ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี วันที่เลิกประกอบกิจการคือวันไห...
ReadyPlanet.com


วันที่เลิกประกอบกิจการคือวันไหนกรณีแจ้งเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม


บริษัทจำกัดได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เลิกกิจการและได้ไปแจ้งทางกรมพัฒนาธุรกิจฯซึ่งก็ได้รับลงทะเบียนเลิก และอยู่ในขั้นตอนการชำระบัญชีเพื่อทำรายงานเสร็จการชำระบัญชีให้ทางกรมพัฒนาธุรกิจฯทราบตามกฎหมาย อนึ่งเมื่อมีการเลิกประกอบกิจการกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มบอกให้แจ้งให้สรรพากรทราบด้วยภายใน 15 วันนับจากวันที่เลิกประกอบกิจการด้วย มิฉนัั้นจะมีโทษปรับทางอาญา อยากทราบว่ามีคำนิยามตามกฏหมายหรือคำวินิจฉัยของศาลหรือไม่ว่าวันเลิกประกอบกิจการหมายถึงวันไหน เช่น จะถือวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติให้เลิกกิจการ หรือถือวันที่กรมพัฒนฯรับลงทะเบียนเลิก หรือถือวันที่ส่งรายงานเสร็จการชำระบัญชีกับกรมพัฒนฯและกรมพัฒนฯรับรายงานดังกล่าวโดยสมบูรณ์แล้ว


ผู้ตั้งกระทู้ sai :: วันที่ลงประกาศ 2014-10-01 01:43:37 IP : 110.168.181.133


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3716734)
1.การเลิกกรณีที่จดทะเบียนเลิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 (5) เป็นกรณีที่ผู้ถือหุ้นมีความประสงค์จะเลิกบริษัท โดยเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัทดังนั้นวันเลิกคือวันที่ประชุมมีมติพิเศษให้เลิก 2.ในทางปฏิบัติของทางสรรพากรที่ผมจดทะเบียนเลิกให้ลูกค้าวันเลิกคือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกคือดูวันที่ในหนังสือรับรองการเลิกบริษัทที่กรมพัฒน์ออกให้เมื่อจดทะเบียนเลิกดังนั้น15วันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก(สรรพากรไม่ดูรายงานการประชุมว่าประชุมวันไหน) 3.ในการจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท จะใช้วันที่ประชุมมีมติพิเศษให้เลิกหรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกก็ได้โดยในงบการเงินต้องระบุไว้ว่าวันที่ในงบการเงินดังกล่าวเป็นวันใด(วันที่มีมติให้เลิกหรือวันที่นายทะเบียนรับจดเลิก)
ผู้แสดงความคิดเห็น จรัส อินทร์คง วันที่ตอบ 2014-10-04 14:16:36 IP : 171.6.167.84


ความคิดเห็นที่ 2 (3739454)
ขอบคุณคุณจรัสครับไม่ทราบว่าพอมูลข้อมูลกรณีการแจ้งเลิกตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรที่มีระบุไหมว่าต้องแจ้งภายใน15วันนับจากวันเลิกนั้นถือเอาเกณฑ์วันใดเป็นวันแรก 1.วันประชุมมีมติพิเศษผู้ถือหุ้นให้เลิกหรือ 2.วันที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ารับจดทะเบียนเลิกแล้วหรือ 3.วันที่ลงทะเบียนแจ้งจบการชำระบัญชีโดยสมบูรณ์แล้วกับกรมพัฒนฯหรือ 4.วันอื่นใดตามความหมายที่มีฐานของกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งไม่ใช่เกิดจากการพิจารณาตีความจากเจ้าหน้าที่พนักงานของรัฐเองหรือของใครที่ทำหน้าที่ลงโทษปรับ ตามความเข้าใจทั่วไปโทษปรับทางอาญาเป็นเรื่องที่มีผลลงโทษแก่ประชาชนทั่วไปจึงควรต้องมีความชัดเจนและตีความโดยเคร่งครัดมิฉนั้นเจ้าหน้าที่ที่ทำโดยไม่รู้ไม่เข้าใจคำนิยามตีความที่ถูกต้องอาจทำเกินขอบอำนาจที่มีตามกฎหมายอาจทำให้เกิดปัญหาฟ้องร้องและสร้างความยุ่งยากให้กับผู้เกี่ยวข้องทั่วไปเพราะความไม่ชัดแจ้งของกฎหมายซึ่งผมคิดว่าหลายคนมองข้ามไปอาศัยเพียงแค่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่กรมสรรพกรอย่างเดียวซึ่งอาจพิจารณาปฏิบัติตามๆกันไปโดยไม่รู้ว่าถูกต้องไหม แม้แต่ในส่วนของกรมพัฒฯเองก็มีปัญหาเมื่อมีการชำระบัญชีเมื่อเลิกกิจการผู้ชำระบัญชีก็ต้องรายงานการชำระให้กรมพัฒฯทราบกฎหมายก็เขียนเพียงว่าให้รายงานทุกระยะเวลา3เดือนครั้งหนึ่งนับจากวันถัดจากวันที่เลิกกันแต่ไม่ทราบว่าวันที่เลิกกันนั้นจะถือเอาวันไหนเป็นหลักเช่นตามปพพ.ม.1267ประกอบพรบ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนบริษัทพ.ศ.2499ม.35(2)ระบุไว้ว่าว่า"ผู้ชำระบัญชีต้องทำรายงานยื่นไว้ณหอทะเบียนทุกระยะสามเดือนครั้งหนึ่งว่าได้จัดการไปอย่างใดบ้างแสดงให้เห็นความเป็นไปของบัญชีที่ชำระอยู่นั้นฯ...(มิฉนั้นจะมีโทษปรับไม่เกิน50,000บาท)"จะเห็นว่าไม่มีข้อความว่าเมื่อทำรายงานทุกระยะสามเดือนแล้วต้องยื่นภายในวันไหนดังต่อไปนี้ 1.วันที่ก่อนครบกำหนดหรือวันที่ตรงกับวันครบกำหนด3เดือนนับจากวันถัดจากวันเลิกกันวันแรก(ตามนัยพรบ.กำหนดความผิดเกีี่ยวกับห้างหุ้นส่วนบริษัทพ.ศ.2499ม.53) (มีปัญหาว่าจะพิจารณาวันใดเป็นวันเลิกกันวันแรกเหมือนที่ระบุใน4ข้อที่ระบุดังกล่าวข้างต้น) 2.วันที่หลังจากครบกำหนด3เดือนพอดีหรือวันถัดจากนั้นวันใดก็ได้ตามดุลพินิจและเห็นชอบของเจ้าพนักงานนายทะเบียนของกรมพัฒฯ ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าน่าจะดูเจตนารมย์ของกฎหมายเป็นหลักว่าเหตุที่กฎหมายให้ทำรายงานทุกระยะสามเดือนนั้นน่าจะต้องการให้เวลาแก่ผู้ชำระบัญชีไปดำเนินการเป็นช่วงๆทุก3เดือนก็มารายงานครั้งหนึ่งเพื่อให้ทางราชการที่ดูแลการจดทะเบียนเลิกบริษัทและสาธารณะได้ทราบข้อมูลว่าได้มีการชำระบัญชีไปถึงไหนแล้วดังนั้นผู้ชำระบัญชีน่าจะทำสรุปรายงานได้เสร็จหลังวันที่ครบ3เดือนแล้วช่วงเวลาหนึ่งตามแต่ปริมาณข้อมูลที่เกี่ยวข้องว่ามีมากน้อยเพียงใดหากถูกบังคับให้ต้องยื่นรายงานชำระบัญชีวันก่อนครบหรือวันที่ครบเลยก็น่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์เพราะอาจไม่ทันได้รวบรวมข้อมูลอะไรให้เห็นเนื้่อความอะไรและเป็นการลำบากสำหรับการเร่งรัดรวบรวมรายงานตรงกับวันสุดท้ายของวันที่ครบช่วง3เดือน(หากเทียบเคียงกับม.67ทวิ,ตรีในประมวลรัษฎากรซึ่งกำหนดช่วงเวลาดำเนินกิจการไป6เดือนแล้วยังให้เวลาทำรายงานงบเป็นระยะเวลาประมาณ2เดือนหลังจากครบช่วง6เดือนแล้วเลยเป็นต้น)ดังนั้นหากสมมุติจะกำหนดให้ส่งรายงานการชำระบัญชีภายใน1เดือนหลังจากครบช่วง3เดือนแล้วน่าจะใกล้เคียงกับของสรรพากร สรุปความคิดเห็นส่วนตัวหากกรมพัฒฯทำการลงโทษปรับผู้ชำระบัญชีกรณีไม่ส่งรายงานการชำระบัญชีภายใน1เดือนตามความเห็นสมมุติข้างต้นน่าจะตรงกับเจตนารมย์ของกฎหมายในการให้เวลาแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อรวบรวมรายงานพอสมควรแต่ถ้ากรมพัฒฯถือเอาวันก่อนหรือภายในวันที่ครบ30วันนับจากวันเลิกหรือวันอื่นใดตามดุลพินิจส่วนของเจ้าหน้าที่เองโดยไม่มีกฎหมายรองรับน่าจะเกิดผลให้มองว่าเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตอาจมีความผิดถูกฟ้องร้องให้รับผิดชอบได้หากมีการร้องเรียนไปถึงศาลปกครองจากผู้ถูกกระทำละเมิด ไม่ทราบว่าท่านหรือผู้รู้ท่านใดพอจะให้ความเห็นในเรื่องประเด็นดังกล่าวข้างต้นอย่างไร...ขอบคุณครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น sai วันที่ตอบ 2014-11-25 12:44:46 IP : 171.96.176.227


ความคิดเห็นที่ 3 (3750384)
อ่านข้อหารือข้างล่างนี้ก็จะทราบว่าวันเลิกของสรรพากรคือวันใด เลขที่หนังสือ : กค 0702/4377 วันที่ : 21 พฤษภาคม 2556 เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการเลิกกิจการและการชำระบัญชี ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(4)(ฉ) มาตรา 50(2)(ก) มาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ (4) มาตรา 70 และมาตรา 74(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อหารือ บริษัทฯ ประกอบกิจการเป็นผู้ลงทุนถือหุ้นในบริษัทลูกที่ประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลหลายแห่ง ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ มีแผนการจะปรับปรุงโครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่มบริษัทฯ โดยจะทำการชำระบัญชีเลิกกิจการ และบริษัทฯ จะกระจายหุ้นที่ถือในบริษัทลูกให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วน บริษัทฯ เข้าใจว่า บริษัทฯ มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ดังนี้ 1. การเลิกกิจการ บริษัทฯ จะต้องแจ้งให้กรมสรรพากรทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการจดทะเบียนมติพิเศษเพื่อเลิกกิจการและเพื่อแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีกับกระทรวงพาณิชย์ โดยถือวันดังกล่าวเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใน 150 วัน ตามนัยของมาตรา 72 แห่งประมวลรัษฎากร โดยตีราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันเลิกและหากราคาทรัพย์สินที่ตีเพิ่มขึ้นนั้นสูงกว่ามูลค่าต้นทุนทางภาษี บริษัทฯ จะต้องนำกำไรที่ได้รับจากการตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ 2. การคำนวณราคาหุ้นในบริษัทลูกที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งไม่มีราคาตลาดเทียบเคียง บริษัทฯ จึงต้องใช้มูลค่าสุทธิทางบัญชี (สินทรัพย์หักด้วยหนี้สิน) ของงบการเงินล่าสุดในบริษัทลูกที่ได้รับการรับรองโดยผู้สอบบัญชีและหักด้วยการจ่ายเงินปันผลหลังจากวันที่ออกงบการเงินดังกล่าว (หากมี) คงเหลือเป็นมูลค่าสุทธิทางบัญชีที่แท้จริงที่บริษัทฯจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ วันเลิกกิจการ 3. บริษัทฯ จะต้องคำนวณประโยชน์เพิ่มที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายได้รับตามมาตรา 40(4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร การคำนวณราคาตลาดของหุ้นโดยใช้มูลค่าสุทธิทางบัญชีของงบการเงินล่าสุดของ บริษัทลูกที่รับรองโดยผู้สอบบัญชี หักด้วยเงินปันผลจ่ายหลังจากวันที่ออกงบการเงินดังกล่าว (หากมี) ซึ่งหากมีมูลค่าเกินกว่าเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นแต่ละราย บริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในส่วนที่เกินกว่าเงินลงทุนดังกล่าวตามอัตราก้าวหน้าในกรณีของบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร แนววินิจฉัย 1. กรณีการเลิกประกอบกิจการ เมื่อที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกกิจการ และบริษัทฯ ได้จดทะเบียนเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์แล้ว ให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการมีหน้าที่ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก และให้ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่และรับผิดชอบในการยื่นแบบและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 72 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับทรัพย์สินที่คงเหลืออยู่ให้ใช้ราคาตลาดตามมาตรา 74 (1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร หากราคาตลาดนั้นสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาทุน ผลกำไรหรือขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นนั้น บริษัทฯ ต้องนำมาถือเป็นรายได้หรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร 2. สำหรับการกำหนดราคาหุ้นในบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย (บริษัทลูก) ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบการ หากบริษัทฯ จะคำนวณโดยใช้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (มูลค่าทรัพย์สินหักหนี้สินทั้งหมด) ตามงบดุลในปีที่ผ่านมาของบริษัทลูกซึ่งผ่านการรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หารด้วยจำนวนหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้ ราคาหุ้นดังกล่าวถือเป็นราคาที่มีเหตุผลอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ(4) แห่งประมวลรัษฎากร 3. การคำนวณหาผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนตามมาตรา 40(4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ สามารถที่จะใช้วิธีคำนวณหาราคาขายด้วยวิธีการทางบัญชี ซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นการทั่วไปและหากบริษัทฯ คืนผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากการเลิกกิจการให้แก่ผู้ถือหุ้น บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีและนำส่งกรมสรรพากร ดังนี้ ก. กรณีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดา ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ เว้นแต่ผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ ตามมาตรา 50(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ข. กรณีผู้ถือหุ้นเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ให้คำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามอัตราภาษี เงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร เลขตู้ : 76/38617
ผู้แสดงความคิดเห็น จรัส อินทร์คง วันที่ตอบ 2014-12-20 13:48:28 IP : 171.7.182.20


ความคิดเห็นที่ 4 (3919957)

 สวัสดีคะ คุณจรัญ

ขอสอบถามตามข้อเท็จจริง ดังนี้คะ

1. บริษัท ประชุมมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท ในวันที่ 31 ธันวาคม

2. ได้ไปจดทะเบียนเลิกบริษัท กับนายทะเบียนกรมพัฒ วันที่ 29 ธันวาคม

3. ได้ทำ งบการเงินสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม (ตามมติพิเศษให้เลิกบริษัท)

 

มีข้อสงสัยว่า กรณีที่ ทางสรรพากร จะถือวันเลิกบริษัท คือวันที่ บริษัทไปจดทะเบียนกับกรมพัฒ (29 ธันวาคม)

คำถามคือ งบตัวที่ปิดมา ณ วันที่ 31 ธันวาคม จะสามารถใช้ยื่นที่สรรพากรได้หรือไม่คะ หรือว่า ต้องทำแยกกัน เป็น งบที่ลงวันที่สิ้นสุด 31 ธันวาคม ยื่นที่ กรมพัฒ ส่วนงบ ลงวันที่ 29 ธันวาคม ยื่นที่สรรพากรคะ

คือ เป็นไปได้มั้ยคะ ที่จะใช้งบสิ้ยสุดวันที่ 31 ธันวาคม ยื่นเหมือนกันทั้ง 2 ที่คะ

 

รบกวนขอความเห็นด้วยคะ

 

ขอบคุณมากๆคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศรุ (nart_city7431-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2015-12-29 10:37:38 IP : 58.11.76.48


ความคิดเห็นที่ 5 (4319634)

 รบกวนสอบถามเรื่องการนับวันที่ใน ลช.3 ต้องใส่ยังไงคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Noona วันที่ตอบ 2019-07-22 16:39:58 IP : 171.5.233.54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.