ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี ประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ติดต่อเรา/Contact us
dot
bulletติดต่อเรา/Contact us
dot
บริการของสำนักงาน
dot
bulletตรวจสอบบัญชี
bulletบริการทาง บัญชี ภาษี
bulletจดทะเบียนบริษัท
bulletบริการด้านกฏหมาย
bulletบริการยื่นแบบและนำส่งภาษี
dot
บริการตรวจค้นข้อมูลธุรกิจ
dot
bulletตรวจค้นข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
bulletตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
bulletรายชื่อผู้ทำบัญชี
bulletรายชื่อผู้สอบบัญชี ( CPA )
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี - กรมสรรพากร (TA)
bulletชื่อผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
bulletผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแจ้งชื่อห้างฯที่ตรวจสอบ
bulletชื่อผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletงบการเงินบริษัทจดทะเบียน
bulletปฏิทินภาษี
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ทุกธนาคาร
dot
บริการคลังข้อมูลบัญชี
dot
bulletระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 หลัก
bulletจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
bulletจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
bulletยื่นแบบชำระภาษีออนไลน์
bulletหน่วยบริการภาษีใน กรุงเทพฯ
bulletตรวจค้นข้อมูลขอคืนภาษี ภงด.90,91
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
bulletแจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี CPA
bulletยื่นแบบ บภ.แจ้งเพิ่ม ลด งานสอบบัญชี TA
bulletตรวจค้นหลักสูตร CPD ของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletแบบฟอร์มเอกสารต่างๆของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletแบบฟอร์มเอกสารสภาวิชาชีพบัญชี
bulletเครื่องมือช่วยในการสอบบัญชี (Audit Tools) ของสภาวิชาชีพบัญชี
bulletแบบฟอร์มภาษีกรมสรรพากร
bulletแบบฟอร์มประกันสังคม
bulletแบบฟอร์มจดทะเบียนของกรมพัฒน์ฯ(DBD)
bulletรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
bulletความหมายของรายการย่อในงบการเงิน
bulletศัพท์บัญชี ไทย-อังกฤษ
bulletศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย
bulletคำถามบัญชี/สอบบัญชีที่พบบ่อย
bulletความแตกต่างระหว่าง CPA และ TA
bulletคุณวุฒิการศึกษาทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพรับรอง
dot
กฏหมายทั่วไป และ ภาษีอากร
dot
bulletความรู้เรื่องภาษี-ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
bulletข้อหารือภาษีอากร
bulletแบบฟอร์มสัญญาต่างๆทางกฏหมาย
bulletแบบฟอร์มศาล/แบบพิมพ์ศาล
bulletรวมประมวลกฏหมาย
bulletความผิดอาญา ที่ยอมความได้
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (1)
bulletคลีนิกกฏหมาย จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (2)
bulletรู้ทันภัยใกล้ตัว จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (1)
dot
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
dot
bulletข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
bulletกำหนดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
bulletเส้นทางการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
bulletTA เปิดรับสมัครสอบปีละ 3 ครั้ง
bulletประกาศผลสอบ CPA
bulletข้อสังเกตจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบของ TA โดยสรุป
bulletข้อสังเกตุจากอนุกรรมการผู้ตรวจข้อสอบ CPA โดยสรุป (จากสภาวิชาชีพ)
bulletUpdate มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และร่างการตีความ จากสภาวิชาชีพบัญชี
bulletขอบเขตรายวิชาที่ต้องเข้ารับการทดสอบ เป็นผู้สอบบัญชี (CPA)
dot
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากสภาวิชาชีพบัญชี)
dot
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
bulletปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน
bulletปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
bulletปัญหาเกี่ยวกับการรายงานการสอบบัญชี
bulletคำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจ และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
bulletประเด็นคำถาม-คำตอบที่เป็นประโยชน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletคำถามที่ถูกถามบ่อย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
dot
ตัวอย่าง แนวการสอบบัญชี โดยย่อ
dot
bulletเงินสดและเงินฝากธนาคาร
bulletลูกหนี้การค้า
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
bulletสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
bulletสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
bulletเงินลงทุน
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น
bulletเงินกู้ยืม
bulletส่วนของผู้ถือหุ้น
bulletรายได้
bulletซื้อสินค้า
bulletต้นทุนขาย
bulletค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
bulletการรับเงิน แนวการรับเงิน
bulletการจ่ายเงิน แนวการจ่ายเงิน
bulletแนวการสอบบัญชี เงินเดือน
bulletการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
dot
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
dot
bulletมรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(เดิม)
bulletจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ออกใหม่ปี 53)
bulletคำชี้แจงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชี
bulletคำชี้แจงข้อบังคับจรรยาบรรณ สำหรับผู้ทำบัญชี
bulletจรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชี ภาษีอากร
bulletความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
dot
ตัวอย่างรายงานการสอบบัญชี (บางส่วน)
dot
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บังคับ 31 ธ.ค 65 เป็นต้นไป
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(์NPAEs)
bulletตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชีงบเลิกกิจการ ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ
bulletรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ TA (ท.ป.194/2555)
bulletตัวอย่างรายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับกองทุนรวม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
bulletรายงานของมูลนิธิและสมาคม
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ยกเลิกแล้วในปี 2551-ไม่ใช้แล้ว)
dot
bulletงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletงบการเงิน บริษัทจำกัด
bulletงบการเงิน บริษัทมหาชนจำกัด
bulletงบการเงิน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletงบการเงิน กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2551 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553)
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletประเด็นคำถาม – คำตอบประกาศกรม เรื่อง รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552
dot
กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554 ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) ล่าสุด
dot
bulletรูปแบบรายการย่อ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทจำกัด
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด (ยกเลิกปี 2562)
bulletรูปแบบรายการย่อ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ
bulletรูปแบบรายการย่อ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
bulletรูปแบบรายการย่อ บริษัทมหาชนจำกัด เริ่มใช้ 1 มค 63
dot
ตัวอย่างการจดทะเบียนธุรกิจ
dot
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/จำกัด
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
bulletตัวอย่างการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
dot
ตัวอย่าง การควบคุมภายใน โดยย่อ
dot
bulletการควบคุมภายใน การรับเงิน
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเช็ค
bulletการควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
bulletการควบคุมภายใน การขาย
bulletการควบคุมภายใน การซื้อ
bulletการควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
bulletการควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
bulletการควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
dot
ตัวอย่าง กระดาษทำการ ตรวจสอบบัญชี (working paper)
dot
bulletเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินเบิกเกินบัญชี
bulletกระดาษทำการ ตรวจนับเงินสดย่อย
bulletทดสอบความถูกต้องการรับเงิน
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการจ่ายเงิน
bulletกระดาษทำการ เงินลงทุน
bulletลูกหนี้การค้า (1)
bulletลูกหนี้การค้า (2)
bulletสินค้าคงเหลือ
bulletการตรวจตัดยอดขาย
bulletการตรวจตัดยอดซื้อ
bulletสินทรัพย์ถาวร (1)
bulletทรัพย์สินถาวร (2)
bulletทรัพย์สินถาวร (3)
bulletสินทรัพย์อื่น
bulletเงินกู้ยืม 1
bulletเงินกู้ยืม 2
bulletเจ้าหนี้การค้า
bulletหนี้สินหมุนเวียนอื่น+ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
bulletทุน
bulletกำไรสะสม
bulletรายได้และค่าใช้จ่าย
bulletรายได้
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการขาย
bulletการทดสอบความถูกต้องของรายการซื้อ
bulletวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
dot
Links ในเมืองไทยที่น่าสนใจ
dot
bulletข่าวและหนังสือพิมพ์
bulletเว็บยอดฮิต
bulletหน่วยงานราชการ
bulletองค์กรต่างๆ
bulletหน่ายงานกฏหมายและศาล
bulletเว็บไซด์พื้นฐาน
bulletวารสาร สรรพากรสาส์น
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletสภาทนายความ
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletศาลภาษีอากรกลาง
bulletตรวจหวย ( ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
bulletรวมเวบไซด์ หางาน สมัครงาน
bulletรวมเวบไซด์ เกมส์ออนไลน์
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Webboard
dot
bulletWebboard
bulletเวบไซด์การเดินทาง


