ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี บทนิยามอาชีพ ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต,รับตรวจสอบบัญชี รับทำบัญชี จดทะเบียนธุรกิจ กฏหมาย ว่าความ
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


บทนิยามอาชีพ ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี article

อาชีพ ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี

 

นิยามอาชีพ
ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและความครบถ้วนของจำนวนเงินที่บันทึกลงในสมุดบัญชี รวมทั้งเอกสารทางการเงินของสถานประกอบการ สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล : ตรวจสอบรายการต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดและการโอนรายการ ต่าง ๆ เป็นไปโดยถูกต้อง ; ตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร จำนวนเงินที่รับมาและ จ่ายไป ตลอดจนหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย ; ตรวจสอบ ความถูกต้องครบถ้วนของใบสำคัญคู่จ่ายให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับ คำสั่ง ระเบียบของหน่วยงานและระเบียบของราชการ มติคณะรัฐมนตรี และตามเงื่อนไขเงื่อนเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ;ตรวจสอบและให้คำแนะนำการดำเนินการด้านภาษี ;เสนอรายงานผลการตรวจสอบและเสนอแนะการจัดทำเอกสารทางการเงินต่าง ๆ

 

ลักษณะของงานที่ทำ
ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของจำนวนเงินที่บันทึกลงในสมุดบัญชี รวมทั้งเอกสารทางการเงินของสถานประกอบกิจการ สถาบัน เอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล ตรวจรายการต่างๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดบัญชี เช่น บัญชีประจำวัน หรือ บัญชีรายวันเพื่อให้เชื่อแน่ว่าการบันทึกจำนวนเงินและรายการต่างๆ ลงในสมุดบัญชีเป็นไปโดยถูกต้อง ตรวจสอบความถูกต้องของการโอนรายการต่างๆ จากบัญชีรายวันไปลงบัญชีแยกประเภท นับเงินสด และตรวจสอบยอดเงินในธนาคาร ตรวจสอบจำนวนเงินที่รับมา และจ่ายไปตลอดจนหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย ตรวจดูเช็คเงินสด เพื่อสอบยอดเงิน ลายเซ็น การขีดฆ่า และวันที่สั่งจ่ายเข้าบัญชีเงินสด สอบรายการในบัญชีรายวัน และบัญชีแยกประเภทกับใบเสร็จจ่ายเงินสด ใบเสร็จซื้อของ และใบเสร็จแสดงค่าใช้จ่าย ตรวจสอบรายการสิ่งของ ตรวจสอบความถูกต้องของยอดเงิน อาจทำเอกสารทางการเงินให้แก่ลูกค้า เช่น เอกสารแสดงกำไรและขาดทุนและงบดุล อาจเตรียมรายงานแสดงรายการต่างๆ โดยละเอียด เช่น ต้นทุน สินทรัพย์ หนี้สิน ปริมาณการขายกำไรสุทธิ และค่าเสื่อม อาจควบคุมพนักงานบัญชีให้สอบบัญชีเป็นประจำ อาจคิดค้นและวางระบบกับวิธีการบัญชีขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะสถานประกอบกิจการ ซึ่งไม่อาจนำระบบการบัญชีมาตรฐานมาใช้ได้

 

สภาพการจ้างงาน
ผู้ประกอบอาชีพนี้ที่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทหรือองค์กรที่จ้างงานผู้ตรวจสอบบัญชี เนื่องจากผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้จะต้องมีประสบการณ์ในงานบัญชีมาบ้างจึงจะทำงานในตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีและผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะต้องมีคุณสมบัติตามที่ คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) กำหนดไว้มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตได้ดังนั้นค่าตอบแทนจึงไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว ค่าจ้างที่ได้รับโดยเฉลี่ยมี ดังนี้

วุฒิการศึกษา รายได้ (โดยเฉลี่ย)
                 รับราชการ            งานเอกชน
ปริญญาตรี     7,500               12,000 – 18,000
ปริญญาโท    9,040              18,000 – 25,000

นอกจากค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนแล้วในภาครัฐจะได้รับสวัสดิการตามระเบียบของทางราชการส่วนในภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่าง ๆ เงินโบนัส ค่าล่วงเวลา เป็นต้น ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ มีชั่วโมงทำงานโดยปกติวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 - 48 ชั่วโมง อาจต้องทำงานล่วงเวลา เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตรวจสอบบัญชีให้เสร็จตามกำหนดเวลา และอาจต้องทำงานในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และ วันหยุด เมื่อมีความจำเป็น

 

สภาพการทำงาน
ผู้ตรวจสอบบัญชี ทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพการทำงานเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป ในการทำงานจะต้องใช้เครื่องคิดเลข หรืออาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ช่วยงานบันทึกรายการและการทำบัญชีในรูปต่างๆ
ในการ ตรวจสอบบัญชี แต่ละครั้งจะต้องทำงานอยู่กับ เอกสารทางบัญชี อาจจะต้องค้น สลิป รายการบัญชีที่สงสัย หรือมีปัญหาร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจดู รายการที่น่าสงสัยหรือมีข้อผิดพลาด ผู้ตรวจสอบบัญชี จาก บริษัทรับตรวจบัญชี มีหน้าที่ ตรวจสอบบัญชี บริษัทลูกค้าบางรายอาจจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในห้องหรือบริเวณที่ลูกค้าจัดเตรียมไว้ให้อาจจะต้องทำงานเป็นเวลา 1- 4 สัปดาห์ในบริษัทของลูกค้าขึ้นอยู่กับลักษณะงานของบริษัทนั้น บางครั้งต้องทำการตรวจสอบเอกสารทางบัญชี ซึ่งต้องตรวจเอกสารทำรายการบัญชีที่ผ่านมาในช่วง 1 ปี ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยใน การตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี จากบริษัท รับตรวจสอบบัญชี มักจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ เพื่อใช้ช่วยในการทำงาน เช่น การบันทึกบัญชี ลูกค้าเพื่อการตรวจสอบ ซึ่งอาจใช้โปรแกรมสำหรับการตรวจสอบหรือการเขียน รายงานการตรวจสอบบัญชี

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- ต้องมีคุณวุฒิ ปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
- เมื่อทำงานจนมีความพร้อม และคุณสมบัติตามที่ กบช. (ปัจจุบันกำหนดโดย สภาวิชาชีพบัญชี) กำหนดไว้ก็มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ได้
- มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับการเงิน
- มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เชื่อถือได้ถูกต้อง รวดเร็วและมีประโยชน์อย่างแท้จริงในการตัดสินใจ
- มีความรอบคอบ วิจารณญาณ เพื่อพิจารณาหาหลักปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งผลกระทบในด้านลบให้น้อยที่สุดแก่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- รับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และให้ความร่วมมือในการพัฒนา วิชาชีพ และสังคม
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ มีประสบการณ์ในด้านโปรแกรมระบบงานบัญชี
- มีความรู้ภาษาอังกฤษตามสมควร มีความรู้ระบบภาษีของไทย

ผู้ที่จะประกอบอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชีควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สาขาวิทยาศาสตร์หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ และสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาใน คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี หรือ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันราชภัฎ หรือ สถานศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย หลักสูตรการศึกษา 4 ปี หรือสำเร็จการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แล้วศึกษาต่อระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี ประเภทวิชาการบัญชี วิชาการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลหรือสถาบันราชภัฎ และศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี และรับโอนหน่วยกิตของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปวส. เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาบัญชี ที่ต้องการเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ต้องฝึกงานเป็นเวลาต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ และมีเวลาฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง โดยต้องแจ้ง การฝึกหัดงานสอบบัญชี ต่อสำนักงาน ก.บช. ก่อน (ปัจจุบันแจ้งต่อ สภาวิชาชีพบัญชี)
เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกำหนดของ ก.บช. (ปัจจุบันกำหนดโดย สภาวิชาชีพบัญชี) สามารถเข้ารับการทดสอบ (รายละเอียดการฝึกหัดงานดูได้จากเว็บไซด์ของสภาวิชาชีพบัญชี http://www.fap.or.th/fap/?q=node/467) เมื่อผ่านการทดสอบก็จะได้รับใบอนุญาตเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ของ ก.บช. (ปัจจุบันเป็นของ สภาวิชาชีพบัญชี)
ผู้ที่มีความสามารถในการเป็น ผู้ตรวจสอบบัญชี สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบการ สถาบันเอกชน หรือการประกอบธุรกิจส่วนตัว เนื่องจากการดำเนินธุรกิจเกือบทุกด้านจำเป็นต้องมี การตรวจสอบบัญชี ขององค์กร เพื่อนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยขั้นแรกอาจจะเป็น ผู้ทำบัญชี หรือ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน และเลื่อนขั้นมาเป็น ผู้ตรวจสอบบัญชี เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วน และสามารถสอบผ่านตามกฎเกณฑ์ของ ก.บช. (ปัจจุบัน ตามเกณฑ์ของสภาวิชาชีพบัญชี) ก็จะเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สามารถลงนามรับรองการตรวจบัญชีของหน่วยงานได้

 

โอกาสในการมีงานทำ
ปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ผู้ตรวจสอบบัญชี จึงยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในหน่วยงานของรัฐและ
เอกชน หรือแม้แต่การประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือบางองค์กร เช่น ธนาคารพาณิชย์ไทย ต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ตรวจสอบภายใน ซึ่งจะต้องมี ผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อทำการตรวจสอบงานบัญชี และการเงินของธนาคารสาขาและในสำนักงานใหญ่ โดยทำการ ตรวจสอบภายใน รวมทั้งบัญชีตามข้อกำหนดของ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ถึงแม้ว่าหน่วยงานบางแห่งจะไม่มีการจ้างงานตำแหน่ง ผู้ตรวจสอบบัญชี แต่ในแต่ละปีหน่วยงานนั้นต้องจ้าง บริษัทรับตรวจสอบบัญชี เข้ามาทำ การตรวจสอบบัญชี ของบริษัททุกปี เนื่องจากต้องจัดทำ งบดุล และ เสียภาษีนิติบุคคล ผู้ตรวจสอบบัญชี ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอยู่มาก สำหรับ ผู้ตรวจบัญชีรับอนุญาต ในการ ตรวจสอบบัญชีตามคุณสมบัติตามที่ ก.บช. (ปัจจุบันตาม สภาวิชาชีพบัญชี)กำหนดไว้ เป็นผู้ที่สามารถลงนามรับรอง งานตรวจสอบบัญชีของหน่วยงานต่างๆ ได้จะยิ่งเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานมาก เนื่องจากต้องเป็นผู้มีประสบการณ์มากและมีความสามารถจึงได้รับอนุญาตจาก ก.บช. ซึ่งจะต้องรักษาสถานภาพนี้ไว้เพราะหากลงนามรับรอง การตรวจสอบบัญชี ผิดพลาดหรือทุจริตและถูกตรวจพบก็จะถูกลงโทษและถูกตัดสิทธิ์การเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ของ ก.บช.(ปัจจุบัน ของ สภาวิชาชีพบัญชี) ทำให้หมดโอกาสในการประกอบอาชีพนี้

 

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพ ผู้ตรวจสอบบัญชี สามารถประกอบอาชีพในสถานที่ต่างๆ ได้หลายแห่ง ทั้งที่เป็นหน่วยงานของราชการ รัฐวิสาหกิจเอกชน บริษัท ห้างร้านต่างๆ
และได้รับการเลื่อนขั้นตำแหน่งไปได้จนถึงตำแหน่งหัวหน้า และหากมีวุฒิการศึกษา และมีความสามารถในการบริหารงาน จะสามารถเลื่อนขั้นได้จนถึงระดับบริหารในหน่วยงานนั้น
เมื่อทำงานจนมีความสามารถ และคุณสมบัติตามที่ ก.บช. กำหนดไว้ก็มีสิทธิที่จะสอบเป็น ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต ได้ ก็สามารถที่จะ รับตรวจสอบบัญชี ให้หน่วยงานทั่วไปได้ ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นรายได้เสริมจากงานประจำ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง

นอกจากจะทำงานในด้านบัญชีโดยตรงแล้วยังอาจทำงานอื่นๆ ที่สอดคล้องกับวิชาชีพที่เรียนมา เช่น เป็นเจ้าหน้าที่งบประมาณ การเงิน ธนาคาร ประกันภัย หรือเป็นอาจารย์สอนบัญชีในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น

 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ข้อมูล หรือรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สถาบันอุดมศึกษาของ รัฐบาลและเอกชนทุกแห่งที่ทำการเปิดสอนในสาขาบัญชี เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันราชภัฎ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยหอการค้า เป็นต้น

 

ขั้นตอนการเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

โปรดดูรายละเอียด ในเว็บไซด์ ของ

 

สภาวิชาชีพบัญชี

 

 




ความรู้เกี่ยวกับการสอบบัญชี

ใครรับรองความถูกต้องของงบการเงิน ? โดยอาจารย์นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ article
ตัวอย่างแนวการสอบบัญชีโดยสรุป article
มาตรฐานการสอบบัญชี article
เส้นทางการเป็น CPA เส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้สอบบัญชี
เทคนิค / วิธีการตรวจสอบบัญชี
ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ?



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี