ปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี |
1. |
สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลจะต้องจัดใหมีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร |
|
แนวคำตอบ
ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี กระทรวงพาณิชยมีหน้าที่ออกกฎกระทรวงเพื่อกําหนด ประเภท จํานวน หลักเกณฑ และวิธีการของการจัดให้มีหลักประกัน โดยให้คํานึงถึงขนาดและรายได้ของนิติบุคคลและให้นําความเห็นของหนวยงานวิชาชีพบัญชีและสภาวิชาชีพบัญชีมาประกอบการพิจารณาขณะนี้กระทรวงพาณิชย์กําลังพิจารณายกร่างกฎกระทรวงดังกล่าวอยู |
2. |
สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลมีภาระหน้าที่และความรับผิดตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีอย่างไร |
|
แนวคำตอบ
ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี (ตาม มาตรา 11)ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม (ดูคําถามข้อที่ 1)หากบริการด้านการสอบบัญชีนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดร่วมกับผู้สอบบัญชีที่เซ็นรับรองงบการเงิน |
3. |
สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลมีภาระหน้าที่และความรับผิดตามพ.ร.บ.วิชาชีพบัญชีอย่างไร |
|
แนวคำตอบ
กฎหมายไม่ได้กําหนดภาระหน้าที่และความรับผิดไว้เป็นกรณีพิเศษ |
4. |
เป็นสมาชิกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยประเภทสมาชิกตลอดชีพ สมาคมฯมีแผนที่จะโอนสมาชิกภาพมาสังกัดที่สภาวิชาชีพบัญชีหรือไม |
|
แนวคำตอบ
สภาวิชาชีพบัญชีเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ดังนั้นในด้านกฎหมายสมาคมฯไม่สามารถโอนสมาชิกภาพของท่านไปสังกัดกับสภาวิชาชีพบัญชีได อย่างไรก็ตามท่านยังคงมีสิทธิหน้าที่ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยอยู่เช่นเดิมทุกประการตามข้อบังคับของสภาฯ ที่ได้ร่างไว้ได้เปิดโอกาสให้มีการงดเก็บค่าบํารุงจากสมาชิกสมาคมฯ หากได้มีการเลิกสมาคมฯ |
5. |
ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือไม |
|
แนวคำตอบ
ไม่จําเป็นยกเว้นสองกรณีคือ (1) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งได้รับใบอนุญาตที่ออกตามพ.ร.บ.วิชาชีพบัญชีนี้ และ (2) ผู้ทําบัญชีตามกฎหมายบัญชีเท่านั้นที่จะต้องเป็นสมาชิกของสภาฯตามบทบัญญัติของกฎหมาย |
6. |
อยู่ต่างจังหวัดจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด |
|
แนวคำตอบ
ขอรับใบสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้จากสํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าประจําจังหวัดทุกแห่ง หรือจากสาขาของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยกรอกใบสมัครโอนเงินค่าบํารุงเข้าบัญชีธนาคารของสภาวิชาชีพบัญชี หรือ ซื้อธนาณัติไปรษณียหรือ แคชเชียรเช็ค ตามรายละเอียดที่ระบุในคําชี้แจงแนบท้ายใบสมัครส่งใบสมัคร เอกสารประกอบการสมัคร รวมทั้งเอกสารการชําระค่าบํารุงตามข้อ 3 ข้างต้นมายังสภาวิชาชีพบัญชีทางไปรษณียโดยท่านไม่จําเป็นต้องเดินทางมาด้วยตนเอง |
7. |
อยู่ในกรุงเทพฯจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด |
|
แนวคำตอบ
ขอรับใบสมัครเป็นสมาชิกได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (นนทบุรี) หรือจากสภาวิชาชีพบัญชี (สามเสน) หรือดาวน์โหลดใบสมัครจากเว็บไซตของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย www.icaat.or.th ก็ได้กรอกใบสมัคร |
8. |
สภาวิชาชีพบัญชีประกอบด้วยสมาชิกซึ่งประกอบวิชาชีพบัญชีต่างๆ รวมหกด้านด้วยกัน ตอนที่ผมสมัครเป็นสมาชิกของสภาฯ จําเป็นต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งด้วยหรือไม |
|
แนวคำตอบ
ไม่ต้อง เพราะกฎหมายไม่ได้กําหนดให้สมาชิกต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งการที่กฎหมายกําหนดให้วิชาชีพบัญชีประกอบด้วยวิชาชีพบัญชีหกด้านนั้นเพื่อใหสภาวิชาชีพบัญชีมีความหลากหลายในด้านวิชาชีพ พร้อมกับเปิดโอกาสให้วิชาชีพบัญชีแต่ละด้านนั้นมีตัวแทน (ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านต่างๆ) อยู่ในคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี เพื่อยกระดับวิชาชีพด้านนั้นและด้านอื่นให้เจริญก้าวหน้าร่วมกัน |
9. |
ในกรณีที่ผมจ่ายค่าบํารุงสมัครเป็นรายสามปี หรือ รายห้าปี สภาวิชาชีพบัญชีจะมีส่วนลดให้หรือไม |
|
แนวคำตอบ
ไม่มี (การที่อนุญาตให้สมาชิกจ่ายค่าบํารุง เป็นรายสามปี หรือ รายห้าปได้นั้นมีวัตถุประ-สงค์เพียงเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับสมาชิกที่ไม่ต้องการจ่ายชําระค่าบํารุงทุกๆป) |
10. |
สภาวิชาชีพบัญชีตั้งอยู่ที่ไหน |
|
แนวคำตอบ
ปัจจุบัน สภาวิชาชีพบัญชีมีที่ทําการชั่วคราวตั้งอยู่ที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เลขที่ 441/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพ 10300 |
11. |
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชี สามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบไดหรือไม เพราะทราบว่าอัตราค่าบํารุงสมาชิกประเภทสมทบถูกกว่าสมาชิกสามัญ |
|
แนวคำตอบ
ไม่ได้ท่านสามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสามัญเท่านั้น เฉพาะผูที่จบการศึกษาในระดับ ปวส. (ด้านการบัญชี) ระดับอนุปริญญา หรือ ผู้ที่กําลังศึกษาอยูในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีเท่านั้นจึงจะสามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบได |
12. |
ทําไมค่าธรรรมเนียมใบอนุญาตสอบบัญชีจึงแพงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาก เดิมจ่ายให้ ก.บช. เพียง 200 บาทต่อห้าป ตอนนี้ต้องจ่ายให้สภาวิชาชีพบัญชีปละ 1,000 บาท |
|
แนวคำตอบ
สภาวิชาชีพบัญชีเป็นองค์กรวิชาชีพอิสระไมมีงบประมาณสบับสนุนจากภาครัฐ (ต่างจากสํานักงาน ก.บช. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย)ดังนั้นเพื่อใหสภาวิชาชีพบัญชีสามารถดําเนินงานไดตามวัตถุประสงคของการจัดตั้งสภาจึงจําเป็นต้องจัดหารายไดในจํานวนที่เพียงพอต่อการบริหารงาน ด้วยเหตุนี้สภาจึงมีความจําเป็นที่ต้องกําหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชีให้สูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อใหสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายดําเนินงานที่จะเกิดขึ้น |
13. |
เป็นผู้สอบบัญชีอยู่แล้ว ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีที่ออกโดย ก.บช.จะหมดอายุลงในวันที่
30 กันยายน 2548 ต้องปฏิบัติตนอย่างไร |
|
แนวคำตอบ
ท่านสามารถปฏิบัติงานสอบบัญชีได้ต่อไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2548 โดยยังไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีนี้อย่างไรก็ตาม ภายในเวลาสามเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสอบบัญชีเดิมของท่านจะหมดอายุ ท่านจะต้องดําเนินการขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีใหมจากสภาวิชาชีพบัญชี และเริ่มเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพ.ร.บ.วิชาชีพบัญชีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไปในระหว่างที่ใบอนุญาตเดิมของท่านยังไม่หมดอายุนี้ ท่านจะเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่ก็ได |
14. |
ทําไมสภาวิชาชีพบัญชีไม่อนุญาตใหชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชีเป็นรายสามปี หรือรายห้าปเหมือนค่าบํารุงสมาชิกบ้าง |
|
แนวคำตอบ
ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ สภาฯเห็นว่าควรออกข้อบังคับกําหนดใหผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ชําระค่าธรรมเนียมในลักษณะปีต่อปไปพลางๆ ก่อน หากคณะกรรมสภาวิชาชีพบัญชีชุดเลือกตั้งเห็นว่าสมควรแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นก็สามารถดําเนินการไดตามขบวนที่กําหนดในกฎหมาย ดังนั้นจึงเป็นไปไดที่ในอนาคตผู้สอบบัญชีสามารถชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นรายสามปหรือรายห้าปีได |
15. |
ตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่มีอายุ แต่ทําไมต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทุกปีด้วย |
|
แนวคำตอบ
ถึงแม้ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีจะมีอายุไม่จํากัด แต่กฎหมายอนุญาตให้สภาฯจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นรายปีได ทั้งนี้เพื่อนําเงินที่ได้ไปใช้ในการบริหารงานของสภา ฯ |
16. |
กฎหมายบังคับให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องเป็นสมาชิกของสภาฯด้วย ดังนั้นนอกจากจะต้องชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ผู้สอบบัญชียังจะต้อง
ชําระค่าบํารุงสมาชิกอีกด้วย เข้าใจถูกหรือไม |
|
แนวคำตอบ
ท่านเข้าใจถูกต้องแล้ว เว้นแต่ผู้สอบบัญชีซึ่งใบอนุญาตเดิม (ที่ออกโดย ก.บช.) ยังไม่หมดอายุกฎหมายยอมให้ผู้นั้นใชใบอนุญาตเดิมได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะหมดอายุ และในช่วงที่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุลงนี้ผู้สอบบัญชีนั้นจะเป็นสมาชิกสภาหรือไม่ก็ได |
17. |
ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่เข้ารับการ ฝึกอบรมหรือเข้าร่วมการสัมนา (CPD) ตามหลักเกณฑและวิธีการที่สภาฯกําหนด อยากทราบว่าสภาฯได้ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วหรือยัง |
|
แนวคำตอบ
สภาฯกําลังอยู่ในระหว่างการยกร่างข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนี้ |
18. |
กําลังอยู่ระหว่างการฝกหัดงานสอบบัญชีธุรกิจ และยังสอบผ่านไมครบทุกวิชา จะไดรับผลกระทบจาก พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีหรือไม |
|
แนวคำตอบ
ไม่ไดรับผลกระทบ สิทธิหน้าที่ของท่านในด้านการฝึกหัดงานสอบบัญชีการรายงาน การทดสอบความรู รวมทั้งการสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะกฎข้อบังคับภายใต้ พรบ.ผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 ให้ถือว่ามีผลต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้พรบ.ใหม่นี้ |
19. |
ขณะนี้เป็นผูทําบัญชีตาม พ.ร.บ. การบัญชี (พ.ศ. 2543 ) และได้แจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ทําไมดิฉันต้องมาขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีอีก |
|
แนวคำตอบ
การแจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจเป็นขบวนการที่กําหนดในพ.ร.บ. การบัญชี (พ.ศ. 2543) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใหแน่ใจว่าผู้ทําบัญชีมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กํ าหนดในกฎหมายฉบับดังกล่าว ในขณะที่การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชีนี้เป็นขบวนการที่กําหนดใน พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพทําบัญชีปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่ดีภายใต้กลุ่มชนที่ใหญ่ขึ้น |
20. |
ผู้ทําบัญชีทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกสภาฯ หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯ ใชหรือไม |
|
แนวคำตอบ
ไม่ใชเฉพาะผู้ทําบัญชีผูซึ่งมีคุณสมบัติตาม พ.ร.บ. การบัญชี (พ.ศ.2543) เท่านั้นจึงจะต้องสมาชิกสภาฯ หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯและนักบัญชีทุกท่านก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกไดเพราะเพิ่มศักดิ์ศรีของตนเอง และของสถาบัน |
21. |
เป็นผู้ทําบัญชีแต่ไม่อยากเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี จะจ่ายค่าขึ้นทะเบียนผู้ทําบัญชีได้อย่างไร |
|
แนวคำตอบ
หากท่านเป็นผู้ทําบัญชีซึ่งได้แจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว สภาฯจะรับขึ้นทะเบียนเป็นผูทําบัญชีให้กับท่านโดย อัตโนมัติโดยมิต้องเสียธรรมเนียม แต่การขึ้นทะเบียนนี้มีผลจนถึงสิ้นปนี้ (31 ธันวาคม 2547)เท่านั้นด้วยเหตุนี้ท่านจะต้องยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีสําหรับปีถัดไป (ปี 2548) กับสภาวิชาชีพบัญชีพร้อมทั้งการชําระค่าธรรมเนียมภายในเดือนมีนาคม 2548 โดยท่านสามารถขอแบบคําขอไดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าประจําจังหวัด สภาวิชาชีพบัญชี หรือ สาขาของสมาคมนักบัญชีและผูสอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยไดทุกแห่ง ขบวนการชําระค่าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีเหมือนกับขบวนการชําระค่าบํารุงสมาชิกทุกประการ |
22. |
ตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีบัญชี ผู้ทํ าบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาฯ หรือ ขึ้นทะเบียน
เป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯควรเลือกวิธีใดดีครับ |
|
แนวคำตอบ
ตามกฎหมายท่านสามารถเลือกวิธีใดก็ได แต่เนื่องจากสภาฯจัดเก็บค่าบํารุงสมาชิกและค่าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีในอัตราเท่ากัน การสมัครเป็นสมาชิกสภาน่าจะเป็นประโยชนต่อท่านมากกว่า เนื่องจากท่านจะได้รับสิทธิในการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีตามที่กําหนดในมาตรา 16 เช่น สิทธิในการเข้าร่วมประชุมสภาฯ สิทธิในการออกเสียงลงคะแนน และสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการสภาฯ เป็นต้น |
23. |
การเลือกตั้งคณะกรรมการสภาวิชาชีพชุดแรก จะมีขึ้นเมื่อใด |
|
แนวคำตอบ
ไม่เกินวันที่ 20 เมษายน 2548 (มาตรา 74 กําหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 180 วัน
นับจากวันที่กฎหมายมีผลบังคับ) ขณะนี้กำหนดแล้วคือวันที่ 3 เมษายน 2548 | |
ที่มาของข้อมูล : สภาวิชาชีพบัญชี