ตรวจสอบบัญชี,ทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,สำนักงานตรวจสอบบัญชี,สอบบัญชี ภาษีซื้อ, ขาย กรณีฝากขาย
ReadyPlanet.com


ภาษีซื้อ, ขาย กรณีฝากขาย


บ. ก ทำสัญญาฝากขาย กับ บ. ข ( บ. ข จะได้ค่าคอมมิชชั่นจากการขาย) และ บ. ข จะต้องขายตามราคาที่ บ. ก กำหนด เท่านั้น และ ในครั้งแรก บ. ก ส่งแค่เอกสารภายในของ บ. ก ว่าได้ส่งสินค้าอะไรมาให้ บ. ข บ้าง ซึ่งไม่มีรายละเอียดราคาต่อหน่วยของสินค้านั้น 1. เมื่อ บ. ข ขายสินค้าได้ จะออกใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ผ่าน web ของ บ. ก (โดยในใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี (อย่างย่อ) จะมีรายละเอียดดังนี้ คือ 1. คำว่า “ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี (อย่างย่อ)” 2. ชื่อ ที่อยู่ และ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของ บ.ข 3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อ 4. เล่มที่ (ถ้ามี) เลขที่ของใบกำกับภาษี 5. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี 6. สาขาที่ออกใบกำกับภาษี 2 (ซึ่งในจังหวัดเดียวกัน บ. ก มี 2 ตัวแทน ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กับ บ. ข และ บ. ขไม่ได้จดสาขา) 7. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และราคาของสินค้าหรือบริการ 8. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยให้แยกออกจากราคาของสินค้าหรือบริการให้ชัดแจ้ง 9. เครื่องหมายการค้าของ บ. ก 2. เมื่ บ. ข ขายสินค้าได้ 100 บาท บ. ก ก็จะออก ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ให้ บ. ข ยอด 100 บาท 3. เมื่อสิ้นเดือน บ. ก สรุปยอดขาย แล้วคิดค่าคอมมิวชั่นให้ บ. ข และ บ. ข จะออกใบเสร็จรับเเงิน/ใบกำกับภาษี ให้ บ. ก เป็นค่าคอมมิชชั่น อยากทราบว่า 1. การที่ บ. ข นำยื่นภาษีขาย เฉพาะ ค่าคอมมิชชั่นที่ได้จาก บ.ก เท่านั้น ถูกต้องหรือไม่ 2. ยอดขาย 100 บาท บ. ข ต้องนำืยื่นหรือไม่ 3. ยอดซื้อ 100 บาท (ซึ่ง บ. ก ออกให้ บ. ข เท่ากับยอดที่ บ. ข ขายได้ ก่อนคิดค่าคอมมิชชั่น) บ. ข ต้องนำยื่นหรือไม่ ขอบคุณค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ คนอยากรู้ :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-16 12:17:19 IP : 222.123.56.45


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2017183)
เท่าที่ให้ข้อมูลมา ลักษณะธุรกิจ บ.ก ทำการขายผ่านตัวแทน โดย บ.ข เป็นตัวแทนเท่านั้น เนื่องจาก บ. ข จะต้องขายตามราคาที่ บ. ก กำหนด เท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ที่จะขายบวกกำไรได้เลย และบ.ข มีรายได้เพียงแต่ ค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น ดังนั้นถ้าหาก บ.ข นำยื่นภาษีขาย เฉพาะ ค่าคอมมิชชั่นที่ได้จาก บ.ก เท่านั้น  บ.ข จะต้องมีสัญญาตั้งตัวแทนจากบริษัท ก. ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8)

เรื่อง    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร

 

แต่การปฎิบัติของ บ.ข กระทำเหมือน ซื้อสินค้ามาจาก บ.ก แล้วขายให้กับลูกค้าเป็นการฝากขายปกติ ไม่ใช่ตัวแทน ดังนั้นหากกระทำเช่นนี้ จะนำยื่นภาษีขาย เฉพาะ ค่าคอมมิชชั่นที่ได้จาก บ.ก เท่านั้น  ไม่ได้ ต้องนำยอดขายนำส่งภาษีด้วย

 

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8)

เรื่อง    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร

 

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ไว้ดังต่อไปนี้

 

                ข้อ 1  ต้องเป็นสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าโดยตัวแทนได้รับค่าตอบแทนหรือบำเหน็จจากตัวการตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาตั้งตัวแทน

 

                ข้อ 2  สัญญาตามข้อ 1 ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นสัญญาที่ตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทุกประเภทก็ได้

 

                ข้อ 3  ตัวการและตัวแทนต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

 

                ข้อ 4  ตัวการและตัวแทนต้องเก็บรักษาต้นฉบับสัญญาการตั้งตัวแทนไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา

 

                “ข้อ 5   ตัวการต้องแจ้งสัญญาการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15 วันนับแต่วันทำสัญญาตั้งตัวแทน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ของตัวการตั้งอยู่“

( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 145) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )

 

                ข้อ 6  ตัวแทนต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยให้จัดทำแยกต่างหากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของตน ตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร

 

                ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534

 

บัณฑิต บุณยะปานะ

อธิบดีกรมสรรพากร

ผู้แสดงความคิดเห็น จรัส วันที่ตอบ 2009-12-18 11:20:05 IP : 61.91.163.52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.