www.google.co.th
www.sanook.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สภาวิชาชีพบัญชี
กรมสรรพากร
เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
สภาทนายความ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ

 ประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ

1. กิจการ A ได้รวมธุรกิจกับกิจการ B โดยการเข้าซื้อธุรกิจของกิจการ B ดังนั้นกิจการ A ควรบันทึกบัญชีในการซื้อธุรกิจของกิจการ B อย่างไร

แนวคําตอบ ขอให้ศึกษาจากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจก่อน หากยังมีข้อสงสัย ขอให้โทรสอบถามโดยตรงที่สํานักบัญชีธุรกิจ

2. กรณีกิจการไม่ได้ประกอบการมาประมาณ 8 ปีแล้ว แต่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี โดยถ้ากิจการจะขอแจ้งการหยุดดําเนินการ และการส่งงบการเงินของกิจการชั่วคราว ได้หรือไม่ ?

แนวคําตอบ หากกิจการเป็นผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีและยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทํางบการเงินและยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด

3. กิจการได้จดทะเบียนเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 และกิจการยังไม่ได้ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชําระบัญชี กิจการจะต้องจัดทํางบการเงิน ณ วันสิ้นงวดปี 2554 หรือไม่ ?

 แนวคําตอบ ขึ้นอยู่กับรอบปี บัญชีของกิจการ ตัวอย่าง หากกิจการปิดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ในรอบปี บัญ ชี 2554 กิจการต้องจัดทํางบการเงินและนําส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดเช่นเดิม แต่ในรอบปี บัญชี 2555 เมื่อกิจการได้จดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว กิจการต้องดําเนินการยื่นจดทะเบียนเสร็จการชําระบัญชี และจัดทํางบการเงิน ณ วันเลิก คือ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อยื่นต่อนายทะเบียน

4. อยากทราบวิธีการบันทึกบัญชีการรับชําระค่าหุ้นจดทะเบียนเป็นเงินสดและลูกหนี้ค่าหุ้น

 แนวคําตอบ
กรณีผู้ถือหุ้นชําระค่าหุ้นเป็นเงินสดเต็มจํานวน
- เดบิต เงินสด 100
- เครดิต ทุนจดทะเบียน 100
กรณีผู้ถือหุ้นชําระค่าหุ้นเป็นเงินสด 25 %และเกิดลูกหนี้ค่าหุ้น 75%
- เดบิต เงินสด 25
- ลูกหนี้ค่าหุ้น 75
- เครดิต ทุนจดทะเบียน 100

5. การตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง หมายถึงอะไร และมีวิธีการรับรู้อย่างไร

 แนวคําตอบ เป็นการปรับมูลค่าของสินค้า ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ กําหนดให้บันทึกราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะตํ่ากว่า หากมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับตํ่ากว่า กิจการควรรับรู้ผลขาดทุนดังกล่าว และลดราคาสินค้าคงเหลือจากราคาทุนให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ดังนี้
- เดบิต ขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง
- เครดิต ค่าเผื่อการปรับมูลค่าของสินค้า

6. การบันทึกรายการบัญชีตามใบสําคัญทั่วไปในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ถือเป็นสมุดบัญชีรายวันทั่วไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้หรือไม่

แนวคําตอบ หากกิจการจัดทําบัญชีและมีข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี เป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่ อง กําหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทํา ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 ในหมวดที่ 1 ชนิดของบัญชีที่ ต้องจัดทํา และหมวด 2 ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี

7. กรณีที่กิจการมีเงินลงทุนชั่วคราวเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดทั้งประเภทหลักทรัพย์ เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายนั้น กิจการจะต้องมีการปรับปรุงเงินลงทุนให้เป็นมูลค่ายุติธรรมทุกงวดบัญชีใช่ หรือไม่

 แนวคําตอบ ใช่ กิจการจะต้องปรับปรุงเงินลงทุนให้เป็นมูลค่ายุติธรรมทุกงวดบัญชี

8. กิจการรับงานก่อสร้างให้กับหน่วยราชการ ซึ่งในปัจจุบันราคาของวัตถุดิบแปรผันมากและส่วนใหญ่ ไม่สามารถจะเรียกร้องจากหน่วยราชการได้ จึงทําให้เกิดผลขาดทุนขึ้นเป็นจํานวนมาก ดังนั้นกิจการควรแสดงงบการเงินหรือเปิดเผยถึงกรณีที่เกิดการขาดทุน เนื่องจากการซื้อมากกว่าการขายอย่างไร

 แนวคําตอบ การแสดงรายการในงบการเงินและเปิ ดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 เรื่อง สัญญาก่อสร้าง

9. กิจการจ่ายเช็คชําระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2553 แต่เจ้าหนี้การค้ายังไม่นําเช็คไปขึ้นเงินกิจการต้องปรับปรุงบัญชีหรือไม่

 แนวคําตอบ เป็นคําถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สํานักบัญชีธุรกิจ

10. งบการเงินของบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติซึ่งได้ BOI ต้องแยกทุนขั้นตํ่าตามกฎหมายหรือไม่และต้องแสดงงบกําไรขาดทุนแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้ใบอนุญาตหรือไม่

 แนวคําตอบ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีมีฐานะเป็นคนต่างด้าวและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้ด้วย
- ลักษณะการประกอบธุรกิจและรายการทุนขั้นตํ่าตามกฎหมายแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต
- รายได้และค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต

11. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเรื่องกําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ .ศ.2554 มีผลบังคับใช้เมื่อใด

แนวคําตอบ ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 มีผลบังคับใช้สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ เริ่มในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป

12. กรณีนํางบปี ก่อนมาเปรียบเทียบ ต้องจัดประเภทรายการในงบการเงินของปี ก่อนให้เป็นประกาศกรมฯฉบับใหม่ ด้วยหรือไม่

 แนวคําตอบ ใช่ ต้องจัดประเภทรายการในงบการเงินให้เป็นไปตามประกาศกรมฯ เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554

13. บริษัทแม่เป็นบริษัทมหาชนจํากัดซึ่งต้องทํางบการเงินตามรูปแบบท้ายประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแบบที่ 3บริษัทลูกที่เป็นบริษัทจํากัดต้องทํางบการเงินแบบที่2หรือ3

 แนวคําตอบ
ถ้าบริษัทลูกเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ สามารถเลือกจัดทํางบการเงินแบบที่ 2 หรื อ 3 ก็ได้ ให้คํานึงถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องและนํามาใช้

14. เงินฝากธนาคารประเภทเงินฝากประจํา 1ปี ต้องจัดในรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดหรือจัดอยู่ในรายการเงินลงทุนชั่วคราว

 แนวคําตอบ จัดเป็นเงินลงทุนชั่วคราว

15. กิจการมีลูกหนี้การค้าที่เป็นหนี้ค้างชําระและ ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่เนื่องจากนานมากและการจัดเก็บเอกสารไม่ดี ทําให้ไม่มีหลักฐานการเป็นหนี้ ดังนั้นกิจการควรทําอย่างไรจึงจะตัดเป็นหนี้สูญได้

 แนวคําตอบ
ขออนุมัติจําหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชี หลังจากกิจการได้มีการดําเนินการทวงถามหนี้จากลูกหนี ้จนถึงที่สุดแล้ว และคาดหมายได้ค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่ได้รับชําระหนี้

16. กิจการได้กู้เงินนอกระบบมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ เนื่องจากกิจการไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งในการกู้เงินนอกระบบจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงินประมาณ 7 เท่า ดังนั้นกิจการสามารถนําเงินกู้และดอกเบี้ยนอกระบบมาบันทึกบัญชีได้หรือไม่

 แนวคําตอบ
กิจการสามารถนําดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวมาบันทึกบัญชีได้ โดยที่กิจการต้องมีเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เช่น สัญญาเงินกู้ ทั้งนี้ประเด็นเรื่องการบันทึกรายการดอกเบี้ยจ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ กิจการควรหารือกับกรมสรรพากร

17. การแสดงความเห็นในหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี กรณีรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้อง กับกรณีไม่แสดงความเห็น มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร

 แนวคําตอบ
1. กรณีรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้อง เป็นกรณีที่งบการเงินงบใดงบหนึ่งไม่ได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน กระแสเงินสดโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสําคัญตามมาตรฐานการรายงานทาง
การเงิน
2. กรณีไม่แสดงความเห็น กรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรืองบการเงินที่ตรวจสอบมีปัญหาในการดําเนินงานต่อเนื่อง หรือมีความไม่แน่นอนบางเรื่องที่มีผลกระทบต่องบการเงินที่ตรวจสอบ อย่างมีสาระสําคัญมาก

18. กรณีที่กิจการให้ความร่วมมือทุกอย่างกับผู้สอบบัญชีเป็นอย่างดี แต่ผู้สอบบัญชีเขียนรายงานการสอบบัญชีเป็นแบบมีเงื่อนไข กิจการควรทําอย่างไร

แนวคําตอบ
กิจการควรสอบถามกับผู้สอบบัญชีโดยตรง เพื่อจะได้ทราบเหตุผลหรือข้อบกพร่อง จะได้แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

19. บัญชีงานระหว่างทําต้นงวดผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบได้ควรดําเนินการเพิ่มเติมอย่างไร

 แนวคําตอบ ควรหาตรวจสอบวิธีอื่น เช่น ตรวจสอบระบบการบันทึกบัญชีงานระหว่างทํา หรืออื่นๆ เพื่อยืนยันความถูกต้องของรายการงานระหว่างทําต้นงวด

20. ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันปิดบัญชี พร้อมกับกิจการทุกครั้งใช่ หรือไม่

 แนวคําตอบ
การเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันปิดบัญชี เป็นวิธีการตรวจสอบที่ดีในการยืนยันความมีอยู่จริงของสินค้าและสภาพของสินค้า ซึ่งควรจะทําทุกปี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและการวางแผนของผู้สอบบัญชี

21. อยากทราบเรื่องการลงวันที่ในรายงานผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีสามารถลงวันที่ย้อนหลังในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีได้หรือไม่

 แนวคําตอบ
ไม่ได้ โดยปกติวันที่ในรายงานผู้สอบบัญชีเป็นวันที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบงานภาคสนาม ( fieldwork) ณ สํานักงานของลูกค้าเสร็จสิ้น

22. กิจการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทํางบการเงินของปี 2554 หรือไม่

 แนวคําตอบ
ขึ้นอยู่กับกิจการว่ามีการกําหนดรอบระยะเวลาบัญชีไว้อย่างไร หากกิจการกําหนดปิ ดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ในรอบปี บัญชี 2554 กิจการต้องจัดทํางบการเงินและนําส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด

23. จะจัดทํางบการเงินปี 2554 จัดทําอย่างไรบ้าง

 แนวคําตอบ
การจัดทํางบการเงิน ให้แสดงรายการเป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554

24.ถ้าผู้ทําบัญชีต้องบันทึกบัญชีตามความต้องการของเจ้าของกิจการ ถือว่ามีความผิดหรือไม่และต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อให้ผู้ทําบัญชีจัดทําบัญชีได้โดยไม่ถูกจํากัดขอบเขต 2

 แนวคําตอบ ตาม พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 20 กําหนดไว้ว่า ผู้ทําบัญชีต้องจัดทําบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดําเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน ถ้าทําผิดมาตรา 20 มีความผิดตามมาตรา 34 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่ งหมื่นบาท สําหรับบทกําหนดโทษของความผิดอื่น ๆ สามารถศึกษาได้จากหมวด 5 ของพ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543

25.กิจการที่รับตรวจสอบ ซึ่งให้เจ้าหนี้ทํารายละเอียดยอดคงค้างทั้งหมด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น และขอเอกสารยืนยันจากเจ้าหนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ให้เพียงตัวเลขยอดคงค้างทั้งหมดเท่านั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดเอกสารหลักฐานใดๆเลย 2ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบรายการเจ้าหนี้การค้าซึ่งมีสาระสําคัญ โดยการขอความร่ วมมือกับเจ้าหนี้ของ

 แนวคําตอบ
ควรให้กิจการที่ตรวจสอบชี้แจงข้อเท็จจริง หรือหาผลต่างให้

26. งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงหน้ารายงานการสอบบัญชีเป็นแบบไม่แสดงความเห็น ถือว่างบการเงินนั้นไม่ถูกต้องใช่ หรือไม่

 แนวคําตอบ
ขึ้นอยู่กับประเด็นที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถแสดงความเห็น มีผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร

27. กรณี กิจการได้บันทึกรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ในงวดก่อน แต่ต่อมาภายหลังมีข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่ารายการขาดทุนจากการด้อยค่าของ สินทรัพย์ได้หมดไปหรือลดลงไป ดังนั้นกิจการจะสามารถกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าได้หรือไม่

 แนวคําตอบ
ได้ แต่ขอให้ศึกษาจากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่ อง การด้อยค่าของสินทรัพย์เพิ่มเติม ซึ่งมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่า

28.กิจการจะต้องประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่มีอยู่ทุกๆ ปี หรือไม่

 แนวคําตอบ
ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่ อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ ย่อหน้า 9 -10 สรุปได้ว่า ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการต้องประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทําให้สินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่าเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามี กิจการต้องประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้น แต่สินทรัพย์บางประเภท เช่น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน เป็นต้น กิจการต้องทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นประจําทุกปี โดยไม่คํานึงว่าจะมีข้อบ่งชี้ของการด้อยค่าเกิดขึ้นหรือไม่

29.การจัดทําบัญชีสินค้าจะต้องจัดทําลักษณะใดจึงจะถูกต้องและเป็นไปตามพ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543

 แนวคําตอบ หากกิจการจัดทําบัญชีและมีข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี เป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่องกําหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทํา ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544

30.กิจการจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร กิจการซื้อสินค้าจากต่างประเทศและนําเข้าสินค้ามาทางเรือ โดยมีเงื่อนไขแบบ F.O.B Shipping Point

 แนวคําตอบ
เงื่อนไขแบบ F.O.B Shipping Point นี้กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนไปยังผู้ซื ้อเมื่อผู้ขายได้ส่งสินค้าให้กับบริษัทที่รับขนส่ง ดังนั้น ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง และรับความเสี่ยงสําหรับสินค้าชํารุดเสียหาย หรือสูญหายระหว่างการขนส่ง จึงให้บันทึกค่าขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินค้า

31. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมธนาคารที่กิจการกู้มาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าจะรวมเป็นราคาทุนของสินค้าได้หรือไม่

 แนวคําตอบ
ขึ้นอยู่กับสินค้าที่ผลิต ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม ย่อหน้า 4 และ 7 สรุปได้ว่า มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ใช้กับการผลิตของสินค้าคงเหลือที่ผลิตเป็นจํานวนมาก โดยมีขั้นตอนการผลิตซํ้า ๆ นอกจากบางสถานการณ์ สินค้าคงเหลือนั้นสามารถจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข

32.กิจการนําสินค้าไปฝากขายกับบริษัท ก จํากัด เป็นเครื่องทํานํ้าอุ่นจํานวน 10 เครื่อง กิจการควรบันทึกรับรู้รายได้จากการฝากขายเมื่อใด

 แนวคําตอบ
ปกติ รับรู้รายได้เมื่อบริษัทที่รับฝากขายสินค้าได้ นอกจากมีเงื่อนไขตกลงเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้กิจการควรศึกษาประเด็นเรื่ องนี้ด้านภาษีอากรด้วย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน

33. กิจการทําสัญญาเช่าอาคารเพื่อใช้ในการดําเนินงาน โดยกิจการบันทึกค่าเช่าอาคารเป็นค่าใช้จ่าย แต่ ต่อมากิจการมีการซ่อมแซมอาคาร รายจ่ายดังกล่าวจะถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

 แนวคําตอบ
ได้แต่ควรพิจารณาลักษณะรายจ่ายที่เกิดขึ้นด้วยว่า ให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจนกิจการต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินหรือไม่

34. กิจการประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ โดยได้รถยนต์มาจากการเช่าซื้อ ณ วันที่เช่าซื้อถือว่ากิจการเป็น เจ้าของสินทรัพย์แล้วใช่หรือไม่ และกิจการจะต้องบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อสินทรัพย์อย่างไร

 แนวคําตอบ กิจการต้องจําแนกประเภทสัญญาเช่าว่าเป็นประเภทใดและต้องบันทึกบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาเช่า ซึ่งได้จําแนกประเภทของสัญญาเช่าเป็น 2 ประเภท
1. สัญญาเช่าการเงิน หมายถึง สัญญาเช่าที่ทําให้เกิดการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า ไม่ว่าในที่สุดการโอนกรรมสิทธิ์จะเกิดขึ้นหรือไม่
2. สัญญาเช่าดําเนินงาน หมายถึง สัญญาเช่าที่ไม่ได้โอนความเสี่ยงหรือผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า

35. นําใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมาใช้ประกอบการลงบัญชีได้หรือไม่กรณีกิจการได้รับเอกสารใบเสร็จรับเงินที่ไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายจากร้านค้า กิจการจะสามารถ

 แนวคําตอบ
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีต้องเป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กําหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทํา ข้อความ และรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544

36. ในกรณีการซื้อ-ขายสินค้ากับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันรายการลูกหนี้/เจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นดังกล่าวควรจัดประเภทรายการเป็นลูกหนี้การค้า/เจ้าหนี้การค้าหรือลูกหนี้/เจ้าหนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

 แนวคําตอบ
กรณีที่กิจการมีรายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการต้องเปิดเผยลักษณะความสัมพันธ์กับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับรายการและยอดคงค้างของรายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่จําเป็นในการทําความเข้าใจถึงผลกระทบจากความสัมพันธ์กับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่อาจมีต่องบการเงิน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

37. บริษัทจํากัดสามารถจัดทํางบกําไรขาดทุนโดยเลือกปฏิบัติว่าจะแสดงแบบใดได้หรือไม่ และมีข้อพิจารณาอย่างไร

 แนวคําตอบ
ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 งบกําไรขาดทุนอาจเลือกแสดงแบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย หรือจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่แบบขั้นเดียว หรือจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบหลายขั้น ก็ได้ โดยหากเลือกแสดงแบบใดแล้วควรถือปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบที่เลือกแสดงควรเปิ ดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย

38. ถ้ากิจการจัดทํางบกําไรขาดทุนแบบแสดงค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ กิจการต้องเปิดเผยค่าใช้จ่ายตามลักษณะเพิ่มหรือไม่

แนวคําตอบ กิจการที่เป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะและเลือกจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ เมื่อเลือกจัดทํางบกําไรขาดทุนจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะไม่ได้กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายตามลักษณะ

39. ต้นทุนทางการเงินประกอบด้วยค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

 แนวคําตอบ ตามคําชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 กําหนดให้ต้นทุนทางการเงิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการก่อหนี้สินของกิจการ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยที่เกิดจากสัญญาเช่าการเงิน เป็นต้น

40. ดอกเบี้ยจ่ายจากการเช่าซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการถือเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือต้นทุนทางการเงิน

 แนวคําตอบ
ต้นทุนทางการเงิน ตามคําชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 กําหนดให้ต้นทุนทางการเงิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการก่อหนี้สินของกิจการ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากสัญญาเช่าการเงิน เป็นต้น

41. การแสดงงบกําไรขาดทุนทั้งจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่ายหรือจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่จะแสดงยอดรวมของค่าใช้จ่ายเท่ากันหรือไม่

แนวคําตอบ
การแสดงงบกําไรขาดทุนแบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะกับแบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่อาจมียอดรวมของค่าใช้จ่ายเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ แต่กําไรสุทธิในงบกําไรขาดทุนจะเท่ากันเสมอ

42. ห้างหุ้นส่วนจํากัดซึ่งต้องยื่นงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการจะต้องใช้งบการเงินตามรูปแบบใดและต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรองหรือไม่

 

แนวคําตอบ
เมื่อกิจการจดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วจะต้องดําเนินการจดทะเบียนเสร็จการชําระบัญชี (ภายใน 14 วันนับจากวันที่ ประชุมอนุ มัติการชําระบัญชี) โดยต้องจัดทํา งบการเงิน ณ วันเลิกห้างหุ้นส่วน (ณ วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันให้เลิกหรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก ) พร้อมทั้งให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง

43. ในกรณีทีกิจการแสดงงบกําไรขาดทุนจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะ จะต้องแสดงรายการในแบบ ภงด. 50อย่างไร

แนวคําตอบ
เนื่องจากรายการที่แสดงในงบกําไรขาดทุนจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะไม่สอดคล้องกับรายการในแบบ ภงด. 50 ดังนั้น กิจการควรนําข้อมูลตามที่บันทึกบัญชีที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วมากรอกรายการในแบบ ภงด. 50 ทั้งนี้้กิจการอาจหารือกรมสรรพากรเพื่อความถูกต้องในการกรอกแบบต่อไป

44. กิจการถูกไฟไหม้ ทําให้บัญชีและเอกสารเสียหายบางส่วน และได้แจ้งเอกสารเสียหายกับทางกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว โดยในทางบัญชีกิจการมีรายการลูกหนี้การค้าแต่ไม่มีเอกสารเรียกเก็บเงิน ทําให้ยอดลูกหนี้ยังคงมีปรากฏอยู่ในบัญชี ดังนั้นกิจการจะสามารถตัดบัญชีลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญได้หรือไม่

แนวคําตอบ เป็นคําถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สํานักบัญชีธุรกิจการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชี

45. บริษัท จํากัดมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 20 ล้านบาท และรายได้รวม 25 ล้านบาทจะต้องมีผู้ทําบัญชีที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีเท่านั้นใช่ หรือไม่

แนวคําตอบ
คุณวุฒิของผู้ทําบัญชีขั้นตํ่าที่สามารถทําบัญชีของบริษัทนี้ได้จะต้องเป็น ผู้ทําบัญชีที่คุณวุฒิไม่ตํ่ากว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ตํ่ากว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัติวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหมายเหตุกฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กําหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2543 ข้อ 4.(4)

46.ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายละเอียดคุณสมบัติของผู้ทําบัญชีและผู้สอบบัญชีทางอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่

แนวคําตอบ ไม่ได้

47. คุณสมบัติของการเป็นผู้ทําบัญชีมีระเบียบอย่างไร

แนวคําตอบ
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่ อง กําหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2543 ข้อ 4.
ข้อ 5. และ ข้อ 6. กําหนดไว้ดังนี้
ข้อ 4. ผู้ทําบัญชีต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. มีภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
2. มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทําหน้าที่เป็นผู้ทําบัญชีได้
3. ไม่เคยต้องโทษโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากได้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือกฎหมายวาด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
4. มีคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ทําบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปี บัญชีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ตํ่ากว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรื อน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ตํ่ากว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี
(ข) ผู้ทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีดังต่อไปนี้ต้องมีคุณวุฒิไม่ตํ่ากว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรื อกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ตํ่ากว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ ง ณ วันปิ ดบัญชีในรอบปี บัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน หรือสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่ งเกินกว่าที่กําหนดไว้ใน (ก)
2) บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
3) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
4) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
5) ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย
6) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่ งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่ายด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(ค) ในกรณีที่เป็นการเริ่มทําบัญชีรอบปี บัญชีแรก ของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีคุณวุฒิของผู้ทําบัญชีให้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามที่กําหนดไว้ใน (ก) และ (ข) แล้วแต่กรณี
5.มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทําบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
ข้อ 5.ในกรณีที่เป็นผู้ทําบัญชีของบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนซึ่ งรัฐมนตรีประกาศกําหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี คุณวุฒิของผู้ทําบัญชีดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4
(4) (ก) หรื อ (ข) โดยอนุโลม
ข้อ 6.ในกรณีที่ทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีตาม ข้อ 4
(4) (ก) เปลี่ยนแปลงไปจนทําให้ผู้ทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีนั้นต่อไป ให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีดังกล่าวต่อไปได้เป็นเวลาสองปี นับแต่วันสิ้นรอบปี บัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง

48. การนับชั่วโมงผู้ทําบัญชีมีวิธีการนับอย่างไร

แนวคําตอบ
ผู้ทําบัญชีจะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพตามหลักสูตรและสถาบันที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงในทุกรอบสามปี โดยจะต้องเป็นหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง และในแต่ละปี จะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงการนับชั่วโมงทุกรอบสามปี ให้นับตามปี ปฏิทินโดยเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ของปี ถัดจากปี ที่ผู้ทําบัญชีแจ้งการเป็นผู้ทําบัญชี โดยในระยะเวลาแรก (รอบสามปี แรก) ให้ผู้ทําบัญชีสามารถนําชั่วโมงที่เข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทําบัญชีตั้งแต่วันที่แจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีไปนับรวมกับชั่วโมงในรอบระยะเวลาแรก (รอบสามปี แรก) ได้
หมายเหตุสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2547 และ คําชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2547

49. ในกรณีผู้ทําบัญชีต้องการปรับวุฒิการศึกษาจะแจ้งอย่างไร

แนวคําตอบ
สามารถยื่นแจ้งได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักบัญชีธุรกิจ ชั้น 13 อาคารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตําบลบางกระสอ อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 (โทรศัพท์ 02-547-5977) กรณี ผู้แจ้งมีที่อยู่หรือสถานที่ทํางานในกรุงเทพ และจังหวัดนนทบุรี (ณ วันที่แจ้งเป็นผู้ทําบัญชี และไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่/สถานที่ติดต่อ) และ สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดในจังหวัดที่ผู้แจ้งมีที่อยู่/สถานที่
ติดต่อในส่วนภูมิภาคการแจ้งให้ใช้เอกสาร หลักฐาน ดังต่อไปนี้
1. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการทําบัญชีของผู้ทําบัญชี ตามมาตรา 7(6) และมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (แบบ ส.บช. 6) จํานวน 2 ชุด กรณีแจ้ง ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ
2. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาหลักฐานการศึกษา (ประกาศนียบัตร/อนุปริญญา/ปริญญาตรี) ในกรณีที่ปริญญาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นสาขาบัญชีให้แนบใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) เพิ่มเติม จํานวน 1 ชุด กรณีแจ้ง ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ 2 ชุด กรณีแจ้ง ณ สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด

50. ในกรณีผู้ทําบัญชีรับทําบัญชีให้บริษัทแล้วแต่ไม่ทําให้จะมีผลและโทษอย่างไรบ้าง

แนวคําตอบ
มีบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ดังนี้
1. ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20 (ผู้ทําบัญชีต้องจัดทําบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดําเนินงานฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท : มาตรา 34
2. ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 (ในการลงรายการในบัญชีผู้ทําบัญชีต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกํากับหรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือคําแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้ (2) เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทําด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทํานองเดียวกัน) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท : มาตรา 35

51.ตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี ผู้ทําบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาฯ หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯ ควรเลือกวิธีใดดีครับ

แนวคําตอบ ปัจจุบันกฎหมายได้กําหนดให้ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเป็นผู้ทําบัญชี จะต้องแจ้ง/ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีดังต่อไปนี้
1. แจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ
2. ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกต่อสภาวิชาชีพบัญชี

52. ขณะนี้เป็นผู้ทําบัญชีตาม พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 และได้แจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว จําเป็นต้องขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีอีกหรือไม่

แนวคําตอบ
ต้องขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีด้วย เนื่องจากพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มาตรา 44 ได้กําหนดไว้โดยสรุปว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทําบัญชี ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี

53. กําลังอยู่ระหว่างการฝึกหัดงานสอบบัญชีธุรกิจ และยังสอบผ่านไม่ครบทุกวิชาจะได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีหรือไม่

แนวคําตอบ ปัจจุบันงานส่วนนี้อยู่ที่สภาวิชาชีพบัญชี กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์0-2685-2500

54. ตาม มาตรา 43 แห่ ง พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมการสัมมนา (CPD) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาฯ กําหนดอยากทราบว่าสภาฯ ได้ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วหรือยัง

แนวคําตอบ ออกแล้ว ขอให้ศึกษาจากข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๕) เรื่ อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนา เพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th หรือสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

56. ใบอนุญาตทุกปี ด้วย.ตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไมมีอายุแต่ทําไมต้องจ่ายค่าธรรมเนียม

แนวคําตอบ เป็นไปตามข้อกําหนดของ มาตรา 41 ของพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

57. ทําไมสภาวิชาชีพบัญชีไม่อนุญาตให้ชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชีเป็นรายสามปี หรือรายห้าปีเหมือนค่าบํารุงสมาชิกบ้าง

แนวคําตอบ
ปัจจุบันสามารถชําระเป็นรายสามปี หรือห้าปี ได้แล้ว สามารถสอบถามเพิ่มเติมไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

58. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชี สามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบได้หรือไม่ เพราะทราบว่าอัตราค่าบํารุงสมาชิกประเภทสมทบถูกกว่าสมาชิกสามัญ 

แนวคําตอบ
ไม่ได้ ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบต้องมีคุณวุฒิตํ่ากว่าปริญญาตรี เช่น ปวส .ทางการบัญชี

59. สภาวิชาชีพบัญชีตั้งอยู่ที่ไหน

แนวคําตอบ
- ที่ตั้งสํานักงาน : 133 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
- เลขโทรศัพท์ : 0-2685-2500
- โทรสาร :0-2685-2502
- Url : www.tfac.or.th

60. ในกรณีที่จ่ายค่าบํารุงสมัครเป็นรายสามปี หรือรายห้าปี สภาวิชาชีพบัญชีจะมีส่วนลดให้หรือไม่

แนวคําตอบ
กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

61. สภาวิชาชีพบัญชีประกอบด้วยสมาชิกซึ่งประกอบวิชาชีพบัญชีต่างๆรวมหกด้านด้วยกัน ดังนั้นถ้าสมัครเป็นสมาชิกของสภาฯ จําเป็นต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งด้วยหรือไม่..

แนวคําตอบ ไม่ต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งในหกด้าน

62. อยู่ในกรุงเทพจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด

แนวคําตอบ กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

63. อยู่ต่างจังหวัดจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด

แนวคําตอบ สภามีสาขาต่างจังหวัด แต่ไม่ครบทุกจังหวัด กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลข โทรศัพท์ 0-2685-2500

64. ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่

แนวคําตอบ
ปัจจุบันกฎหมายได้กําหนดให้ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเป็นผู้ทําบัญชี และผู้สอบบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

65.อยากทราบว่าทาง ก.บช. มีเกณฑ์ในการเลือกสํานักงานตรวจสอบบัญชีในการฝึกหัดงานเพื่อเก็บชั่วโมงหรือป่าวครับว่าตั้งเป็นสํานักงานที่ใหญ่มีมาตรฐานหรือว่าเป็นที่ไหนก็ได้ขอให้เป็นสํานักบัญชีครับ แล้วเมื่อทําแล้วเราจะมีหน้าที่ทําอะไรบ้างคับ

แนวคําตอบ
ปัจจุบันไม่มี ก.บช. แล้ว การขึ้นทะเบียนฝึกหัดงานสอบบัญชีต้องไปติดต่อที่สภาวิชาชีพบัญชีกรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

66. เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว 5 ปี และในปีที่ 5 ไม่ได้ไปต่ออายุต้องทําเช่นไร ทั้งนี้ ยังรับสอบบัญชีกับสํานักงานตรวจสอบบัญชีอยู่ตลอดเวลา

แนวคําตอบ
กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500

67. ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา13แห่ง พรบ. การบัญชี พ.ศ.2543 หากกิจการประสงค์จะเก็บรักษาบัญชี และเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้นอกราชอาณาจักร กิจการสามารถขออนุญาตจากสารวัตรใหญ่เพื่อดําเนินการดังกล่าวได้หรือไม่

แนวคําตอบ
ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 13 กําหนดไว้ว่า ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทําการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทําการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจําหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทํางานเป็นประจํากรณีจัดทําบัญชีด้วยเครื่ องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออื่นใดในสถานที่อื่นใดในราชอาณาจักรที่มิใช่สถานที่ดังกล่าว แต่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือนั้นมายังสถานที่ดังกล่าว ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่ดังกล่าวแล้ว
ดังนั้น กิจการไม่สามารถขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้นอกราชอาณาจักร

68. สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลมีภาระหน้าที่และความรับผิดตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีอย่างไร

แนวคําตอบ
1. ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี (ตามมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 ซึ่งกําหนดให้นิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการด้านสอบบัญชีหรือด้านการทําบัญชีหรือให้บริการวิชาชีพด้านอื่นตามที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 9 ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี)
2. ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม (ตามมาตรา 11 (1) พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ซึ่ งกําหนดให้นิติบุคคลต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ทั้งนี้ตามประเภท จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กําหนดโดยกฎกระทรวง)
3. หากบริการด้านการสอบบัญชีนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดร่ วมกับผู้สอบบัญชีที่เซ็นรับรองงบการเงิน 

69. สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล มีภาระหน้าที่ และ ความรับผิดตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีอย่างไร

แนวคําตอบ
กฎหมายไม่ได้กําหนดภาระหน้าที่และความรับผิดไว้เป็นกรณีพิเศษ

70. สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลจะต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร 

แนวคําตอบ
จํานวนหลักประกันเพื่อประกอบความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2543 เพื่อกําหนด ประเภท จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการของการจัดให้มีหลักประกันโดยให้คํานึงถึงขนาดและรายได้ของนิติบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ประเภทของหลักประกันเพื่อประกอบความรับผิดต่อบุคคลที่สามได้แก่
- เงินฝากสถาบันการเงินในประเทศประเภทฝากประจําตั้งแต่หนึ่ งปี ขึ้นไป
- บัตรเงินฝากซึ่ งสถาบันการเงินในประเทศออกให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเพื่อเป็นหลักฐานการฝากเงินของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีนั้น
- พันธบัตรรัฐบาลไทยที่จําหน่ายในราชอาณาจักร
- พันธบัตรองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลซึ่ งมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ ้น
- กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
- สําหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่เริ่มรับทําบัญชีในรอบปี บัญชี ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่ งประเภทใดรวมกันเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี
- สําหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่จดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีอยู่แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงจะมีผลใช้บังคับ ต้องจัดให้มีหลักประกันประเภทหนึ่ งประเภทใดรวมกันเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันสิ้นรอบปี บัญชีที่ผ่านมา หรือขอรายได้รอบปี บัญชีที่ผ่านมากแล้วแต่จํานวนใดจะมากกว่า
- และภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปี บัญชีทุกปี ให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจัดให้มีหลักประกันเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันสิ้นรอบปี บัญชีที่ผ่านมา หรือของรายได้รอบปีบัญชีที่ผ่านมาก แล้วแต่จํานวนใดจะมากกว่า
2. การแจ้งหลักประกันให้ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท สำนักงานจรัสทนายความและการบัญชี จำกัด เลขที่ 334 หมู่ที่ 9 ซอยสำโรงเหนือ 21 ถนนสุขุมวิท 113 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ 081-802-2731 , 02-349-4238 โทรสาร 02-349-4239 Email :jarat_inkong@yahoo.com Website : http://www.jarataccountingandlaw.com ผู้ให้การสนับสนุน จัดทำเว็บ ออกแบบเว็บ โปรโมทเว็บ เว็บดีไซน์ เว็บโฮสติ้ง by Tismarketing.com รวมเวบไซต์:
Enter Songtoday.com and Vote for this site !!!
http://www.marinerthai.com/topsite/ http://www.media4stream.com/topsites/ ท่องเที่ยว 76 จังหวัด video clip,คลิปหลุดดารา,blog,บล็อก โปรโมทเว็บ software download เขียนบล็อก สถานที่ท่องเที่ยว ทิปดีดี อาชีพเสริม ท่องเที่ยวไทย สมุนไพร โปรโมทสินค้าฟรี Celebrity Biography free software thailand travel Thailand hotels Online shopping and reviews world movie submit articles Travel Classifieds amazon compare prices web directory free wallpaper add site Electronic specifications โพสสุขสันต์ ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี