจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ต้องบันทึกเป็นกำไรหรือขาดทุนจากการโอนสินทรัพย์นั้น  ทั้งนี้  การบันทึกบัญชีเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 (ปรับปรุง 2545) เรื่อง การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา

 

25.

มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับรู้การด้อยค่าของสินทรัพย์   ดังนี้

  1. เมื่อมีการตีราคาสินทรัพย์ แล้วพบว่าราคาที่ประเมินใหม่มีราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาที่ประเมินใหม่ แล้ว จะต้องรับรู้ขาดทุนจากการตีราคาของสินทรัพย์ หรือ รับรู้เป็นขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์
  2. ขาดทุนจากการตีราคาของสินทรัพย์ กับ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์แตกต่างกันอย่างไร
  3. เมื่อสินทรัพย์มีการตีราคาใหม่ พบว่า ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์สูงกว่าราคาที่ตีใหม่ จะไม่รับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
  4. เมื่อจะพิจารณาว่าสินทรัพย์มีการด้อยค่าหรือไม่ แล้วทำการตีราคาสินทรัพย์นั้น ๆ พบว่าราคาที่ตีใหม่ สูงกว่า ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ จะต้องรับรู้เป็นส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือไม่

 

แนวคำตอบ

            ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่องที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ได้กำหนดแนวทางอาจเลือกปฏิบัติโดยกิจการอาจแสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ได้ โดยกิจการต้องบันทึกบัญชีรับรู้ผลต่างจากการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ของกิจการ ดังนี้

  1. กิจการต้องบันทึกราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของภายใต้บัญชี "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" อย่างไรก็ตาม หากสินทรัพย์นั้นเคยมีการตีราคาลดลงและกิจการรับรู้ราคาที่ลดลงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อนแล้ว ส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาใหม่นี้ต้องรับรู้เป็นรายได้ไม่เกินจำนวนที่เคยลดลงซึ่งได้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อน
  2. กิจการต้องรับรู้ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ลดลงจากการตีราคาใหม่เป็นค่าใช้จ่ายทันที อย่างไรก็ตาม หากสินทรัพย์นั้นเคยมีการตีราคาเพิ่มขึ้นและยังมียอดคงค้างอยู่ในส่วนของเจ้าของ ส่วนที่ลดลงจากการตีราคาใหม่ต้องนำไปหักออกจาก "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" ได้ไม่เกินจำนวนซึ่งเคยตีราคาเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์รายการเดียวกัน ส่วนที่เกินให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันที  สำหรับเรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36  แตกต่างจากการตีราคาสินทรัพย์ คือต้องมีข้อบ่งชี้ที่เป็นการลดค่าของสินทรัพย์อย่างถาวร โดยกำหนดให้ ณ วันสิ้นสุดงวดบัญชี กิจการต้องประเมินว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่เกิดการด้อยค่าหรือไม่ หากกิจการพบว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อได้ว่าสินทรัพย์ อาจเกิดการด้อยค่า กิจการต้องประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับนั้น

                        ข้อบ่งชี้สำหรับการประเมินว่าสินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่า

1.      แหล่งข้อมูลภายนอก เช่น

1.1.   ราคาตลาดของสินทรัพย์ลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญในระหว่างงวด โดยจำนวนที่ลดลงนั้นสูงกว่าจำนวนที่คาดว่าจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไปหรือการใช้งานตามปกติ

1.2.   มีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการในระหว่างงวดหรือในอนาคตอันใกล้อย่างเป็นสาระสำคัญ

1.3.   อัตราดอกเบี้ยในตลาดหรืออัตราผลตอบแทนอื่นในตลาดจากการลงทุนของงวดนั้นเพิ่มขึ้น จนน่าจะมีผลกระทบต่ออัตราคิดลดที่จะใช้ในการคำนวณมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์และทำให้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้นลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญ

2.      แหล่งข้อมูลภายใน เช่น

2.1.      มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์นั้นล้าสมัยหรือชำรุดเสียหาย

2.2.   มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลักษณะที่กิจการใช้หรือคาดว่าจะใช้สินทรัพย์ซึ่งส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการในระหว่างงวดหรืออนาคตอันใกล้อย่างเป็นสาระสำคัญ หากสินทรัพย์ของกิจการมีข้อบ่งชี้ว่าจะด้อยค่ากิจการ ต้องรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที และบันทึกลดราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน พร้อมทั้งต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าว

 

26.

ต้องการขอข้อมูลเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ประเภทโปรแกรมสำเร็จรูปว่ามีการคิดค่าเสื่อมราคาอย่างไร ใช้มาตรฐานการบัญชีหรือหลักเกณฑ์อะไรในการปฏิบัติ

 

แนวคำตอบ

            โปรแกรมสำเร็จรูปถือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างหนึ่งของกิจการซึ่งต้องมีการคิดค่าเสื่อมราคาอย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ที่ได้รับ  โดยพิจารณาดังนี้

1.   กรณีที่โปรแกรมสำเร็จรูปที่ซื้อมานั้นต้องใช้ประกอบกับเครื่องจักรใดเป็นการเฉพาะให้ประมาณการอายุการให้ประโยชน์ที่ได้รับโดยอ้างอิงตามอายุการใช้งานของเครื่องจักรนั้น

2.   กรณีที่ซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปโดยมีการระบุไว้ในสัญญาการใช้งาน ก็จะตัดเป็นค่าใช้จ่ายตามอายุที่กำหนด ถ้าไม่ระบุอายุการใช้งาน ให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายตามแนวทางปฏิบัติในมาตรฐานการบัญชี เรื่องสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ต้องไม่เกิน 20 ปี

 

27.

การซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปมาใช้ในบริษัททางบริษัทสามารถนำมาลงเป็นทรัพย์สินของบริษัทได้หรือไม่..และมีการบันทึกบัญชีตัวโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            ท่านสามารถรับรู้รายการเป็นสินทรัพย์ได้เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้

1.      มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่รายการนั้นจะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการในอนาคต

2.      กิจการสามารถกำหนดราคาทุนของรายการนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล  โดยบันทึกบัญชี ดังนี้

                        Dr.  สินทรัพย์

                                    Cr.  เงินสด/เงินฝากธนาคาร

            ทั้งนี้   ในการคิดค่าเสื่อมราคาให้ใช้แนวทางตามข้อ 16

 

28.

ขอทราบแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับการคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรงกล่าวคือได้รับงานทำบัญชีและตรวจพบว่าค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของบริษัท คิดค่าเสื่อมแบบยอดลดลงทุกปี ปีละ20% ซึ่งตามหลักการบัญชีควรจะคิดค่าเสื่อมราคา 5 ปี ซึ่งปัจจุบันทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีแล้ว ในทางปฏิบัติควรทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักบัญชี

 

แนวคำตอบ

            ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่องที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ การคิดค่าเสื่อมราคาเป็นการปันส่วนมูลค่าเสื่อมสภาพของสินทรัพย์อย่างมีระบบตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ การคิดค่าเสื่อมราคามีหลายวิธีเช่น วิธีเส้นตรง วิธียอดคงเหลือลดลง และวิธีจำนวนผลผลิต การคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง  มีผลทำให้ค่าเสื่อมราคามีจำนวนเท่ากันตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ซึ่งกิจการควรเลือกใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคาให้เหมาะกับรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับ และต้องใช้อย่างสม่ำเสมอในทุกรอบระยะเวลาบัญชี  อย่างไรก็ตามหากพบว่าปัจจุบันสินทรัพย์ดังกล่าวไม่มีแล้วก็ควรตัดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน

 

29.

สินทรัพย์ถาวรหาย  บริษัทควรจะบันทึกบัญชีอย่างไร จึงจะถูกต้อง

 

แนวคำตอบ

            ถ้าสินทรัพย์ดังกล่าวมิได้มีประกันไว้ก็ให้ทบทวนราคาตามบัญชี ปรับปรุงบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมจนถึงวันที่สินทรัพย์สูญหายเสียก่อน ขั้นต่อไปจึงปิดบัญชีสินทรัพย์รายการนี้ออกจากรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และโอนผลต่างไป  บัญชีขาดทุน หากกิจการได้ทำประกันสินทรัพย์และการสูญหายของสินทรัพย์  ดังกล่าวเข้าเงื่อนไขตามที่ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ฯ ผลเสียหายที่จะได้รับชดเชยจากบริษัทรับประกันให้ตั้งบัญชีเป็นลูกหนี้ก่อน ยังขาดอีกเท่าไรจึงจะถือเป็นผลขาดทุน  ทั้งนี้ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่องที่ดิน อาคารและอุปกรณ์  ย่อหน้า 54-55 การเลิกใช้และการจำหน่ายสินทรัพย์ ระบุว่า กิจการต้องตัดบัญชีรายการที่เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ออกจากงบดุล เมื่อกิจการจำหน่ายหรือเลิกใช้สินทรัพย์นั้นอย่างถาวร หรือเมื่อคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตหลังจากที่จำหน่ายสินทรัพย์ไปแล้ว และกิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างจำนวนเงินสุทธิที่คาดว่าจะได้รับกับราคาตามบัญชีของรายการที่เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายจากการเลิกใช้หรือจำหน่ายสินทรัพย์ในงบกำไรขาดทุนทันทีที่เกิดขึ้น

 

หนี้สิน

 

30.

บริษัทจำกัดได้ตกลงทำสัญญาปรับโครงสร้างกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์(บบส.)  เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 และตามรายการบัญชีของบริษัทมีรายการดอกเบี้ยค้างจ่ายไม่ตรงกับยอดค้างจ่ายของ บบส. ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทบันทึกดอกเบี้ยไว้เพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เท่านั้น และบริษัทไม่ได้รับการติดต่อจากสถาบันการเงินและไม่ได้รับใบแจ้งหนี้จึงไม่มีการคิดดอกเบี้ย  บริษัทจะคิดดอกเบี้ยช่วงที่หยุดการชำระหนี้ด้วยหรือไม่และจะบันทึกบัญชีปรับปรุงอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            การที่บริษัทเป็นลูกหนี้เงินกู้ระยะยาว  และได้หยุดการชำระหนี้ไปบริษัทยังคงต้องบันทึกรับรู้ดอกเบี้ยค้างจ่ายที่เกิดขึ้นต่อไปจนถึงวันที่ในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งได้ทำข้อตกลงไว้ว่าให้หยุดการคิดดอกเบี้ยแม้ว่าจะได้รับใบแจ้งหนี้หรือไม่ก็ตาม  ดังนั้น หากวันที่ในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542  บริษัทจะต้องปรับปรุงรายการบัญชีเพื่อรับรู้ดอกเบี้ยจ่ายจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน  2542  โดยถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดทางการบัญชีที่สำคัญ  ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 39  เรื่องกำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด  ข้อผิดพลาดที่สำคัญและการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี

 

31.

บริษัทจ่ายเช็คชำระเจ้าหนี้การค้าในตอนปลายปี  แต่เจ้าหนี้การค้านำเช็คไปขึ้นเงินประมาณเดือนมกราคม บริษัทต้องปรับปรุงบัญชีหรือไม่

 

แนวคำตอบ

            ไม่ต้องปรับปรุงรายการ  แต่ควรมีการจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคารเพื่อให้บริษัทสามารถตรวจสอบรายการได้

 

32.

