วิธีการประมาณการกําไรสทธิ ภงด.51
ขั้นตอนที่ 1
การประมาณการโดยนําผลการประกอบกิจการจริง 6 เดือนแรก บวกกับผลประกอบการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือน หลัง โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยแยกพิจารณา 2 ด้าน ดังนี้
1. ด้านรายได้ ประกอบด้วย รายได้โดยตรง รายได้อื่น เช่น กําไรจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
2. ด้านรายจ่าย ประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายขายและ บริหาร รายจ่ายอื่น เช่น ขาดทุนจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น สําหรับรายจายให้พิจารณาเรื่องรายจาย ต้องห้ามด้วย เพราะไม่สามารถนํามารวมคํานวณเป็นรายจ่ายในการ ประกอบกิจการกําไรสุทธิได้เช่นเดียวกับกรณีการยื่น แบบ ภ.ง.ด.50
ขั้นตอนที่ 2
นําประมาณการกําไรสุทธิตามขั้นตอนที่ 2 มาคํานวณ เพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และพิจารณาว่าภาษีที่คํานวณได้ (รายการที่ 1 ข้อ 4) ตามแบบ ภ.ง.ด.51 มีจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษี ที่คํานวณได้ (รายการที่ 2 ข้อ 2) ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของ รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วหรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อ 1 (1) ของ คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537ฯ ลว. 31 ส.ค.2537 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.152/2558ฯ
ทั้งนี้ กรณีมีการลดอัตราภาษีในปีที่ประมาณการ ให้พิจารณาตามข้อ 1 (2) ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป.51/2537ฯ ลงวันที่ 31 ส.ค.2537 ด้วย
หากประมาณการกําไรสุทธิคลาดเคลื่อน มีความผิดหรือไม่
มาตรา 67 ตรี ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไมยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67ทวิ (1) หรือยื่น รายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกําไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกาไรสุทธิซึ่งได้จากกจการ หรือเนื่องจากกจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีนัน โดยไมมีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นสวนนิติบุคคลนันต้องเสีย เงินเพิ่มอีก 20% ของจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม.67ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจํานวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบ ระยะเวลาบัญชีนัน หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นสวนนิติบุคคลไมยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่นรายการและชําระ ภาษีตามม.67 ทวิ (2) ไว้ไมถูกต้อง โดยไมมีเหตุอันสมควร ทําให้จํานวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี ***เงินเพิมดังกลาวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ
กรมสรรพากรข้อผ่อนปรนกรณีประมาณการกําไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกําไรสุทธิซึ่งได้จากการประกอบกิจการหรือไม่
1.คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537 เรื่อง แนวทางการพิจารณา"เหตุอันสมควร"กรณีแสดงประมาณการกําไรสุทธิขาดไป ตาม มาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ลว. 31 ส.ค.2537ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.152/2558ฯ
“ข้อ ๑ กรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร
(๑) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําประมาณการกําไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ แล้ว
(๒) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําประมาณการกําไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทําหรือ จะได้กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นไม่น้อยกว่ากําไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ แล้ว แตได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกวากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติ บุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วเนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี”
(แกไขเพิมเติมโดยคําสังกรมสรรพากรที่ ป. 152/2558 ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริมในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)
2. เหตุอันสมควรอื่นตามที่กรมสรรพากรกําหนด (ผู้เสียภาษีอากรทําหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงที่ทําให้ประมาณการ กําไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกําไรสุทธิซึ่งได้จากการประกอบกิจการ)
3. คําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ กรณีลดเงินเพิ่ม (ผู้เสียภาษีอากรต้องทําคําร้องยื่นต่อกรมสรรพากร)