ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต,รับตรวจสอบบัญชี รับทำบัญชี จดทะเบียนธุรกิจ กฏหมาย ว่าความ
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ใครรับรองความถูกต้องของงบการเงิน ? โดยอาจารย์นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ article

ใครรับรองความถูกต้องของงบการเงิน ?

อาจารย์นิพันธ์   เห็นโชคชัยชนะ

สาธารณชนส่วนใหญ่รวมทั้งนักกฎหมายมักเข้าใจว่า ผู้สอบบัญชีเป็นผู้รับรองความถูกต้องของงบการเงิน ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวเป็นสิ่งที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ดังนั้นในบรรดากฎหมายเก่าๆ (เช่น ประมวลรัษฎากร) มักกล่าวว่า ผู้สอบบัญชีเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของงบการเงิน

บทความนี้ต้องการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้อ่านเกี่ยวกับผู้รับรองความถูกต้องของงบการเงินว่าเป็นใคร ? และความถูกต้องดังกล่าวหมายถึงอะไร ? ตลอดจนงบการเงินที่รับรองแล้วมีประโยชน์จริงหรือ ?

1. ใครเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่องบการเงิน ?

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (หรือนิติบุคคล หรือผู้บริหารซึ่งเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคล) ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติและจัดทำงบการเงิน ผู้ทำบัญชี(นักบัญชี หรือผู้ลงนามในแบบ ส.บช.3) ต้องจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีให้ตรงตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี ส่วนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องตรวจสอบงบการเงินและแสดงความเห็นต่องบการเงิน

ดังนั้นผู้บริหารจึงเป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงิน ส่วนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้แสดงความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญของงบการเงิน ตรงกับมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 200 วัตถุประสงค์และหลักการพื้นฐานของการสอบบัญชี และตรงกับรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่กำหนดให้ผู้บริหารรับผิดชอบต่อการจัดทำและนำเสนอข้อมูลในงบการเงิน ส่วนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน

ประมวลรัษฎากรกำหนดให้นิติบุคคลต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ พร้อมงบการเงิน ซึ่งต้องมีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองงบการเงินนั้นก่อนยื่นต่อกรมสรรพากร ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีกำหนดให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรมีหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินตามแนวทางและวิธีการตรวจสอบที่กรมสรรพการกำหนด และเป็นผู้รับผิดชอบในการรายงาน (ไม่ใช่การแสดงความเห็น) ต่องบการเงินดังกล่าว ส่วนผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ดังนั้นผู้บริหารจึงเป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงิน ส่วนผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้รายงานเกี่ยวกับข้อตรวจพบ

ในเมื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่ใช่ผู้รับรองความถูกต้องของงบการเงิน แล้วผู้สอบบัญชีภาษีอากรตรวจสอบงบการเงินไปทำไม คำตอบเพื่อให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในฐานะผู้ที่มีความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ ความซื่อสัตย์สุจริตและความสามารถช่วยยืนยันหรือพิสูจน์สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน

2. ความหมายของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงินคืออะไร ?

มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 200 วัตถุประสงค์และหลักการพื้นฐานของการสอบบัญชี ได้ให้ความหมายของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน(Management’s assertions หรือ Financial Statements Assertions) ไว้ดังนี้

สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงินหมายถึงการให้การรับรอง(ความถูกต้องครบถ้วนของงบการเงิน)โดยผู้บริหาร (representations by management) โดยการแสดงออกอย่างชัดเจนหรือไม่ก็ตามที่มีอยู่ในงบการเงิน

สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน คือความถูกต้องและครบถ้วนเท่านั้นตามที่สาธารณชนเข้าใจกันใช่หรือไม่ คำตอบไม่ใช่ มันมีความหมายกว้างกว่านี้

3. ประเภทของการรับรองงบการเงินมีอะไรบ้าง ?

คำว่า “ถูกต้องครบถ้วน” ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีหมายความว่าอะไร คือถูกต้องตามควรในสาระสำคัญ แล้วความถูกต้องครบถ้วนดังกล่าวจำแนกออกเป็นกี่ประเภทหรือกี่อย่างมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 200 ได้จัดประเภทของการรับรองงบการเงินไว้ 7 อย่างดังนี้

(1) ความมีอยู่จริง (Existence)
(2)
สิทธิและภาระผูกพัน (Right and Obligations)
(3)
เกิดขึ้นจริง (Occurrence)
(4)
ความครบถ้วน (Completeness)
(5)
การตีราคา (Valuation)
(6)
การวัดมูลค่า (Measurement)
(7)
การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล (Presentation and Disclosure)
 
ต่อไปจะอธิบายแต่ละประเภทของการรับรองงบการเงินข้างต้น พอสังเขป

(1) ความมีอยู่จริง

รายการในงบการเงิน ณ วันที่ใดวันที่หนึ่ง (ณ วันที่ในงบดุล) มีอยู่จริง หมายความว่า สินทรัพย์มีอยู่อย่างแท้จริง หนี้สินมีอยู่อย่างแท้จริง ดังนั้นส่วนของเจ้าของย่อมมีอยู่จริงอย่างแท้จริงด้วย เพราะว่า สมการบัญชีกำหนดว่า

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
หรือ ส่วนของเจ้าของ = สินทรัพย์ – หนี้สิน (บางทีเรียกว่า สินทรัพย์สุทธิ)

ความมีอยู่จริงมุ่งเน้นไปยังยอดคงเหลือของบัญชี (account balance)หรือของรายการต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในงบดุล ณ วันสิ้นงวดบัญชี ความมีอยู่จริงไม่ได้หมายถึง ความมีตัวตนหรือจับต้องได้เท่านั้น สินทรัพย์บางรายการไม่มีตัวตน หรือจับต้องไม่ได้ แต่มีอยู่จริงก็ได้ เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ค่าความนิยม เป็นต้น

รายการใดในงบการเงินที่ไม่มีอยู่จริงจะไม่นำมาแสดงไว้ในงบการเงิน ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544 ที่กำหนดในข้อ 3 ว่า ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจไม่มีรายการที่ต้องแสดงรายการย่อครบตามแบบที่กำหนดไว้ ก็ให้งดเว้นไม่ต้องแสดงรายการที่ไม่มีดังกล่าว

รายการใดในงบการเงินที่ไม่มีอยู่จริง แต่ผู้บริหารแสดงรายการนั้นไว้ในงบการเงิน นักกฎหมายเรียกว่า การบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงิน สาธารณชนเรียกว่า รายการปลอม (ไม่จริง)

(2) สิทธิและภาระผูกพัน

สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรม หรืออำนาจที่จะกระทำการใดๆ ได้อย่างอิสระ โดย ได้รับการรับรองตามกฎหมาย

สินทรัพย์เป็นของกิจการ หรือกิจการมีสิทธิเหนือสินทรัพย์ หรือกิจการมีอำนาจควบคุมสินทรัพย์และใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ได้ ณ วันที่ใดวันที่หนึ่ง (ณ วันที่ในงบดุล) อนึ่งสินทรัพย์ (ทางการบัญชี) มีความหมายแตกต่างจากทรัพย์สิน (ทางกฎหมาย) เพราะว่า การพิจารณาสินทรัพย์มุ่งเน้นที่เนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ (อำนาจในการควบคุมหรือครองครองหรือใช้ประโยชน์) มากกว่ารูปแบบ (สัญญา) ทางกฎหมาย (พิจารณาจากกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของ)

ภาระผูกพัน หมายถึง ความผูกพันหรือหน้าที่หรือความรับผิดชอบที่จะต้องกระทำการ (หรือปฏิบัติ) อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตกลงไว้
หนี้สินเป็นของกิจการ หรือกิจการมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายหรือชำระหนี้สิน ณ วันที่ใดวันที่หนึ่ง (ณ วันที่ในงบดุล)

ตามแม่บทการบัญชี กิจการจะรับรู้รายการ (หรือการรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่ง) ในงบการเงิน เมื่อรายการดังกล่าวเป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงิน ดังนี้

สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต

หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

(3) เกิดขึ้นจริง

รายการ (รายการค้าหรือรายการบัญชี) หรือเหตุการณ์ (ทางเศรษฐกิจ) (ในอดีต) ของกิจการซึ่งได้บันทึกบัญชีไว้ (ได้)เกิดขึ้นจริงและเกี่ยวข้องกับกิจการ ในระหว่างงวด (หรือรอบระยะเวลาบัญชี โดยทั่วไปคือ 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม)

เกิดขึ้นจริงมุ่งเน้นไปยังรายการบัญชีทั้ง 5 หมวดบัญชี (หรือองค์ประกอบของงบการเงิน) คือสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย ซึ่งเกิดขึ้น หรือรายการเคลื่อนไหว (เดบิตหรือเครดิต) ของบัญชีในช่วงหรือรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง แต่เนื่องจาก ณ วันสิ้นงวด องค์ประกอบของงบการเงิน 3 อย่างแรก (สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ) ได้หายอดคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดบัญชี ไปแสดงไว้ในงบดุลตามที่กล่าวใน (1) ความมีอยู่จริง แล้ว จึงมักไม่กล่าวถึงในเรื่องเกิดขึ้นจริงอีก ส่วนองค์ประกอบของงบการเงิน 2 อย่างหลัง (รายได้และค่าใช้จ่าย)ได้หายอดคงเหลือ เพื่อปิดบัญชีและคำนวณหากำไร (ขาดทุน) สุทธิสำหรับงวดบัญชี ไปแสดงไว้ในงบกำไรขาดทุน จึงมักกล่าวถึงในเรื่องเกิดขึ้นจริง

ตามแม่บทการบัญชี กิจการจะรับรู้รายการในงบการเงิน เมื่อรายการดังกล่าวเข้าเงื่อนไขการรับรู้ คือ รายการนั้นมีความเป็นไปไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการดังกล่าวจะเข้าหรือออกจากกิจการ คำว่าความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ หมายถึงอะไร ตอบคือความน่าจะเป็นหรือโอกาสที่รายการดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับค่อนไปทางข้างแน่ (ว่าเกิดขึ้นอย่างแน่นอน) มากกว่าค่อนไปทางข้างไม่แน่ (ว่าไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน) 
 

 4) ความครบถ้วน

สินทรัพย์ทุกรายการ หนี้สินทุกรายการ รายการ (รายการค้าหรือรายการบัญชี) ทุกรายการ หรือเหตุการณ์(ทางเศรษฐกิจ)ทุกเหตุการณ์ ได้บันทึกบัญชีไว้ทั้งหมด หรือเปิดเผยข้อมูลไว้ทั้งหมดในงบการเงินแล้ว

กล่าวคือ กิจการไม่มีการละเว้นการบันทึกบัญชี หรือมิได้เปิดเผยข้อมูลที่ควรเปิดเผยไว้ในงบการเงิน นักกฎหมายเรียกว่า ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงิน สาธารณชนเรียกว่าไม่หลงลืมรายการ

รายการใดเป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงิน (ดูเรื่อง (2) สิทธิและผูกพัน) และเข้าเงื่อนไข 2 ข้อคือ

ก. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการดังกล่าวจะเข้าหรือออกจากกิจการ (ดูเรื่อง (3) เกิดขึ้นจริง) และ

ข. รายการดังกล่าวมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ (ดูเรื่อง (6) การวัดมูลค่า)

รายการนั้นต้องรับรู้ไว้ในงบการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การรับรู้คือการแสดงรายการในงบการเงินด้วยตัวอักษร (เช่น รายการย่อแต่ละบรรทัด) และจำนวนเงิน (ตัวเลขที่มีหน่วยเป็นบาท) พร้อมกับการรวมจำนวนเงินนั้นในยอดรวมของงบการเงินดังกล่าว การที่กิจการมิได้รับรู้รายการในงบการเงินทั้งที่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการถือว่าเป็นข้อผิดพลาด (ไม่ครบถ้วน) ที่ไม่อาจแก้ไขด้วยการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินหรือคำอธิบายเพิ่มเติม

ความครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญ (ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ) และต้นทุนที่เสียไปในการจัดหาข้อมูลในงบการเงิน (ควรต่ำกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจากข้อมูลนั้น)

(5) การตีราคา

กิจการบันทึกสินทรัพย์ หรือหนี้สิน ในราคาที่เหมาะสม ณ วันที่ใดวันที่หนึ่ง (ณ วันที่ในงบดุล)

กล่าวคือ ณ วันสิ้นงวดบัญชี มาตรฐานการบัญชีแต่ละเรื่องจะกำหนดมูลค่าที่จะใช้วัดสินทรัพย์ หรือหนี้สินแต่ละอย่างแตกต่างกันไป เพื่อให้สินทรัพย์และหนี้สินสะท้อนมูลค่าหรือราคาที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น
- เงินลงทุนชั่วคราว (หลักทรัพย์เพื่อค้า) ต้องแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม
- ลูกหนี้การค้า ต้องแสดงด้วยมูลค่าสุทธิจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
- สินค้าคงเหลือ ควรตีตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
- ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ต้องแสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ (แนวทางที่กำหนดให้ถือปฏิบัติ) หรือราคาที่ตีใหม่ (แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ)

(6) การวัดมูลค่า

กิจการบันทึกรายการ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไว้ในจำนวน(เงิน)ที่ถูกต้องเหมาะสม และกิจการบันทึกรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่ถูกต้องหรือตรงตามงวดบัญชี และเป็นไปตามเกณฑ์คงค้าง (ในงบดุล และงบกำไรขาดทุน)

ตามแม่บทการบัญชี กิจการจะรับรู้รายการในงบการเงิน เมื่อรายการดังกล่าวเข้าเงื่อนไขการรับรู้ คือ รายการดังกล่าวมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ ความเชื่อถือได้ของการวัดมูลค่า หมายถึงความเชื่อถือได้ของการกำหนดจำนวนเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เกณฑ์ในการวัดมูลค่า เช่น ราคาทุนเดิม (มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่เกิดรายการ) ราคาทุนปัจจุบัน มูลค่าที่จะได้รับ มูลค่าปัจจุบัน เป็นต้น มาตรฐานการบัญชีส่วนใหญ่กำหนดให้รับรู้รายการเริ่มแรกด้วยราคาทุนเดิม

(7) การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล

กิจการได้เปิดเผย จัดประเภท และบรรยายลักษณะของรายการในงบการเงิน ตามแม่บทการบัญชีที่เกี่ยวข้อง

ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์มี 5 ส่วนคือ งบดุล งบกำไรขาดทุน งบใดงบหนึ่งระหว่างงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของหรืองบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน

การแสดงรายการแต่ละบรรทัดในงบการเงิน ทั้งในหน้างบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ(หรือใช้งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแทนก็ได้) และงบกระแสเงินสด

การเปิดเผยข้อมูลไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งมี 2 ส่วนคือ สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ และข้อมูลเพิ่มเติมอื่น

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้กำหนดการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลขั้นต่ำเป็นไปตามรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า พ.ศ. 2544 รวมทั้งมาตรฐานการบัญชีแต่ละเรื่องยังได้กำหนดการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องนั้นไว้ด้วย

การที่พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดรูปแบบของงบการเงินหรือให้จัดทำงบการเงินเปรียบเทียบ 2 งวดบัญชี จะทำให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการหนึ่งกับอีกกิจการหนึ่งได้ และสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการเดียวกันของงวดบัญชีปัจจุบันกับงวดบัญชีก่อนได้

4. งบการเงินที่รับรองแล้วมีประโยชน์จริงหรือ ?

งบการเงินที่รับรองความถูกต้องโดยผู้บริหารและผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีภาษีอากร ย่อมจะมีลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน (คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน) 3 ประการตามแม่บทการบัญชี คือ

1. ความเชื่อถือได้ ประกอบด้วยลักษณะรอง 5 อย่างคือ
1.1 การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม
1.2 เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ
1.3 ความเป็นกลาง
1.4 ความระมัดระวัง
1.5 ความครบถ้วน
2. การเปรียบเทียบกันได้
3. ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (ความมีนัยสำคัญ)

แต่หากผู้ใช้งบการเงิน (เช่น กรมสรรพากร) ไม่สามารถเข้าใจได้ทันทีที่ใช้ข้อมูลในงบการเงิน งบการเงินนั้นจะไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดทั้งสิ้น แม่บทการบัญชีจึงถือว่าความเข้าใจได้ (ของผู้ใช้งบการเงิน) เป็นลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน ดังนั้นผู้ใช้งบการเงินควรมีความรู้ตามควรเกี่ยวกับธุรกิจ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจและการบัญชี รวมทั้งมีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษาข้อมูลในงบการเงินดังกล่าว จึงจะทำให้งบการเงินนั้นมีประโยชน์อย่างแท้จริง

5. ข้อชวนคิดส่งท้าย

เมื่อใครก็ตาม (เช่น ธนาคาร นายจ้าง สภาวิชาชีพบัญชี) ต้องการหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เขียน จะให้ผู้เขียนหรือใครผู้นั้นถ่ายสำเนาเอกสาร พร้อมทั้งให้ผู้เขียนลงลายมือชื่อ (หรือลายเซ็น) กำกับไว้ว่า “รับรองสำเนาถูกต้อง” ผู้เขียนรู้สึกตะขิดตะขวงใจกับการลงลายมือชื่อในลักษณะเช่นนี้ทุกครั้ง เพราะว่า

1. บัตรประจำตัวประชาชน ออกโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ไม่ได้ออกโดยผู้เขียน (ผู้เขียนไม่ได้ทำบัตรนี้ ถ้าหากผู้เขียนทำบัตรนี้เองแสดงว่าเป็นบัตรปลอม) ดังนั้น ผู้เขียนรับรองบัตรนี้เองไม่ได้ ต้องให้กรมการปกครองเป็นผู้รับรอง แต่ผู้เขียนได้รับคำชี้แจงจากใครผู้นั้น (เช่น ธนาคาร นายจ้าง สภาวิชาชีพบัญชี) ว่าให้รับรองสำเนาเอกสาร ไม่ใช่รับรองบัตร (ว่าเป็น บัตรจริงหรือบัตรปลอม)

2. ให้ผู้เขียนรับรองสำเนาเอกสารนี้ไม่ได้อีก เพราะว่า ผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้ทำสำเนาเอกสารนี้ เครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อต่างๆ ต่างหากที่เป็นผู้ทำสำเนาเอกสารนี้ จึงต้องให้ผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อนั้นรับรองว่าเครื่องถ่ายเอกสารของเขาสามารถสำเนาเอกสารตรงกับต้นฉบับ (บัตร)

สรุปว่า ผู้เขียนจะไม่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสารว่าถูกต้อง แต่ใครผู้นั้น (เช่นธนาคาร นายจ้าง สภาวิชาชีพบัญชี) ไม่ยอมรับสำเนาเอกสารที่ไม่มีลายมือชื่อรับรองของผู้เขียน ทั้งที่ผู้เขียนพยายามชี้แจงและอธิบายเหตุผลข้างต้น แต่ใครผู้นั้นไม่รับฟังหรือฟังแล้วไม่เข้าใจ และสงสัยว่าทำไมผู้เขียนจึงเรื่องมากอย่างนี้

ใครๆ เขาก็ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องทั้งนั้น ในที่สุด เพื่อให้เรื่องยุติและดำเนินการต่อไปได้ ผู้เขียนต้องกล้ำกลืนฝืนใจลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสารถูกต้องทุกครั้งไป ทั้งๆ ที่ผู้เขียนรู้แน่แก่ใจตนว่ายังไม่ได้ตรวจสอบให้ได้มาซึ่งหลักฐานที่เพียงพอและเหมาะสมเลย (ไม่มีการสอบถามหรือไม่ได้ขอหนังสือรับรองหรือไม่ได้ขอหนังสือยืนยันจากกรมการปกครองและบริษัทผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสาร แต่อย่างใด)

ผู้เขียนหวั่นวิตกเหลือเกินว่า ใครผู้นั้นขอตรวจสอบหลักฐานว่าเพียงพอเหมาะสมตามที่ผู้เขียนได้รับรองไว้หรือไม่ แต่ข้อเท็จจริง ผู้เขียนขอยอมรับว่าไม่มีหลักฐานใดๆในเรื่องนี้เลย เมื่อไม่มีหลักฐานแล้ว จะให้ผู้เขียนลงลายมือชื่อรับรองได้อย่างใด ถ้าผู้เขียนลงลายมือชื่อรับรองไป เท่ากับผู้เขียนรับรองเอกสารเท็จ สงสัยว่าสัญชาตญาณความเป็นผู้สอบบัญชีของผู้เขียนมารบกวนจิตใจของผู้เขียนเสียเอง ผู้เขียนสงสัยว่าผู้อื่นที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องนั้น เขาตรวจสอบและมีหลักฐานแล้วหรือจึงได้รับรองกัน ผู้เขียนสอบถามผู้อื่นว่ามีหลักฐานหรือ เขาตอบว่าไม่มี หลักฐาน ผู้อ่านคิดอย่างไรในเรื่องนี้ ผู้เขียนคิดมากไปหรือเปล่าครับ สวัสดีครับ

 

ขอขอบคุณข้อมูล : นิตยสาร Tax & Business

 




ความรู้เกี่ยวกับการสอบบัญชี

บทนิยามอาชีพ ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี article
ตัวอย่างแนวการสอบบัญชีโดยสรุป article
มาตรฐานการสอบบัญชี article
เส้นทางการเป็น CPA เส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้สอบบัญชี
เทคนิค / วิธีการตรวจสอบบัญชี
ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ?



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี