มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ถือปฎิบัติเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือทุกประเภท ยกเว้น
1. งานระหว่างก่อสร้างภายใต้งานก่อสร้างตามสัญญารวมทั้งสัญญาการให้บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรง (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 เรื่อง การบัญชีสำหรับงานก่อสร้างตามสัญญา)
2. ตราสารทางการเงิน
3. สินค้าคงเหลือที่เป็นผลิตผลจากการปศุสัตว์การเกษตรและป่าไม้ แร่ธาตุ ที่ตีราคา ตามมูลค่าสุทธิที่จะได้รับซึ่งได้กำหนดวิธี การปฏิบัติไว้อย่างเหมาะสมในธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะนั้นแล้ว
การบัญชีสำหรับสินค้าคงเหลือ
การตีราคาสินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือควรตีราคาตามต้นทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
ต้นทุนสินค้าคงเหลือ
ต้นทุนสินค้าคงเหลือประกอบด้วยต้นทุนทั้งหมดในการจัดซื้อในการแปลงสภาพและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้น เพื่อให้สินค้าคงเหลือนั้น อยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การคำนวณต้นทุน
ต้นทุนสินค้าคงเหลือของแต่ละรายการซึ่งตามปกติไม่อาจใช้สับเปลี่ยนกันได้ หรือเป็นสินค้าหรือบริการที่ผลิตขึ้นเพื่อโครงการหนึ่ง โครงการใดโดยเฉพาะควรจะคำนวณต้นทุนโดยใช้วิธีราคาเจาะจง
แนวทางที่กำหนดให้ถือปฏิบัติ
ต้นทุนสินค้านอกจากวิธีคำนวณต้นทุนโดยใช้วิธีราคาเจาะจง ควรจะคำนวณโดยวิธีเข้าก่อน ออกก่อน หรือ วิธี ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
วิธีที่อาจเลือกปฏิบัติ ต้นทุนสินค้าคงเหลือนอกจากวิธีคำนวณต้นทุนโดยใช้วิธีราคาเจาะจง อาจจะคำนวณตามวิธีเข้าหลังออก ก่อน
มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ
มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ คำนวณจากราคาที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติ หักต้นทุนส่วนเพิ่มที่จะผลิตให้เสร็จ (ถ้ามี) และค่าใช้จ่าย อื่นๆที่จำเป็น ต้องจ่ายเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้
มูลค่าสุทธิที่จะได้รับของสินค้าคงเหลืออาจลดลงต่ำกว่าราคาทุนของสินค้าคงเหลือ เนื่องจากความเสียหายล้าสมัยหรือราคา ขายลดลง หรือ จำเป็นต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต หรือต้นทุนอื่นเพื่อให้สินค้าคงเหลือขายได้ การที่จะลดราคาสินค้าคงเหลือลง ให้ต่ำกว่าราคาต้นทุนให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ สอดคล้องกับแนวความคิดที่ว่าทรัพย์สิน ไม่ควรแสดงราคาตามบัญชีที่ สูงกว่ามูลค่าที่จะได้รับหรือที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้
การปรับราคา
การปรับราคาโดยเปรียบเทียบต้นทุนของสินค้าคงเหลือกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ โดยทั่วไปจะพิจารณาจากสินค้าแต่ละ รายการแต่ในกรณีที่เหมาะสมอาจพิจารณาจากยอดรวมของสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกันหรือมีความเกี่ยวพันกัน
หากสินค้าคงเหลือถูกปรับลดให้เป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ให้ถือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับนั้นเป็นราคาทุนใหม่ หากในงวดถัดมา กิจการยังมีสินค้าคงเหลือนั้นอยู่ กิจการต้องเปรียบเทียบราคาทุนเดิมกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ประเมินใหม่
การบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
เมื่อมีการขายสินค้าคงเหลือออกไป ราคาตามบัญชีของสินค้านั้นจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ในงวดที่มีการรับรู้รายได้ที่เกี่ยวข้อง
มูลค่าที่ลดลงของสินค้าคงเหลือ
เนื่องจากการปรับราคาเพื่อให้แสดงเป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ รวมทั้งผลขาดทุนทั้งสิ้นที่ เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือควรบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ในงวดที่ปรับราคาสินค้าให้ลดลงหรือมีผลขาดทุนเกิดขึ้น ราคาสินค้าคงเหลือที่ปรับลดลงให้เป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วต่อมากลับมีราคาสูงขึ้น จำนวนที่เพิ่มขึ้นควรบันทึกโดยนำ ไปหักจากมูลค่าของสินค้าที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่ราคาของสินค้านั้นกลับตัวเพิ่มขึ้น
ข้อมูลที่ควรเปิดเผย
- นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือ และวิธีที่ใช้คำนวณราคาทุน
- ราคาตามบัญชีของสินค้าคงเหลือแต่ละประเภท จำแนกตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการและราคาตามบัญชีรวม ราคาตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือที่แสดงในราคามูลค่าสุทธิที่จะได้รับ
- มูลค่าสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาที่เคยลดลง
- เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทำให้ราคาสินค้ากลับเพิ่มขึ้น
- ราคาตามบัญชีของสินค้าคงเหลือที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สิน
กรณีที่กิจการกำหนดต้นทุนสินค้าคงเหลือตามวิธีเข้าหลังออกก่อนตามวิธีที่ให้เลือกปฏิบัติได้ ควรเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินถึงผลต่างระหว่างมูลค่าสินค้าคงเหลือที่ปรากฏในงบดุล กับมูลค่าใดมูลค่าหนึ่งดังต่อไปนี้
- มูลค่าตามราคาทุนที่คำนวณโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อนหรือวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า หรือ
- มูลค่าตามราคาต้นทุนปัจจุบัน ณ วันที่ในงบดุลหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า