การบันทึกบัญชีเงินเกินบัญชีธนาคารซึ่งในอดีตมิไดบันทึกเนื่องจากผู้บริหารนําเงินในบัญชีดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวทําให้เป็นยอดเบิกเกินสูงมาก ดังนั้น ดอกเบี้ยที่เก็บและตัวเงินจึงไม่บันทึกบัญชีถ้าจะบันทึกใหมทําอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ซึ่งไม่เคยบันทึกบัญชีเนื่องจากผู้บริหารนําไปใช้เป็นการส่วนตัวดอกเบี้ยที่เกิด และตัวเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารจึงไม่ได้บันทึกในบัญชีของบริษัท บริษัทจึงควรปรับปรุงดังนี้ เงินต้นเริ่มแรกของเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร และดอกเบี้ยทั้งหมดที่เกิดขึ้นให้บันทึกผูบริหารที่นํ าเงินไปใช้ส่วนตัวเป็นลูกหนี้ของบริษัททั้งจํานวน และบันทึกบัญชีธนาคารเงินเบิกเกินบัญชีเป็นบัญชีเจ้าหนี้ของบริษัทต่อไป

            ดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารในปีต่อมาให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท และขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องบันทึกดอกเบี้ยรับจากผู้บริหารที่นําเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว ดอกเบี้ยดังกล่าวให้คำ านวณจากยอดคงเหลือบัญชีลูกหนี้ของบริษัทด้วยอัตราดอกเบี้ยเดียวกันกับที่ธนาคารเรียกเก็บจากบัญชีเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ดังนั้น จํานวนสุทธิของดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งเป็นดอกเบี้ยของบริษัท อนึ่งการจ่ายเงินจากบัญชีเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารภายหลังการปรับปรุง และต้องเป็นรายการเฉพาะของบริษัทเท่านั้น

 

33.

หนี้สินที่เราสามารถประมาณค่าหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นได้แต่ยังไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่และเมื่อไหร่ เราควรทำอย่างไร ควรจะบันทึกบัญชีหรือไม่ หรือควรจะเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึง สภาพ หรือสถานการณ์ หรือเหตุการณ์บางอย่างอันอาจจะมีผลทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนแก่กิจการซึ่งผลสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในอนาคตว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่   กิจการควรบันทึกบัญชี ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้

1.   มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าผลเสียหายจะเกิดขึ้นในอนาคตและจะมีผลทำให้สินทรัพย์ ณ วันที่ในงบดุลมีค่าลดลง หรือหนี้สินมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงส่วนที่อาจเรียกชดใช้คืนได้ด้วย และ

2.      สามารถประมาณจำนวนเงินได้อย่างสมเหตุสมผล

3.   ในกรณีที่ไม่เข้าเงื่อนไข ตาม (2) ก็ให้ปิดเผยผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าไว้ในหมายเหตุประกบงบการเงิน เว้นแต่โอกาสที่จะเกิดผลขาดทุนนั้นมีน้อยมาก

4.   กิจการไม่ควรบันทึกบัญชีสำหรับผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า แต่ถ้ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่า ผลกำไรนั้นอาจจะเกิดขึ้นก็ให้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

           

            การเปิดเผยข้อมูล

            กรณีที่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ตาม (3) ถึง (4) ควรเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้

  • ลักษณะของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
  • ปัจจัยของความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งอาจกระทบผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • ประมาณจำนวนผลกระทบทางการเงิน หรือถ้าประมาณไม่ได้ก็ให้ระบุว่าไม่สามารถประมาณจำนวนผลกระทบทางการเงินได้

            ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21  เรื่องเหตุการณที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า และเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน

 

34.

กิจการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคารมาแต่ไม่ไดนำมาบันทึกบัญชี และนํามาใช้ส่วนตัวโดยไม่มีรายละเอียดว่านำเงินไปใช้จ่ายในเรื่องใดบ้าง  อยากทราบว่ารายการนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้หรือไม่ และจะปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องต้องทําอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            บริษัทต้องบันทึกรายการบัญชีของกิจการทุกรายการที่เกิดขึ้น แต่รายการนี้นั้นจะถือเป็นรายไดหรือหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคํ าณวนภาษีเงินไดได้หรือไมย่อมขึ้นอยู่กับหลักฐานประกอบรายการบัญชี ดังนั้น การที่บริษัทเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งกรรมการผู้จัดการนําไปใช้ส่วนตัว บริษัทต้องปรับปรุงบัญชี โดยตั้งผู้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารไปใช้ส่วนตัวเป็นลูกหนี้ และบันทึกบัญชีเจ้าหนี้ธนาคารให้ถูกต้องจนกว่าผู้เบิกเงินเกินบัญชีจะหาเอกสารที่เชื่อถือได้มาประกอบรายการ จึงโอนไปเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายการเดบิตอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

35.

บริษัทมีบัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ แต่ในอดีตที่ผ่านมาไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ย ต่อมาในปี  2546  ถูกทางสรรพากรประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจากดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินให้กู้ยืมกรรมการตั้งแต่ปี 2543-2546 รายการข้างต้นนี้จะถือเป็นข้อผิดพลาดที่สำคัญหรือไม่  บริษัทต้องรับรู้รายการที่เกิดขึ้นอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            การที่บริษัทมีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการโดยไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยและในปี 2546  บริษัทถูกประเมินภาษีจากดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมกรรมการ จะถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงคือ หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัทไม่ได้กำหนดให้กรรมการต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือไม่มีนโยบายคิดดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมกรรมการจริงในทางบัญชีบริษัทก็ไม่ต้องบันทึกรายการดอกเบี้ยแต่อย่างใด  และเมื่อกรมสรรพากรประเมินภาษีจากดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินให้กู้ยืมกรรมการ ให้บริษัทรับรู้ภาษีและเบี้ยปรับเงินเพิ่มในปีที่เกิดรายการนั้น

 

36.

บริษัทฯ มีเงินปันผลค้างจ่าย ซึ่งไม่มีผู้มาขอรับเป็น เวลานาน ขอคำแนะนำในการดำเนินการทางบัญชี

 

แนวคำตอบ

            เงินปันผลค้างจ่าย เป็นหนี้สินของบริษัท ที่ผู้ได้รับ (คือเจ้าหนี้) มีสิทธิเรียกร้องตามอายุความที่กฎหมายให้ หากผู้รับไม่เอายกให้บริษัท หรือหมดอายุความของการเรียกร้องแล้ว ก็ควรโอนไปเป็นรายได้ของบริษัท ตามคำนิยามในแม่บทบัญชี  ย่อหน้าที่ 70.1 รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์หรือลดลงของหนี้สิน  อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น

 

ทุน/ส่วนของผู้ถือหุ้น

 

37.

ในทางปฏิบัติ บริษัทมหาชนจำกัด อาจแยกส่วนเกินหรือส่วนต่ำกว่าทุนจากการออกหุ้นสามัญไม่ได้ โดยเฉพาะกรณีที่มีการซื้อหุ้น (Treasury Stock) จะปฏิบัติอย่างไร 

 

แนวคำตอบ

            นกรณีที่มีการซื้อหุ้นสามัญคืนนั้น  หากสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการจำหน่ายหุ้นสามัญซื้อคืนนั้น สูงกว่าราคาทุนถัวเฉลี่ยของหุ้นสามัญซื้อคืนให้รับรู้ผลต่างดังกล่าวเป็นบัญชีส่วนเกินทุนหุ้นซื้อคืนจากการจำหน่ายหุ้นสามัญโดยแสดงเป็นรายการหนึ่งภายใต้ส่วนเกิน(ส่วนต่ำกว่า)ทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น

 

38.

แบ่งกำไรในปี2544 ทำอย่างไร  ขั้นตอนในการแบ่งกำไรสะสมคำนวณอย่างไรและต้องกันสำรองเอาไว้กี่เปอร์เซ็นต์  บันทึกบัญชีอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            นขณะที่กิจการยังคงดำเนินการอยู่ และมีกำไรสะสมจะแบ่งกำไรสะสมไม่ได้นอกจากการจ่ายเงินปันผล

            ลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินปันผล

  • ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจนกว่าบริษัทจะชดเชยผลขาดทุนจนหมด(ไม่มีขาดทุนสะสม)
  • ต้องจัดสรรกำไรไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5ของจำนวนผลกำไรจนกว่าทุนสำรองจะมีจำนวนถึงร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนหรือมากกว่านั้นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท
  • เมื่อทำตามหลักเกณฑ์แล้วจะแบ่งกันอย่างไรก็แล้วแต่ที่ประชุมจะตกลงก็จะบันทึกบัญชีโดย

                  เดบิต กำไรสะสม

                              เครดิต เงินปันผลค้างจ่าย

      และเมื่อมีการจ่ายบันทึกบัญชีโดย

                        เดบิต เงินปันผลค้างจ่าย

                                    เครดิต ธนาคาร/เงินสด

 

39.

การคิดกำไรต่อหุ้น กรณี วันที่ 1 ..46 บริษัท ก จดทะเบียนโดยออกหุ้นสามัญจำนวน 150,000 หุ้น ราคาพาร์ หุ้นละ 100 บาท บริษัทเรียกชำระค่าหุ้นแล้วในราคา หุ้นละ 25.00 บาท อยากทราบว่าในการคำนวณกำไรต่อหุ้นประจำปี 2546 มีวิธีคิดอย่างไร  

          ประเด็นปัญหา :

1.     ต้องมีการถัวเฉลี่ยจำนวนหุ้นใหม่ตามมูลค่าของเงินที่ได้รับชำระแล้วหรือไม่

2.  หรือ สามารถนำเอาจำนวนหุ้นทั้ง 150,000 หุ้น มาหารกำไรได้ทันที ( เนื่องจากผู้ถือหุ้นทุกรายชำระที่ราคาเท่ากันหมด ไม่มีส่วนได้เปรียบเสียเปรียบกัน หรือ อาจจะมีผู้ถือหุ้นแค่ 1 ราย

 

แนวคำตอบ

            ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 38 เรื่องกำไรต่อหุ้น ในส่วนการวัดมูลค่าได้กำหนดว่า กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยการนำกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวดที่เป็นของหุ้นสามัญ หารด้วยจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักขอหุ้นสามัญที่ถือโดยบุคคลภายนอก ดั้งนั้นในกรณีของบริษัท ก เป็นการเรียกชำระค่าหุ้น 25 บาท ทุกหุ้นเท่ากัน สามารถใช้จำนวนหุ้นทั้งหมด 150,000 หุ้น นำมาหารได้เลย แต่ถ้ากรณีหุ้นแต่ละหุ้นชำระไม่เท่ากันต้องนำจำนวนหุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามสัดส่วนของวัน และเวลา ทั้งนี้สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 38 เรื่อง กำไรต่อหุ้น

 

40.

บริษัทมหาชนจำกัดมีผลขาดทุนสะสมและได้ชดเชยผลขาดทุนสะสมแล้ว  แต่ยังมีผลขาดทุนสะสมอยู่บริษัทดังกล่าวสามารถลดทุนในจำนวนเกินกว่าจำนวนขาดทุนสะสมที่เหลืออยู่ได้หรือไม่

 

แนวคำตอบ

            บริษัทมหาชนจำกัดสามารถลดทุนของบริษัทได้ใน 2 กรณี  คือ

1.   เมื่อบริษัทมีเงินทุนมากเกินความจำเป็นที่จะใช้ในการดำเนินการของบริษัทจึงทำการลดทุนเพื่อคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น  แต่จะลดลงให้เหลือต่ำกว่า 1 ใน 4 ของทุนทั้งหมดไม่ได้และจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ด้วย (มาตรา 141 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535)

2.   เมื่อบริษัทมีขาดทุนสะสมและได้นำเงินสำรองและทุนสำรองมาหักโอนชดเชยผลขาดทุนสะสม ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังมีผลขาดทุนสะสมเหลืออยู่ บริษัทสามารถทำการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมโดยลดลงให้เหลือต่ำกว่า   1 ใน 4 ของทุนทั้งหมดได้ แต่ต้องไม่เกินผลขาดทุนสะสมที่ยังเหลืออยู่โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้   (มาตรา 119 ประกอบกับมาตรา 139  แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544)

            ทั้งนี้ บริษัทสามารถเลือกที่จะทำการลดทุนในกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือจะดำเนินการทั้งสองกรณีเป็นลำดับโดยใช้มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในคราวเดียวกันก็ได้  แต่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนอัน เนื่องมาจากการลดทุนในแต่ละกรณีตามลำดับและภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และหากบริษัทยังไม่อาจคืนทุนได้หรือไม่สามารถที่จะคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นอันเกิดจากการลดทุนได้บริษัทจะต้องทำการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องของบริษัทให้เป็นไปตามหลักการของมาตรฐานการบัญชีด้วย

 

41.

บริษัทมหาชนจำกัดสามารถลดทุนเพื่อชดเชยส่วนลดมูลค่าหุ้นได้หรือไม่  หากไม่ได้

จะแสดงส่วนลดมูลค่าหุ้นเป็นจำนวนสุทธิ(หักกลบลบกันระหว่างส่วนเกินมูลค่าหุ้น

และส่วนลดมูลค่าหุ้นได้หรือไม่)

 

แนวคำตอบ

            กรณีที่บริษัทดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและมีการขาดทุนจึงสามารถเสนอขายหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่จดทะเบียนไว้  ตามมาตรา 52  แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อันก่อให้เกิดส่วนลดมูลค่าหุ้นกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด มิได้มีบทบัญญัติใดที่บัญญัติให้นำส่วนลดมูลค่าหุ้นนี้ไปใช้เพื่อการใดหรือให้บริษัทสามารถลดทุนเพื่อชดเชยส่วนลดมูลค่าหุ้นได้โดยส่วนลดมูลค่าหุ้นที่เกิดขึ้นจำต้องบันทึกอยู่ในบัญชีของบริษัทตลอดไปและหากปรากฏว่าบริษัทมีทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นและส่วนลดมูลค่าหุ้นซึ่งเป็นหุ้นชนิดเดียวกัน สามารถนำมาหักกลบกันหรือแสดงเป็นมูลค่าสุทธิได้ และหากเป็นหุ้นคนละชนิดกัน  ก็ต้องแสดงแต่ละรายการแยกต่างหากจากกัน  ไม่สามารถนำมาหักกลบกันหรือแสดงเป็นมูลค่าสุทธิได้  อย่างไรก็ตามการแสดงรายการหักลบกันดังกล่าวเป็นมูลค่าสุทธิเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลในงบการเงินเท่านั้น  ในการบันทึกบัญชีจะต้องแยกบันทึกรายการส่วนเกินมูลค่าหุ้นและส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นเป็นแต่ละบัญชีแยกจากกัน

 

รายได้

 

42.

ธุรกิจสายการบิน   อยากทราบว่าเกี่ยวกับหลักการบันทึกบัญชีของธุรกิจสายการบินรวมถึงเรื่องการรับรู้ค่าใช้จ่ายและรายได้

 

แนวคำตอบ

            ท่านสามารถศึกษาวิธีการทางบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ จาก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง การรับรู้รายได้ ซึ่งมาตรฐานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับรายได้ ซึ่งเกิดจากรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวกับการขายสินค้า การให้บริการ และการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ในรูปดอกเบี้ยค่าสิทธิและเงินปันผล

 

43.

เป็นบริษัทที่มีการขายแบบผ่อนชำระ  บริษัทจะรับรู้รายได้จากการขายแบบผ่อนชำระได้เมื่อใด

 

แนวคำตอบ

            บริษัทต้องรับรู้รายได้ ณ วันที่มีการขายสินค้านั้น  ซึ่งราคาขายเป็นราคาที่ไม่รวมดอกเบี้ย  และบริษัทต้องรับรู้รายได้ดอกเบี้ยตามระยะเวลาของสัญญาที่ผ่อนชำระ

 

44.

ค่าสมาชิกวารสารหรือสิ่งพิมพ์จะถือเป็นรายได้ในปีที่ได้รับเงินค่าสมัครสมาชิกทั้งหมดเลยได้หรือไม่  หากไม่ได้ต้องรับรู้อย่างไร

 

แนวคำตอบ

            จะถือเป็นรายได้ทั้งหมดเมื่อมีการรับค่าสมาชิกไม่ได้  กิจการควรรับรู้รายได้ตามสัดส่วนระยะเวลาการเป็นสมาชิก

 

45.

กิจการขายส่งและขายปลีก ปกติจะซื้อสินค้าประเภทปูนซีเมนต์เป็นจำนวนมาก ก่อนวันที่ 16 กรฎาคม 2544 บจ.ปูนซีเมนต์นครหลวงจะให้ส่วนลดหลังการขาย โดยไม่มีการหัก ณ ที่จ่าย กิจการบันทึกส่วนลดดังกล่าวโดย

          Dr  เงินสด/เจ้าหนี้       ****

                    Cr  ส่วนลดรับ            ****

ปัจจุบันบจ ปูนซีเมนต์นครหลวง มีการหัก ณ ที่จ่าย 3 % แล้วระบุว่า ส่วนลดส่งเสริมการขาย ไม่ทราบว่ากิจการจะบันทึกบัญชีที่ถูกต้องอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            การบันทึกบัญชีส่วนลดส่งเสริมการขายที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%บันทึกโดย

            Dr  เงินสด/เจ้าหนี้                        ***

                     ภาษี หัก ณ ที่จ่าย                            ***

                        Cr  ส่วนลดรับ/ส่วนลดส่งเสริมการขาย(ถือเป็นรายได้อื่น)          ***

 

46.

บริษัทมีการรับฝากขายสินค้าให้กับบริษัทอื่น  จะมีวิธีการบันทึกบัญชีด้านผู้รับฝากขายอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับฝากขาย มีดังนี้

1.   เมื่อได้รับสินค้าฝากขาย  ให้บันทึกสินค้าที่รับฝากขายเป็นรายการบันทึกความทรงจำโดยแสดงรายละเอียดปริมาณและลักษณะสินค้าที่รับฝากขาย

2.      เมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆสำหรับสินค้าที่รับฝากขายแทนผู้ฝากขาย บันทึกบัญชี โดย

            เดบิต  บัญชีรับฝากขายจากบริษัท     ***

                        เครดิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร                    ***

3.      ขายสินค้าที่รับฝากขาย  บันทึกบัญชี โดย

            เดบิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร                      ***

                        เครดิต  บัญชีรับฝากขายจากบริษัท               ***

4.      คิดค่านายหน้าจากการรับฝากขายสินค้า  บันทึกบัญชี โดย

            เดบิต บัญชีรับฝากขายจากบริษัท                  ***

                        เครดิต  รายได้ค่านายหน้า                         ****

5.      ส่งเงินที่เหลือให้ผู้ฝากขาย(คำนวณหาโดย ยอดขาย-ค่าใช้จ่าย-ค่านายหน้า)  บันทึกบัญชีโดย

            เดบิต  บัญชีรับฝากขายจากบริษัท     ***

                        เครดิต  เงินสด/เงินฝากธนาคาร                   ****

 

ค่าใช้จ่าย

 

47.

ค่าไฟฟ้าของกิจการ (อยู่อาศัยด้วย)จะไม่ลงบัญชีได้หรือเปล่า ค่าใช้จ่ายของกิจการเยอะมากอยู่แล้ว ภาษีซื้อขอคืนไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นชื่อกิจการ

 

แนวคำตอบ

            ให้พิจารณาจากข้อเท็จจริงโดยดูว่าเป็นค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการหรือไม่ แม้ว่าชื่อใบเสร็จอาจจะไม่ใช่ชื่อของกิจการ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการจริงก็ลงบัญชีของกิจการได้

 

48.

บริษัทมีการจดทะเบียนสาขาและเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม  มีภาษีซื้อซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะเข้าระบบมูลค่าเพิ่มจะขอคืนภาษีไม่ได้    จะนำมาบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

 

แนวคำตอบ

            ได้  เนื่องจากรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบริษัทสามารถนำมาบันทึกบัญชีได้  โดยต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องทำข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี  ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบลงบัญชี พ..2544

 

49.

ได้รับเงินโอนมาจากต่างประเทศเข้าบัญชีของทางบริษัทเป็นค่านำเข้าและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเงินจำนวนนี้จะถูกหักออกเมื่อเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำนวนที่โอนมาพอเงินจำนวนนี้หมดก็จะโอนเงินสำรองตัวนี้มาให้อีกซึ่งเงินที่โอนมาให้นี้ไม่เกี่ยวกับค่าจ้างที่ได้รับจากการทำงานแต่อย่างไรเงินค่าจ้างก็จะออกใบแจ้งหนี้ค่าจ้างตามปกติและก็โอนเงินมาเต็มจำนวนของค่าจ้าง อยากทราบว่าเงินจำนวนดังกล่างที่โอนมาเป็นเงินสำรองเพื่อเสียค่าอากรขาเข้าและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อได้ถูกโอนเข้ามาในบัญชีจะลงบัญชีอย่างไรและถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นค่าอะไร และภาษีซื้อของเงินจำนวนดังกล่าวสามารถขอคืนได้หรือไม่(ระหว่าง 2 บริษัทไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกันไม่ใช่บริษัทแม่กับบริษัทลูก)

 

แนวคำตอบ

            ทางบริษัทไม่สามารถนำเงินจำนวนนั้นมาบันทึกรายรับหรือรายจ่ายของกิจการได้ เนื่องจากรายการดังกล่าวเป็นเงินที่บริษัทในต่างประเทศส่งให้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านภาษี ดังนั้นกิจการอาจจะบันทึกเงินดังกล่าวเป็นเงินสำรอง-(ชื่อกิจการที่ส่งเงินมาให้) และเมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายก็จะบันทึกบัญชีล้างกับบัญชีเงินสำรองออกไป  ส่วนภาษีซื้อถ้าไม่ใช่ของกิจการจะขอคืนไม่ได้

 

50.

ค่าขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า  โรงงานเพิ่งสร้างใหม่ ให้การไฟฟ้ามาขยายหม้อแปลงให้เพราะไฟไม่พอ อยากทราบว่าเป็นค่าใช้จ่ายฝ่ายทุนหรือไม่ถ้าใช่จัดเป็น พวกที่ดินหรือสิ่งปรับปรุงที่ดิน

 

แนวคำตอบ

            บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายฝ่ายทุน โดยจัดเป็นส่วนประกอบโรงงาน

 

51.

ค่าโทรศัพท์มือถือ อยากทราบว่าถ้าบริษัท ได้จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือแทนพนักงาน โดยชื่อในใบเสร็จเป็นชื่อของพนักงาน บริษัทจะลงเป็นค่าใช้จ่าย ของบริษัทได้หรือไม่จะต้องทำอย่างไร ถึงจะถูกต้อง เพระบริษัท มีนโยบายให้พนักงานหาโทรศัพท์มาใช้เองโดยบริษัทจะออกค่าใช้จ่ายในการติดต่องานกับลูกค้าให้พนักงาน

 

แนวคำตอ

            บริษัทจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ก็ต่อเมื่อเป็นการจ่ายเพื่อการดำเนินงานของบริษัทซึ่งพิสูจน์ได้ และในการลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทจะต้องมีเอกสารประกอบด้วย ซึ่งอาจจะมีการทำใบสำคัญจ่ายให้ผู้มีอำนาจอนุมัติและพนักงานดังกล่าวเซ็น และในข้อตกลงการจ้างพนักงานควรมีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้ด้วย

 

52.

การจ่ายเงินปันผล มีเพดานจำกัดหรือไม่   เช่น ถ้าบริษัทมีกำไรปีนี้ 5 ล้าน หลังตั้งสำรองตามกฎหมาย จะจ่ายปันผลจากยอดกำไรสุทธิหลังจากหักสำรองตามกฏหมายเลยทั้งก้อนได้หรือไม่

 

แนวคำตอบ

            กฎหมายไม่ได้กำหนดเพดานในการจ่ายเงินปันผลไว้จะจ่ายทั้งหมดหรือจ่ายเท่าไร ก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องจ่ายในขณะที่มีกำไรและจ่ายจากเงินกำไรหลังจากหักทุนสำรองตามกฎหมายแล้ว   อนึ่งกำไรที่ว่าจะต้องเป็นกำไรสะสมด้วย มิใช่ปีนี้มีกำไร  แต่ปรากฏว่าในบัญชียังมีขาดทุนสะสมมากกว่ากำไรที่ได้ปีนี้ กรณีเช่นนี้ก็จะจ่ายเงินปันผลไม่ได้

53.

บริษัทถูกกรมศุลกากรประเมินเงินเพิ่มค่าอากร เนื่องจากสำแดงพิกัดไม่ตรงกัน บริษัทไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์ต่อกรมศุลกากร แต่การอุทธรณ์ต้องจ่ายเงินเพิ่มอากรดังกล่าวไปก่อน ถามว่าสามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์(บัญชี Claim) ไว้ก่อนได้หรือไม่ หรือว่าต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน

 

แนวคำตอบ

            การที่จะบันทึกรายการเงินเพิ่มอากรที่จ่ายไป เป็นรายการอะไรนั้น  ให้พิจารณาเปรียบเทียบกับข้อมูลในแม่บทการบัญชีก่อนว่ารายการดังกล่าวนั้นเป็นไปตามคำนิยามและเข้าเกณฑ์เงื่อนไขการรับรู้  ทุกข้อขององค์ประกอบต่างๆ ในงบการเงิน หรือไม่   แต่จากข้อมูลเบื้องต้นในคำถามที่ถามมานั้น น่าจะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเพราะประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน นอกจากนี้ ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนี้ไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย

 

ปัญหาอื่นๆ

 

54.

ขาดทุนสะสมเนื่องจากปรับปรุงที่ดินลดลงจะจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่ กิจการมีกำไรสะสมจากการประกอบกิจการ 5 ล้านบาท แต่ได้ปรับปรุงมูลค่าลดลงในที่ดินเมื่อปีก่อน 8 ล้าน ทำให้ขาดทุนสะสม 3 ล้าน แต่จริง ๆ แล้วบริษัท มีรายได้ค่าเช่า ทำให้มีเงินเหลืออยากจะจ่ายปันผลถ้าขาดทุนสะสมจะจ่ายไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ถามว่าขาดทุนสะสม ดังกล่าวเป็นการปรับตามมาตรฐานการ บัญชี จะยังจ่ายเงินปันผลได้อยู่หรือไม่ และ ตั้งสำรองอย่างไร ถ้าจ่ายได้ แล้วทำอย่างไรถึงจะจ่ายเงินปันผลได้ เพราะกรรมการไม่ต้องกู้ยืมเงินบริษัทมาใช้เนื่องจากบริษัท ต้องเสียภาษี ธุรกิจเฉพาะ

 

แนวคำตอบ

            ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 หากบริษัทพบว่า มีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อได้ว่าสินทรัพย์ของบริษัทอาจเกิดการด้อยค่าบริษัทก็ยังคงต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่านั้นในงบกำไรขาดทุน ดังนั้น กรณีของการปรับปรุงมูลค่าลดลงในที่ดินนี้ก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นการปรับตามมาตรฐานการบัญชีก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดผลขาดทุนสะสม ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า การจ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไรจะกระทำมิได้ ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผล

 

55.

สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงิน และหนี้สินที่เป็นตัวเงิน  อยากทราบว่า

  • รายการสินทรัพย์ใดบ้างที่เป็นตัวเงิน  อาทิ เงินสด ลูกหนี้ และ
  • รายการสินทรัพย์ใดบ้างที่ไม่เป็นตัวเงิน  อาทิ สินค้า ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
  • รายการหนี้สินและทุนใดบ้างที่เป็นตัวเงิน อาทิ เจ้าหนี้
  • รายการหนี้สินและทุนใดบ้างที่ไม่เป็นตัวเงิน อาทิ หุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธิ

 

แนวคำตอบ

            จากคำถามดังกล่าวเข้าใจว่าท่านต้องการสอบถามเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน จึงขอตอบโดยรวม ดังนี้

  1. เครื่องมือทางการเงิน หมายถึง สัญญาใดๆที่ทำให้สินทรัพย์ทางการเงิน ของกิจการหนึ่ง และหนี้สินทางการเงินหรือตราสารทุนของอีกกิจการหนึ่งเพิ่มขึ้นในเวลาเดียวกัน
    • สินทรัพย์ทางการเงินที่เป็นตัวเงิน หมายถึง สินทรัพย์ทางการเงินซึ่งระบุเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน หรือเป็นจำนวนเงินที่สามารถทราบได้
    • หนี้สินทางการเงินที่เป็นตัวเงิน หมายถึง หนี้สินทางการเงินซึ่งระบุเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนหรือเป็นจำนวนเงิน
  2. รายการที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น เงินสด , ลูกหนี้ , ตราสารทุนของกิจการอื่น
  3. รายการที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ,สินค้าคงเหลือ,สินทรัพย์ตามสัญญาเช่า สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ( เช่น สิทธิบัตร, เครื่องหมายการค้า)
  4. รายการที่เป็นหนี้สินทางการเงิน เช่น เจ้าหนี้ , ตราสารหนี้
  5. รายการที่ไม่ใช่หนี้สินทางการเงิน เช่น  ภาษีเงินได้ที่กิจการต้องจ่ายตามข้อกำหนดของกฎหมาย , ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่แสดงอยู่ในงบดุลรวมของกิจการ ,ประมาณการหนี้สิน
  6. ตราสารทุน เช่น หุ้นทุนของกิจการ , หุ้นบุริมสิทธิ์ซึ่งไม่ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการเรียกร้องให้กิจการไถ่ถอนหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม 

                  ทั้งนี้ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 48 เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน

 

56.

เรื่องงบการเงินเลิกกิจการ อยากทราบว่างบการเงินเลิกกิจการให้ส่งเมื่อไรต้องส่งพร้อมรายการชำระบัญชีเรียบร้อยหรือ และถ้าชำระบัญชีใช้เวลาเป็นปี ไม่ต้องส่งงบการเงินหรืออย่างไร

 

แนวคำตอบ

            การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด  ให้ท่านศึกษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 5 มาตรา 1247-1273 ในที่นี้จะกล่าวโดยย่อ ดังนี้

  • ให้ยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัทและชื่อผู้ชำระบัญชีภายใน สิบสี่วัน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ/สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัด ที่ซึ่งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ก่อนเลิกบริษัท
  • จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิก  โดยจัดให้งบการเงินดังกล่าวได้รับตรวจสอบ และรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือไม่ก็ตาม
  • จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่ออนุมัติงบดุล
  • ยื่นรายงานการชำระบัญชีทุกสามเดือน
  • ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ประชุมอนุมัติ

                        ทั้งนี้  ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลิก และชำระบัญชีได้ที่ สำนักจดทะเบียนธุรกิจกลาง 0-2547-5155

 

57.

งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการจะต้องจัดทำเป็นงบการเงินแบบเปรียบเทียบด้วยหรือไม่

 

แนวคำตอบ

            งบการเงิน ณ วันเลิก ไม่ต้องจัดทำเป็นงบเปรียบเทียบ

 

58.

เรื่องการออกใบกำกับภาษีกรณีถูกปรับ

  • บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและถูกปรับเนื่องจากก่อสร้างงานล่าช้า   จะต้องออกใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี ให้ผู้ว่าจ้างอย่างไร
  • บริษัทฯ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถออกใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีที่จัดทำขึ้นเอง  โดยพิมพ์จาก Computer ได้หรือไม่ เพื่อจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปจ้างให้ร้านพิมพ์เป็นจำนวนมาก ๆ

 

แนวคำตอบ

  1. บริษัทที่ปรับเป็นผู้ที่จะต้องออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินให้กับบริษัทของท่าน
  2. ไม่ได้มีการกำหนดเรื่องการจัดทำใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีว่าจะต้องจัดพิมพ์ด้วยอะไร ดังนั้น บริษัทสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ก็ได้ แต่ต้องมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

 

59.

ทำแฟรนไชน์มินิมาร์ท แล้วให้ทางเจ้าของทำบัญชีให้ด้วย ต่อมาได้เปลี่ยนสำนักงานบัญชี เมื่อทวงถามเอกสารเพื่อนำมาทำต่อ ปรากฏว่าได้รับแจ้งจากทางแฟรนไชน์ว่า หาเอกสารไม่ครบ ไม่ทราบว่าควรทำอย่างไร

 

แนวคำตอบ

            กรณีที่บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องเป็นผู้แจ้งการสูญหายหรือเสียหาย นั้น โดยต้องใช้แบบ ส.บช. 2 พร้อมด้วยหลักฐานเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบ ส.บช. 2 โดยยื่นต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชี ประจำท้องที่ในจังหวัดที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น สำหรับแบบ ส.บช. 2 และรายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการแจ้งสูญหายนั้น สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.dbd.go.th โดยเลือกบริการกรมเลือกงานด้านบัญชีและสอบบัญชี เลือกแบบพิมพ์ต่างๆ และพิมพ์แบบ ส.บช. 2

 

ที่มาของข้อมูล : สภาวิชาชีพบัญชี







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี