ประเด็นคําถาม - คําตอบ เกี่ยวกับการทำบัญชีและสอบบัญชี ของ กองกำกับบัญชีธุรกิจ
1. กิจการ A ได้รวมธุรกิจกับกิจการ B โดยการเข้าซื้อธุรกิจของกิจการ B ดังนั้นกิจการ A ควรบันทึกบัญชีในการซื้อธุรกิจของกิจการ B อย่างไร
แนวคําตอบ ขอให้ศึกษาจากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจก่อน หากยังมีข้อสงสัย ขอให้โทรสอบถามโดยตรงที่สํานักบัญชีธุรกิจ
2. กรณีกิจการไม่ได้ประกอบการมาประมาณ 8 ปีแล้ว แต่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี โดยถ้ากิจการจะขอแจ้งการหยุดดําเนินการ และการส่งงบการเงินของกิจการชั่วคราว ได้หรือไม่ ?
แนวคําตอบ หากกิจการเป็นผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีและยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทํางบการเงินและยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด
3. กิจการได้จดทะเบียนเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 และกิจการยังไม่ได้ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชําระบัญชี กิจการจะต้องจัดทํางบการเงิน ณ วันสิ้นงวดปี 2554 หรือไม่ ?
แนวคําตอบ ขึ้นอยู่กับรอบปี บัญชีของกิจการ ตัวอย่าง หากกิจการปิดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ในรอบปี บัญ ชี 2554 กิจการต้องจัดทํางบการเงินและนําส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดเช่นเดิม แต่ในรอบปี บัญชี 2555 เมื่อกิจการได้จดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว กิจการต้องดําเนินการยื่นจดทะเบียนเสร็จการชําระบัญชี และจัดทํางบการเงิน ณ วันเลิก คือ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อยื่นต่อนายทะเบียน
4. อยากทราบวิธีการบันทึกบัญชีการรับชําระค่าหุ้นจดทะเบียนเป็นเงินสดและลูกหนี้ค่าหุ้น
แนวคําตอบ
กรณีผู้ถือหุ้นชําระค่าหุ้นเป็นเงินสดเต็มจํานวน
- เดบิต เงินสด 100
- เครดิต ทุนจดทะเบียน 100
กรณีผู้ถือหุ้นชําระค่าหุ้นเป็นเงินสด 25 %และเกิดลูกหนี้ค่าหุ้น 75%
- เดบิต เงินสด 25
- ลูกหนี้ค่าหุ้น 75
- เครดิต ทุนจดทะเบียน 100
5. การตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง หมายถึงอะไร และมีวิธีการรับรู้อย่างไร
แนวคําตอบ เป็นการปรับมูลค่าของสินค้า ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ กําหนดให้บันทึกราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะตํ่ากว่า หากมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับตํ่ากว่า กิจการควรรับรู้ผลขาดทุนดังกล่าว และลดราคาสินค้าคงเหลือจากราคาทุนให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ดังนี้
- เดบิต ขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง
- เครดิต ค่าเผื่อการปรับมูลค่าของสินค้า
6. การบันทึกรายการบัญชีตามใบสําคัญทั่วไปในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ถือเป็นสมุดบัญชีรายวันทั่วไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้หรือไม่
แนวคําตอบ หากกิจการจัดทําบัญชีและมีข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี เป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่ อง กําหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทํา ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 ในหมวดที่ 1 ชนิดของบัญชีที่ ต้องจัดทํา และหมวด 2 ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี
7. กรณีที่กิจการมีเงินลงทุนชั่วคราวเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดทั้งประเภทหลักทรัพย์ เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายนั้น กิจการจะต้องมีการปรับปรุงเงินลงทุนให้เป็นมูลค่ายุติธรรมทุกงวดบัญชีใช่ หรือไม่
แนวคําตอบ ใช่ กิจการจะต้องปรับปรุงเงินลงทุนให้เป็นมูลค่ายุติธรรมทุกงวดบัญชี
8. กิจการรับงานก่อสร้างให้กับหน่วยราชการ ซึ่งในปัจจุบันราคาของวัตถุดิบแปรผันมากและส่วนใหญ่ ไม่สามารถจะเรียกร้องจากหน่วยราชการได้ จึงทําให้เกิดผลขาดทุนขึ้นเป็นจํานวนมาก ดังนั้นกิจการควรแสดงงบการเงินหรือเปิดเผยถึงกรณีที่เกิดการขาดทุน เนื่องจากการซื้อมากกว่าการขายอย่างไร
แนวคําตอบ การแสดงรายการในงบการเงินและเปิ ดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
9. กิจการจ่ายเช็คชําระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2553 แต่เจ้าหนี้การค้ายังไม่นําเช็คไปขึ้นเงินกิจการต้องปรับปรุงบัญชีหรือไม่
แนวคําตอบ เป็นคําถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สํานักบัญชีธุรกิจ
10. งบการเงินของบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติซึ่งได้ BOI ต้องแยกทุนขั้นตํ่าตามกฎหมายหรือไม่และต้องแสดงงบกําไรขาดทุนแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้ใบอนุญาตหรือไม่
แนวคําตอบ กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีมีฐานะเป็นคนต่างด้าวและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้ด้วย
- ลักษณะการประกอบธุรกิจและรายการทุนขั้นตํ่าตามกฎหมายแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต
- รายได้และค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต
11. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเรื่องกําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ .ศ.2554 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
แนวคําตอบ ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 มีผลบังคับใช้สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ เริ่มในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
12. กรณีนํางบปี ก่อนมาเปรียบเทียบ ต้องจัดประเภทรายการในงบการเงินของปี ก่อนให้เป็นประกาศกรมฯฉบับใหม่ ด้วยหรือไม่
แนวคําตอบ ใช่ ต้องจัดประเภทรายการในงบการเงินให้เป็นไปตามประกาศกรมฯ เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554
13. บริษัทแม่เป็นบริษัทมหาชนจํากัดซึ่งต้องทํางบการเงินตามรูปแบบท้ายประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแบบที่ 3บริษัทลูกที่เป็นบริษัทจํากัดต้องทํางบการเงินแบบที่2หรือ3
แนวคําตอบ
ถ้าบริษัทลูกเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ สามารถเลือกจัดทํางบการเงินแบบที่ 2 หรื อ 3 ก็ได้ ให้คํานึงถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องและนํามาใช้
14. เงินฝากธนาคารประเภทเงินฝากประจํา 1ปี ต้องจัดในรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดหรือจัดอยู่ในรายการเงินลงทุนชั่วคราว
แนวคําตอบ จัดเป็นเงินลงทุนชั่วคราว
15. กิจการมีลูกหนี้การค้าที่เป็นหนี้ค้างชําระและ ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่เนื่องจากนานมากและการจัดเก็บเอกสารไม่ดี ทําให้ไม่มีหลักฐานการเป็นหนี้ ดังนั้นกิจการควรทําอย่างไรจึงจะตัดเป็นหนี้สูญได้
แนวคําตอบ
ขออนุมัติจําหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชี หลังจากกิจการได้มีการดําเนินการทวงถามหนี้จากลูกหนี ้จนถึงที่สุดแล้ว และคาดหมายได้ค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่ได้รับชําระหนี้
16. กิจการได้กู้เงินนอกระบบมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ เนื่องจากกิจการไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งในการกู้เงินนอกระบบจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงินประมาณ 7 เท่า ดังนั้นกิจการสามารถนําเงินกู้และดอกเบี้ยนอกระบบมาบันทึกบัญชีได้หรือไม่
แนวคําตอบ
กิจการสามารถนําดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวมาบันทึกบัญชีได้ โดยที่กิจการต้องมีเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เช่น สัญญาเงินกู้ ทั้งนี้ประเด็นเรื่องการบันทึกรายการดอกเบี้ยจ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ กิจการควรหารือกับกรมสรรพากร
17. การแสดงความเห็นในหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี กรณีรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้อง กับกรณีไม่แสดงความเห็น มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร
แนวคําตอบ
1. กรณีรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้อง เป็นกรณีที่งบการเงินงบใดงบหนึ่งไม่ได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน กระแสเงินสดโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสําคัญตามมาตรฐานการรายงานทาง
การเงิน
2. กรณีไม่แสดงความเห็น กรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรืองบการเงินที่ตรวจสอบมีปัญหาในการดําเนินงานต่อเนื่อง หรือมีความไม่แน่นอนบางเรื่องที่มีผลกระทบต่องบการเงินที่ตรวจสอบ อย่างมีสาระสําคัญมาก
18. กรณีที่กิจการให้ความร่วมมือทุกอย่างกับผู้สอบบัญชีเป็นอย่างดี แต่ผู้สอบบัญชีเขียนรายงานการสอบบัญชีเป็นแบบมีเงื่อนไข กิจการควรทําอย่างไร
แนวคําตอบ
กิจการควรสอบถามกับผู้สอบบัญชีโดยตรง เพื่อจะได้ทราบเหตุผลหรือข้อบกพร่อง จะได้แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
19. บัญชีงานระหว่างทําต้นงวดผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบได้ควรดําเนินการเพิ่มเติมอย่างไร
แนวคําตอบ ควรหาตรวจสอบวิธีอื่น เช่น ตรวจสอบระบบการบันทึกบัญชีงานระหว่างทํา หรืออื่นๆ เพื่อยืนยันความถูกต้องของรายการงานระหว่างทําต้นงวด
20. ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันปิดบัญชี พร้อมกับกิจการทุกครั้งใช่ หรือไม่
แนวคําตอบ
การเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันปิดบัญชี เป็นวิธีการตรวจสอบที่ดีในการยืนยันความมีอยู่จริงของสินค้าและสภาพของสินค้า ซึ่งควรจะทําทุกปี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและการวางแผนของผู้สอบบัญชี
21. อยากทราบเรื่องการลงวันที่ในรายงานผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีสามารถลงวันที่ย้อนหลังในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีได้หรือไม่
แนวคําตอบ
ไม่ได้ โดยปกติวันที่ในรายงานผู้สอบบัญชีเป็นวันที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบงานภาคสนาม ( fieldwork) ณ สํานักงานของลูกค้าเสร็จสิ้น
22. กิจการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทํางบการเงินของปี 2554 หรือไม่
แนวคําตอบ
ขึ้นอยู่กับกิจการว่ามีการกําหนดรอบระยะเวลาบัญชีไว้อย่างไร หากกิจการกําหนดปิ ดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ในรอบปี บัญชี 2554 กิจการต้องจัดทํางบการเงินและนําส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด
23. จะจัดทํางบการเงินปี 2554 จัดทําอย่างไรบ้าง
แนวคําตอบ
การจัดทํางบการเงิน ให้แสดงรายการเป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554
24.ถ้าผู้ทําบัญชีต้องบันทึกบัญชีตามความต้องการของเจ้าของกิจการ ถือว่ามีความผิดหรือไม่และต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อให้ผู้ทําบัญชีจัดทําบัญชีได้โดยไม่ถูกจํากัดขอบเขต 2
แนวคําตอบ ตาม พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 20 กําหนดไว้ว่า ผู้ทําบัญชีต้องจัดทําบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดําเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน ถ้าทําผิดมาตรา 20 มีความผิดตามมาตรา 34 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่ งหมื่นบาท สําหรับบทกําหนดโทษของความผิดอื่น ๆ สามารถศึกษาได้จากหมวด 5 ของพ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543
25.กิจการที่รับตรวจสอบ ซึ่งให้เจ้าหนี้ทํารายละเอียดยอดคงค้างทั้งหมด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น และขอเอกสารยืนยันจากเจ้าหนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ให้เพียงตัวเลขยอดคงค้างทั้งหมดเท่านั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดเอกสารหลักฐานใดๆเลย 2ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบรายการเจ้าหนี้การค้าซึ่งมีสาระสําคัญ โดยการขอความร่ วมมือกับเจ้าหนี้ของ
แนวคําตอบ
ควรให้กิจการที่ตรวจสอบชี้แจงข้อเท็จจริง หรือหาผลต่างให้
26. งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงหน้ารายงานการสอบบัญชีเป็นแบบไม่แสดงความเห็น ถือว่างบการเงินนั้นไม่ถูกต้องใช่ หรือไม่
แนวคําตอบ
ขึ้นอยู่กับประเด็นที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถแสดงความเห็น มีผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร
27. กรณี กิจการได้บันทึกรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ในงวดก่อน แต่ต่อมาภายหลังมีข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่ารายการขาดทุนจากการด้อยค่าของ สินทรัพย์ได้หมดไปหรือลดลงไป ดังนั้นกิจการจะสามารถกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าได้หรือไม่
แนวคําตอบ
ได้ แต่ขอให้ศึกษาจากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่ อง การด้อยค่าของสินทรัพย์เพิ่มเติม ซึ่งมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่า
28.กิจการจะต้องประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่มีอยู่ทุกๆ ปี หรือไม่
แนวคําตอบ
ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่ อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ ย่อหน้า 9 -10 สรุปได้ว่า ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการต้องประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทําให้สินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่าเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามี กิจการต้องประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้น แต่สินทรัพย์บางประเภท เช่น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน เป็นต้น กิจการต้องทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นประจําทุกปี โดยไม่คํานึงว่าจะมีข้อบ่งชี้ของการด้อยค่าเกิดขึ้นหรือไม่
29.การจัดทําบัญชีสินค้าจะต้องจัดทําลักษณะใดจึงจะถูกต้องและเป็นไปตามพ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543
แนวคําตอบ หากกิจการจัดทําบัญชีและมีข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี เป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่องกําหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทํา ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544
30.กิจการจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร กิจการซื้อสินค้าจากต่างประเทศและนําเข้าสินค้ามาทางเรือ โดยมีเงื่อนไขแบบ F.O.B Shipping Point
แนวคําตอบ
เงื่อนไขแบบ F.O.B Shipping Point นี้กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนไปยังผู้ซื ้อเมื่อผู้ขายได้ส่งสินค้าให้กับบริษัทที่รับขนส่ง ดังนั้น ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง และรับความเสี่ยงสําหรับสินค้าชํารุดเสียหาย หรือสูญหายระหว่างการขนส่ง จึงให้บันทึกค่าขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินค้า
31. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมธนาคารที่กิจการกู้มาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าจะรวมเป็นราคาทุนของสินค้าได้หรือไม่
แนวคําตอบ
ขึ้นอยู่กับสินค้าที่ผลิต ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม ย่อหน้า 4 และ 7 สรุปได้ว่า มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ใช้กับการผลิตของสินค้าคงเหลือที่ผลิตเป็นจํานวนมาก โดยมีขั้นตอนการผลิตซํ้า ๆ นอกจากบางสถานการณ์ สินค้าคงเหลือนั้นสามารถจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข
32.กิจการนําสินค้าไปฝากขายกับบริษัท ก จํากัด เป็นเครื่องทํานํ้าอุ่นจํานวน 10 เครื่อง กิจการควรบันทึกรับรู้รายได้จากการฝากขายเมื่อใด
แนวคําตอบ
ปกติ รับรู้รายได้เมื่อบริษัทที่รับฝากขายสินค้าได้ นอกจากมีเงื่อนไขตกลงเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้กิจการควรศึกษาประเด็นเรื่ องนี้ด้านภาษีอากรด้วย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน
33. กิจการทําสัญญาเช่าอาคารเพื่อใช้ในการดําเนินงาน โดยกิจการบันทึกค่าเช่าอาคารเป็นค่าใช้จ่าย แต่ ต่อมากิจการมีการซ่อมแซมอาคาร รายจ่ายดังกล่าวจะถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่
แนวคําตอบ
ได้แต่ควรพิจารณาลักษณะรายจ่ายที่เกิดขึ้นด้วยว่า ให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจนกิจการต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินหรือไม่
34. กิจการประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ โดยได้รถยนต์มาจากการเช่าซื้อ ณ วันที่เช่าซื้อถือว่ากิจการเป็น เจ้าของสินทรัพย์แล้วใช่หรือไม่ และกิจการจะต้องบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อสินทรัพย์อย่างไร
แนวคําตอบ กิจการต้องจําแนกประเภทสัญญาเช่าว่าเป็นประเภทใดและต้องบันทึกบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาเช่า ซึ่งได้จําแนกประเภทของสัญญาเช่าเป็น 2 ประเภท
1. สัญญาเช่าการเงิน หมายถึง สัญญาเช่าที่ทําให้เกิดการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า ไม่ว่าในที่สุดการโอนกรรมสิทธิ์จะเกิดขึ้นหรือไม่
2. สัญญาเช่าดําเนินงาน หมายถึง สัญญาเช่าที่ไม่ได้โอนความเสี่ยงหรือผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า
35. นําใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมาใช้ประกอบการลงบัญชีได้หรือไม่กรณีกิจการได้รับเอกสารใบเสร็จรับเงินที่ไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายจากร้านค้า กิจการจะสามารถ
แนวคําตอบ
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีต้องเป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กําหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทํา ข้อความ และรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544
36. ในกรณีการซื้อ-ขายสินค้ากับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันรายการลูกหนี้/เจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นดังกล่าวควรจัดประเภทรายการเป็นลูกหนี้การค้า/เจ้าหนี้การค้าหรือลูกหนี้/เจ้าหนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
แนวคําตอบ
กรณีที่กิจการมีรายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการต้องเปิดเผยลักษณะความสัมพันธ์กับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับรายการและยอดคงค้างของรายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่จําเป็นในการทําความเข้าใจถึงผลกระทบจากความสัมพันธ์กับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่อาจมีต่องบการเงิน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
37. บริษัทจํากัดสามารถจัดทํางบกําไรขาดทุนโดยเลือกปฏิบัติว่าจะแสดงแบบใดได้หรือไม่ และมีข้อพิจารณาอย่างไร
แนวคําตอบ
ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 งบกําไรขาดทุนอาจเลือกแสดงแบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย หรือจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่แบบขั้นเดียว หรือจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบหลายขั้น ก็ได้ โดยหากเลือกแสดงแบบใดแล้วควรถือปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบที่เลือกแสดงควรเปิ ดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย
38. ถ้ากิจการจัดทํางบกําไรขาดทุนแบบแสดงค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ กิจการต้องเปิดเผยค่าใช้จ่ายตามลักษณะเพิ่มหรือไม่
แนวคําตอบ กิจการที่เป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะและเลือกจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ เมื่อเลือกจัดทํางบกําไรขาดทุนจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะไม่ได้กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายตามลักษณะ
39. ต้นทุนทางการเงินประกอบด้วยค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
แนวคําตอบ ตามคําชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 กําหนดให้ต้นทุนทางการเงิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการก่อหนี้สินของกิจการ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยที่เกิดจากสัญญาเช่าการเงิน เป็นต้น
40. ดอกเบี้ยจ่ายจากการเช่าซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการถือเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือต้นทุนทางการเงิน
แนวคําตอบ
ต้นทุนทางการเงิน ตามคําชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 กําหนดให้ต้นทุนทางการเงิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการก่อหนี้สินของกิจการ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากสัญญาเช่าการเงิน เป็นต้น
41. การแสดงงบกําไรขาดทุนทั้งจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่ายหรือจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่จะแสดงยอดรวมของค่าใช้จ่ายเท่ากันหรือไม่
แนวคําตอบ
การแสดงงบกําไรขาดทุนแบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะกับแบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่อาจมียอดรวมของค่าใช้จ่ายเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ แต่กําไรสุทธิในงบกําไรขาดทุนจะเท่ากันเสมอ
42. ห้างหุ้นส่วนจํากัดซึ่งต้องยื่นงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการจะต้องใช้งบการเงินตามรูปแบบใดและต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรองหรือไม่
แนวคําตอบ
เมื่อกิจการจดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วจะต้องดําเนินการจดทะเบียนเสร็จการชําระบัญชี (ภายใน 14 วันนับจากวันที่ ประชุมอนุ มัติการชําระบัญชี) โดยต้องจัดทํา งบการเงิน ณ วันเลิกห้างหุ้นส่วน (ณ วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันให้เลิกหรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก ) พร้อมทั้งให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง
43. ในกรณีทีกิจการแสดงงบกําไรขาดทุนจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะ จะต้องแสดงรายการในแบบ ภงด. 50อย่างไร
แนวคําตอบ
เนื่องจากรายการที่แสดงในงบกําไรขาดทุนจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะไม่สอดคล้องกับรายการในแบบ ภงด. 50 ดังนั้น กิจการควรนําข้อมูลตามที่บันทึกบัญชีที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วมากรอกรายการในแบบ ภงด. 50 ทั้งนี้้กิจการอาจหารือกรมสรรพากรเพื่อความถูกต้องในการกรอกแบบต่อไป
44. กิจการถูกไฟไหม้ ทําให้บัญชีและเอกสารเสียหายบางส่วน และได้แจ้งเอกสารเสียหายกับทางกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว โดยในทางบัญชีกิจการมีรายการลูกหนี้การค้าแต่ไม่มีเอกสารเรียกเก็บเงิน ทําให้ยอดลูกหนี้ยังคงมีปรากฏอยู่ในบัญชี ดังนั้นกิจการจะสามารถตัดบัญชีลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญได้หรือไม่
แนวคําตอบ เป็นคําถามเชิงลึก ควรแจ้งให้โทรสอบถามโดยตรง ที่สํานักบัญชีธุรกิจการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชี
45. บริษัท จํากัดมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 20 ล้านบาท และรายได้รวม 25 ล้านบาทจะต้องมีผู้ทําบัญชีที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีเท่านั้นใช่ หรือไม่
แนวคําตอบ
คุณวุฒิของผู้ทําบัญชีขั้นตํ่าที่สามารถทําบัญชีของบริษัทนี้ได้จะต้องเป็น ผู้ทําบัญชีที่คุณวุฒิไม่ตํ่ากว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ตํ่ากว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัติวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหมายเหตุกฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กําหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2543 ข้อ 4.(4)
46.ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายละเอียดคุณสมบัติของผู้ทําบัญชีและผู้สอบบัญชีทางอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่
แนวคําตอบ ไม่ได้
47. คุณสมบัติของการเป็นผู้ทําบัญชีมีระเบียบอย่างไร
แนวคําตอบ
ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่ อง กําหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2543 ข้อ 4.
ข้อ 5. และ ข้อ 6. กําหนดไว้ดังนี้
ข้อ 4. ผู้ทําบัญชีต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. มีภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
2. มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทําหน้าที่เป็นผู้ทําบัญชีได้
3. ไม่เคยต้องโทษโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากได้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือกฎหมายวาด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
4. มีคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ทําบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปี บัญชีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ตํ่ากว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรื อน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ตํ่ากว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี
(ข) ผู้ทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีดังต่อไปนี้ต้องมีคุณวุฒิไม่ตํ่ากว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรื อกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ตํ่ากว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ ง ณ วันปิ ดบัญชีในรอบปี บัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน หรือสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่ งเกินกว่าที่กําหนดไว้ใน (ก)
2) บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
3) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
4) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
5) ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย
6) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่ งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่ายด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(ค) ในกรณีที่เป็นการเริ่มทําบัญชีรอบปี บัญชีแรก ของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีคุณวุฒิของผู้ทําบัญชีให้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามที่กําหนดไว้ใน (ก) และ (ข) แล้วแต่กรณี
5.มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทําบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
ข้อ 5.ในกรณีที่เป็นผู้ทําบัญชีของบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนซึ่ งรัฐมนตรีประกาศกําหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี คุณวุฒิของผู้ทําบัญชีดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4
(4) (ก) หรื อ (ข) โดยอนุโลม
ข้อ 6.ในกรณีที่ทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีตาม ข้อ 4
(4) (ก) เปลี่ยนแปลงไปจนทําให้ผู้ทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีนั้นต่อไป ให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีดังกล่าวต่อไปได้เป็นเวลาสองปี นับแต่วันสิ้นรอบปี บัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง
48. การนับชั่วโมงผู้ทําบัญชีมีวิธีการนับอย่างไร
แนวคําตอบ
ผู้ทําบัญชีจะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพตามหลักสูตรและสถาบันที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงในทุกรอบสามปี โดยจะต้องเป็นหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง และในแต่ละปี จะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงการนับชั่วโมงทุกรอบสามปี ให้นับตามปี ปฏิทินโดยเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ของปี ถัดจากปี ที่ผู้ทําบัญชีแจ้งการเป็นผู้ทําบัญชี โดยในระยะเวลาแรก (รอบสามปี แรก) ให้ผู้ทําบัญชีสามารถนําชั่วโมงที่เข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทําบัญชีตั้งแต่วันที่แจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีไปนับรวมกับชั่วโมงในรอบระยะเวลาแรก (รอบสามปี แรก) ได้
หมายเหตุสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2547 และ คําชี้แจงประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2547
49. ในกรณีผู้ทําบัญชีต้องการปรับวุฒิการศึกษาจะแจ้งอย่างไร
แนวคําตอบ
สามารถยื่นแจ้งได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักบัญชีธุรกิจ ชั้น 13 อาคารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตําบลบางกระสอ อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 (โทรศัพท์ 02-547-5977) กรณี ผู้แจ้งมีที่อยู่หรือสถานที่ทํางานในกรุงเทพ และจังหวัดนนทบุรี (ณ วันที่แจ้งเป็นผู้ทําบัญชี และไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่/สถานที่ติดต่อ) และ สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดในจังหวัดที่ผู้แจ้งมีที่อยู่/สถานที่
ติดต่อในส่วนภูมิภาคการแจ้งให้ใช้เอกสาร หลักฐาน ดังต่อไปนี้
1. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการทําบัญชีของผู้ทําบัญชี ตามมาตรา 7(6) และมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (แบบ ส.บช. 6) จํานวน 2 ชุด กรณีแจ้ง ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ
2. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาหลักฐานการศึกษา (ประกาศนียบัตร/อนุปริญญา/ปริญญาตรี) ในกรณีที่ปริญญาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นสาขาบัญชีให้แนบใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) เพิ่มเติม จํานวน 1 ชุด กรณีแจ้ง ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ 2 ชุด กรณีแจ้ง ณ สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
50. ในกรณีผู้ทําบัญชีรับทําบัญชีให้บริษัทแล้วแต่ไม่ทําให้จะมีผลและโทษอย่างไรบ้าง
แนวคําตอบ
มีบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ดังนี้
1. ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20 (ผู้ทําบัญชีต้องจัดทําบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดําเนินงานฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท : มาตรา 34
2. ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 (ในการลงรายการในบัญชีผู้ทําบัญชีต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกํากับหรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือคําแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้ (2) เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทําด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทํานองเดียวกัน) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท : มาตรา 35
51.ตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี ผู้ทําบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาฯ หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯ ควรเลือกวิธีใดดีครับ
แนวคําตอบ ปัจจุบันกฎหมายได้กําหนดให้ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเป็นผู้ทําบัญชี จะต้องแจ้ง/ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีดังต่อไปนี้
1. แจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ
2. ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกต่อสภาวิชาชีพบัญชี
52. ขณะนี้เป็นผู้ทําบัญชีตาม พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 และได้แจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว จําเป็นต้องขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีอีกหรือไม่
แนวคําตอบ
ต้องขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีด้วย เนื่องจากพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มาตรา 44 ได้กําหนดไว้โดยสรุปว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทําบัญชี ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี
53. กําลังอยู่ระหว่างการฝึกหัดงานสอบบัญชีธุรกิจ และยังสอบผ่านไม่ครบทุกวิชาจะได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีหรือไม่
แนวคําตอบ ปัจจุบันงานส่วนนี้อยู่ที่สภาวิชาชีพบัญชี กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์0-2685-2500
54. ตาม มาตรา 43 แห่ ง พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมการสัมมนา (CPD) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาฯ กําหนดอยากทราบว่าสภาฯ ได้ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วหรือยัง
แนวคําตอบ ออกแล้ว ขอให้ศึกษาจากข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๕) เรื่ อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนา เพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th หรือสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500
56. ใบอนุญาตทุกปี ด้วย.ตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไมมีอายุแต่ทําไมต้องจ่ายค่าธรรมเนียม
แนวคําตอบ เป็นไปตามข้อกําหนดของ มาตรา 41 ของพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
57. ทําไมสภาวิชาชีพบัญชีไม่อนุญาตให้ชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชีเป็นรายสามปี หรือรายห้าปีเหมือนค่าบํารุงสมาชิกบ้าง
แนวคําตอบ
ปัจจุบันสามารถชําระเป็นรายสามปี หรือห้าปี ได้แล้ว สามารถสอบถามเพิ่มเติมไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500
58. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชี สามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบได้หรือไม่ เพราะทราบว่าอัตราค่าบํารุงสมาชิกประเภทสมทบถูกกว่าสมาชิกสามัญ
แนวคําตอบ
ไม่ได้ ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบต้องมีคุณวุฒิตํ่ากว่าปริญญาตรี เช่น ปวส .ทางการบัญชี
59. สภาวิชาชีพบัญชีตั้งอยู่ที่ไหน
แนวคําตอบ
- ที่ตั้งสํานักงาน : 133 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
- เลขโทรศัพท์ : 0-2685-2500
- โทรสาร :0-2685-2502
- Url : www.tfac.or.th
60. ในกรณีที่จ่ายค่าบํารุงสมัครเป็นรายสามปี หรือรายห้าปี สภาวิชาชีพบัญชีจะมีส่วนลดให้หรือไม่
แนวคําตอบ
กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500
61. สภาวิชาชีพบัญชีประกอบด้วยสมาชิกซึ่งประกอบวิชาชีพบัญชีต่างๆรวมหกด้านด้วยกัน ดังนั้นถ้าสมัครเป็นสมาชิกของสภาฯ จําเป็นต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งด้วยหรือไม่..
แนวคําตอบ ไม่ต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งในหกด้าน
62. อยู่ในกรุงเทพจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด
แนวคําตอบ กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500
63. อยู่ต่างจังหวัดจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด
แนวคําตอบ สภามีสาขาต่างจังหวัด แต่ไม่ครบทุกจังหวัด กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลข โทรศัพท์ 0-2685-2500
64. ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่
แนวคําตอบ
ปัจจุบันกฎหมายได้กําหนดให้ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเป็นผู้ทําบัญชี และผู้สอบบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
65.อยากทราบว่าทาง ก.บช. มีเกณฑ์ในการเลือกสํานักงานตรวจสอบบัญชีในการฝึกหัดงานเพื่อเก็บชั่วโมงหรือป่าวครับว่าตั้งเป็นสํานักงานที่ใหญ่มีมาตรฐานหรือว่าเป็นที่ไหนก็ได้ขอให้เป็นสํานักบัญชีครับ แล้วเมื่อทําแล้วเราจะมีหน้าที่ทําอะไรบ้างคับ
แนวคําตอบ
ปัจจุบันไม่มี ก.บช. แล้ว การขึ้นทะเบียนฝึกหัดงานสอบบัญชีต้องไปติดต่อที่สภาวิชาชีพบัญชีกรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500
66. เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว 5 ปี และในปีที่ 5 ไม่ได้ไปต่ออายุต้องทําเช่นไร ทั้งนี้ ยังรับสอบบัญชีกับสํานักงานตรวจสอบบัญชีอยู่ตลอดเวลา
แนวคําตอบ
กรุณาสอบถามไปยังสภาวิชาชีพบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2685-2500
67. ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา13แห่ง พรบ. การบัญชี พ.ศ.2543 หากกิจการประสงค์จะเก็บรักษาบัญชี และเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้นอกราชอาณาจักร กิจการสามารถขออนุญาตจากสารวัตรใหญ่เพื่อดําเนินการดังกล่าวได้หรือไม่
แนวคําตอบ
ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 13 กําหนดไว้ว่า ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทําการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทําการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจําหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทํางานเป็นประจํากรณีจัดทําบัญชีด้วยเครื่ องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออื่นใดในสถานที่อื่นใดในราชอาณาจักรที่มิใช่สถานที่ดังกล่าว แต่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือนั้นมายังสถานที่ดังกล่าว ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่ดังกล่าวแล้ว
ดังนั้น กิจการไม่สามารถขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้นอกราชอาณาจักร
68. สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลมีภาระหน้าที่และความรับผิดตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีอย่างไร
แนวคําตอบ
1. ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี (ตามมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 ซึ่งกําหนดให้นิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการด้านสอบบัญชีหรือด้านการทําบัญชีหรือให้บริการวิชาชีพด้านอื่นตามที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 9 ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี)
2. ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม (ตามมาตรา 11 (1) พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ซึ่ งกําหนดให้นิติบุคคลต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ทั้งนี้ตามประเภท จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กําหนดโดยกฎกระทรวง)
3. หากบริการด้านการสอบบัญชีนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดร่ วมกับผู้สอบบัญชีที่เซ็นรับรองงบการเงิน
69. สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล มีภาระหน้าที่ และ ความรับผิดตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีอย่างไร
แนวคําตอบ
กฎหมายไม่ได้กําหนดภาระหน้าที่และความรับผิดไว้เป็นกรณีพิเศษ
70. สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลจะต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร
แนวคําตอบ
จํานวนหลักประกันเพื่อประกอบความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2543 เพื่อกําหนด ประเภท จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการของการจัดให้มีหลักประกันโดยให้คํานึงถึงขนาดและรายได้ของนิติบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ประเภทของหลักประกันเพื่อประกอบความรับผิดต่อบุคคลที่สามได้แก่
- เงินฝากสถาบันการเงินในประเทศประเภทฝากประจําตั้งแต่หนึ่ งปี ขึ้นไป
- บัตรเงินฝากซึ่ งสถาบันการเงินในประเทศออกให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเพื่อเป็นหลักฐานการฝากเงินของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีนั้น
- พันธบัตรรัฐบาลไทยที่จําหน่ายในราชอาณาจักร
- พันธบัตรองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลซึ่ งมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ ้น
- กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
- สําหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่เริ่มรับทําบัญชีในรอบปี บัญชี ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่ งประเภทใดรวมกันเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี
- สําหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่จดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีอยู่แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงจะมีผลใช้บังคับ ต้องจัดให้มีหลักประกันประเภทหนึ่ งประเภทใดรวมกันเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันสิ้นรอบปี บัญชีที่ผ่านมา หรือขอรายได้รอบปี บัญชีที่ผ่านมากแล้วแต่จํานวนใดจะมากกว่า
- และภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปี บัญชีทุกปี ให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจัดให้มีหลักประกันเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันสิ้นรอบปี บัญชีที่ผ่านมา หรือของรายได้รอบปีบัญชีที่ผ่านมาก แล้วแต่จํานวนใดจะมากกว่า
2. การแจ้งหลักประกันให้ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี