ผู้ทำบัญชี
1.
|
ผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นพนักงานที่สังกัดอยู่ในบริษัทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีด้วยหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
ไม่จำเป็น จะเป็นพนักงานประจำหรือไม่ก็ได้ หากมีความรับผิดชอบ ในการทำบัญชี ถือว่าเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายก็จะต้องยื่นแบบ ส.บช. 5
|
2.
|
สงสัยว่าต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นนักบัญชีเฉพาะผู้จัดการด้านบัญชีหรือพนักงานบัญชีทุกคน ที่มีคุณสมบัติครบตาม พ.ร.บ. หรือขึ้นทะเบียนไว้ก่อน
|
|
แนวคำตอบ
ขึ้นทะเบียนเฉพาะผู้จัดการด้านบัญชี พนักงานอื่นที่มีคุณสมบัติยังไม่ต้องไปขึ้นทะเบียน
§ จนกว่าจะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ทำบัญชีหรือ
§ ไปรับทำบัญชีให้ธุรกิจอื่น
|
3.
|
ถ้าเราเป็นผู้จัดการฝ่ายบัญชี เราเป็นคนตรวจสอบใบสำคัญ โดยมีหัวหน้า 2 คน เป็นคนอนุมัติ ทั้งสองคนไม่ได้จบบัญชี คนที่อนุมัติเป็นคนสุดท้ายเป็นประธาน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ รายงานทุกอย่าง ก็ต้องเสนอที่ประธานคนสุดท้าย
1. กรณีนี้จะเรียกว่าเราเป็นผู้ทำบัญชีรับผิดชอบตามกฎหมายหรือไม่
2. แล้วการที่ผู้ที่ลงลายมือชื่ออนุมัติใบสำคัญไม่ได้จบบัญชีจะผิด พ.ร.บ.หรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
- ผู้จัดการฝ่ายบัญชี หมายถึง ผู้จัดการฝ่ายบัญชีซึ่งถ้าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี มอบหมายให้เป็นผู้ทำบัญชีของกิจการและมีคุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นผู้ทำบัญชีตาม พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543 และได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชี ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็จะถือเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย
- การที่มีการอนุมัติรายการโดยผู้อนุมัติรายการคนใดก็ตามไม่จำเป็นต้องจบบัญชีเพราะไม่ใช่ผู้ทำบัญชีของกิจการ
|
4.
|
กรณีที่ผู้ทำบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบเป็นกลุ่มบริษัทโดยที่ไม่ได้สังกัดในบริษัท ผู้มีหน้าที่
จัดทำบัญชีจะต้องยื่นแบบ ส.บช.5 อย่างไร
|
|
แนวคำตอบ
ผู้ทำบัญชีจะต้องยื่น ส.บช. 5 โดยแจ้งรายละเอียดชื่อธุรกิจทั้งหมดที่ตนเป็นผู้ทำบัญชี ทั้งนี้ผู้ทำบัญชี 1 คน จะรับทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 ราย/ปี
|
5.
|
กรณีเจ้าของกิจการ ซึ่งจบปริญญาตรีทางการบัญชี จะเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการของตัวเองได้หรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
เป็นได้ เท่ากับเป็นทั้งผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ทำบัญชี
|
6.
|
ผู้จบปริญญาตรีทางการบัญชีร่วมกับผู้ทำบัญชีที่สอบผ่านการอบรมได้สิทธิทำบัญชี 8 ปี เข้าหุ้นกันตั้งสำนักงานบริการรับทำบัญชีเป็นคณะบุคคลขึ้นมาใหม่ โดยจะแจ้งตามแบบ ส.บช. 5 ก่อน 9 ตุลาคม 2544 แต่ตอนยื่น ส.บช. 3 เป็นผู้ทำบัญชีจะให้ผู้ผ่านการอบรมได้สิทธิ 8 ปี เป็นผู้รับรองจะได้หรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
จะต้องยื่น ส.บช. 5 ใหม่ โดยผู้เป็นหุ้นส่วนของคณะบุคคลที่รับผิดชอบในการทำบัญชีจะต้องแจ้งรายชื่อของนิติบุคคลที่รับผิดชอบทำบัญชีให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งผู้อบรมผ่าน 60 ชั่วโมงมีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีได้และจะต้องยื่น ส.บช.5 แจ้งรายชื่อกิจการที่ตนเป็นผู้ทำบัญชีด้วยเช่นเดียวกัน
- ส.บช. 5 จะต้องแสดงชื่อธุรกิจที่ผู้ทำบัญชีได้ทำบัญชีให้จริง ทั้งนี้จะต้องมีจำนวนเท่าที่กฎหมายกำหนดให้ คือ
- กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชีไม่เกิน 150 ราย
- ผู้ช่วยผู้ทำบัญชีไม่เกิน 100 ราย
- ในกรณีนี้สำนักงานบริการรับทำบัญชีจะมอบหมายให้ผู้ใดรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชีของสำนักงานก็ได้ เพราะผู้ทำบัญชีที่สอบผ่านการอบรมตามมาตรา 42 วรรค 2 ขณะนี้มีคุณสมบัติครบถ้วนแต่ถ้าครบ 8 ปีแล้วยังไม่สำเร็จปริญญาตรีทางการบัญชีก็จะขาดคุณสมบัติ ทั้งนี้ หากจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางการบัญชี (ปวส.) สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนไม่เกิน5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทได้
|
7.
|
บริษัท ก มีบริษัทในเครือ 6 บริษัท บริษัท ก จะเป็นผู้รับผิดชอบทำบัญชีให้ บริษัทในเครือทั้งหมด โดยได้รับค่าตอบแทน อยากทราบว่าผู้ที่จะต้องลงนาม เป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทในเครือคือใคร (สมุห์บัญชี บริษัท ก และผู้ทำบัญชีให้บริษัทในเครือจบปริญญาตรีสาขาบัญชี กรรมการบริษัท ก ไม่จบบัญชี)
|
|
แนวคำตอบ
- ผู้ลงนามเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทในเครือ จะเป็นผู้ทำบัญชีคนเดียวกับผู้ทำบัญชีของบริษัท ก หรือต่างบุคคลกันก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ทำบัญชีนั้นต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด
- กรรมการบริษัท ก ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้ทำบัญชี ดังนั้น จึงลงนามเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น
|
8.
|
ธุรกิจมีบริษัทในเครือ 10 บริษัท จะต้องมีผู้ทำบัญชีทั้ง 10 บริษัทหรือไม่ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะกำหนดให้ผู้ทำบัญชี 1 คน ทำบัญชีให้กับบริษัทในเครือทั้งหมดจะได้หรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
จะต้องมีผู้ทำบัญชีทุกบริษัท อย่างไรก็ตามแต่ละบริษัทจะใช้ผู้ทำบัญชีคนเดียวกันได้ถ้าผู้ทำบัญชีคนนั้นจะรับทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 ราย/ปี
|
9.
|
อยากทราบว่าการขึ้นทะเบียนนักบัญชีเฉพาะผู้ที่เป็นคนลงลายมือชื่อใน ส.บช. 3 เท่านั้นหรือไม่ หากใช่ นักบัญชีที่มิได้ลงลายมือชื่อใน ส.บช. 3 ต้องยื่นด้วยหรือไม่อย่างไรถ้ามิได้ยื่นภายหลังจะเสียสิทธิ์การเป็นนักบัญชีหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
ผู้ที่ต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี คือ
§ ผู้ที่กำลังทำบัญชีให้ธุรกิจต่างๆ อยู่ในขณะนี้และธุรกิจมอบหมายให้ผู้นั้นเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการ
§ ฃถ้าธุรกิจมีนักบัญชีหลายคนอยู่ในแผนกบัญชี คนที่ต้องลงทะเบียน ก็คือหัวหน้าแผนกบัญชี ดังนั้น นักบัญชีที่ยังไม่ได้ทำหน้าที่ผู้ทำบัญชีไม่ได้เสียสิทธิในการเป็นผู้ทำบัญชี หากได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ทำบัญชีเมื่อใด ก็ให้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีภายใน 60 วันนับแต่วันที่เป็นผู้ทำบัญชี
|
10.
|
มีหลายโรงงานแต่มีผู้จัดการคนเดียว นั่งที่เดียว ใครคือผู้ทำบัญชีแต่ละแห่ง
|
|
แนวคำตอบ
ขึ้นอยู่กับว่ากิจการจะมอบหมาย ถ้าหากกิจการจะมอบหมายให้ผู้จัดการเพียงคนเดียวรับผิดชอบในการทำบัญชีของหลายโรงงานก็ได้ แต่ผู้จัดการต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขเป็นผู้ทำบัญชีตามประกาศกรมฯ เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี
|
11.
|
ในกรณีที่ประกอบกิจการรับจัดทำบัญชีในนามนิติบุคคล โดยมีลูกค้าประมาณ 320 ราย โดยแบ่งระดับการทำงานภายในองค์กร ดังนี้ 1 หัวหน้าสำนักงาน2 ระดับหัวหน้าฝ่าย 10 คน ซึ่งทุกระดับมีคุณวุฒิที่สามารถลงลายมือชื่อรับรองเป็นผู้ทำบัญชีได้ในกรณีนิติบุคคลนี้ จะต้องยื่นแบบ ส.บช. 5 อย่างไร
|
|
แนวคำตอบ
ผู้ที่เป็นหัวหน้าสำนักงานยื่นแบบ ส.บช. 5 โดยระบุรายชื่อกิจการที่รับทำบัญชี ให้ได้ไม่เกิน 150 ราย/ปี ส่วนระดับหัวหน้าฝ่ายถือเป็นผู้ช่วยผู้ทำบัญชี สามารถรับผิดชอบในการทำบัญชีของกิจการ ต่างๆ ได้ไม่เกิน 100 ราย/ปี และจะต้องยื่นแบบ ส.บช.5 ด้วยโดยระบุรายชื่อกิจการในส่วนที่ตนทำบัญชี
|
12.
|
ผู้ทำบัญชีของมูลนิธิ สมาคม ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 7 (6) ด้วยหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
ไม่จำเป็น เพราะว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามกฎหมายบัญชีไม่ได้รวมถึง มูลนิธิ, สมาคม
|
13.
|
บริษัทมีหัวหน้าแผนกบัญชีที่มีคุณสมบัติตามมาตร 7 (6) พนักงานบัญชีทุกคนในบริษัท ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 7(6) ด้วยหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
มีคุณสมบัติเฉพาะหัวหน้าแผนกบัญชี ส่วนพนักงานไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดได้
|
คุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นผู้ทำบัญชี
14.
|
จบวุฒิ ปวส.บัญชีรับผิดชอบงบการเงินของห้างหุ้นส่วน (ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. บัญชีที่ไม่ต้องใช้ผู้ทำบัญชีวุฒิปริญญาตรี) จะต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
ในกรณีนี้น่าจะหมายถึงเป็นผู้ทำบัญชีให้ห้างหุ้นส่วนที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาทสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ถือเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายบัญชีจะต้องยื่นแบบ ส.บช. 5
|
15.
|
จบ ปวส.ทางการบัญชีเป็นผู้ลงนามใน ส.บช. 3 แต่บริษัทมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านพอดี รายได้รวมไม่ถึง 30 ล้าน และสินทรัพย์ไม่ถึง 30 ล้าน เป็นผู้ทำบัญชีของกิจการนี้ได้หรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
เป็นผู้ทำบัญชีของกิจการนี้ได้ และต้องไปแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ทำบัญชี
|
16.
|
ผู้ทำบัญชีซึ่งจบปริญญาตรีทางการบัญชี จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงแต่มีประสบการณ์การทำงานในบริษัท และห้างฯ ไม่ถึง 5 ปี จะถือว่าขาดคุณสมบัติ องการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชีหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
ไม่ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากจบปริญญาตรีทางบัญชีจากมหาวิทยาลัยที่ ก.พ. รับรอง
|
17.
|
วุฒิที่จบคือ วุฒิศิลปศาสตร์บัณฑิต บริหารธุรกิจ (การบัญชี) สถาบันราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2542 อยากทราบว่า ก.พ. รับรองหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
เป็นปริญญาตรีที่ ก.พ. รับรอง จึงเป็นผู้ทำบัญชีได้สถาบันราชภัฏ
หลักสูตรเก่า :
- ศิลปศาสตร์บัณฑิตโปรแกรมบริหารธุรกิจ แขนงวิชาการบัญชี (หลักสูตร4 ปี)
หลักสูตรใหม่ (ปี 2543) :
- บริหารธุรกิจบัณฑิตแขนงวิชาการบัญชี (ต่อเนื่อง 2 ปี) โดยต้องเป็นผู้ที่จบ ปวส. ทางการบัญชี , อนุปริญญาทางการบัญชีหรือ ปวท.
- บริหารธุรกิจบัณฑิตแขนงวิชาการบัญชี (หลักสูตร 4 ปี)
|
18.
|
ปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิทยาการจัดการแขนงวิชา
บริหารธุรกิจ วิชาเอกการบัญชี ไม่ทราบว่าเข้าหลักเกณฑ์เป็นผู้ทำบัญชีหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
เป็นผู้ทำบัญชีได้
|
19.
|
ผู้สอบบัญชีมีสิทธิไปขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีได้หรือไม่ จะมีความผิดหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
สามารถเป็นผู้ทำบัญชีได้ในกิจการที่ตนมิได้สอบบัญชี ดังนั้น ผู้สอบบัญชี สามารถเป็นผู้ทำบัญชีได้ แต่จะต้องระมัดระวังเรื่อมรรยาทผู้สอบบัญชี ในเรื่องการไม่รับสอบบัญชีในกิจการที่ตนเป็นผู้ทำบัญชี
|
20.
|
แบบฟอร์มสำหรับใช้เพื่อแจ้งการเป็นเป็นผู้ทำบัญชี ส.บช. 5 และส.บช. 6 จะขอได้ที่ใด
|
|
แนวคำตอบ
สามารถ Print จาก www.dbd.go.th ได้ หรือขอได้ที่สำนักกำกับดูแลธุรกิจ หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดต่างๆ
|
21.
|
ในบริษัทหนึ่งๆ มีพนักงานไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีมากกว่า 1 คน ได้หรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
ได้ ในกรณีที่กิจการมอบหมายให้มีผู้ทำบัญชีมากกว่า 1 คน เช่น ในกรณีที่กิจการมีสำนักงานใหญ่ สถานประกอบธุรกิจเป็นประจำหรือสาขา หรือมีโรงงานหลายแห่ง และกิจการมอบหมายให้มีผู้ทำบัญชีของสาขาหรือโรงงานแต่ละแห่งแยกจากกัน
|
22.
|
ในการกรอกแบบ ส.บช. 5 ต้องระบุว่าเป็นพนักงานของบริษัทใด ดังนั้น เมื่อพนักงานคนนี้ลาออกจากบริษัทนี้แล้ว ไปเป็นผู้ทำบัญชีอีกบริษัทหนึ่งต้องแจ้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยใช่หรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
จะต้องยื่นแบบ ส.บช. 6 ภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 สามารถแจ้งการเปลี่ยนแปลงได้ทาง Internet
|
23.
|
ตอนอบรม 60 ชั่วโมง เป็นผู้ทำบัญชีใช้วุฒิ ปวส. ได้วุฒิบัตรซึ่งมีรหัสเลขที่ผู้ทำบัญชีแล้ว เมื่อเรียนเพิ่มได้วุฒิปริญญาตรีทางบัญชี ต้องแจ้งกับกระทรวงพาณิชย์และต้องเปลี่ยนแปลงเลขวุฒิบัตร หรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีใหม่ โดยใช้แบบ ส.บช. 5 จำนวน 2 ชุด (ต่างจังหวัดใช้ 3 ชุด) พร้อมทั้งแนบหลักฐานประกอบ ดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาปริญญาบัตรหรือสำเนาใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร ( Transcript)
- รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป (ต่างจังหวัดใช้ 3 รูป)
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี) ทั้งนี้ จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ ด้วยว่าเคยผ่านการอบรมแล้ว และเจ้าหน้าที่จะออกรหัสใหม่ให้ รหัสเก่าเป็นอันยกเลิก
|
24.
|
ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วต้องไปติดต่อที่ไหน
ใช้เอกสารอะไรบ้าง
|
|
แนวคำตอบ
การแจ้งรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชีจะต้องแจ้งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับทำบัญชี โดยใช้แบบ ส.บช. 5 จำนวน 2 ชุด (ต่างจังหวัดใช้ 3 ชุด) พร้อมทั้งแนบหลักฐานประกอบ ดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาปริญญาบัตรหรือสำเนาใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร( Transcript)
- รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป (ต่างจังหวัดใช้ 3 รูป)
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี) โดยแจ้งที่สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จังหวัดนนทบุรี 11000
สำหรับต่างจังหวัดสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด นั้น ๆ
|
25.
|
พนักงานบัญชีบริษัทแห่งหนึ่งดำเนินการซื้อมาขายไปเป็นเวลา 4 ปี และจบปริญญาทางการบัญชี อยากทราบว่าต้องไปขึ้นทะเบียนหรือไม่และถ้าไม่ ต้องเผื่ออนาคตย้ายที่ทำงานตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบัญชีถึงต้องไปขึ้นทะเบียนใช่หรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
ขณะนี้ไม่ต้องยื่นแล้วเนื่องจากในปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่ผู้ทำบัญชีแต่ในอนาคตเมื่อเป็นหัวหน้าฝ่ายบัญชีและกิจการมอบหมายให้เป็นผู้ทำบัญชีจึงค่อยแจ้ง
|
26.
|
การรับแจ้งเป็นผู้ช่วยผู้ทำบัญชีจะให้เจ้าของสำนักงานแจ้ง หรือผู้ช่วยผู้ทำบัญชีเป็นผู้แจ้งเอง
|
|
แนวคำตอบ
หัวหน้าสำนักงานรับทำบัญชีแจ้งว่ามีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีกี่คนรวมทั้งชื่อและคุณวุฒิของผู้ทำบัญชี โดยผู้ช่วยผู้ทำบัญชีแต่ละคนจะแจ้งรายละเอียดธุรกิจทั้งหมดในส่วนที่ผู้ช่วยรับผิดชอบเป็นผู้ทำบัญชี
|
27.
|
สำนักงานรับทำบัญชี มีลูกค้าประมาณ 150 ราย เจ้าของสำนักงานเป็นผู้มีคุณสมบัติทำบัญชี และมีผู้ช่วยทำบัญชีซึ่งมีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชี 5 คน จะให้ผู้ช่วยเป็นผู้รับผิดชอบทำบัญชีอยู่แล้ว เซ็นชื่อแทนเจ้าของกิจการได้หรือไม่ผู้ช่วยจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีหรือไม่สำนักงานรับทำบัญชีจะกรอกแบบฟอร์มอย่างไร
|
|
แนวคำตอบ
ในที่นี้ผู้ทำบัญชีของสำนักงานรับทำบัญชีคือ เจ้าของสำนักงานซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานรับทำบัญชี ทั้งนี้ ตามคำชี้แจงของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง ผู้ทำบัญชีและการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545ได้กำหนดว่า ผู้ทำบัญชีของสำนักงานรับบัญชี ได้แก่ หัวหน้าสำนักงานผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการในสำนักงานรับทำบัญชีนั้น ๆ ที่มีหน้าที่ให้บริการจัดทำบัญชีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของสำนักงานรับทำบัญชี
หัวหน้าสำนักงานรับทำบัญชี สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการได้ไม่เกิน 150 ราย ในกรณีนี้ถ้าหัวหน้าสำนักงานประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชี ไม่ถึง 150 ราย ก็สามารถแบ่งให้ผู้ช่วยที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีให้ลูกค้าบางรายได้ แต่อย่างไรก็ตามจะมอบหมายให้ผู้ช่วยเป็นผู้ทำบัญชีของลูกค้าทั้งหมดแทนเจ้าของสำนักงานไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากหัวหน้าสำนักงานอยู่ในฐานะผู้ทำบัญชี
การจัดหาผู้ช่วยผู้ทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีมีหน้าที่จัดให้มีเมื่อรับทำบัญชีเกิน 150 ราย โดยหัวหน้าสำนักงานต้องรับผิดชอบบัญชีของกิจการในส่วนที่มอบหมายให้ผู้ช่วยผู้ทำบัญชีทำบัญชีด้วยทั้งนี้หัวหน้าสำนักงานต้องยื่นแบบ สบช.5 โดยระบุชื่อและคุณวุฒิของผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีและกรอกรายละเอียดในส่วนของกิจการที่ตนรับผิดชอบเป็นผู้ทำบัญชีส่วนผู้ช่วยจะต้องยื่นแบบส.บช.5 แจ้งรายชื่อกิจการในส่วนที่ตนรับผิดชอบเช่นเดียวกัน
|
28.
|
สำนักงานรับทำบัญชี โดยเจ้าของเป็นผู้มีคุณสมบัติทำบัญชี มีพนักงานที่จบปริญญาตรีทางบัญชี จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีหรือไม่ ถ้าให้เขาเป็นผู้ทำบัญชี10 ราย การลงชื่อในแบบ ส.บช. 3 จะให้ผู้ทำบัญชีลงลายมือชื่อหรือเจ้าของสำนักงานลงลายมือชื่อ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของสำนักงานต้องแจ้งอย่างไร
|
|
แนวคำตอบ
ในที่นี้เจ้าของสำนักงานซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานคือผู้ทำบัญชีซึ่งต้องเป็นผู้ยื่นแบบ ส.บช.5 ถ้าจะแบ่งให้ผู้ช่วยที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีของลูกค้าบางรายก็สามารถทำได้แต่จะให้ผู้ช่วยรับผิดชอบเป็นผู้ทำบัญชีของลูกค้าทั้งหมดไม่ได้ ดังนั้น หัวหน้าสำนักงานต้องยื่นแบบ ส.บช.5 แจ้งรายละเอียดกิจการที่ตนรับผิดชอบเป็นผู้ทำบัญชีส่วนผู้ช่วยจะต้องยื่นแบบส.บช.5 แจ้งรายชื่อกิจการในส่วนที่ตนรับผิดชอบเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ รายละเอียดให้ดูแนวคำตอบข้อ 14 ประกอบ
|
ความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชี
29.
|
ผู้ที่ลงชื่อใน ส.บช. 3 เป็นผู้ทำบัญชี ความรับผิดชอบรวมถึงการปกปิดการทำกิจการที่เจ้าของกิจการไม่เปิดเผยด้วยหรือไม่ (การซื้อขายนอกระบบ)
|
|
แนวคำตอบ
หากมีส่วนรู้เห็นก็ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะกฎหมายกำหนดว่า ผู้ใด ลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชี หรือแก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี เพื่อให้ผิดความจริงต้องรับโทษตามกฎหมาย และหากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีทำผิดเองต้องระวางโทษหนักกว่าผู้อื่น
|
30.
|
กรณีที่บริษัทจ้างสำนักงานรับทำบัญชีจัดทำบัญชีให้กับบริษัท ในการนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้ที่จะลงลายมือชื่อ เป็นผู้ทำบัญชีในแบบ ส.บช. 3 คือใคร
|
|
แนวคำตอบ
ผู้ทำบัญชีที่สำนักงานรับทำบัญชีมอบหมายให้ทำบัญชีของบริษัทจะเป็นผู้ที่ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ทำบัญชีและหัวหน้าสำนักงานรับทำบัญชีต้องลงลายมือชื่อในฐานะหัวหน้าสำนักงานรับทำบัญชีด้วย
|
31.
|
บริษัทลงรายการบัญชีโดยใช้รหัสบัญชี บริษัทต้องจัดทำคู่มือคำแปลรหัสบัญชีและนำส่ง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
บริษัทต้องจัดทำคู่มือคำแปลรหัสบัญชีไว้ด้วย โดยไม่ต้องนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
|
ปัญหาอื่นๆ
32.
|
การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีนั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง นักศึกษาที่จบใหม่ก็สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีได้ใช่หรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
- การแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีตามแบบ ส.บช. 5 เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่องกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งผู้ทำบัญชีจะต้องแจ้งรายละเอียดดังกล่าวต่ออธิบดีภายในหกสิบวันนับแต่วันเริ่มทำบัญชีให้กับธุรกิจ โดยใช้แบบ ส.บช. 5 จำนวน 2 ชุด (ต่างจังหวัดใช้ 3 ชุด) พร้อมทั้งแนบหลักฐานประกอบ ดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาปริญญาบัตรหรือสำเนาใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร( Transcript)
- รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป (ต่างจังหวัดใช้ 3 รูป)
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี) โดยแจ้งที่สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จังหวัดนนทบุรี 11000
สำหรับต่างจังหวัดสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด นั้น ๆ
- การแจ้งเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีได้เป็นการรับแจ้งสำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ทำได้ เช่นผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่มีคุณวุฒิตามที่กำหนดให้เป็นผู้ทำบัญชีได้เป็นต้น และมีความประสงค์จะให้กรมฯ ออกหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีได้ตามที่อธิบดีกำหนดเพื่อใช้ในการสมัครงานในฐานะผู้ทำบัญชีของธุรกิจ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามประกาศ กรมทะเบียนการค้า เรื่องการแจ้งเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีได้ พ.ศ. 2544 โดยใช้แบบ ส.บช. 5 ข จำนวน 2 ชุด (ต่างจังหวัดใช้ 3 ชุด) พร้อมทั้งแนบหลักฐานประกอบ ดังนี้
§ สำเนาหลักฐานการศึกษา(ประกาศนียบัตร/อนุปริญญา/ปริญญา) หรือ สำเนาใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร( Transcript)
§ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน
§ รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ต่างจังหวัด 3 รูป โดยแจ้งที่สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จังหวัดนนทบุรี 11000
สำหรับต่างจังหวัดสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด นั้น ๆ
|
33.
|
ยื่นแบบ ส.บช.5 ไปแล้ว ได้เลขประจำตัวเมื่อใด ถ้าต้องการเพิ่มกิจการที่รับทำบัญชีเพิ่มจากที่ยื่นครั้งแรกจะต้องทำอย่างไร
|
|
แนวคำตอบ
- จะได้รหัสประจำตัวผู้ทำบัญชีในขณะยื่น หรือถ้ายื่นทางไปรษณีย์จะตอบกลับให้ประมาณ ภายใน 1 สัปดาห์
- ถ้าเพิ่มกิจการให้ยื่น ส.บช. 6 ภายใน 60 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 สามารถแจ้งการเปลี่ยนแปลงทาง Internet ได้ โดยท่านต้องกรอกแบบแจ้งความประสงค์ในการแจ้งเพิ่ม/ยกเลิกธุรกิจที่รับทำบัญชีและการเข้ารับการอบรมของผู้ทำบัญชีโดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อขอรับ User ID และ Password ที่จะใช้ในการแจ้งเปลี่ยนแปลงทาง Internet
|
34.
|
ความผิดหากไม่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชี หรือผู้ทำบัญชีไม่ทำตามมาตรฐานการบัญชีจะถูกปรับจำนวนเท่าไร มีโทษฐานใด
|
|
แนวคำตอบ
- ผู้ทำบัญชีไม่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีภายในกำหนดเวลามีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- ไม่ทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
|
35.
|
กรณีที่แจ้งแบบ ส.บช. 5 ข และได้รับเลขรหัสประจำตัวแล้ว เมื่อได้เป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทแล้วต้องแจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอีกหรือไม่
|
|
แนวคำตอบ
เมื่อเป็นผู้ทำบัญชีที่ได้รับมอบหมายใหรับผิดชอบในการทำบัญชีให้บริษัทต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.บช. 5 ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เริ่มทำบัญชี
|
ที่มาของข้อมูล : สภาวิชาชีพบัญชี